วันศุกร์ที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2554

ปาหี่ ! ... คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ประกาศ! มาบตาพุด-ปลวกแดง เป็นพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อม

แค่ปาหี่ เปลี่ยนช่องรับ ขยับช่องจ่าย หาความจริงใจอะไรไม่ได้ โครงการเก่าเสี่ยงหายนะ ก้อยังคงดันทุรังจะเปิดใช้ ทั้งๆที่รู้ว่าเสี่ยงมากมายแค่ไหน ... แต่ไม่สนใจไม่ใส่ใจ โรงงานอะไร ทรุดพังระเบิด ช่างหัวแม่ง!

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์22 เมษายน 2554 17:34 น.
ที่ประชุมคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ หรือ คสช.มีมติเห็นชอบตามข้อเสนอของคณะกรรมการการศึกษาสนับสนุนและติดตามผลการดำเนินงานตามข้อเสนอของ คสช. ที่ให้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติออกประกาศให้พื้นที่มาบตาพุด และพื้นที่ อ.ปลวกแดง จ.ระยอง เป็นพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อม ที่ช่วยปกป้องคุ้มครองสุขภาวะของคนในพื้นที่ และเสนอให้กระทรวงมหาดไทยออกประกาศว่าด้วยการควบคุมการก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอน เคลื่อนย้ายและใช้ หรือเปลี่ยนการใช้อาคารในบริเวณเขตควบคุมมลพิษ โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 13 ของกฎหมายควบคุมอาคารปี 2522 เพื่อควบคุมไม่ให้มีการก่อสร้างโรงงานอุตสาหกรรมเพิ่มเติมในทันทีเป็นการชั่วคราว รวมทั้งจะเป็นแนวทางสำหรับท้องถิ่น นำไปพิจารณาปรับปรุงข้อบัญญัติท้องถิ่นให้เหมาะสม และมีความครบถ้วนสมบูรณ์ต่อการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม โดยมติดังกล่าวจะนำเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบต่อไป

วันอาทิตย์ที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2554

คนมาบตาพุด มากกว่า 50% อยากย้ายออก และไม่แน่ใจ ที่จะอยู่

ไม่ใช่เรื่องน่าประหลาดใจอะไร กับการสำรวจความต้องการของประชาชน ในเขตพื้นที่ที่อ้างว่า ประกาศเป็นเขตควบคุมมลพิษ แต่ทำไม่ได้ เพราะไม่ได้ทำ เมื่อหลายส่วนหลายฝ่าย ของผู้คนในสังคมไทย ยังมองว่า ปัญหาของการหยุดชะงัก ของโรงงานต่างๆ ในมาบตาพุด ทำให้ประเทศมีปัญหาเศรษฐกิจ แต่กลับทอดทิ้งให้ผู้คนประชาชนในมาบตาพุด ต้องเผชิญกับความเลวร้ายรุนแรงของสภาวะแวดล้อม ที่นับวันจะรุนแรงขึ้น และปราศจากการเหลียวแลจากภาครัฐอย่างเหมาะสม จากการสำรวจนี้ แม้จะมีชุมชน หนองแฟบ มาบข่า มาบใน ที่มีผู้ต้องการอยู่ เหลือแค่ 15 - 20 % เท่านั้น แม้จะมีการนำเสนอโครงการเมืองใหม่เชิงนิเวศ หรือ Eco New Town แล้วก้อตาม แสดงถึง ความรู้สึกที่เลวร้ายของประชาชนในพื้นที่ ซึ่งไม่มีปากเสียงอย่างใด ที่จะบอก หรือจะทักท้วง แม้จะมีกลุ่มคนอ้างว่า รักมาบตาพุด มาประท้วงแทนแล้วก็ตาม .... มันไม่ดีขึ้นอีกทั้งจะเลวร้ายลงไปอีก จากการมีโรงงานเกิดใหม่จำนวนมาก แค่ความแข็งแรงยังไม่มี ก่อสร้างกันแบบง่ายๆ เอาไวเข้าว่าอีก สำหาอะไรกับเรื่องมลพิษที่อ้างกันว่าจะดูแลเหลียวแลใส่ใจ และแม้วันนี้ ยังคงมีคนในพื้นที่ อีกจำนวนมาก ไม่รู้ว่า ชีวิตนอกจากจะเผชิญปัญหาสภาวะแวดล้อมรุนแรงแล้ว ยังต้องเสี่ยงภัยการทรุดพัง ก๊าซรั่วควบคุมไม่ได้ ของโรงงานสารเคมีอันตราย และก๊าซไวไฟจำนวนมาก ที่ไม่ตอกเสาเข็มทั้งหมด อ้างเพียงว่าดินในโรงงานนั้น แข็งแรงมากกว่า โรงงานอื่นๆ 3 ถึง 7 เท่า จึงไม่จำเป็นต้องตอกเสาเข็มฐานราก ท่ามกลางข่าวแผ่นดินไหว ที่รุนแรงมากขึ้น ในหลายภูมิภาคของโลก

คงเพราะเป็น ปตท. จึงไม่มีใครคิดว่าจะมักง่ายประมาท ซึ่งโรงงานใหม่มากกว่า 30 โครงการ มีมากมายเท่าใด ไม่ตอกเสาเข็มฐานรากบ้าง ที่วันนี้ แม้ศาลปกครองสูงสุด ก็คงยังดองเค็ม เรื่องนี้ ไว้นานกว่า 5 เดือน กับโรงงานเสี่ยงมหาศาล ที่อยู่ใกล้ตลาดติดชุมชน มีประชาชนทั้งตลาดมาบตาพุด เสี่ยงตาย กับโรงแยกก๊าซ ใหม่ 2 แห่ง ของ ปตท. คือโรงแยกก๊าซที่ 6 (PTT-GSP6) และโรงแยกก๊าซ อีเทน (PTT-ESP) เพราะมีคลังก๊าซ แอลพีจี ขนาดใหญ่ มากเทียบเท่ารถบรรทุกก๊าซ 4,200 คัน กรณีทรุดพังเพียงเล็กน้อย ท่อ-ข้อต่อ บิดแตกก๊าซรั่วระเบิดลุกลาม รุนแรง แบบโดมิโน ซึ่งเรื่องนี้ประชาชนส่วนใหญ่ไม่ได้รับรู้ อาจเคยได้ยินแต่ไม่ได้ลงรายละเอียดและไม่มีใครคิดว่า เรื่องมักง่ายแบบนี้ จะเป็นเรื่องจริง ในส่วนของชาวบ้านหนองแฟบ ที่ไม่แตกต่างกัน เพราะเป็นพื้นที่ ที่มีโรงงานใหม่ของ ปตท. ไปสร้าง แค่กลิ่นเหม็น มลพิษเลวร้าย จากการทดสอบระบบ ซ้ำกรณีก๊าซรั่ว อยู่บ่อยครั้งทั้ง จากโรงงานแขก ที่ทำก๊าซคลอรีนรั่ว เนื่องจากฐานรองรับถังทรุด และก๊าซรั่วบ่อยครั้ง จากโรงงานผลิตสารฟีนอล ของ ปตท. (ซึ่งไม่ตอกเสาเข็มฐานรากเกือบทั้งหมดด้วยเหมือนกัน)

ความเสี่ยงด้านบน แม้จะมีผู้คนที่เกี่ยวข้อง(ภาครัฐ สส.สว. ศาลปกครอง), สื่อมวลชน และองค์กรเอกชนเครือข่ายต่างๆ ที่อ้างว่าสนใจใส่ใจกับเรื่องสิ่งแวดล้อม รับรู้กันแล้วทั้งหมด แต่ก้อละเลยเฉยชา กับความเสี่ยงตายของประชาชนชาวบ้านอย่างเลือดเย็น ฯ