วันจันทร์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2553

มาตรฐานใหม่ อุตสาหกรรมไทย โรงงานขนาดใหญ่ ไม่จำเป็นต้องตอกเสาเข็มฐานราก แค่อ้างว่าดินแข็งแรงมาก และมีบริษัทฝรั่งคุมงานก่อสร้างให้

มาตรฐานใหม่ อุตสาหกรรมไทย โรงงานขนาดใหญ่ ไม่จำเป็นต้องตอกเสาเข็ม แค่อ้างว่าดินแข็งแรง มีฝรั่งควบคุมงาน เลยมีมาตรฐานสูง - ปตท. การันตี ไม่มีทรุดพัง แม้โรงแยกก๊าซใหม่ ไม่ตอกเสาเข็มทั้งหมด เพราะดินแข็งแรงมาก อีกทั้งมีฝรั่งควบคุมงาน เกาหลีก่อสร้างให้ ตรวจสอบเองแล้ว ทุกอย่างไม่ทรุดเลย แม้แต่เซ็นต์เดียว - http://khonmaptaphut.blogspot.com/2010/08/blog-post_16.html

ภาคประชาชนจี้เอกชนรายใหญ่ในมาบตาพุด 20 โครงการต้องทำเอชไอเอใหม่ เพราะไม่ถูกตามหลักเกณฑ์

วันนี้ (16 ส.ค.) นายสุทธิ อัชฌาศัย ผู้ประสานงานเครือข่ายประชาชนภาคตะวันออก เปิดเผยภายหลังการยื่นหนังสือ ต่อนายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) บริษัทปตท. และบริษัทสยามซีเมนต์ กรุ๊ป ว่า ทางเครือข่ายมีข้อเรียกร้องจำนวน 4 ข้อ ประกอบด้วย 1. ต้องการให้ส.อ.ท.รวมถึงบริษัทในโครงการต่างๆ จำนวน 20 โครงการ พิจารณากระบวนการทำรายงานผลกระทบด้านสุขภาพ (เอชไอเอ) ใหม่ เนื่องจากพบว่ามีการดำเนินการที่ไม่ถูกต้อง ผิดขั้นตอนตามเนื้อหาทางกฎหมาย โดยให้ผู้ประกอบการตอบกลับภายใน 7 วัน หากไม่ตอบกลับก็จะมีมาตรการอื่นๆ ตามมา ทั้งนี้ แนวทางการปฏิบัติตามเอชไอเอที่ไม่ถูกต้อง เช่น แจ้งสาธารณชนที่สนใจเข้าร่วมรับฟังความเห็นไม่ครบ 1 เดือน ไม่ครอบคลุมถึงกลุ่มเป้าหมายอย่างชัดเจน และเปิดเผยเอกสารไม่ถึง 15 วัน, มีการ จัดเวทีรับฟังความเห็นหลายโครงการพร้อมกัน ไม่สามารถเข้ารับฟังได้ครบ, เนื้อหาในเอกสารไม่ครบถ้วน เป็นต้น ซึ่งเหตุอาจเกิดจากความรีบร้อน เพราะมีภาระด้านการเงิน และการทำเอชไอเอเป็นกระบวนการใหม่ จึงอาจมีข้อผิดพลาดอยู่บ้างทำให้ไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของการทำเอชไอเอ สำหรับโครงการที่เข้าข่ายดังกล่าว เช่น โครงการโรงแยกก๊าซธรรมชาติหน่วยที่ 6 ของบริษัทปตท. โครงการโรงงานโอเลฟินส์และโครงการเปลี่ยนแปลงรายรายละเอียดโครงการโรงงานโอเลฟินส์ ของบริษัทเอสซีจี เคมิคอลส์ เป็นต้น สำหรับข้อเสนอที่ 2. ต้องการให้ส.อ.ท.ตั้งคณะกรรมการร่วมตรวจสอบข้อเท็จจริงในการก่อสร้างอาคารโรงงานของทุกโครงการที่อยู่ในความรับผิดชอบอย่างละเอียด เนื่องจากชาวบ้านในพื้นที่ไม่มั่นใจว่าการก่อสร้างโรงงานไม่ได้สร้างโครงสร้างพื้นฐานที่แข็งแรง เช่น ไม่มีการตอกเสาเข็ม เป็นต้น จึงต้องการให้มีการตรวจสอบข้อจริง เพื่อป้องกันการเกิดความเสียหายที่ร้ายแรง ข้อ 3. เครือข่ายฯ ขอมีส่วนร่วมในโครงการ “เพื่อนชุมชน ความร่วมมือของกลุ่มอุตสาหกรรมไทย” เนื่องจากสนับสนุนแนวความคิดของโครงการดังกล่าว ซึ่งหลักการและเหตุผล รวมถึงขั้นตอนการปฏิบัติ ต้องการการมีส่วนร่วมร่วมจากทุกภาคส่วน และข้อ ที่ 4. ต้องการให้บริษัทที่ลงทุนอยู่ในพื้นที่ทำแผนการลงทุนให้ชัดเจนในระยะเวลา 5 ปี เพื่อให้ชุมชนเห็นภาพ และสามารถรับมือกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้ รวมถึงต้องการ ให้ทบทวนแผนขนยายการลงทุนภายใต้การพัฒนารูปแบบอื่น ไม่ใช่ขยายพื้นที่เพื่ออุตสาหกรรมเพียงอย่างเดียว

PTT ยันมาตรฐานความปลอดภัยสูงในการสร้างโรงแยกก๊าซธรรมชาติหน่วยที่ 6

โครงการในพื้นที่รับน้ำ-น้ำท่วมเมื่อฝนตกหนัก - ข้อกำหนดก่อสร้างยอมให้ทรุดได้เพียง 1.0-1.5 เซ็นติเมตร แค่ความหนาของฝายาหม่อง อ้างเฉยไม่มีทรุดเลย เป็นไปได้...จริงหรือ!!!

ปตท.ยืนยันการก่อสร้างโรงแยกก๊าซหน่วยที่ 6 ได้มาตรฐาน ทั้งยังมีมาตรการเฝ้าระวังการทรุดตัวของฐานราก เล็งประชุมแจงต่อชุมชนเร็วๆนี้

นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่สื่อสารองค์กรและกิจการเพื่อสังคม บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ชี้แจงถึงกรณีที่ ผู้ประสานงานเครือข่ายประชาชนภาคตะวันออกแสดงความกังวลต่อการดำเนินงานของกลุ่ม ปตท. เกี่ยวกับมาตรฐานความปลอดภัยในการก่อสร้างโรงแยกก๊าซธรรมชาติ หน่วยที่6 การจัดทำรายงาน HIA และการมีส่วนร่วมของชุมชนในกิจกรรมต่างๆ ว่า

การดำเนินการก่อสร้างโครงการโรงแยกก๊าซธรรมชาติหน่วยที่ 6 และโรงแยกก๊าซอีเทนนั้น ปตท. ได้ดำเนินการออกแบบและก่อสร้างตามหลักมาตรฐานทางวิศวกรรมที่กำหนดไว้อย่าง เคร่งครัด ภายใต้การตรวจสอบควบคุมโดยบริษัทวิศวกรที่ปรึกษาระดับโลกอย่างละเอียดในทุก ขั้นตอน โดยได้ดำเนินการวิเคราะห์ชนิดและลักษณะของดินในพื้นที่ตั้งโครงการตามหลัก วิศวกรรมฐานรากและปฐพีกลศาสตร์ พบว่าดินส่วนใหญ่โดยทั่วไป เป็นดินคุณภาพดีโดยเป็นดินแน่นถึงแน่นมาก และดินแข็งถึงแข็งมาก

- ข้อมูลถูกปกปิดระหว่างการก่อสร้าง ไม่มีวิศวกรสนามรู้ว่า ปตท. ใช้ค่ารับน้ำหนักดินสูงมากในการออกแบบ อ่าน 7 ความเสี่ยงเรื่องการทรุดพัง http://airfresh-society.blogspot.com/2010/08/5.html

อย่างไรก็ดี ปตท. ยังได้ปรับปรุงคุณภาพดินและบดอัดเพิ่มเติม ตามหลักทางด้านวิศวกรรมฐานรากเพื่อความปลอดภัยสูงสุด และทำการทดสอบกำลังรับน้ำหนักของดินตามขั้นตอนอีกขั้นหนึ่ง ส่วนการออกแบบฐานรากเพื่อรองรับน้ำหนักโครงสร้าง ได้มีการตรวจสอบและลงนามรับรองโดยผู้เชี่ยวชาญที่มีอำนาจตามกฎหมาย และทั้งสองโครงการได้ใบอนุญาตก่อสร้างอาคารตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของ กฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างถูกต้อง

- ขออนุญาตกับเทศบาล โดยอ้างค่ารับน้ำหนักดินสูงมาก ฐานรากทั้งหมดจึงไม่จำเป็นต้องใช้เสาเข็ม อ่านการทดสอบดิน ที่โรงงานข้างเคียงทำไมใช้เสาเข็มเจาะ และโรงงานอื่นๆ ตอกเสาเข็ม http://khonmaptaphut.blogspot.com/2010/08/blog-post_4078.html

นอกจากนั้น ปตท. ยังมีมาตรการเฝ้าระวังการทรุดตัวของฐานรากอย่างเป็นระบบ โดยผลจากการตรวจสอบค่าระดับอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่เริ่มงานติดตั้งโครงสร้างฐานราก จนกระทั่งก่อสร้างแล้วเสร็จและยังคงทำการตรวจสอบอยู่จนถึงปัจจุบันนั้น ปรากฏว่า ไม่พบการทรุดตัวที่ผิดปกติแต่อย่างใด

- ไม่มีการตรวจสอบ ตั้งแต่ พ.ค. 2552 มีการซ่อมสร้างใหม่ และโรงแยกก๊าซอีเทน อยู่ระหว่างการทดสอบระบบมาโดยตลอด ในพื้นที่โรงแยกก๊าซที่ 6 มีการทดสอบระบบท่อ มาตั้งแต่ เดือน มกราคม 2553 ค่าทรุดตัวที่ยอมรับได้ 1.0-1.5 เซนติเมตร เท่านั้น ตามข้อกำหนดการออกแบบฐานรากดูค่าทรุดตัวที่ยอมรับได้ในสเปค ของ ปตท. เอง http://khonmaptaphut.blogspot.com/2010/08/blog-post_8976.html

ทั้งนี้ ปตท. จะจัดการประชุมชี้แจงเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับชุมชน เรื่องความปลอดภัยในการดำเนินโครงการโรงแยกก๊าซธรรมชาติหน่วยที่ 6 และโครงการโรงแยกก๊าซอีเทนของ ปตท. อีกครั้งในเร็วๆ นี้ หลังจากที่ได้มีการชี้แจงกับชุมชน สื่อมวลชนท้องถิ่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้วเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา

- ชาวบ้านส่วนใหญ่ ไม่รู้เรื่องงานวิศวกรรม รับรู้ว่า ปตท. ใช้ผู้เชี่ยวชาญ อธิบาย แต่ไม่เข้าใจ เสาวิทยุ ยังต้องตอกเสาเข็มมีสลิงโยงยึด แต่หอกลั่น สูงเท่าตึก 10 ชั้น กลับตั้งไว้เฉยๆ คำชี้แจงไม่ช่วยลดความเสี่ยง ปตท. ต้องหยุดการทดสอบระบบ เพื่อตรวจสอบก่อน ว่าที่ทรุดอยู่เกินข้อกำหนดของ ปตท. ที่เขียนไว้เองหรือไม่

สำหรับกรณี การจัดทำรายงานประเมินผลกระทบทางสุขภาพ (HIA) ของโครงการกลุ่ม ปตท. ตามบัญชีรายชื่อ 76 โครงการนั้น ทุกโครงการต่างมีเจตนารมณ์ที่จะดำเนินการจัดทำรายงาน HIA ไม่ว่าโครงการดังกล่าวจะเข้าข่ายอยู่ในประเภทกิจการที่อาจมีผลกระทบอย่าง รุนแรงหรือไม่ก็ตาม โดยความคืบหน้าในปัจจุบัน อยู่ในขั้นตอนการจัดทำรายงาน HIA และเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นของชุมชนรอบพื้นที่ คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในปีนี้

- จ้างคนไปฟัง แล้วคนที่ถูกจ้างไป จะบอกว่าไม่ดีไม่ถูก หรือ!!! มีคนส่วนเล็กๆแถลงแย้ง แต่ถูกจ้องราวกับจะถูกคนส่วนใหญ่รุมทึ้ง

"ปตท. ขอยืนยันว่า กลุ่ม ปตท. มีความมุ่งมั่นในการดำเนินงานบนมาตรฐานระดับสากล ด้วยความสำนึกรับผิดชอบต่อสังคม ชุมชนและสิ่งแวดล้อมส่วนรวม รวมทั้ง ยังให้ความสำคัญกับการเปิดรับฟังความคิดเห็น และข้อเสนอแนะจากชุมชนรอบพื้นที่ เพื่อให้อุตสาหกรรมและชุมชนเติบโตไปด้วยกันอย่างยั่งยืน"

- ปตท. ควรนำค่าโฆษณา สร้างภาพ จำนวนมาก มาซ่อมสร้างโรงงานให้แข็งแรงก่อน จะดีกว่า การทิ้งความเสี่ยง ให้ทรุดพัง อาจระเบิดรุนแรงลุกลาม ก่อให้เกิดหายนะต่อชีวิต ชุมชน และโรงงานอื่นๆ จำนวนมาก

--อินโฟเควสท์ โดย กษมาพร กิตติสัมพันธ์/ศศิธร โทร.02-2535000 ต่อ 345 อีเมล์: sasithorn@infoquest.co.th--

จากภาพ โรงงานของ ROC ซึ่งอยู่บนเนิน ก่อนถึงโรงแยกก๊าซ ปตท.
ตอกเสาเข็มจำนวนมาก ขณะทำการก่อสร้าง
แต่โรงแยกก๊าซใหม่ ปตท. พื้นที่ร่องน้ำ แอ่งน้ำท่วมขัง อ้างว่าดินแข็งแรงมาก
จนไม่มีความจำเป็นต้องตอกเสาเข็ม อ้างว่ามี บ.ฝรั่ง ตรวจสอบ-ควบคุมงานให้
ตามไปดูว่า ... ขบวนการตรวจสอบอย่างเป็นระบบ ภายใต้การควบคุมของ บริษัทวิศวกรที่ปรึกษาระดับโลกอย่างละเอียดในทุก ขั้นตอน ทำกันอย่างไร
ตัวอย่าง การตรวจสอบการทรุดตัว เป็นส่วนหนึ่งของเอกสารในการประชุม ซึ่ง ปตท.อ้างว่าได้ทำการตรวจสอบมาอย่างเป็นระบบโดยตลอด การบันทึกที่ทำในเดือน ม.ค.53 แสดงถึงการบันทึกข้อมูล ระหว่าง เดือน ก.ค.52 ถึง เดือน พ.ย. 52 ที่รายมือเดียวกัน ปากกาแ่ท่งเดียวกัน การรายงานการตรวจสอบ ที่ใช้ระยะเวลา 5 เดือน อะไรที่บอกว่า เสี่ยงสูง ก้อมันมาจากวิธีการดำเนินการ ของ ปตท. เอง ที่ขาดความจริงใจ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น