คนไทย
เราจะอยู่กันแบบนี้หรือ ประเทศไทย มีกฎหมายมากมายใช้ควบคุมกำกับ
มีหน่วยงานเจ้าหน้าที่รัฐก้อมากมาย มีสื่อมวลชนอ้างตัวอ้างตนกันว่าดีก็มีเยอะ
มีศาลปกครอง ที่อ้างกันว่า เป็นที่พึ่งพาของประชาชน ตาม รธน.ฯ
๐
หายนะซ้ำซากของประชาชน เกิดเพราะใคร อะไร รูปเชิงประจักษ์นี้ บอกอะไร เราๆท่านๆ
จะปล่อยให้บ้านเมืองไทย อยู่กันไปแบบนี้หรือ สึนามิ คราก่อน ล้มตายหลายพัน
ก็เพราะไม่สนใจใส่ใจ มาวันนี้ จะรอบทเรียนชอกช้ำ ให้เกิดซ้ำๆ
อีกหรือ...ที่ไม่ใช่แค่ ชาวบ้านมาบตาพุด บาดเจ็บล้มตาย
ประเทศชาติส่อแววหายนะเลยนะครับ ถ้าระงับไม่ได้ เอาไม่อยู่ ลองใช้ คำว่า “ถ้า...อะไรจะเกิดขึ้น” WHAT-IF ง่ายๆใช้ประเมินบ่งชี้อันตราย
กับ คลังก๊าซแอลพีจี 4 พันคันรถ กับโรงแยกก๊าซใหม่ ปตท. ที่ไม่ตอกเสาเข็มทั้งหมด
โรงกลั่น-โรงไฟฟ้า-โรงงานสารเคมีอันตราย-วัตถุไวไฟ มากมายที่รายล้อม
ถ้าลุกลามไหม้ไฟ ระเบิดไปด้วยกัน อะไรมันจะเกิดขึ้น กับประเทศไทยที่รักของเรา !?
พรบ. โรงงาน ปี 2535 อาคารโรงงาน ต้องสร้างทำให้ “มั่นคงแข็งแรงเหมาะสม”
ซึ่ง กม.ไม่ได้ระบุว่า
ต้องสร้างตาม พรบ.ควบคุมอาคาร เพราะ มาตรฐานของอุตสาหกรรมต่างๆ
ต้องการความมั่นคงแข็งแรง ของโครงสร้างต่างกัน
ในส่วนอาคารส่วนผลิต หรือส่วนเก็บกัก ของอุตสากรรมพลังงาน น้ำมันและก๊าซ
ซึ่งกำหนดค่าทรุดตัวต่างกันที่ยอมรับได้ ให้ทรุดได้น้อยมาก
เพียง 5-15 มิลลิเมตร หรือ 0.5-1.5 เซนติเมตร เท่านั้น
เป็นข้อกำหนดของ ปตท.ที่เขียนขึ้นเอง หรือเทียบเท่า มาตรฐานสากลทั่วไป
๐
เกิดเหตุแล้ว น้ำตาไม่ช่วยอะไร เทียนไฟ
ดอกไม้ อะไรๆ ไม่ต้องเอามาทำท่าระลึกนึกถึง วันนี้ที่ควรช่วยกันระงับเหตุ
แต่ก้อไม่ทำอะไรอย่างไรกัน ช่างมรึง ช่างแมร่ง ช่างมันกันไปหมด แล้วไหนล่ะ ที่บอกว่า “คนไทยไม่ทิ้งกัน” ๐
ที่พึ่งของประชาชน โดยตรงตามรัฐธรรมนูญ ไม่ดูข้อ กม.โดยถี่ถ้วน แต่จะเป็นแค่ นายประกัน ให้ ปตท.
หน่วยงานรัฐปล่อยปละละเลย มักง่ายไม่รอบคอบปล่อยให้สร้างทำ โรงงานวัตถุอันตราย ไม่ตอกเสาเข็มหลายโรงงาน ในมาบตาพุด "มั่นคงแข็งแรงเหมาะสม และไว้วางใจได้" แค่ไหน
กม. พรบ.โรงงาน พรบ.วัตถุอันตราย ปี 2535 มีอยู่ แต่ทำไม่รู้ไม่สนใจ
ศาลปกครอง ทำตัวให้ประชาชนพึ่งไม่ได้ กลับทิ้งภัยให้ประชาชนอีก
แบบนี้ "ละเว้นการทำหน้าที่โดยสุจริต" หรือ!?
๐ วันที่ ศาลปกครอง รู้สึกสั่นคลอน และมีความเสี่ยง
อ้างว่ามีกลุ่มคนจะจ้องรื้อล้ม พวกท่านเรียกร้องให้สื่อ ให้ประชาชนช่วย
เพื่อช่วยกันรักษาพวกท่าน องค์กรท่านไว้ อ้างว่า เพื่อเป็นที่พึ่งพาของประชาชน
ดำรงความเป็นธรรม ชอบธรรม สร้างความปลอดภัยผาสุกให้สังคม
แต่ครั้นเมื่อประชาชนเสี่ยงเจ็บตาย ตื่นกลัว ท่านบอกว่า “ประชาชน ไม่มีสิทธิ
จะกลัวเจ็บกลัวตาย”
ทั้งที่เมื่อเกิดเหตุร้ายแรงแล้ว ก็ไม่มีหน่วยงานไหนดูแลประชาชนได้
แม้กระทั่งขบวนการศาลปกครอง ก็ไม่เคยเอ่ยถึงเรื่องที่เกิดขึ้น และยังซ้ำเติมด้วยการทิ้งประชาชนให้เสี่ยงเจ็บตายได้อีก ๐
เกิดเหตุภัยแล้วระงับไม่ได้เอาไม่อยู่ ถ้าไม่มีฝนช่วย ซ้ำร้ายยังปล่อยทิ้งให้ชาวบ้านให้ตาย
ไม่มีสัญญาณเตือนภัย ไม่มีการแจ้งเตือนแจ้งภัยแจ้งอพยพ
ทุกฝ่ายอ้างว่าไม่มีอำนาจหน้าที่ ไม่มีใครกล้าสั่ง ถ้าประชาชนเจ็บตายจำนวนมาก ก้อคงแค่โยนกันไปมา
เมื่อสร้างทำกัน ไม่มั่นคงแข็งแรงและไม่เหมาะสม ไม่ตอกเสาเข็มทั้งหมด
ทรุดพัง ก๊าซรั่วไฟไหม้ระเบิด ลุกลาม สร้างภัยหายนะ
เป็นเพียงการคาดการณ์ จินตนาการเกินจริง หรือ
คนมาบตาพุดไม่มีสิทธิ์กลัวเจ็บกลัวตายหรือ
ใน กทม. ป้ายล้ม ทับคนตาย ทีหนึ่ง กทม.ก้อเร่งตรวจสอบกันทีหนึ่ง
ไล่รื้อป้ายเสี่ยง ทั้งที่อนุมัติถูก กม. ทั้งที่ไม่ถูก กม. ทำกันมาเป็น สิบปี ไล่รื้อไม่เสร็จไม่จบ
๐
สำนวนเขียนไม่ถูก เขียนไม่ชัด หรืออย่างไร ศาลปกครองสูงสุด ไม่รับรู้ รับฟ้อง
แสดงว่า คำร้องคำฟ้องไม่ชัดเจน ผมเคยเขียนภาพ เขาพระวิหาร
เอาไปให้เด็กไทยเด็กเขมรดู
เด็กยังรู้ยังดูเข้าใจ ...
๐
แย่ยิ่งกว่าเด็กกันหมดแล้วหรือ วันนี้ ... ที่ไม่ยอมรับรู้อะไร ผิดถูกแบบไหน
ที่ชอบพูดกันจังว่า “เรื่องมันเข้าใจยาก”
มองยาก เข้าใจยากแบบไหน หอความดันสูง หอแยกก๊าซ กลั่นก๊าซ ไม่ตอกเสาเข็ม
มั่นคงแข็งแรงเหมาะสม และน่าไว้วางใจหรือ
ชุมชนมากมายรายล้อมอยู่ กับโรงแยกก๊าซใหม่ ปตท.สร้างเสี่ยง
อยู่ติดตลาดอยู่ตรงกลางระหว่างชุมชนจำนวนมาก
เกิดเหตุภัยแล้ว ประชาชนชาวบ้านตื่นกลัว แม้ไม่เจ็บตาย
คนอยู่รอบโรงงานเสี่ยงภัย ไม่ใช่ผู้มีผลกระทบหรือ ที่ทำไมคน กทม. อยากให้รื้อโรงกลั่นบางจาก
อ้างมีต่างชาติมาสร้างทำ จ้างฝรั่งเป็นวิศวกรที่ปรึกษา จึงมีมาตรฐานสูง ระดับโลก ทั้งที่แบบก่อสร้าง ทั้งหมด ไม่มีข้อมูลกำหนด ว่าดินต้องบดอัดให้แข็งแรงแค่ไหนอย่างไร แล้วจะสร้างทำได้แบบไหน ให้ดินรับแรงได้ตรงกับการออกแบบ ศาลปกครอง อ้างว่า ไม่ผิด แล้วถูกแบบไหน โรงงานวัตถุอันตรายสร้างทำกันแบบนี้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น