การที่คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติที่มีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีเป็นประธานได้อนุมัติให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม(ทส.)
ออกประกาศกิจการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงทั้งด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ 11 ประเภท ต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) และ สุขภาพ (เอชไอเอ) ตามมาตรา 67 วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญ เมื่อสัปดาห์ก่อน กำลังจะกลายเป็นประเด็นร้อนขึ้นอีกเมื่อเครือข่ายชุมชนภาคตะวันออกที่มี นายสุทธิ อัชฌาศัย เป็นแกนนำ ไม่เห็นด้วยกับมติดังกล่าวและมีแผนจะออกมาชุมนุมประท้วงรัฐบาล เช่นเดียวกับสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อนที่มี ศรีสุวรรณ จรรยา เป็นหัวหอกที่มีแผนจะฟ้องศาลปกครอง เพื่อให้มีคำสั่งยกเลิกประกาศกิจการรุนแรงดังกล่าว
ประเด็นจึงอยู่ที่ว่า กลุ่มมวลชนและกลุ่มเอ็นจีโอ กำลังต้องการให้รัฐบาลทำอะไรมากไปกว่านี้ เพราะจุดเริ่มต้นของปัญหาการลงทุนในพื้นที่มาบตาพุดก็มาจากการฟ้องศาลปกครองของสมาคมต่อต้านสภาวะแวดล้อมที่ระบุว่า ภาครัฐไม่ปฏิบัติตามมาตรา 67 วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญปี 2550 จนเป็นที่มาของคำสั่งระงับโครงการลงทุน จำนวน 76 โครงการ ในมาบตาพุด และกลายเป็นปมประเด็นที่ส่งผลกระทบต่อการลงทุนภาพรวมของประเทศไปโดยปริยาย เพราะนักลงทุนต่างชาติไม่มั่นใจกับการลงทุนในไทย
สิ่งที่สมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อนและกลุ่มเครือข่ายชุมชนฯ ต้องการ คือ การปฏิบัติตามมาตรา 67 วรรคสอง ไม่ใช่เหรอ ?? ซึ่งรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ก็ได้แต่งตั้งคณะกรรมการ 4ฝ่าย ที่มีนายอานันท์ ปันยารชุน เป็นประธาน โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิ นักวิชาการ ภาคเอกชน เข้าร่วมเป็นกรรมการ รวมถึงภาคประชาชน และเอ็นจีโอ เพื่อพิจารณาหลักเกณฑ์ประเภทกิจการรุนแรง การตั้งองค์กรอิสระชั่วคราว
แต่เมื่อคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมฯ นำหลักเกณฑ์ประเภทกิจการรุนแรงที่คณะกรรมการ 4 ฝ่าย เสนอมาพิจารณาและประกาศออกเมื่อวันที่ 23 ส.ค. ที่ผ่านมา กลับไม่เป็นที่พอใจของภาคประชาชนและเอ็นจีโอ ทั้งๆ ที่คนเหล่านั้นก็อยู่ในกรรมการ 4 ฝ่าย ที่เป็นผู้เสนอหลักเกณฑ์กิจการรุนแรงเสนอบอร์ดสิ่งแวดล้อม สุดท้ายแม้กรรมการบางคนจะอ้างว่า 11 ประเภทกิจการที่ออกมาแตกต่างจากที่เสนอไป แต่โดยหลักใหญ่ๆ ก็ยังคงเป็นกิจการที่กรรมการ 4 ฝ่าย เสนออยู่นั่นเอง
ที่สำคัญเรื่องนี้ภาคเอกชน ก็เกือบจะยอมศิโรราบพร้อมปฏิบัติตามสิ่งที่ภาคประชาชนและเอ็นจีโอเรียกร้อง แม้ว่าบางเรื่องจะเป็นสิ่งที่ดำเนินการอยู่แล้วก็ตาม เช่น การจัดทำรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม หรือ อีไอเอ และพร้อมจะดำเนินการจัดทำรายงานผลกระทบด้านสุขภาพ (เอชไอเอ) เพิ่มเติมเข้าไปตามที่กฎหมายกำหนด ทั้งๆ ที่เป็นความผิดของภาครัฐที่ไม่ยอมออกประกาศหลักเกณฑ์ตามมาตรา 67 ทั้งเรื่อง เอชไอเอ และ องค์กรอิสระ
"เมื่อเขาทำผิด ภาครัฐก็ลงโทษทั้งปรับ ถอนใบอนุญาต ได้อยู่แล้ว แต่เมื่อภาคธุรกิจยอมทำในสิ่งที่มวลชนและเอ็นจีโอเรียกร้องทุกอย่างแล้ว ก็ควรจะอะลุ่มอล่วย ให้เขาเดินหน้าธุรกิจต่อได้ เพียงแต่ต้องตรวจสอบได้ เพื่อให้โรงงานอยู่ร่วมกับชุมชนให้ได้ ไม่ใช่เอะอะไร ก็นำมวลชนมาชุมนุมก่อม็อบกดดันรัฐบาล ทั้งๆ ที่กฎหมายก็มีอยู่...เราไม่ควรปล่อยให้กฎหมู่อยู่เหนือกฎหมาย"
วันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2553 ปีที่ 34 ฉบับที่ 4240 ประชาชาติธุรกิจ ข้อยุติมาบตาพุด แค่บทเรียนที่ว่างเปล่า ? บทบรรณาธิการ ดูเหมือนข้อยุติกรณีปัญหาสิ่งแวดล้อมในเขตพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จ.ระยอง ที่ยืดเยื้อมานานนับปี อาจเข้าสู่โค้งสุดท้ายที่จะได้ข้อสรุปเสียที หลังจากล่าสุด ศาลปกครองกลางนัดฟังคำพิพากษาสั่งคดีที่สมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อนและพวกรวม 43 คน ยื่นฟ้องคณะกรรมการ สิ่งแวดล้อมแห่งชาติและพวก กรณีกระทำการมิชอบในการออกใบอนุญาตให้ 76 โครงการลงทุนในพื้นที่มาบตาพุด-บ้านฉาง และบริเวณใกล้เคียงใน จ.ระยอง ในวันที่ 2 ก.ย. 53 เวลา 13.30 น. และก่อนหน้านั้นไม่กี่วัน ที่ประชุมคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (บอร์ด สวล.) ที่มีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ก็เพิ่งจะมีมติอนุมัติร่างกิจการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง ทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพ โดยเห็นชอบให้ 11 กิจการเป็นกิจการรุนแรง จากที่คณะกรรมการ 4 ฝ่ายแก้ปัญหามาบตาพุดได้เสนอมาจำนวน 18 กิจการ อย่างไรก็ตาม หากประเมินจากปฏิกิริยาของทั้งฝ่ายเอกชน ภาคธุรกิจ ผู้ลงทุน ทั้งที่ได้รับผลกระทบโครงการต่าง ๆ ชะงักงันไปในช่วงที่ผ่านมา รวมถึงกลุ่มนักลงทุนที่กิจการ เข้าข่าย 11 ประเภทที่ถือเป็นกิจการอันส่งผลกระทบรุนแรง และในฝ่ายของกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ที่ต่างก็ยังไม่พอใจกับข้อสรุปที่กำลังจะเกิดขึ้น นั่นสะท้อนให้เห็นว่ารัฐบาลยังไม่หมดภารกิจที่จะต้องตอบคำถาม สร้างความชัดเจนกับสิ่งที่เกิดขึ้น เช่นในประเด็นที่มีการพิจารณาปรับลดประเภทกิจการที่ส่งผลกระทบรุนแรงจาก 18 ประเภทให้เหลือเพียง 11 ประเภทนั้น มีหลักเกณฑ์ในการพิจารณาอย่างโปร่งใสแล้วหรือไม่ มีการโอนอ่อนตามข้อเรียกร้องหรือกลุ่มผลประโยชน์ดังที่มีการตั้งข้อสังเกตหรือเปล่า ขณะเดียวกันในด้านของการสร้างความเชื่อมั่นให้กับกลุ่มนักลงทุนภาคอุตสาหกรรมทั้งในและต่างประเทศ จะมีคำชี้แจงหรือรับประกันได้เต็มปาก หรือไม่ว่า ปัญหาข้อขัดแย้งและภาวะคลุมเครือชะงักงันของการลงทุนจะไม่เกิดขึ้นอีกในอนาคต ทั้งในพื้นที่อุตสาหกรรมมาบตาพุด จ.ระยอง และพื้นที่อื่น ๆ ที่จะเกิดโครงการลงทุนอุตสาหกรรมที่อาจเข้าข่าย "กิจการรุนแรง" ถึงที่สุดแล้วประเด็นหลักมิได้ขึ้นอยู่กับว่า จะมีการประนี ประนอมให้เกิดการลงทุนได้มากขึ้นเท่าไร เป็นมูลค่าสูงขนาดไหน เช่นเดียวกันกับที่ทางออกหรือข้อยุติย่อมไม่อาจตอบ สนองทุกข้อเสนอหรือความต้องการทั้งหมดของกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม แต่ประเด็นหลักของการหาข้อสรุปร่วมกันเพื่อที่ จะก้าวออกมาให้พ้นปัญหาความขัดแย้งและภาวะชะงักงันนั้น ทุกฝ่ายน่าจะยึดหลักยอมรับกฎกติกาที่หาข้อยุติสำหรับทุกฝ่ายเพื่อให้ทุกสิ่งพร้อมที่จะเดินหน้าได้ใหม่อีกครั้งหนึ่ง หากท้ายที่สุดแม้จะมีมติคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมออกมาแล้ว หรือมีคำพิพากษาศาลปกครองกลางออกมาในต้นเดือนกันยายนแล้ว แต่ละฝ่ายยังยืนกรานที่จะต่อสู้ ฟ้องร้องคดีต่อไปโดยไม่มีที่สิ้นสุด ก็คงเป็นเรื่องยากที่รัฐบาลจะออกมาพูดได้เต็มปากว่า ปัญหากรณีมาบตาพุดยุติแล้ว และคงหวังได้ยากที่จะเห็นการลงทุนภาคอุตสาหกรรมกลับเข้าสู่ภาวะปกติ ในเมื่อต่างฝ่ายต่างยึดเอาความต้องการของตนเป็นที่ตั้ง
'อภิสิทธิ์'วอนสมาคมโลกร้อนอย่าเคลื่อนไหวกดดันรัฐบาลปัญหามาบตาพุด ยันรัฐบาลให้ความสำคัญมาตราฐานสิ่งแวดล้อมสูงกว่าหลายประเทศ
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีที่สมาคมโลกร้อนเตรียมออกมาเคลื่อนไหว เนื่องจากไม่พอใจการประกาศกิจการรุนแรงของรัฐบาล ไม่ครอบคลุมว่า เรื่องนี้ต้องชี้แจงกัน ซึ่งจริงๆแล้วตนได้ให้คนในรัฐบาลติดต่อประสานงานกับภาคประชาชนตลอดเวลา ตรงไหนที่ยังมีปัญหาติดใจก็สามารถที่จะสอบถามกันมาได้ - เสี่ยงทรุดพังระเบิด แบบโรงแยกก๊าซ ใหม่ ปตท. นี่นะมาตรฐานสากล
เมื่อถามว่าคิดว่าจะสามรถขยับประกาศเพิ่มที่ที่เรียกร้องได้หรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ส่วนที่มีการยื่นเพิ่มเติมเข้ามาตนได้มอบให้ทางคณะอนุกรรมการที่เป็นผู้ชำนาญการดูอยู่ นั่นคือส่วนที่กรรมการ 4 ฝ่ายเขาไม่ได้เห็นด้วย เพราะส่วนที่กรรมการ 4 ฝ่ายเห็นด้วยนั้นได้มีการพิจาณาไปหมดแล้ว
เมื่อถามว่าหากมวลชนใช้วิธีการกดดันอีกครั้งรัฐบาลจะแก้ไขปัญหาอย่างไร นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ไม่น่าจะทำอย่างนั้น เพราะรัฐบาลนี้ได้ให้ความสำคัญกับเรื่องของสิ่งแวดล้อมและเรื่องการพัฒนาอุตสาหกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมาก มาตรการหลายอย่างที่เราไปดำเนินการที่มาบตาพุดขณะนี้ เราเอาจริง เอาจัง แต่สิ่งสำคัญกว่าเรื่องของกิจการคือมาช่วยกันติดตามการปฏิบัติตามมาตรการที่กำหนดไปมากกว่า เวลานี้มาตรฐานเรื่องการทำงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม มาตรฐานในเรื่องนี้ของเราตนเองกล้ายืนยันได้เลยว่าสูงกว่าหลายต่อหลายประเทศ ปัญหามีอย่างเดียวคือมีมาตรการออกมาแล้ว ไม่ปฏิบัติตามและการบังคับใช้กฎหมายยังย่อหย่อนและระบบของการทำงานเวลาเกิดเหตุเป็นปัญหา มีเรื่องเดียวที่ยังต้องศึกษาเพิ่มเติมคือความสามารถของพื้นที่ในการรองรับเรื่องของมลพิษในภาพรวม ซึ่งตรงนี้กำลังดำเนินการอยู่ คือทุกโครงการดำเนินการอยู่ มีการผลักดันและประกาศเป็นเขตควบคุมมลพิษ เราได้มีการเข้มงวดกวดขันและอนุมัติงบประมาณไปเรื่องการป้องกันและการบรรเทาผลกระทบพร้อมทั้งทำระบบข้อมูล ระบบเตือนภัย
เมื่อถามว่ามีการประเมินหรือไม่ มาตรฐานที่สูงขึ้นจะกระทบกับการลงทุนที่เข้ามามากน้อยแค่ไหน นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ขอยืนยันว่า มาตรฐานสูงไม่กระทบมาก ภาคธุรกิจสิ่งที่เขาต้องการมากสุดคือความแน่นอนมากกว่า เมื่อเขารู้ว่ากติกาเป็นอย่างไร เขาก็ตัดสินใจ เพราะเห็นว่า มาตรฐานเราควรเป็นอย่างไร ทางเราเองก็กำหนดตามอย่างนั้น ทั้งนี้ผลกระทบที่มีต่อการลงทุนที่ผ่านมาเป็นเรื่องของความไม่แน่นอน คือเขาได้ใบอนุญาตไปแล้วแต่ปรากฏว่า ศาลตัดสินว่า ใบอนุญาตใช้ไม่ได้ อย่างนี้มันกระทบกับการวางแผนของเขา แต่ต่อจากนี้ไปเขารู้แล้วว่า เขาจะมาลงทุนกิจการนี้ เขามีขั้นตอนนานขึ้น อาจจะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นคงไม่เป็นปัญหา เพราะเขาจะสามารถทำงานได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น