วันอังคารที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2553

นายอภิสิทธิ์ กับระบบเตือนภัย การแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ

นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องเร่งชี้แจงทำความเข้าใจกับองค์กรเอกชนหลังออกมาประกาศชุมนุมเคลื่อนไหวทั่วประเทศในวันที่ 10กันยายน เพื่อคัดค้านการประกาศประเภท 11 กิจการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบรุนแรงต่อชุมชน โดยรัฐบาลพร้อมที่จะเจรจากับตัวแทนภาคประชาชน เพราะไม่ต้องการให้มีการชุมนุมตามที่ประกาศไว้

นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า หลักเกณท์ที่ได้ประกาศออกมานั้นบางเรื่องก็มีความเข้มงวดมากขึ้น ขณะที่บางเรื่องก็มีการผ่อนปรน แต่การดำเนินการดังกล่าวของรัฐบาลไม่ได้เป็นการเอื้อประโยชน์ให้กับ บมจ.ปูนซิเมนต์ไทย(SCC) หรือ บมจ.ปตท.(PTT) ตามที่ได้มีการกล่าวหา และหลังรัฐบาลได้ออกประกาศเรื่องดังกล่าวแล้วทำให้บรรยากาศการลงทุนในพื้นที่มีสัญญาณที่ดีขึ้น

ทั้งนี้ รัฐบาลต้องการให้ภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา เช่น การวางระบบเตือนภัย การวางระบบตรวจสอบสารพิษ ความพร้อมในการกู้ภัยหากมีกรณีฉุกเฉินเกิดขึ้น ตลอดจนการหาข้อยุติเรื่องความสามารถที่จะรองรับการลงทุนในพื้นที่ซึ่งถือเป็นเรื่องสำคัญ

ป้ายนี้ ติดหน้าศูนย์ราชการ ระยอง ตลอดการชุมนุมของ เครือข่ายภาคตะวันออก

ผู้คนประชาชนผ่านทางรับรู้ นักข่าว-สื่อมวลชนต่างๆ ร่วมรับรู้แล้ว

ยังไม่มีภาคส่วนใด ออกมายืนยันว่า มันจะไม่เกิด มีแต่จะทำระบบเตือนภัยหนีภัยอพยพ - โครงการแล้วเสร็จแบบมักง่าย ที่อ้างว่ามาตรฐานสูง อนุมัติ-ออกแบบ ถูกต้องตาม กม. แต่ก่อสร้างไม่แข็งแรง รอวันทรุดพัง ความเสี่ยงกับหายนะภัยของผู้คนประชาชนที่ฝากไว้กับความแข็งหรืออ่อนของดิน-พายุฝนลมแรง

ไม่มีหน่วยงานรัฐใดสนใจตรวจสอบ-ติดตาม-สร้างเสริมให้แข็งแรง แต่คงจะดันทุรังสร้างความเสี่ยงให้กับประเทศชาติ อ้างว่าความล่าช้า จะส่งผลกระทบให้ก๊าซหุงต้ม-น้ำมัน แพง

เครือข่าย ปชช.ฟ้องศาล ปค.ร้องเพิกถอน 11 ประเภทกิจการรุนแรง

นายสุทธิ อัชฌาศัย ผู้ประสานเครือข่ายประชาชนภาคตะวันออก พร้อมด้วยนายศรีสุวรรณ จรรยา นายกสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน พร้อมด้วยตัวแทนเครือข่ายประชาชนภาคตะวันออกจำนวนหนึ่ง ได้ยื่นฟ้องต่อศาลปกครองสูงสุด ขอเพิกถอนประกาศของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่องประเภทโครงการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง 11 ประเภท เนื่องจากเห็นว่าการออกประกาศกิจการรุนแรงขัดมาตรา 67 วรรค 2 ของรัฐธรรมนูญ ปี 2550 โดยการยื่นฟ้องในครั้งนี้เป็นการฟ้องจำนวน 4 ราย ประกอบด้วย คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม คณะรัฐมนตรี และนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นบุคคลที่มีส่วนในการออกประกาศดังกล่าว ทั้งที่ได้มีการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนทั่วประเทศแล้ว ว่าควรจะมี 18 ประเภทกิจการรุนแรง และทางเครือข่ายฯ ได้ยื่นให้รัฐบาลทบทวนเรื่องดังกล่าว แต่กลับถูกเพิกเฉย จึงต้องดำเนินการฟ้องร้องต่อศาลปกครองสูงสุด และจะต่อสู้จนถึงกระบวนการของศาลรัฐธรรมนูญ นอกจากนี้ ยังเรียกร้องให้นายอานันท์ ปันยารชุน ประธานคณะกรรมการ 4 ฝ่าย ทบทวนบทบาทของตัวเอง เนื่องจากนายอานันท์ไม่ทำตามเสียงส่วนใหญ่ ในการคัดค้านการออกประเภทกิจการรุนแรงของรัฐบาล แต่กลับมีท่าทีเห็นด้วยกับมติดังกล่าว จึงตั้งข้อสังเกตว่า นายอานันท์ และรัฐบาล อาจมีผลประโยชน์ร่วมกัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น