วันนี้ เมื่อเหตุภัยเกิดขึ้้นจริงแล้ว จะเห็นได้ว่า ที่ซักซ้อมกัน เตรียมรับมือกันนั้น ได้ผลดีอย่างไร ที่สุดท้าย เป็นการล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง ในการรับรู้ของประชาชน ที่เริ่มหนีตายกัน เพราะข่าวออกทางทีวีแล้ว ทำไมเป็นอย่างนั้น ... จะว่าเป็นกรณี วันหยุดยาว ซึ่งเป็นคำแก้ตัวอย่างให้อภัยไม่ได้ เพราะเหตุภัยจากภาคอุตสาหกรรม ที่เกิดทั่วโลก มักเกิดขึ้นในวันหยุด ความไม่พร้อม หรือไม่มีความพร้อมที่จะรับมือ ...
ผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง ที่แหกตาคนทั้งประเทศว่า "ทุกอย่างเรียบร้อยดี ได้ประกาศอพยพประชาชนทั้งหมดแล้ว การดับไฟได้ทำเรียบร้อยแล้ว" ทั้งที่ ไม่เป็นความจริง ประชาชนหนีเมื่อดูข่าวกันทางทีวีนั่น ไม่มีอะไรที่บอกว่าคือข้อมูลข่าวสารที่ประชาชนควรรู้ และหลีกหนีให้พ้นภัย ทุกคนต้องตัดสินใจกันเอง ที่มีรถ ก้อขับหนีกันไป คนที่ไม่มีรถก้ออกสั่นขัวญแขวนอยู่ในบ้าน ไหนล่ะรถขนคน รถประกาศ เสียงตามสายที่เคยประกาศให้ชาวบ้านไปรับเงินรับของแจก จากโรงงาน ไม่มีให้ได้ยิน เหมือนที่เคยทำ แกนนำชุมชน ที่เคยเอารถมาประกาศ ให้ไปเลือก ก้อไม่มีมาตระเวณประกาศบอก ให้ชาวบ้านอพยพ สัญญาณเตือนภัย ที่นายอภิสิทธิ์ อดีตนายก บอกเร่งรัดนั่น มันมีซะเมื่อไหร่ โชคดีก้อแค่ เป็นสารพิษที่ไม่ทีอันตรายเฉียบพลัน หรือเป็นการระเบิดอย่างรุนแรงลุกลาม ซึ่งถ้าเป็นแบบนั้นแล้ว คงเจ็บตายกันทั้งเมืองมาบตาพุด ... ไฟยังไม่มอด แม้กระทั่ง 5 ทุ่ม ที่ยังทุ่มเทความพยายามดับกันอยู่ มีคลังก๊าซขนาดใหญ่ อยู่ตรงนั้น ที่ถ้าบึ้ม ก้อไม่รู้ว่า จะลุกลามแค่ไหน โรงงานมันเรียงราย ติดต่อเนื่องกัน ด้วยท่อก๊าซไวไฟ ก๊าซอันตราย ที่ไม่ใช่มีแค่ตัวเดียว แบบในข่าว โยสรุปสั้นๆ ว่า "มันล้มเหลวโดยสิ้นเชิง" (ความจริงแบบนี้ ที่สื่อมวลชนไทย ก้อเงียบกันหมด รอหายนะเกิดกับประชาชนจริงๆ กันนั่นใช่มั้ย!)
ไม่ต้องพูดถึงแผนการซักซ้อม ที่พึ่งมีไปมาดๆ เมื่อ 27 เมษายน 2555 ผ่านไป แค่ 7-8 วัน โดย "เพื่อนชุมชน" ที่ขาดความจริงใจทั้งหลายนั่น แต่เกิดเหตุภัยแล้ว "ทุกอย่างเงียบหมด ทิ้งให้ชาวบ้านรอความตาย แบบไม่รู้ตัว"
ที่วันนี้ ยังคงจะเลือกที่จะทิ้งความเสี่ยงภัยให้ชาวบ้าน ด้วยความอำมหิต...กับโรงงาน ปตท. จำนวนมาก ที่เลือกไม่ตอกเสาเข็มฐานรากทั้งหมด
สื่อมวลชนไทย ที่ทำกันแค่ นับเจ็บตายขายข่าว
วันนี้ (6 พ.ค.) นายเสนีย์ จิตตเกษม ผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง กล่าวถึงความคืบหน้า เหตุระเบิดภายในโรงงาน กรุงเทพ ซินธิติกส์ หรือบีเอสที ในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จ.ระยอง ว่า จากการสอบถามพยานแวดล้อมทั้งหมด ในเบื้องต้นสามารถสรุปสาเหตุได้ ว่าเกิดขึ้นขณะขนการถ่ายสารโทลูอีน ซึ่งเป็นสารสังเคราะห์ที่ผลิตยางรถยนต์ ระหว่างที่เจ้าหน้าที่เปลี่ยนถ่ายไปใส่ถังใหม่เกิดความร้อน ทำให้สารดังกล่าวที่เป็นวัตถุไวไฟระเบิดขึ้น โดยขณะนี้ สรุปยอดผู้เสียชีวิตรวม 12 ศพ และเจ้าหน้าที่กู้ภัยคาดว่าจะเจอศพเพิ่มอีก
สำหรับสารโทลูอีน (Toluene) เป็นอนุพันธ์ของเบนซิน มีลักษณะเป็นของเหลว ไม่มีสี ระเหยเป็นไอและติดไฟได้ง่ายที่ความดันบรรยากาศและอุณหภูมิปกติ มีกลิ่นคล้ายเบนซิน กลิ่นหอมหวานแรง สูตรโมเลกุลคือ C6H5CH3 ในปัจจุบันโทลูอีนส่วนใหญ่เป็นผลพลอยได้ของอุตสาหกรรมถ่านหินและอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ในอุตสาหกรรมถ่านหินจะได้โทลูอีนจากแก๊สและ coal tar ส่วนในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีจะได้จากการกลั่นน้ำมันดิบ หรือ ก๊าซธรรมชาติ สมบัติทางเคมีและกายภาพของโทลูอีนที่ควรรู้จัก เช่น จุดหลอมเหลว -95°C จุดเดือด 110.4°C จุดวาบไฟ 6-10°C ความหนาแน่น 0.866 g.mL-1 อุณหภูมิที่ติดไฟได้เอง 623°C เป็นต้น
สำหรับประโยชน์โทลูอีนมีหลายอย่างเช่น ใช้ทำสารทำละลาย ในอุตสาหกรรม ยา เคมี ยาง พลาสติก และ สี ใช้เป็นวัตถุดิบตั้งต้นในการผลิตสารเคมีหลายชนิด ใช้ในอุตสาหกรรมหนังเทียม เส้นใย การเคลือบกระดาษ และหมึกพิมพ์ ใช้ใส่ในน้ำมันเชื้อเพลิง ใช้เป็นส่วนผสมหลักของทินเนอร์ในสี แลกเกอร์ และน้ำมันชักเงา เป็นต้น.
ระยอง: 27 เมษายน 2555 เพื่อนชุมชน โดยกลุ่มผู้ประกอบการในนิคมอุตสาหกรรม ซึ่งก่อตั้งโดย กลุ่ม ปตท. เอสซีจี บีแอลซีพี กลุ่มบริษัทดาว ในประเทศไทย และโกลว์ ผนึกความร่วมมือกับสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.ระยอง การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เทศบาลเมืองมาบตาพุด เทศบาลตำบลบ้านฉาง จัดทำแผนฉุกเฉินชุมชน ซึ่งถือว่าระยองเป็นจังหวัดนำร่อง และจัดอบรม “Train the Trainerการจัดทำแผนฉุกเฉินชุมชน”ที่สำนักงานนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ให้ผู้ประกอบการในนิคมอุตสาหกรรมทั้งในและนอกกลุ่มเพื่อนชุมชน เพื่อเตรียมพร้อมรับมือสาธารณภัยประเภทต่างๆ ให้ชุมชน พร้อมเตรียมจัดซ้อมแผนฉุกเฉินระดับจังหวัดที่โรงงาน TOC Glycol มิถุนายนนี้ | |||||||||
การจัดทำแผนฉุกเฉินชุมชน เกิดขึ้นโดยความร่วมมือของสำนักงานป้องกันและบรรเทาสารณภัย จังหวัดระยอง การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กลุ่มเพื่อนชุมชน โดยผู้ประกอบการอุตสาหกรรมในนิคมอุตสาหกรรมในจังหวัดระยอง และชุมชน โดยมีการจัดทำแผนซึ่งครอบคลุมสาธารณภัยต่างๆ รวมทั้งสิ้น 14 ประเภท อันได้แก่ อุทกภัย วาตภัย ซึ่งเป็นภัยใกล้ตัว เป็นต้น เพื่อเตรียมความพร้อมในการรองรับสาธารณภัยประเภทต่างๆ ให้กับชุมชน ทั้งนี้ ในการจัดทำแผนฉุกเฉินชุมชนมีการกำหนดบุคคลที่ต้องรับผิดชอบตามกระบวนการในแผนฉุกเฉินที่ได้จัดทำไว้ด้วย อาทิ ฝ่ายสื่อสาร ฝ่ายอพยพ ฝ่ายรักษาพยาบาล ฝ่ายกู้ภัย เป็นต้น
ว่าที่ร้อยตรี สุพีร์พัฒน์ จองพานิชรองผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง กล่าวว่า “ระยอง ถือเป็นจังหวัดนำร่องที่กำหนดให้มีการจัดทำแผนฉุกเฉินชุมชน โดยเน้นการมีส่วนร่วม เปิดโอกาสให้ชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นตั้งแต่แรกเริ่ม สามารถกำหนดแผนฉุกเฉินชุมชนได้สอดคล้องกันทั้งระบบและใช้ทรัพยากรได้เต็มศักยภาพทุกหน่วยงาน ต้องขอบคุณทุกฝ่ายที่ร่วมแรงร่วมใจผลักดันโครงการให้บรรลุตามเป้าหมาย ไม่ว่าจะเป็น สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กลุ่มเพื่อนชุมชน ที่ร่วมออกแรงผลักดันโครงการนี้มาตลอด รวมถึง เทศบาลเมืองมาบตาพุด เทศบาลตำบลบ้านฉาง ตลอดจนพี่น้องในชุมชน ที่ช่วยกันส่งเสริมให้กิจกรรมนี้ขยายวงกว้างและเข้าถึงชุมชนอย่างทั่วถึงมากยิ่งขึ้น เชื่อมั่นว่า การจัดทำแผนฉุกเฉินชุมชน จะเป็นแนวทางปฏิบัติที่ดีที่ช่วยให้เกิดการเตรียมพร้อมป้องกัน เตือนภัย และบรรเทาสาธารณภัยต่างๆ อันจะช่วยลดความเสี่ยงและความเสียหายที่จะเกิดขึ้นจากเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นโดยไม่คาดคิดได้ ทั้งนี้ ไม่ใช่แค่ในพื้นที่จังหวัดระยอง แต่ในพื้นที่หรือจังหวัดอื่นๆ ในประเทศ ก็ควรส่งเสริมให้มีโครงการจัดทำแผนฉุกเฉินชุมชนเช่นกัน เพื่อเสริมสร้างความปลอดภัย และสร้างความแข็งแกร่งให้ชุมชน นำไปสู่รากฐานที่มั่นคงของสังคมและประเทศต่อไป” นายพีระวัฒน์ รุ่งเรืองศรี รองผู้ว่าการ (สายงานท่าเรือ)การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวว่า “การเตรียมพร้อมเพื่อรับมือกับเหตุการณ์ฉุกเฉินถือเป็นเรื่องสำคัญ โดยเฉพาะในระดับชุมชน ทั้งนี้ ทุกชุมชนจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาศักยภาพให้สามารถป้องกันและช่วยเหลือตนเองได้ในเบื้องต้น ซึ่งในการดำเนินงานต้องได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ถือเป็นสิ่งสำคัญที่แสดงถึงความเข้มแข็งของชุมชนนั้น ๆ ทั้งนี้ ต้องขอขอบคุณกลุ่มเพื่อนชุมชน ที่ช่วยสนับสนุนบุคลากรที่ชำนาญการพิเศษ ประสานงาน และงบประมาณในการจัดทำ รวมถึงการจัดทำคู่มือแผนฉุกเฉินชุมชน เพื่อกำหนดมาตรการปฏิบัติให้มีมาตรฐานเดียวกัน รวมถึงการฝึกซ้อมแผนฉุกเฉินในโอกาสต่อไป และขอบคุณทุกฝ่ายที่ร่วมแรงร่วมใจกันช่วยผลักดันให้กิจกรรมเดินหน้าไปได้อย่างสมบูรณ์ ซึ่งจะช่วยส่งเสริมให้ชุมชนของจังหวัดระยองแข็งแกร่ง และเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน”
นายสุชัย อัศวถาวรวานิช ประธานร่วมฝ่ายปฏิบัติการโรงงานสีเขียว เพื่อนชุมชน กล่าวว่า “ในฐานะผู้ประกอบการอุตสาหกรรมที่เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของ จ.ระยอง การจัดทำแผนฉุกเฉินชุมชนถือเป็นภารกิจสำคัญที่แสดงถึงเจตนารมณ์และความรับผิดชอบในการดูแลสังคมและชุมชน เพราะบทบาทสำคัญของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมไม่ใช่แค่การพัฒนาด้านเศรษฐกิจ แต่ยังต้องสนับสนุน และพัฒนาให้ชุมชนเติบโตได้อย่างยั่งยืน ที่ผ่านมา กลุ่มเพื่อนชุมชน ร่วมกับผู้ประกอบการในนิคมฯ ได้จัดทำแผนฉุกเฉิน ชุมชนมาอย่างต่อเนื่อง ในปี 2554 ได้จัดทำแล้วเสร็จรวม17 ชุมชน และในปี 2555 ได้จัดทำครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมดในเขตเทศบาลเมืองมาบตาพุดเพิ่มเติมอีก 22 ชุมชน และเขตเทศบาลตำบลบ้านฉาง 3 ชุมชน รวมเป็น 25 ชุมชน และกำลังเดินหน้าขยายพื้นที่ไปสู่เขตเทศบาลตำบลบ้านฉางเพิ่มเติมด้วย”
นายเสขสิริ ปิยะเวช กรรมการฝ่ายปฏิบัติการโรงงานสีเขียว เพื่อนชุมชน กล่าวว่า “องค์ความรู้ที่ได้จากการทำแผนฉุกเฉินชุมชนสามารถนำมาปรับใช้ในทางปฎิบัติได้จริงในการดำเนินงาน นอกจากจะมีการชี้แจงแผนงานให้ชุมชนได้รับทราบ และจัดฝึกอบรมให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดทำแผน และส่งมอบแผนให้ชุมชนไปใช้งานต่อไปแล้ว ยังมีการฝึกซ้อมแผนฉุกเฉิน ซึ่งเป็นขั้นตอนสำคัญที่ต้องดำเนินการอย่างสม่ำเสมอ เพื่อเตรียมความพร้อมให้ชุมชนในการป้องกัน เตือนภัย บรรเทาและฟื้นฟูสาธารณภัย ทั้งยังส่งเสริมให้คนในชุมชนตระหนักถึงศักยภาพของชุมชน และพร้อมจะร่วมแรงร่วมใจสร้างความแข็งแกร่งยิ่งขึ้น ซึ่งหลังจากการจัดอบรม Train the Trainer ในวันนี้ มีกำหนดการฝึกซ้อมแผนฉุกเฉินครั้งต่อไปที่โรงงาน TOC Glycol ในเดือนมิถุนายนนี้” นายถวิล โพธิบัวทอง นายกเทศมนตรี เทศบาลเมืองมาบตาพุด กล่าวว่า “การจัดทำแผนฉุกเฉินชุมชนภายใต้โครงการเสริมสร้างศักยภาพชุมชนด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยนี้ นอกจากจะให้ความรู้ที่มีประโยชน์กับชุมชนในการเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือกับภัยพิบัติที่อาจเกิดขึ้นได้แล้ว ยังส่งเสริมให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดทำแผนฉุกเฉินอย่างจริงจัง ทำให้ชุมชนสามารถพึ่งพาอาศัยตนเอง ทั้งยังตระหนัก เข้าใจ และพร้อมจะรับมือเมื่อเกิดเหตุได้ เทศบาลเมืองมาบตาพุดพร้อมและยินดี ให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่” นายสุชิน พูลหิรัญ นายกเทศมนตรี เทศบาลตำบลบ้านฉาง กล่าวว่า “เทศบาลตำบลบ้านฉาง ยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ร่วมมือในโครงการนี้ โดยพร้อมสนับสนุนสถานที่ในการจัดทำแผน และเชิญชวนชุมชนเข้าร่วมการจัดทำแผนฉุกเฉิน หวังเป็นอย่างยิ่งว่าชุมชนจะสามารถนำแนวทางการจัดทำแผนมาปฏิบัติ ปรับใช้ได้กับทุกสถานการณ์ เพื่อนำประโยชน์สูงสุดกลับมาสู่ชุมชน” |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น