วันพฤหัสบดีที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2553

ชาวบ้านร้องไห้ ต้องลุยอย่างหนัก กันต่อ คดีมาบตาพุด

ชาวบ้านร้องไห้ ต้องลุยอย่างหนัก กันต่อ คดีมาบตาพุด ร้องไห้เสียใจ แถมแฉโพย ความมักง่าย ภาคอุตสาหกรรม เสี่ยงหายนะภัย ที่โรงแยกก๊าซใหม่ ของ ปตท. ไม่ตอกเสาเข็มเสี่ยงทรุดพังระเบิด - กลับถูกจัดฉากให้ชูมือ ทั้งๆที่คราบน้ำตายังไม่แห้ง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังศาลที่ได้อ่านคำพิพากษาเสร็จสิ้นชาวมาตาพุดที่เดินทางมาร่วมรับฟังกว่า 300 คน "หลายคนถึงขนาดหลั่งน้ำตาด้วยความดีใจ" ขณะที่นาย สุทธิ อัชฌาสัย ผู้ประสานงานเครือข่ายภาคตะวันออก กล่าวภายหลังศาลอ่านคำพิพากษาว่า ถ้ายึดตามประกาศกระทรวงทรัพย์ฯ ทั้ง 76 โครงการที่ยื่นฟ้องน่าที่จะหลุดทั้งหมด เท่าที่จำได้มีเพียง 8 โครงการเท่านั้น น่าจะอยู่ในข่ายต้องเพิกถอนเพิกถอนใบอนุญาตใ ซึ่งขอศึกษารายละเอียดข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายประมาณ 2 สัปดาห์ เพื่อยื่นอุทธรณ์ของศาลปกครองสูงสุด ว่าจะมีประเด็นใดบ้างแล้วจะสามารถยื่นขอเพิกถอนประกาศของกระทรวงทรัพยากรฯที่อนุญาต 11 โครงการนี้ได้หรือไม่
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 2 กันยายน 2553 19:19 น.
ศาลปกครอง พิพากษาสั่งเพิกถอนใบอนุญาตประกอบกิจการมาบตาพุด โดยให้เป็นไปตามประกาศ คกก.สิ่งแวดล้อมที่กำหนด 11 ประเภทโครงการรุนแรง จึงสั่งเพิกถอนใบอนุญาต 2 กิจการที่มีปัญหาและขัดต่อกฏหมาย พร้อมให้ไปดำเนินการศึกษาใหม่ แล้วค่อยนำกลับมาพิจารณาอีกครั้ง ด้าน “สุทธิ”เตรียมยื่นอุทธรณ์ พร้อมพ่วงประเด็นประกาศ 11 ประเภทโครงการรุนแรง ไม่ชอบ
วันนี้ ( 2 ก.ย.) ศาลปกครองกลาง มีคำพิพากษาสั่งเพิกถอนใบอนุญาตที่ออกให้แก่โครงการหรือกิจกรรมในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จ.ระยอง ที่ถูกกำหนดให้เป็นประเภทโครงการหรือกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบ ต่อชุมชนอย่างรุนแรง ทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพโดยให้เป็นไปตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดประเภท ขนาดและวิธีปฏิบัติสำหรับโครงการหรือกิจการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง ทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพ ที่ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือเอกชน จะต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2535 ฉบับลงวันที่ 31 ส.ค.53 ซึ่งดำเนินการไม่ครบถ้วนตามมาตรา 67 วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญ โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่มีคำพิพากษานี้ ทั้งนี้ คำพิพากษาดังกล่าวสืบเนื่องมาจากสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อนและชาวมาตาพุดจำนวน 43 รายยื่นฟ้อง คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ เลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รมว.อุตสาหกรรม รมว.พลังงาน รมว.คมนาคม รมว.สาธารณสุข และการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ว่า ร่วมกันออกใบอนุญาตให้โครงการอุตสาหกรรมในเขตพื้นที่จ.ระยอง โดยไม่ชอบตามมาตรา 67 ของรัฐธรรมนูญ ส่วนเหตุที่ศาลมีพิพากษาดังกล่าว ระบุว่า ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยมีว่า ผู้ถูกฟ้องทั้ง 8 ละเลยต่อหน้าที่ ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าเกินสมควรหรือไม่ เห็นว่าการที่ครม.ซึ่งเป็นผู้มีอำนาจหน้าที่ดำเนินการจัดทําหรือปรับปรุงกฎหมายตามบทเฉพาะกาลของรัฐธรรมนูญ และกำหนดประเภทโครงการหรือกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงทั้งทางด้านสิ่งแวดล้อมทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพ แต่กลับยังไม่ดำเนินการนั้น จึงถือว่า ผู้ถูกฟ้องคดีทั้ง8 มิได้ละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร ประเด็นที่ 2 การที่ผู้ถูกฟ้องคดีทั้ง8 กระทำการร่วมกันให้ความเห็นชอบ อนุมัติ หรืออนุญาต ให้โครงการหรือกิจกรรมทั้ง 76 โครงการ โดยมิได้ดำเนินการตามมาตรา67 วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญ เป็นการกระทำโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เห็นว่า บทบัญญัติในมาตรา 67 รับรองสิทธิขั้นพื้นฐานทางด้านสิ่งแวดล้อม ที่สำคัญของปวงชนชาวไทย คือ สิทธิในสิ่งแวดล้อมที่ดี ได้แก่ สิทธิในการดํารงชีพอยู่ได้อย่างปกติและต่อเนื่องในสิ่งแวดล้อมที่จะไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพอนามัย สวัสดิภาพ หรือคุณภาพชีวิตของตน และสิทธิในธรรมชาติ ได้แก่ สิทธิในการมีส่วนรวมในการอนุรักษา บํารุงรักษา และการได้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพ โดยบัญญัติกระบวนการทางกฎหมายขึ้นมาเพื่อคุ้มครองและรับรองสิทธิดังกล่าว คือ ห้ามดําเนินโครงการหรือกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิด ผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง ฯแต่บัญญัติยกเว้นให้ดำเนินโครงการหรือกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงได้ เฉพาะภายใต้กระบวนการต่อไปนี้ คือ การศึกษาและประเมินผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชนในชุมชน จัดให้มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสีย และการให้องค์การอิสระให้ความเห็นประกอบก่อนมีการดําเนินการดังกล่าว และกำหนดสภาพบังคับ ด้วยการรับรองสิทธิของชุมชนที่จะฟ้องหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจราชการส่วนท้องถิ่น หรือองค์กรอื่นของรัฐที่เป็นนิติบุคคลต่อศาลปกครองเพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามบทบัญญัติดังกล่าว ดังนั้น หน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐจึงต้องผูกพันโดยตรงในการตรากฎหมาย การใช้บังคับกฎหมาย และการตีความกฎหมาย เพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์และบทบัญญัติของมาตรา 67 ประกอบกับมาตรา 28 คือ หน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่มีอำนาจตามกฎหมายเฉพาะ จะออกใบอนุญาตให้โครงการหรือกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง ทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพ มิได้ เว้นแต่จะได้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ของบทบัญญัติมาตรา 67 วรรคสอง ครบถ้วนแล้ว ซึ่งถือเป็นมาตรการป้องกันเพื่อมิให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมขึ้นในอนาคต มิได้มีเจตนารมณ์ให้ออกใบอนุญาตแก่โครงการหรือกิจกรรมที่อาจส่งผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงก่อนเป็นรายโครงการแล้วใช้หลักการควบคุมหรือหลักการเยียวยาหากเกิดความเสียหายขึ้นในภายหลัง เนื่องจากหลักการควบคุมหรือหลักการเยียวยา ไม่ใช่เจตนารมณ์ของบทบัญญัติมาตรา 67วรรคสอง และไม่ใช่หลักประกันที่มีประสิทธิภาพที่สุดในการคุ้มครองสิทธิการดำรงชีพอยู่ได้อย่างปกติและต่อเนื่องในสิ่งแวดล้อมที่จะไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพอนามัย สวัสดิภาพหรือคุณภาพชีวิตของประชาชน เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า หน่วยงานของรัฐและเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้อง ได้จัดทำร่างกำหนดประเภทโครงการหรือกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพ มาตั้งแต่เมื่อมีการประกาศใช้บังคับรัฐธรรมนูญ แต่ไม่ได้ข้อยุติร่วมกัน ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ทุกฝ่ายมีความเห็นตรงกันว่าจะต้องดำเนินการกำหนดประเภทโครงการหรือกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง ทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อมทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพขึ้นมาก่อน และในทางวิชาการสามารถกระทำได้ ซึ่งตามหลักการปฏิบัติราชการเพื่อรักษาประโยชน์ส่วนรวม กรณีที่ไม่มีกฎหมายกำหนดรายละเอียดเรื่องใดไว้ในขณะปฏิบัติราชการ จะต้องใช้ดุลพินิจนำกฎหมายที่ใกล้เคียงมาใช้ในการปฏิบัติราชการ เพื่อไม่ให้เกิดช่องว่างในการใช้บังคับกฎหมายเพื่อรักษาประโยชน์ส่วนรวม การที่ผู้ถูกฟ้องคดีได้ออกใบอนุญาตให้แก่โครงการหรือกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพ โดยยังดำเนินการไม่ครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ของบทบัญญัติมาตรา67 วรรคสอง จึงเป็นการปฏิบัติราชการที่ขัดต่อกฎหมายและไม่เป็นไปเพื่อรักษาประโยชน์ส่วนรวม อันเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย สำหรับประเด็นที่สาม การออกใบอนุญาตให้แก่โครงการหรือกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพ โดยไม่ชอบด้วยบทบัญญัติมาตรา 67วรรคสอง มีผลอย่างไรหรือไม่ เพียงใด เห็นว่า เจ้าของโครงการหรือกิจกรรมและบุคคลภายนอกที่กระทำการโดยสุจริต สมควรต้องได้รับการคุ้มครองตามหลักคุ้มครองความเชื่อถือไว้วางใจของประชาชนต่อรัฐ หากศาลมีคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตดังกล่าวย้อนหลังไปนับตั้งแต่วันที่ผู้ถูกฟ้องคดี ออกใบอนุญาตย่อมไม่สมเหตุสมผล เนื่องจากจะเกิดความเสียหายและส่งผลกระทบต่อประโยชน์ของเจ้าของโครงการหรือกิจกรรมและบุคคลภายนอกที่มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันในด้านการเงิน การพาณิชยกรรม การอุตสาหกรรม และการลงทุนของประเทศอย่างกว้างขวาง ดังนั้น สมควรมีคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตเฉพาะที่ได้ออกภายหลังการใช้บังคับรัฐธรรมนูญ ให้แก่โครงการหรือกิจกรรมที่ถูกกำหนดให้เป็นโครงการหรือกิจกรรม ที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง ทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพ ซึ่งมิได้ดำเนินการตามบทบัญญัติมาตรา 67 วรรคสอง โดยศาลปกครองมีอำนาจกำหนดคำบังคับว่า จะให้การเพิกถอนมีผลย้อนหลังหรือไม่ย้อนหลัง หรือมีผลไปในอนาคตถึงขณะใดขณะหนึ่งได้ หรือจะกำหนดให้มีเงื่อนไขอย่างใดก็ได้ ทั้งนี้ ตามความเป็นธรรมแห่งกรณี ทั้งนี้รายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการหรือกิจกรรม ทั้ง 76 โครงการที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมที่ได้จัดทำขึ้นตามสาระสำคัญ ที่กำหนดไว้ในประกาศกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ลงวันที่ 24 ส.ค.35 ลงวันที่ 9ก.ย.35 ลงวันที่ 22 ม.ค.39 และลงวันที่ 19 มิ.ย.43 นั้น แม้จะมีสาระสำคัญแตกต่างจากประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ลงวันที่ 29 ธ.ค.52 บางประการ แต่ก็อยู่ในวิสัยที่จะจัดทำเพิ่มเติมในสาระสำคัญที่แตกต่างกันได้ ดังนั้น เมื่อมีการกำหนดประเภทโครงการหรือกิจการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง ฯ ตามมาตรา 67 วรรคสอง แล้ว หากทั้ง 76 โครงการ ที่ได้รับใบอนุญาตถูกกำหนดเป็นโครงการหรือกิจการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงฯ มาตรา67วรรคสอง ก็ให้ดำเนินการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมเพิ่มเติมเฉพาะสาระสำคัญที่แตกต่างกัน โดยไม่ต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมขึ้นใหม่ทั้งฉบับ ประเด็นที่4 สมควรระงับโครงการหรือกิจกรรมตามเอกสารท้ายคำฟ้องซึ่งได้รับใบอนุญาตและถูกกำหนดให้เป็นประเภทโครงการหรือกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงฯโดยยังดำเนินการไม่ครบถ้วนตามบทบัญญัติมาตรา 67วรรคสอง หรือไม่ เพียงใด เห็นว่า หากปล่อยให้ 76 โครงการที่ถูกกำหนดให้เป็นโครงการประเภท ที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงฯ แต่ยังมิได้ ดำเนินการให้ครบถ้วนตามบทบัญญัติมาตรา 67 วรรคสองดำเนินการต่อไป ย่อมจะทำให้เกิดความเสียหายต่อชุมชน คุณภาพสิ่งแวดลอม ทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพในพื้นที่มาบตาพุดและพื้นที่ต่อเนื่อง ประกอบกับรัฐสภาและฝ่ายบริหารยังไม่ดำเนินการตามพ.ร.บ.หรือระเบียบให้เป็นไปตามมาตรา 67 ให้ครบถ้วนและที่ผ่านมาหน่วยงานรัฐ เจ้าหน้าที่รัฐ ผู้ประกอบการ ในพื้นที่ก็ไม่ปฏิบัติตามกฎหมายการบริหารงานขาดธรรมาภิบาล จึงไม่มีหลักประกันที่จะทำให้เชื่อมั่นได้ว่าการพัฒนาอุตสาหกรรมในพื้นที่มาบตาพุดที่จะดำเนินการต่อไปจะไม่ส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน เหมือนเช่นที่ผ่านมาและทุกฝ่ายจะเคารพต่อสัญญาประชาคมที่ได้ทำไว้กับประชาชน จึงจำเป็นต้องให้โครงการหรือกิจกรรมที่ถูกกำหนด ว่า อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงฯ ซึ่งได้รับใบอนุญาตและยังดำเนินการครบถ้วนตามาตรา 67 ระงับการดำเนินกิจการไว้ก่อน แม้การระงับจะส่งผลกระทบและเกิดความเสียหายขึ้น แต่กรณีเป็นความรับผิดชอบโดยตรงของผู้ถูกฟ้องคดีที่มิได้ดำเนินการตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ และการที่มาตรา 27 ของรัฐธรรมนูญบัญญัติให้การปฏิบัติหน้าที่ของรัฐสภ่า ครม. ศาล รวมทั้งองค์กรตามรัฐธรรมนูญ หน่วยงานของรัฐต้องเป็นไปตามหลักนิติธรรม เพื่อคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ ที่รัฐธรรมนูญรับรองไว้โดยชัดแจ้ง ทั้งนี้ ศาลปกครองจึงต้องผูกพันในการทำหน้าที่เพื่อคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนและรักษาประโยชน์ส่วนรวม โดยหยุดยั้งความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อชุมชน คุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพของประชาชนในพื้นที่มาบตาพุดและพื้นที่ต่อเนื่องไม่ให้ความเสียหายเพิ่มมากขึ้นและขยายตัวออกไป เพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมสำหรับคนรุ่นต่อไปในอนาคต ตามหลักการพัฒนาที่ยั่งยืน เกิดความสมดุลของการพัฒนาในพื้นที่ระหว่างการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์และการประกอบกิจกรรมที่หลากหลายให้สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างปกติสุข และเพื่อให้การปฏิบัติราชการมีความสอดคล้องกับแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐด้านการบริหารราชการแผ่นดิน การพัฒนาสังคม เศรษฐกิจ และความมั่นคงของประเทศ การดำเนินการตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และคำนึงถึงผลประโยชน์ของประเทศชาติในภาพรวมเป็นสำคัญ โดยให้ผู้ที่เกี่ยวข้องดำเนินการ ให้ครบถ้วนตามบทบัญญัติมาตรา 67วรรคสอง ซึ่งจะทำให้การพัฒนาอุตสาหกรรมในพื้นที่มาบตาพุดและพื้นที่ต่อเนื่องซึ่งเป็นแหล่งประกอบกิจการอุตสาหกรรมหนักที่ใหญ่ที่สุดของประเทศสามารถเจริญเติบโตต่อไปอย่างมีเสถียรภาพภายใต้บทบัญญัติของกฎหมายตามหลักนิติธรรมและตามหลักธรรมาภิบาล ตลอดจนเป็นหลักประกันให้สังคมไทยเกิดความเชื่อมั่นต่อการบังคับใช้กฎหมาย เพื่อดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนและเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน และเพื่อให้นักลงทุนในประเทศและต่างประเทศที่ประสงค์จะประกอบกิจการในประเทศไทยด้วยความรับผิดชอบภายใต้หลักคุณธรรม หลักจริยธรรม และหลักธรรมาภิบาล เกิดความเชื่อมั่นต่อแนวนโยบายพื้นฐานของรัฐตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย จึงสมควรเพิกถอนใบอนุญาตที่ออกให้แก่โครงการหรือกิจกรรมที่ถูกกำหนดให้เป็นประเภทโครงการหรือกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงฯ ตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ลงวันที่ 31ส.ค.53 ซึ่งดำเนินการไม่ครบถ้วนตามมาตรา 67 วรรคสอง โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษา อย่างไรก็ตาม ศาลยังมีคำสั่งให้คำสั่งกำหนดมาตรการบรรเทาทุกข์ชั่วคราวก่อนการมีคำพิพากษาของศาลปกครองกลาง ลงวันที่ 29ก.ย.52 ซึ่งแก้ไขโดยคำสั่งศาลปกครองสูงสุด ที่ 592 /2552 ลงวันที่ 2 ธ.ค. 52 เป็นอันสิ้นสุดลง นับแต่วันที่มีคำพิพากษานี้ เว้นแต่โครงการหรือกิจกรรมประเภทที่อาจก่อนให้เกิดผลกระทบรุนแรง และยังไม่ดำเนินการตามมาตรา 67 ยังคงอยู่ในบังคับคำสั่งของมาตรการบรรเทาทุกข์ชั่วคาวก่อนมีคำพิพากษาจนกว่าคดีจะถึงที่สุด หรือศาลปกครองสูงาสุดจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังศาลที่ได้อ่านคำพิพากษาเสร็จสิ้นชาวมาตาพุดที่เดินทางมาร่วมรับฟังกว่า 300 คนหลายคนถึงขนาดหลั่งน้ำตาด้วยความดีใจ ขณะที่นาย สุทธิ อัชฌาสัย ผู้ประสานงานเครือข่ายภาคตะวันออก กล่าวภายหลังศาลอ่านคำพิพากษาว่า ถ้ายึดตามประกาศกระทรวงทรัพย์ฯ ทั้ง 76 โครงการที่ยื่นฟ้องน่าที่จะหลุดทั้งหมด เท่าที่จำได้มีเพียง 8 โครงการเท่านั้น น่าจะอยู่ในข่ายต้องเพิกถอนเพิกถอนใบอนุญาตใ ซึ่งขอศึกษารายละเอียดข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายประมาณ 2 สัปดาห์ เพื่อยื่นอุทธรณ์ของศาลปกครองสูงสุด ว่าจะมีประเด็นใดบ้างแล้วจะสามารถยื่นขอเพิกถอนประกาศของกระทรวงทรัพยากรฯที่อนุญาต 11 โครงการนี้ได้หรือไม่

1 ความคิดเห็น:

  1. ให้กำลังใจในการต่อสู้ของชาวมาบตะพุด คงต้องต่อสู้กับกลุ่มมหาอมตะทุนที่ถาโถมลงที่มาบตะพุดไปอีกนาน ตราบใดที่ข้าราชการและรัฐยังอ่อนแอกว่านายทุน

    ตอบลบ