เมื่อวานนี้ 24 กันยายน 10.50 น. ที่ศาลปกครองระยอง คุณศรัลย์ ธนากรภักดี ผู้ประสานกลุ่มพิทักษ์อากาศสดชื่น มาบตาพุด ได้นำคำขออุทธรณ์คำสั่ง ไปร้องต่อศาล กรณีไม่รับฟ้องคดีโรงแยกก๊าซใหม่ ปตท. เสี่ยง ไม่ตอกเสาเข็มทั้งหมด โดยให้ความเห็นว่า บ้านเมืองนี้ เป็นนิติรัฐ ที่ควรจะแก้ไขปัญหาสาธารณะต่างๆ ด้วยวิธีทางกฎหมาย ทางศาล กรณีสร้างโรงงานไม่แข็งแรง ซึ่งอีกไม่นานประเทศนี้ จะมีโรงงานเสี่ยงหลายร้อยหลายพันโรง ไม่ตอกเสาเข็มฐานราก ลอกเลียนตาม ปตท. จนอีกหน่อยจะไม่ต่างกับป้ายโฆษณาขนาดใหญ่ แม้อนุมัติถูกต้องตาม กม. แต่ไม่แข็งแรง รอทรุดพังทับผู้คนและบ้านเรือนใกล้เคียง ซึ่งขณะนี้มีมากมาย แต่ไม่ค่อยเข้มข้นที่จะตรวจสอบ เสริมสร้างให้แข็งแรง
บางส่วนของ การอุทธรณ์ คดี การอนุมัติและการดำเนินการก่อสร้าง 3 โครงการขนาดใหญ่ ของ ปตท. ที่มีความเสี่ยงสูงจะก่อหายนะภัย ในพื้นที่มาบตาพุด ระยอง ซึ่งการก่อสร้างไม่แข็งแรงมั่นคง โดยไม่ตอกเสาเข็มฐานรากทั้งโรงงาน แม้สร้างบนพื้นที่ปรับถมใหม่ ซึ่งการทรุดพังของโครงสร้างต่างๆ จะทำให้เกิดการรั่วไหลของก๊าซไวไฟหรือสารเคมีอันตราย เพราะมีคลังก๊าซแอลพีจีจำนวนมหาศาล ถ้าควบคุมไม่ได้เกิดไฟไหม้ระเบิดลุกลามไปยังโรงงานอื่นๆ จำนวนมาก จะมีผลกระทบร้ายแรงกับชีวิตประชาชน ชุมชน และสภาวะแวดล้อม ได้นำเสนอฟ้องมายังศาลปกครอง ระยอง และไม่รับคำฟ้อง จึงได้ขออุทธรณ์คำสั่งอีกครั้งหนึ่ง เพื่อประโยชน์แห่งสาธารณะ และหยุดยั้งต้นเหตุแห่งหายนะภัยที่จะคร่าชีวิตผู้คนประชาชนผู้บริสุทธิ์ มอดไหม้อาคารบ้านเรือนที่พักอาศัย ธุรกิจทรัพย์สิน ตลาดร้านโรง ชุมชน โรงเรียน วัด และสาธารณะสมบัติอื่นๆ แม้อ้างว่าได้รับการอนุมัติก่อสร้างถูกต้องตามกฎหมาย แต่ก่อสร้างไม่แข็งแรง-ไม่ตรงกับการออกแบบ ทั้งที่ทุกหน่วยงานภาครัฐรับรู้ แต่คงจะดันทุรังไม่ใส่ใจ โดยมีชีวิตของผู้คนประชาชนจำนวนมากเป็นเดิมพัน
ระหว่างปี พ.ศ. 2548-2552 ในพื้นที่มาบตาพุด ซึ่งโครงสร้างพิเศษสำคัญในโครงการต่างๆ ของ ปตท. จำนวนมาก พบว่าละเลยเรื่องความแข็งแรงมั่นคงในส่วนงานฐานราก ทั้งที่ก่อสร้างบนพื้นที่ปรับถมดินใหม่ และหลายโครงการอยู่บริเวณหมู่บ้านหนองแฟบ ชื่อตามลักษณะภูมิศาสตร์ว่าเป็นหนองน้ำ แต่ในการก่อสร้างกลับไม่ตอกเสาเข็มอ้างว่า ถมดินบดอัดดีแล้ว เป็นการสมยอมของภาครัฐ ที่เอื้อต่อภาคอุตสาหกรรม ที่เร่งรัดเร่งรีบ เพื่อแสวงหาผลกำไรทางธุรกิจ และเพื่อประโยชน์ในส่วนของตน จนมีการเลียนแบบ ไปยังโครงการอื่นๆ มากมาย และในเวลาไม่กี่ปี จะมี หลายร้อย หลายพัน โรงงาน ทำแบบเดียวกันกับ ปตท. สร้างโรงงาน โดยปราศจากความแข็งแรงมั่นคง ถมที่เสร็จขุดหล่อฐานรากโดยไม่ต้องตอกเสาเข็ม โดยอ้างว่า ดินถมแข็งแรงมาก อ้างมีการทดสอบดินแล้ว เพราะทำให้โครงการเสร็จเร็วขึ้น 6-8 เดือน จึงเป็นที่มาว่า ทำไมทางกลุ่มฯ จึงขอให้ การนิคมอุตสาหกรรมฯ และ ปตท. จัดตั้งคณะกรรมการตรวจสอบติดตามฯ ขึ้นมา เพราะถ้ามีเหตุสลดจากการทรุดพังของฐานราก ผู้ก่อสร้างฐานรากย่อมหนีจากความรู้สึกผิดบาปไปไม่ได้ การเสนอตัวเป็นหนึ่งในคณะตวจสอบ-ติดตามร่วมฯ 3 ฝ่ายนั้น เพราะหมดความมั่นใจในภาครัฐที่รับผิดชอบ และกำหนดไว้เพียง 3 ปี ในระยะแรกและระยะกลางของการตรวจสอบ-ติดตามฯ แต่กระนั้น โรงงาน กับการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ยังต้องร่วมตรวจสอบกันต่อไป อีก 10 ปี หรือตลอดอายุการใช้งาน
เจ้าหน้าที่ข้าราชการพนักงานมีหน้าที่ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2550 มาตรา 74 เมื่อได้รับรู้ถึงเหตุภัยความเสี่ยงจากโรงงาน ที่แม้ได้รับการอนุมัติก่อสร้างอย่างถูกต้อง แต่ก่อสร้างไม่แข็งแรงนั้น โรงงานเสี่ยงก่อภัยอยู่ใกล้ตลาดอยู่ติดชุมชนที่มีผู้คนประชาชนจำนวนมาก จะได้รับผลกระทบร้ายแรงรุนแรงกว้างขวางแล้ว แต่ยังไม่ตระหนักถึงเหตุภัย กลับใช้เวลาไปเพื่อการเสาะแสวงหาหลักฐานเอกสารต่างๆ ข้อกฎหมายต่างๆ เพื่อให้หลุดพ้นจากความรับผิดชอบเท่านั้น - ซึ่งประหนึ่ง เรือเดินสมุทร แม้ออกแบบก่อสร้างทำถูกต้องตามกฎหมายแล้ว แต่เมื่อมีผู้ทักท้วงทั้งเป็นช่างที่ทำกระดูกเรือ แจ้งบอกแบบมีหลักฐานชัดเจนว่าไม่ปลอดภัยแข็งแรงพอ ใยยังคงปล่อยให้ประชาชนผู้บริสุทธิ์ต้องลอยลำออกไปเพื่อเผชิญภัยตามยถากรรม
การคาดการณ์การทรุดพังของฐานรากนั้น มาจากการก่อสร้างฐานรากที่ไม่มีความแข็งแรงเพียงพอ ซึ่งถือว่าเป็นการคาดการณ์ตามปกติวิสัยของวิศวกรโยธาพึงกระทำได้ ตามความรู้ที่มีในวิชาชีพวิศวกรก่อสร้าง ดังนั้นการคาดการณ์เหตุก๊าซรั่วระเบิด ที่มีเหตุจากการทรุดพังของฐานรากต่างๆ ที่ไม่แข็งแรง จึงเป็นการคาดการณ์ ที่มีความเกี่ยวเนื่องกัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น