การประเมินอันตรายร้ายแรง กรณีถังเก็บกักก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) ระเบิด แบบ BLEVE ของ คลังก๊าซ LPG ในโรงแยกก๊าซ คิดจากการระเบิด
1 ถัง ใน 12 ถัง (ถังขนาด 4,000 ม3)
จากผลการศึกษาเมื่อกำหนดให้เกิดรั่วไหลและเกิดเหตุการณ์แบบ Pool Fire จะพบว่าในช่วงระดับพลังงาน
4.0-37.5
kW
/m2 จะมีรัศมีความร้อนแผ่กระจายอยู่ในช่วง
615.6-201.1 เมตร โดยจะครอบคลุมอยู่ภายในพื้นที่โรงแยกก๊าซธรรมชาติ จังหวัดระยอง (ตารางที่
5.6-2 และรูปที่ 5.6-3) ส่วนการเกิดเหตุการณ์ BLEVE ในช่วงระดับพลังงาน 4.0-37.5 kW/m2 รัศมีความร้อนแผ่กระจายอยู่ในช่วง
2,060-673.8 เมตร โดยรัศมีความร้อนนี้จะครอบคลุมพื้นที่โรงแยกก๊าซธรรมชาติ นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด
หลายชุมชนในตำบลมาบตาพุด ครอบคลุมตลาดมาบตาพุด (ระยะรัศมี 2 กม. นั้นเกือบถึงศูนย์ราชการ
- นิคมอุตสาหกรรม ไออาร์แอล - นิคมอุตสาหกรรมเหมราชภาคตะวันออก)
สรุปการประเมินอันตรายร้ายแรง
จากผลการศึกษาเมื่อเกิดกรณีสารเคมีรั่วไหล ลูกไฟ (Fireball) Pool
Fire และ Jet
Fire ที่อาจจะเกิดขึ้น จะมีรัศมีความร้อนจะครอบคลุมพื้นที่ภายในพื้นที่โรงแยกก๊าซธรรมชาติและบริเวณใกล้เคียง
แต่กระนั้นเหตุการณ์เหล่านี้มีโอกาสเกิดขึ้นน้อยมาก เนื่องจากทางโรงงานมีมาตรการป้องกันด้านต่าง
ๆ มากมาย รวมถึงแผนฉุกเฉิน และการศึกษา HAZOP ดังนั้นผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากอันตรายร้ายแรงจึงอยู่ในระดับต่ำ
ซึ่งมีเพียง 2.5-60 ในพันล้าน ครั้งต่อปี รั่วไหลทันทีทันใด
(Instantaneous
Release) VCE 1.2´10-8 FLASH FIRE 4.2´10-8 BLEVE 6.0´10-9
การศึกษา HAZOP
Hazard
and Operability Study (HAZOP) เป็นเทคนิคการศึกษา วิเคราะห์และทบทวนเพื่อชี้บ่งอันตรายและค้นหาปัญหาที่อาจเกิดขึ้นจากการดำเนินงานโรงงาน
โดยการวิเคราะห์หาอันตรายและปัญหาของระบบต่าง ๆ ซึ่งอาจจะเกิดจากความไม่สมบูรณ์ในการออกแบบที่เกิดขึ้นโดยไม่ได้ตั้งใจด้วยการตั้งคำถามที่สมมติสถานการณ์ของการผลิตในภาวะต่าง
ๆ โดยการใช้ HAZOP
Guide Words ในตารางที่ 1 มาประกอบกับปัจจัยการผลิตที่ได้ออกแบบไว้ หรือความบกพร่องและความผิดปกติในการทำงาน
เช่น อัตราการไหล อุณหภูมิ ความดัน เป็นต้น เพื่อนำมาชี้บ่งอันตรายหรือค้นหาปัญหาในกระบวนการผลิตซึ่งอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุหรืออุบัติภัยร้ายแรงขึ้นได้
หมายเหตุ - HAZOP ไม่ได้ประเมินเกี่ยวข้องกับ การทรุดของ Node หรือโครงสร้างทรุด *
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น