วันพุธที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ไฟไหม้โรงงานผลิตเม็ดพลาสติกในมาบตาพุด

ไฟไหม้โรงงานผลิตเม็ดพลาสติกในมาบตาพุด

ระยอง 28 ต.ค. - เกิดไฟไหม้โรงงานผลิตเม็ดพลาสติก ในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จ.ระยอง คนงานวิ่งหนีตายอย่างโกลาหล เจ้าหน้าที่ระดมรถดับเพลิงและรถโฟม จากในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด เทศบาลเมืองมาบตาพุด จ.ระยอง และจากโรงงานใกล้เคียงนับสิบคัน เข้าฉีดน้ำสกัดเพลิงที่ลุกไหม้ภายในบริษัท อินโดรามา โพลีเอสเตอร์ อินดัสตรี้ส์ จำกัด (มหาชน) ถนนไอ 8 ในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด คนงานเล่าว่า จุดเกิดเหตุเป็นโรงต้มน้ำหล่อเย็นในกระบวนการผลิตเม็ดพลาสติก ก่อนเกิดเหตุได้ยินเสียงระเบิดดังขึ้น จากนั้นไฟได้ลุกไหม้อย่างรวดเร็ว ลุกลามไปรอบอาคารโรงงาน แม้คนงานช่วยกันใช้เครื่องดับเพลิงฉีดพ่น แต่ไม่สามารถสกัดเพลิงไว้ได้ ขณะเดียวกัน พนักงานที่กำลังเปลี่ยนกะต่างพากันวิ่งหนีออกมารวมตัวอยู่หน้าประตูโรงงาน เบื้องต้นยังไม่มีรายงานความเสียหายและผู้บาดเจ็บหรือเสียชีวิต ล่าสุดรองผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ได้สั่งปิดโรงงานผลิตเม็ดพลาสติกดังกล่าวที่ถูกไฟไหม้ พร้อมกำชับให้เฝ้าระวังผลกระทบด้านมลพิษตลอดทั้งคืน. - สำนักข่าวไทย

ระยอง..ไฟไหม้โรงงานในนิคมอุตสาหกรรมเอเซีย

วันที่ 27 ตุลาคม 2553 เวลา 19.50 น. ดร.วีระพงศ์ ไชยเพิ่ม รองผู้ว่าการนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด และ นายพีระวัฒน์ รุ่งเรืองศรี ผู้ช่วยผู้ว่าการนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ได้เปิดแถลงข่าวที่ บมจ.อินโดรามา โพลีเอสเตอร์ อินดัสตรีส์ ซึ่งเป็นโรงงานผลิต เส้นใยสังเคราะห์ตั้งอยู่ถนนไอ 2 ภายในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด กรณีเกิดเพลิงไหม้บริเวณหม้อต้มไอน้ำ ซึ่งอยู่ภายในบริษัทฯ ทำให้เกิดมีน้ำมันรั่วไหลออกในระบบแล้วไฟลุกไหม้ที่หม้อต้ม ซึ่งมีขนาดกว้าง ประมาณ 1.5 เมตร จึงแจ้งรถดับเพลิงเทศบาลเมืองมาบตาพุดและโรงงานใกล้เคียง จำนวน 10 คันเข้าระงับเหตุ และสั่งให้คนงาน จำนวน 150คน เข้าหลบอยู่ในที่ปลอดภัยภายในบริเวณโรงงาน เนื่องจากทางโรงงานสามารถควบคุมสถานการณ์เองได้ ใช้เวลาควบคุมเพลิง กว่า 1 ชั่วโมงเพลิงจึงสงบ และได้ฉีดน้ำและโฟม ทำการหล่อเย็น ซึ่งในวันพรุ่งนี้ ทาง กนอ. จะได้ให้วิศวกรเข้าตรวจสอบความเสียหายและสาเหตุที่เกิดขึ้น โดยขณะเกิดเหตุ ได้หยุด การผลิต รอจนกว่าจะมีการตรวจสอบแล้วเสร็จ.

วันศุกร์ที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ปาหี่ หน้าทีวี ... ถกปัญหาสิ่งแวดล้อมในกระดาษ - ทิ้งความจริง คนมาบตาพุด...เสี่ยงหายนะภัย

ทั้ง 3 คน ในฐานะตัวแทนภาคประชาชน ที่จะไปถกกับรัฐบาล ออกทีวี รับรู้เรื่อง คนมาบตาพุดเสี่ยงตาย จากความมักง่ายของภาคอุตสาหกรรมฯ มานานมากแล้ว แต่ไม่ดำเนินการอะไร เพียงบอกว่า ปตท. เขาชี้แจงแล้ว ว่าดินแข็งแรง ทุกอย่างปลอดภัยดี โรงงานลงทุนมหาศาล โดยมีมาตรฐานสูง ไม่ปล่อยให้ไฟไหม้ระเบิดง่ายๆ หรอก อีกทั้งอ้างว่า ถ้าตรวจสอบแล้ว จะต้องตรวจไปทั้งหมด มันจะเป็นเรื่องใหญ่ - ในฐานะผู้แทนประชาชน กลัวว่าโรงงานจะต้องหยุด เพื่อตรวจสอบ แล้วถึงวันนี้ จะไปถกปัญหาอะไร หน้าจอทีวี
คกก. 4 ฝ่าย มามาบตาพุดทีไร ก๊าซรั่วไล่คณะผู้คนที่ไม่จริงใจ จนชาวบ้านเดือดร้อน - ภาครัฐ จัดฉากพบปะประชาชนใกล้ชิดปัญหา ทั้งที่ชาวบ้านในหนองแฟบ ได้รับความเดือดร้อนแสนสาหัส แต่ตัวแทนภาคประชาชน อ้างว่า พูดแล้วคุยแล้ว ... สุดท้ายกลืนน้ำตากันอยู่ทุกวัน
เรื่องความเสี่ยงหายนะภัย ทั้งกอร์ศักดิ์ทั้งสาธิต รู้เรื่องกันหมด แต่ไม่ทำอะไร สว.สาย บอกเรื่องมันใหญ่มาก แต่กับทอดทิ้งให้คนมาบตาพุด เสี่ยงตาย เลือดเย็นกันจัง ... !!!
คมชัดลึก : รัฐบาลเปิดเวทีถกปัญหามาบตาพุดผ่านช่อง 11 วันที่ 20 ตุลาคมนี้ นายกฯ นำทีมฝ่ายรัฐบาล ส่วน "สุทธิ" มาพร้อมตัวแทนภาคประชาชนอีก 2 คน หวังใช้เวทีหาทางออกอย่างสร้างสรรค์ แก้ความเข้าใจที่ยังไม่ตรงกัน

แหล่งข่าวจากทำเนียบรัฐบาลเปิดเผยว่า ในวันที่ 20 ตุลาคม 2553 รัฐบาลจะจัดเวทีเสวนาออกรายการโทรทัศน์ หรือ ดีเบต เรื่องการแก้ไขปัญหานิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ที่ยังมีความเห็นไม่ตรงกันในเรื่องประกาศกิจการรุนแรงระหว่างรัฐบาล ภาคประชาชน ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย กรมประชาสัมพันธ์ ช่อง 11 หรือเอ็นบีที ตั้งแต่เวลา 20.00-21.30 น. โดยเบื้องต้นฝ่ายรัฐบาลได้กำหนดตัวบุคคลที่จะร่วมเวทีดีเบตจำนวน 3 คน ได้แก่ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายสุวิทย์ คุณกิตติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และนายชัยวุฒิ บรรณวัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม

ส่วนตัวแทนจากภาคประชาชน ได้แก่ นายสุทธิ อัชฌาศัย ผู้ประสานงานเครือข่ายประชาชนภาคตะวันออก นายธงชัย พรรณสวัสดิ์ ประธานคณะอนุกรรมการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนเพื่อปรับปรุงรายการโครงการหรือกิจการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงทั้งด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพ ในคณะกรรมการ 4 ฝ่ายเพื่อแก้ไขปัญหานิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด และ น.ส.รสนา โตสิตระกูล สมาชิกวุฒิสภากรุงเทพมหานคร

นายสุทธิ กล่าวว่า ในส่วนของตัวแทนภาคประชาชนอาจจะมีการหารือกันนอกรอบก่อน ในวันที่ 18 ตุลาคมนี้ เพราะอยากเห็นการหารือครั้งนี้มีประโยชน์ต่อสาธารณะ และนำไปสู่การแก้ไขปัญหาร่วมกันมากกว่า ไม่อยากเห็นการออกทีวีถกเถียงกัน เหมือนกรณีปราสาทพระวิหาร แต่สุดท้ายก็ไม่มีข้อยุติ โดยประเด็นที่จะต้องหยิบมาหารือผ่านเวทีเสวนา เช่น กระบวนการพิจารณาเพื่อกำหนดพื้นที่โครงการที่อาจก่อผลกระทบรุนแรง ส่วนประเภทโครงการรุนแรง ยังมีเรื่องการกำหนดขนาดกับบางกิจการที่ยังแขวนไว้ เป็นต้น

“ผมไม่กังวลว่าจะเสียเปรียบในการหารือรอบนี้ เพราะคิดว่าเป็นรูปแบบการทำงานใหม่มากกว่า ทั้งไม่ได้ต้องการสร้างความขัดแย้งกับรัฐบาล แต่จะพูดเชิงสร้างสรรค์มากกว่า ข้อไหนที่เห็นตรงกันก็ให้สาธารณชนรับทราบ แต่ที่ยังเห็นต่างก็จะไม่ถกเถียง โดยจะดึงมุมที่เห็นต่างกับรัฐบาลออกมา และรัฐบาลต้องชี้ช่องให้เห็นทางออก” นายสุทธิ กล่าว

ด้าน น.ส.สุชญา อัมราลิขิต ผู้อำนวยการสำนักวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม สผ. กล่าวว่า ขณะนี้มีโครงการอย่างน้อย 6 โครงการ ได้ส่งรายงานประเมินผลกระทบสุขภาพในรายงานอีไอเอ (อีเอชไอเอ) ฉบับสมบูรณ์ให้แก่ สผ.พิจารณาแล้ว โดยเป็นโครงการด้านปิโตรเคมี 1 แห่ง และท่าเทียบเรือ 1 แห่ง โดย สผ.เตรียมนัดประชุม คชก.เพื่อพิจารณาโครงการรุนแรงในมาบตาพุด นัดแรกวันที่ 15 ตุลาคมนี้

“กอร์ปศักดิ์” เข้าฉาก...พบประชาชนพื้นที่จังหวัดระยอง

“กอร์ปศักดิ์” ลงพื้นที่จังหวัดระยอง ติดตามการแก้ไขปัญหา 5 โครงการเร่งด่วนในพื้นที่มาบตาพุด หลังรัฐบาลอนุมัติงบเกือบ 300 ล้านบาท เผยยังไม่พอใจกับการแก้ไขปัญหาของภาคเอกชน พร้อมให้เวลา ปตท. 1 เดือนในการแก้ไขเรื่องแนวกันชน วันนี้ (15 ต.ค. ) ที่ศูนย์ราชการจังหวัดระยอง นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ ประธานอนุกรรมการติดตามรายงานผลกระทบการแก้ไขปัญหาในพื้นที่มาบตาพุดและบริเวณใกล้เคียง จังหวัดระยอง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้ประชุมร่วมกับผู้แทนชุมชน 33 ชุมชนในพื้นที่มาบตาพุด และติดตามความก้าวหน้า การแก้ไขปัญหาในพื้นที่มาบตาพุดและบริเวณใกล้เคียง ซึ่งเน้น 3 เรื่องหลัก ประกอบด้วย 1.โครงการแก้ไขปัญหาเริ่งด่วนของมาบตาพุดและบริเวณใกล้เคียงจังหวัดระยอง 2. การแก้ไขปัญหาน้ำ เพื่อการอุปโภคบริโภค ของประชาชน 3.การจัดทำแนวป้องกัน ของบริษัท พีทีที โพลีเอทิลีน จำกัด นายกอร์ปศักดิ์ กล่าวว่า การปฏิบัติงานในพื้นที่จังหวัดระยองของคณะอนุกรรมการฯครั้งนี้เป็นครั้งที่ 2 เพื่อติดตามการแก้ไขปัญหาในพื้นที่มาบตาพุดและบริเวณใกล้เคียง ซึ่งเน้น 3 เรื่องหลัก 5 โครงการเร่งด่วน (จาก 8 โครงการ) ที่รัฐบาลได้อนุมัติเพื่อแก้ไขปัญหาในพื้นที่มาบตาพุด ประกอบด้วย 1 โครงการที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 10 ส.ค. 2553 จำนวน 3 โครงการ วงเงิน 31 ล้านบาท (งบกลางปี 53) (โครงการที่ 1-3 ) และ 2 การดำเนินงานก่อสร้างระบบประปา 2 โครงการ สรุปสาระได้ ดังนี้ 1.โครงการติดตั้งชุดตรวจวัดสารอินทรีย์ระเหยงานแบบต่อเนื่อง และป้ายแสดงผลคุณภาพสิ่งแวดล้อม วงเงิน 13 ล้านบาท โดยกรมควบคุมมลพิษ เป็นการติดตั้งชุดตรวจวัดสารอินทรีย์ระเหยง่ายแบบต่อเนื่อง โดยสามารถวัดสารอินทรีย์ระเหยง่ายไม่น้อยกว่า 18 ชนิด และป้ายแสดงผลคุณภาพสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ ซึ่งมีความจำเป็นเร่งด่วน จำนวน 2 สถานี เพื่อเสริมประสิทธิภาพระบบเฝ้าระวังคุณภาพสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ให้สมบูรณ์มากขึ้น และรายงานข้อมูลที่ตรวจวัดได้สู่สาธารณะอย่างทันเหตุการณ์ผ่านป้ายแสดงผล 2.โครงการก่อสร้างสถานีตรวจวัดคุณภาพน้ำ และติดตั้งระบบตรวจวัดคุณภาพน้ำแบบอัตโนมัติ วงเงิน 2 ล้านบาท โดยเทศบาลเมืองมาบตาพุด เป็นการติดตั้งระบบเตือนภัย และเก็บข้อมูลคุณภาพน้ำ เชื่อมโยงข้อมูลและแสดงผลของคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำสาธารณะที่ติดตั้งชุดตรวจวัดเข้ากับระบบควบคุมและประมวลผลแบบศูนย์รวม ที่เทศบาลมืองมาบตาพุด เพื่อประโยชน์ในการติดตามสถานการณ์คุณภาพน้ำได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพใน 4 สถานี ได้แก่ คลองบางเบิด, คลองพะยูน, คลองห้วยใหญ่ และ คลองมาบข่า 3.โครงการจัดตั้งศูนย์เฝ้าระวังคุณภาพสิ่งดล้อมในชุมชน วงเงิน 16 ล้านบาท โดยเทศบาลเมืองมาบตาพุด จัดตั้งศูนย์ข้อมูลสารสนเทศด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม สำหรับติดตาม เฝ้าระวัง แจ้งเตือนภัยทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อมแบบทันที ทั้งในระดับเตือนภัยและระดับวิกฤต รวมทั้งการรับแจ้งเหตุต่างๆ ที่ส่งผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม นายกอร์ปศักดิ์ กล่าวต่อไปว่า สำหรับโครงการทั้ง 3 นี้ เมื่อดำเนินการแล้วเสร็จ ประชาชนในพื้นที่มาบตาพุด จะสามารถทราบคุณภาพของอากาศและน้ำได้ทันที และประชาชนสามารถมีส่วนร่วมในการดูแลคุณภาพสิ่งแวดล้อมของชุมชนได้ 4. การดำเนินงานก่อสร้างระบบประปา 2 โครงการ ประกอบด้วย 1. โครงการก่อสร้างขยายเขตจำหน่ายน้ำประปาพื้นที่อำเภอเมืองระยอง วงเงิน 106.41 ล้านบาท โดยการประปาส่วนภูมิภาค โดยเป็นการปรับปรุงเส้นท่อและขยายเขตจำหน่ายน้ำในพื้นที่อำเภอเมืองระยอง เพื่อแก้ปัญหาบางชุมชนไม่มีน้ำประปาใช้ โดยมีผู้ได้รับประโยชน์ ประกอบด้วย ชุมชนในเขตเทศบาลเมืองระยอง บริเวณแนวถนน/ ซอย 13 แห่ง ประมาณ 18,000 ครัวเรือน ขณะนี้กำลังก่อสร้าง ผลงาน 2 % คาดว่าจะแล้วเสร็จ 20 เม.ย. 2554 ส่วนโครงการที่ใช้งบจาก กปภ. สมทบ ผลงานร้อยละ 60 คาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือน พ.ย. 2553 นี้ ส่วนโครงการ 2 คือ โครงการก่อสร้างปรับปรุงท่อและขยายเขตจำหน่ายน้ำพื้นที่เทศบาลเมืองมาบตาพุด และเทศบาลเมืองบ้านฉาง วงเงิน 185 ล้านบาท โดยการประปาส่วนภูมิภาค เป็นการปรับปรุงเส้นท่อและขยายเขตจำหน่ายน้ำในพื้นที่ของเทศบาลเมืองมาบตาพุดและเทศบาลเมืองบ้านฉาง เพื่อแก้ไขปัญหาขาดแคลนน้ำประปาในบางพื้นที่ โดยมีผู้ได้รับประโยชน์ จากเทศบาลเมืองมาบตาพุด 31 ชุมชน เทศบาลเมืองบ้านฉาง ชุมชนบริเวณถนน/ซอย 3 แห่ง รวมประมาณ 29,077 ครัวเรือน ขณะนี้กำลังก่อสร้าง ผลงาน 5 % พื้นที่เทศบาลเมืองมาบตาพุด ชุมชนคลองน้ำหู ,ชุมชนอิสลาม ,ชุมชนสำนักกะบาก ,ชุมชนวัดมาบตาพุด , ชุมชนมาบข่า-สำนักมาบใน ,ชุมชนตลาดมาตาพุด ,ชุมชนเนินพะยอม , ชุมชนห้วยโป่งใน -สะพานน้ำท่วม คาดว่าจะแล้วเสร็จในวันที่ 20 เม.ย. 2554 ด้านการแก้ไขปัญหาน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคของประชาชน นายธวัชชัย เทอดเผ่าไทย ผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง กล่าวว่า ได้มีคำสั่งเมื่อวันที่ 11ต.ค. 2553 แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำประปาของประชาชน จังหวัดระยอง เพื่อจัดทำข้อมูลความต้องการใช้น้ำประปาในการอุปโภคบริโภคของประชาชน และแนวทางการบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน ในระหว่างที่การดำเนินการก่อสร้างระบบประปาของการประปาส่วนภูมิภาคยังไม่แล้วเสร็จ มีองค์ประกอบ 30 คน โดยมู้ว่าราชการจังหวัดระยองเป็นประธาน คณะทำงาน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คือ อบจ.ระยอง เทศบาลเมืองมาบตาพุด ,เทศบาลเมืองบ้านฉาง,หอการค้าระยอง ,สภาอุตสาหกรรมจังหวัดระยอง, ผู้แทนชุมชนในพื้นที่เทศบาลนครระยอง เทศบาลเมืองมาบตาพุด , เทศบาลเมืองบ้านฉาง รวม 15 ชุมชน ร่วมเป็นคณะทำงาน และได้มีการประชุมไปแล้ว 1 ครั้ง ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากประชุมหารือ แล้ว คณะของเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ได้เดินทางไปดูพื้นที่การจัดทำแนวป้องกัน ของ บริษัท พีทีที โพลีเอทิลิน จำกัด ระหว่างโรงงานกับชุมชน ซึ่งเป็นโรงงานที่มีปัญหาอุปสรรคไม่มีพื้นที่เพียงพอสำหรับจัดทำแนวป้องกัน นายกอร์ปศักดิ์ กล่าวหลังจากได้ดูพื้นที่ว่ารู้สึกไม่พอใจกับการดำเนินการแก้ไขเรื่องดังกล่าว เนื่องจากจากต้นไม้ที่นำลงปลูถกนั้นเล็กเกินไป ซึ่งกว่าจะเจริญเติบโตแข็งแรงพอที่จะใช้ประโยชน์ คาดว่าน่าจะเวลาถึง 3 ปี ซึ่งนานเกินไปกับแก้ไขปัญหาเร่งด่วน เช่นนี้ ทั้งที่บริษัทมีเงินทุนกว่า 5 หมื่นล้านบาท มีกำไรกว่า 1แสนล้านบาทต่อปี จึงขอให้มีการแก้ไขโดยการนำต้นไม้ที่โตกว่านี้ มาลงปลูก ซึ่งอาจจะใช้งบประมาณกว่าเดิม แต่จะเห็นผลและสามารถใช้ประโยชน์ได้รวดเร็วกว่า โยจะใช้เวลาในการปรับปรุง 1 เดือน แล้วจะกลับมาติดตามผลอีกครั้งในเดือนพฤศจิกายน นี้ ด้านนายจินดา เรือศรี ชาวบ้านหนองแฟบ ในตำบลมาบตาพุด ซึ่งเป็นชาวบ้านที่อยู่ใกล้บริษัท พีทีที เมนเทนแนซ์ แอนด์ เอนจิเนียริง จำกัด กล่าวว่า ปัญหาโรงงานดังกล่าวยังสร้างปัญหาและผลกระทบต่อตนและประชาชนบริเวณดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง และไม่มีวี่แววจะยุติหรือลดลงแต่อย่างไร โดยเฉพาะปัญหาเรื่องกลิ่น เสียงดัง โดยบางครั้งได้แจ้งไปยังผู้บริหารหรือตัวแทน ก็ได้รับคำตอบหรือคำชี้แจงที่ไม่เหมาะสมหรือถูกต้องเท่าที่ควร โดยเฉพาะจะอ้างว่า บริษัท เป็นบริษัทระดับชาติ และลงทุนอย่างมหาศาล ซึ่งการพูดเช่นนี้เป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง โดยแม้จะลงทุนอย่างมหาศาลแต่ยังสร้างความเดือดร้อนต่อประชาชนและชุมชน ก็ถือวาเป็นโรงงานที่ใช้ไม่ได้เช่นกัน ในความเป็นจริง ตนต้องการจะย้ายจากพื้นที่บริเวณดังกล่าวเช่นกัน แต่บริษัทก็ไม่สามารถช่วยเหลือโดยการซื้อที่ดินของตนไป จะได้ย้ายไปอยู่ที่อื่น แต่หากไม่ดำเนินการใดก็ควรจะแก้ไขปัญหาให้ได้จริงๆ
ด้านนายสุชิน พูลหิรัญ กำนันตำบลบ้านฉาง ซึ่งได้รับผลกระทบจากโครงการถมทะเลของนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด กล่าวว่า ส่วนปัญหาบริเวณชายทะเลหาดพะยูน ที่ถูกน้ำทะเลกัดเซาะนั้น ขณะนี้ ทวีความรุนแรงอย่างต่อเนื่อง เพราะปัจจุบันน้ำทะเลได้กัดเซาะชายหาดใกล้จะหมดแล้ว โดยที่ผ่านมาชายหาดมีความก้าวกว่า 10 เมตร ปัจจับนเหลือเพียง 1-2 เมตรเท่านั้น โดยโครงการต่างๆที่รัฐบาลสร้างขึ้น ได้ถูกน้ำทะเลกัดเซาะจนหายไปหมดแล้ว เช่น ศาลาที่พักอาศัย 5 หลัง , ถนนที่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (สาขาระยอง) ที่สร้างไว้ก็ถูกน้ำกัดเซาะหายไปเช่นกัน ดังนั้นหากรัฐบาลไม่รีบดำเนินการแก้ไขโดยด่วน ชายหาดพะยูนจะไม่มีเหลืออีกต่อไป

วันเสาร์ที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ดันทุรัง ให้คนมาบตาพุดเสี่ยงตาย โรงแยกก๊าซที่ 6 ปตท.

ปตท.เผยเดินเครื่องโรงแยกก๊าซที่6 พ.ย.นี้

ปตท. ลั่นเดินเครื่องโรงแยกก๊าซหน่วยที่ 6 เดือนพ.ย.นี้ ชี้ไทยยังต้องนำเข้าก๊าซแอลพีจี 1 ล้านตันต่อปี

นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า โรงแยกก๊าซธรรมชาติโรงที่ 6 จะสามารถเปิดเชิงพาณิชย์ได้ในเดือนพฤศจิกายนนี้ ซึ่งถือเป็นเรื่องที่ดี เพราะจะสามารถนำไปใช้ในธุรกิจปิโตรเคมีและผลิตก๊าซธรรมชาติ ทำให้ลดการนำเข้าของประเทศและสร้างมูลค่าเพิ่ม

อย่างไรก็ตาม โรงแยกก๊าซฯ ที่ 6 มีวัตถุประสงค์เพื่อนำมาใช้เป็นวัตถุดิบในโรงงานปิโตรเคมีส่วนใหญ่ ซึ่งคาดว่าไทยจะยังคงต้องนำเข้าก๊าซแอลพีจีประมาณ 1 ล้านตันต่อปี

ทั้งนี้ปริมาณการนำเข้าก๊าซแอลพีจีจะลดลงหรือไม่ ขึ้นกับนโยบายของรัฐบาลว่าจะเข้ามาจัดการโครงสร้างแอลพีจี และราคาแอลพีจีอย่างไรให้เป็นธรรมต่อผู้ผลิตและผู้บริโภค

"ราคาควบคุมแอลพีจี ในปัจจุบันเป็นราคาต่ำกว่าราคาน้ำมันอย่างสูง จึงทำให้การใช้แอลพีจี ยังคงอยู่ในปริมาณสูง"

***

ยังไม่มีการตรวจสอบ-ติดตาม จากภาคส่วนใด นอกจาก นายกอภิสิทธิ์ ที่จะเร่งแก้ไขปัญหาปลายเหตุ โดยจัดเครื่องเตือนภัย และทบทวนให้มีแผนอพยพ ที่มีประสิทธิภาพ เท่านั้น นี่หรือครับ การแก้ไขปัญหาของภาครัฐ ทั้งที่รู้ว่า โรงงานมีความเสี่ยงสูง แต่จะดันทุรังดำเนินการ เข้าใจครับว่า พวกท่านๆ ของรัฐบาลไม่มีญาติพี่น้องอยู่ในพื้นที่มาบตาพุด ...

ตามไปอ่าน เรื่อง

"ปาหี่ มาบตาพุด – ม๊อบตีกันตาย ปตท. ต้องรับผิดชอบ"

http://khonmaptaphut.blogspot.com/2010/09/blog-post_23.html

ข่าวจาก ไทยโพสต์ สื่อน้ำดีแต่เน่า - แล้ววันหนึ่ง ความจริงถูกเปิดเผย ตายไปวิญญาณคงถูกตามไล่ล่า

ข่าวจาก ไทยโพสต์ สื่อน้ำดีแต่เน่า

ฝากจำชื่อคนนี้ไว้ ประสาร มฤคพิทักษ์ ที่ไล่ผมออกมาจากห้อง ในบ้านพิษณุโลกที่ผมพยายาม ชี้แจงเรื่อง มาบตาพุดเสี่ยงหายนะภัย ภาคอุตสาหกรรมมักง่าย

http://maptaphut-news.blogspot.com/2010/10/blog-post_07.html

วันพฤหัสบดีที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ข่าวจาก ไทยโพสต์ สื่อน้ำดีแต่เน่า - แล้ววันหนึ่ง ความจริงถูกเปิดเผย ตายไปวิญญาณคงถูกตามไล่ล่า

ข่าวจาก ไทยโพสต์ สื่อน้ำดีแต่เน่า

ฝากจำชื่อคนนี้ไว้ ประสาร มฤคพิทักษ์ ที่ไล่ผมออกมาจากห้อง ในบ้านพิษณุโลกที่ผมพยายาม ชี้แจงเรื่อง มาบตาพุดเสี่ยงหายนะภัย ภาคอุตสาหกรรมมักง่าย

"มาบตาพุด" จากคนในแวดวงเครือข่ายประชาชนภาคตะวันออกเขาเขียนมาลงตีพิมพ์ เพราะวันก่อนผมแสดงความไม่เห็นด้วยที่เอะอะก็ชุมนุมกันตะพึดตะพือ และได้นำความคิดเห็นของ ดร.โสภณ พรโชคชัย ตีพิมพ์ประกอบความเห็นลงไปด้วย

ปรากฏว่า ฝ่ายที่ชื่นชอบการชุมนุม และศรัทธาในแนวทางของ "เครือข่ายประชาชนภาคตะวันออก" หลายท่านเขียนมาตอบโต้บ้าง ชี้แจงบ้าง ให้ข้อมูลบ้าง ตัดพ้อบ้าง ด่าทอบ้าง ทำนองว่า เสียแรงที่เคยนับถือ รับจ้างบริษัทในมาบตาพุดมาเขียน ก็ว่ากันไปต่างๆ นานาตามถนัด ผมคงนำตีพิมพ์ไม่ได้หมด จึงเลือกฉบับหนึ่งเป็น "ตัวแทน" ลงตีพิมพ์ ส่วนข้อความจิปาถะจะรวบไปตีพิมพ์ในวันอาทิตย์

เปลว สีเงิน ที่เคารพ

ผมได้อ่านข้อเขียนของ ดร.โสภณ พรโชคชัย ในคอลัมน์คนปลายซอยของ นสพ.ไทยโพสต์ ฉบับ 1 ต.ค. 53 เรื่อง “10 ประเด็นที่ขาดเหตุผลในการชุมนุมปิดมาบตาพุดแล้ว ใคร่ขอเสนอข้อมูลและทัศนะแลกเปลี่ยนเพื่อประโยชน์สาธารณะ ดังนี้

ทั้งในฐานะกรรมาธิการของวุฒิสภา 4 คณะที่ได้รับข้อร้องเรียนของเครือข่ายประชาชนภาคตะวันออก กรณีมลพิษในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จ.ระยอง และในฐานะผู้สนใจปัญหาดังกล่าว ผมได้ลงพื้นที่มาบตาพุดตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2552 จนถึงวันนี้รวม 6 ครั้งด้วยกัน เพื่อศึกษาสภาพความเป็นจริง ได้พบว่า

1.ชาวบ้านที่นั่นได้รับความเดือดร้อนจริงจากมลพิษในอากาศ ในน้ำ ในดิน เมื่อ 3 มีนาคม 2552 ศาลปกครอง จ.ระยอง มีคำสั่งประกาศให้พื้นที่มาบตาพุดและพื้นที่ใกล้เคียงอีก 5 พื้นที่ใน จ.ระยอง เป็นเขตควบคุมมลพิษ ซึ่งต่อมารัฐบาลโดยคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติได้ประกาศเขตควบคุมมลพิษตามคำสั่งศาล โดยไม่ใช้สิทธิ์ยื่นอุทธรณ์แต่อย่างใด ประกาศดังกล่าวยังมีผลอยู่จน ณ ปัจจุบัน

2.สาธารณสุขจังหวัดระยองและ สนง.สถิติแห่งชาติพบว่า จ.ระยอง มีสถิติประชาชนป่วยเป็นมะเร็งสูงที่สุดในประเทศไทย รองลงมาคือ โรคทางเดินหายใจ หลายคนเสียชีวิตไปแล้ว อีกหลายคนกำลังตายผ่อนส่ง รอเวลาสิ้นลมหายใจ โรงเรียนมาบตาพุดพันพิทยาคารที่อยู่ใกล้นิคมมาบตาพุด ต้องย้ายโรงเรียนออกนอกพื้นที่ให้ห่างไกลออกไป

รายงานผลศึกษาวิเคราะห์ 35 โครงการในนิคมมาบตาพุดเผยแพร่ใน http://monographs.iarc.fr/ENG/Classification/ ระบุว่า สารเคมีต่างๆ โดยเฉพาะสารก่อมะเร็งและสารอื่นที่เกี่ยวข้องและก่อผลกระทบต่อระบบทางเดินหายใจมี 34 โครงการ ส่งผลกระทบต่อระบบประสาท 24 โครงการ ส่งผลต่อระบบสืบพันธุ์ 10 โครงการ ส่งผลต่อทารกในครรภ์ 4 โครงการ ส่งผลต่อระบบเลือด 18 โครงการ ส่งผลต่อตับและไต 25 โครงการ ส่งผลต่อผิวหนังและดวงตา 33 โครงการ

3.มาตรการแก้ปัญหาของรัฐบาลยังอืดอาดล่าช้า และไม่เกิดผลที่เป็นจริง เช่น

3.1.แนวกันชน หรือบัฟเฟอร์โซน ซึ่งเป็นมาตรการบังคับเพื่อกันเขตระหว่างโรงงานอุตสาหกรรมกับบ้านเรือนประชาชนยังไม่เกิดขึ้น ตอนสร้างนิคมใหม่ๆ ได้มีการกันแนวเขตกันชนไว้ แต่ต่อมาโรงงานขยายเขตพื้นที่ออกมาจนชนเขตบ้านช่องเรือนชานไปหมดแล้ว

3.2.มาบตาพุดถูกจัดให้เป็นพื้นที่เสียสละ คือเลือกให้เป็นนิคมอุตสาหกรรม เพื่อดึงการลงทุนนับแสนล้านเข้ามาในประเทศ แต่ชาวบ้านกลับต้องแบกรับภาระเรื่องควันพิษ น้ำเสีย ดินพินาศ ประชาชนผู้เสียสละยังต้องเสียสละต่อไปโดยไม่มีหลักประกันความปลอดภัยใดๆ เลย

3.3.พื้นที่มาบตาพุดมีสภาพมลพิษล้นเกินกว่าจะแบกรับอุตสาหกรรมได้อีกต่อไป แม้ว่าแต่ละโรงงานอาจปล่อยมลพิษออกมาในระดับที่นักวิชาการบอกว่าไม่เกินมาตรฐาน แต่เมื่อรวมนับร้อยโรงงานขึ้นไป ลองคิดดูซิว่าจะเกินมาตรฐานหรือไม่ ในความเป็นจริงนั้นโรงงานหลายแห่งแอบปล่อยมลพิษเวลาหลังเที่ยงคืน เพื่อให้พ้นจากระบบตรวจสอบ นายกรัฐมนตรี รมว.ก.อุตสาหกรรม รมว.ก.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ควรไปนอนสัมผัสไอพิษที่มาบตาพุดสักหนึ่งคืนจะดีไหม จะพบว่าสิ่งที่ พร.โสภณ พรโชคชัย ระบุว่า ในมาบตาพุดมีประชากรที่เจ็บป่วยเล็กน้อยในการอยู่อาศัยในพื้นที่เพียง 9.83% เท่านั้นควรเชื่อได้แค่ไหน ทำไมตัวเลขที่อ้างมานั้นจึงต่างกันราวฟ้าดินเมื่อเอามาเทียบกับผลการศึกษาแบบเกาะติดลงลึกในพื้นที่มาบตาพุดยาวนานกว่า 3 ปี ของ รศ.ดร.เรณู เวชรัชต์พิมล คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร และผลการศึกษาของสาธารณสุข จ.ระยอง ซึ่งสาธารณชนสามารถติดตามตรวจสอบได้

สำคัญกว่านั้นคือชาวบ้านในมาบตาพุดได้สัมผัสดิน น้ำ อากาศ ที่เน่าเสีย ด้วยเนื้อตัวที่เป็นจริงโดยตรงอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน

ณ วันนี้ ประชาชนยังไม่มีหลักประกันใดๆ จากรัฐบาลเลย ว่าจะมีการอนุมัติโครงการใหม่หรือไม่ จะมีการขยายโรงงานอีกหรือไม่ ถ้าอนุมัติจะต้องเป็นอุตสาหกรรมเชิงนิเวศน์หรืออุตสาหกรรมสะอาดเท่านั้นหรือไม่ หรือว่าชาวบ้านจะต้องลุกขึ้นมาต่อสู้ซ้ำแล้วซ้ำเล่ากับปัญหาซึ่งคนอื่นเป็นคนสร้างให้ แต่ชาวบ้านเป็นผู้รับเคราะห์กรรมไปตลอดชั่วลูกชั่วหลาน

4.คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (สวล.) ที่ตัดเอา 7 ประเภทกิจการที่มีความรุนแรงออกไปจาก 18 ประเภท ที่คณะกรรมการ 4 ฝ่ายนำเสนอนั้น ยังไม่มีความกระจ่างใดๆ จาก สวล. ทั้งๆ ที่ คก. 4 ฝ่ายได้ร้องขอคำอธิบายเหตุผลไปเมื่อ 2 สัปดาห์ที่แล้ว

ในความเป็นจริง หากไปดู 11 ประเภทความรุนแรงนั้น ยังได้พบว่า คก.สวล.ได้ปรับเพิ่มขนาดที่เกิดผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญด้วย เช่น

โรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติ สวล. ได้ปรับเพิ่มตัวเลขขนาดการผลิตจาก 1,000 เมกะวัตต์ เป็น 3,000 เมกะวัตต์ ซึ่งจะทำให้โรงไฟฟ้าหนองแซง สระบุรี (1,600 เมกะวัตต์) โรงไฟฟ้าแก่งคอย สระบุรี (1,400 เมกะวัตต์) โรงไฟฟ้าราชบุรี (2,800) เมกะวัตต์ หลุดออกไปจากตะกร้ากิจการที่มีความรุนแรง เพราะไม่มีโรงไฟฟ้าใดในประเทศไทยที่มีกำลังผลิตเกิน 3,000 เมกะวัตต์ เช่นเดียวกันกับการถมทะเลที่ สวล. ขยายขนาดจากเดิม 50 ไร่ เป็น 300 ไร่ ทำให้การถมทะเลที่ท่าเทียบเรือปากบารา จ.สตูล (ถมทะเล 297 ไร่) และการถมทะเลที่ อ.แหลมสิงห์ จ.จันทบุรี (โรงงานเหล็กต้นน้ำ ถมทะเล 245 ไร่) ก็หลุดออกไปจากตะกร้าของประเภทกิจการที่มีความรุนแรง ซึ่งต้องปฏิบัติตามมาตรา 67 (2)

ยังมีอีกหลายตัวอย่างที่เป็นปัญหา ซึ่งประชาชนมีสิทธิ์ที่จะทวงถามในฐานะเป็นเจ้าของทรัพยากรตัวจริง

5.การเคลื่อนไหวของเครือข่ายประชาชนภาคตะวันออกที่ผ่านมาจนถึงวันนี้ ไม่ใช่การต่อต้านโรงงานอุตสาหกรรมอย่างหลับหูหลับตา ไม่ใช่จะขับไล่ไสส่ง ไม่ใช่คิดอยากเผาโรงงาน ปรารถนาที่แท้จริงคือ การเรียกร้องให้โรงงานอุตสาหกรรมและภาครัฐมีความเข้มงวดกวดขันในการเคารพสิทธิของชุมชนตามมาตรา 67 (2) ของรัฐธรรมนูญ โรงงานไหนปฏิบัติได้ ก็อยู่ร่วมกับชุมชนได้อย่างสร้างสรรค์

ผมไม่ขอตอบโต้เป็นรายประเด็นตามที่ ดร.โสภณ พรโชคชัย พยายามทำลายความชอบธรรมของเครือข่ายประชาชนภาคตะวันออก โดยใช้คำว่า กลุ่มนี้ชอบอ้าง...ซึ่งหลายประเด็นแฝงไว้ด้วยอคติ เหนือกว่า 10 ประเด็นที่ยกมา ควรตั้งคำถามว่า มลพิษมาบตาพุดยังบั่นทอนชีวิตผู้คนอย่างต่อเนื่องใช่หรือไม่ ชาวบ้านมีสิทธิ์ที่จะต่อสู้เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีของตนเองและชุมชนใช่หรือไม่ อำนาจรัฐและอำนาจทุนยังคุกคามชุมชนโดยไม่อาจให้หลักประกันแก่ประชาชนอย่างน่าเชื่อถือใช่หรือไม่ แม้ศาลปกครองจะสั่งระงับการดำเนินการ 76 โครงการเมื่อปลายปีที่แล้ว ธุรกิจอุตสาหกรรมในเครือบริษัทที่ถูกศาลสั่งระงับ โดยเฉพาะบริษัทในเครือ ปตท. ยังเติบโตและทำกำไรมหาศาลใช่หรือไม่

การยืนหยัดต่อสู้เพื่อพิทักษ์ปกป้องสิทธิมนุษยชน เพื่อการมีชีวิตอยู่ เพื่อรักษาดิน น้ำ อากาศ อันธรรมชาติได้รังสรรค์ไว้ให้เอื้อประโยชน์แก่มนุษย์ทุกรูปนาม จึงควรที่จะได้รับความเคารพ แทนที่จะได้รับการดูหมิ่นถิ่นแคลนอย่างไร้เยื่อใยแห่งมนุษยธรรม

ด้วยความเคารพยิ่ง

ประสาร มฤคพิทักษ์

ครับ..ก็ขอได้รับความเคารพในการยืนหยัดต่อสู้เพื่อพิทักษ์ปกป้องสิทธิมนุษยชนจากผมด้วยละกัน ไอ้ผมมันก็แบบนี้แหละ เป็นคนอย่างที่เขาอยากให้เป็น-ไม่เป็น ก็เลยต้องเป็นอยู่ ๒ ด้าน คือ ด้านที่ตรงใจเขา เขาก็ว่าผมมีอุดมการณ์เหมือนเขา แต่ถ้าวันไหนไม่ตรงใจเขา เขาก็ว่าผมไม่มีอุดมการณ์ รับจ้างคนอื่นมาเขียน ถ้าถามว่า "แล้วจริงมั้ย?" ผมก็ขอตอบว่า...

ก็สุดแต่ใต้เท้าจะคิดเห็น!

ตามไปดูด้านล่าง ... นึกว่าจะช่วยประชาชน เลยตามไปจนเจอตัว ที่บ้านพิษณุโลก พร้อมกับ ปธ.กรรมาธิการของวุฒิสภาหลายท่าน ส่งเอกสารเรื่องโรงแยกก๊าซที่ 6 ปตท. เสี่ยงให้ ทำท่าแทบจะโยนทิ้ง ตรงนั้น พร้อมเดินมากระซิบให้ขอให้ออกนอกห้อง 2-3 รอบ ...

วันที่ 30 สิงหาคม 2553 16:12

ส.ว.จี้ให้กก.4ฝ่าย ยืน18โครงการมาบตาพุด

ส.ว.เผยให้คณะกรรมการ4ฝ่าย ยืน18โครงการมาบตาพุดที่ส่งผลกระทบสิ่งแวดล้อมรุนแรง หวั่นเอาโครงการออกเท่ากับปลดล็อคที่ศาลปกครองสั่งระงับ

รัฐสภา-การประชุมวุฒิสภาที่มีนายประสพสุข บุญเดช ประธานวุฒิสภา เป็นประธาน นายประสาร มฤคพิทักษ์ ส.ว.สรรหา ได้หารือต่อที่ประชุมว่าจากกรณีคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมที่มีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกฯ เป็นประธาน ได้เห็นชอบกับคณะกรรมการ 4 ฝ่ายที่มีนายอานันท์ ปันยารชุน เป็นประธานได้มีมติให้ 11 โครงการมาบตาพุดจาก 18 โครงการ ที่อาจส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ได้ดำเนินการต่อไป ซึ่งจะทำให้18โครงการที่จะต้องทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม ด้านสุขภาพ และรับฟังความคิดเห็นของประชาชนถูกผลักออกไป ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อบ้านเมือง

โดยนัยยะสำคัญการเอาโครงการออกเท่ากับเอื้อต่อการปลดล็อคให้ 76โครงการที่ศาลปกครองสั่งระงับโครงการเป็นการชั่วคราวใช่หรือไม่ เพราะในนี้จะมีโรงแยกแก๊สโรงที่ 6 ซึ่งจะถูกปลดล็อคด้วย รวมทั้งโครงการของรัฐมนตรีท่านหนึ่ง คือโครงการวอเตอร์กริด งบประมาณ 2แสนล้านบาท ซึ่งเป็นโครงการในอนาคต ซึ่งใน 7โครงการคือชลประทาน ผันน้ำจะครอบคลุมตรงนี้ด้วย ซึ่งหมายความว่าไปเอื้อประโยชน์ให้ด้วย ซึ่งเป็นเมกกะโปรเจ็คที่เกิดขึ้นได้ยาก ถ้าเกิดขึ้นก็จะล้มเหลว เหมือนที่เคยทำมาในอดีต

"ผมอยากให้คณะกรรมการ 4 ฝ่ายที่ได้พิจารณาและทำประชาพิจารณ์อย่างกว้างขวางทั้ง 4 ภาค และมีการโต้เถียงทางวิชาการกันอย่างเข้มข้น อยากเรียกร้องให้พิจารณา และยืน18โครงการที่มีความรุนแรง"

วันอังคารที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2553

นายอภิสิทธิ์ กับระบบเตือนภัย การแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ

นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องเร่งชี้แจงทำความเข้าใจกับองค์กรเอกชนหลังออกมาประกาศชุมนุมเคลื่อนไหวทั่วประเทศในวันที่ 10กันยายน เพื่อคัดค้านการประกาศประเภท 11 กิจการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบรุนแรงต่อชุมชน โดยรัฐบาลพร้อมที่จะเจรจากับตัวแทนภาคประชาชน เพราะไม่ต้องการให้มีการชุมนุมตามที่ประกาศไว้

นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า หลักเกณท์ที่ได้ประกาศออกมานั้นบางเรื่องก็มีความเข้มงวดมากขึ้น ขณะที่บางเรื่องก็มีการผ่อนปรน แต่การดำเนินการดังกล่าวของรัฐบาลไม่ได้เป็นการเอื้อประโยชน์ให้กับ บมจ.ปูนซิเมนต์ไทย(SCC) หรือ บมจ.ปตท.(PTT) ตามที่ได้มีการกล่าวหา และหลังรัฐบาลได้ออกประกาศเรื่องดังกล่าวแล้วทำให้บรรยากาศการลงทุนในพื้นที่มีสัญญาณที่ดีขึ้น

ทั้งนี้ รัฐบาลต้องการให้ภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา เช่น การวางระบบเตือนภัย การวางระบบตรวจสอบสารพิษ ความพร้อมในการกู้ภัยหากมีกรณีฉุกเฉินเกิดขึ้น ตลอดจนการหาข้อยุติเรื่องความสามารถที่จะรองรับการลงทุนในพื้นที่ซึ่งถือเป็นเรื่องสำคัญ

ป้ายนี้ ติดหน้าศูนย์ราชการ ระยอง ตลอดการชุมนุมของ เครือข่ายภาคตะวันออก

ผู้คนประชาชนผ่านทางรับรู้ นักข่าว-สื่อมวลชนต่างๆ ร่วมรับรู้แล้ว

ยังไม่มีภาคส่วนใด ออกมายืนยันว่า มันจะไม่เกิด มีแต่จะทำระบบเตือนภัยหนีภัยอพยพ - โครงการแล้วเสร็จแบบมักง่าย ที่อ้างว่ามาตรฐานสูง อนุมัติ-ออกแบบ ถูกต้องตาม กม. แต่ก่อสร้างไม่แข็งแรง รอวันทรุดพัง ความเสี่ยงกับหายนะภัยของผู้คนประชาชนที่ฝากไว้กับความแข็งหรืออ่อนของดิน-พายุฝนลมแรง

ไม่มีหน่วยงานรัฐใดสนใจตรวจสอบ-ติดตาม-สร้างเสริมให้แข็งแรง แต่คงจะดันทุรังสร้างความเสี่ยงให้กับประเทศชาติ อ้างว่าความล่าช้า จะส่งผลกระทบให้ก๊าซหุงต้ม-น้ำมัน แพง

เครือข่าย ปชช.ฟ้องศาล ปค.ร้องเพิกถอน 11 ประเภทกิจการรุนแรง

นายสุทธิ อัชฌาศัย ผู้ประสานเครือข่ายประชาชนภาคตะวันออก พร้อมด้วยนายศรีสุวรรณ จรรยา นายกสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน พร้อมด้วยตัวแทนเครือข่ายประชาชนภาคตะวันออกจำนวนหนึ่ง ได้ยื่นฟ้องต่อศาลปกครองสูงสุด ขอเพิกถอนประกาศของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่องประเภทโครงการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง 11 ประเภท เนื่องจากเห็นว่าการออกประกาศกิจการรุนแรงขัดมาตรา 67 วรรค 2 ของรัฐธรรมนูญ ปี 2550 โดยการยื่นฟ้องในครั้งนี้เป็นการฟ้องจำนวน 4 ราย ประกอบด้วย คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม คณะรัฐมนตรี และนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นบุคคลที่มีส่วนในการออกประกาศดังกล่าว ทั้งที่ได้มีการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนทั่วประเทศแล้ว ว่าควรจะมี 18 ประเภทกิจการรุนแรง และทางเครือข่ายฯ ได้ยื่นให้รัฐบาลทบทวนเรื่องดังกล่าว แต่กลับถูกเพิกเฉย จึงต้องดำเนินการฟ้องร้องต่อศาลปกครองสูงสุด และจะต่อสู้จนถึงกระบวนการของศาลรัฐธรรมนูญ นอกจากนี้ ยังเรียกร้องให้นายอานันท์ ปันยารชุน ประธานคณะกรรมการ 4 ฝ่าย ทบทวนบทบาทของตัวเอง เนื่องจากนายอานันท์ไม่ทำตามเสียงส่วนใหญ่ ในการคัดค้านการออกประเภทกิจการรุนแรงของรัฐบาล แต่กลับมีท่าทีเห็นด้วยกับมติดังกล่าว จึงตั้งข้อสังเกตว่า นายอานันท์ และรัฐบาล อาจมีผลประโยชน์ร่วมกัน

วันจันทร์ที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2553

“หัสวุฒิ” รับคดีมาบตาพุด - กลุ่มพิทักษ์ รอฟังคำสั่งรับฟ้องหรือไม่ เห็นกับคนมาบตาพุด ที่เสี่ยงตายหรือไม่

ปธ.ศาลปกคองสูงสุด คนใหม่ ฟิตเตรียมปรับงานเชิงรุก แก้ไขปัญหาคดีล่าช้า พร้อมส่งเสริม คกก.วิชาการช่วยงานพิจารณาคดีของตุลาการ และสร้างตุลาการผู้ชำนาญการ ยอมรับคดีมาบตาพุด - 3จี สร้างแรงกดดันศาล แต่ต้องนิ่งยึดหลักกฎหมาย เตรียมตั้งโฆษกศาลแจงรายละเอียดคดีสร้างความเข้าใจประชาชน
วันนี้ (4 ต.ค.) นายหัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล ประธานศาลปกครองสูงสุด กล่าวภายหลังมอบนโยบายให้กับคณะตุลาการ พนักงานคดี และคณะผู้บริหารศาลปกครอง ว่า จุดยืนของศาลจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ยังคงเน้นในการดูแลประโยชน์ส่วนรวมและสาธารณะ ซึ่งที่ผ่านมาต้องยอมรับว่า มีปัญหาการพิจารณาคดีล่าช้า ผลของคดีไม่ทันต่อการเยียวยาผู้เสียหาย แต่ก็อยากให้ประชาชน และสังคมเชื่อมั่นว่า เราจะเร่งรัดบริหารจัดการคดีให้เสร็จเร็วอย่างมีคุณภาพ และประสิทธิภาพ ซึ่งเวลานี้ก็กำลังมีการแก้ไข พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครอง และวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.2542 หากผ่านการพิจารณาของสภาก็จะมีการจัดตั้งหน่วยงานขึ้นมาดูแลคดีบางประเภท เช่น คดีที่มีผลกระทบ และหากศาลมีคำพิพากษาช้า จะทำให้การเยียวยาไม่ได้ประโยชน์ ทั้งนี้ หน่วยงานที่จะดำเนินการของศาลนั้นจะมีลักษณะอย่างไรก็ขอสงวนไว้ก่อน อย่างไรก็ตาม ที่ตั้งเป้าเอาไว้ว่าการพิจารณาคดีแต่ละคดีจะมีกรอบเวลาจะต้องไม่เกิน 2 ปี อย่างไรก็ตาม ในระหว่างนี้ เรามีการทำงานภายในเพื่อเร่งรัดคดีในลักษณะเป็นการตั้งคณะกรรมการวิชาการ ซึ่งจะมีหน้าที่ในการไปค้นคว้าศึกษาเรื่องต่างๆ แล้วนำกลับมาวิเคราะห์ก่อนนำไปถกเถียงกันในที่ประชุมคณะทำงาน ซึ่งตนจะใช้คณะกรรมการวิชาการนี้ในการสนับสนุนการพิจารณาคดีของตุลาการ แต่จะไม่เป็นการไปแทรกแซงดุลพินิจของตุลาการเจ้าของสำนวน หรือองค์คณะ ที่ย่อมมีดุลพินิจเป็นอิสระ เพียงแต่ทำให้ตุลาการไม่สามารถอ้างว่าที่คดีล่าช้า เพราะไม่มีเวลาไปสืบค้นข้อมูล อีกทั้งยังจะเหมือนเราสร้างกระจกขึ้นไว้ส่องหน้าตัวเอง เพราะเมื่อตุลาการนำข้อมูลของฝ่ายวิชาการไปเป็นส่วนหนึ่งในการพิพากษา แล้วผลที่ออกมาหากแตกต่างจากการทำงานของคณะกรรมการวิชาการ ถ้ามีคำอธิบายที่ไม่สมเหตุสมผลก็ย่อมต้องถูกวิพากษ์วิจารณ์ และเป็นข้อถกเถียงในแวดวงตุลาการด้วยกัน ซึ่งก็เชื่อว่าจะให้ลดข้อครหาว่าที่อาจมีการพูดกันว่าบางคดีมีที่มีทุนทรัพย์สูงมีวิ่งเต้นเพื่อล้มคดี นอกจากนี้ ยังเชื่อว่า ประโยชน์ของคณะกรรมการวิชาการ จะเป็นที่สร้างตุลาการผู้ชำนาญการ เพราะแม้ว่าตุลาการที่มีอยู่จะมีความชำนาญเพราะด้านมาจากหน่วยงานเดิม แต่การมาทำหน้าที่ตุลาการต้องเขียนสำนวนสืบค้นข้อมูล ข้อกฎหมายต่างๆ ซึ่งคณะกรรมการวิชาการก็จะเข้ามามีส่วนช่วยในการส่งเสริมเรื่องของการเขียนคำวินิจฉัยคดี โดยปัจจุบันมีคณะกรรมการอยู่แล้ว 3 คณะคือคณะกรรมการวิชาการเกี่ยวกับบริหารงานบุคคล คณะกรรมการวิชาการเกี่ยวกับการชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล และคณะกรรมการวิชาการเกี่ยวกับคดีสิ่งแวดล้อม และจะมีการตั้งเพิ่มอีก 1 คณะคือคณะกรรมการวิชการเกี่ยวกับวิธีพิจารณาคดีและการบังคับคดี “อย่างคดีมาบตาพุด และ คดี 3จี เป็นคดีที่มีแรงกดดันมาก ศาลเป็นคนกลางที่ต้องชี้ว่าการบริหารงานของฝ่ายรัฐถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ บางคดีเราเหมือนกับอยู่ระหว่างเขาควาย สิ่งสำคัญที่สุดเราต้องทำอย่างไรให้ดีที่สุดถูกต้องตรงไปตรงมาบนพื้นฐานกฎหมาย เราไม่อาจตัดสินคดีไปตามกระแสได้เลย ตอนคดีมาบตาพุด มีกรรมาธิการสภาบางคนมาถามว่า ศาลปกครองแบกเรื่องนี้ไว้เต็มบ่าจะแก้ปัญหาอย่างไร ซึ่งข้อเท็จจริง ศาลไม่ได้เป็นผู้ที่จะแก้ปัญหา แต่มีหน้าที่ตรวจสอบว่า สิ่งที่ฝ่ายบริหารทำถูกหรือผิด ถ้าไม่ถูกฝ่ายบริหารก็ต้องแก้ไข กรณี 3 จีก็เหมือนกัน มีคอลัมน์นิสต์บางคน ไปเขียนว่าศาลละทิ้งปรัชญาของศาลที่จะรักษาประโยชน์ สาธารณะไปเสียแล้ว อยากจะบอกว่าแม้ภารกิจของ กทช.จะต้องรับผิดชอบต่อประโยชน์สาธารณะ แต่ประโยชน์สาธารณะจะต้องอยู่บนพื้นฐานที่ถูกต้อง ไม่ใช่ไม่มีขอบเขต ไม่มีฐานอำนาจ ต้องยอมรับว่า ศาลก็ได้รับแรงกดดัน แต่เราต้องนิ่งยึดหลักตรงไปตรงมา ซื่อสัตย์ สุจริต อยู่บนพื้นฐานของกฎหมาย จำทำอยู่กรให้น่าเชื่อถือในสังคมให้มากขึ้น” นายหัสวุฒิ กล่าว นายหัสวุฒิ กล่าวอีกว่า ที่ผ่านมา การตัดสินของศาลปกครองมีคนที่อาจไม่เข้าใจในคำพิพากาษา และอาจเป็นเหตุทำให้เกิดการเข้าใจผิดกัน ตนกำลังที่จะตั้งโฆษก พร้อมทีมงานของศาลปกครองขึ้นมา เพื่อทำหน้าที่อธิบายประเด็นการตัดสินของศาลให้สาธารณชนเข้าใจในคำตัดสินของศาล

“สุทธิ อัชฌาศัย” เขียน จม.โต้ “เปลว สีเงิน” หลังถูกกล่าวหา ทำลายชาติ-ถ่วงความเจริญ

“สุทธิ อัชฌาศัย” แกนนำเครือข่ายประชาชนภาค ตอ.เขียนบันทึกโต้ “เปลว สีเงิน” หลังคอลัมนิสต์ไทยโพสต์ หยิบบทความของนักวิชาการตัดแปะโจมตีว่า “ทำลายชาติ-ถ่วงความเจริญ-ดึงต่างชาติทำลายประเทศไทย” ระบุ ที่ผ่านมา เคลื่อนไหวเพราะรัฐดันทุรังผลักดันอุตสาหกรรมโดยไม่แคร์เสียงเรียกร้องจากชาวบ้าน-ตระบัดสัตย์แก้ไขข้อเสนอตบหน้า ยันประท้วงอย่างสงบ โอดถูกตกเป็นจำเลยสังคม ตั้งคำถามเคลื่อนไหวเพื่อรักษาสิทธิของคนในบ้านเกิดภายใต้กรอบกฎหมายผิด-ไม่ละเมิดสิทธิผู้อื่นผิดด้วยหรือ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วานนี้ (3 ต.ค.) นายสุทธิ อัชฌาศัย แกนนำเครือข่ายประชาชนภาคตะวันออก ได้เขียนบันทึกลงในเฟซบุ๊dส่วนตัวในหัวข้อ “ฝากถึงอาจารย์เปลว สีเงิน ที่เคารพครับ จากกรณีที่ที่หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ ฉบับประจำวันศุกร์ที่ 1 ต.ค.2553 ที่ผ่านมา คอลัมน์คนปลายซอย โดย เปลว สีเงิน ได้เขียนบทความในหัวข้อ “เกินพอดีก็ “ไม่ดี” ที่มาบตาพุด” กล่าวหาว่า การเคลื่อนไหวของนายสุทธิ เป็นการกระทำที่สุดโต่ง ถ่วงความเจริญ พร้อมกับหยิบบทความของ นายโสภณ พรโชคชัย ประธานกรรมการมูลนิธิประเมินค่าทรัพย์สินแห่งประเทศไทย ซึ่งเจ้าของบทความได้เผยแพร่ในหลายเว็บไซต์มาลงตีพิมพ์อีกด้วย นายสุทธิ กล่าวว่า ตนถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรงจาก เปลว สีเงิน ในข้อหาที่ตนเสียใจ และผิดหวังมากที่สุดในชีวิต โดยเฉพาะข้อหาทำลายชาติ ถ่วงความเจริญ และข้อหาชักจูงต่างชาติมาทำลายประเทศไทย ทั้งสองข้อหาเป็นข้อหาที่รุนแรงมาก เพราะถือว่าสิ่งที่ตนทำไปนั้น เป็นไปเพื่อช่วยเหลือประชาชนผู้ยากไร้ และผู้ที่ได้รับผลกระทบ ซึ่งอยู่ในเขตนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดและในเขตพื้นที่จังหวัดระยอง โดยมีเจตนารมณ์ต้องการให้เกิดการเติบโตและเกิดความเข้มแข็งของภาคประชาชน เพราะไม่อยากเห็นประชาชนถูกเอารัดเอาเปรียบจากอำนาจรัฐและอำนาจทุน บันทึกของ นายสุทธิ ได้เท้าความถึงการเคลื่อนไหวในนามเครือข่ายประชาชนภาคตะวันออก ว่า เกิดจากสมัยรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร พบว่า จังหวัดระยอง ซึ่งเป็นบ้านเกิดของ นายสุทธิ เกิดวิกฤตภัยแล้ง เนื่องจากน้ำในอ่างเก็บน้ำถูกผันไปใช้ในนิคมอุตสาหกรรม จึงเริ่มต้นเรียกร้องให้มีการจัดสรรน้ำและกระจายทรัพยากรธรรมชาติให้ทุกภาคส่วนอย่างเป็นธรรม จนเป็นประเด็นสาธารณะ เกิดการทบทวนบทบาทของบริษัท จัดการน้ำภาคตะวันออก จำกัด (อีสวอเตอร์) โดยได้งบประมาณด้วยการบริจาคและจากการสนับสนุนด้วยกันเองของสมาชิกใน 8 จังหวัด ไม่ได้รับเงินจากต่างประเทศในการขับเคลื่อนงาน หรือทำกิจกรรมแม้แต่บาทเดียว นอกจากนี้ จากการศึกษาข้อมูล พบว่า งานวิจัยของมหาวิทยาลัย สถาบันอุดมศึกษา รายงานของกระทรวง ทบวง กรม หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง เกี่ยวกับปัญหาในมาบตาพุด มีเป็น 1,000 ฉบับ ระบุว่า เกิดปัญหาผลกระทบต่อประชาชนในพื้นที่แทบทั้งสิ้น แต่กลับไม่ได้ถูกนำมาเปิดเผย หรือเผยแพร่ให้ประชาชนเข้าใจได้ จึงทำให้ตนต้องออกมาทำงานเกี่ยวกับเรื่องมาบตาพุด โดยเริ่มจากทำสรุปงานวิจัยเหล่านั้นให้เป็นประเด็นอย่างง่าย เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่เข้าใจต่อปัญหา โดยข้อมูลที่พบนั้น ระบุว่าคนมาบตาพุดเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็ง โรคผิวหนัง โรคระบบทางเดินหายใจ และโรคอื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งมลพิษจากโรงงานอุตสาหกรรมส่งผลกระทบให้คน จ.ระยอง มีอัตราการเสี่ยงต่อโรคสูงกว่าจังหวัดอื่น ตนจึงได้นำข้อมูลของงานวิจัยทั้งหมดที่ได้สรุปเป็นอย่างง่าย นำเสนอต่อประชาชนในพื้นที่มาบตาพุดและจังหวัดระยอง จนมีกลุ่มคนในพื้นที่มาบตาพุด ร่วมกันเรียกร้องให้รัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ประกาศพื้นที่มาบตาพุดและพื้นที่ข้างเคียงเป็นเขตควบคุมมลพิษ เพราะไม่อยากให้ปัญหามลพิษลุกลามสู่ปัญหาสุขภาพ และกระทบต่อชีวิต แต่รัฐบาลไม่ได้ประกาศตามที่เรียกร้อง จึงใช้สิทธิทางศาลด้วยการฟ้องต่อศาลปกครองระยอง ซึ่งได้พิพากษาให้มาบตาพุด และพื้นที่ข้างเคียงเป็น “เขตควบคุมมลพิษ” เพื่อนำไปสู่การจัดทำแผนลดและขจัดมลพิษ รวมถึงเกิดการกระจายอำนาจให้ท้องถิ่นและประชาชนได้มีโอกาสในการเข้าไปสู่การควบคุม กำกับ ดูแลและตรวจสอบ รวมถึงแก้ปัญหามลพิษของโรงงานอุตสาหกรรมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของรัฐบาลมากขึ้น ชี้ รบ.ตระบัดสัตย์ปรับแก้ข้อเสนอไม่ถาม “อานันท์” นายสุทธิ กล่าวต่อว่า ปัจจุบันรัฐบาลได้ประกาศพื้นที่มาบตาพุดและพื้นที่ใกล้เคียงเป็นเขตควบคุมมลพิษแล้ว และอยู่ระหว่างการดำเนินการตามแผนลดและขจัดมลพิษอยู่ ยังไม่สามารถชี้วัดได้ว่าจะเกิดผลสัมฤทธิ์อย่างแท้จริงได้หรือไม่ ซึ่งระหว่างการจัดทำแผนลดและขจัดมลพิษ รัฐบาลกลับมีแผนที่จะขยายอุตสาหกรรมต่อเนื่อง โดยมิได้คำนึงถึงว่าพื้นที่มาบตาพุดและพื้นที่ข้างเคียงนั้นเป็นเขตควบคุมมลพิษ รวมถึงไม่ได้ดำเนินการตามรัฐธรรมนูญมาตรา 67 แต่อย่างใด จึงได้ฟ้องต่อศาลปกครองกลางให้มีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว ระงับการดำเนินโครงการก่อสร้างโรงงานอุตสาหกรรม 76 โครงการ เพื่อต้องการให้ดำเนินการตามรัฐธรรมนูญมาตรา 67 วรรคสอง และศาลปกครองสูงสุดก็ได้มีคำสั่งระงับโครงการทั้งหมดไว้ก่อน และให้ดำเนินการตามขั้นตอนของรัฐธรรมนูญมาตรา 67 วรรคสองทุกประการ ด้าน พวกตนเห็นว่า ถ้าปล่อยให้รัฐบาลดำเนินการตามขั้นตอนของรัฐธรรมนูญโดยลำพัง อาจจะทำให้ไม่เป็นที่ยอมรับ และเกิดความขัดแย้งต่อไป จึงเสนอทางออกด้วยการให้รัฐบาลตั้งคณะกรรมการขึ้นมาหาทางออกร่วมกัน รัฐบาลก็ตอบรับและนำไปสู่การตั้งคณะกรรมการ 4 ฝ่าย โดยตนเสนอนายอานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรีมาเป็นประธาน เนื่องจากเห็นว่าเป็นบุคคลที่มีความเป็นกลางและมีความสามารถสูง หลังจากนั้น คณะกรรมการ 4 ฝ่ายก็เริ่มทำงานด้วยดีมาโดยตลอด และได้นำข้อเสนอที่เป็นข้อยุติจากกรรมการ 4 ฝ่าย เสนอไปยังรัฐบาล ทั้งนี้ ช่วงแรกรัฐบาลได้รับข้อยุติที่กรรมการ 4 ฝ่ายเสนอมา และออกมาเป็นประกาศกระทรวงในเรื่องของการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบด้านสุขภาพ และออกระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการจัดตั้งองค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 67 วรรคสอง ด้วยดีมาโดยตลอด มิได้มีการปรับแก้แต่อย่างใด แต่พอมาถึงเรื่องประกาศประเภทโครงการที่อาจก่อผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงฯ รัฐบาลกลับมีการปรับแก้โดยรัฐบาลเอง รวมถึงไม่ได้มีการปรึกษาหารือกับคณะกรรมการ 4 ฝ่ายก่อนที่จะมีการปรับแก้แต่อย่างใด จนทำให้นายอานันท์ต้องออกมาถามรัฐบาลถึงสาเหตุที่ต้องมีการแก้ไขและร้องขอให้รัฐบาลชี้แจงเป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งปัจจุบันรัฐบาลก็ยังไม่ได้มีการชี้แจงเป็นลายลักษณ์อักษรแต่อย่างใดทั้งๆ ที่ทุกฝ่ายทำงานร่วมกันอยู่ประมาณ 6 เดือน มีความขัดแย้งทางความคิดบ้าง แต่ท้ายที่สุดกรรมการสี่ฝ่ายก็มีข้อยุติออกมาตามที่หลายท่านได้รับทราบ ซึ่งรัฐบาลได้นำข้อเสนอหลายข้อของกรรมการสี่ฝ่ายไปใช้โดยไม่ปรับแก้ แต่มีเพียงข้อเดียวที่รัฐบาลปรับแก้ คือโครงการที่อาจก่อผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงฯ ปรับแก้เยอะมาก มีทั้งการตัด เพิ่ม และเปลี่ยนแปลงขนาด ถูกต้อง ชอบธรรมไหมครับ เมื่อได้ตั้งคณะกรรมการฯ เพื่อมาทำงานเพื่อแก้ปัญหาแล้ว แต่รัฐบาลกลับไม่ได้นำข้อเสนอของคณะกรรมการฯ นั้นไปปฏิบัติ” นายสุทธิ ระบุ โต้ไม่ได้ทำลายชาติ-ถ่วงความเจริญอย่างที่ “เปลว สีเงิน” กล่าวหา อย่างไรก็ตาม นายสุทธิกล่าวถึงสาเหตุที่ตนออกมาเคลื่อนไหว เพื่อคัดค้านประกาศ 11 ประเภทโครงการที่อาจก่อผลกระทบรุนแรงฯ ในครั้งนี้ ไม่ได้เกิดจากคำพิพากษาของศาล แต่สิ่งที่เห็นต่างจากรัฐบาล และเป็นเหตุผลที่ต้องลุกขึ้นมาแสดงออกอีกครั้ง เพราะว่ารัฐบาลได้ออกประกาศประเภทโครงการรุนแรงฯ ขนาดใหญ่เกินกว่าที่ชุมชนจะรับได้ หรือมั่นใจได้ว่าขนาดที่รัฐบาลกำหนดมานั้น จะมีความปลอดภัยต่อทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม ชีวิตคน สุขภาพและชุมชน โดยตนและชาวบ้านได้เดินทางไปยื่นหนังสือให้รัฐบาลที่ทำเนียบรัฐบาลหลายครั้ง เพื่อให้เกิดการทบทวนการออกประกาศประเภทโครงการที่อาจก่อผลกระทบรุนแรงฯ ใหม่ แต่รัฐบาลก็ยังไม่ทำในสิ่งที่ควรทำ เพื่อดำรงรักษาความถูกต้อง ความชอบธรรม และความดีงามที่สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญมาตรา 66 และ 67 ตนและเครือข่ายประชาชนภาคตะวันออก จึงได้จึงได้ร่วมกันเคลื่อนไหว ด้วยการชุมนุมโดยสงบ ปฏิบัติตามกฎหมายตามสิทธิที่พึงจะกระทำได้ หวังเพื่อต้องการให้รัฐบาลมีการทบทวนการออกประกาศประเภทโครงการที่อาจก่อผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงฯ เสียใหม่ เพื่อให้ชุมชนทั่วประเทศมีโอกาสใช้สิทธิปกป้องชุมชนตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 67 วรรคสองต่อไป และการชุมนุมในช่วงวันที่ 30 ก.ย.และ 1 ต.ค.ที่ผ่านมา ก็เป็นไปโดยสงบ ไม่มีการปิดถนน หรือมีการปิดล้อมนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดแต่อย่างใด แต่กลับอยู่ภายใต้กรอบของกฎหมายด้วยดีมาโดยตลอด ทั้ง 2 วัน รัฐบาลก็ได้ส่งตัวแทนรัฐบาลมารับข้อเสนอและมีการพูดคุยกันด้วยดี ขาดแต่เพียงเวทีที่จะได้มีโอกาสในการทำความเข้าใจร่วมกัน และตัวแทนรัฐบาลก็ได้รับข้อเสนอและจะมีการเปิดเวทีสาธารณะเพื่อหาข้อยุติเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการออกประกาศประเภทโครงการที่อาจก่อผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงฯ ร่วมกันระหว่างตัวแทนประชาชน กับตัวแทนรัฐบาล ภายใน 2 อาทิตย์ รวมถึงรับปากเรื่องปัญหาที่อยู่ในระหว่างการดำเนินการของรัฐบาล ว่าจะมีการเร่งรีบดำเนินการให้เป็นรูปธรรมโดยเร็ว ไม่ว่าจะเป็นปัญหาเรื่องผังเมือง และปัญหาเรื่องของการควบคุมกำกับดูแลมลพิษ นี่คือเหตุการณ์ทั้งหมดที่เรียนถึง “เปลว สีเงิน” อย่างตรงไปตรงมา “ผมไม่ได้มีเจตนาร้ายต่อประเทศชาติ หรือถ่วงความเจริญให้ประเทศแต่อย่างใด แต่กลับมีความต้องการยกระดับความน่าเชื่อถือในการลงทุนทางอุตสาหกรรมให้ประชาชนมีความมั่นใจมากขึ้น รวมถึงเกิดการเอาจริงเอาจังจากภาครัฐและภาคเอกชนในการบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด รวมถึงยึดหลักธรรมาภิบาลในการบริหารงาน ประโยชน์สุขทั้งหมดจะเกิดขึ้นกับประชาชน ผมไม่ได้ชักชวนชาวต่างชาติมาทำลายประเทศไทยแต่อย่างใด ผมรู้จักกับคุณธารา บัวคำศรี ผู้ประสานงานกรีนพีซเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มานานแล้ว และเคยถูกจับร่วมกับคุณธาราที่ประเทศอินโดนีเซียมาก่อน “กรณีที่ คุณธารา บัวคำศรี พาเรือเรนโบว์ มาลอยลำในบริเวณอ่าวไทยนั้น คุณธารา แจ้งผมว่า เพื่อต้องการตรวจสอบคุณภาพน้ำทะเลบริเวณอ่าวไทย ว่า มีสภาพเป็นอย่างไรบ้าง ทั้งนี้ ก่อนที่จะมาระยอง คุณธาราก็ได้นำเรือไปที่จังหวัดนครศรีธรรมราช ประจวบคีรีขันธ์ สมุทรสงครามและก็มาสู่จังหวัดระยองด้วยความสัตย์จริง ผมก็ไม่เห็นว่าในเรือเรนโบว์นั้น มีชาวฝรั่งต่างชาติอยู่เลยแม้แต่คนเดียว กลับมีแต่คนไทยทั้งหมด และก็ไม่เห็นว่าเรือเรนโบว์ทำอันตรายใดๆ กับโรงงานอุตสาหกรรมในประเทศไทย ผมจึงไม่รู้ว่า ผมไปชักชวนฝรั่งมาทำลายประเทศไทยอย่างไร” นายสุทธิ ระบุ นายสุทธิ ระบุเพิ่มเติมว่า ส่วนกลุ่มประมงเรือเล็กที่ออกมาล่องเรือบริเวณท่าเรือที่นิคมอุตสาหกรรม นั้น เพราะประสบปัญหาเรือขนถ่ายสินค้าด้านเคมีทิ้งน้ำเสียลงทะเลโดยไม่มีการบำบัด, โรงงานอุตสาหกรรมปล่อยน้ำเสียลงสู่ทะเล, ปล่อยน้ำที่มีอุณหภูมิสูงลงสู่ทะเล, ทิ้งขี้เถ้า-ตะกอน-กากของเสียลงสู่ทะเลมาโดยตลอด ทำให้ความสมบูรณ์ใต้ทะเลถูกทำลาย มีแต่กากของเสีย สัตว์น้ำเริ่มหนีชายฝั่งระยองพวกเขาต้องวิ่งเรือไกลขึ้น มีต้นทุนมากขึ้น แต่ยังไม่มีรัฐบาลใดให้ความช่วยเหลือพวกเขาเลยแม้แต่นิดเดียว โอดมารดาเครียดจัด หลัง “เปลว สีเงิน” ทำตัวศาลเตี้ย ในช่วงท้าย นายสุทธิ ยังกล่าวถึงคอลัมนิสต์ชื่อดัง “เปลว สีเงิน” ระบุว่า ตนเป็นลูกสามัญชนคนธรรมดาคนหนึ่ง ไม่ได้กินภาษีประชาชน ไม่เคยประพฤติตัวเป็นเยี่ยงอย่างที่ไม่ดีแก่สังคม ไม่ได้เป็นรัฐมนตรี ไม่ได้หวังงที่จะเดินเข้าสู่เส้นทางการเมืองแต่อย่างใด ตนเป็นแค่เพียงผู้นำชุมชนธรรมดาคนหนึ่ง ที่มีความหวังสร้างความเข้มแข็งของชุมชนจากฐานราก อันจะนำไปสู่ความเท่าเทียมของสังคมไทยอย่างแท้จริง “ผมผิดด้วยหรือครับ ผมไม่รู้จักกับ ดร.โสภณ พรโชคชัย มาก่อน ผมไม่เคยมีปัญหากับเขา ผมไม่เคยมีปัญหากับอาจารย์เปลว สีเงิน ผมไม่เคยวิพากษ์วิจารณ์ใคร นอกจากวิพากษ์วิจารณ์การลงทุนทางอุตสาหกรรมที่ไม่มีมาตรฐานของประเทศไทย และวิพากษ์วิจารณ์ทักษิณ ชินวัตร เพราะผมถือว่าทุนนิยมถ้าใช้ไม่ถูกทาง จะเป็นการทำลายสังคมในทุกรูปแบบ นี่คือสิ่งที่ผมทำมาตลอดชีวิต ผมอยากย้ำท่านอาจารย์เปลว สีเงินว่า อาจารย์เปลว สีเงินสามารถตรวจสอบพฤติกรรมของผมได้ตลอดเวลา สามารถวิพากษ์วิจารณ์ผมได้ถ้าผมทำในสิ่งที่ผิดจริงๆ สามารถนำพฤติกรรมของผมในสิ่งที่ผิดบอกต่อสาธารณชนได้ ผมจะไม่รู้สึกเสียใจแต่อย่างใด แต่ทั้งหมดที่ผมทำมา ผมยังไม่ทราบว่า ผมทำผิดเรื่องอะไร” นายสุทธิ ระบุ นายสุทธิ ยังกล่าวขอความเป็นธรรม โดยระบุว่ามารดาและครอบครัวของตนเครียดมาก จากงานเขียนของเปลว สีเงิน และเป็นเรื่องน่าเสียดายที่คอลัมนิสต์ไทยโพสต์พิพากษาตนให้สังคมมองในแง่ไม่ดีไปแล้ว ทั้งๆ ที่ตนไม่มีโอกาสชี้แจงความจริงสู่สังคมแต่อย่างใด และตนก็จะรู้สึกเสียใจอย่างถึงที่สุด ว่าคนที่พิพากษาประหารชีวิตคือคนต้นแบบที่ได้ติดตามผลงานมาโดยตลอด “การออกมาต่อสู้ในนามภาคประชาชนที่ไม่ใช่เอ็นจีโอ เพื่อขอความเป็นธรรมจากรัฐบาล และเป็นการต่อสู้ในกรอบของกฎหมายที่เราสามารถกระทำได้ โดยไม่กระทบต่อสิทธิของคนอื่น มันผิดด้วยหรือครับ เราไม่มีทั้งอำนาจรัฐ และอำนาจทุนอยู่ในมือ มีแต่เพียงร่างกายและจิตใจอันบริสุทธิ์ หวังเพื่อให้แก้ปัญหาที่พวกเราประสบอยู่ เราทำลายชาติใช่ไหมครับ?” นายสุทธิ กล่าวทิ้งท้าย