วันอาทิตย์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2555

แบบก่อสร้าง โรงแยกก๊าซใหม่ ปตท.เสี่ยง ที่อ้างว่า มีฝรั่งเป็นวิศวกรที่ปรึกษา


เกิดเหตุภัยแล้ว ประชาชนชาวบ้านตื่นกลัว แม้ไม่เจ็บตาย
คนอยู่รอบโรงงานเสี่ยงภัย ไม่ใช่ผู้มีผลกระทบหรือ ที่ทำไมคน กทม. อยากให้รื้อโรงกลั่นบางจาก
อ้างมีต่างชาติมาสร้างทำ จ้างฝรั่งเป็นวิศวกรที่ปรึกษา จึงมีมาตรฐานสูง ระดับโลก ทั้งที่แบบก่อสร้าง ทั้งหมด ไม่มีข้อมูลกำหนด ว่าดินต้องบดอัดให้แข็งแรงแค่ไหนอย่างไร แล้วจะสร้างทำได้แบบไหน ให้ดินรับแรงได้ตรงกับการออกแบบ ศาลปกครอง อ้างว่า ไม่ผิด แล้วถูกแบบไหน โรงงานวัตถุอันตรายสร้างทำกันแบบนี้



แบบก่อสร้าง - โรงแยกก๊าซใหม่ ของ ปตท.
ซึ่งแบบของโรงแยกก๊าซที่ 6 และโรงแยกก๊าซ อีเทน
ลักษณะคล้ายคลึงกัน ผู้รับเหมาหลัก เดียวกัน
เวลาการก่อสร้างช่วงเดียวกัน งานฐานรากต่างๆ มิ.ย.51-พ.ย.51 ระยะเวลา 5.5 เดือน
ฐานรากทั้งหมด เป็นฐานรากตื้นไม่มีเสาเข็ม
ในส่วนโครงสร้างรับระบบท่อเป็นฐานรากหล่อสำเร็จ
แต่โรงแยกก๊าซอีเทน ขออนุมัติโครงการก่อน จึงไม่ได้ถูกระงับ
(แบบที่ใช้ในการก่อสร้าง ทั้งหมดจะไม่มีการลงนามอนุมัติ ต่างกับแบบก่อสร้างในระบบราชการ)
คลิ๊กขวาที่รูปเปิดในหน้าให
ม่ เพื่อขยายใหญ่
สังเกตุด้านขวาของแบบซึ่งระบุชนิดและความแข็งแรงของคอนกรีตและเหล็กเสริม
แต่ไม่มีการระบุความแข็งแรงหรือความหนาแน่นของดิน
เพราะชนิดและความแข็งแรงของวัสดุเป็นการกำนดจากการออกแบบฐานราก
(วัสดุเกี่ยวข้องกับงานฐานราก - ความแข็งแรงของดินหรือเสาเข็ม, คอนกรีต และเหล็กเสริม)


แบบฐานราก-ถังเก็บสารเคมีเหลว

แบบฐานราก-ถังเก็บก๊าซทรงกลม ขนาด 6,000 ม3

แบบฐานราก-หอต้ม/หอความดัน ความสูง 30-40 ม. (ลดหลั่น)

แบบฐานราก-โครงสร้างรับระบบท่อ ความสูง 21-24 ม.

แบบโครงสร้างรับท่อ

แบบโครงสร้างรับท่อ




แค่ทรุด ... ทำไมเสี่ยง! ไฟไหม้ระเบิดควบคุมไม่ได้

พื้นที่ปรับถมใหม่ ก่อสร้างโดยไม่ตอกเสาเข็ม - ลำพังสร้างบ้านจัดสรรขาย ผู้คนที่รู้คงจะไม่ซื้อ แม้ว่าจะอ้างว่ามีการทดสอบดินอย่างดี บดอัดอย่างดี

ภาพการปรับพื้นที่ ปรับ-ถมใหม่ ของโครงการโรงแยกก๊าซใหม่ ปตท. (โรงแยกก๊าซที่ 6 และโรงแยกก๊าซอีเทน) ซึ่งอ้างว่าดินแข็งมากจนไม่จำเป็นต้องตอกเสาเข็มทั้งหมด และนำค่าความสามารถรับน้ำหนักประลัยของดินสูงถึง 90 ตันต่อตารางเมตร มาใช้ในการออกแบบฐานรากตื้น (ค่ารับน้ำหนัก 90 ตัน/ม2 คือถ้าสร้างสร้างถังเก็บน้ำจะสร้างได้สูงเกือบ 90 เมตร หรือเทียบเท่า ตึก 25 ชั้น โดยไม่ต้องตอกเสาเข็ม ดินจะทรุดตัวลง 1 นิ้ว คือสมมุติฐานในการออกแบบ)

ภาพการปรับพื้นที่ ปรับ-ถมใหม่ ของโครงการโรงผลิตสารฟีนอล
ค่ากำหนดมาตรฐานในการออกแบบก่อสร้างฐานรากคอนกรีตและพื้นคอนกรีต โดยกำหนดค่าทรุดตัวที่ยอมรับได้น้อยมาก เพียง 10-15 มม. หรือ 1-1.5 ซม. หรือหนาเท่าฝายาหม่องตาลิงถือลูกท้อ สำหรับการทรุดตัวทั้งหมด และค่าทรุดตัวต่างกัน ถ้านึกไม่ออกว่า การทรุดตัวต่างกันเป็นแบบไหน ให้นึกถึงถังซักผ้า ตอนที่ฐานถังวางเอียง ถังจะสั่นแรงมากมีเสียงดังมาก จนบางครั้งเครื่องอาจหยุดทำงาน เพราะมอเตอร์ ร้อนจัด


การทรุดตัวไม่เท่ากัน จะทำให้เกิดแรงบิดมหาศาล กรณีที่มีระยะห่างน้อยและมีการทรุดตัวมาก ท่ออาจบิดตัวจนฉีก หรือข้อต่อต่างๆ หลุดหลวม เยื้องศูนย์ ซึ่งการซ่อมทำได้ยากยิ่ง กรณีที่รั่วบริเวณข้อต่อหรือวาล์ว ในกรณีที่น้ำรั่วไหล ยังต้องใช้เวลานานในการซ่อม แต่ถ้าลองนึกถึงก๊าซไวไฟรั่ว หรือท่อส่งก๊าซอันตรายรั่วแบบควบคุมยาก จึงเป็นที่มาว่า มันจะเกิดเหตุไฟไหม้ และระเบิดอย่างไร

แค่ทรุด ... ทำไมเสี่ยง! ไฟไหม้ระเบิดควบคุมไม่ได้ ดูภาพแล้วลองจินตนาถึงเหตุต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น ซึ่งไม่ใช่แค่ผนังร้าวปูนแตก ก๊าซแอลพีจีที่รั่วออกมา มีอัตราขยายตัว 250 เท่า และหนักกว่าอากาศ จะไหลลงสู่ที่ต่ำ สามารถเกิดระเบิดที่จุดที่เกิดการรั่วไหล เพราะจะควบแน่น ปิดบริเวณรูรั่วก่อนที่จะเกิดการระเบิดและติดไฟ ซึ่งเมื่อเป็นกลุ่มไฟ จะขยายตัวจากกีาซอีก 250 เท่า

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น