วันอาทิตย์ที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2554

รายงานเท็จ - คำชี้แจงแจ้งเท็จ-ปกปิดข้อมูล การสร้างมหันตภัยใหญ่หลวง ของภาคอุตสาหกรรม ไม่ใช่เพิ่งเกิด เฉพาะที่ โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ญี่ปุ่น

2 ตัวอย่าง มหันตภัยด้านล่างนี้ เป็นข้ออ้างอิงให้เห็นประจักษ์ว่า เมื่อเกิดเหตุขึ้นแล้ว ยากที่จะควบคุม จนสร้างความเสียหายใหญ่ ในกรณีโรงแยกก๊าซใหม่ ปตท. เองที่ชี้แจงต่อสาธารณะด้วยการชี้แจงแจ้งเท็จ ทั้งยังนำให้อัยการมานำเสนอศาล ว่าได้ตรวจสอบทั้งหมดแล้วอย่างต่อเนื่อง และมีขบวนการตรวจสอบอย่างดีหลังจากการก่อสร้างนั้น แท้ที่จริงไม่มี รวมทั้งกรณีที่อ้างว่าได้ตรวจสอบกับทางกลุ่มพิทักษ์อากาศสดชื่นแล้ว ไม่พบความผิดปกติแต่อย่างใด และกรณีที่ทางกลุ่มฯ เสนอให้มีการตรวจสอบ 10 ปีหรือตลอดอายุการใช้งานนั้น ไม่เป็นความจริง เพราะทางกลุ่ม เสนอให้ตั้ง คณะกรรมการที่มาจาก 3 ส่วนงาน คือ 1. ปตท. 2. การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และ 3. กรรมการส่วนที่กลุ่มฯ นำเสนอ ซึ่งเป็นวิศวกรโยธาที่ร่วมในการก่อสร้างฐานรากโรงแยกก๊าซใหม่ ทั้ง 2 แห่ง ทั้งกำหนดกรอบการตรวจสอบร่วม 3 ฝ่าย แค่ระยะต้นและระยะกลางเท่านั้น คือ 3 ปี แต่ในระยะต่อไป ปตท. กับ การนิคมอุตสาหกรรม ต้องร่วมกันตรวจสอบต่อ ตามกรอบการตรวจสอบ-ซ่อมสร้างที่ร่วมทำกันไว้ ระยะเวลา 10 ปี หรือตลอกอายุการใช้งาน การที่อ้างว่าทางกลุ่มฯ หาผลประโยชน์ โดยเสนอค่าตอบแทนคณะกรรมการเป็นอัตราเงินเดือน เทียบเท่าทั่วไปกับพนักงาน ปตท. นั้น เพราะวิศวกรโยธาที่จะนำมาร่วมตรวจสอบ ยังคงทำงานอยู่กับ บริษัทอิตาเลี่ยนไทย และโรงงานที่ระบุ ขอให้ตรวจสอบ-เสริมสร้างความแข็งแรง มี 3 โครงการซึ่งมีฐานรากจำนวนหลายพัน ซึ่งในส่วนบุคลากรเพิ่มเติม ขึ้นอยู่กับปริมาณงานที่ต้องตรวจสอบด้วย ซึ่งกรอบคณะกรรมการ ทำเพื่อเป็นตุ๊กตา เพื่อให้ทั้ง 3 ฝ่ายได้ร่วมการพิจารณาจะปรับหรือขยับอย่างไร แต่ทาง คณะกรรมการตรวจสอบที่ ส่วนธุรกิจก๊าซ ของ ปตท. ตั้งขึ้นไม่มาร่วมประชุม ตามการร้องขอ และจะดันทุรังเดินหน้า ทดสอบระบบโรงแยกก๊าซอีเทนต่อไป ขบวนการตรวจสอบจึงไม่มีการดำเนินการฯ และสุดท้ายนำมาเสนอฟ้องศาลปกครอง

....

คำชี้แจงแจ้งเท็จ-ปกปิดข้อมูล การสร้างมหันตภัยใหญ่หลวงของภาคอุตสาหกรรม ไม่ใช่เพิ่งเกิด และเกิดบ่อยๆ เช่นกรณี ปตท.สผ. ก้อเป็นแบบนั้น - ชัดเจนถึงความประมาทมักง่าย ไร้ความรับผิดชอบ โดยอ่านจากข้อตำหนิต่างๆ จาก ประเทศที่ได้รับผลกระทบ แม้กรณีนี้ คนไทย ไม่ได้การรับรู้ เพราะสื่อมวลชนไทย ปกปิดข่าวกันหมด

กระทรวงทรัพยากรและพลังงานของออสเตรเลีย ออกมาเปิดเผยรายงานของคณะกรรมการสอบสวนเหตุการณ์มอนทารา (Montara Commission of Inquiry’s Final Report and Findings) กรณีเกิดเหตุระเบิดที่แท่นขุดเจาะน้ำมันในแหล่งมอนทารา ทางเหนือของประเทศออสเตรเลีย ซึ่งบริษัท พีทีทีอีพี ออสตราเลเซีย (พีทีทีอีพี เอเอ) บริษัทในเครือบริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท.สผ. เป็นผู้รับสัมปทาน

สรุปว่า "สาเหตุทางตรง" ของเหตุการณ์นี้ คือ ความไม่แข็งแรง และต่ำกว่ามาตรฐานที่ ปตท. กำหนดขึ้นเองอีกด้วย

1. การติดตั้งฉนวนซีเมนต์ ที่บ่อผิดพลาดในเดือนมีนาคม 2009 (หลังจากที่ ปตท.สผ. เข้าซื้อกิจการแล้ว) ส่งผลให้ฉนวนดังกล่าวด้อยประสิทธิภาพในการป้องกันเหตุระเบิด

2. ความล้มเหลวของ พีทีทีอีพี เอเอ และแอตลัส (บริษัทผู้รับจ้างบริหารบ่อน้ำมันนี้) ที่ไม่ได้ตระหนักว่าฉนวนมีปัญหา และไม่ได้ทดสอบฉนวนอย่างที่ควรทำ โดยพีทีทีอีพี เอเอ เป็นฝ่ายผิดมากกว่าแอตลัส เนื่องจากเป็นผู้ควบคุมบ่อโดยตรงตามข้อตกลง ความล้มเหลวเหล่านี้ไม่เป็นไปตามระเบียบปฏิบัติที่ได้รับอนุมัติจากหน่วยงานกำกับดูแล อีกทั้งยังไม่เป็นไปตามมาตรฐานการก่อสร้างบ่อน้ำมันที่พีทีทีอีพี เอเอ เป็นผู้กำหนดเองอีกด้วย

การสืบสวนของ พีทีทีอีพี เอเอ เอง ในการหาสาเหตุของเหตุระเบิดก็ "บกพร่องอย่างชัดแจ้ง" จนถึงระดับที่ "ไร้ความรับผิดชอบและให้อภัยไม่ได้" อีกทั้งยัง "ทำให้ผู้กำกับดูแลเข้าใจผิดอย่างมหันต์" ตลอดระยะเวลา 6 เดือน และเมื่อบริษัทได้รับข้อมูลที่บ่งชี้ความไม่แข็งแรงของบ่อหลังเกิดเหตุแล้วก็ไม่ได้ส่งข้อมูลนั้นต่อให้กับผู้กำกับดูแล พฤติกรรมเหล่านี้ชี้ให้เห็นว่าบริษัททำตัวแย่มาก ถึงแม้จะไม่มีหลักฐานที่พิสูจน์ว่าบริษัทจงใจส่งข้อมูลเท็จหรือข้อมูลที่ทำให้เข้าใจผิดแก่ผู้กำกับดูแล ยิ่งไปกว่านั้น คณะกรรมการยังพบหลักฐานว่าบริษัทพร้อมที่จะให้ข้อมูลก็ต่อเมื่อข้อมูลนั้นเป็นประโยชน์ต่อบริษัท และปิดบังข้อมูลด้วยเหตุผลเดียวกัน

เทปโก้สารภาพ "กุรายงานเท็จ" ผลซ่อมบำรุงโรงไฟฟ้าฟูกูชิมะ
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์20 มีนาคม 2554 16:03 น.
สภาพความเสียหายของอาคารเตาปฏิกรณ์หมายเลข 4 ที่เกิดระเบิดและเพลิงไหม้ก่อนหน้านี้
เอเอฟพี - โตเกียว อิเล็กทริค เพาเวอร์ โค (เทปโก้) ออกมายอมรับว่า เคยกุรายงานผลซ่อมบำรุงโรงไฟฟ้า ฟูกูชิมะ ไดอิจิ ก่อนหน้าที่จะเกิดแผ่นดินไหวเพียงไม่กี่วัน ซึ่งอาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้โรงไฟฟ้าได้รับความเสียหายรุนแรงจากเหตุธรณีพิบัติ การเผยความจริงครั้งนี้ก่อให้เกิดคำถามมากมาย ทั้งเรื่องประวัติเสื่อมเสียของ เทปโก้ และข้อบังคับสำหรับอุตสาหกรรมนิวเคลียร์ในญี่ปุ่นที่ถูกมองว่าหละหลวมเกินไป เทปโก้ ได้ส่งรายงานถึงสำนักงานความปลอดภัยนิวเคลียร์ญี่ปุ่นประมาณ 10 วันก่อนเกิดแผ่นดินไหว โดยยอมรับว่า ไม่ได้ตรวจสอบอุปกรณ์ 33 ชิ้นภายในเตาปฏิกรณ์ทั้ง 6 แห่ง แผงไฟฟ้าสำหรับแจกจ่ายกระแสไฟไปยังวาล์วควบคุมอุณหภูมิเตาปฏิกรณ์ ไม่ได้รับการตรวจสภาพมานานถึง 11 ปี นอกจากนี้ผู้ตรวจสอบยังเคยกุรายงานเท็จ โดยระบุผลตรวจสภาพอย่างละเอียด ทั้งที่ความจริงทำอย่างผิวเผินเท่านั้น เทปโก้ ยอมรับด้วยว่า ไม่ได้ตรวจสภาพอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับระบบหล่อเย็น เช่น มอเตอร์สูบน้ำ และเครื่องกำเนิดไฟฟ้าสำรองแบบดีเซล รายงานดังกล่าวถูกเปิดเผย หลังจากที่สำนักงานความปลอดภัยนิวเคลียร์สั่งให้ เทปโก้ กลับไปตรวจสอบว่าการซ่อมบำรุงโรงไฟฟ้าเป็นไปโดยละเอียดรัดกุมหรือไม่ ซึ่งหลังจากได้รับรายงาน ทางสำนักงานก็สั่งให้ เทปโก้ ร่างแผนแก้ไขให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 2 มิถุนายน
รถดับเพลิงกำลังฉีดน้ำเพื่อควบคุมอุณหภูมิภายในเตาปฏิกรณ์หมายเลข 3 ของโรงไฟฟ้า ฟูกูชิมะ ไดอิจิ เมื่อวันที่ 19 มีนาคม
แต่หลังจากนั้นราว 1 สัปดาห์ก็เกิดแผ่นดินไหวขนาด 9.0 นอกชายฝั่งญี่ปุ่น ทำให้เครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่เชื่อมกับระบบหล่อเย็นของเตาปฏิกรณ์เสียหายอย่างหนัก เจ้าหน้าที่สำนักงานความปลอดภัยนิวเคลียร์ซึ่งไม่ขอเปิดเผยชื่อ กล่าวว่า “เราคงปฏิเสธไม่ได้ว่า ข้อบกพร่องในรายงานเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ไม่ได้มีส่วนทำให้เกิดเหตการณ์ต่างๆ ซึ่งนำมาสู่วิกฤตนิวเคลียร์ในขณะนี้” “เราจะต้องตรวจสอบการทำงานของ เทปโก้ ตั้งแต่อดีตจนกระทั่งเกิดวิกฤตครั้งนี้โดยละเอียด แต่เวลานี้จะต้องควบคุมสถานการณ์ในโรงไฟฟ้าให้ได้เสียก่อน” เจ้าหน้าที่ดับเพลิง, ตำรวจ และทหาร กำลังพยายามฉีดน้ำหล่อเตาปฏิกรณ์ที่ได้รับความเสียหาย เพื่อป้องกันไม่ให้อุณหภูมิแท่งเชื้อเพลิงสูงขึ้น และพยายามเชื่อมกระแสไฟให้ระบบหล่อเย็นกลับมาทำงานได้อีกครั้ง เทปโก้ ยอมเปิดเผยรายงานดังกล่าว หลังมีการตรวจพบสัญญาณความละเลยที่โรงไฟฟ้า คาชิวาซากิ คาริวะ ซึ่งเคยประสบปัญหาลักษณะเดียวกันจากแผ่นดินไหวปี 2007 และมีปริมาณรังสีแพร่กระจายสูงกว่าที่ เทปโก้ ยอมรับ “พวกเขายอมรายงานความจริง เพราะกลัวว่าจะเดือดร้อนถ้าไม่ทำเช่นนั้น” เจ้าหน้าที่สำนักงานความปลอดภัยด้านนิวเคลียร์อีกคนหนึ่ง กล่าว

วันอังคารที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2554

ปตท. ชี้แจงว่า โรงแยกก๊าซใหม่ ปตท. ไม่จำเป็นต้องตอกเสาเข็ม อ้างมาตรฐานระดับโลก

ปตท. ทำเอกสารชุดนี้เพื่อประชาสัมพันธ์ว่า โรงแยกก๊าซ ที่ 6 ที่ไม่ตอกเสาเข็ม เพราะดินแข็งแรงมาก คุณจะเชื่อหรือไม่ ขึ้นอยู่กับวิจารณาญาณ แต่ขอให้ดูจนถึงภาพสุดท้าย ก่อน ...
คลิ๊กขวาที่รูป เปิดในหน้าต่างใหม่ เพื่อขยายใหญ่
คลิ๊กขวาที่รูป เปิดในหน้าต่างใหม่ เพื่อขยายใหญ่
เชื่อหรือไม่ !? ค่ารับน้ำหนักของดิน 30 ตัน/ม2 ที่ใช้ในการออกแบบนั้น
แสดงถึงดินแข็งถึงแข็งมาก ควบคุมงานโดยวิศวกรที่ปรึกษาระดับโลก
สามารถสร้างถังน้ำสูงเท่าตึก 8-10 ชั้น โดยไม่ต้องตอกเสาเข็ม และไม่ทรุดเลยแม้แต่นิ้วเดียว
ตามไปดูหลากหลายความเห็นใน FACEBOOK
(1)
(2)
ASTV ผู้จัดการ - ลงข่าวเฉี่ยวไปมาเรื่องโรงแยกก๊าซเสี่ยง - สื่อที่อ้างเอาธรรมนำหน้ามาตลอด
ติดตามถาม คุณเติมศักดิ์ จารุปราณ เพราะเอาข้อมูลไปให้กับมือ มานานกว่า 2 สัปดาห์ (แต่เงียบหาย..)
ข้อคิดความเห็น ใน FACEBOOK

วันศุกร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2554

ศาลปกครอง ... ปล่อยทิ้งให้คนมาบตาพุด อยู่แบบเสี่ยงตาย! กันมา 8-9 เดือน แล้วกำลังจะทอดทิ้งไปเลยหรือไม่

วันที่ 3 มีนาคม 2554 เวลา 10.30 น. ดร.หัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล ประธานศาลปกครองสูงสุด ได้แถลงข่าวต่อสื่อมวลชน เนื่องในโอกาสครบรอบ 10 ปีศาลปกครอง ... "การเป็นตุลาการหรือการเป็นเจ้าหน้าที่ศาลจะต้องมีหลัก 4 ประการ คือ 1.ต้องมีความรู้ความสามารถ 2.ต้องซื่อสัตย์สุจริต 3.ต้องมีจุดยืนที่เป็นกลางและยึดหลักความถูกต้อง 4.ต้องมีความกล้าหาญในการพิจารณาคดี เพื่อให้คำตัดสินจะไม่เบี่ยงเบนความเป็นธรรม" - คงต้องรอดูผลของการกระทำ ... ที่จะปล่อยให้ผู้คนประชาชนเสี่ยงตายหรือไม่
หลากหลายความเห็นในสังคมโซเซี่ยลเน็ตเวิร์ค ที่เป็นไปแบบหลวมๆ -
ศาลปกครอง ... ปล่อยทิ้งให้คนมาบตาพุด อยู่แบบเสี่ยงตาย! - ทั้งนี้ การตั้งศาลปกครอง เพื่อปกป้องคุ้มครองสิทธิเส
รีภาพของประชาชนและเพื่อสร้างบรรทัดฐานที่ถูกต้องในการปฏิบัติราชการ ... คุณเชื่อแบบนั้นหรือ
ต้องมีความกล้าหาญในการพิจารณาคดี - การลำดับความสำคัญ ควรพิจารณา ผลกระทบคนส่วนใหญ่เป็นหลักก่อนมั้ย ซึ่งส่วนใหญ่คดีจะถุกพิจารณากรณีมีการเดินขบวนประท้วงก่อน ... เยีี่ยงนี้แล้ว ประเทศนี้ คงต้องยกขบวนประท้วงๆ กันเพื่อให้ศาลพิจารณา
ผมรอให้มันตูมเละ จะได้ เปิดหน้ากาก ทั้งรัฐ ทั้งสื่อ ทั้งศาล เอาให้โลกก่นด่า ประณามว่า มันเลวกันได้ทุกระบบ ... และอภัยไม่ได้ กับความสูญเสียของนักลงทุนต่างชาติ จำนวนมากในมาบตาพุด ประธานหอการค้าต่างประเทศ ทั้งหมด ผมส่งข้อมูลให้ไปนานแล้ว ... ประธานเจโทรกรุงเทพ (สมาคมนักธุรกิจญี่ปุ่น) ที่ตอบเมล์มาแบบเร่งด่วน เขารู้กันหมดแล้ว แม้สื่อเมืองไทย ที่หิวโหยแต่ค่าโฆษณา จนไม่เห็นค่าของชีวิตคน รวมทั้งไอ้สื่ออ้างธรรมนำหน้า นั่นด้วย
ทำไม ศาลท่าน ... เห็นชีวิตคนมาบตาพุดเป็นผักเป็นหญ้า ซะล่ะ แค่มลพิษท่านก้อปล่อยให้ย่ำแย่ อยู่เดิมแล้ว นี่ท่าน จะปล่อยให้เสี่ยงตาย เสี่ยงไหม้เกรียม หรือ คนที่มาบตาพุด ไม่ใช่คนไม่ใช่มนุษย์ หรือ ...
กำลังดำเนินการอยู่ ทั้งที่เรื่องนี้ ควรจะมีการช่วยกันจากหลายฝ่าย แต่หลายๆคนห่วงผลประโยชน์ทับซ้อน เรื่องปัญหาเศรษฐกิจของชาติ แต่ถ้าเกิดเหตุภัยขึ้นแล้ว มันจะเลวร้ายยิ่งกว่า เพราะกรณีนี้จะต่างกับสึนามิ เพราะมาบตาพุด เป็นพื้นที่เศรษฐกิจชาติ ถ้าโรงงานจำนวนมากวอดวาย ไปพร้อมกับความตายของผู้คนประชาชน อะไรจะเกิดขึ้นกับประเทศ มันไม่ใช่เรื่องแค่กระทบชาวบ้าน ที่ศาลจะละเลยเฉยชา สุดท้ายตุลาการไม่กี่คนจะทำให้ตุลาการทั้งศาลปกครองถูกตราหน้า จนบาปจะติดวงศ์ตระกูลไปด้วย ถ้าเกิดเหตุหายนะภัยร้าย มันมีความน่าจะเป็นสูง ไม่ใช่แค่เรื่องลางสังหรณ์ ... มีหน้าที่ตัดสินใจสุดท้าย ที่จะชี้ แต่ละเลย 8-9 เดือน ที่รั้งรอเพียงเพื่อหาข้อ กม. ใด ที่จะให้ความมักง่ายอันตรายหลุดพ้นการตรวจสอบแค่นั้นหรือ...
วันนี้ ถ้าได้ยินเสียงดังตูมตาม ซึ่งที่อื่นคิดว่าเป็นหม้อแปลงระเบิด แต่มาบตาพุด ต้องโทรเช็คข่าวกันวุ่นวาย ว่าโรงงานที่ไหนระเบิด มีเสียงรถฉุกเฉินวิ่งวุ่นหลายคัน ที่อื่นคงคิดว่ามีอุบัติเหตุ แต่มาบตาพุด ต้องโทรเช็คข่าวกันวุ่นวาย ว่าโรงงานที่ไหนก๊าซรั่ว-ระเบิด ... หรืออย่างไร - แค่เผชิญมลพิษก้อย่ำแย่เต็มทน วันนี้ยังต้องเสี่ยงตาย เสี่ยงคลังก๊าซแอลพีจี ระเบิด ... แต่ทุกส่วนทุกฝ่ายละเลยเฉยชา ... แต่ชอบอ้างว่าสนใจใส่ใจ !!
คงต้องทำอย่างมุ่งมั่น ... บนโลกใบนี้ เคยมีการแจ้งเตือนภัย มาหลายครั้ง มีทั้งคนเชื่อและคนไม่เชื่อ เรื่องที่ไม่ใช่ "กระต่ายตื่นตูม วันนี้ภาพข่าวสลดบ่อยครั้ง ที่บ้านบนภูเขาภูผาแข็งแกร่ง มันพังทลายลงมา เพราะดินสไลด์โคลนถล่ม ทั้งๆบางที่ อยู่กันมาหลายสิบหลายร้อยปี" ทุกอย่างขึ้นอยู่กับกฏ อิทัปปัจจยตา สรรพสิ่งตั้งอยู่ล้มลงดับไป ย่อมมีเหตุปัจจัยฯ
ความฝันของคนไทย ... ที่ไม่มีทางเป็นจริงได้ เมื่อ กม. มีไว้บังคับใช้ กับคนน้อยๆ คนด้อยโอกาส เท่านั้น
"ประเทศไทย ... เป็นนิติรัฐ มีนิติธรรม ขบวนการยุติธรรม รวดเร็วอิงมาตรฐานสากล เทียบเทียมนานาอารยะประเทศ มีธรรมภิบาล เสมอภาคเท่าเทียม มีมาตรฐานเดียว ไม่เลือกปฎิบัติ กล้าหาญ-อิสระต่ออำนาจทั้งปวง" !!!

วันพุธที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2554

หลักธรรมะอยู่ที่ปากพิพากษา - 9โครงการศาลปค.ยกคำขอคุ้มครองชั่วคราว

ชาวมาบตาพุดเฮ! 9โครงการศาลปค.ยกคำขอคุ้มครองชั่วคราว โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ ชาวบ้านเฮ ... เพราะจะมีโรงงานก่อมลพิษเพิ่ม ... แบบหนังสือพิมพ์ลง จริงๆ อ่ะ!!!! ศาลปกครองกลาง ถ.แจ้งวัฒนะ - นายภานุพันธ์ ชัยรัต ตุลาการหัวหน้าคณะศาลปกครองกลาง ตุลาการเจ้าของสำนวนคดีหมายเลขดำที่ 422/2553 มีคำสั่งให้ยกคำร้องที่สมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน และนายสุทธิ อัชฌาศัย แกนนำเครือข่ายประชาชนภาคตะวันออก กับพวกรวม 35 คน ซึ่งเป็นชาวบ้านพื้นที่มาบตาพุด จ.ระยอง ขอให้ศาลกำหนดมาตรการคุ้มครองชั่วคราวก่อนการพิพากษา ในคดีที่สมาคม ฯ ยื่นฟ้องสำนักนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) , คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ , อธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ , รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม , คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน , รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน , อธิบดีกรมเจ้าท่า , การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และอธิบดีกรมชลประทาน ผู้ถูกฟ้องที่ 1-9 เรื่องเป็นหน่วยงานทางปกครองเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายและละเลยต่อการทำหน้าที่ ตามที่กฎหมายกำหนด หรือปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าเกินสมควร กรณีที่ผู้ถูกฟ้องทั้ง 9 ร่วมกันออกคำสั่งโดยไม่ถูกต้องตามขั้นตอน ตามที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ปี 2550 กำหนดไว้ในมาตรา 67 วรรคสอง ซึ่งผู้ถูกฟ้องทั้ง 9 ให้ความเห็นชอบและอนุญาตให้ดำเนินโครงการหรือกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง
ทั้งด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อมทรัพยากรธรรมชาติ และสุขภาพในพื้นที่มาบตาพุด บ้านฉาง จ.ระยอง อย่างต่อเนื่องจำนวน 9 โครงการ ซึ่งเป็นโครงการขนาดใหญ่ของอุตสาหกรรมปิโตรเคมี อุตสาหกรรมเหล็ก อุตสาหกรรมผลิตกระแสไฟฟ้าและถ่านหินและก๊าซ การสร้างท่าเทียบเรือและการทำเหมืองแร่ ที่ทำให้เกิดปัญหากระทบต่อสภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ และสุขภาพของประชาชน จึงขอให้มีคำพิพากษาให้ สผ. ผู้ถูกฟ้องที่ 1 เพิกถอนรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมหรือ EIA ของโครงการหรือกิจกรรมที่อยู่ในพื้นที่จ.ระยองที่ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการผู้ชำนาญการฯ แล้ว โดยให้นำกลับมาดำเนินการให้ครบถ้วนตามรธน. ปี50 มาตรา 67 วรรคสอง และ พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550 และขอให้ยุติการรับเรื่องหรือรายงาน EIA ของผู้ประกอบการใดๆส่งมาให้พิจารณาไว้เป็นการชั่วคราวจนกว่าผู้ประกอบการทุกรายจะได้ดำเนินการให้ครบถ้วนตามรธน.ฯ แล้ว , ขอให้ผู้ถูกฟ้องทั้ง 9 เพิกถอนใบอนุญาตรวมทั้งระงับการดำเนินกิจกรรมใดๆ ของโครงการหรือกิจกรรมที่เข้าข่ายเป็นโครงการหรือกิจกรรมที่ได้จัดทำรายงาน EIA ที่อยู่ในพื้นที่ จ.ระยอง ซึ่งอาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง ที่ผู้ถูกฟ้องทั้ง 9 ได้เห็นชอบอนุญาตไปแล้ว เพื่อนำกลับมาดำเนินการให้ครบถ้วนตามรธน.ฯ และพ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติฯ และขอให้ผู้ถูกฟ้องทั้ง 9 สั่งผู้ประกอบการหรือเจ้าของโครงการ หรือกิจกรรม กลับไปดำเนินการตามรธน. และพ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติฯ ให้ถูกต้องโดยให้ศึกษาและประเมินผลกระทบด้านสุขภาพหรือ HIA ของประชาชนในชุมชน ที่โครงการหรือกิจกรรมนั้นไปก่อตั้งตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมเห็นชอบ จัดให้มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็น ของประชาชนอย่างทั่วถึงและรอบด้าน ตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกำหนด และให้องค์กรอิสระที่มีผู้แทนองค์การเอกชนด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ สถาบันอุดมศึกษาที่จัดการศึกษาด้านสิ่งแวดล้อมให้ความเห็นประกอบก่อนมีการดำเนินการ โดยผู้ฟ้องทั้ง 35 คน ขอให้ศาลมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวก่อนคำพิพากษา ให้สั่งผู้ถูกฟ้องทั้ง 9 หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องระงับโครงการไว้ก่อนจนกว่าจะได้ดำเนินการตามรธน.ฯ มาตรา 67 วรรคสอง ให้ครบถ้วน ตามเจตนารมณ์ของ รธน. ฯ.และพ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ ฯ ให้ถูกต้องเสียก่อน ซึ่งศาลได้ไต่สวนคู่ความทั้ง 2 ฝ่ายแล้วเห็นว่า ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า การที่ผู้ฟ้องอ้างว่าจะได้รับความเดือดร้อนเสียหายจากโครงการหรือกิจกรรมตามคำฟ้องนั้น ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า ผู้ฟ้องได้จัดส่งแผนที่แสดงที่ตั้งที่พักอาศัยของผู้ฟ้องให้ศาลเพียง 23 ราย ซึ่งข้อเท็จจริงตามรายละเอียดของโครงการหรือกิจกรรมหรือแผนที่แสดงที่ตั้ง ตามฟ้องแสดงให้เห็นว่า มี 4 โครงการ ประกอบด้วย โครงการเหมืองแร่ชนิดแร่ทรายแก้ว ตั้งอยู่ ต.ซากพง อ.แกลง จ.ระยอง โครงการโรงงานผลิตเหล็กเส้น ตั้งอยู่ อ.มาบข่า อ.นิคมพัฒนา จ.ระยอง โครงการอ่างเก็บน้ำห้วยโสมง ตั้งอยู่ ต.แก่งดินสอ อ.นาดี จ.ปราจีนบุรี และโครงการด้านโรงไฟฟ้าพลังความร้อน โรงงานไทยเนชั่นแนล พาวเวอร์ ตั้งอยู่ในเขตประกอบการสยามอีสเทิร์นอินดัสเตรียลพาร์ค ต.มาบยางพร อ.ปลวกแดง จ.ระยอง ตั้งอยู่ในพื้นที่จังหวัดอื่น อำเภออื่น ไม่ได้อยู่ใกล้กับที่ตั้งที่พักอาศัยของผู้ฟ้อง 23 ราย ขณะที่บางโครงการใน 4 โครงการดังกล่าวจะต้องได้รับใบอนุญาตประกอบโลหกรรม ตามพ.ร.บ.แร่ พ.ศ.2510 แต่ในปัจจุบันยังไม่ได้มีการยื่นคำขอใบอนุญาตประกอบโลหกรรมต่อเจ้าพนักงานอุตสาหกรรมแร่ในท้องถิ่น นอกจากนี้ยังพบว่ามี 2 โครงการที่อยู่ระหว่างดำเนินการ โดยยังไม่ได้ประกอบกิจการ คือโครงการท่าเทียบเรือขนถ่ายสินค้าเหลว บริเวณชายหาดหนองแฟบ ต.มาบตาพุด จ.ระยอง ที่เป็นโครงการก่อสร้างท่าเทียบเรือขนาดเกินกว่า 500 ตันกรอสส์ และยังไม่ได้ยื่นขออนุญาตสร้างสิ่งล่วงล้ำลำน้ำต่ออธิบดีกรมเจ้าท่าผู้ถูกฟ้องที่ 7 เนื่องจากสำนักงานนโยบายและแผนธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ยังไม่เห็นชอบรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม โดยแจ้งให้ปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมรายละเอียด และให้นำเสนอเพื่อดำเนินการตามขั้นตอน พ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 และโครงการโรงไฟฟ้าพลังความร้อนของบริษัทเก็คโค-วัน จำกัด ตั้งอยู่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด อ.เมือง จ.ระยอง ปัจจุบันก็อยู่ระหว่างการก่อสร้าง โดยดำเนินการก่อสร้างแล้วร้อยละ 55 ของโครงการทั้งหมด ขณะที่พบว่ามีโครงการเข้าข่ายมีการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดในโครงการเดิม รวม 3 โครงการ คือโครงการโรงงานผลิต Purified Terephathalic Acid ( PTA ) ตั้งอยู่นิคมอุตสาหกรรมเอเซีย อ.บ้านฉาง จ.ระยอง เป็นโครงการที่ปรับปรุงระบบน้ำปราศจากแน่ธาตุ เพื่อนำน้ำที่ผ่านการใช้งานมาแล้วปรับปรุงคุณภาพให้หมุนเวียนกลับมาใช้ได้ใหม่ , โครงการโรงงานผลิตอีทอกซิเลท ตั้งอยู่นิคมอุตสาหกรรมตะวันออกมาบตาพุด อ.เมือง จ.ระยอง ที่ขอเปลี่ยนแปลงพื้นที่โครงการจากเดิม 10 ไร่ หรือ 16,000 ตารางเมตรเป็น 12 ไร่ 19,200 ตารางเมตร เพื่อให้สอดคล้องกับข้อเท็จจริงในสัญญาเช่าที่ดิน และขอปรับเปลี่ยนสัดส่วนของการใช้วัตถุดิบหลัก หรือการเติมสารเคมีเพื่อให้หยุดปฏิกิริยาไม่ทำให้กำลังการผลิตโดยรวมเพิ่มขึ้น และไม่ได้มีการปล่อยทิ้งอากาศเสียที่เกิดจากการทำปฏิกิริยาของสารเคมีดังกล่าว ออกสู่บรรยากาศ แต่จะนำอากาศเสียทั้งหมดเข้าสู่ระบบกำจัดอากาศเสียที่เป็นระบบปิด และโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนร่วม 640 เมกกะวัตต์ของบริษัท โกลว์ เอสพีพี 3 จำกัด ตั้งอยู่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด อ.เมือง จ.ระยอง ที่ได้ขอเปลี่ยนแปลงหน่วยผลิต CFB 1 ถึง CFB3 จากที่กำหนดให้ใช้ถ่านหินบิทูมินัสแต่เพียงอย่างเดียวเป็นเชื้อเพลิง ก็ให้สามารถใช้เชื้อเพลิงชีวะมวลจากเศษไม้สับท่อน เช่น เศษไม้จากยูคาลิปตัส และไม้ทางเศรษฐกิจอื่นๆได้ด้วย เพื่อเป็นการส่งเสริมให้มีการใช้เชื้อเพลิงทดแทน โดยจะมีการควบคุมระบายอากาศเสียที่ปล่อยทิ้งจากปล่อง มีการติดตั้งจอแสดงผลตรวจวัดคุณภาพอากาศแบบต่อเนื่อง จากข้อเท็จจริงดังกล่าวยังฟังไม่ได้ว่ามีเหตุเพียงพอที่จะนำวิธีการคุ้มครองมาใช้ได้ และยังฟังไม่ได้ว่าผู้ฟ้องจะได้รับความเสียหายต่อเนื่องจากการกระทำนั้น จึงมีคำสั่งให้ยกคำขอคุ้มครองชั่วคราวของผู้ฟ้องดังกล่าว