วันอังคารที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2553

ปาหี่ 11+7 ประเภทกิจกรรมหรือโครงการ ที่ส่งผลกระทบรุนแรง

ปาหี่ 11+7 ประเภทกิจกรรมหรือโครงการ ที่ส่งผลกระทบรุนแรง

ความจริงแล้ว เรื่องต่างๆ ที่เป็นข้อกฎหมาย แม้ถึงมีจริงๆ ก้อไม่สามารถควบคุมได้ เพราะประเทศไทย ไม่ได้เป็นนิติรัฐ วันนี้ ... เรามีภาคอุตสาหกรรม ยำยีสภาวะแวดล้อม แล้วมีผู้อ้างว่าสนใจเรื่องสิ่งแวดล้อม กระทืบซ้ำ อีกหรือไม่คงต้องคอยดูกันต่อไป

18 ประเภทกิจกรรมหรือโครงการ ภาคอุตสาหกรรมรม ที่ส่งผลกระทบรุนแรงที่ออกมาจาก คกก. 4 ฝ่าย ที่เอื้อสุดโต่งกับภาคอุตสาหกรรมนั้น ถึงวันที่ศาลพิพากษาตัดสินเสร็จ กลับกลายเป็นฝ่ายผู้พิทักษ์สิ่งแวดล้อมทันที ตลกครับ จัดมากันเป็นฉากๆ เล่นกันเนียนๆ แบบมีผู้กำกับ รัฐบาลอ้างว่าเอาไปดูก่อน ขยับปรับแต่ง ส่งต่อ เหลือ 11 รุนแรงที่เอื้อสุดๆ แล้วที่ไม่เกี่ยวภาคอุตสาหกรรมมากนักเฉไฉตัดออก เพื่อรอการเรียกร้อง เช่นโครงการดูดน้ำเกลือใต้ดิน ซึ่งปกติรัฐบาลไม่ให้ทำอยู่แล้ว สำหรับขนาดใหญ่ ก้อตัดออกไปเลย ตรงนี้ ขุดบ่อล่อปลาบึกใหญ่ เอาไว้ให้เรียกร้องต่อรอง เพื่อให้ ไอ้ 11 ที่เฉไฉ มันผ่านไปง่ายๆ แบบมีฉันทานุมัติ ก้อเท่านั้น

สั้นๆ ง่ายๆ ถึงตอนนี้ ถ้าได้ครบ 18 โครงการเสี่ยง จบเลยครับ ฝ่ายผู้ใส่ใจสนใจสิ่งแวดล้อมชนะแล้ว โอ้ แผนตื้นๆ ง่ายๆ แบบนี้ ประชาชนเค้ารู้ทัน แต่จริงๆแล้ว ประชาชนส่วนใหญ่ไม่อยากรู้ เบื่อกับปัญหาระงับโครงการมาบตาพุด อ้างว่าฉุดรั้งเศรษฐกิจ แบบสื่อทุกสายแจง ไม่มีใครสนใจว่ามาบตาพุดคือเรื่องสิ่งแวดล้อม จบได้แล้วประเทศจะได้เดินหน้าต่อ นี่ไง แบไต๋ ... สังคมไทย แบบแบแล้วแบะก้อไม่มีใครใส่ใจ เหมือนที่เราไม่สนใจ เขมร ลาว พม่า หรือ ประเทศไหนๆ ในกลุ่มอาเซี่ยนทำ อะไรๆประมาณนั้น

มาบตาพุด ที่ซึ่งคนในพื้นที่ อยากให้มีก๊าซรั่ว จะได้แห่ไปรับค่ารักษา จนมีผู้บาดเจ็บเกินจริง ว่าตกลง 700 หรือ 300 คน ที่เจ็บป่วยจากก๊าซคลอรีนรั่ว เห็นมีแต่ชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจริงๆ ออกมาบอกว่าเหม็นสุดทน เสียงดังจนประสาทเสีย แล้วก้อเด็กๆ ที่ไร้เดียงสา บอกว่า เหม็นจนชิน พอก๊าซรั่ว ครูบอกให้ไปอยู่ในห้องคอม มีคนอ๊วกแตก เยอะ อะไรแบบนั้น เสียงเหล่านี้ ยังจะดังไม่จบ เพียงแต่ไม่มีข่าวนำเสนอ แม้วันนี้ 11+7 แล้วจบ เสียงที่เงียบหายในข่าว ยังคงดังอยู่ตลอดในพื้นที่มาบตาพุด แม้จะมีรอยยิ้ม อาการหัวร่อร่า ชูมือว่าได้ชัยชนะ ของผู้ใส่ใจสิ่งแวดล้อม แล้ว

วันที่ 5 ธันวา 52 คกก. 4 ฝ่าย มา มาบตาพุด ก๊าซรั่วรับแล้วไล่ส่ง ปิดวิก 6มิถุนายน 53 พอวันที่ 7 มิถุนายน ถังเก็บคลอรีน ล้มพัง ไล่ส่ง จนมีผู้บาดเจ็บหลายร้อยคน อาการโดยสรุป คือน้ำยาลบหมึก หกราดบนโต๊ะ งงเลยตรงนี้ อะไรหว่าน้ำยาลบหมึก สมัยที่ยังใช้ปากกาหมึกซึมนั่นล่ะ จะมีน้ำยาลบหมึก พอหยดลงไป หมึกที่เขียนก้อจางหายไปแบบนั้น อาการเวียนหัวคลื่นใส้ อาเจียน ในรายที่รุนแรงมาก อาจถ่ายมาก เหนื่อยหอบหายใจไม่ออก ตรงนี้ล่ะ คือบทสรุปของ คกก.4 ฝ่ายทั้งคณะ น่าคลื่นเหียน อาเจียน เพราะ 2 ครั้งที่เกิด บังเอิญเกิดจากความแข็งแรงของวัสดุ แข็งแรงมากไปไม่ดี ยอมให้ยืดหยุ่นได้ก้อทรุดก้อพัง ตรงนี้ถ้าไม่อธิบาย คงไม่ได้ ครั้งแรกเหตุจากการส่งรับก๊าซ จากเรือ ตรงนี้ท่อต่อข้อต่อต้องมีความยืดหยุ่นให้ตัวได้ แต่กับแข็งเปี๊ยะรัดแน่น พอโยกคลอนย่อมหักพังแตก ครั้งที่สอง มาจาก ไอ้ของที่ไม่ควรพัง แล้วมันพังเพราะฐานรองรับมันไม่แข็งแรงเพียงพอ บ้างบอกว่า ฐานคอนกรีตทรุดเพราะดินทรุด บ้างก้อว่า ขาเหล็กเป็นสนิม เพราะคลอรีนกัดกร่อน มันอะไรก้อช่างตรงถังคลอรีนล้มมันแข็งแรงไม่เพียงพอ เลยสรุปว่า แข็งมาก อ่อนมาก ย่อมไม่ดี ถ้าไม่ใช่เป็นความต้องการจริง ฮาตรืม!!! 2เหตุการณ์ไล่ส่ง คกก. 4 ฝ่าย มาจากความแข็งมากและไม่แข็งพอเพียง ตรงนี้ มันก้อบอกอีกถึง พฤติกรรม ในการผ่านเรื่องต่างๆ (เอาแบบสั้นๆง่ายๆ)

วันที่ 26 มีนาคม ผมไปร่วมประชุมรับฟังประชาพิจารณ์ ของอนุฯรับฟัง ของ คกก.4 ฝ่าย ในกรุงเทพฯ ขณะเดียวกันกับช่วงที่สุนัขสุดเลิฟ เลี้ยงมา 13 ปี กำลังนอนป่วยหนักพะงาบๆ เป็นช่วงที่บ้านเมืองกำลังมีปัญหา ผมไปเพื่อบอกว่า กิจกรรมหรือโครงการที่ส่งผลกระทบรุนแรง คือ

1. การทดสอบระบบ ที่ไม่มีมาตรการที่รัดกุม

2. การก่อสร้างที่ไม่แข็งแรง เช่นการไม่ตอกเสาเข็มฐานรากโครงสร้างพิเศษสำคัญต่างๆ เพราะถ้าอาศัยแค่ดินแข็งยอมให้ทรุดได้ ยามดินอ่อน ย่อมส่งผลกระทบ เช่นโรงแยกก๊าซ ใหม่ของ ปตท. ที่มีความเสี่ยงทรุดพัง

อธิบายไม่ทันจบ โดนไล่ให้เลิกพูด ให้ไปแจ้งความที่อื่น อันที่จริงก่อนพูดผมก้อถามแล้วนะว่า ในห้องประชุมรับฟังเรื่องนิคมอุตฯ และเรื่องปิโตรเคมี-โรงแยกก๊าซ มีคนมาบตาพุด กี่คน พอยกมือ มี ผม 1 และอีกหนึ่งอยู่บ้านฉาง ทั้งที่มีคนมากกว่าร้อย ประธานบอก ว่าบอกตั้งแต่ต้นว่าไม่ให้พูด แล้วยังจะพูดอีก ตอนสุดท้ายบอกให้ไปแจ้งความที่อื่น สุนัขสุดเลิฟของผมจากไป 27มีนาคม หลังจากไปเที่ยวชายทะเล แบบสุนัขสูงวัยที่มีความสดชื่น เฮ้อ!

วันที่ 2 เมษายน ผมไปอีก เพื่อจะไปบอกว่า การก่อสร้างที่ไม่แข็งแรง เช่นการไม่ตอกเสาเข็มฐานรากโครงสร้างพิเศษสำคัญต่างๆ เพราะถ้าอาศัยแค่ดินแข็งยอมให้ทรุดได้ ยามดินอ่อน ย่อมส่งผลกระทบ เช่นโรงแยกก๊าซ ใหม่ของ ปตท. ที่มีความเสี่ยงทรุดพัง วันนั้นพบ ประธาน คกก. 4 ฝ่าย เพราะผมนั่งแถวหน้า นั่งห่างจากผมประมาณ 6 เมตร ผมได้โอกาส เลยเอากรณีศึกษาไปส่งด้วย กับมือ อธิบายซ้ำๆ และคงเป็นอีกวัน ที่มีคนฟังแต่ไม่มีใครใส่ใจ เพราะเรื่องของผมถูกตัดออกจากกิจกรรมที่อาจส่งผลกระทบรุนแรง อ้างว่ามีการควบคุมแล้วจากหน่วยงานอื่น และกินความกว้างเกินไป ที่บอกว่า การก่อสร้างฐานรากโครงสร้างพิเศษสำคัญต่างๆ ของภาคอุตสาหกรรมอันตราย (ก๊าซไวไฟและสารเคมีอันตรายต่างๆ) จะต้องทำให้แข็งแรง อยู่บนเสาเข็ม ไม่ปล่อยให้มีโอกาสทรุดพังได้ อือ! ... พอ 2 เดือน ให้หลัง คกก.4 ฝ่าย มาเที่ยวมาบตาพุดอีก 7 มิถุนายน 53 ถังคลอรีน มันเลยทรุดพังประชดไล่ส่งซะเลย เป็นแบบนั้น... ตรงนี้ผมไม่สรุป ให้คิดกันเอง

ทุกสรรพสิ่ง เกิด ตั้งอยู่ ทรุดลง ย่อมมีเหตุมีปัจจัย ตามกฎทางพุทธ เรื่อง อิทัปปัจจยตา หรือกฎสูงสุดของธรรมชาติ หรือกฎสูงสุดของความไม่แน่นอนเที่ยงแท้ นั่นเอง ดังนั้น เหตุทรุดพังย่อมมาจากปัจจัยต่างๆ ที่แข็งแรงไม่เพียงพอของฐานที่รองรับ โดยที่มีปัจจัยอื่นๆมาประกอบหรือส่งผลกระทบ

ไม่สรุป - เพราะคิดว่าน่าจะสรุปได้เอง

ปาหี่

คำแปล [n.] acrobatics

ตัวอย่างประโยค ปาหี่ คือการแสดงพลกรรมเพื่ออวดสรรพคุณของกอเอี๊ยะ ขี้ผึ้งวิเศษบำบัดฟกช้ำ

หมายเหตุ การแสดงกลหรือกายกรรมของนักแสดงเร่ร่อน

ครม.อนุมัติ11กิจการ กรมชลฯเจอแจ็กพอต เข้าข่าย"ม.67วรรค2"

ครม.อนุมัติ 11 กิจการรุนแรง "สุวิทย์" ลงนามประกาศกระทรวงทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รอประกาศในราชกิจจานุเบกษามีผลบังคับใช้วันถัดไป สผ.ระบุมี 10-12 โครงการโดนหางเลข เปิดรายชื่อ 2 โครงการแรกที่เจอแจ็กพอต "อ่างเก็บน้ำคลองหลวง-ห้วยโสมง" ต้องกลับมาทำ HIA ด้าน กฟผ.เผยไม่กระทบ เหตุโรงไฟฟ้าความร้อนร่วมที่กำลังก่อสร้างกำลังผลิตไม่ถึง 3,000 MV

ผู้สื่อข่าว "ประชาชาติธุรกิจ" รายงานว่า ในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 31 สิงหาคมที่ผ่านมา ที่ประชุมได้เห็นชอบร่างประกาศกระทรวง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่องกำหนดประเภท ขนาด และวิธีปฏิบัติสำหรับโครงการหรือกิจการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง ทั้งทางด้านคุณภาพ สิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพ ที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอจำนวน 11 กิจการ โดยทั้ง 11 กิจการจะต้องดำเนินการมาตรา 67(2) รัฐธรรมนูญ 2550 ด้วยการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) รายงานผลกระทบสุขภาพ (HIA) การรับฟังความเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และให้องค์การอิสระให้ความเห็น

ทั้งนี้ 11 กิจกรรมโครงการส่งผลกระทบรุนแรง ที่ ครม.เห็นชอบ ประกอบด้วย

  1. กิจการถมทะลหรือทะเล สาบนอกเขตชายฝั่งเดิม ตั้งแต่ 300 ไร่ขึ้นไป ยกเว้นการฟื้นฟูสภาพชายหาด
  2. เหมือง ต่าง ๆ ได้แก่ เหมืองใต้ดิน-เหมืองแร่ตะกั่ว/ สังกะสี/ทองคำทุกขนาด, เหมืองถ่านหินขนาด 2.4 ล้านตัน/ปี และเหมืองแร่ในทะเลทุกขนาด
  3. นิคมอุตสาหกรรม ได้แก่ นิคมอุตสาหกรรมที่ตั้งขึ้นใหม่ หรือขยายเพื่อรองรับโรงงานปิโตรเคมี หรือโรงงานถลุงแร่เหล็กมากกว่า 1 โรง ทุกขนาด
  4. โรงงานปิโตรเคมีขั้นต้น ทุกขนาด หรือการขยายกำลังการผลิตตั้งแต่ 35% ขึ้นไป โรงงานปิโตรเคมีขั้นกลางขนาดกำลังการผลิต 100 ตัน/วัน หรือขยายกำลังการผลิต 35% ขึ้นไป ในส่วนที่ใช้สารเคมีเป็นสารก่อมะเร็งในกลุ่ม 1 และขนาดกำลังผลิต 700 ตัน/วัน หรือขยายกำลังการผลิตรวมแล้วมากกว่า 700 ตัน/วันขึ้นไป ในส่วนที่ใช้สารเคมีเป็นสารก่อมะเร็งกลุ่ม 2A
  5. โรงงานถลุงแร่หรือหลอมโลหะ โดยโรงถลุงแร่เหล็กขนาด 5,000 ตัน/วันขึ้นไป, โรงถลุงแร่เหล็กที่มีการผลิตถ่านโค้กทุกขนาด, โรงถลุงแร่ทองแดง ทองคำ หรือสังกะสี กำลังการผลิต 1,000 ตัน/วันขึ้นไป, โรงถลุงแร่ตะกั่วทุกขนาด, โรงหลอมโรงโลหะ (ยกเว้นเหล็กและอะลูมิเนียม) ขนาด 50 ตัน/วัน และโรงหลอมตะกั่ว ขนาด 10 ตัน/วันขึ้นไป
  6. กิจการผลิตหรือกำจัดหรือปรับแต่งสารกัมมันตรังสี เดิมทุกขนาด
  7. โรงงานฝังกลบหรือเผาของเสียอันตรายทุกขนาด
  8. โครงการระบบขนส่งทางอากาศ ที่การก่อสร้างหรือขยายทางวิ่งตั้งแต่ 3,000 เมตรขึ้นไป
  9. ท่าเทียบเรือที่มีความยาวหน้าท่าตั้งแต่ 300 เมตรขึ้นไป หรือพื้นที่ตั้งแต่ 10,000 ตารางเมตรขึ้นไป หรือมีการขุดลอกร่องน้ำตั้งแต่ 100,000 ตารางเมตรขึ้นไป หรือมีการขนถ่ายวัตถุอันตรายที่เป็นสารก่อมะเร็งกลุ่ม 1 ตั้งแต่ 25,000 ตัน/เดือนขึ้นไป ยกเว้นท่าเทียบเรือโดยสาร หรือท่าเทียบเรือสินค้าเพื่อการอุปโภคและบริโภค หรือท่าเทียบเรือสำราญ
  10. เขื่อนเก็บกักน้ำหรืออ่างเก็บน้ำตั้งแต่ 100 ลบ.ม.ขึ้นไป หรือมีพื้นที่กักเก็บน้ำตั้งแต่ 15 ตารางกิโลเมตร ขึ้นไป และ
  11. โรงไฟฟ้าที่ใช้ถ่านหิน ขนาดกำลังการผลิต 100 เมกะวัตต์ขึ้นไป, โรงไฟฟ้าชีวมวล 150 เมกะวัตต์ขึ้นไป, ความร้อนร่วม 3,000 เมกะวัตต์ขึ้นไป และโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ทุกขนาด

ด้านนางสาวสุชญา อัมราลิขิต ผู้อำนวยการสำนักวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ร่างประกาศดังกล่าว นายสุวิทย์ คุณกิตติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ลงนามแล้ว เหลือขั้นตอนประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ถัดจากวันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา

จากการตรวจข้อมูลเบื้องต้นสำหรับโครงการที่ผ่านความเห็นชอบรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) หลังจากรัฐธรรมนูญ 2550 มีผลบังคับใช้ และเข้าข่าย 11 กิจการข้างต้นมีอยู่ประมาณ 10-12 โครงการ ครอบคลุมทั้งโครงการด้านอุตสาหกรรม, โรงไฟฟ้า และเขื่อน/อ่างเก็บน้ำ ที่ชัดเจนว่าเข้าข่ายมี 2 โครงการคือ อ่างเก็บน้ำคลองหลวง จ.ชลบุรี ได้รับความเห็นชอบ EIA เมื่อเดือนพฤษภาคม 2551 และโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยโสมง อ.ปลวกแดง จ.ระยอง ได้รับความเห็นชอบ EIA เมื่อเดือนกันยายน 2552 ซึ่งต้องให้โครงการ ดังกล่าวกลับมาดำเนินตามเงื่อนไข มาตรา 67(2) ให้ครบ สำหรับ 76 โครงการในมาบตาพุดที่ศาลปกครองกลางมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวจะหลุดจาก 11 กิจการรุนแรงหรือไม่ ก็ต้องรอการพิจารณาพิพากษาคดีหลักของศาลปกครองกลางวันที่ 2 กันยายนนี้อีกครั้งหนึ่ง

"ตอนนี้ที่หารือกับกรมชลประทานเบื้องต้น กรมชลประทานแจ้งว่า ได้ศึกษาและจัดเตรียมงบประมาณสำหรับดำเนินการจัดทำ HIA แล้ว ก็คงจะไม่มีปัญหา ส่วนโครงการอุตสาหกรรม หรือโรงไฟฟ้า ต้องประสานไปยังหน่วยงานอนุญาตให้กลับมาดำเนินการตามเงื่อนไขมาตรา 67(2) ด้วย" นางสาว สุชญากล่าว

ด้านนายสุทัศน์ ปัทมสิริวัฒน์ ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) กล่าวว่า สำหรับโรงไฟฟ้าของ กฟผ. ยังไม่ได้รับผลกระทบจากการประกาศ 11 ประเภทกิจการที่ส่งผลกระทบรุนแรงในช่วงระยะสั้นนี้ เนื่องจากโรงไฟฟ้าส่วนใหญ่มีกำลังการผลิตไม่ถึง 3,000 เมกะวัตต์ ส่วนโรงไฟฟ้าใหญ่ในอนาคตที่ กฟผ.จะต้องก่อสร้าง เช่น โรงไฟฟ้าถ่านหิน นั้นอาจจะต้องดำเนินการตามมาตรา 67 วรรค 2 ซึ่งภาพรวมจะใช้เวลาดำเนินการประเมิน 1 ปีครึ่งถึง 2 ปี แต่จะไม่กระทบต่อเวลาการเริ่มผลิตเข้าสู่ระบบแน่นอน เนื่องจากโรงไฟฟ้าถ่านหินโรงแรกจะเข้าระบบในอีก 9 ปีข้างหน้า หรือในปี 2562

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น