วันพฤหัสบดีที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ข้อเท็จจริง-การแถลงข่าวของ ปตท. เรื่องโรงแยกก๊าซใหม่ ไม่ตอกเสาเข็มฐานรากทั้งหมด และการขอศาลสั่งบรรเทาทุกข์ชั่วคราว

20 สิงหาคม 2553

เรื่อง กรณีการแถลงข่าวของ ปตท. เรื่องโรงแยกก๊าซใหม่ ไม่ตอกเสาเข็มฐานรากทั้งหมด และการขอบรรเทาทุกข์ชั่วคราว

สืบเนื่องถึงข้อเท็จจริงกรณีที่ ปตท.อ้างว่า โครงการได้มีการตรวจสอบติดตามมาตั้งแต่ขบวนการก่อสร้าง จนถึงปัจจุบัน และไม่พบการทรุดตัวที่ผิดปกติ แต่อย่างใดนั้น พร้อมกับการอ้างถึงการดำเนินการโครงการโดยมีมาตรฐานสูง มีการตรวจสอบและการควบคุมการก่อสร้างอย่างเคร่งครัดอย่างละเอียดรอบคอบทุกขั้นตอนนั้น เป็นการให้ข้อมูลที่ปราศจากข้อเท็จจริง จนอาจกล่าวได้ว่า เป็นการกระทำให้ลักษณะหลอกลวงประชาชน และนักลงทุน

เพราะจากการติดตามเรื่องการตรวจสอบนี้ มาตั้งแต่เดือน ธันวาคม 2552 ถึง มกราคม 2553 พบว่า ในส่วนของโรงแยกก๊าซอีเทน ไม่สามารถเข้าไปตรวจสอบได้ เพราะกำลังทดสอบระบบจนถึงปัจจุบัน ในส่วนของ โรงแยกก๊าซที่ 6 เพิ่งเริ่มต้นให้มีการติดตามข้อมูลเดิมจากการส่งมอบงาน ทั้งที่งานส่วนใหญ่แล้วเสร็จตั้งแต่ปลายปี 2551 และพบอีกว่ามีการทรุดตัวจำนวนมากในเดือน พฤษภาคม 2552 แล้วมีการซ่อมสร้างใหม่ แต่กลับไม่มีการตรวจสอบติดตามอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งค่าทรุดตัวที่ยอมรับได้ ในข้อกำหนดของการออกแบบนั้นน้อยมาก คือ ทรุดได้เพียง 10-15 มม. (หนาเท่าฝายาหม่องเท่านั้น) ซึ่งถ้ามีการทรุดตัวมากกว่านี้ อาจจะส่งผลกระทบไปยังข้อต่อต่างๆหรือทำให้เกิดการฉีกขาด รั่วพังของระบบท่อหรือเครื่องจักรได้

ฝายาหม่องมีความหนา 10 มม. เท่ากับค่าทรุดตัวที่ยอมรับได้ตามข้อกำหนดในการออกแบบหรือ สเปคของงานฐานราก

การอ้างว่า ปตท.ได้ออกแบบและก่อสร้างตามหลักมาตรฐานทางวิศวกรรมที่กำหนดไว้อย่างเคร่งครัด ภายใต้การตรวจสอบควบคุมโดยบริษัทวิศวกรที่ปรึกษาระดับโลกอย่างละเอียดในทุกขั้นตอน

ในแบบก่อสร้างและข้อกำหนดงานดินในงานฐานรากตื้นต่างๆ ของโรงแยกก๊าซ ปตท. ไม่มีการกำหนดหรือระบุค่ารับน้ำหนักปลอดภัยของดินที่ใช้ในการออกแบบ แต่มีระบุค่าความแข็งแรงของวัสดุอื่น เช่น เหล็กเสริม คอนกรีต และคอนกรีตหยาบไว้อย่างชัดเจน ทั้งที่สาระสำคัญของฐานรากตื้นไม่มีเสาเข็มนั้น ขึ้นอยู่กับค่าการรับน้ำหนักได้ของดินเป็นสำคัญ และต้องใช้ในการควบคุมคุณภาพการก่อสร้างฐานรากตื้น และค่ารับน้ำหนักของดินสูงมากๆนี้ไม่มีการอ้างถึงเลยโดยตลอดในช่วงมีการก่อสร้าง

เสมือน การสร้างคอนโดสูง 10 ชั้นโดยไม่ตอกเสาเข็ม คนสร้างขายบอกว่าแข็งแรง แต่คนซื้อกล้าเข้าไปอยู่มั้ย?!”

จึงได้นำเรื่องข้อเท็จจริงนี้มาขอให้ศาลปกครองมีคำสั่งกำหนดมาตรการบรรเทาทุกข์โดยมีคำสั่งให้ หยุดการดำเนินการต่างๆ ของโรงแยกก๊าซ ที่ 6 และโรงแยกก๊าซอีเทน ของ ปตท. เพื่อให้มีขบวนการตรวจสอบการทรุดตัวของโครงสร้างต่างๆ ให้ได้ข้อมูลข้อเท็จจริงประกอบการพิจารณา และหยุดยั้งความเสี่ยงสูงมากที่มาจากปัญหาฝนตกหนักพายุลมแรงในช่วงนี้ ซึ่งอาจก่อให้เกิดเหตุสลดที่ไม่อาจคาดการณ์ล่วงหน้าได้ และเพื่อจะได้เป็นข้อมูลความจริงที่ชัดเจนถี่ถ้วน ประกอบการวินิจฉัยฯ

ขอแสดงความนับถือ

ศรัลย์ ธนากรภักดี

ผู้ประสานงานกลุ่มพิทักษ์อากาศสดชื่น

081-3574725 WebBlog: http://airfresh-society.blogspot.com/

มีการซ่อมสร้างใหม่จำนวนมาก ซึ่งด้านล่างเป็นเพียงบางส่วน

แบบก่อสร้างฐานราก ระบุความแข็งแรงและชนิดของ คอนกรีต เหล็กเสริม แต่ทำไม ไม่ระบุความแข็งแรงหนาแน่นของดิน ซึ่งจำเป็นต้องควบคุมให้ได้ ตรงกับการออกแบบ

ปตท. แจงว่า ออกแบบและก่อสร้างตามหลักมาตรฐานทางวิศวกรรมที่กำหนดไว้อย่างเคร่งครัด ภายใต้การตรวจสอบควบคุมโดยบริษัทวิศวกรที่ปรึกษาระดับโลกอย่างละเอียดในทุกขั้นตอน

การตรวจสอบการทรุดตัวที่อ้างว่า ทำมาโดยตลอด ซึ่งงานฐานรากทั้งหมด เสร็จปลายปี 2551 และพบมีการทรุดตัวจำนวนมาก มีการรื้อซ่อมสร้างใหม่ เดือน พฤษภาคม 2552 แต่ไม่มีการติดตามตรวจสอบ รายงานการตรวจสอบ ถูกทำขึ้นเมื่อ เดือน มกราคม 2553

ลักษณะการทำงาน ในจุดขุดลึก 10-12 ม. ที่ดำเนินการโดยขาดความปลอดภัย โชคดีที่ดินไม่ถล่มลงมาทับคนงาน การทำงานที่เร่งรัดเร่งด่วนมาก จนละเลยความปลอดภัย ลักษณะดินในจุดขุดลึก เป็นดินโคลนขาว เหมือนดินโคลนจากการขุดสร้างถนน ขณะที่แห้งจะแข็งมากแต่พอโดนน้ำ เหยียบลงไป จะมิดลงถึงหัวเข่า ดินชั้นบนเป็นดินลูกรังที่ปรับถมใหม่ ซึ่งแล้วเสร็จเมื่อ มกราคม 2551 การทดสอบดินแล้วเสร็จ กุมภาพันธ์ 2551 การก่อสร้าง ฐานราก มิถุนายน - พฤศจิกายน 2551 ประมาณ 5 เดือน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น