“...กฎหมายนี้มีช่องโหว่เสมอ ถ้าเราถือโอกาสในการมีช่องโหว่ของกฎหมายเพื่อการทุจริต นั้นเป็นสิ่งที่เลวทราม และทำให้นำไปสู่ความหายนะแต ่ถ้าใช้ช่องโหว่ในกฎหมายเพื ่อสร้างสรรค์ ก็เป็นการป้องกันมิให้ใช้ช่ องโหว่ของกฎหมายในทางทุจริต ...”
ความตอนหนึ่ง ในพระราชดำรัส
พระราชทานแก่ผู้เข้าร่วมสัม มนาในการวางแผนการใช้ที่ดิน
ณ โรงแรมรินคำ จังหวัดเชียงใหม่
วันที่ ๗ มกราคม ๒๕๒๓
หน่วยงานของรัฐ เจ้าหน้าที่รัฐ ทุกหน่วยงาน อ้างว่าไม่มีอำนาจหน้าที่ สั่งตรวจสอบ โรงงานอันตราย ของ ปตท. ที่สร้างทำไม่มั่นคงแข็งแรงเหมา
ะสมและน่าไว้วางใจ ผิด พรบ.โรงงาน และ พรบ.วัตถุอันตราย อย่างประจักษ์ชัด แต่ทุกคนทุกหน่วยงาน อ้างว่า "ต้องรอศาลปกครองสั่ง" ... ศาลปกครองสั่งไม่รับคดี ไม่มีการตรวจสอบ ทั้งที่วิศวกรรมสถาน ก้อรู้ว่ามีความเสี่ยงมหาศาล แต่ต้องรอศาลปกครองสั่ง !!! ... ประเทศไทย จะปล่อยทิ้งความเสี่ยงภัยกันไว้
แบบนี้หรือ ? ชอบด้วย กม.มหาชน ข้อไหน ที่เลือกทิ้งความเสี่ยงภัยให้ปร
เหตุภัยที่เกิดขึ้นแล้ว ส่งผลกระทบในวงกว้าง แม้ประชาชนชาวบ้าน ไม่มีใครเสียชีวิต แต่ก้อเจ็บป่วย และขัวญหายวิตกกังวล เตรียมใจอพยพลี้หนีภัยเสี่ยง แต่ตุลาการศาลกลับไม่นำมาใช้ ประกอบการพิจารณา คงเห็นแค่ว่า ไม่มีสื่อมวลชนไหนสนใจ ประชาชนชาวบ้านไม่กล้ามาร้องแร่แห่กะเชอหรืออย่างไร จึงสั่งอะไรง่ายๆ แบบสั่งขี้มูก ถูกเป็นถูก ผิดเป็นผิด กม.เขียนไว้ประจักษ์ชัด การฟ้องคนฟ้อง กระทบแค่ไหนอย่างไร มันไม่ใช่ เพราะมันเป็นความเสี่ยงภัยสาธารณะ ที่ทุกหน่วยงาน ก้อรอศาลปกครองสั่ง ให้มีการตรวจสอบ ซ่อมสร้างฯ
ด้วยความเคารพ ... คนมีธรรม
หน่วยงานรัฐ
ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบ ลดความเสี่ยงภัยให้ประชาชน ต่างรับรู้ความ
เสี่ยงกันทั้งหมด ซึ่งมีความเห็นว่ามีอันตรายมากถ้าเกิดเหตุไฟไหม้แล้วเอาไม่อยู่
ระงับไม่ได้ แต่ก็อ้างว่า ต้องรอศาลสั่งเพราะไม่มีอำนาจทางกฎหมาย แต่ที่ผ่านมา 2
ปี และมีเหตุระเบิดของโรงงาน บีเอสที ในมาบตาพุด และโรงกลั่นบางจากแล้ว
ในขบวนการศาลปกครอง ที่อิงใช้ข้อกฎหมายมหาชนนั้น กลับทิ้งภัยให้ประชาชนชาวบ้าน
และทิ้งความเสี่ยงภัยให้กับชาติบ้านเมืองอีก การตั้งธงการพิจารณาแค่ “สิทธิในการฟ้องคดี” เท่านั้น
ไม่ได้ลงไปดูในรายละเอียดต่างๆ ทั้งที่ ประเด็นทางกฎหมาย และเจตนาของกฎหมาย
ที่ใช้บังคับกับการมีโรงงาน ก็เพื่อความปลอดภัย
ของประชาชนประเทศชาติซึ่งเขียนไว้ชัดเจน ทั้ง พรบ.โรงงาน พรบ.วัตถุอันตราย
ที่กล่าวรวมกันได้ว่า “ต้องสร้างทำให้แข็งแรงมั่นคงเหมาะสมและไว้วางใจได้” เหตุภัยธรรมชาติ ที่คาดไม่ถึงปรากฏให้เห็นอยู่ตลอด
เมื่อเกิดภัยและหยุดมันไม่ได้เอาไม่อยู่
แม้ทุกส่วนของสังคมจะรวมสรรพกำลังที่จะช่วยกันแล้ว
แม้กระทั่งเหตุระเบิดของโรงงานบีเอสที มาบตาพุดระเบิดนั้น ถ้าไม่มีฝนตกลงมาช่วย
พนักงานดับเพลิงที่ไประงับเหตุเล่าว่า มันเอาไม่อยู่ ถ้าลุกลามติดไปยังถังเก็บสารเคมีขนาดใหญ่
3 ถัง คนมาบตาพุดจะเจ็บตายจำนวนมาก เพราะไม่มีสัญญาณเตือนภัย ไม่มีการแจ้งข่าวใดๆ
ไม่มีการช่วยเหลือประชาชน จากหน่วยงานไหนทั้งหมด เหตุภัยเชิงประจักษ์เกิดแล้ว
วิศวกรรมสถาน และหน่วยงานที่จะตรวจสอบ ก็อ้างว่า ต้องรอศาลสั่ง และพฤติการณ์ในการพิจารณากับเลี่ยงไปว่า
ผู้ฟ้องไม่มีสิทธิ์ฟ้อง ทั้งที่เหตุภัยร้าย จะกระทบสาธารณะอย่างใหญ่หลวง
ผู้ฟ้องก็เป็นประชาชนที่พื้นที่เสี่ยงภัยด้วย จากเหตุระเบิดที่ผ่านมา
ในหมู่บ้านที่พำนักอาศัย หลายหลังเสียหาย นั่นคือตัวอย่างผลกระทบแล้ว
แล้วจะว่าไม่มีสิทธิในการฟ้อง ไม่ใช่ผู้มีผลกระทบได้อย่างไรกัน
และการที่รู้ภัยความเสี่ยงเพราะเป็นเรื่องทางวิศวกรรม ย่อมรู้ดีว่า
มันเสี่ยงภัยอย่างไร อุปกรณ์วาล์ว ข้อต่อ เครื่องจักรต่างๆ
ยังต้องเลือกใช้ของที่มีคุณภาพ และมีราคาสูง เพื่อลดข้อบกพร่องของอุปกรณ์
ที่มีอายุการใช้งาน ว่าจะไม่สร้างปัญหารั่วไหล อุปกรณ์ ระบบต่างๆ
ถ้าตั้งอยู่บนรากฐานพื้นฐานที่ไม่มั่นคง มันจะอยู่ได้หรือ ฝนร้อยปี พายุร้อยปี
เกิดวันไหน ประชาชนจะเผชิญภัยหรือไม่ กฎธรรมชาติง่ายๆ ที่ไม่ใช่ข้อกฎหมาย คือ “หลักอิทัปปัจจยตา” ขอให้นำมาพิจารณาเถิด
การณ์เป็นดังนี้แล้ว
ขอให้ขบวนการศาลปกครอง
ได้นำเรื่องมาพิจารณาให้ถุกต้องตามกระบวนการพิจารณาคดีทางปกครอง
ที่ต้องมีการไต่สวน มีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ ถ้ารับรู้ว่า ต้องตรวจสอบ ซ่อมสร้าง
ก็ต้องเร่งรัดสั่งคดี เพื่อจะนำพาให้ชาติและประชาชนพ้นภัยได้
เพราะที่ผ่านมาถุกต้องแบบไหน ที่ ปตท.นำหนังสือชี้แจงแจ้งเท็จมาเสนอยังศาล
ตุลาการนำเอกสารเท็จมาวินิจฉัยว่า ถูกต้องเหมาะสมแล้ว สั่งไม่รับฟ้องคดี และ ปตท.
ก็นำคำสั่งศาล ไปแจงหน่วยงานอื่นๆ ว่า ศาลประทับรับประกันแล้วว่ามันปลอดภัยดี
เป็นประการนี้แล้ว ชาติประประชาชนปลอดภัย แบบไหน
ที่จะต้องอยู่เสี่ยงภัยหายนะกันไปตลอดอายุการใช้งานโรงงานหรือ
ปัญหาด้านความปลอดภัยของผู้คนในสังคม
เป็นเพียงความรู้สึกหรือ เมื่อมีข่าวต่างๆ ทางหน้าสื่อ คานโฮปเวลพังถล่ม
ถนนทรุดดินถล่ม ไฟไหม้อาคารสูง ป้ายโฆษณา เสาไฟฟ้าล้ม ก็มีการเร่งตรวจสอบกัน
เพราะประชาชนรู้สึกเสี่ยง เพราะรู้จากข่าวของสื่อมวลชนหรือ ในกรณีความเสี่ยงของ
ปตท. ที่คนระดับ วุฒิสมาชิก ของจังหวัดระยอง ก็รู้ภัยเสี่ยงดี ยังเอ่ยว่า “น่ากลัวมากเลยว่ะ
เกิดอะไรขึ้นวอดวายทั้งเมือง”คนจำนวนมากที่สนใจเรื่องบ้านเมือง
บ่นท้อ “ทำใจเถอะ ปตท. ใหญ่มาก
ผลประโยชน์โยงใยเยอะ” หมายความว่าอะไร ภัยเสี่ยงของชาติประชาชน
แลกกับผลประโยชน์ของใคร ที่ตุลาการศาลเอง ก็ไม่หยิบยกมาพิจารณา
ทั้งที่หลายหน่วยงานรอคำสั่งของศาลปกครองอยู่
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น