วันจันทร์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ผลงานของ นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์



โน่นนี่นั่น! เรียกร้องหากันจังให้ผู้คนมีจิตสาธารณะ ปตท.สร้างโรงแยกก๊าซใหม่เสี่ยงไม่ตอกเสาเข็ม เพียงอ้างว่า "ดินแข็งแรงกว่าโรงงานติดกัน" หัวหน้าคณะตุลากการ ศาลปกครอง ที่เป็นอาจารย์พิเศษ ผู้เชี่ยวชาญ กม.อหังสาริมทรัพย์ / สว.รสนา ที่ชนะฟ้องคดี ปตท. ดูแล้วจะไม่เข้าใจ - เทคนิคพิเศษหรืออย่างไร ดูกันไม่รู้เรื่องทั้ง สรยุทธ
, สุทธิชัย(หยุ่น) และ สนธิ(ลิ้ม) สื่อที่อ้างธรรมอ้างดีนำหน้า หรือเพราะเป็นผลงานของ นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ ก้อไม่รู้ .... ?

(คงต้องเรียกหาจิตสาธารณะจาก โน๊ต อุดม, ตัน อิชิตัน, โก๊ะตี๋ ผีน่ารัก หรืออย่างไร เพราะระหว่างโรงแยกก๊าซใหม่ 2 โรงที่ไม่ต้องเสาเข็มฐานรากทั้งหมด ดันมีคลังก๊าซเยอะถึง 4,200 คันรถ)

วันศุกร์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ฐานราก โรงงานติดกันกับ โรงแยกก๊าซ ที่ 6 ปตท. ทำไมต้องใช้เสาเข็มเจาะ

ฐานราก โรงงานติดกันกับ โรงแยกก๊าซ ที่ 6 ปตท. ทำไมต้องใช้เสาเข็มเจาะ ขนาด 350 มม. ยาว 10 เมตร และกำหนดค่าความสามารถรับน้ำหนักของดินไว้ในแบบเพียง 5 ตัน/ม2 ซึ่งน้อยกว่า 6 เท่า เทียบกับของ ปตท. ใช้ออกแบบฐานรากตื้น (ไม่ใช้เสาเข็มฐานรากทั้งหมด) ที่ 30 ตัน/ม2 ชั้นดินที่ห่างกันเพียง ไม่กี่ร้อยเมตร อยู่ในรั้วเดียวกัน ค่ารับน้ำหนักของดิน ต่างกันถึง 6 เท่า ตามไปดู แบบของ โรงงานติดกัน ซึ่งในแบบที่ขนาดฐานราก เท่ากันนั้น ใช้เสาเข็มมากมายเท่าไหร่ ตามดูกันครับ



ค่าดินรับน้ำหนักแบกทาน 30 ต้น/ม2 เป็นลักษณะหินปูนหินทราย 

ดูกันชัดๆ คลังกลางอยู่ตรงกลางระหว่างชุมชน จำนวนมาก


ภาพโรงกลั่นระเบิด

โรงกลั่นในสิงค์โปร์ไฟไหม้ระเบิด ขนาดมีอุปกรณ์ดับเพลิงชั้นเยี่ยมยังเอาไม่อยู่




โรงงานแพร็กแอร์ อยู่ภายในรั้วของโรงแยกก๊าซ ปตท. มาบตาพุด 
แบบก่อสร้างกำหนด ค่ารับน้ำหนักของดินไว้เพียง 5 ตัน/ม2 เท่านั้น

แบบฐานรากของโรงแยกก๊าซที่ 6 
ซึ่งไม่มีข้อมูลความสามารถรับน้ำหนักดินไว้เลย ทั้งที่เป็นฐานรากตื้น
แบบฐานรากของโรงงานแพร็กแอร์ ระบุการใช้เสาเข็มเจาะจำนวนมาก
มีข้อมูลความสามารถรับน้ำหนักดินไว้ 5 ตัน/ม2 ทั้งที่ใช้เสาเข็มเจาะ 350 ยาว10 เมตร
แบบฐานรากของโรงงานแพร็กแอร์ ระบุการใช้เสาเข็มเจาะจำนวนมาก
มีข้อมูลความสามารถรับน้ำหนักดินไว้ 5 ตัน/ม2 ทั้งที่ใช้เสาเข็มเจาะ 350 ยาว10 เมตร


โรงงาน แพร็กแอร์ โครงการ 404 MTPD CO2 SYSTEM 
แบบก่อสร้างเมื่อ 4 มีนาคม 2554




วันพุธที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2554

รมต.พลังงาน มาเป็นประธานเปิด โรงแยกก๊าซ ที่ 6 เสี่ยงสร้างหายนะภัย ประชาชนชาวบ้าน


ควันดำโขมง ม่านพิษทะมึนกั้นฟ้าจนไม่เห็นดาว นั้นมาจากไหน ...


ที่วันนี้ยังแก้ไขอะไรกันไม่ได้ เพราะความไม่เสถียรในการผลิต แล้วส่งต่อไปให้โรงงานอื่นๆ ผลิตต่อ มันใช้ไม่ได้ มันจึงต้องเผาทิ้ง จนควันดำโขมงทั้งมาบตาพุด ... ความไม่เสถียรของโรงแยกก๊าซ ที่ 6 ที่ส่งก๊าซต่อไปให้ อีก 6-7 โรงงานนั่น เมื่อก๊าซที่ส่งไป มันไม่มีคุณภาพ ของเสียมากมาย จึงออกมาที่ปลายปล่อง ที่ไม่รู้ว่า อะไรอันตรายแค่ไหน ที่บอกว่าไม่อันตราย แต่ก้อเหม็นได้จนสำลักเจ็บอกซ้ำซาก ทุกดึกดื่นค่ำคืน ... นั่น

ใครจะแก้ล่ะ ปัญหานี้ ที่มาจากความไม่เสถียรของการผลิด หรือมาจากความไม่เสถียรของโครงสร้างแน่ที่ทำให้เครื่องจักรกลไก มันทำงานไม่ได้ตามปกติ
(รมต.พลังงาน คนใหม่ ที่มีฝีมือจะแก้ได้มั้ย /// จะปล่อยทิ้งปัญหาหรือไม่)

ถ้าไม่เร่งรีบมักง่าย ตอนก่อสร้างทำให้ฐานมันมั่นคงแข็งแรง ไม่ทรุด แนวแกนเครื่องจักรเอียงทำงานไม่เต็มร้อยเครื่องร้อนจัด การผลิตคงไม่มีปัญหา นี่ไหน การผลิตไม่สมบูรณ์ / ทรุดพังเล็กน้อย ท่อ-ข้อต่อ บิแตก ทำแก๊สรั่วได้อีก แม้ LPG มันไม่มีพิษมาก แต่ถ้ามันเกิดไฟไหม้ ระเบิดนั่น ใครจะรับผิดชอบ ถ้าบังเอิญมาลุกลามจนคุมไม่ได้ แบบอเมริกา แบบจีน แบบเม็กซิโกนั่น ฯ

ประชาชนชาวบ้าน ต้องรับเวรรับกรรม ที่ไม่ได้ก่อกันหรืออย่างไร ///

ถ่ายโอนอำนาจมาแล้ว ปัญหาที่ถ่ายโอนมา ... ก้อควรเยียวยาให้เสร็จด้วย


รมต. พลังงานคนใหม่ นายพิชัย นริพทะพันธุ์ 
มาเป็นประธานเปิดโรงแยกก๊าซ ที่ 6 เสี่ยงสร้างหายนะภัย กับ คลังก๊าซ LNG

 รับถ่ายโอนอำนาจมาแล้ว ปัญหาที่ถ่ายโอนมา ... ก้อควรเยียวยาให้เสร็จด้วย





วันศุกร์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2554

ร้องเรียน ผ่าน FACEBOOK เรื่องโรงแยกก๊าซใหม่ ปตท.เสี่ยง

ได้นำข้อมูล ความเสี่ยง เสนอต่อ รมต.ใหม่ที่เกี่ยวข้อง 2 ท่าน กับข้อความง่ายๆ สั้น
ฝากข้อมูลเรื่องนี้ เพื่อพิจารณา ด้วยครับ

เจโทร(กรุงเทพ) นักลงทุนญี่ปุ่น ห่วงมาบตาพุด จะเป็นเหมือนญีปุ่นฯhttp://khonmaptaphut.blogspot.

* ขอความเห็นในฐานะที่เกี่ยวข้องต
ามหน้าที่ ว่าควรแก้ไขอย่างไรครับ กรณีเสี่ยงภัยนี้ *


ร้องเรียน ผ่าน รมต. กระทรวงพลังงาน ผู้กำกับดูแล ปตท.

ร้องเรียน ผ่าน รมต. กระทรวงการคลัง ผู้ถือหุ้นใหญ่ ของ ปตท.

 ร้องเรียนผ่าน นายปราโมทย์ ไม้กลัด (มูลนิธิสภาเตือนภัยพิบัติ แห่งชาติ)

ร้องเรียน ผ่าน ผศ.รังสรรค์ วงศ์บุญ (โยธา)

วันอังคารที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2554

เงินอุดหนุน ก๊าซ แอลพีจี และ ปตท.ส่อเค้าเดี้ยง ถ้าไม่เลี้ยงไข้

"แต่ปรากฏว่ากลุ่มอุตสาหกรรมปิโตรเคมีซึ่งส่วนใหญ่เป็นกิจการของ ปตท.ต้องนำก๊าซแอลพีจีไปใช้ เป็นผลทำให้ก๊าซแอลพีจีไม่เพียงพอและต้องมีการนำเข้าปีละกว่า 400,000 ตัน และเนื่องจากก๊าซแอลพีจีที่นำเข้าจากต่างประเทศมีราคาสูงกว่าที่ผลิตในประเทศ ปตท.จึงขอให้รัฐบาลชดเชยค่าก๊าซแอลพีจีโดยเรียกเก็บจากกองทุนน้ำมัน โดยอ้างว่าเพื่อมาตรึงราคาแอลพีจีให้กับผู้บริโภค
ทุกวันนี้ภาคประชาชน (หุ้งต้มครัวเรือน + ยานยนต์) มีปริมาณการใช้ก๊าซแอลพีจี ประมาณ 2.9 ล้านตัน ในขณะที่อุตสาหกรรมปิโตรเคมีใช้สูงถึง 2.3 ล้านตัน ดังนั้นเงินที่ประชาชนต้องจ่ายในกองทุนจากน้ำมันเบนซิน 95 จำนวน 4 บาทต่อลิตร, จากเบนซิน 91 จำนวน 3.1 บาทต่อลิตร, จากดีเซลหมุนเร็ว 1.5 บาทต่อลิตร, จากไบโอดีเซล 1 บาทต่อลิตร, จากแก๊สโซฮอลล์ 95 จำนวน 0.70 บาท ฯลฯ โดยอ้างว่าส่วนหนึ่งนำมาอุดหนุนก๊าซแอลพีจีเพื่อช่วยเหลือคนจนนั้น... แท้ที่จริงแล้ว “การที่ต้องให้ผู้ใช้น้ำมันจ่ายเงินเพิ่มให้เข้ากองทุนน้ำมันเพื่ออุดหนุนราคาก๊าซแอลพีจี โดยไม่แบ่งแยกประเภทการใช้งาน” ก็คือการขูดรีดจากผู้ใช้น้ำมันมาเอื้อประโยชน์ให้กับมหาเศรษฐีกลุ่มปิโตรเคมีของกลุ่ม ปตท.เพื่อให้ได้ต้นทุนแอลพีจีในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีที่ต่ำกว่าราคาตลาดโลกเพื่อสร้างกำไรให้กับผู้ถือหุ้น โดยเอาคนยากจนมาบังหน้าเท่านั้น"
โดย ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ 2 สิงหาคม 2554 15:19 น.
คาดการณ์เอาไว้ว่า ก่อนวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2554 มูลนิธิยามเฝ้าแผ่นดิน กับพวกอีก 8 คน จะดำเนินการฟ้อง บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 และกระทรวงการคลัง ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ต่อศาลปกครองกลาง เพื่อขอให้แสดงว่าการกระทำที่ขัดผลประโยชน์และธรรมาภิบาลตกเป็นโมฆะ ให้ทวงคืนสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ได้มาจากอำนาจมหาชนของรัฐและขอให้เพิกถอนใบหุ้นและบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นที่ได้มาโดยวิธีฉ้อฉล
โดยมูลนิธิยามเฝ้าแผ่นดิน กับพวกอีก 8 คน ได้ระบุในคำฟ้องความตอนหนึ่งว่า “เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2544 เวลากลางวัน ติดต่อกันตลอดมาจนถึงปัจจุบัน ได้มีบุคคลบางกลุ่มประกอบด้วยบุคคลในคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ บุคคลในคณะรัฐมนตรีในขณะนั้น กรรมการ ผู้ว่าการฯ และพนักงานของ ปตท. บางคน ได้มีวัตถุประสงค์ที่จะเข้าแย่งชิงทรัพย์สินของรัฐและประชาชนในกิจการธุรกิจของ ปตท. ไปเป็นของตนและพรรคพวก อันเป็นการแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบ คณะบุคคลดังกล่าวข้างต้นจึงได้ร่วมกันทุจริตเชิงนโยบายและดำเนินการร่วมกันเข้าแย่งชิงทรัพย์สินของ ปตท. เข้าเป็นของตนเองและพรรคพวก ด้วยวิธีการอันฉ้อฉล แยบยล” ทั้งนี้มูลนิธิยามเฝ้าแผ่นดินได้ฟ้องว่าการกระทำดังกล่าวไม่ควรจะมีการแปรรูปขายหุ้น ปตท. จากที่กระทรวงการคลังซึ่งเป็นตัวแทนของรัฐเดิมถือหุ้นอยู่ 100% มาเหลือเพียง 51% เพราะอันที่จริง ปตท.ขณะนั้นมีกำไรกว่า 2 หมื่นล้านบาท อีกทั้งยังสามารถระดมทุนได้ด้วยวิธีการอื่น เช่น การออกหุ้นกู้ การออกพันธบัตรโดยที่รัฐบาลไม่ต้องค้ำประกัน แต่การอ้างว่าต้อง แปรรูปโดยการขายหุ้นสามัญ ประการต่อมาก็คือการจัดการประเมินราคาสินทรัพย์ของ ปตท. ต่ำกว่าความเป็นจริง เพื่อส่งผลทำให้มูลค่าหุ้นที่ขายนั้นต่ำกว่าความเป็นจริง เพื่อให้คนที่ได้หุ้นไปนั้นสามารถทำกำไรได้อย่างมหาศาลหลังจากนั้น ตัวอย่างแรกก็คือ ก่อนการแปรรูป ปตท. ได้ประเมินมูลค่าทางบัญชี (Book Value) ท่อก๊าซธรรมชาติและอุปกรณ์ซึ่งเป็นทรัพย์สินที่ผูกขาดและสร้างมาจากภาษีอากรประชาชนชาวไทยและการค้ำประกันจากรัฐบาล เพื่อการแปรรูปไว้ที่ 46,189 ล้านบาท โดยคิดฐานมาจากอายุการใช้งานเพียง 25 ปี แต่ในความเป็นจริงมีอายุใช้งานถึง 50 ปี ภายหลังต่อมาหลังจาก ปตท. ได้แปรรูปไปแล้วได้มีการว่าจ้างที่ปรึกษา 2 แห่งประเมินทรัพย์สินท่อก๊าซธรรมชาติและอุปกรณ์ มีมูลค่าทางเศรษฐกิจ (Economic Value) ถึง 105,000 - 120,000 ล้านบาท แม้ในเวลาต่อมาศาลปกครองสูงสุด ได้มีคำพิพากษา คดีหมายเลขแดงที่ ฟ.35/2550 ให้ ปตท.ส่งคืนท่อส่งก๊าซธรรมชาติให้แก่รัฐ (ตามคำฟ้องของมูลนิธิคุ้มครองผู้บริโภค) โดยสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินได้ตีประเมินมูลค่าระบบท่อส่งก๊าซเพื่อเรียกคืนตามคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดราคา 53,393 ล้านบาท แต่ ปตท.ก็ส่งคืนเพียงแค่ 16,176 ล้านบาท ถึงวันนี้ผ่านมาหลายรัฐบาลก็ยังไม่มีใครสนใจทวงคืนท่อก๊าซธรรมชาติและอุปกรณ์ให้กลับมาเป็นของรัฐตามคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดแต่ประการใด เช่นเดียวกันกับกรณี ปตท.ได้ลงทุนสร้างโรงกลั่นขนาดใหญ่เป็นบริษัทในเครือที่ชื่อ บริษัท โรงกลั่นระยอง จำกัด ประมาณ 50,000 ล้านบาท พอหักค่าเสื่อมทางบัญชีปีละ 10% ผ่านไป 10 ปี ในปี พ.ศ.2544 ปตท.จึงบันทึกมูลค่าทางบัญชีโรงกลั่นแห่งนี้ก่อนการแปรรูปเหลือเพียง 1 บาท แต่ในความเป็นจริงโรงกลั่นดังกล่าวสามารถดำเนินการต่อไปอีกไม่น้อยกว่า 15 ปี อีกทั้งธุรกิจการกลั่นน้ำมันต้องมีใบอนุญาตจากรัฐบาลและต้องผ่านกฎหมายควบคุมสิ่งแวดล้อม จึงไม่มีทางที่จะมีมูลค่าเหลือ 1 บาทได้ โดยต่อมา บริษัท โรงกลั่นระยอง จำกัด เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ในเดือนมิถุนายน 2549 มูลค่ากลับเพิ่มสูงขึ้นมากกว่า 50,000 ล้านบาท ตัวอย่างที่กล่าวมาข้างต้น ก็เพื่อทำให้การประเมินราคาทรัพย์สินให้ต่ำกว่าตลาด ก็เพื่อให้ปตท.เปิดจองหุ้นให้เหลือเพียง 31-35 บาทต่อหุ้น ซึ่งถือเป็นการทำให้ราคาหุ้นที่ขายออกไปต่ำกว่าความเป็นจริงไปมาก ยิ่งไปกว่านั้น ทรัพย์สินของ การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย เป็นทรัพย์สินของคนไทยทั้งชาติ แต่กรรมการของ ปตท. ในสมัยนั้นกลับมีการกำหนดการซื้อหุ้นเพิ่มทุนของ ปตท. จำนวน 25 ล้านหุ้นในราคาพาร์ 10 บาทต่อหุ้น ซึ่งต่ำกว่าหุ้นเปิดจองให้กับบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่คณะกรรมการ ปตท.กำหนด ทั้งๆ ที่ไม่ใช่ทรัพย์สินของบุคคลเหล่านี้เลย หลังจากนั้นกระบวนการกระจายหุ้นที่เหลืออีก 775 ล้านหุ้นที่แสนอัปยศ และแสนอัปลักษณ์ที่สุดในโลกก็เกิดขึ้นในประเทศไทย โดยขายให้กับสถาบันในประเทศ 235 หุ้นที่ขาดความโปร่งใสและธรรมาภิบาลขายให้กับนักลงทุนต่างชาติ 320 ล้านหุ้นส่วนใหญ่ก็เป็นทรัสต์ที่ดูแลทรัพย์สินของผู้อื่นและตรวจสอบไม่ได้และไม่มีการเปิดเผยถึงบุคคลในรัฐบาลบางคนได้รับผลประโยชน์ผ่านกองทุนต่างชาติอันเป็นผลประโยชน์ทับซ้อน ส่วนการกระจายหุ้นรายย่อยนั้นมีอยู่เพียง 220 ล้านหุ้น มีการลัดคิวใช้เส้นสามารถเข้าซื้อจองก่อนเวลา 9.30 น. ถึง 863 ราย โดย ปตท.และคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ได้สมคบร่วมกันช่วยเหลือบุคคลเหล่านี้ เข้าแย่งชิงหุ้นด้วยการปิดบัง ซ่อนเร้น นอกจากนี้ยังพบคนมีเส้นที่สามารถเข้าจองซื้อหุ้นได้มากกว่า 1 ใบจองถึง 428 ราย เป็นจำนวนหุ้นกว่า 67 ล้านหุ้น อันเป็นการขัดต่อเงื่อนไขที่ปรากฏตามหนังสือชี้ชวน ข้อสำคัญคือ 863 รายที่ใช้เส้นลัดคิวซื้อหุ้น ปตท.ก่อน 9.30 น. กับอีก 428 ราย จองซื้อหุ้นได้มากกว่า 1 ใบจองผิดเงื่อนไขในหนังสือชี้ชวนนั้น มีนามสกุลและเป็นญาติพี่น้องกับนักการเมืองในรัฐบาลเวลานั้นจำนวนมาก ต่อมาหลังมีการแปรรูป ปตท. แล้ว ก็ได้มีการแต่งตั้งให้ข้าราชการที่มีหน้าที่ดูแลเรื่องนโยบายพลังงาน และกระทรวงพลังงาน ไปเป็นกรรมการ ปตท. ถือว่ามีการขัดกันแห่งผลประโยชน์ชัดเจน เพราะด้านหนึ่งก็สวมหมวกเป็นข้าราชการดูแลนโยบายพลังงานให้เป็นธรรมกับประเทศชาติและประชาชน แต่อีกด้านหนึ่งกลับไปเป็นกรรมการที่สามารถรับผลประโยชน์จากกำไรของ ปตท.ได้ นอกจากนี้คณะกรรมการกิจการพลังงานได้นำมูลค่าท่อก๊าซที่ประชาชนถูกยักยอกไป มาคำนวณปรับอัตราค่าบริการส่งก๊าซให้สูงขึ้นทั้งๆ ที่ ปตท.ไม่ได้ลงทุนเพิ่มเติมในระบบ ก็เพื่อสร้างกำไรให้มากขึ้นขูดรีดคิดค่าใช้บริการขนส่งก๊าซผ่านท่อจากประชาชนมากขึ้น ส่งผลกระทบถึงค่าเอฟทีไฟฟ้าเพิ่มขึ้น โดยประชาชนเป็นผู้แบกรับภาระเกินความจำเป็น เพราะข้าราชการประจำกระทรวงพลังงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้บริหารสำนักนโยบายและแผนทางพลังงาน ล้วนแต่มีผลประโยชน์ทับซ้อนรับผลประโยชน์จาก ปตท. และบริษัทในเครืออีกจำนวนมาก ผลประโยชน์ทับซ้อนที่ลามไปถึงฝ่ายการเมือง ทำให้กระทรวงการคลังได้ประเมินค่าเช่าท่อก๊าซและอุปกรณ์ของ ปตท.ระหว่างปี พ.ศ. 2544 จนถึง พ.ศ. 2551 เป็นเงิน 1,300 ล้านบาท ทั้งๆ ที่ ปตท.ได้เรียกเก็บค่าใช้ท่อก๊าซจากประชาชนไปแล้วถึง 137,176 ล้านบาท ซึ่งมีส่วนต่างจากที่กระทรวงการคลังเรียกเก็บถึง 104.52% สูตรราคาน้ำมันก็เช่นกัน ปตท. ได้อ้างอิงราคาหน้าโรงกลั่นที่สิงคโปร์ + ค่าโสหุ้ยในการส่งน้ำมันสำเร็จรูป+ค่าสูญเสียระหว่างการขนส่ง+ค่าปรับปรุงคุณภาพจากมาตรฐานสิงคโปร์มาเป็นมาตรฐานประเทศไทย+ค่าประกันภัยที่ขนส่งน้ำมันสำเร็จรูปจากสิงคโปร์มายังประเทศไทย ซึ่งไม่ใช่ต้นทุนที่เกิดขึ้นจริงเลย เพราะโรงกลั่นน้ำมันตั้งอยู่ในประเทศไทยอีกทั้งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติส่วนหนึ่งก็ผลิตได้ในประเทศไทย แต่การตั้งสูตรน้ำมันแบบนี้ทำให้ประชาชนต้องแบกรับราคาน้ำมันสูงกว่าปกติถึงลิตรละ 2 บาท จึงเป็นกำไรส่วนเกินให้กับสูตรราคาตลาดเทียมถึงปีละ 80,000 ล้านบาท ในทางกลับกันประเทศไทย “ส่งออกน้ำมันในราคาต่ำกว่าที่ขายให้กับคนไทย” โดยใช้ราคาน้ำมันสำเร็จรูปตลาดสิงคโปร์ - ค่าโสหุ้ยในการส่งน้ำมันสำเร็จรูป - ค่าสูญเสียระหว่างการขนส่ง - ค่าปรับปรุงคุณภาพจากมาตรฐานสิงคโปร์มาเป็นมาตรฐานประเทศไทย - ค่าประกันภัยที่ขนส่งน้ำมันสำเร็จรูปจากสิงคโปร์มายังประเทศไทย นอกจากนี้ ปตท. เป็นผู้ประกอบการรายเดียวในกิจการแยกก๊าซธรรมชาติ โดยก๊าซเอ็นจีวีที่ผลิตได้ในประเทศมีปริมาณเพียงพอต่อการใช้สำหรับภาคครัวเรือนและยานยนต์ทั้งประเทศ แต่ปรากฏว่ากลุ่มอุตสาหกรรมปิโตรเคมีซึ่งส่วนใหญ่เป็นกิจการของ ปตท.ต้องนำก๊าซแอลพีจีไปใช้ เป็นผลทำให้ก๊าซแอลพีจีไม่เพียงพอและต้องมีการนำเข้าปีละกว่า 400,000 ตัน และเนื่องจากก๊าซแอลพีจีที่นำเข้าจากต่างประเทศมีราคาสูงกว่าที่ผลิตในประเทศ ปตท.จึงขอให้รัฐบาลชดเชยค่าก๊าซแอลพีจีโดยเรียกเก็บจากกองทุนน้ำมัน โดยอ้างว่าเพื่อมาตรึงราคาแอลพีจีให้กับผู้บริโภค ทุกวันนี้ภาคประชาชน (หุ้งต้มครัวเรือน + ยานยนต์) มีปริมาณการใช้ก๊าซแอลพีจี ประมาณ 2.9 ล้านตัน ในขณะที่อุตสาหกรรมปิโตรเคมีใช้สูงถึง 2.3 ล้านตัน ดังนั้นเงินที่ประชาชนต้องจ่ายในกองทุนจากน้ำมันเบนซิน 95 จำนวน 4 บาทต่อลิตร, จากเบนซิน 91 จำนวน 3.1 บาทต่อลิตร, จากดีเซลหมุนเร็ว 1.5 บาทต่อลิตร, จากไบโอดีเซล 1 บาทต่อลิตร, จากแก๊สโซฮอลล์ 95 จำนวน 0.70 บาท ฯลฯ โดยอ้างว่าส่วนหนึ่งนำมาอุดหนุนก๊าซแอลพีจีเพื่อช่วยเหลือคนจนนั้น... แท้ที่จริงแล้ว “การที่ต้องให้ผู้ใช้น้ำมันจ่ายเงินเพิ่มให้เข้ากองทุนน้ำมันเพื่ออุดหนุนราคาก๊าซแอลพีจี โดยไม่แบ่งแยกประเภทการใช้งาน” ก็คือการขูดรีดจากผู้ใช้น้ำมันมาเอื้อประโยชน์ให้กับมหาเศรษฐีกลุ่มปิโตรเคมีของกลุ่ม ปตท.เพื่อให้ได้ต้นทุนแอลพีจีในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีที่ต่ำกว่าราคาตลาดโลกเพื่อสร้างกำไรให้กับผู้ถือหุ้น โดยเอาคนยากจนมาบังหน้าเท่านั้น นอกจากนี้ การกำหนดสัดส่วนปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ของก๊าซธรรมชาติสำหรับรถยนต์ ซึ่งมาตรฐานสากลกำหนดให้มีได้ไม่เกินร้อยละ 3 ต่อมา กรมธุรกิจพลังงาน กลับได้ออกประกาศกรมธุรกิจพลังงานเรื่องกำหนดลักษณะและคุณภาพของก๊าซธรรมชาติสำหรับรถยนต์ พ.ศ. 2552 กำหนดให้คาร์บอนไดออกไซด์ต้องไม่เกินร้อยละ 18 ทำให้ ปตท.สามารถเติมก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลงในก๊าซเอ็นจีวีเพิ่มอัตรากำไรสูงขึ้น และให้ประชาชนกลับเป็นผู้แบกรับมากขึ้น นี่คือกระบวนการที่สร้างกำไรอย่างสุดอัปลักษณ์ที่สุดของ ปตท. ทั้งการแปรรูปที่ไม่โปร่งใส ญาติโกโหติกาได้หุ้น ปตท.ในราคาต่ำกว่าตลาดด้วยการประเมินทรัพย์สินที่ต่ำกว่าความเป็นจริง และเมื่อแปรรูปได้แล้วก็ยังใช้อำนาจทั้งข้าราชการและนักการเมืองเอื้อประโยชน์ให้เกิดกำไรอย่างมหาศาลและแยบยล เพื่อให้กำไรเหล่านั้นตกอยู่กับคนเพียงไม่กี่คนบนความเดือดร้อนของคนไทยทั้งประเทศอย่างไม่เป็นธรรม การฟ้องต่อศาลปกครองโดยมูลนิธิยามเฝ้าแผ่นดินครั้งนี้ จึงถือเป็นโอกาสสำคัญที่จะได้นำคดีนี้ขึ้นพิสูจน์ความจริง และทำให้การแปรรูปและกระจายหุ้นที่ไม่โปร่งใสและขาดหลักธรรมาภิบาลต้องเป็นโมฆะ เพื่อให้ทรัพย์สินกลับไปสู่สถานะเดิมที่รัฐถือหุ้น 100% ส่วนใครที่เสียหายจากการที่หุ้น ปตท. เป็นโมฆะ ก็ขอให้ไปไล่เบี้ยเอาเองกับเหล่านักการเมืองและข้าราชการที่ทำกรรมหนักต่อประเทศชาติครั้งนี้

วันอังคารที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ก๊าซพิษก๊าซเสีย เอาไปต้มก่อนปล่อยสู่อากาศ ชาวบ้านถูกต้มจนสุก! หรือไม่

เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน คณะกรรมการองค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (กอสส.) แถลงข่าวเรื่องการให้ความคิดเห็นโครงการที่อาจจะก่อให้เกิดผลกระทบรุนแรง ด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ และสุขภาพ ตามเจตนารมณ์ ในมาตรา 67 ของรัฐธรรมนูญ

บริษัท ทีโอซี ไกลคอล จำกัด โครงการจัดทำบัญชีสารอินทรีย์ระเหยง่าย download

นายวีรวัธน์ ธีรประสาธน์ ประธาน กอสส.กล่าวว่า กอสส.เข้ามาทำหน้าที่ครบ 1 ปี ทางคณะกรรมการผู้ชำนาญการ (คชก.) ที่สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) แต่งตั้งให้พิจารณารายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (อีเอชไอเอ) ได้ส่งรายงานฉบับดังกล่าว ซึ่งเป็นโครงการสร้างโรงงานผลิตเอทธิลีนออกไซด์ และเอทธิลีนไกลคอน ส่วนขยายของบริษัท ทีโอซี ไกลคอน จำกัด ในนิคมอุตสาหกรรมเหมราช จ.ระยอง ซึ่งคชก.พิจารณาผ่านแล้ว แต่รัฐธรรมนูญ ตามมาตรา 67 วรรคสอง กำหนดให้ส่ง กอสส.พิจารณาให้ความเห็นชอบประกอบ ก่อนส่งให้การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) เป็นผู้อนุมัติ ถือเป็นรายแรกที่ กอสส.พิจารณา

“ จากการลงพื้นที่พิสูจน์ เปิดรับฟังความคิดเห็นจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง คณะกรรมการมีมติเป็นเอกฉันท์ว่า ไม่เห็นชอบ ที่จะอนุญาตให้โรงงานผลิตเอทธิลีนออกไซด์ และเอทธิลีนไกลคอน ส่วนขยาย ของบริษัท ทีโอซี ไกลคอน จำกัด ดำเนินการได้ ” นายวีรวัธน์ กล่าว

นส.เพ็ญโฉม แซ่ตั้ง รองประธานอนุกรรมการพิจารณาโครงการ กล่าวว่า กอสส.มีเหตุผลถึง 12 ประการ ที่ไม่ให้ความเห็นชอบกับโครงการนี้ คือ 1.เหตุผลด้านวิศวกรรมไม่ครบถ้วน กระบวนการทางวิศวกรรมมีความปลอดภัยไม่เพียงพอ 2.การจัดการมลพิษขาดความชัดเจน 3.การจัดการก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ขาดความชัดเจน 4.ขาดการประเมินความเสี่ยงอันตรายร้ายแรงในโรงงาน 5.ไม่ระบุการประเมินความเสี่ยงและศักยภาพการรองรับการวิจัย 6.ขาดความชัดเจนเรื่องแผนงานความปลอดภัยทั้งโรงงานและในชุมชน 7.ขาดการประเมินผลกระทบของมลพิษทางอากาศที่มีอันตรายร้ายแรงบางชนิด เช่น ฟอร์มัลดิไฮด์ อะซิทัลดีไฮด์ ไวนิลคลอไรด์

8.มีความเสี่ยงต่อสุขภาพและขีดความสามารถที่จำกัดของระบบสาธารณะสุขใน พื้นที่ 9.การมีส่วนร่วมของประชาชนยังไม่ครอบคลุม ไม่ครบถ้วนขาดข้อมูลที่ชัดเจน 10.ไม่มีมาตรการด้านการจัดการผังเมือง พื้นที่กันชนและแนวป้องกันมลพิษ 11.ขาดการประเมินสถานการณ์สิ่งแวดล้อมและสุขภาพที่เป็นภาพรวม รวมทั้งศักยภาพในการรองรับอุตสาหกรรมในพื้นที่มาประเมินร่วมกับผลกระทบของ โครงการ 12.ข้อมูลบางส่วนในอีเอชไอเอมีความคลาดเคลื่อนข้อเท็จจริงบางประการ

นส.ศยามล ไกรยูรวงศ์ กรรมการกอสส. กล่าวว่า อาจจะสงสัยว่า คชก.พิจารณาแล้วผ่าน แต่ทำไมกอสส.จึงท้วงติงหลายข้อ ขอเรียนว่า คชก.พิจารณาจากเอกสารเท่านั้น แต่กอสส.ลงพื้นที่ และและพิจารณาจากหลายแนวทาง และหลายขั้นตอน ทั้งนี้กอสส.มีหน้าที่เพียงให้ความเห็นชอบตามเจตนารมณ์ของกฏหมาย และประกาศให้สาธารณะรับรู้เท่านั้น หน่วยงานผู้พิจารณาอนุมัติอาจจะไม่เห็นชอบตามที่กอสส.พิจารณาก็ได้ หลังจากนี้ กอสส.จะส่งเรื่องนี้ให้กนอ.และให้คณะกรรมการประสานงานการให้ความเห็นอิสระ ที่มีนายอานันท์ ปันยารชุน เป็นประธานรับทราบ

เมื่อถามว่า เป็นโครงการแรกที่กอสส.พิจารณาแต่กลับไม่ผ่านด้วยเหตุผลมากมายเช่นนี้ จะทำให้โครงการอื่นๆ เกิดความขยาดกลัวหรือไม่ นส.ศยามลกล่าวว่า ในแง่การลงทุนหลายแห่งอาจจะวิตกกังวลอยู่บ้าง อย่างไรก็ตามขอเรียนว่า กอสส.ไม่ได้ตั้งป้อมเพื่อคัดค้าน แต่ทำงานแบบตรงไปตรงมา มั่นใจว่า สิ่งที่กล่าวมาทั้งหมด ทางโครงการยินดีและสามารถปรับปรุงแก้ไขอยู่แล้ว

ที่มา มติชน วันที่ 22 มิถุนายน 2554

ประกาศเรื่องการจัดรับฟังความคิดเห็นฯโครงการ บริษัท ที โอ ซี ไกลคอล จำกัด

สผ.ได้แจ้งผลการพิจารณาของคณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมด้านอุตสาหกรรมกลั่นน้ำมัน ปิโตรเลียม ปิโตรเคมี และแยกหรือแปรสภาพก๊าซธรรมชาติ ในการประชุมครั้งที่ 7/2554 เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2554 ซึ่งคณะกรรมการผู้ชำนาญการฯ มีมติให้ความเห็นชอบรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมสำหรับโครงการหรือกิจการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพโครงการโรงงานผลิตเอทธิลีนออกไซด์และเอทธิลีนไกลคอล (ส่วนขยาย) ของบริษัท ทีโอซี ไกลคอล จำกัด (รายละเอียดดังแนบ กดเพื่อโหลดเอกสาร)

ในการนี้ กนอ. มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียสำหรับโครงการโรงงานผลิต เอทธิลีนออกไซด์และเอทธิลีนไกลคอล (ส่วนขยาย) ของบริษัท ทีโอซี ไกลคอล จำกัด (รายละเอียดดังแนบ) - คำสั่งที่ 82/2254 ลงวันที่ 29 เมษายน 2554

วันพุธที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ชุมชนรอบมาบตาพุดหวั่น รง.เก็บสารเคมีระเบิดหาก พนง.ทิ้งงานหลังค้างจ่ายเงินเดือน

ศูนย์ข่าวศรีราชา - ชุมชนมาบตาพุด ผวาโรงงาน”เอเพ็คปิโตรเคมิคอล”ซึ่งผลิตพีวีซีผงโดยใช้สารไวนิลคลอไรด์โมโนเมอร์ (VCM) เป็นวัตถุดิบในการผลิตอาจเกิดการระเบิด หลังโรงงานขาดสภาพคล่องจนค้างจ่ายเงินเดือนพนักงานกว่า 70 คน และค้างจ่ายค่าน้ำ-ไฟ จนต้องใช้เครื่องปั่นไฟรักษาอุณหภูมิในการเก็บสารเคมี ชี้หากพนักงานผละงานจนไม่มีผู้ดูแลเครื่องจักรอาจเกิดปัญหาไฟฟ้า หรือระเบิดได้ ขณะที่ผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง สั่งตั้งคณะทำงานติดตามปัญหาพร้อมเอาผิดนายจ้าง สร้างความมั่นใจชุมชุนรอบโรงงาน

เมื่อเวลา 10.00น.วันนี้ (24 มิถุนายน) นายศักดิ์ชาย เชิดสุขอนันต์ ประธานคณะกรรมการชุมชนบ้านพลา นายจำลอง ผ่องสุวรณ ประธานคณะกรรมการชุมชนมาบยา และนายสุชาติ กอเซ็ม ประธานคณะกรรมการชุมชนอิสลาม เทศบาลเมืองมาบตาพุด ได้เข้ายื่นหนังสือร้องทุกข์ต่อนายธวัชชัย เทอดเผ่าไทย ผู้ว่าราชการจังหวัด ระยอง ณ ศูนย์ราชการจังหวัดระยอง หลังบริษัทเอเพ็ค ปิโตรเคมิคอล จำกัด ตั้งอยู่เลขที่ 14 ถนนมาบข่า-ปลวกแดง ผู้ผลิตพีวีซีผงโดยใช้สารไวนิลคลอไรด์โมโนเมอร์( VCM) เป็นวัตถุดิบในการผลิต แต่ปัจจุบันขาดสภาพคล่องส่งผลให้พนักงานกว่า 70 คนไม่ได้รับเงินเดือนเป็นเงินรวมทั้งสิ้นกว่า 2 ล้านบาท ขณะที่กระแสไฟฟ้าภายในโรงงานและน้ำประปา ถูกตัดเนื่องจากค้างจ่ายจนไม่มีแสงสว่างในเวลากลางคืนและต้องใช้เครื่องปั่นไฟฉุกเฉินเพื่อควบคุมอาคารเก็บสารเคมีซึ่งเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาจำนวน 700 ตัน ด้วยอุณหภูมิลบ 20 องศา ทำให้ชาวบ้านทั้ง 3 ชุมชนกว่า 3,000 คน ที่อาศัยอยู่ฝั่งตรงข้ามและโดยรอบบริเวณโรงงาน ต่างพากันหวาดผวาว่าหากพนักงานทิ้งหน้าที่ในการดูแลควบคุมเครื่องจักร ก็อาจทำให้สารเคมีซึ่งเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาระเบิดขึ้นได้ 




โดยนายธวัชชัย (เทิดเผ่าไทย) ผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง กล่าวว่า ได้ลงนามคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานแก้ไขปัญหาในทันที โดยให้อุตสาหกรรมจังหวัดระยองซึ่งเป็นหน่วยงานดูแลโรงงานโดยตรงเข้ามาดูแล พร้อมผู้แทนจากสำนักงานอัยการ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดระยอง เจ้าหน้าที่ตำรวจ เทศบาลเมืองมาบตาพุด และประธานชุมชนร่วมกันแก้ไขปัญหา ซึ่งในเบื้องต้นกำหนดให้สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดระยอง ทำหนังสือถึงเจ้าของโรงงานให้ดำเนินการตัดหญ้าที่ขึ้นปกคลุมออกให้หมด เพื่อป้องกันไฟไหม้และอาจทำให้ถังเก็บสารเคมีเกิดการระเบิดขึ้นได้ เพราะสภาพโรงงานปัจจุบันหัวจ่ายดับเพลิงและอุปกรณ์วาว์ลเปิด-ปิดใช้การไม่ได้ พร้อมให้คณะทำงานจัดตั้งชุดเฝ้าระวังระบบควบคุมสารเคมี และเร่งดำเนินการหาข้อมูลเพื่อดำเนินคดีกับผู้บริหารโรงงานอย่างเฉียบขาด
ยื่นเรื่องร้องเรียน ผวจ.ระยอง แต่ก้อเท่านั้น

 ด้านนายศักดิ์ชาย เชิดสุขอนันต์ ประธานคณะกรรมการชุมชนบ้านพลา กล่าวว่าพนักงานโรงงานไม่ได้รับเงินเดือนและค่าสวัสดิการมานานถึง 2 เดือนแล้ว แต่ก็ยังคงผลัดเวรดูแลเครื่องจักร โดยหวั่นว่าหากพนักงานไม่เข้าทำงานวันใดเครื่องปั่นไฟที่ต้องทำงานตลอด24 ชม.และต้องใช้น้ำมันดีเซลวันละ 7,000 บาทก็อาจดับ จนเกิดเหตุการณ์ร้ายแรงขึ้นได้ เพราะสารพิษนับ 100 ตันอาจรั่วไหลจนเกิดระเบิด “ใครจะรับผิดชอบ เวลานี้ชุมชน 3 ชุมชนที่มีผู้อยู่อาศัยกว่า 3,000 คนต่างหวาดผวา จึงฝากให้ผู้บริหารโรงงานรีบดำเนินการแก้ไขปัญหา ไม่ใช่ปล่อยทิ้งเช่นนี้และขอให้เห็นแก่ชีวิตมนุษย์ที่อยู่รอบโรงงานด้วย” นายศักดิ์ชาย กล่าว เช่นเดียวกับนายสุขาติ กอเซ็ม ประธานคณะกรรมการชุมชนอิสลาม เทศบาลเมืองมาบตาพุด กล่าวว่าสารเคมีจำนวน 7 ตัน ที่อยู่ในอาคารควบคุมความเย็นหากเครื่องปั่นไฟเกิดปัญหาไม่สามารถควบคุมความเย็นได้ก็อาจเกิดเหตุการณ์ที่ส่งผลกระทบกับชีวิตคนในชุมชน และถึงวันนี้ยังไม่มีผู้รับผิดชอบออกมาดูแลไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานราชการหรือสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด ที่อนุญาตให้สร้างโรงงานได้ จึงขอร้องเรียนไปยังนายอาทิตย์ วุฒิคะโร อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรมด้วยเช่นกัน ด้านนายจักรภพ ถาภักดี รอง ผจก.ส่วนวิศวกรรมการผลิตโรงงาน เอเพ็คปิโตรเคมีคอล จำกัด กล่าวว่าตัวอาคารได้เก็บสารแคทเตอร์ลิคจำนวน 700 ถังๆละ 10 กก. โดย เป็นสารตัวเร่งปฏิกิริยาแต่เป็นสารที่สลายง่ายในอุณหภูมิที่สูงจึงต้องเก็บไว้ในอุณหภูมิลบ 20 องศาและต้องควบคุมตัวอาคารให้มีความเย็นตลอดเวลา ซึ่งหากเกิดไฟฟ้าดับอุณหภูมิที่สูงขึ้นเรื่อยๆเมื่อถึงจุดๆหนึ่งสารดังกล่าวจะสลายตัวด้วยตัวเองพร้อมกับจะทำให้เกิดความร้อนและเกิดระเบิดขึ้นเองได้ แต่สารเคมีอันตรายอีกส่วนหนึ่งซึ่งก็คือสารไวนิลคลอไรด์โมโนเมอร์(วีซีเอ็ม) ที่บรรจุในถังรูปทรงกลม(ลูกโลก) เป็นสารก่อมะเร็งตับ และสารตัวนี้เป็นวัตถุดิบที่ใช้ในขบวนการผลิตผงพีวีซีและต้องใช้น้ำหล่อเย็นตลอดเวลา รวมทั้งต้องมีคนดูแลอย่างใกล้ชิดเช่นกัน

วันเสาร์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2554

อภิสิทธิ์ อ้างแก้ปัญหามาบตาพุดสำเร็จ (แต่ปล่อยให้ผู้คนเสี่ยงตายกันไป )

'อภิสิทธิ์' ขึ้นเวทีปราศรัย สนามกีฬาจังหวัดระยอง กลางดึก ประกาศถ้าเลือกประชาธิปัตย์ ราคาผลไม้จะดีขึ้น ยืนยันไม่ละเลยปัญหาของแพง...

เมื่อเวลา 21.50 น. วันที่ 11 มิ.ย. นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ได้เดินทางไปยังสนามกีฬาจังหวัดระยอง เพื่อขึ้นปราศรัยใหญ่ของพรรคประชาธิปัตย์ ช่วยผู้สมัคร ส.ส.ภาคตะวันออก โดยมีประชาชน ประมาณ 3,000 คน มารอฟังการปราศรัย ทั้งนี้ นายอภิสิทธิ์ ได้ย้ำถึงนโยบายเพื่อประชาชนของพรรคประชาธิปัตย์ อาทิ แนวทางการแก้ปัญหาของพื้นที่โดยเฉพาะปัญหาวิกฤตินิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ที่มีผลกระทบต่อสภาวะแวดล้อมของรัฐบาลที่ผ่านมาที่สามารถหาความสมดุลให้กับภาคอุตสาหกรรมและสิ่งแวดล้อม โดยนายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า “ความปรองดองที่ต้องการอยู่ในทุกวันนี้ ต้องมาดูจากการแก้ปัญหาของมาบตาพุดเป็นตัวอย่าง”

การอ้างว่า แก้ปัญหามาบตาพุดสำเร็จ แต่ปล่อยให้ผู้คนเสี่ยงตายกันไป แบบนี้มั้ย ทำไมบอกว่า "นายกอภิสิทธิ์เลือดเย็น"

นอกจากนี้ นายอภิสิทธิ์ ยังให้ความมั่นใจว่า ถ้าเลือกพรรคประชาธิปัตย์แล้วจะทำให้ราคาผลไม้ดีขึ้น และพรรคประชาธิปัตย์ไม่เคยละเลยปัญหาข้าวยากหมากแพง โดยเฉพาะการตรึงราคาแก๊สหุงต้ม ตรึงราคาน้ำมันดีเซล ทั้งที่ถูกด่าจากฝ่ายค้านและนักวิชาการแต่ยังตัดสินใจแนวแน่ ไม่ให้เกิน 30 บาท/ลิตร เพราะหากให้ขึ้นไปมากกว่านี้จะเป็นข้ออ้างให้ขึ้นราคาสินค้าตามไปด้วย ไม่ได้ละเลยปัญหาราคาไข่ หมูแพง เมื่อราคาต้นทุนคลี่คลายลง ได้ติดตามเพื่อให้ราคาลดลง แต่สุดท้ายจะต้องหันไปเพิ่มรายได้ลดรายจ่ายให้กับประชาชน ขยายกองทุนสวัสดิการต่างๆ รวมทั้งมีนโยบายปราบปรามยาเสพติด 315 ที่ปฏิบัติงานอย่างได้ผล เป็นต้น นอกจากนั้น เนื้อหาการปราศรัยส่วนใหญ่โดยเฉพาะเรื่องที่พาดพิงฝ่ายตรงข้าม จะคล้ายคลึงกับเวทีต่างๆ ที่ นายอภิสิทธิ์ได้ขึ้นปราศรัยไปแล้ว โดยนายอภิสิทธิ์ใช้เวลาปราศรัยประมาณ 45 นาที

วันพฤหัสบดีที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2554

โรงงานสารเคมีอันตราย ถ้าถูกปล่อยทิ้ง ระเบิดเองได้

" หากเครื่องปั่นไฟหยุดการทำงาน อาจเกิดการระเบิดภายในโรงงานขึ้นได้ เนื่องจากมีสารเคมีตัวเร่งปฏิกิริยา จำนวน 7 ตัน สารเคมีดังกล่าวต้องอยู่ที่อุณหภูมิลบ 15 องศา ถ้าอุณหภูมิลบต่ำกว่า 15 องศา มันจะเกิดการติดไฟขึ้นมาเองอาจเกิดการระเบิดขึ้นได้
เนื่องจากไม่มีพนักงานเฝ้าดูแล สารเคมีตัวนี้ ถ้าไม่อยู่ในอุณหภูมิของความเย็นอาจเกิดระเบิดขึ้นได้ นอกจากนี้ยังมีแก๊สวีซีเอ็ม เป็นวัตถุดิบในขบวนการผลิต ซึ่งมีอันตรายมากกว่าสารเคมีตัวเร่งปฏิกิริยานี้อีก ขณะนี้ตกค้างอยู่ในถังและท่อประมาณกว่า 100 ตัน หากพนักงานยังไม่ได้เงินเดือนตามที่เรียกร้องอาจทิ้งแพล้นท์งาน การระเบิดอาจเกิดขึ้นได้ รวมทั้งชุมชนใกล้เคียงอาจได้รับอันตราย "

เรื่องที่มีความเสี่ยงอันตราย พนักงานและผู้เกี่ยวข้องย่อมรู้ดีว่า โรงงานสารเคมีอันตราย ในมาบตาพุด แต่ละโรงมีความสุ่มเสี่ยงอย่างไร ที่จะกระทบ ชุมชน ประชาชน ชาวบ้าน
70พนักงานฟ้องบ.เอเพ็คปิโตรเคมีคอลฯ ต่อศาลแรงงาน เรียกค้างจ่ายเงินเดือน,โอที 3ล้านบาท ตัดสวัสดิการหมด แฉค้างจ่ายค่าไฟ7ล้าน และตัดแก๊ส
วันนี้(3 มิ.ย.) เมื่อเวลา 11.00 น. ที่บริเวณหน้าศาลจังหวัดระยอง ถนนตากสินมหาราช ตำบลท่าประดู่ อำเภอเมืองระยอง นายนิพัทธ์ มาจันแดง พนักงานบริษัท เอเพ็คปิโตรเคมีคอล จำกัด เลขที่ 14 ถนนมาบข่า-ปลวกแดง ตำบลมาบตาพุด อ.เมืองระยอง ซึ่งเป็นโรงงานผลิตพลาสติคและพีวีซีเรซิ่น พร้อมด้วยเพื่อนพนักงานรวม 60 คน เดินทางมายื่นฟ้องศาลแรงงานจังหวัดกรณีนายจ้างค้างจ่ายเงินเดือนและเงินค่าโอทีเดือนพฤษภาคม รวมเป็นเงินทั้งสิ้นกว่า 3,000,000 บาท
นายนิพัทธ์ กล่าวอีกว่า นอกจากเงินเดือนพนักงานและเงินค่าโอทีของพนักงานจำนวน 70 คน ที่ค้างจ่ายแล้ว ทางโรงงานยังตัดเงินสวัสดิการต่าง ๆ อาทิ ค่าเช่าบ้าน รถรับส่งพนักงาน ค่ารักษาพยาบาล เงินกู้ซื้อบ้านพนักงาน(หักเงินแล้วไม่นำจ่าย) ฯลฯ และปัญหาขณะนี้โรงงานค้างจ่ายค่ากระแสไฟรวมเป็นเงินทั้งสิ้น 7,000,000 บาท การไฟฟ้าได้งดจ่ายกระแสไฟตั้งแต่วันที่ 26 พฤษภาคมที่ผ่านมา รวมทั้ง แก๊ส LNG ที่ใช้ในขบวนการผลิตก็ถูกตัด ต้องใช้ เจนเนอร์เรเตอร์(เครื่องปั่นไฟ)ทดแทน หากเครื่องปั่นไฟหยุดการทำงาน อาจเกิดการระเบิดภายในโรงงานขึ้นได้ เนื่องจากมีสารเคมีตัวเร่งปฏิกิริยา จำนวน 7 ตัน สารเคมีดังกล่าวต้องอยู่ที่อุณหภูมิลบ 15 องศา ถ้าอุณหภูมิลบต่ำกว่า 15 องศา มันจะเกิดการติดไฟขึ้นมาเองอาจเกิดการระเบิดขึ้นได้
เนื่องจากไม่มีพนักงานเฝ้าดูแล สารเคมีตัวนี้ ถ้าไม่อยู่ในอุณหภูมิของความเย็นอาจเกิดระเบิดขึ้นได้ นอกจากนี้ยังมีแก๊สวีซีเอ็ม เป็นวัตถุดิบในขบวนการผลิต ซึ่งมีอันตรายมากกว่าสารเคมีตัวเร่งปฏิกิริยานี้อีก ขณะนี้ตกค้างอยู่ในถังและท่อประมาณกว่า 100 ตัน หากพนักงานยังไม่ได้เงินเดือนตามที่เรียกร้องอาจทิ้งแพล้นท์งาน การระเบิดอาจเกิดขึ้นได้ รวมทั้งชุมชนใกล้เคียงอาจได้รับอันตราย
นายนิพัทธ์ กล่าวว่าเมื่อวันที่ 2 มิถุนายนที่ผ่านมาฝ่ายผู้บริหารโรงงานเดินทางมาเจรจาขอเลื่อนการจ่ายเงินเดือนออกไปอีกอ้างขาดสภาพคล่อง ทำให้ไม่สามารถตกลงกันได้ เนื่องจากครอบครัวพนักงานกำลังประสบความเดือดร้อน กลุ่มพนักงานจึงต้องมาร้องต่อศาลแรงงาน จ.ระยอง

วันพุธที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2554

เปลือย 13 อรหันต์“มาบตาพุด”อุ้มโรงงาน-แจกมรณะบัตรชุมชน!?

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์16 พฤษภาคม 2554 11:33 น.

หลังรัฐบาล “มาร์ค-อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” ใช้คณะกรรมการ 4 ฝ่าย ที่มีนายอานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรี คลี่คลายปัญหา 76 โครงการยักษ์ในมาบตาพุด ที่ถูกศาลปกครองสั่งระงับ จนคลี่คลายความร้อนแรงลง พร้อม ๆ กับการนำเอาบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 67 วรรค 2 มาเป็นแนวปฏิบัติ ตามที่มีการระบุไว้ชัดเจนว่า “การดำเนินโครงการหรือกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง ทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ และสุขภาพ จะกระทำมิได้เว้นแต่จะได้ศึกษา และประเมินผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม สุขภาพของประชาชนในชุมชน และจัดให้มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน และผู้มีส่วนได้เสียก่อน รวมทั้งได้ให้องค์การอิสระ ซึ่งประกอบด้วยผู้แทนองค์การเอกชนด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ และผู้แทนสถาบันอุดมศึกษาที่จัดการการศึกษาด้านสิ่งแวดล้อม หรือทรัพยากรธรรมชาติหรือด้านสุขภาพ ให้ความเห็นประกอบก่อนมีการดำเนินการดังกล่าว” และนำมาซึ่งการจรดปากกาลงนามจัดตั้งองค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (ชั่วคราว) ประกอบด้วย ผู้แทนขององค์กรเอกชนด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพและสถาบันอุดมศึกษาที่จัดการศึกษาด้านสิ่งแวดล้อม หรือทรัพยากรธรรมชาติ หรือด้านสุขภาพจำนวน 13 คน ทำหน้าที่ให้ความเห็นประกอบโครงการ หรือกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง ตามมาตรา 67 วรรค 2 แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 โดยมีนายวีรวัธน์ ธีรประสาธน์ ผู้แทนจากมูลนิธิฟื้นฟูชีวิตและธรรมชาติ เป็นประธานกรรมการฯ และคณะรัฐมนตรีได้มีมติให้ค่าตอบแทนคนละ 45,000 บาท พร้อมยังให้มีผู้ช่วยอีก 13 คน ได้ค่าตอบแทนคนละ 20,000 บาท เป็น 13 อรหันต์ทองคำ ที่ได้รับการคาดหวังว่า จะทำหน้าที่เป็น “ผนังเหล็ก กำแพงทองแดง” ให้แก่ชุมชนมาบตาพุด ทำให้พวกเขาอยู่ใต้ปล่องควันโรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ ที่รัฐไทยทุกยุคทุกสมัย ใช้เป็นเครื่องมือปั้นตัวเลข GDP ขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้

ปัญหามลพิษที่เกิดขึ้นในพื้นที่มาบตาพุด ที่ผ่านมาแม้จะมีการแก้ไขปัญหาสารพัดวิธี รวมทั้งการตั้งองค์กรต่างๆขึ้นมากำกับดูแล แต่พบว่า ไม่ทำให้ชีวิตของผู้คนที่นี่อยู่ได้อย่างปกติสุข








ทั้งที่โดยข้อเท็จจริง แม้จะมีรายงานว่าผลผลิตมวลรวมต่อหัวของชาวระยอง สูงสุดเป็นอันดับ 1 ของประเทศ แต่รายงาน UNDP พ.ศ.2550 กลับระบุว่า รายได้ของชาวระยองแท้จริงอยู่ในระดับปานกลาง ครอบครัวและชุมชน รวมถึงการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนมีศักยภาพต่ำ ภาษีที่กลับคืนสู่สังคมในจังหวัดระยอง น้อยมาก เพราะโรงงานอุตสาหกรรมส่วนมากที่เปิดทำการอยู่ในพื้นที่ระยอง จดทะเบียนที่กรุงเทพฯ และบางส่วนได้สิทธิประโยชน์ส่งเสริมการลงทุนจากจาก BOI ทำให้ภาษีกลับคืนสู่ระยอง มีไม่ถึง 1% ที่จะนำมาลงทุนในด้านสังคมให้ดีขึ้น ไม่เพียงเท่านั้น ดูเหมือนว่า “องค์การอิสระฯ” ที่ตั้งขึ้นมานั้นกำลังทำให้กับคนมาบตาพุด ต้องหวนกลับไปผจญกับปัญหามลภาวะ ผลกระทบต่อชีวิต และสุขภาพของชุมชน เหมือนกับที่พวกเขาต้องเผชิญมาตลอดหลายสิบปีที่ผ่านมาอีก เพราะเกือบ 1 ปี ที่องค์การอิสระฯแห่งความคาดหวังก่อกำเนิดขึ้น มาถึงวันนี้...13 อรหันต์ทองคำแห่งมาบตาพุด กำลังถูกตั้งคำถามถึงมาตรฐานในการทำงาน มาตรฐานในความเป็นมืออาชีพ ฯลฯ โดยเฉพาะ“โครงการเอทธิลีน ไกลคอน” ซึ่งเป็นโรงงานปิโตรเคมีในพื้นที่มาบตาพุด ที่ได้รับตราประทับรับรองจากองค์การอิสระฯ ผ่านไปยังคณะกรรมการผู้ชำนาญการฯ สำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม (สผ.) กำลังถูกมองด้วยความเคลือบแคลงจากคนมาบตาพุด รวมทั้งคนระยองทั้งจังหวัด ตลอดจนนักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมด้วย ว่า “องค์การอิสระฯ ที่เชื่อว่า จะเป็นอรหันต์ทองคำให้คนมาบตาพุด ให้การรับรองโครงการนี้แบบค้านสายตาสุดขั้ว” ความเป็นจริงแล้วองค์การอิสระฯ ควรจะต้องออกไปหาข้อมูลรายละเอียดโครงการ และสอบถามความคิดเห็นจากประชาชนในพื้นที่ รวมทั้งหาข้อมูลผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทั้งด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพจากทุกภาคส่วน และจัดทำหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนเพียงพอ ในการให้ความเห็นก่อนที่โครงการจะถูกส่งเข้ามา และการมีส่วนร่วมของประชาชนทุกความเห็นนำไปสู่การตัดสินใจอย่างรอบคอบ ที่สำคัญองค์การอิสระฯเกิดขึ้นได้ เพราะเครือข่ายประชาชนภาคตะวันออกและชาวมาบตาพุด ยื่นฟ้องต่อศาลปกครอง ถ้าไม่ทำหน้าที่คุ้มครองปกป้องเพื่อพิทักษ์ไว้ซึ่งสิทธิของชาวมาบตาพุด ก็สมควรลาออกทั้งชุด “ทุกวันนี้ องค์การอิสระฯแห่งนี้ มุ่งแต่จะตั้งอนุกรรมการขึ้นมาพิจารณาโครงการต่าง ๆ แทนตัวเอง และเรียกร้องให้มีการจ่ายค่าตอบแทบให้อนุกรรมการเป็นรายเดือนเหมือนกับตัวเองอีก และที่ผ่านมาพวกเขาก็ไม่เคยลงพื้นที่และสัมผัสกับประชาชนในมาบตาพุดอย่างจริงจังเลย” นายสุทธิ อัชฌาสัย ผู้ประสานงานเครือข่ายประชาชนภาคตะวันออก บอกกับ “ASTVผู้จัดการสุดสัปดาห์”




 ไม่เพียงเท่านั้น ว่ากันว่า คณะกรรมการองค์การอิสระฯ ยังใช้ช่องทางตั้งผู้ช่วยขึ้นมารับเงินค่าตอบแทนเป็นรายเดือน โดยบางคนแทบไม่เคยมีใครเห็นหน้าค่าตา ไม่เคยย่างกรายเข้ามาทำงานในสำนักงาน ไม่เคยมีประวัติที่ตรวจสอบได้ถึงความรู้ความเชี่ยวชาญด้านสุขภาพ หรือความรู้ที่เกี่ยวข้องกับผลกระทบจากภาคอุตสาหกรรมใด ๆ หรือไม่มีความรู้เรื่อง ขีดความสามารถในการรองเรื่องสิ่งแวดล้อม(Carrying Capacity) ที่สัมพันธ์กับสุขภาพของประชาชนหรือไม่ “ผู้ช่วยคณะกรรมการฯ กลายเป็นคณะผู้ติดตามไปหมด เราจึงอยากให้ สตง.เข้ามาสอบสวนด้วย” นายสุทธิ ย้ำ แต่องค์การอิสระฯดังกล่าว กลับสามารถให้การรับรองโครงการ หรือให้ใบเบิกทางในการก่อตั้งโรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ ที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตคนมาบตาพุด และเป็นใบเบิกทางให้แก่โรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ เข้ามาลงทุนในมาบตาพุด ล่าสุดเครือข่ายประชาชนภาคตะวันออก ได้เริ่มเคลื่อนไหวอีกครั้ง ... คราวนี้พวกเขามุ่งเป้าเรียกร้องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่ง “รื้อ” องค์การอิสระ (ชั่วคราว) แห่งนี้โดยเร็วที่สุด ก่อนที่จะตั้งโต๊ะแจกจ่ายใบประทับรับรองคุณภาพให้อุตสาหกรรมอันตราย ที่สุ่มเสี่ยงจะกลายเป็น “ใบมรณะบัตร” สำหรับชุมชนมาบตาพุดในอนาคต
ความล้มเหลวในการทำงานขององค์กรอิสระ ด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ หลังทำงานเกือบปี ไม่เห็นผลงาน ส่งผลให้คนระยองเตรียมตัวเคลื่อนไหวล้มเลิกประกาศจัดตั้งองค์กรดังกล่าวในเร็วๆนี้ ตามที่ได้มีประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน2553 เรื่องการประกาศการจัดตั้งองค์การอิสระ (ชั่วคราว) ซึ่งประกอบด้วย ผู้แทนขององค์กรเอกชนด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพและสถาบันอุดมศึกษาที่จัดการศึกษาด้านสิ่งแวดล้อม หรือทรัพยากรธรรมชาติ หรือด้านสุขภาพจำนวน 13 คน และคณะรัฐมนตรีได้มีมติให้ค่าตอบแทนคนละ 45,000 บาท พร้อมยังให้มีผู้ช่วยอีก 13 คน ได้ค่าตอบแทนคนละ 20,000 บาท โดยกำหนดให้องค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (ชั่วคราว) ทำหน้าที่ให้ความเห็นประกอบโครงการ หรือกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงตามมาตรา 67วรรคสองของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 ซึ่งตั้งแต่มีการประกาศจัดตั้งองค์การอิสระ (ชั่วคราว) จนกระทั่งปัจจุบันเวลาผ่านไป 10 เดือนแล้ว ผลงานขององค์การอิสระฯเป็นอย่างไรบ้าง ทำงานคุ้มค่าตอบแทนและเป็นไปตามความคาดหวังของประชาชนหรือไม่อย่างไร นายสนธิ คชวัฒน์ อนุกรรมาธิการสิ่งแวดล้อม วุฒิสภา และเลขาธิการสมาคมวิทยาศาสตร์อนามัยสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทยได้ เผยว่า ประชาชนคาดหวังว่าองค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพฯ จะเป็นหน่วยงานที่ช่วยในการกลั่นกรองข้อมูลและรับฟังความคิดเห็นจากทุกด้าน เพื่อให้หน่วยงานรัฐพิจารณาในการอนุมัติอนุญาต หรือการดำเนินการใดๆ เพื่อให้โครงการต่างๆ ได้รับทราบข้อมูลจากองค์ที่เป็นกลาง ทั้งนี้ เพื่อสามารถที่จะประมวลความคิดเห็นได้อย่างรอบด้านและเสนอข้อคิดเห็นต่อไป ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้กล่าวไว้เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2553 ณ ห้องมิราเคิลแกรนด์เอบี ชั้น 4 โรงแรมมิราเคิลแกรนด์ คอนเวนชั่น ว่า องค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (ชั่วคราว) ต้องทำหน้าที่ในการรักษาความเชื่อถือจากทุกฝ่าย ซึ่งหมายถึงการทำงานอย่างเที่ยงตรง และเที่ยงธรรม โดยยึดหลักข้อมูลทางวิชาการที่แม่นยำ ถูกต้อง และสร้างความเข้าใจกับทุกฝ่ายทั้งฝ่ายราชการ หน่วยงานภาคเอกชนตลอดจนประชาชนในพื้นที่ด้วย อย่างไรก็ตาม จากการติดตามการทำงานขององค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพที่ผ่าน มากว่า 10 เดือน มีความเห็นว่า 1.ยังไม่เห็นการทำงานที่มีผลงานที่เป็นรูปธรรมทั้งในด้านวิชาการและด้านการปฎิบัติ เพื่อตอบโจทย์ของประชาชนตามที่ประชาชนคาดหวัง รวมทั้งยังไม่มีหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนในการที่จะให้ความเห็นต่อโครงการที่อาจจะรุนแรง ปัจจุบันมีโครงการที่ผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการผู้ชำนาญการฯของสำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม คือ โครงการเอทธิลีน ไกลคอน ซึ่งเป็นโรงงานปิโตรเคมีในพื้นที่มาบตาพุด และได้ส่งให้องค์การอิสระพิจารณาให้ความเห็นแล้ว แท้จริงแล้วองค์การอิสระฯควรจะต้องออกไปหาข้อมูลรายละเอียดโครงการ และสอบถามความคิดเห็นจากประชาชนในพื้นที่ รวมทั้งหาข้อมูลผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทั้งด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพจากทุกภาคส่วน และจัดทำหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนเพียงพอ ในการให้ความเห็นก่อนที่โครงการจะถูกส่งเข้ามา ไม่ใช่รอรายงานฯที่คณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณาแล้วมาพิจารณาซ้ำซ้อนอีกที ทุกวันนี้องค์การอิสระมุ่งแต่จะแต่งตั้งอนุกรรมการขึ้นมาพิจารณาโครงการแทนตัวอง และพยายามเรียกร้องให้อนุกรรมการมีเงินค่าตอบแทนเป็นรายเดือนเช่นตนอีก ซึ่งเป็นคำถามที่ตามมาจากประชาชนคือกรรมการชุดนี้มีความรู้ความเชี่ยวชาญที่จะให้ความเห็นประกอบการพิจารณาอนุญาตต่อโครงการประเภทปิโตรเคมีหรือไม่ มีความรู้เรื่อง Carrying Capacity รู้เรื่องสิ่งแวดล้อม ที่สัมพันธ์กับสุขภาพของประชาชนหรือไม่ เนื่องจากเวลา 10 เดือนที่ผ่านยังไม่มีผลงานที่เป็นรูปธรรม รวมทั้งไม่เคยลงพื้นที่และสัมผัสประชาชนในพื้นที่มาบตาพุดอย่างจริงจังเลย 2.จากการหารือกับประชาชนภาคตะวันออก และกลุ่มนักวิชาการ ไม่มีกลุ่มใดเลยที่ให้ความเชื่อมั่นในด้านวิชาการต่อคณะกรรมการชุดนี้ เนื่องจากพฤติกรรมที่ผ่านไม่เคยแสดงออกถึงความรู้ความสามารถ ที่จะให้ความเห็นทางวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ แต่กลับมีข่าวเกี่ยวกับการเรียกร้องผลประโยชน์ค่าตอบแทนมาตลอด รวมทั้งข่าวการทะเลาะกับกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมในเรื่องการใช้งบประมาณ ซึ่งต้องอย่าลืมว่าองค์การอิสระ (ชั่วคราว)ต้องตั้งงบประมาณและขออนุมัติงบประมาณ ผ่านกรมส่งเสริมคุณภาพส่งแวดล้อมเท่านั้น ซึ่งคิดว่าสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินควรเข้ามาทำการตรวจสอบการใช้เงินดังกล่าวด้วย 3.ความไม่โปร่งใสของคณะกรรมการอิสระบางท่านแต่งตั้งผู้ช่วย โดยไม่ได้มีความรู้ความเชี่ยวชาญจริง ตั้งขึ้นมาเพื่อมารับเงินค่าตอบแทนเป็นรายเดือน บางคนเจ้าหน้าที่ไม่เคยเห็นหน้าด้วยซ้ำ จริงๆ แล้วตามเจตนารมณ์ของการตั้งผู้ช่วยมาช่วยกรรมการเพื่ออำนวยความสะดวกในการทำงานของกรรมการ โดยต้องนั่งทำงานประจำที่สำนักงาน เนื่องจากรับเงินจากราชการเหมือนพนักงานประจำ แต่โดยข้อเท็จจริงแล้ว กรรมการได้เลือกผู้ช่วยมาเอง และให้ติดตามตนเองไม่ต้องเข้ามาทำงานก็ได้ ทำตัวเหมือนเป็น ส.ส.หรือ ส.ว.ในรัฐสภา ผู้ช่วยบางท่านทำงานประจำอยู่แล้วเช่น เป็นอาจารย์สอนหนังสือในมหาวิทยาลัย บางคนเป็นพนักงานราชการ ไม่เคยเข้ามาที่สำนักงานฯเลย ซึ่งเรื่องนี้ขอเรียกร้องให้สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินเข้ามาทำการสอบสวนด้วย 4.ประชาชนในพื้นที่มาบตาพุด จังหวัดระยอง มีความอึดอัดใจต่อการทำงานขององค์การอิสระฯชุดนี้ และไม่มีความมั่นใจต่อพฤติกรรมที่ผ่านมาของกรรมการบางคน ดังนั้น จึงมีความคาดหวังให้มีการปฏิรูปองค์การอิสระฯชุดนี้โดยด่วน เพื่อให้เป็นองค์การที่ประชาชนเชื่อมั่นและหวังเป็นที่พึ่งได้ต่อไป 5.ในการออกพระราชบัญญัติองค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ซึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณาของรัฐสภาอยู่นั้น จะต้องพิจารณาให้รอบคอบถึงความคาดหวังของรัฐธรรมนูญ ทั้งในเรื่องที่มาและกระบวนการคัดเลือกกรรมการ โดยต้องพิจารณาประวัติการทำงาน วิสัยทัศน์ การยอมรับจากทุกภาคส่วนของสังคม ตลอดจนต้องสามารถถอดถอนได้ โดยต้องนำบทเรียนจากการตั้งองค์การอิสระ (ชั่วคราว) จากระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีมาใช้เป็นแนวทางในการออกพระราชบัญญัตต่อไป ด้าน นายสุทธิ อัชฌาศัย ผู้ประสานงานเครือข่ายประชาชนภาคตะวันออก เผยว่า คนระยองมีมีความเห็นว่าการทำงานขององค์กรอิสระฯ ชุดนี้ไม่มีความโปร่งใสในการทำงาน ซึ่งที่ผ่านมายังไม่เห็นผลงานที่ชัดเจน และไม่คุ้มกับเงินเดือนที่ได้รับ ซึ่งในความเป็นจริงองค์อิสระชุดนี้จะต้องเข้ามาทำงานตามรัฐธรรมนูญกำหนดไว้ เช่น ในเรื่องของการเปิดกว้างเกี่ยวกับการให้ความรู้กับประชาชน รวมไปถึงการให้ข้อมูลต่างๆ ในเชิงวิชาการ แต่ปัจจุบัน องค์กรอิสระบางคน ทำตัวไม่โปร่งใส ปิดบังข้อมูล ฉกฉวยผลประโยชน์จากโรงงานอุตสาหกรรม รวมทั้งมีบางคนที่ เคยเป็นที่ปรึกษาบริษัทเอกชนนั้นก็จะมีการเอื้อผลประโยชน์ให้กัน เรื่องนี้คนระยอง รู้สึกรับไม่ได้ แต่จะให้โอกาสในการทำงานต่ออีกระยะหนึ่ง หากยังไม่มีผลงานหรือปรับเปลี่ยนพฤติกรรมใหม่ พวกเราจะมีการเคลื่อนไหว โดยการรวมตัวของระยอง และประชาชนที่ได้รับความเดือนร้อนขอให้ล้มเลิกประกาศ สำนักนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2553 เรื่องการประกาศการจัดตั้งองค์การอิสระ (ชั่วคราว) ซึ่งประกอบด้วย ผู้แทนขององค์กรเอกชนด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพและสถาบันอุดมศึกษาที่จัดการศึกษาด้านสิ่งแวดล้อมหรือทรัพยากรธรรมชาติหรือด้านสุขภาพจำนวน 13 คน