วันศุกร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ญี่ปุ่น ยันไม่ทิ้งฐานการลงทุนในไทย

ปธ.เจโทร เผยผลสำรวจความเห็น นลท.ญี่ปุ่น ยันไม่ทิ้งฐานการลงทุนในไทย แนะรัฐบาลปรับปรุงภาษี ศุลภากร และนโยบายชัดเจนมาบตาพุด พร้อมกระตุ้นต่างชาติเข้าลงทุนในไทยเพิ่มขึ้น ห่วงการเมืองเพิ่มความเสี่ยงในอนาคต
นายมูเนโนริ ยามาดะ ประธานองค์ส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น (เจโทร) หรือ JCC เปิดเผยผลการสำรวจแนวโน้มทางเศรษฐกิจของบริษัทร่วมทุนญี่ปุ่นในไทย ประจำครึ่งแรกของปี 2553 ซึ่งมีการสำรวจระหว่างวันที่ 5 พฤษภาคม 2553 ถึงวันที่ 25 มิถุนายน 2553 จำนวน 375 บริษัท โดยพบว่า สภาพธุรกิจในครึ่งแรกของปี 2553 ปรับตัวดีขึ้นจากปี 2552 และมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องในช่วงครึ่งปีหลัง เนื่องจากยอดขายและกำไรของธุรกิจมีการปรับตัวดีขึ้น โดยเศรษฐกิจได้รับแรงขับเคลื่อนจากภาคการส่งออกที่ขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง ขณะที่ ปัญหาการชุมนุมทางการเมือง เชื่อว่า มีผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจในปัจจุบันน้อยมาก แต่ผู้ประกอบการมีความเป็นห่วงว่า ผลกระทบอาจเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งปัญหาดังกล่าวทำให้นักลงทุนญี่ปุ่นมองการเมืองมีความเสี่ยงต่อการลงทุนเพิ่มขึ้น “ปัญหาความไม่สงบทางการเมืองในเดือน พ.ค.ที่ผ่านมา ยังคงเป็นปัจจัยเสี่ยงหลัก ซึ่งผู้ประกอบการ 67% เชื่อว่าอาจจะมีผลกระทบต่อการลงทุนในอนาคต แต่ไทยยังจัดว่าเป็นประเทศที่น่าลงทุนเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาค” ประธานเจโทร ยังเชื่อว่า ภาวะการส่งออกของไทยจะมีทิศทางที่ดีขึ้น โดยอินเดีย และอาเซียนจะเป็นตลาดส่งออกสำคัญ ขณะที่ตลาดยุโรปมีแนวโน้มลดลง เพราะวิกฤตการเงินที่ส่งผลต่อการบริโภค สำหรับข้อเรียกร้องผู้ประกอบการญี่ปุ่นต่อรัฐบาลไทยในเรื่องการพัฒนาและปรับปรุงกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องทางด้านศุลกากร และภาษี ซึ่งจะเป็นปัจจัยสำคัญที่กระตุ้นให้นักลงทุนต่างชาติสนใจเข้ามาลงทุนในประเทศไทยเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ ประธานเจโทร ยืนยันว่า ญี่ปุ่นจะไม่ทิ้งฐานการลงทุนไปจากประเทศไทย อย่างแน่นอน เนื่องจากนักลงทุนญี่ปุ่นยังเชื่อมั่นในศักยภาพของเศรษฐกิจ นอกจากนี้ นักลงทุนญี่ปุ่นยังมีความกังวลปัญหามาบตาพุดที่ยังไม่มีความชัดเจนจากภาครัฐ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจของนักลงทุนญี่ปุ่นในอนาคต โดยต้องการให้ รัฐบาล เร่งแก้ไขต่างๆ ที่เป็นอุปสรรคต่อการลงทุนโดยเร็ว

วันพุธที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

MV เก่าๆ เรื่องราวเมื่อ 20 ปีก่อน ที่นายกอภิสิทธิ์ ต้องดู

โรงแยกก๊าซ ปตท. กับความเสี่ยงของคนมาบตาพุด

จำลองเหตุ รถก๊าซระเบิด ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ กรุงเทพฯ ปี 2533 ครบรอบ 20 ปี พอดี!!!

โรงแยกก๊าซ ปตท. ที่อ้างว่าดินแข็งแรงมากที่สุด ในมาบตาพุด
จนไม่ต้องตอกเสาเข็ม
เป็นร่องน้ำ ฝนตกครึ่งวัน น้ำก้อท่วม พื้นที่น้ำท่วม ดินแข็งแรง จริงหรือ!!!
ฐานรากหอสูงเท่าตึก 10 ชั้น เสาเข็มไม่ตอก ทรุดพัง ขึ้นมาอาจไฟไหม้ระเบิด
มีคลังก๊าซ แอลพีจี ขนาดเทียบเท่ารถก๊าซ 4,200 คัน
อนิจา! น่าสงสารคนมาบตาพุด กินอยู่หลับนอนท่ามกลางความเสี่ยง

ครบ 20 ปี เหตุสลด รถก๊าซระเบิดที่ เพชรบุรีตัดใหม่

เหตุการณ์ที่ทำให้ประชาชนคนไทย ต้องจำเป็นอุทาหรณ์ ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่รุนแรงที่สุดในช่วงปี 2533 คงหนีไม่พ้นเหตุการณ์รถแก๊สระเบิด ที่ถนนเพชรบุรี เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2533 เหตุการณ์ในวันนั้นเป็นข่าวหน้าหนึ่ง ของหนังสือพิมพ์ทุกฉบับ ภาพข่าวและเนื้อหาของข่าว สร้างความเศร้าสลดใจ ให้แก่ผู้คนจำนวนไม่น้อย รวมไปถึงญาตของผู้เสียชีวิต จากเหตุการณ์ในครั้งนี้

รถแก๊สระเบิดเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นวันที่ 24 กันยายน 2533 เวลา 22.30 น. บริเวณถนนเพชรบุรี โดยบริเวณเหล่านั้นได้รับความเสียหายไปเป็นจำนวนมาก รวมค่าเสียหายแล้วกว่า 10 ล้าน

เหตุรถแก๊สระเบิดนั้นเป็นอุบัติเหตุที่ร้ายแรงและรุนแรงมาก เป็นเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดว่าจะรุนแรงได้ขนาดนี้ เริ่มจากการที่รถบรรทุกแก๊ส 6 ล้อ บรรจุแก๊สขนาด 4 หมื่นลิตร ของบริษัทสยามแก๊ส วิ่งจากทางด่วนบางนา มาลงทางด่วนเพชรบุรีด้วยความเร็วสูง พร้อมทั้งฝ่าไฟแดง แล้วมาเกิดอุบัติเหตุพลิกคว่ำที่หน้าหอพักเพชรบุรี (ซึ่งต่อมาเมื่อสถาบันนิติเวช ได้ชันสูตรศพจึงพบว่าคนขับรถชื่อ นายสุทัน ฝักแคเล็ก พบว่ามีฤทธิ์สุรา และยาบ้าอยู่ในระบบทางเดินอาหาร)
แต่หลังจากรถพลิกคว่ำ ยังไม่ได้มีการระเบิดทันที จนเมื่อแก๊สได้รั่วไหลออกมาปนกับอากาศ ด้วยเป็นอุบัติเหตุบนถนน เมื่อมีการจุดไฟหรือติดเครื่องรถยนต์ จึงทำให้เกิดการระเบิดขึ้น อย่างรุนแรงและรวดเร็ว โดยที่ไม่มีใครได้คาดคิด จึงไม่มีการอพยพผู้คนออกจากบริเวณนั้น ทำให้มีผู้เสียชีวิตบนนถนนทันที 8 ศพเปลวไฟได้พวยพุ่งไป รอบทิศทางเหมือนการฉีดสายยางฉีดน้ำ แต่ในเหตุการณ์นี้ กลับกันจากน้ำมาเป็นไฟที่มีความรุนแรงมาก ทำให้กลายเป็นทะเลเพลิงเผาไหม้ ไปทั่วบริเวณนั้นอย่างไม่ปราณี ผู้คนที่ขับขี่รถอยู่บนถนนในรัศมี 100 เมตร ก็ต้องเสียชีวิตจากเพลิงไหม้ในทันที

โดยมีผู้ได้รับบาดเจ็บบางคน วิ่งกระเสือกกระสน มานั่งที่ริมฟุตบาธ เนื้อตัวเปลือยหมด เพราะไฟคลอก พ่อค้าแม่ค้าแถวประตูน้ำ ต้องวิ่งมาช่วยกัน และมีผู้หญิงคนหนึ่งในเหตุการณ์ เล่าว่าเธอรอดชีวิตมาจากห้องพัก โดยเธอ ได้ยินเสียงรถแก๊สคว่ำดังสนั่น จนเธอต้องตื่นขึ้น แล้วลงมาดูว่าเกิดอะไรขึ้น เพื่อนหญิงของเธอ ที่วิ่งนำหน้าเธอมาถึงประตูก่อน พอเปิดประตูออก เปลวไฟก็ฉีดพุ่งเข้ามาคร่าชีวิตเพื่อนของเธอทันทีเปลวไฟจากรถบรรทุกได้ระเบิดขึ้นไปในตึก 2 ข้างทางของถนนเพชรบุรีรวมไปถึงหอพักสตรีเพชรบุรี ที่มีคนอาศัยอยู่ร่วม 60 คน ต่างพากันหลบหนีเอาตัวรอด แต่ก็ไม่สามารถสู้กับเพลิงไหม้ได้ จึงทำให้มีผู้เสียชีวิตจำนวน 30 คน เนื่องมาจากเป็นเหตุที่เกิดในช่วง 22.30 น. ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่คนส่วนใหญ่ ่ได้หลับพักผ่อนแล้ว จึงทำให้มีผู้เสียชีวิตที่ติดอยู่ในหอพักมาก นอกจากจะลามมาที่หอพักแล้ว ไฟยังลามมาถึงชุมชนแออัดจารุรัตน์ด้วย
จากเหตุการณ์นี้ ทำให้มีผู้เสียชีวิตรวมทั้งหมด 90 ศพ บาดเจ็บ 121 ราย รถยนต์ถูกเพลิงไหม้ 43 คัน จักรยานต์ 4คัน และรวมไปถึงทำให้เกิดเพลิงไหม้ เผาบ้านเรือนสองฝั่งถนนอีก 38 หลังคาเรือน
เหตุการณ์ครั้งนี้เป็นอุทาหรณ์สอนใจ ไว้กับหน่วยงานของรัฐ ที่รับผิดชอบให้มีกฎข้อบังคับที่เคร่งครัด และทำอย่างจริงจังมากขึ้น พร้อมทั้งกำหนดบทลงโทษที่รุนแรง เพื่อไม่ให้ผู้ประกอบการกล้าละเมิดกระทำความผิด และยังรวมผู้ขับรถบรรทุกต่างๆ ให้มีจิตสำนึกที่ดีในการขับรถ และมีความรับผิดชอบต่อตัวเองและสังคมมากขึ้น เพราะอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นนั้นไม่ได้ก่ออันตรายให้แก่ตัวเองเท่านั้น ยังเดือดร้อนผู้อื่นภายในสังคมด้วย

แหล่งข้อมูล : www.safety.thaigov.net www.thaimisc.com www.thai.net

" ภาพเหล่านี้ คงนำมาย้อนให้ทุกท่านที่เกี่ยวข้อง-ได้รับรู้ความเสี่ยงต่างๆแล้ว!!! แต่นิ่งเฉย ... บาปและภาพสลดจะติดตามท่านไป ถ้าเกิดเหตุร้ายขึ้น แบบสึนามิทางบก "

ด้านล่างทั้งหมดจากเวบ http://atcloud.com/stories/64121

ในวันนั้น...เป็นช่วงค่ำของวันจันทร์ที่ 24 กันยายน 2533 บนถนนเพชรบุรีตัดใหม่ ถนนใจกลางเมืองก็ยังคงคลาคล่ำไปด้วยรถยนต์เหมือนเช่นทุกวันของกรุงเทพมหานคร หลายชีวิตบนถนนเพิ่งกลับจากทำงานเพื่อมุ่งหน้ากลับบ้าน หลายชีวิตก็เพิ่งเริ่มต้นกับแสงสียามราตรีบนถนนเส้นนี้ แต่ไม่มีใครคาดคิดว่าอีกไม่กี่นาทีต่อมา เพียงเพราะความประมาทของคนเพียงแค่คนเดียว และความมักง่ายของบริษัทหนึ่งจะทำให้เกิดโศกนาฏกรรมที่ยังคงฝังใจคนไทยทุกคน มาจนถึงวันนี้ เวลาประมาณ 22.00 น. นายสุทัศน์ ฟักแคเล็ก คนขับรถบรรทุกแก๊สของบริษัท อุตสาหกรรมแก๊ส-สยาม จำกัด ได้พยายามขับลงจากทางด่วนเพชรบุรีตัดใหม่ด้วยความเร็วเพียงเพื่อที่จะข้าม ผ่านให้พ้นไฟแดง แต่รถกลับเกิดอุบัติเหตุจนพลิกคว่ำไถลไปกับพื้นถนน ทำให้ถังบรรจุแก๊สขนาด 20,000 ลิตร จำนวน 2 ถัง หลุดออกจากตัวรถและปริแตก แก๊สที่บรรจุอยู่ภายในพวยพุ่งออกมาทั่วทั้งถนน แล้วเมื่อไหลไปเจอกับประกายไฟก็เกิดระเบิดขึ้น เสียงดังสนั่นหวั่นไหวหลายครั้ง ลูกไฟพวยพุ่งขึ้นสู่ท้องฟ้าจนกลายเป็นสีแดงฉาน ทำให้บริเวณถนนเพชรบุรตัดใหม่และละแวกใกล้เคียงกลายเป็นทะเลเพลิงไปในพริบตา และลุกลามไปอย่างรวดเร็วจนเป็นวงกว้าง พร้อมกับครอกผู้คนที่อยู่ในรถยนต์บนถนนเส้นนั้น ทำให้หลายรายเสียชีวิตในทันที บางคนที่พอจะตั้งหลักได้ก็พากันวิ่งหนีเอาชีวิตรอดออกมาจากกองเพลิง แต่ส่วนมากอยู่ในสภาพบาดเจ็บสาหัส จากเปลวไฟทั้งสิ้น พ.ต.อ.ทนัย อภิชาติเสนีย์ ผกก.ฝอ.สลก.ตร. ซึ่งในขณะนั้นดำรงตำแหน่งเป็น รอง สว.สส.สน.พญาไท รับผิดชอบพื้นที่เกิดเหตุ เล่าถึงเหตุการณ์ในวันนั้นเหมือนยังจำได้ขึ้นใจว่า ขณะเกิดเหตุกำลังพักผ่อนอยู่ที่แฟลตใกล้กับ สน.พญาไท น้องชายได้มาเรียกให้ดูข่าวทางโทรทัศน์ซึ่งรายงานเหตุการณ์น่าตกตะลึงที่ เกิดขึ้น จึงรีบเดินทางมาที่ สน.พญาไท และพยายามขี่รถจักรยานยนต์สายตรวจเข้าไปยังจุดเกิดเหตุแต่ไม่สามารถเข้าไป ได้เนื่องจากเพลิงยังคงโหมกระหน่ำอย่างรุนแรง จึงกลับมาประชุมพร้อมกับตำรวจในพื้นที่ ซึ่งตอนนั้นเป็นของกองกำกับการ 3 ประกอบด้วย สน.พญาไท, สน.ดินแดง, สน.ดุสิต, สน.สามเสน และสน.มักกะสัน โดยได้แบ่งงานกันออกไปรวบรวมรายชื่อผู้บาดเจ็บที่ส่งไปรักษายังโรงพยาบาล ใกล้เคียง “ผมได้รับมอบหมายให้ไปตรวจสอบที่โรงพยาบาลตำรวจ ผมไปถึงตอนประมาณตี 3 สถานการณ์ในโรงพยาบาลกำลังชุลมุนวุ่นวายเนื่องจากมีผู้บาดเจ็บจำนวนมาก แพทย์และพยาบาลต้องทำงานอย่างหนัก เราทำได้แค่เพียงรวบรวมรายชื่อและสอบปากคำผู้ที่ได้รับบาดเจ็บไม่มาก และผู้ที่ได้รับการรักษาแล้ว จากนั้นก็ไปที่สถาบันนิติเวชเพื่อไปดูศพ จำได้อย่างติดตาเพราะสภาพศพแต่ละศพถูกไฟเผาจนไหม้ตำเป็นตอตะโก ศพที่ยังไม่ได้รับการพิสูจน์ ก็จะถูกนำมาวางเรียงรายเต็มไปหมด ภาพที่เห็นแม้ว่าผมจะเป็นตำรวจและเคยเห็นศพมาก่อนก็ยังรู้สึกหดหู่ใจ” พ.ต.อ.ทนัย กล่าว ในคืนนั้น...เจ้าหน้าที่กู้ภัยและหน่วยดับเพลิงต้องทำงานอย่างหนัก กว่าเพลิงจะสงบลงก็ใช้เวลาถึง 1 วันเต็มๆ หลังจากเพลิงสงบเมื่อเจ้าหน้าที่ต้องเข้าไปตรวจสอบพื้นที่ก็ยังคงปรากฏภาพ ที่น่าโศกสลด เมื่อพบศพที่ถูกเผาทั้งเป็นติดอยู่กับรถโดยไม่ทันตั้งตัว อุบัติเหตุครั้งนี้คร่าชีวิตผู้คนไปทั้งสิ้น 59 ศพ บาดเจ็บอีก 89 ราย อาคารพาณิชย์และบ้านเรือนประชาชนในละแวกนั้นได้รับความเสียหาย ไปเกือบ 40 คูหา รวมไปถึงชุมชนแออัดอีก 100 หลังคาเรือน ส่วนนายสุทัศน์คนขับเสียชีวิตคาที่นั่ง แต่สิ่งที่ตอกย้ำความเจ็บช้ำของผู้ที่สูญเสียคือผลจากการตรวจพิสูจน์ที่พบ ว่าสาเหตุของโศกนาฏกรรมครั้งนั้นเกิดจากรถบรรทุกแก๊ส ไม่ได้มาตรฐานตามที่กฎหมายกำหนด พ.ต.อ.ทนัย เล่าถึงเหตุการณ์ในเช้าวันถัดมาว่า หลังจากที่ได้รวบรวมรายชื่อผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตแล้วจากโรงพยาบาลต่างๆ ตำรวจในทุก สน.ในพื้นที่ก็ได้นำรายชื่อมาส่งให้ตนพิมพ์ลงคอมพิวเตอร์ซึ่งสมัยนั้นตำรวจ เพิ่งเริ่มมีการนำใช้ โปรแกรมที่มีก็ยังเป็นโปรแกรมแบบเก่าจึงไม่ค่อยมีใครใช้งานเป็น จึงต้องใช้เวลานานจนเกือบรุ่งเช้า จากนั้นได้นำไปติดไว้ที่บอร์ดหน้า สน. แล้วกลับมาพักผ่อนที่ห้อง แต่เพียงไม่นานสารวัตรใหญ่ก็ให้ลูกน้องมาตามให้ไปพิมพ์รายชื่อเพิ่ม เมื่อออกมาดูที่หน้า สน.ก็ตกใจกับภาพที่ปรากฏเพราะว่ามีประชาชนจำนวนมากมาออกันอยู่เต็มหน้า สน.จนมืดฟ้ามัวดิน เพราะประชาชนจากหลายที่ต่างมาดูรายชื่อญาติที่คิดว่าอาจจะอยู่ในที่เกิดเหตุ พล.ต.ต.มณเฑียร ประทีปะวณิช ผบก.ประจำ สง.ผบ.ตร. เป็นอีกผู้หนึ่งซึ่งดำรงตำแหน่งสารวัตรใหญ่ สน.พญาไทในขณะนั้น กล่าวถึงการทำงานของตำรวจหลังเกิดเหตุการณ์รถแก๊สระเบิดว่า เมื่อเกิดเหตุเจ้าหน้าที่ตำรวจพยายามประสานทุกหน่วยงานเพื่อเข้าไปช่วยเหลือ แต่เนื่องจากเหตุรุนแรงมาก เหมือนพื้นที่ถูกระเบิดลงจึงกลายเป็นพื้นที่ปิด จึงทำให้การทำงานของตำรวจยากลำบาก การทำงานจึงเริ่มหลังจากเกิดเหตุไปแล้ว โดยได้เน้นที่งานสอบสวน พยายามที่จะย้ำให้พนักงานสอบสวนรวบรวมพยานหลักฐานในที่เกิดเหตุให้มากที่สุด โดยประสานงานกับเจ้าหน้าที่กองพิสูจน์หลักฐานให้ทำงานอย่างเป็นระบบ เพราะท้ายที่สุดก็ต้องดำเนินคดีกับบริษัทที่รับผิดชอบให้ได้ โดยชี้ให้เห็นว่าเกิดจากความประมาทไม่ใช่อุบัติเหตุ ในวันนี้...แม้ว่าโศกนาฏกรรมรถแก๊สระเบิดบนถนนเพชรบุรีตัดใหม่ จะผ่านมาจนครบ 17 ปีแล้ว แต่ความเจ็บปวดในครั้งนั้นก็ยังฝังใจทุกครั้งเมื่อมีข่าวคราวของรถแก๊สพลิก คว่ำ ซึ่งยังมีให้เห็นอยู่เสมอจนเกิดคำถามขึ้นในใจว่าหน่วยงานที่รับผิดชอบได้ เรียนรู้และแก้ไขอะไรบ้างจากเหตุกาณ์ที่เกิดขึ้น “สิ่งที่ตำรวจได้เรียนรู้จากเหตุการณ์ในลักษณะที่เกิดขึ้น เรื่องแรกคือด้านงานสอบสวน การรวบรวมหลักฐาน เพื่อใช้ให้เป็นประโยชน์ในการดำเนินคดี ส่วนที่เกิดขึ้นแล้วเราคงจะไปแก้ไขอะไรไม่ได้ แต่การทำหน้าที่ของตำรวจอย่างเต็มที่ในครั้งนั้นเพื่อดำเนินคดีกับเจ้าของ บริษัทแก๊สสยาม และกระแสสังคมที่เกิดขึ้น ส่งแรงผลักดันให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องออกมาตรการมาดูแลเข้มงวดยิ่งขึ้นแม้ จะดูเหมือนวัวหายล้อมคอกก็ตาม เหตุการณ์ครั้งนั้นนับเป็นบทเรียนสำคัญของคนไทยที่เราไม่คิดมาก่อนว่าจะเกิด ขึ้น แต่ในอนาคตต่อไปจะทำให้เราได้ตระหนักถึงภัยพิบัติในรูปแบบอื่นที่อาจจะเกิด ตามมาซึ่งไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ เชื่อว่าในยามคับขันชาวไทยทุกคนจะออกมาช่วยเหลือกัน” พล.ต.ต.มณเฑียร กล่าว แม้จะถือว่าเป็นบนเรียนครั้งสำคัญสำหรับประเทศไทย แต่เมื่อวันเวลาเคลื่อนคล้อยไป มาตรการการป้องกันต่างๆ อย่างเข้มงวดก็ถูกลืมเลือนที่จะนำมาปฏิบัติใช้ด้วย หรือจะต้องให้โศกนาฏกรรมแบบนั้น ย้อนกลับมาเกิดขึ้นอีกครั้ง
สภาพรถ
สภาพบ้านเรือน
ดับๆๆๆๆๆๆๆๆ

การก่อสร้างใน เกาหลีใต้ ให้ความสนใจกับงานเสาเข็มและงานฐานรากมาก

งานก่อสร้างฐานรากและงานเสาเข็ม ในการสร้างโรงงานก๊าซ และคลังก๊าซ
สาเหตุที่ทำให้ การก่อสร้างใน เกาหลีใต้ ให้ความสนใจกับงานเสาเข็มและงานฐานรากมาก
เพราะเคยเจ็บปวดกับเรื่องราวตึกถล่ม
แต่เวลามาทำงาน ในบ้านเรา ประเทศไทยหรือประเทศอื่นๆ ถึงทำแบบนี้
ทั้งที่เป็นโรงงานก๊าซไวไฟ และมีคลังก๊าซแอลพีจี จำนวนมหาศาล
ทำง่ายๆ แบบไม่แข็งแรง พร้อมที่จะทรุดพัง ระเบิดลุกลาม
(ภาพการก่อสร้างฐานรากของโรงแยกก๊าซที่ 6 ใช้เวลางานโยธา 4-5 เดือน)
มันบอกว่าเสี่ยงแค่ไหน ... โรงแยกก๊าซ ปตท. ที่น้ำท่วมถึง กับฐานรากทั้งหมดที่ไม่ตอกเสาเข็ม
อ้างว่าออกแบบดีแล้ว มีเกาหลีมีฝรั่งมาสร้างให้ จึงสร้างกันแบบนี้
ภาพนี้ต้องดูนานๆ แล้วจินตนาการ มันเหมือน ฟันปลอม ที่ต่างกะฟันแท้ที่มีรากฟัน
แล้วชุมชนต้องเสี่ยงแบบนี้ ไปอีก 25-30 ปี
จากการพิจารณาโครงการเสี่ยง ของรัฐบาลอภิสิทธิ์ ที่ คกก. 4 ฝ่ายบอกว่า
โรงแยกก๊าซ ปตท. เป็นโครงการไม่ส่งผลกระทบรุนแรง
ทั้งๆที่เสี่ยง ทรุดพังระเบิด ตลอดอายุการใช้งาน

โรงแยกก๊าซ ปตท. โครงการเสี่ยงมีผลกระทบร้ายแรงลุกลาม

ต้องเอามาทิ้งไว้ ตรงนี้ เพราะใน NATION BLOG กำลังโดนบล๊อค

- คลิ๊กขวาที่รูปเปิดในหน้าต่างใหม่เพื่อขยายใหญ่ -
รูปนี้ เคยแจ้งให้ นายกอภิสิทธ์ รับรู้ มาตั้งแต่ 16 มกราคม 2553
แจ้งให้ อดีต นายก อานันท์ ปันยารชุน มาตั้งแต่ 2 เมษายน 2553
(ประธาน คณะกรรมการ 4 ฝ่าย แก้ปัญหามาบตาพุด)
แจ้งให้ คณะอนุกรรมการรับฟัง ปัญหามาบตาพุด 26 มีนาคม 2553
แจ้งให้ นาย ประเสริฐ บุญสัมพันธ์ CEO ปตท. เมื่อ 19 ธันวาคม 2552 แจ้งไปยัง วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย เมื่อ 9 เมษายน 2553 แจ้งไปยัง ผู้ว่าราชการจังหวัด ระยอง เมื่อ 9 เมษายน 2553 แจ้ง ไปยัง นายสาธิต ปิตุเตชะ สส ระยอง เมื่อ 16 เมษายน 2553 แจ้งไปยัง ศาลปกครอง ให้เร่งรัดไต่สวน ฉุกเฉิน เมื่อ 27 พฤษภาคม 2553 ศาลปกครอง ยกคำร้องขอให้ไต่สวนฉุกเฉิน มองไม่เห็นความเสี่ยง แล้วภาพนี้ ควรจะแจ้งใครต่อ ...
ทั้งที่จริงๆ แล้ว ควรแจ้ง ชาวมาบตาพุด ไปตั้งนานแล้ว
กลัวแต่ว่า จะนอนผวาทุกครั้งที่มีเสียงรถหวอ เสียงดังตูมตาม
ท่ามกลางฝนตกหนักๆ แบบคืนนี้ 8 มิถุนายน 2553
หรือคนอยู่ที่อื่นๆ ของประเทศนี้ คิดกันอย่างไร!!!!
หรือ สุดแล้วแต่เวรแต่กรรม ... ของคนมาบตาพุด

ในช่วงเวลา 4-5 ปี มีปัญหาการเมืองเรื่องอดีตนายกทักษิณ ภาคอุตสาหกรรมในมาบตาพุด หมกเม็ดก่อสร้างโดยปราศจากความมั่นคงแข็งแรง เพราะโรงงานจะเสร็จช้าไปอีก 6-8 เดือน จึงละเลยที่ไม่ตอกเสาเข็ม หอต้มหอกลั่นหอความดัน สูงมากกว่าตึก 10 ชั้น ทั้งๆที่ควรจะทำให้แข็งแรงเป็นพิเศษ เพราะโรงงานเกิดระเบิดได้ การระเบิดอาจลุกลามไปยังคลังก๊าซคลังสารเคมีที่มีจำนวนมาก ประมาณว่ามีรถก๊าซจอดรวมกันอยู่ 4,500 คัน ถ้ามีรถคันหนึ่งคว่ำ อยู่ใกล้ๆ กัน มันจะน่าสยดสยองขนาดไหน คนในที่อื่นๆ คงไม่รู้สึกเหมือนคนแถวมาบตาพุด เพราะมันอยู่ห่างจากตลาดแค่ 1-2 กิโลเมตร เท่านั้นเอง โรงงานมีปัญหา-กำลังอยู่ระหว่างการทดสอบระบบ ขณะนี้เป็นช่วงของฤดูฝน การที่ฝนตกติดต่อกันหลายวัน จะทำให้ดินชุ่มไปด้วยน้ำและลดการรับแรง รับน้ำหนักต่างๆ ประกอบกับการมีพายุลมแรง อาจจะทำให้เกิดการล้มพังของโครงสร้างที่ไม่ได้ตอกเสาเข็มได้ เช่นดังต้นไม้ใหญ่แม้มีรากหยั่งลึกเสมือนเสาเข็มที่ยึดโยงแล้วนั้น ยังล้มยกทั้งรากทั้งดินขึ้นมาเพราะเจอพายุฝนลมแรง ดังที่ปรากฏให้เห็นอยู่ทั่วไป ซึ่งทำให้เกิดความวิตกกังวลขวัญแขวนในส่วนผู้ที่ได้รับรู้ข้อมูลเรื่องนี้แล้วจำนวนมาก ช่วงมีฝนตกหนักและมีพายุลมแรง - เรื่องราวนี้ ส่งกับมือ นายกรัฐมนตรี เมื่อ 16 ม.ค. 53 ส่งทางอีเมล์ ถึง รมต. 2 ท่าน และท่านเลขา ปณิธาน พักเรื่องม๊อบทักษิณ จบเรื่องรัฐบาลตกแตก รอฝนตกลงมา อีก 1-2 เดือน คงมีเรื่องใหญ่ๆ ให้ตามเยียวยาอีกแน่ๆ ที่มาบตาพุด (รู้ว่าไฟจะไหม้จะมีการเผา รู้ล่วงหน้าเป็นเดือน แล้วทำไม มันจึงวอดวายทั้งกลางกรุงและศาลากลางต่างจังหวัด)
ภาพอธิบายซ้ำ ว่าดินรับน้ำหนักได้ 30 ตัน/ม2 คืออะไร
คลิ๊กขวาที่รูป-เปิดในหน้าต่างใหม่ เพื่อดูรูปขนาดใหญ่
โครงสร้างพิเศษสำคัญทั้งหมดที่เห็น ... ไม่ได้ตอกเสาเข็ม !!! โครงสร้างพิเศษสำคัญทั้งหมดที่เห็น ... ไม่ได้ตอกเสาเข็ม !!! โครงสร้างพิเศษสำคัญทั้งหมดที่เห็น ... ไม่ได้ตอกเสาเข็ม !!!
โครงสร้างพิเศษสำคัญทั้งหมดที่เห็น ... ไม่ได้ตอกเสาเข็ม !!!
โครงสร้างพิเศษสำคัญทั้งหมดที่เห็น ... ไม่ได้ตอกเสาเข็ม !!!
มันเคยทรุดพัง เคยระเบิด แม้ว่าจะลงทุนสูงเพียงใด
เข้าใจครับ ... คนไทย พื้นที่อื่นๆ ต้องการให้คนมาบตาพุด อยู่ในความเสี่ยง เพียงเพื่อการเติบโตของเศรษฐกิจ วันนี้ ทุกส่วนทุกฝ่ายมองปัญหามาบตาพุด คือการระงับโครงการ โรงงานเดินหน้าไม่ได้ ต้องทำให้ถูกต้อง ตาม กม. หรือถ้ายกโรงงานเสี่ยงทั้งหมด ไปอยู่ ใน กทม. ผู้คนกรุงเทพฯ จะคิดเห็นกันอย่างไร
คงต้องตีอกชกหัวรับกันไม่ได้ อย่าเห็นแก่ตัวสิครับ
คนมาบตาพุดก้อคนไทย
หรือคนที่มีความรู้ความคิดของประเทศนี้เห็นแก่ตัวกันไปหมดแล้ว!!!

โรงแยกก๊าซ ปตท. กับความเสี่ยงของคนมาบตาพุด

จำลองเหตุ รถก๊าซระเบิด ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ กรุงเทพฯ ปี 2533 ครบรอบ 20 ปี พอดี!!!

วันอังคารที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

น้ำท่วมโรงแยกก๊าซ ปตท. เพราะฝนตกหนัก 12 ก.ค. 53

สภาพหน้าโรงแยกก๊าซ ปตท. มาบตาพุด บ่ายแก่ๆ วันจันทร์ ฝนตกหนัก พายุลมแรง น้ำท่วม จนรถจมน้ำ ภาพนี้อยากให้ นายกอภิสิทธิ์ กับคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ได้ดู ก่อนสรุปประกาศโครงการไม่ส่งผลกระทบรุนแรง ได้ดูได้คิดก่อนตัดสินใจ อีกครั้ง
ตรงนี้ไง ... ที่บอกว่าเสี่ยง เสี่ยงอย่างไร ตามไปดู http://www.oknation.net/blog/airfresh-society/2010/06/09/entry-1
น้ำท่วมโรงแยกก๊าซ ปตท. เพราะฝนตกหนัก 12 ก.ค. 53 - โรงแยกก๊าซ ปตท. ที่อ้างว่าดินแข็งแรงมากที่สุด ในมาบตาพุด จนไม่ต้องตอกเสาเข็ม เป็นร่องน้ำ ฝนตกครึ่งวัน น้ำก้อท่วม พื้นที่น้ำท่วม ดินแข็งแรง จริงหรือ!!! ฐานรากหอสูงเท่าตึก 10 ชั้น เสาเข็มไม่ตอก ทรุดพัง ขึ้นมา คลังก๊าซ แอลพีจี ขนาดเทียบเท่ารถก๊าซ 4,200 คัน อนิจา! น่าสงสารคนมาบตาพุด กินอยู่หลับนอนท่ามกลางความเสี่ยง