วันอังคารที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

จดหมายเปิดผนึกถึงประชาชนคนไทย เรื่อง มาบตาพุด กับความเสี่ยงภัย โรงงาน ปตท. ที่ไม่ได้ตอกเสาเข็มฐานรากทั้งหมด



6 พฤษภาคม 2555
กลุ่มพิทักษ์อากาศสดชื่น มาบตาพุด
จดหมายเปิดผนึกถึงประชาชนคนไทย เรื่อง มาบตาพุด กับความเสี่ยงภัย โรงงาน ปตท. ที่ไม่ได้ตอกเสาเข็มฐานรากทั้งหมด
กรณีเหตุระเบิด เมื่อ 5 พฤษภาคม 2555 เวลา 15.30 น. ภายในโรงงาน กรุงเทพ ซินธิติกส์ หรือบีเอสที ในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จ.ระยอง ว่าเกิดขึ้นขณะทำความสะอาดถังสารโทลูอีน ซึ่งเป็นสารสังเคราะห์ที่ผลิตยางรถยนต์ สารดังกล่าวที่เป็นวัตถุไวไฟระเบิดขึ้น โดยขณะนี้ สรุปยอดผู้เสียชีวิตรวม 12 ศพ และมีผู้บาดเจ็บจำนวนมาก บ้านเรือนประชาชน ได้รับผลกระทบจากแรงระเบิดในวงกว้าง กระจกหน้าร้านแตก หน้าต่าง ประตู ฝ้าเพดาน หลุดพัง มีประชาชน เจ็บป่วยจากการสูดดมจำนวนมาก จากหน้าสื่อต่างๆ ทั้งหนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ ไม่ได้ให้ข้อเท็จจริง อีกประการคือ “แผนรับมือสถานการณ์ฉุกเฉิน กับประชาชน ที่ล้มเหลวสิ้นเชิง กรณีโรงงานระเบิด” วันนี้ เมื่อเหตุภัยเกิดขึ้นจริงแล้ว  จะเห็นได้ว่า ที่ซักซ้อมกัน เตรียมรับมือกันนั้น ได้ผลดีอย่างไร ที่สุดท้าย เป็นการล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง ในการรับรู้ของประชาชน ที่เริ่มหนีตายกัน เพราะข่าวออกทางทีวีแล้ว ทำไมเป็นอย่างนั้น  จะว่าเป็นกรณีเป็นวันหยุดยาว จึงขาดความพร้อม ซึ่งเป็นคำแก้ตัว ที่ให้อภัยไม่ได้ เพราะเหตุภัยจากภาคอุตสาหกรรม ที่เกิดทั่วโลก มักเกิดขึ้นในวันหยุด ความไม่พร้อม หรือไม่มีความพร้อมที่จะรับมือ ต่างหาก
ผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง ที่โกหกคนทั้งประเทศทางทีวีว่า "ทุกอย่างเรียบร้อยดี ได้ประกาศอพยพประชาชนทั้งหมดแล้ว การดับไฟได้ทำเรียบร้อยแล้ว" ทั้งที่ ไม่เป็นความจริง ประชาชนหนีเมื่อดูข่าวกันทางทีวีนั่น ไม่มีอะไรที่บอกว่าคือข้อมูลข่าวสารที่ประชาชนควรรู้ และหลีกหนีให้พ้นภัย ทุกคนต้องตัดสินใจกันเอง ที่มีรถ ก้อขับหนีกันไป คนที่ไม่มีรถก้ออกสั่นขัวญแขวนอยู่ในบ้าน ไหนล่ะรถขนคน รถประกาศ เสียงตามสายที่เคยประกาศให้ชาวบ้านไปรับเงินรับของแจก จากโรงงาน ไม่มีให้ได้ยิน เหมือนที่เคยทำ แกนนำชุมชน ที่เคยเอารถมาประกาศ ให้ไปเลือก ก้อไม่มีมาตระเวณประกาศบอก ให้ชาวบ้านอพยพ สัญญาณเตือนภัย ที่นายอภิสิทธิ์ อดีตนายก บอกเร่งรัดนั่น มันมีซะเมื่อไหร่ โชคดีก้อแค่ เป็นสารพิษที่ไม่มีอันตรายเฉียบพลัน หรือเป็นการระเบิดอย่างรุนแรงลุกลาม ซึ่งถ้าเป็นแบบนั้นแล้ว คงเจ็บตายกันทั้งเมืองมาบตาพุด ... ไฟยังไม่มอด แม้กระทั่ง 5 ทุ่ม ที่ยังทุ่มเทความพยายามดับกันอยู่ มีคลังก๊าซขนาดใหญ่ อยู่ตรงนั้น ที่ถ้าเอาไม่อยู่เกิดระเบิดขึ้น ก้อไม่รู้ว่า จะลุกลามแค่ไหน โรงงานมันเรียงราย ติดต่อเนื่องกัน ด้วยท่อก๊าซไวไฟ ก๊าซอันตราย ที่ไม่ใช่มีสารแค่ตัวเดียว แบบในข่าว โดยสรุปสั้นๆ ว่า "มันล้มเหลวโดยสิ้นเชิง" ความจริงแบบนี้ ที่สื่อมวลชนไทย ก้อเงียบกันหมด รอหายนะเกิดกับประชาชนจริงๆ กันนั่นใช่มั้ย!
ไม่ต้องพูดถึงแผนการซักซ้อม ที่พึ่งมีไปมาดๆ เมื่อ 27 เมษายน 2555 ผ่านไป แค่ 7-8 วัน โดย "เพื่อนชุมชน" ที่ขาดความจริงใจทั้งหลายนั่น แต่เกิดเหตุภัยแล้ว "ทุกอย่างเงียบหมด ทิ้งให้ชาวบ้านรอความตาย แบบไม่รู้ตัว" ที่วันนี้ ยังคงจะเลือกที่จะทิ้งความเสี่ยงภัยให้ชาวบ้าน ด้วยความอำมหิต...กับโรงงาน ปตท. จำนวนมาก ที่เลือกไม่ตอกเสาเข็มฐานรากทั้งหมด ทั้งที่เป็นโรงงานขนาดใหญ่ ที่เกี่ยวข้องสารเคมีอันตราย และก๊าซไวไฟ จำนวนมาก
เมื่อ 27 เมษายน 2555  เพื่อนชุมชน โดยกลุ่มผู้ประกอบการในนิคมอุตสาหกรรม ซึ่งก่อตั้งโดย กลุ่ม ปตท. เอสซีจี บีแอลซีพี กลุ่มบริษัทดาว ในประเทศไทย และโกลว์ ผนึกความร่วมมือกับสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.ระยอง การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เทศบาลเมืองมาบตาพุด เทศบาลตำบลบ้านฉาง จัดทำแผนฉุกเฉินชุมชน ซึ่งถือว่าระยองเป็นจังหวัดนำร่อง และจัดอบรม “Train the Trainerการจัดทำแผนฉุกเฉินชุมชนที่สำนักงานนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ให้ผู้ประกอบการในนิคมอุตสาหกรรมทั้งในและนอกกลุ่มเพื่อนชุมชน เพื่อเตรียมพร้อมรับมือสาธารณภัยประเภทต่างๆ ให้ชุมชน พร้อมเตรียมจัดซ้อมแผนฉุกเฉินระดับจังหวัดที่โรงงาน TOC Glycol มิถุนายนนี้
การจัดทำแผนฉุกเฉินชุมชน เกิดขึ้นโดยความร่วมมือของสำนักงานป้องกันและบรรเทาสารณภัย จังหวัดระยอง การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย  กลุ่มเพื่อนชุมชน โดยผู้ประกอบการอุตสาหกรรมในนิคมอุตสาหกรรมในจังหวัดระยอง และชุมชน โดยมีการจัดทำแผนซึ่งครอบคลุมสาธารณภัยต่างๆ รวมทั้งสิ้น 14 ประเภท อันได้แก่ อุทกภัย วาตภัย ซึ่งเป็นภัยใกล้ตัว เป็นต้น เพื่อเตรียมความพร้อมในการรองรับสาธารณภัยประเภทต่างๆ ให้กับชุมชน ทั้งนี้ ในการจัดทำแผนฉุกเฉินชุมชนมีการกำหนดบุคคลที่ต้องรับผิดชอบตามกระบวนการในแผนฉุกเฉินที่ได้จัดทำไว้ด้วย อาทิ ฝ่ายสื่อสาร ฝ่ายอพยพ  ฝ่ายรักษาพยาบาล ฝ่ายกู้ภัย เป็นต้น
ขณะนี้ทุกภาคส่วน ทิ้งภัยความเสี่ยง กรณี ปตท. สร้างทำโรงงานที่มีการผลิต เก็บ หรือใช้วัตถุอันตราย สร้างทำโดยไม่ตอกเสาเข็มฐานราก เพียงอ้างว่า ดินแข็งแรงกว่าโรงงานติดกัน 3-7 เท่าและโดยเฉพาะโรงแยกก๊าซใหม่ 2 แห่ง คือโรงแยกก๊าซที่ 6 และโรงแยกก๊าซอีเทน ที่ระหว่างกลางมีคลังก๊าซแอลพีจี ขนาดใหญ่ปริมาณมากกว่า 4,200 คันรถนั้น ดินแข็งแรงกว่าโรงงานแพร๊กแอร์ (ที่เช่าใช้พื้นที่โรงแยกก๊าซ ปตท.) มากกว่าถึง 6 เท่า การสร้างทำ และการยอมรับได้โดยศาลปกครองระยองนั้น ได้อิงหลักวิชา-หลักเหตุผลอย่างไร หรือมีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์อะไรยืนยันว่าปลอดภัยดี เพราะ 2 โรงงาน นี้ อยู่ติดตลาดอยู่กลางชุมชน ที่ไม่ใช่แบบ โรงงาน BST ที่ระเบิดนั้น อยู่ห่างไกลถึง 4-5 กม. 
ขอให้ทุกภาคส่วน ช่วยกันคิด ว่าเหตุการณ์ต่างๆมากมาย ในประเทศไทย กับเวลาที่ผ่านมานั้น หลายคนไม่เคยคิดว่ามันจะเกิด แต่มันก้อเกิดให้เห็นแล้ว สึนามิญี่ปุ่น แผ่นดินไหวที่ภูเก็ต น้ำท่วมดอนเมือง หลายนิคมอุตสาหกรรมล่มจมน้ำ น้ำท่วมคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตร บางเขน แผ่นดินลุกเป็นไฟ ลูกเห็บก้อนใหญ่เท่าไข่ห่าน พายุกระหน่ำทั่วไทย โรงงานเพิ่งระเบิดที่มาบตาพุด แล้วจะปล่อยให้ความเสี่ยงที่จะสร้างเหตุภัยร้ายแรงกว่า ที่ไม่ใช่กระทบแค่ชาวบ้าน จะหมายถึง เศรษฐกิจสังคมของประเทศนี้ด้วย ...
ถ้าเกิดเหตุหายนะ ที่โรงแยกก๊าซใหม่ ปตท. มาบตาพุด ที่มีคลังก๊าซแอลพีจี 4,200 คันรถ
เชื่อมั่น-ศรัทธา
ศรัลย์ ธนากรภักดี
ผู้ประสานงาน กลุ่มพิทักษ์อากาศสดชื่น มาบตาพุด ระยอง
มือถือ 081-3574725 fax. 038-608891
Email: airfresh.society@gmail.com
webblog : http://airfresh-society.blogspot.com/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น