วันอังคารที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ปิดฝาโลง ฝังขบวนการตรวจสอบ ปตท.มักง่าย โดยศาลปกครอง

"ปิดฝาโลง ฝังขบวนการตรวจสอบ โรงแยกก๊าซใหม่สร้างทำไม่ได้มาตรฐาน โดยศาลปกครอง" ที่จะชี้ให้เห็นชัดเจนแล้วว่า "ปตท.องค์กรมักง่าย ฉ้อฉล อยู่เหนือ กม. อยู่เหนือศาล อยู่เหนือการตรวจสอบ""...เว้ยเฮ้ย!!!
๐ 10.30 น. 6 สิงหาคม 56 คำสั่งศาลปกครองสูงสุด แจงซ้ำๆ "ชาวบ้านไม่มีสิทธิ์ กลัวเจ็บกลัวตาย - ชาวบ้านไม่มีสิทธิ์ฟ้อง" (ทิ้งชาวบ้านให้เสี่ยงตาย กับความมักง่าย ของ ปตท. หน่วยงานต่างๆ ก็อ้างว่าไม่มีอำนาจไปตรวจสอบ เพราะศาลปกครองไม่รับฟ้อง)



เคยเห็นกันมั้ยครับ ผู้ที่ไม่ได้รับความยุติธรรม จากศาลปกครอง จะออกมาป่าวร้อง อะไรๆ แบบนี้ ปตท.แจงว่า มีมาตรการตรวจสอบ ร่วมกับเทศบาล เป็นระยะๆ ในห้วงเวลาหนึ่ง เพื่อสร้างความมั่นใจ ว่าจะไม่สร้างปัญหา สุดท้ายไม่ได้ดำเนิน และศาลปกครอง ก็ไม่เคยที่จะทวงถาม นี่หรือขบวนการของศาลปกครอง ที่บอกว่า เป็นระบบไต่สวน สอบสวน ทั้งๆ ที่ไม่มีการดำเนินการเลย หนังสือชี้แจง ไม่ทำให้อะไรๆ แข็งแรงขึ้นได้ครับ ความมั่นคงแข็งแรงเป็นเรื่องวิทยาศาสตร์ ตรวจสอบพิสูจน์ สิครับ ว่า มันไม่มีปัญหา เพราะเกิดเหตุแล้ว ปตท.ไม่พร้อมรับมือฯ





เรื่องเสาเข็ม เป็นความมักง่ายต่ำกว่ามาตรฐาน แต่ การใช้แบบก่อสร้างที่ไม่มีมาตรฐาน งานพื้นฐานรากฐาน โรงแยกก๊าซใหม่ จึงสร้างทำไม่ได้มาตรฐาน ครับ

ปตท.แจง ศาลปกครองว่า มีมาตรการตรวจสอบ ร่วมกับเทศบาล เป็นระยะๆ ในห้วงเวลาหนึ่ง เพื่อสร้างความมั่นใจ ว่าจะไม่สร้างปัญหา สุดท้ายไม่ได้ดำเนิน และศาลปกครอง ก็ไม่เคยที่จะทวงถาม นี่หรือขบวนการของศาลปกครอง ที่บอกว่า เป็นระบบไต่สวน สอบสวน ทั้งๆ ที่ไม่มีการดำเนินการเลย หนังสือชี้แจง ไม่ทำให้อะไรๆ แข็งแรงขึ้นได้ครับ ความมั่นคงแข็งแรงเป็นเรื่องวิทยาศาสตร์ ตรวจสอบพิสูจน์ สิครับ ว่า มันไม่มีปัญหา เพราะเกิดเหตุแล้ว ปตท.ไม่พร้อมรับมือฯ

หน่วยงานรัฐ อนุมัติ แบบที่ไม่มีมาตรฐาน ถือว่าเป็นการปล่อยปละละเลย เพราะโรงแยกก๊าซใหม่มีอันตรายรุนแรง ที่ทำให้คนทั้งตำบลเจ็บตายได้ ย่อมต้องใช้ความถี่ถ้วนในการตรวจสอบก่อนที่จะอนุมัติให้มีการสร้างทำ ดำเนินการ



อดีตผู้ว่าสยุมพร ย้ำด้วยว่าภัยพิบัติจากเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมในพื้นที่จังหวัดระยอง เกิดขึ้นมาแล้วนับครั้งไม่ถ้วน บางเหตุการณ์เกิดขึ้นซ้ำซาก การแก้ไขปัญหาที่ผ่านมาส่วนใหญ่ ก็มักเป็นไปด้วยรูปแบบและวิธีคิดเดิมๆ คือเข้าไประงับเหตุและช่วยเหลือผู้ได้รับความเดือดร้อน

ภัยพิบัติจากคราบน้ำมันรั่วไหลที่เกาะเสม็ดครั้งนี้ น่าจะนำไปสู่แนวคิดใหม่ๆ ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาระยะยาวเสียที มิใช่ดำเนินการแบบวัวหายล้อมคอกเช่นทุกครั้ง

สิ่งหนึ่งที่ควรดำเนินการคือ การกำหนดให้ผู้ที่กระทำให้เกิดเหตุการณ์ขึ้น ต้องจ่ายค่าชดเชยทางสังคม ให้มากพอ มิใช่เฉพาะ การเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบเท่านั้น โดยอาจจัดตั้ง กองทุนภัยพิบัติ ขึ้นในพื้นที่จังหวัดระยอง หากผู้ประกอบการรายใดได้กระทำให้เกิดความเสียหายขึ้นในพื้นที่ นอกจากจะต้องดำเนินการตามกฎหมายและเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบแล้ว จะต้องจ่ายค่าชดเชยมูลค่าจำนวนมากตามสัดส่วนความเสียหายที่กระทบต่อสังคมเข้ากองทุนด้วย

มาตรการดังกล่าวจะช่วยให้ภาคเอกชนเพิ่มความระมัดระวังและมีมาตรการที่มีประสิทธิภาพ เพื่อมิให้เกิดเหตุการณ์ทำนองนี้ขึ้นเพราะจะนำไปสู่ความรับผิดชอบที่มากขึ้นตามไปด้วย.


วันจันทร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2555

กลุ่มพิทักษ์อากาศ รวมรายชื่อชาวบ้าน ร้องฟ้องให้พิจารณาใหม่


24 กันยายน 2555 คุณศรัลย์ ผู้ประสานงาน กลุ่มพิทักษ์อากาศสดชื่น มาบตาพุดเดินทางไป ศาลปกครอง ศาลฎีกา ผู้ตรวจการแผ่นดิน ยื่นร้องฟ้องใหม่ กรณี ปตท.สร้างทำ โรงแยกก๊าซใหม่ ปตท. ไม่มั่นคงแข็งแข็งเหมาะสม และไม่น่าไว้วางใจผิด พรบ.โรงงาน และวัตถุอันตราย ปี 2535 ที่เมื่อ 8 สิงหาคม 2555 ศาลปกครองสูงสุด มีคำสั่งไม่รับคำฟ้อง แจงว่า "ไม่มีสิทธิฟ้อง" เพราะไม่ใช่ผู้ได้รับผลกระทบ อิงศาลปกครองระยอง ว่า โรงงานอนุมัติถูกต้องตาม พรบ.ควบคุมอาคาร ปี 2522 ที่ไม่ได้แสวงหาข้อเท็จจริง หรือมาตรฐานโรงงาน และรายงานประเมินความเสี่ยง กับอันตรายรุนแรง ที่หน่วยงานรัฐ ให้มีสร้างทำ และ ดำเนินการโรงงานเสี่ยงสร้างหายนะให้เขตชุมชน ฯ - ศาลปกครองสูงสุดไม่รับคำร้อง ให้มายื่นเริ่มต้นใหม่ ที่ศาลปกครองระยอง เป็นแบบนั้น




ขอให้พิจารณาคดีศาลปกครองใหม่
  มีข้อความตามที่จะกล่าว ดังต่อไปนี้
อ้างถึง  คดีหมายเลขดำที่ ๑๒๑/๒๕๕๓ คดีหมายเลขแดงที่ ๑๑๒/๒๕๕๓ ของศาลปกครองระยอง
คำร้องที่ ๘๒๗/๒๕๕๓ คำสั่งที่ ๒๕๐/๒๕๕๕ ของศาลปกครองสูงสุด

ด้วยกรณีคำร้องเรื่อง การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย หรือ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ได้สร้างทำและดำเนินการ โรงงานวัตถุอันตราย และสารไวไฟ ๓ แห่งคือ โรงแยกก๊าซใหม่ที่ ๖ โรงแยกก๊าซอีเทน และโรงงานผลิตสารฟีนอล ของ ปตท. ผิดหรือขัดกับ พระราชบัญญัติโรงงาน ปี ๒๕๓๕ และ พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย ปี ๒๕๓๕ รวมทั้งการปล่อยปละละเลย ของพนักงานเจ้าหน้าที่รัฐ ที่เกี่ยวข้องกับการอนุมัติ-อนุญาต ให้มี สร้างทำ และดำเนินการโรงงานดังกล่าว แต่ศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งไม่รับคำร้องนั้น ซึ่งผู้ร้องเห็นว่า ศาลปกครอง ฟังข้อเท็จจริงผิดพลาด ขณะนี้มีพยานหลักฐานใหม่ อันอาจทําให้ข้อเท็จจริงที่ฟังเป็นยุติแล้วนั้น เปลี่ยนแปลงไปได้ในสาระสําคัญ และขบวนการพิจารณาไม่ชอบตามวิธีพิจารณาคดีของศาลปกครอง มีข้อบกพร่องสําคัญในกระบวนพิจารณาพิพากษา ทําให้ผลของคดีไม่มีความยุติธรรม ดังจะกล่าวดังต่อไปนี้

การที่หน่วยงานรัฐ ปล่อยปละละเลย ให้มีการสร้างทำดำเนินการ โรงงานวัตถุอันตรายและสารไวไฟ ที่มีคลังก๊าซไวไฟขนาดใหญ่ สร้างทำต่ำกว่ามาตรฐาน ไม่มั่นคงแข็งแรงเหมาะสม และไม่น่าไว้วางใจ ในเขตเทศบาล ที่มีชาวบ้านอยู่กันอย่างหนาแน่น จึงย่อมต้องมีความถี่ถ้วนรอบด้านในการใช้อำนาจทางปกครอง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผลกระทบต่อสาธารณะ ที่ตามรายงานการประเมินความเสี่ยง ของโรงแยกก๊าซที่ ๕ ของ ปตท. ที่แจงว่า "คนในรัศมี ๑ กม. ๑๐๐ เปอร์เซนต์ ตายภายใน ๑ นาที ถ้ามีการระเบิดของถังเก็บก๊าซแอลพีจีทรงกลมขนาดใหญ่นั้น" อันตรายรุนแรงอย่างกว้างขวาง ที่กระทบทั้งประชาชน และโรงงานวัตถุอันตรายและสารไวไฟที่รายล้อมอยู่ในรัศมีอันตรายรุนแรงนั้น ....

วันพุธที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2555

ปตท.รัฐวิสาหกิจ สร้างทำ โรงงานวัตถุอันตราย และสารไวไฟ ต่ำกว่ามาตรฐาน คอร์รัปชั่น หรือประมาทมักง่าย ทิ้งภัยเสี่ยงให้ชุมชน ประชาชน ประเทศชาติ


โปสเตอร์ โรงแยกก๊าซเสี่ยงสร้างภัยหายนะ
อันตรายร้ายแรง กับรูปตัวอย่างภัย ที่ซาน ฮัวนิโก ที่ชาวบ้านตายสูญหายนับพัน
บาดเจ็บนับหมื่น บ้านเรือนร้านโรงถูกเผาวอดวาย ค่อนเมือง

ถูก พรบ.ควบคุมอาคาร ปี 2522 ผิด พรบ.โรงงาน ปี 2535
เพราะไม่ใช่เรื่องสร้างทำได้มาตรฐานของโรงงานวัตถุอันตราย - สารไวไฟ

ความเสี่ยงภัยของคนมาบตาพุด
สภาวะส่งเสริมให้เกิดความเสียหาย ไม่ใช่ผลกระทบหรือ

แบบก่อสร้างโรงแยกก๊าซใหม่ ของ ปตท. ที่ไร้มาตรฐาน-ข้อกำหนดงานดิน
แบบก่อสร้างโรงงานติดกับโรงแยกก๊าซใหม่ ที่ทำไม ต้องตอกเสาเข็มจำนวนมาก
ฟ้องแบบไหน ทำไมโรงงานติดกัน ดินแข็งน้อยกว่าถึง 6 เท่า

โรงงานระเบิด เกิดยากส์ แต่ทำไมเป็นข่าวเฉลี่ย มากกว่า 1 ครั้งต่อเดือน

หลักฐานใหม่ไม่ได้ใหม่อะไร เมื่อหลักฐานเก่าไม่อ่านไม่ดู
สิ่งที่ยังไม่ได้อ่านยังไม่ได้ดู...ย่อมถือว่าใหม่ทั้งสิ้น

อยู่ติดตลาด อยู่ตรงกลางระหว่างชุมชน ที่มีโรงงานวัตถุอันตราย และสารไวไฟ รายล้อมอยู่จำนวนมาก
พนง.เจ้าหน้าที่รัฐ หน่วยงานรัฐ ปล่อยปละละเลย ให้มีการสร้างทำ โรงงานวัตถุอันตราย เสี่ยงทรุดพัง อยู่ใกล้ตลาด อยู่ตรงกลางระหว่างชุมชน...ผิดมั้ย กม. ใครบอกได้บ้างไม่ตอกเสาเข็มทั้งโรงงานมันปลอดภัยดีหรือ
- ไม่ใช่แค่ปัญหาป้ายโฆษณาเสี่ยง เพราะล้มพัง สร้างปัญหาทั้งตำบล
พรบ. โรงงาน ปี 2535 อาคารโรงงาน ต้องสร้างทำให้ “มั่นคงแข็งแรงเหมาะสม” ซึ่ง กม.ไม่ได้ระบุว่า ต้องสร้างตาม พรบ.ควบคุมอาคาร เพราะ มาตรฐานของอุตสาหกรรมต่างๆนั้น ต้องการความมั่นคงแข็งแรง ของโครงสร้างต่างกัน ในการสร้างอาคารส่วนผลิต หรือส่วนเก็บกัก ของอุตสากรรมพลังงาน น้ำมันและก๊าซ ซึ่งกำหนดค่าทรุดตัวต่างกันที่ยอมรับได้ ให้ทรุดได้น้อยมาก 5-15 มิลลิเมตร (0.5-1.5 เซนติเมตร) เท่านั้น ซึ่งเป็นข้อกำหนดของ ปตท. หรือเทียบเท่า มาตรฐานสากลทั่วไป หรือเทียบกับความหนาของตลับยาหม่อง เสมือนไม่ยอมให้ทรุดได้เลยนั้น...แล้วทำไม ไม่ตอกเสาเข็มทั้งหมด อายุใช้งาน 30-40 ปี จะทรุดพังปีไหน และถ้าในฤดูฝนนี้ล่ะ ทันการณ์ ทันเวลาหรือไม่ แก้ปัญหา ด้วยหลักวิชาหลักเหตุผล เกิดเหตุภัยร้ายแรง กระทบความมั่นคงของชาติ ๐
ฐานรากที่ไม่ยอมให้ทรุดได้เลยนั้น มาจากเหตุผลที่ว่า “การคำนวณในส่วนของ ระบบท่อก๊าซเหลวที่โยงใยกันยั้วเยี้ยนั้น ประกอบด้วยข้อต่อ จำนวนมาก ประกอบด้วยวาล์วต่างๆ วาล์วควบคุม วาล์วตรวจสอบ วาล์วลดเพิ่มความดัน ความดันของก๊าซเหลวในท่อ อุณหภูมิที่แตกต่าง-เพิ่มลด มีทั้งร้อนจัด ทั้งเย็นจัด แรงดึง แรงสั่น แรงการจากไหล ศึกษาเพื่อไม่ให้เกิดการรั่วไหลซึ่งนั่นหมายถึงความเสียหาย ที่อาจทำให้เกิดไฟไหม้ระเบิดได้ หรือแพร่กระจายสารพิษที่เป็นอันตรายเฉียบพลันได้” การทรุดของฐานยึดต่างๆ ทำให้เกิดแรงเฉือนแรงบิดโมเมนต์มหาศาล ซึ่งแรงต่างๆ นี้ คำนวณไม่ได้ ไม่มีขนาดที่ชัดเจน ดังนั้น มาตรฐานในการสร้างทำ โรงงานที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมพลังงาน จึงถูกกำหนดให้การทรุดตัวที่ยอมจะเกิดขึ้นน้อยมาก เสมือนหนึ่งว่าไม่ยอมให้ทรุดได้เลย ซึ่งตรงนี้ เป็นเหตุผลว่า ทำไม พรบ.โรงงาน จึงไม่ได้บอกว่า “การสร้างทำอาคาร ให้อิง พรบ.ควบคุมอาคาร ปี 2522” เพราะต้องสร้างทำให้เหมาะสม กับความต้องการตามมาตรฐานของอุตสาหกรรมนั้นๆ ซึ่งไม่ได้กำหนดไว้ ใน พรบ.ควบคุมอาคาร ซึ่งเป็นมาตรฐานที่ระบุให้ใช้ทั่วไป
การทรุดเกิดขึ้นแล้วหรือไม่ - ระหว่างที่ทำการติดตั้งเครื่องจักร ในโรงแยกก๊าซใหม่ ของ ปตท. มีการทรุด และรื้อซ่อมใหม่ มากกว่า 10 จุด และก่อนที่จะมีการทดสอบระบบ มีการตรวจสอบเบื้องต้น พบว่า มีการทรุดตัวต่างกันเกินค่าทรุดตัวที่ยอมรับได้ คือ 5มิลลิเมตรไปแล้ว ในหลายจุด จากรายงานการทดสอบ เพียง 20 ฐานราก จากทั้งหมดมากกว่า 2,000 ฐานราก เมื่อ เดือนมกราคม 2553
การประเมินอันตรายร้ายแรง
เมื่อไม่ตอกเสาเข็มทั้งหมด และมีข้อกำหนดความทรุดตัวต่างกันน้อยมาก 0.5-1.5 ซม.เท่านั้น ที่จะไม่กระทบกับท่อและข้อต่อต่างๆ อุปกรณ์ต่างๆ ที่จะทำให้เกิดก๊าซแตกรั่วได้ โอกาสเกิดการรั่วไหลรุนแรงจึงมีโอกาสสูงมาก เพราะการไม่ตอกเสาเข็มทั้งโรงแยกก๊าซที่ 6 และโรงแยกก๊าซอีเทน ดังนั้นที่ทำการศึกษาประเมินบ่งชี้ความเสี่ยง การศึกษา HAZOP ที่ไม่ได้อ้างอิงการทรุดของฐานรากต่างๆ เอาไว้ด้วย วัสดุ อุปกรณ์ต่างๆ ย่อมอยู่ในความไม่แข็งแรง ทั้งระบบ
เมื่อมีการเสี่ยงทรุดของฐานราก 2-3 พันตัว ไม่ใช่เรื่องสภาวะแวดล้อมกลไกภายนอก หรือจากเหตุไม่คาดฝัน จากพายุร้อยปี แผ่นดินไหวอะไรนั่น แล้วทำไมต้องปล่อยให้มีความเสี่ยงมหาศาล กับ พนง.ปตท. เอง กับประชาชนชาวบ้าน ประเทศชาติ ...กรมโรงงาน และผู้เกี่ยวข้อง ต้องให้ ปตท. ประเมินความเสี่ยงของทุกโรงงานใหม่ทั้งหมด และทำการซ่อมสร้างใ้ห้เป็นไปตาม "มาตรฐานสากล" ของ ท่อ-ข้อต่อ-วาล์ว และวัสดุอุปกรณ์อื่นๆ
อันตรายและความรุนแรง จาก ตารางรัศมีการได้รับผลกระทบ กับแผนที่ จะพบว่า
ในรายงาน ปิดความจริงในส่วนของผลกระทบพื้นที่ครอบคลุมทั้งตลาด และหลายชุมชน
ระยะ 600 ม. รัศมีเหตุรุนแรง  ผลกระทบต่อคน ซึ่งคน 100% ตายภายใน 1 นาที
ที่ระยะ 600 ม. รัศมีเหตุรุนแรง  ส่งผลกระทบต่อคน คน 100% ตายภายใน 1 นาที
โอกาสในการระเบิด 6 ใน 1,000,000,000 ซึ่งยากมาก แต่การสร้างทำโดยไม่มั่นคงแข็ง แรง ฝนตกหนัก พายุลมแรง จะล้มพังสร้างภัยหรือไม่ โอกาสการเกิดมาจากสถิติในหนังสือนั้น เชื่อถือได้แค่ไหนก้อในเมื่อเมืองไทย เดือน 2 ครั้ง วันที่ 5-5-55 โรงงาน บีเอสที มาบตาพุดระเบิด และ วันที่ 4-7-55 โรงกลั่นบางจากระเบิด...และจะเมื่อไหร่ที่ไหนอีก

โอกาสเกิดการรั่วไหลของโปรเพน / LPG เท่ากับ 6 ในล้าน ครั้ง/ปี (เชื่อได้หรือ ทำรั่วไหลกันประจำ)

โอกาสเกิดการรั่วไหลของกาซโซลีนธรรมชาติ เท่ากับ 2 ในแสน ครั้ง/ปี (เชื่อได้หรือ ทำรั่วไหลกันประจำ)
* ระดับความรอน  - ผลกระทบตออุปกรณ  ผลกระทบตอคน *
ในรัศมี 2 กิโลเมตร ครอบคลุม ชุมชน และโรงงานอื่นๆจำนวนมาก จะมีคน 1 % ตายภายใน 1นาที ที่เหลือ 99 % หมายถึง การตาย หรือบาดเจ็บ ไม่ใช่ถูกประเมินว่า จะตายแค่ 1 % ที่เกิดขึ้นที่เม็กซิโก ตายหลายร้อยคน บาดเจ็บหลายหมื่น บาดเจ็บสาหัสหลายพันคน บ้านเรือนถูกเผาวอดวาย ตรงนั้นมีเพียง 1 ใน 7 ของคลังก๊าซ ปตท. เสี่ยง และตรงนี้คือ อันตรายที่ยังไม่รวมถึงอันตรายจากแรงอัดของระเบิด แค่กรณี LPG BLEVE 1 ถัง ใน 12 ถัง ขนาดใหญ่


 
 ที่อ้างว่า มีฝรั่งเป็นวิศวกรที่ปรึกษา แล้วมีมาตรฐานสูงจึงไม่เป็นความจริง
เกิดเหตุภัยแล้ว ประชาชนชาวบ้านตื่นกลัว แม้ไม่เจ็บตาย
คนอยู่รอบโรงงานเสี่ยงภัย ไม่ใช่ผู้มีผลกระทบหรือ ที่ทำไมคน กทม. อยากให้รื้อโรงกลั่นบางจาก
อ้างมีต่างชาติมาสร้างทำ จ้างฝรั่งเป็นวิศวกรที่ปรึกษา จึงมีมาตรฐานสูงระดับโลก ทั้งที่แบบก่อสร้างทั้งหมด ไม่มีข้อมูลกำหนด ว่าดินต้องบดอัดให้แข็งแรงแค่ไหนอย่างไร แล้วจะสร้างทำได้แบบไหน ให้ดินรับแรงได้ตรง กับการออกแบบ ศาลปกครอง อ้างว่า ไม่ผิด กม. แล้วถูก กม. แบบไหนที่โรงงานวัตถุอันตราย สร้างทำกันแบบนี้
 
แบบก่อสร้าง - โรงแยกก๊าซใหม่ ของ ปตท.
ซึ่งแบบของโรงแยกก๊าซที่ 6 และโรงแยกก๊าซอีเทน
ลักษณะคล้ายคลึงกัน ผู้รับเหมาหลักเดียวกัน 
เวลาการก่อสร้างช่วงเดียวกัน งานฐานรากต่างๆ มิ.ย.51-พ.ย.51 ระยะเวลา 5.5 เดือน
ฐานรากทั้งหมด เป็นฐานรากตื้นไม่มีเสาเข็ม
ในส่วนโครงสร้างรับระบบท่อเป็นฐานรากหล่อสำเร็จ
แต่โรงแยกก๊าซอีเทน ขออนุมัติโครงการก่อน จึงไม่ได้ถูกระงับ
(แบบที่ใช้ในการก่อสร้าง ทั้งหมดจะไม่มีการลงนามอนุมัติ ต่างกับแบบก่อสร้างในระบบราชการ)
สังเกตุด้านขวาของแบบซึ่งระบุชนิดและความแข็งแรงของคอนกรีตและเหล็กเสริม
แต่ไม่มีการระบุความแข็งแรงหรือความหนาแน่นของดิน
เพราะชนิดและความแข็งแรงของวัสดุเป็นการกำนดจากการออกแบบฐานราก
(วัสดุเกี่ยวข้องกับงานฐานราก - ความแข็งแรงของดินหรือเสาเข็ม, คอนกรีต และเหล็กเสริม)
แบบฐานราก-ถังเก็บสารเคมีเหลว
แบบฐานราก-ถังเก็บก๊าซทรงกลม ขนาด 6,000 3
แบบฐานราก-หอต้ม/หอความดัน ความสูง 40-50 ม. (ลดหลั่น)
แบบฐานราก-โครงสร้างรับระบบท่อ ความสูง 21-24 ม.
แบบโครงสร้างรับท่อ
ค่ากำหนดมาตรฐานการทรุดตัวที่ยอมรับได้ ในการออกแบบก่อสร้างฐานรากคอนกรีตและพื้นคอนกรีต โดยกำหนดค่าทรุดตัวที่ยอมรับได้น้อยมาก เพียง 5-15 มม. หรือ 0.5-1.5 ซม. หรือหนาเท่าฝายาหม่องตราลิงถือลูกท้อ สำหรับการทรุดตัวทั้งหมด และค่าทรุดตัวต่างกัน ถ้านึกไม่ออกว่า การทรุดตัวต่างกันเป็นแบบไหน ให้นึกถึงถังซักผ้า ตอนที่ฐานถังวางเอียง ถังจะสั่นแรงมากมีเสียงดังมาก จนบางครั้งเครื่องอาจหยุดทำงาน เพราะมอเตอร์ ร้อนจัด - การทรุดตัวไม่เท่ากัน จะทำให้เกิดแรงบิดมหาศาล กรณีที่มีระยะห่างน้อยและมีการทรุดตัวมาก ท่ออาจบิดตัวจนฉีก หรือข้อต่อต่างๆ หลุดหลวม เยื้องศูนย์ ซึ่งการระงับเหตุทำได้ยากยิ่ง กรณีที่รั่วบริเวณข้อต่อหรือวาล์วควบคุม ในกรณีที่ท่อน้ำแตกรั่วไหลยังต้องใช้เวลานานในการซ่อม น้ำยังเจิ่งนองไปทั่ว แต่ถ้าลองนึกถึงก๊าซไวไฟรั่ว หรือท่อส่งก๊าซอันตรายรั่วแบบควบคุมยาก จึงเป็นที่มาว่า มันจะเกิดเหตุไฟไหม้ และระเบิดอย่างไร


 







แค่ทรุด ... ทำไมเสี่ยง! ไฟไหม้ระเบิดควบคุมไม่ได้ ดูภาพแล้วลองจินตนาถึงเหตุต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น ซึ่งไม่ใช่แค่ผนังร้าวปูนแตก ก๊าซแอลพีจีที่รั่วออกมา มีอัตราการขยายตัว 250 เท่า และหนักกว่าอากาศ จะไหลลงสู่ที่ต่ำ สามารถเกิดระเบิดที่จุดที่เกิดการรั่วไหล เพราะจะควบแน่น ปิดบริเวณรูรั่วก่อนที่จะเกิดการระเบิดและติดไฟ ซึ่งเมื่อเป็นกลุ่มไฟ จะขยายตัวจากกีาซอีก 250 เท่า แล้วให้นึกภาพท่อต่างๆ ขนาดใหญ่ คลังก๊าซแอลพีจี ที่มากถึง 4 พันคันรถ

 
คนไทย จะอยู่กันไป แบบนี้หรือ  (ที่สื่อกันในสังคมออนไลน์ กับจิตสาธารณะแบบไทยๆ)
คนไทย เราจะอยู่กันแบบนี้หรือ ประเทศไทยมีกฎหมายมากมายใช้ควบคุมกำกับ มีหน่วยงานเจ้าหน้าที่รัฐก้อมากมาย มีสื่อมวลชนอ้างตัวอ้างตนกันว่าดีก็มีเยอะ มีศาลปกครอง ที่อ้างกันว่า เป็นที่พึ่งพาของประชาชน ตาม รธน.ฯ
๐ หายนะซ้ำซากของประชาชน เกิดเพราะใคร อะไร รูปเชิงประจักษ์นี้ บอกอะไร เราๆท่านๆ จะปล่อยให้บ้านเมืองไทย อยู่กันไปแบบนี้หรือ สึนามิ คราก่อน ล้มตายหลายพัน ก็เพราะไม่สนใจใส่ใจ มาวันนี้ จะรอ บทเรียนชอกช้ำ ให้เกิดซ้ำๆ อีกหรือ...ที่ไม่ใช่แค่ ชาวบ้านมาบตาพุด บาดเจ็บล้มตาย ประเทศชาติส่อแววหายนะเลยนะครับ ถ้าระงับไม่ได้ เอาไม่อยู่ ลองใช้ คำว่า “ถ้า...แล้วอะไรจะเกิดขึ้น”  WHAT-IF วิธีง่ายๆใช้ประเมินบ่งชี้อันตราย กับ คลังก๊าซแอลพีจี 4 พันคันรถ กับโรงแยกก๊าซใหม่ ปตท. ที่ไม่ตอกเสาเข็มทั้งหมด โรงกลั่น-โรงไฟฟ้า-โรงงานสารเคมีอันตราย-วัตถุไวไฟ มากมายที่รายล้อม ถ้าลุกลามไหม้ไฟ ระเบิดไปด้วยกัน อะไรมันจะเกิดขึ้น กับประเทศไทยที่รักของเรา !?
 
พรบ. โรงงาน ปี 2535 อาคารโรงงาน ต้องสร้างทำ “ให้มั่นคงแข็งแรงเหมาะสม
ซึ่ง กม.ไม่ได้ระบุว่า ต้องสร้างตาม พรบ.ควบคุมอาคาร เพราะ มาตรฐานของอุตสาหกรรมต่างๆ
ต้องการความมั่นคงแข็งแรง ของโครงสร้างต่างกัน ในส่วนอาคารส่วนผลิต หรือส่วนเก็บกัก
ของอุตสากรรมพลังงาน น้ำมันและก๊าซ ซึ่งกำหนดค่าทรุดตัวต่างกันที่ยอมรับได้
ให้ทรุดได้น้อยมากเพียง 5-15 มิลลิเมตร หรือ 0.5-1.5 เซนติเมตร เท่านั้น
เป็นข้อกำหนดของ ปตท.ที่เขียนขึ้นเอง หรือเทียบเท่ามาตรฐานสากลทั่วไป
๐ เกิดเหตุแล้ว น้ำตาไม่ช่วยอะไร เทียนไฟ  ดอกไม้ อะไรๆ ไม่ต้องเอามาทำท่าระลึกนึกถึง วันนี้ที่ควรช่วยกันระงับเหตุ แต่ก้อไม่ทำอะไรอย่างไรกัน ช่างมรึง ช่างแมร่ง ช่างมันกันไปหมด แล้วไหนล่ะ ที่บอกว่า “คนไทยไม่ทิ้งกัน” 
กรณีการระเบิดแบบ LPG BLEVE ของ ถังเก็บลูกโลก 4,000 3
ระดับความร้อน 37.5 (kW/m 2 ) - รัศมี 0.6 กม.จากโรงแยกก๊าซที่ 6 ผลกระทบกับคน 100% ตาย ภายใน 1 นาที / 1% ตาย ภายใน 1 วินาที ประชาชนชาวบ้านมากแค่ไหน ในรัศมี 1 กม. ของ โรงแยกก๊าซ ใหม่ ที่ 6 ที่ ตุลาการศาลปกครอง อ้างว่า เสี่ยงตาย 100% แบบนี้ ไม่มีผลกระทบ กับโรงงานเสี่ยงทรุดพัง ที่มีคลังก๊าซไวไฟจำนวนมหาศาล ที่อยู่ตรงกลางระหว่างชุมชน-และโรงงานอื่นๆ จำนวนมาก ฯ
ศาลปกครองที่พึ่งของประชาชน โดยตรงตามรัฐธรรมนูญ ไม่ดูข้อ กม.โดยถี่ถ้วน แต่จะเป็นแค่ นายประกัน ให้ ปตท. หน่วยงานรัฐปล่อยปละละเลย มักง่ายไม่รอบคอบปล่อยให้สร้างทำ โรงงานวัตถุอันตราย ไม่ตอกเสาเข็ม หลายโรงงาน ในมาบตาพุด "มั่นคงแข็งแรงเหมาะสม และไว้วางใจได้" แค่ไหน กม. พรบ.โรงงาน พรบ.วัตถุอันตราย ปี 2535 มีอยู่ แต่ทำไม่รู้ไม่สนใจ ศาลปกครอง ทำตัวให้ประชาชนพึ่งไม่ได้ กลับทิ้งภัยให้ประชาชนอีก แบบนี้ "ละเว้นการทำหน้าที่โดยสุจริต" หรือไม่!? – เมื่อขบวนการศาลเลือกใช้ช่องโหว่ของ กม. แล้วทิ้งภัยให้ประชาชนชาวบ้าน ๐
  วันที่ ศาลปกครอง รู้สึกสั่นคลอน และมีความเสี่ยง อ้างว่ามีกลุ่มคนจะจ้องรื้อล้ม พวกท่านเรียกร้องให้สื่อ ให้ประชาชนช่วย เพื่อช่วยกันรักษาพวกท่าน องค์กรท่านไว้ อ้างว่า เพื่อเป็นที่พึ่งพาของประชาชน ดำรงความเป็นธรรม ชอบธรรม สร้างความปลอดภัยผาสุกให้สังคม แต่ครั้นเมื่อประชาชนเสี่ยงเจ็บตายตื่นกลัว ท่านกลับบอกว่า “ประชาชน ไม่มีสิทธิ จะกลัวเจ็บกลัวตาย” ทั้งที่เมื่อเกิดเหตุร้ายแรงแล้ว ก็ไม่มีหน่วยงานไหนดูแลประชาชนได้ แม้กระทั่งขบวนการศาลปกครอง ก็ไม่เคยเอ่ยถึงเรื่องที่เกิดขึ้น และยังซ้ำเติมด้วยการทิ้งประชาชนให้เสี่ยงเจ็บตายได้อีก 
* ประชาชนชาวบ้าน ไม่มีที่พึ่งแล้ว จริงๆ หรือ? *
เหตุโรงงาน บีเอสที มาบตาพุดระเบิด เมื่อวันที่ 5 พ.ค. 55
เกิดเหตุภัยแล้วระงับไม่ได้เอาไม่อยู่ ถ้าไม่มีฝนช่วย ซ้ำร้ายยังปล่อยทิ้งให้ชาวบ้านให้ตาย
ไม่มีสัญญาณเตือนภัย ไม่มีการแจ้งเตือน แจ้งภัย แจ้งให้อพยพ
ทุกฝ่ายอ้างว่าไม่มีอำนาจหน้าที่ ไม่มีใครกล้าสั่ง ถ้าประชาชนเจ็บตายจำนวนมาก ก้อคงแค่โยนกันไปมา
เมื่อสร้างทำกัน ไม่มั่นคงแข็งแรงและไม่เหมาะสม ไม่ตอกเสาเข็มทั้งหมด
ทรุดพัง ก๊าซรั่วไฟไหม้ระเบิด ลุกลาม สร้างภัยหายนะ
เป็นเพียงการคาดการณ์ จินตนาการเกินจริง หรือ
คนมาบตาพุดไม่มีสิทธิ์กลัวเจ็บกลัวตาย หรือ ๐
** โอกาสของการเกิดเหตุน้อยมาก มีเพียง 1.2 ในร้อยล้าน ครั้งต่อปี ปีนี้คนไทยได้เห็น 2 ครั้ง **
เหตุโรงกลั่นบางจากระเบิด เมื่อวันที่ 4 ก.ค. 55
* ผู้ว่า กทม. ใช้ พรบ.ป้องกัน-บรรเทาสาธารณะภัย สั่งรื้อป้ายเสี่ยงที่อนุมัติถูก กม. ... ซึ่งโรงงานเสี่ยงภัย
ใช้ กม.ฉบับเดียวกัน สั่งไล่รื้อได้ เป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติ ถ้าโรงแยกก๊าซใหม่ ปตท.ระเบิด*
* ปตท. อ้างว่ามีต่างชาติมาสร้างทำ จ้างฝรั่งเป็นวิศวกรที่ปรึกษา จึงมีมาตรฐานสูง ระดับโลก ทั้งที่แบบก่อสร้าง ทั้งหมด ไม่มีข้อมูลกำหนด ว่าดินต้องบดอัดให้แข็งแรงแค่ไหนอย่างไร แล้วจะสร้างทำได้แบบไหน ให้ดินรับแรงได้ ตรงกับการออกแบบ ศาลปกครอง อ้างว่า ไม่ผิด แล้วถูกแบบไหน โรงงานวัตถุอันตรายสร้างทำกันแบบนี้ *
โครงการ โรงแยกก๊าซที่ 6 และโรงแยกก๊าซอีเทน ของ ปตท.
บ.SAMSUNG เป็นผู้รับเหมาหลัก บ.FOSTER WHEELER เป็นวิศวกรที่ปรึกษา บ.อิตาเลี่ยนไทย ผู้รับเหมาย่อยงานฐานราก - กลุ่มผู้ร้องเรียน เป็นวิศวกรโยธา ที่ก่อสร้างฐานรากเสี่ยง กับสำนึกที่จะลบภัยที่จะเกิดแก่สาธารณะ
๐ มองยาก เข้าใจยากแบบไหน หอความดันสูง หอแยกก๊าซ กลั่นก๊าซ
ฐานรากไม่ตอกเสาเข็ม มั่นคงแข็งแรงเหมาะสม และน่าไว้วางใจหรือ ๐
ป้ายโฆษณาล้มทับคนตาย เป็นเหตุร้ายแรงที่สุดในเรื่องป้ายเสี่ยง กรณีโรงแยกก๊าซใหม่เสี่ยง นั้น...
เหตุร้ายแรงที่สุดคือ คลังก๊าซระเบิด เพราะสร้างทำไม่มั่นคงปลอดภัย เชื่อแค่ไหน เกิดเหตุภัยแล้วจะเอาอยู่ ๐
* เกิดภัยร้ายไม่ใช่แค่ปัญหาป้ายโฆษณาเสี่ยงล้มพัง แต่จะสร้างหายนะภัยให้หลายชุมชน และประเทศชาติด้วย *
 
ประธานเจโทร (กรุงเทพ) เคยหวัง
ว่า นายอภิสิทธิ์ สมัยที่เป็น นายกรัฐมนตรี จะดำเนินการเรื่องนี้อย่างเหมาะสม แต่นายอภิสิทธิ์ กลับไม่ดำเนินการอะไรเลย ทั้งที่ได้รับ หนังสือร้องเรียนเรื่องนี้ 2 ครั้งกับมือ แต่ไปให้สัมภาษณ์ว่า...จะเร่งรัดจัดทำ สัญญาณเตือนภัย
ข้อมูลอ้างอิง เชิงประจักษ์ ที่ทำไม ต้องตรวจสอบเสริมสร้าง โรงงานจำนวนมาก ของ ปตท. ในมาบตาพุด ที่ไม่ตอกเสาเข็มฐานรากทั้งหมด มีรายละเอียด ใน http://khonmaptaphut.blogspot.com/2011/06/blog-post.html
แม้ ปตท. ส่งแม่บ้านมาสกัด แต่นายอภิสิทธิ์ ได้รับรู้ข้อมูลทั้งหมดแล้ว เมื่อ 16 ม.ค.2553
แม้จะรับหนังสืออีกครั้ง เมื่อ 20 พ.ย. 2553 แต่ก็ยังคงเฉย ไม่สั่งการอย่างใด เร่งรัดสัญญาณเตือนภัยซ้ำอีก
21.50 น. วันที่ 11 มิ.ย. 54 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ได้เดินทางไปยังสนามกีฬาจังหวัดระยอง เพื่อขึ้นปราศรัยใหญ่ของพรรคประชาธิปัตย์ ช่วยผู้สมัคร ส.ส.ภาคตะวันออก โดยมีประชาชน ประมาณ 3,000 คน มารอฟังการปราศรัย ทั้งนี้ นายอภิสิทธิ์ ได้ย้ำถึงนโยบายเพื่อประชาชนของพรรคประชาธิปัตย์ อาทิ แนวทางการแก้ปัญหาของพื้นที่โดยเฉพาะปัญหาวิกฤตินิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ที่มีผลกระทบต่อสภาวะแวดล้อมของรัฐบาลที่ผ่านมาที่สามารถหาความสมดุลให้กับภาคอุตสาหกรรมและสิ่งแวดล้อม โดยนายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ความปรองดองที่ต้องการอยู่ในทุกวันนี้ ต้องมาดูจากการแก้ปัญหาของมาบตาพุดเป็นตัวอย่าง” -(เกิดภัยแล้ว สัญญาญเตือนภัยไม่ดัง)
*อดีตนายก อภิสิทธิ์  แจงว่า แก้ปัญหามาบตาพุดเบ็ดเสร็จสำเร็จ ... แต่ปล่อยให้ชาวบ้านเสี่ยงตายกันไป *
แบบนี้มั้ย ทำไมบอกว่า "นายกอภิสิทธิ์เลือดเย็น" ทั้งที่ มีอำนาจที่จะสั่งให้มีการตรวจสอบซ่อมสร้าง ตาม พรบ. ป้องกัน และบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ ปี 2550 และ พรบ.ความมั่นคงภายใน ปี 2551 ที่ให้อำนาจเต็มไว้ฯ
จดหมายตอบจาก เจโทร(กรุงเทพ) เรื่องโรงแยกก๊าซ ปตท. เสี่ยง
Letter to JETRO (BANGKOK) and His Reply
ประธานเจโทร กรุงเทพ ใช้เวลาเพียง 2 วัน ในการเร่งรัดตอบจดหมาย ที่ทางกลุ่มส่งไปให้รับรู้ และช่วยหาทางแก้ไข
ทำไมคนญี่ปุ่นให้ความสนใจ แต่ทำไมคนไทย พากันเย็นชาเฉยชานิ่งเฉยกันหมด ... ฯ
ประธานคณะกรรมการบริหาร เจโทร (กรุงเทพ) องค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น
Munenori Yamada
President,
JETRO Bangkok
บางส่วนของจดหมายตอบกลับ
… “We assure you that we are committed to indicated rules and regulations, and we do not compromise any safety standards.
In your email, you have delivered your concern to PM Abhisit and other ministers. We, Japanese and Japanese business community who enjoy staying in our great Thailand, strongly hope that Thai government will make proper actions on this issue. “ ....
ในอีเมลของคุณ คุณได้ส่งให้ นายกอภิสิทธิ์ และรัฐมนตรีหลายท่าน รวมทั้งผู้เกี่ยวข้องต่างๆ ไปแล้วนั้น เราชุมชนธุรกิจญี่ปุ่นและญี่ปุ่นที่ได้อยู่ในประเทศไทยได้อย่างดีและมีความสุข เราหวังอย่างสูงยิ่งว่า รัฐบาลไทยจะการดำเนินการกับปัญหานี้ อย่างเหมาะสมต่อไป 
แต่ นายอภิสิทธิ์ กลับไม่ทำอะไรเลย !!!???
น้ำท่วมดอนเมือง กับ หลายนิคมล่มจมน้ำ เป็นเรื่องที่ไม่มีใครคาดคิดว่ามันจะเกิด
เกิดเหตุแล้ว เสียหายแล้ว  มาจากอะไร เพราะเหตุภัยธรรมชาติทั้งหมดหรือ
คราก่อน...ถ้าเหตุภัยระงับไม่ได้ ลุกลามเอาไม่อยู่
ประชาชน ชาวบ้าน จะเจ็บตายมากเท่าไหร่
ที่ถูกปล่อยทิ้งให้ตาย การรับสถานการณ์ฉุกเฉิน
ที่ล้มเหลวโดยสิ้นเชิง ชาวบ้านอพยพหนีตาย
เมื่อดูทีวี ที่ผู้ว่าระยอง สั่งอพยพ / ก๊าซรั่ว เพราะซีลวาล์วแตกรั่ว มันไฟไหม้-ระเบิดเองได้

ชุมชนมากมายรายล้อมอยู่ กับโรงแยกก๊าซใหม่ ปตท.สร้างเสี่ยง
อยู่ติดตลาดอยู่ตรงกลางระหว่างชุมชนจำนวนมาก และโรงงานอันตรายอื่นๆ จำนวนมาก
จะทิ้งภัยเสี่ยงให้ประเทศชาติประชาชนหรือ หรือคิดเพียงว่า มันจะไม่เกิด หรือคิดว่า จะเอาอยู่
พรบ.ป้องกัน-บรรเทา สาธารณภัย พรบ.ความมั่นคงภายใน นำมาใช้เพื่อปกป้องประชาชนได้
ข้อมูลเพิ่มจำนวนมากดูได้จากเวบไซด์
ประวัติกลุ่มพิทักษ์อากาศสดชื่น มาบตาพุด

เสี่ยงภัยแค่ไหน เมื่อเทียบกับ การสร้างทำของโรงงานใกล้เคียง

 
ศรัลย์ ธนากรภักดี  - 081-3574725
ผู้ประสานงาน กลุ่มพิทักษ์อากาศสดชื่น มาบตาพุด

วันอังคารที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2555

การประเมินอันตรายรุนแรง ของโรงแยกก๊าซที่ 6 เรื่องทรุด ไม่มีการศึกษา


การประเมินอันตรายร้ายแรง กรณีถังเก็บกักก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) ระเบิด แบบ BLEVE ของ คลังก๊าซ LPG ในโรงแยกก๊าซ คิดจากการระเบิด 1 ถัง ใน 12 ถัง (ถังขนาด 4,000 ม3)


จากผลการศึกษาเมื่อกำหนดให้เกิดรั่วไหลและเกิดเหตุการณ์แบบ Pool Fire จะพบว่าในช่วงระดับพลังงาน 4.0-37.5 kW
/m2 จะมีรัศมีความร้อนแผ่กระจายอยู่ในช่วง 615.6-201.1 เมตร โดยจะครอบคลุมอยู่ภายในพื้นที่โรงแยกก๊าซธรรมชาติ จังหวัดระยอง (ตารางที่ 5.6-2 และรูปที่ 5.6-3) ส่วนการเกิดเหตุการณ์ BLEVE ในช่วงระดับพลังงาน 4.0-37.5 kW/m2 รัศมีความร้อนแผ่กระจายอยู่ในช่วง 2,060-673.8 เมตร โดยรัศมีความร้อนนี้จะครอบคลุมพื้นที่โรงแยกก๊าซธรรมชาติ นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด หลายชุมชนในตำบลมาบตาพุด ครอบคลุมตลาดมาบตาพุด (ระยะรัศมี 2 กม. นั้นเกือบถึงศูนย์ราชการ - นิคมอุตสาหกรรม ไออาร์แอล - นิคมอุตสาหกรรมเหมราชภาคตะวันออก)

สรุปการประเมินอันตรายร้ายแรง
จากผลการศึกษาเมื่อเกิดกรณีสารเคมีรั่วไหล ลูกไฟ (Fireball) Pool Fire และ Jet Fire ที่อาจจะเกิดขึ้น จะมีรัศมีความร้อนจะครอบคลุมพื้นที่ภายในพื้นที่โรงแยกก๊าซธรรมชาติและบริเวณใกล้เคียง แต่กระนั้นเหตุการณ์เหล่านี้มีโอกาสเกิดขึ้นน้อยมาก เนื่องจากทางโรงงานมีมาตรการป้องกันด้านต่าง ๆ มากมาย รวมถึงแผนฉุกเฉิน และการศึกษา HAZOP ดังนั้นผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากอันตรายร้ายแรงจึงอยู่ในระดับต่ำ ซึ่งมีเพียง 2.5-60 ในพันล้าน ครั้งต่อปี  รั่วไหลทันทีทันใด (Instantaneous Release) VCE 1.2´10-8 FLASH FIRE 4.2´10-8 BLEVE 6.0´10-9

การศึกษา HAZOP
Hazard and Operability Study (HAZOP) เป็นเทคนิคการศึกษา วิเคราะห์และทบทวนเพื่อชี้บ่งอันตรายและค้นหาปัญหาที่อาจเกิดขึ้นจากการดำเนินงานโรงงาน โดยการวิเคราะห์หาอันตรายและปัญหาของระบบต่าง ๆ ซึ่งอาจจะเกิดจากความไม่สมบูรณ์ในการออกแบบที่เกิดขึ้นโดยไม่ได้ตั้งใจด้วยการตั้งคำถามที่สมมติสถานการณ์ของการผลิตในภาวะต่าง ๆ โดยการใช้ HAZOP Guide Words ในตารางที่ 1 มาประกอบกับปัจจัยการผลิตที่ได้ออกแบบไว้ หรือความบกพร่องและความผิดปกติในการทำงาน เช่น อัตราการไหล อุณหภูมิ ความดัน เป็นต้น เพื่อนำมาชี้บ่งอันตรายหรือค้นหาปัญหาในกระบวนการผลิตซึ่งอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุหรืออุบัติภัยร้ายแรงขึ้นได้
หมายเหตุ - HAZOP ไม่ได้ประเมินเกี่ยวข้องกับ การทรุดของ Node หรือโครงสร้างทรุด *