วันพฤหัสบดีที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ครบ 2 เดือน เหตุก๊าซคลอรีนรั่ว - ที่ยังหาเหตุไม่พบ

ครบ 2 เดือน เหตุก๊าซคลอรีนรั่ว ที่วันนี้ ยังสรุปสาเหตุอย่างเป็นทางการไม่ได้ ผู้คนหลงลืม กันไปหมด คนได้รับผลกระทบจำนวนมาก เกือบ 300 คน กลายเป็น 700 คนในเวลาต่อมา และผู้รับผิดชอบใน บริเวณดังกล่าว ผอ.นิคมเหมราช ถูกย้ายเข้ากรุงเทพฯ แต่สุดท้ายต้องย้ายกลับมาอยู่ที่นิคมเอเชีย ใกล้ๆ กับนิคมเหมราชนั่นแหละ นิคมเอเชีย ซึ่งเดิมเคยประชาพิจารณ์ ที่ห้องประชุม กนอ.มาบตาพุด ซึ่งประกาศตัวเป็นกรีนแฟคตอรี่ ที่จะไม่มีโรงงานสารเคมี แต่หลังจากนั้นไม่นาน อินโดรามา, เอสซีจี-ดาว์น เคมิคอล แล้วอีกหลายๆ โรงงานสารเคมี เข้าไปตั้งอยู่ ตรงนี้ล่ะ ที่บอกว่าผู้คนลืมง่าย กันหรืออย่างไร ไม่ใช่หรอกครับ เป็นเรื่องของผู้ใช้อำนาจในการจัดการ-ดำเนินการ ต่างหาก เรามักพบเห็นเรื่องที่ไม่น่าจะเกิดไม่น่าจะเป็นเต็มไปหมดในประเทศนี้.- จนสุดท้ายเหมือนถูกผู้คนหลงลืมกันไปหมด เพราะไม่ได้อยู่ในกระแสแล้ว ไม่มีใครสนใจใส่ใจ ผู้ที่เจ็บป่วยยังไม่หายเจ็บ ผู้ที่ทรัพย์สินถูกเผาไหม้ทำลาย ยังไม่ได้ค่าชดเชย แม้งบประมาณ ที่ออกมาแล้วถูกนำไปใช้จำนวนมาก ถึงเวลาแล้วหรือยัง ที่ผู้คนในบ้านนี้เมืองนี้ จะต้องออกมาสกัดเหตุก่อนที่จะเกิด เพราะเกิดเหตุแล้วก็จะถูกหลงลืมไปในเวลาอันรวดเร็วแบบที่เคยแบบที่เป็น (คนจำนวนมาก บอกว่าบทความข้อเขียนลักษณะนี้เป็นการกระแหนะกระแหน ส่อเสียด ให้บุคคลผู้มีอำนาจได้รับความเสียหาย)

เรื่องความแข็งแรงของโครงสร้างพิเศษสำคัญ

ที่ตั้งอยู่บนฐานรากไม่มีเสาเข็ม

ไม่ต่างกับฟันปลอมที่อยู่ในปาก เหงือกทรุดเหงือกบวม ล้วนมีปัญหา

แต่โรงแยกก๊าซเสี่ยง มีคลังก๊าซไวไฟขนาดใหญ่

ปัญหาจึงเป็นปัญหาใหญ่ ที่ไม่ใช่แค่ปัญหาในช่องปาก

เพราะแค่ถังคลอรีนล้มพัง คนหลายร้อยยังได้รับผลกระทบ

เพราะเหตุที่เกิดไม่ใช่เรื่องรั่วไหลตามปกติ

แต่เป็นเหตุล้มพังจากความไม่แข็งแรง

ก่อสร้างไม่แข็งแรง จนเกิดปัญหา จะดินทรุด ฐานพัง หรือโครงเหล็กรับถังพัง คือแข็งแรงไม่เพียงพอ ... สาเหตุที่ผู้เกี่ยวข้องไม่กล้าสรุป ไม่รู้ว่ากลัวอะไร แค่จะพูดความจริง อ้างว่ารถถอยหลังชน จนพัง มันอยู่เกะกะจนรถถอยไปชนได้ แบบนั้นหรือ!!!
เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 8 มิ.ย. พ.ต.ท.บุญยก ไชยวงศ์ รอง ผกก.สส.สภ.ห้วยโป่ง อ.เมือง จ.ระยอง พร้อมด้วย พ.ต.ท.อาคม บุญแสง สารวัตรเวร และตำรวจกองพิสูจน์หลักฐาน กองกำกับการ สถานีตำรวจภูธรจ.ระยอง นายวีระศักดิ์ เพิ่มแพงพันธ์ ผอ. นิคมอุตสาหกรรมเหมราชตะวันออก มาบตาพุด พร้อมด้วย นาย Mata Pathak ประธานบริษัท อดิตยา เบอร์ร่า เคมิคัลส์ (ประเทศไทย) จำกัด และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เข้าตรวจสอบบริเวณถังเก็บสารโซเดียมไฮโปคลอไรด์ หรือสารคลอรีน ที่เกิดทรุดตัวจนทำให้ถังไฟเบอร์กลาสแตก เป็นเหตุคลอรีนที่มีจำนวนกว่า 80 ตันไหลทะลักออกมา และมีกลิ่นฟุ้งกระจาย ทำให้มีผู้ได้รับผลกระทบเป็นจำนวนมากเมื่อช่วงบ่ายวันที่ 7 มิ.ย. ที่ผ่านมา จากการตรวจสอบ พบว่าที่เกิดเหตุ เป็นบริเวณที่ตั้งถังสารเคมี เป็นถังสีเหลือง ขนาดความจุ 100 ลบ.ม. สูง 10 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 4 เมตร จำนวน 3 ถังตั้งเรียงกัน โดยถังที่เกิดเหตุ มีตัวหนังสือ ข้างถัง T - 1806 C sodiumhypochlorite volume 100 m3 มีสภาพล้มแตก มีน้ำสีเหลืองไหลเจิงนองทั่วพื้น กลิ่นเหมือนไฮเตอร์ ยังคลุ้งกระจาย โดยรอบที่ตั้งถังทั้งหมดมีรั้วกำแพงล้อมรอบ พบฐานที่ตั้งถังที่เกิดเหตุซึ่งเป็นเหล็ก สภาพหักทำให้ถังเอียง ล้ม จนแตก เนื่องจากตัวถังทำด้วย ไฟเบอร์กลาสสภาพเก่า นายฐากูร เกลี้ยงสุวรรณ ผู้จัดการอาวุโส ฝ่ายความปลอดภัย/สิ่งแวดล้อม และฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ เปิดเผยว่า ขณะเกิดเหตุ คนงานกำลังถ่ายสารโซเดียมไฮโปคลอไรด์ จากท่อลงในถังที่เกิดเหตุ ได้ประมาณ 80 ลบ.ม. ซึ่งตามปกติจะต้องบรรจุ 90 ลบ.ม. แต่เกิดเหตุ ฐานทรุดตัวทำให้ถังเอียงและล้มแตก สารเคมีรั่วออกมา ซึ่งหลังจากเกิดเหตุ ได้รีบสกัดการรั่วไหล และการแพร่กระจายโดยฉีดสเปรย์น้ำ และใช้ปูนขาวโรยเพื่อให้กลิ่นเจือจาง ด้านนายวีระศักดิ์ เพิ่มแพงพันธุ์ ผู้อำนวยการนิคมเหมราชตะวันออก ยืนยันถึงการควบคุมสถานการณ์ได้เรียบร้อยแล้ว และได้กำชับเจ้าหน้าที่ โรงงานที่เกิดเหตุ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้รายงานสาเหตุ ผลกระทบ และการเยียวยา ผู้บาดเจ็บ รวมถึงโรงงานโดยรอบ ที่ได้รับความเสียหายทั้งหมด และสั่งระงับขบวนการผลิต(หยุดเครืองจักร) พร้อมหามาตรการป้องกันเพื่อไม่ให้เกิดเหตุซ้ำอีก และยอดผู้ที่ได้รับผลกระทบที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล 8 แห่ง มีจำนวน 299 คน ขณะนี้ยังให้การรักษาต่อ จำนวน 82 คน ทีมหน่วยสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว (SRRT– C) ได้ออกปฏิบัติงานในพื้นที่คาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 3-5 วัน เพื่อค้นหาผู้ป่วยและดูแลสุขภาพผู้ได้รับผลกระทบต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น