หน่วยงานรัฐ ปล่อยปละละเลย ให้มีการสร้างทำ
โรงงานวัตถุอันตราย เสี่ยงทรุดพัง อยู่ใกล้ตลาด อยู่ตรงกลางระหว่างชุมชน...ผิดมั้ย
กม. ใครบอกได้บ้างไม่ตอกเสาเข็มทั้งโรงงานมันปลอดภัยดี
๐ พรบ. โรงงาน ปี 2535 อาคารโรงงาน ต้องสร้างทำให้ “มั่นคงแข็งแรงเหมาะสม”
ซึ่ง กม.ไม่ได้ระบุว่า ต้องสร้างตาม พรบ.ควบคุมอาคาร เพราะ มาตรฐานของอุตสาหกรรมต่างๆ
ต้องการความมั่นคงแข็งแรง ของโครงสร้างต่างกัน ในส่วนอาคารส่วนผลิต หรือส่วนเก็บกัก
ของอุตสากรรมพลังงาน น้ำมันและก๊าซ ซึ่งกำหนดค่าทรุดตัวต่างกันที่ยอมรับได้ ให้ทรุดได้น้อยมาก
5-15 มิลลิเมตร (0.5-1.5 เซนติเมตร) ข้อกำหนดของ
ปตท. หรือเทียบเท่า มาตรฐานสากลทั่วไป หรือเทียบกับความหนาของตลับยาหม่องตราลิงถือลูกท้อ
ขนาดกลาง ราคา 25 บาท เสมือนไม่ยอมให้ทรุดได้เลย ....แล้วทำไม ไม่ตอกเสาเข็ม อายุใช้งาน 30-40 ปี จะทรุดพังปีไหน ๐
ไม่ยอมให้ทรุดได้เลยนั้น มากจากเหตุผลที่ว่า
“การคำนวณในส่วนของระบบท่อก๊าซเหลวที่โยงใยกันยั้วเยี้ยนั้น
ประกอบด้วยข้อต่อ จำนวนมาก ประกอบด้วยวาล์วต่างๆ วาล์วควบคุม วาล์วตรวจสอบ วาล์วลดเพิ่มความดัน
ความดันของก๊าซเหลวในท่อ อุณหภูมิที่แตกต่างต่าง มีทั้งร้อนจัด ทั้งเย็นจัด แรงดึง
แรงสั่น การจากไหล เพื่อไม่ให้เกิดการรั่วไหลซึ่งนั่นหมายถึงความเสียหาย ที่อาจทำให้ไฟไหม้ระเบิดได้
หรือแพร่กระจายสารพิษที่เป็นอันตรายเฉียบพลันได้” การทรุดของฐานยึดต่างๆ ทำให้เกิดแรงเฉือน แรงบิด
โมเมนต์ ซึ่งแรงต่างๆ นี้ คำนวณไม่ได้ ไม่มีขนาดที่ชัดเจน ดังนั้น มาตรฐานในการสร้างทำ
โรงงานที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมพลังงาน จึงถูกกำหนดให้การทรุดตัวที่จะเกิดขึ้น น้อยมาก
เสมือนหนึ่งว่า ไม่ยอมให้ทรุดได้เลย ซึ่งตรงนี้ เป็นเหตุผลว่า ทำไม พรบ.โรงงาน จึงไม่ได้บอกว่า
“การสร้างทำอาคาร ให้อิง พรบ.ควบคุมอาคาร ปี 2522” เพราะต้องสร้างทำให้เหมาะสม กับความต้องการตามมาตรฐานของอุตสาหกรรมนั้นๆ ซึ่งไม่ได้กำหนดไว้
ใน พรบ.ควบคุมอาคาร ซึ่งเป็นมาตรฐานที่ระบุให้ใช้ทั่วไป
การทรุดเกิดขึ้นแล้วหรือไม่
ระหว่างที่ทำการติดตั้งเครื่องจักร ในโรงแยกก๊าซใหม่
ของ ปตท. มีการทรุด และรื้อซ่อมใหม่ มากกว่า 10 จุด และก่อนที่จะมีการทดสอบระบบ
มีการตรวจสอบเบื้องต้น พบว่า มีการทรุดตัวต่างกันเกินค่าทรุดตัวที่ยอมรับได้ คือ 5
มิลลิเมตรไปแล้ว หลายจุด จากรายงานการทดสอบ เพียง 20 ฐานราก จากทั้งหมดมากกว่า 2,000 ฐานราก เมื่อ เดือน มกราคม
2553
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น