วันจันทร์ที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

เรื่องที่คนไทยต้องรับรู้ว่า ‘คนมาบตาพุดเสี่ยงภัยหายนะ’


เอกสารประกอบงานสัมนา “พลังงานไทย-กัมพูชา”  เมื่อ ๑๔ มีนาคม ๒๕๕๕ ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
โหลด - www.boonchoo.org/pttrisk/2012-PTTRISK-PRESENTATION.pdf 

เรื่องที่คนไทยต้องรับรู้ว่า คนมาบตาพุดเสี่ยงภัยหายนะ

ฝันร้ายของประชาชนบางพื้นที่ จากวิกฤตน้ำลามทุ่งไล่รื้อผ่านไปแล้ว แม้คนมาบตาพุด จะไม่เผชิญภัยแบบนั้น แต่ก้อถูก รมด้วยมลพิษ แถมยังนอนผวา จิตตระหนกหวั่นไหว ... วันนี้ เราคุยกันถึงราคาพลังงาน ที่ส่งผลกระทบกับประชาชน ที่ต้องอยู่แพงกินแพงใช้แพง คนไทยทุกข์เดือดร้อนเพราะ พลังงานแพง ผมจึงใคร่ขอสลับมาพูดเรื่องภาคอุตสาหกรรมพลังงาน ผู้ประกอบกรรมขนาดใหญ่ ที่เรียกว่า “ผู้ประกอบกรรมขนาดใหญ่” ก้อเพราะนอกจากคนมาบตาพุดเสี่ยงมลพิษแล้ว ชาวบ้านยังนอนผวา กับเหตุภัยที่ไม่รู้จะเกิดขึ้นวันไหนเวลาใด แล้วจะเอาอยู่หรือไม่ ในช่วงเวลา 6-7 ปี ที่ผ่านมาประเทศวุ่นวายอยู่กับ ปัญหาการเมือง ปตท.สร้างโรงงานจำนวนมาก 30 กว่าโครงการที่ถูกระงับ และมากกว่า 10 โครงการมั้ย ที่ไม่ตอกเสาเข็มฐานรากทั้งหมด กับข่าวคราวเรื่องแผ่นดินไหวที่สร้างความสะเทือนใจอยู่บ่อยๆ ขณะนี้รู้แน่ชัดมีหลักฐานเอกสารชัดเจน 3 โครงการ ซึ่งอันตรายเสี่ยงสร้างหายนะคือโรงแยกก๊าซใหม่ 2 แห่ง คือโรงแยกก๊าซ ที่ 6 กับโรงแยกก๊าซอีเทน ที่ตรงกลางมีคลังก๊าซแอลพีจี เยอะตั้ง 4,200 คันรถ อยู่ห่างตลาดมาบตาพุดเพียงกิโลเดียว ไฟไหม้ระเบิด!ถ้าเอาไม่อยู่จะเกิดเหตุสยองแค่ไหน ซึ่งรัศมีทำลายล้าง 3 กม. ครอบคลุม 4 นิคมอุตสาหกรรมในมาบตาพุด ซึ่งเป็นโรงงานสารเคมีอันตรายและสารไวไฟจำนวนมาก เป็นโรงงานปิโตรเคมีโรงกลั่นน้ำมันโรงไฟฟ้า ถ้าระเบิดลุกลามเป็นโดมิโน่ ประเทศไทยจะอยู่กันแบบไหนรู้สึกกันอย่างไร แบบนี้หรือที่เรียกว่า ความมั่นคงทางพลังงานของชาติ โดยการเร่งรีบสร้างกันโดยไม่ตอกเสาเข็มฐานรากทั้งหมดของโรงงานที่มีสารอันตราย มักง่ายประมาท ละเลยความปลอดภัย วันนี้ทุกส่วนทุกฝ่ายบังคงปล่อยให้ “คนมาบตาพุดเผชิญภัยกันตามยถากรรม

สำนึกสาธารณะมั้ย ที่ ฮอนด้า โตโยต้า เรียกรถกลับคืนมาซ่อมส่วนผิดปกติ ปีละหลายล้านคัน ประเทศไทยเอง ก้อมี กม.เมาไม่ขับ บังคับใส่หมวกกันน๊อค คาดเข็มขัดนิรภัย แต่สำนึกสาธารณะแบบไทยๆ มักรอให้ มรณะกันก่อน ... ย้อนมาดูเหตุน้ำลามทุ่ง ทำไม คณะวิศว เกษตรบางเขน เสียหายหนักเพราะขนของหนีน้ำไม่ทัน ทั้งที่น้ำท่วมดอนเมืองแล้วก้อยังมีเวลาเก็บอยู่ตั้งหลายวัน ก้อเพราะ คาดไม่ถึง หรือประเมินว่ามันจะไม่ท่วม นี่ล่ะครับ เหตุผลเดียวกัน นิคมอุตสาหกรรมจำนวนมาก จึงล่มจมน้ำหมด วิศวกรเมืองไทย เป็นกันแบบนี้  วันนี้ไว้ใจกันได้แค่ไหน กับที่สร้างที่ทำกันไว้ คำทำนายแผ่นดินไหว เขื่อนแตก ก้อกระพือข่าวกัน หากินกับข่าว  แต่กับโรงงานที่สร้างไม่แข็งแรงเสี่ยงสร้างมหันตภัยเงียบกันหมด ทั้งที่เป็นเรื่องวิทยาศาสตร์ เรื่อง ธรรมชาติ อิทัปปัจจยตา สรรพสิ่งตั้งมั่นคงอยู่ ล้มพัง สูญสลาย ล้วนมีเหตุปัจจัยง่ายๆ ก้อเพลงเด็กๆ ฝนตกเพราะกบมันร้อง อะไรอะไร เป็นเหตุเป็นปัจจัยเป็นผลต่อกัน การสร้างสิ่งไม่มั่นคงแข็งแรง ลมแรงๆ มันก้อทำให้ล้มพังได้ เรื่องวิทยาศาสตร์ ที่เด็กๆ ระดับ ป. 4 ก้อรู้เข้าใจกันหมด ว่าทำไม ตึกรามบ้านเรือน  ต้องตอกเสาเข็มฐานราก แต่ผู้ใหญ่กลับแกล้งเฉยชา ทำไม่รู้ไม่เห็นกันหมด ตรงโรงแยกก๊าซ ไม่ต้องขนาดล้มพังหรอก แค่ทรุดต่างกันท่อที่ต่อกันอยู่ เกิดแรงบิดมหาศาล ท่อแตกก๊าซไวไฟรั่ว แถมระเบิดได้เอง เพราะตรงรอยรั่ว มันจะเป็นเยือกแข็งปิดรู ก๊าซเหลวกลายเป็นไอขยายตัว 250 เท่า มันจะมีความดันเยอะมาก  จนระเบิด วาล์วหรือระบบ ที่อ้างว่ามีกันนั้น มันพร้อมแค่ไหน ระบบดับเพลิงก้อด้วย เพราะมันเสี่ยงไปทุกที่ ทุกตารางนิ้ว

มีคนบอกว่า ปตท.เค้าลงทุนมหาศาล ไม่ปล่อยให้ไฟไหม้ระเบิดหรอก “แท่นเจาะน้ำมันรั่วระเบิด กลางทะเลติมอร์” เมื่อ สองปีก่อน นั่นก้อของ ปตท. รัฐบาลอินโดเรียกค่าเสียหาย 3.5 หมื่นล้านบาท ผลตรวจสอบจากรัฐบาลออสเตรเลีย ออกมาว่า ปตท.ก่อสร้างต่ำกว่ามาตรฐานที่ ปตท. เขียนขึ้นเอง จงใจปกปิดชี้แจงแจ้งเท็จ บริษัททำตัวแย่มาก ล้มเหลวทั้งระบบที่มาบตาพุด มันไม่ใช่กลางทะเล คนอยู่กันนับแสน มีโรงงานสำคัญลงทุนสูงตั้งอยู่กันมากมาย ที่สำคัญเป็นพื้นที่เศรษฐกิจด้านพลังงานของชาติ

มีคนบอกต่อไปอีก งานฐานรากสมัยใหม่เขาไม่ตอกเสาเข็มก้อได้มั้ง ตึก 30 ชั้น ในจีน เขายังสร้างกัน 15 วันเสร็จ ใช่ครับ ประเทศอื่นเค้าพัฒนาเทคโนโลยี่ ให้สร้างเสร็จในเร็ววัน แต่ประเทศไทย เลือกใช้วิธีไม่ตอกเสาเข็ม เพื่อให้งานเสร็จเร็วขึ้น 8-10 เดือน เทคนิคแบบไหนที่ ปตท. ใช้ ... ก้อแบบสร้างบ้านจัดสรรห่วยๆ หลอกขายประชาชน ล้วนทำกันถูก กม. ก่อสร้างอาคารของประเทศไทย ที่ทรุดพังแล้วบอกว่าคนซื้อผู้บริโภค ตาเซ่อไม่ดูให้ดี เป็นกันแบบนี้ไงประเทศไทย เจริญพร

ทำกันแบบนี้ครับ .... ปรับถมดิน แล้วบดอัด เสร็จแล้วเอา เครื่องกดดินมากดทดสอบ (โดยปกติใช้กับดินเดิมที่ไม่ช่ปรับถมใหม่) ได้ค่าความสามารถรับน้ำหนักของดินที่แข็งแรงมากกว่าดินในโรงงานติดกันถึง 6 เท่า จึงไม่จำเป็นต้องตอกเสาเข็มฐานราก ไม่ใช่เป็นเทคนิคพิเศษอะไร ขณะที่ก่อสร้าง แบบก่อสร้างหรือสเปค ก้อไม่มี กำหนด-ระบุ ค่ารับน้ำหนักดินสูงมากที่ใช้ในการออกแบบ แล้วจะสร้างจะทำให้ตรงตามการออกแบบได้ไง ว่าดินรับน้ำหนักโครงสร้างได้ คอนกรีต เหล็ก เสาเข็ม สร้างทำเสร็จแล้ว ยังต้องเก็บตัวอย่างไปทดสอบซ้ำ....เช่นการสูบยางรถยนต์ ถ้าไม่รู้ว่าต้องสูบเท่าไหร่ 29, 30 หรือ 35 เครื่องวัดลมยางก้อไม่มี แล้วยางแต่ละเส้นจะสูบให้แข็งเท่าไหร่ แข็งเท่ากันได้อย่างไร มาตรฐานสากลแบบไหน แค่มีฝรั่งมาเป็นวิศวกรที่ปรึกษา มีบริษัทเกาหลีมารับเหมาก่อสร้างให้ แค่นี้หรือไม่ ที่บอกว่าสร้างกันโดยมาตรฐานสากล  ค่ารับน้ำหนักดิน ที่ใช้สูงถึง 90 ตันต่อตารางเมตร สร้างถังเก็บน้ำคอนกรีตได้สูงเท่าโรงแรมดุสิตธานี โดยที่ไม่ต้องตอกเสาเข็มแล้วจะทรุดลงมา 1นิ้ว ออกแบบที่เรียกว่า Ultimate Design Concepts ดังนั้นการสร้างถังเก็บน้ำสูงเท่าตึก 8 ชั้นโดยไม่ตอกเสาเข็มย่อมไม่ทรุดพังแม้แต่เซ็นต์เดียว ตลอดอายุการใช้งาน 30 ปี อันนี้เป็นเรื่องวิศวกรรมการออกแบบ จะสร้างทำแบบไหน คนที่ก่อสร้างแบบพวกผมไม่เคยรู้ว่าออกแบบกันมาแบบนี้ เพราะข้อมูลของดินแข็งมากนี้ไม่เคยเห็น ในช่วงเวลาการก่อสร้างโรงแยกก๊าซใหม่  2 แห่ง

อุย ... ถ้าบอกว่ามันเรื่องใหญ่จัง แล้วเรื่องนี้ ส่งให้ใครไปบ้าง !!!
คนแรกที่จะเอ่ยถึง เพราะรับเรื่องนี้ กับมือ 3 รอบ ก็คือคนที่ให้ คำขัวญวันเด็กว่า รอบคอบ รู้คิด มีจิตสาธารณะ สุดท้ายปล่อยทิ้งให้เสี่ยงตายหมด ทั้งคนมาบตาพุด ทั้งคนชายแดน จ่าเพียรเสียชีวิตก่อนเกษียณ ก้อเพราะความไม่สนใจแบบนี้ มีคนบอกว่า อภิสิทธิ์ รับหนังสือร้องเรียนมาก้อโยนลงถังขยะหมด ไม่ได้ส่งให้ใครต่อตาม ถ้าวางหนังสือร้องเรียนที่รับมากับมือ คงสูงเท่าตึกสามชั้นที่ไม่ได้รับการใส่ใจดูแล เรื่องแบบนี้ที่รัฐบาลอภิสิทธิ์ทิ้งไว้ แล้วบอกว่า “แก้ปัญหามาบตาพุดเบ็ดเสร็จแล้ว” คนต่อมา ที่ส่งกะมือ คือ อดีตนายก อานันท์ ประธาน คคก. 4 ฝ่าย แต่ตอบหนังสือมาว่า เรื่องนี้ไม่ใช่หน้าที่ คกก.4 ฝ่าย อีกท่าน คือ ท่านอักขราทร ประธานศาลปกครองสูงสุดขณะนั้น ตอบมาว่า เป็นสิทธิของคณะตุลาการที่รับผิดชอบคดี เพราะเรื่องนี้ ฟ้องศาลปกครองระยอง แต่ศาลปกครองระยองไม่รับฟ้อง ให้เหตุผลว่า ปตท.ชี้แจงแล้วว่าแข็งแรงดี คนฟ้องคนสร้างรู้ได้ไงว่าจะทรุดพัง เพราะไม่ใช่ผู้ออกแบบ ความจริงแล้ว คนสร้างครับ ที่รู้ว่าอะไรที่สร้างนั้นมันแข็งแรงแค่ไหนอย่างไร คนออกแบบก้อแค่วาดแค่คำนวณ เวลาสร้างทำไม่ได้ตามมาตรวจมาดู ทั้งที่ทำกันช่วงหน้าฝน  นี่ไงครับ ตรรกะของตุลาการ และเรื่องนี้ได้นำไปยื่นให้ สว.รสนา พร้อมเอกสารหลักฐานจำนวนมาก รับรู้เรื่องกันพร้อมๆกับประธานกรรมาธิการคณะต่างๆ ของ สว. มากกว่า 6 คณะ บ้านพิษณุโลก มี สว. อยู่ประมาณเกือบ 15 คน...คุณรสนา เพิ่งตอบว่า อ.ต่อตระกูล บอกว่า “ออกแบบสร้างทำได้” ตรงนี้ไงสนใจกันแค่ไหนจริงใจกันแค่ไหนกับชีวิตประชาชนชาวบ้าน พอเอาเรื่องนี้ตั้งกระทู้ในสื่ออนไลน์ ไม่มีวิศวกรไหนกล้าให้คำตอบ ต่อตาม ยิ่งรู้ว่าเป็นของ ปตท.ด้วย เลี่ยงกันหมด แม้แต่ อ.ปราโมทย์ ไม้กลัด ที่ตอบว่า “ไม่มีรายละเอียด ทั้งๆที่ส่งให้ดูมากมาย
ในเวทีประชาพิจารณ์ ที่ระยอง จัดโดย องค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อม ชั่วคราว (กอสส.) รู้เรื่องกัน ทำท่าตกใจ สุดท้ายก้อแค่ ตั๊กแกกินตับ สื่อมวลชนประเทศนี้ ส่งให้หมดทุกเล่มทุกช่อง วิทยุโทรทัศน์ เคยไปตามทวง กับคุณสนธิ ลิ้มทองกุล วันที่ไปทวงคดี ปตท. กับศาลปกครอง เมื่อ 22 กันยายน 2554 ตรงนี้แรงครับ โดนไล่ไปตายเถอะ คนมาบตาพุด เรื่องมาบตาพุด ASTV ทำมาเยอะแล้ว คำตอบแบบนี้ จากสื่ออ้างธรรมอ้างดีนำหน้า กล้าเสนอความจริง สื่อที่อยู่ได้ด้วยเงินบริจาคของประชาชน แล้ววันนี้จะไปพึ่งสื่อไหนกัน สื่อประชาชนใน Social Network ที่ใช้ชื่อต่อว่า รักในหลวง ... ถ้ารักในหลวง ก้อต้องห่วงใย ชีวิตชาวบ้าน พี่น้องเพื่อนร่วมชาติ ไม่ใช่รักในหลวง กันแค่ปาก แล้วก้อไม่ได้หวังหรอกครับสื่อมวลชนประเทศไทย ห่วงค่าโฆษณากันหมด องค์กรเอกชนเอ็นจีโอ ต่างๆ วันนี้ ก้อรับเงินสนับสนุนโครงการ จาก ปตท. ด้วยกันทั้งหมด

ตัวแทนประชาชน ซึ่งเป็น บ่วงแหที่แก้ไม่หลุด อยู่ใน คกก.4 ฝ่าย ก้อไม่มีความเห็น พอถามก้อตอบว่า ปตท. ชี้แจงแล้วว่าแข็งแรงดี คุยกันรู้เรื่องแล้ว โรงงานไม่แข็งแรงใช้วิธีคุยกันหรือครับ บ้างก้อว่าไม่ตอกเสาเข็ม เป็นเรื่องเทคนิคเข้าใจยาก แต่ไปออกทีวีกะสรยุทธช่อง 3 เรื่องไม่เอากระเช้าขึ้นภูกะดึง ไปอธิบายเรื่องฐานรากเรื่องเสาเข็ม ตอกลึกตอกตื้นแบบไหน ก่อสร้างอย่างไร ราวกับวิศวกรใหญ่ออกมาพูด นี่แหระครับความจริงใจไม่เป็นไรไม่ว่ากัน ที่จะเป็นกันแบบไหน ผมไม่ได้ไล่รื้อ

เฮ้อ! คณะวิศวะ เกษตรยังล่มจมน้ำ ... หลังจากน้ำท่วมดอนเมือง แล้วตั้งหลายวัน ได้มีการสอบถามไปยัง วิศวกรรมสถาน กับข้อร้องเรียนนี้ หลังเหตุสึนามิในญี่ปุ่น ตอบมาว่า ต้องรอศาลปกครองสั่ง เพราะไม่มีอำนาจ คงรอให้ทรุดพังสร้างเหตุเจ็บตายก่อนหรืออย่างไร ถ้าศาลปกครอง ยังไม่สั่ง  แถมมีอาจารย์ ด้านวิศวมาบอกอีกว่า “ออกแบบสร้างทำได้ แต่ทรุดไม่ทรุดไม่รู้” อ้าว!

ประธานศาลปกครอง คนปัจจุบัน เคยพูดว่า ตุลาการศาลต้องใช้ความกล้าหาญ เพื่อไม่ให้เบี่ยงเบนความเป็นธรรม คงต้องใช้ความกล้าหาญมากเลย กับองค์กรใหญ่ แบบ ปตท. ที่ทุกโครงการอ้างว่า ทำเพื่อในหลวง รวมทั้งที่สร้างทำอะไรกันมักง่ายละเลยความปลอดภัย แบบนี้ด้วยหรือไม่ ต้องแยกให้ออกนะครับว่า ความยุติธรรมคืออะไร ช้ามาปีกว่าปล่อยให้ชาวบ้านเสี่ยงตาย แบบนี้ เรียกว่า ยุติธรรมได้หรือไม่ เป็นเรื่องที่ต้องถามไปยังศาลปกครองอีกครั้ง กับคำร้องที่ส่งให้ต่างกรรมต่างวาระ 9 ครั้ง

ในส่วนของ นายกปู จริงๆแล้วเป็นรุ่นน้องมหาลัยเชียงใหม่ ผมแก่กว่าประมาณ 4ปี นายกชอบสื่อสารผ่านเฟสบุ๊ค เรื่องนี้เองก้อถูกร้องเรียนผ่านเฟสบุ๊คด้วย ตั้งแต่ตั้ง ครม. กันใหม่ๆ  และยังส่งอย่างต่อเนื่อง ของคุณพิชัย รมต.พลังงาน คุณธีระชัย รมต.การคลัง ส่งให้หลายครั้ง รวมทั้งอดีตนายก อดีต รมต. สส. และ สว.  รวมทั้งคนอื่นๆที่น่าจะเกี่ยวข้อง ก้อเงียบกันหมด

คนที่อยู่ในพื้นที่โรงงานของภาคอุตสาหกรรมพลังงานและอยู่เสี่ยงภัยเสี่ยงตายกัน มีใครคิดจะตรวจสอบแก้ไขหรือไม่ หรือจะปล่อยทิ้งกันไว้แบบนี้ แล้วคิดว่า จะเอาอยู่ ถ้าเอาไม่อยู่ละ จะต้องทำแผนฟื้นฟูประเทศแบบไหน ถ้าโรงงานของคนที่อาสา เป็นหัวหอกนิวไทยแลนด์ นั่นเป็นต้นเหตุ ให้ระเบิดลุกลามจนย่อยยับ ทั้งประชาชน ทั้งโรงงาน หายนะเพราะไฟบรรลัยกัลป์ผลาญหมด เคยคิดมั้ยครับ ถ้าไม่เคยคิดฝากไปคิด คิดเร็วๆ  เพราะเมื่อ ปตท. ประกาศว่าเป็นเพื่อนชุมชน ยังทำกันแบบนี้ ถ้าเอาเงินค่าจ้างโฆษณาปีละหลายพันล้าน กับเวลาที่ผ่านมา คิดทำอะไร ตรวจสอบซ่อมสร้างซะ ป่านนี้มันคงแข็งแรงปลอดภัยแล้ว

นานาอารยะขณะนี้ ใส่ใจเรื่องความปลอดภัยมากขึ้น เพราะธรรมชาติภัยเอาแน่นอนอะไรไม่ได้ รัฐสภาอเมริกัน เพิ่มมาตรการทางกฏหมายควบคุมอุตสากรรมพลังงานให้เข้มข้นขึ้น จีนระงับโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงเพื่อทบทวนเรื่องความปลอดภัย คนไทยใน กทม. คานโฮปเวลถล่ม ไฟไหม้โรงแรม  ป้ายโฆษณาล้ม ก้อตื่นกลัวตรวจสอบกันที แล้วก้อเงียบหายไป ป้ายเสี่ยงที่ไล่รื้อกันมาเป็นสิบปี วันนี้ยังรื้อไม่หมด นี่แหระประเทศไทยที่เรารู้จัก อนาคตก็จะมีโรงงานมากมายไม่ต่างกับป้ายโฆษณาเสี่ยง.-

ระวังเรื่องที่คาดไม่ถึงนะครับ !!!
ฝากนะครับ     ด้วยความเคารพ ทุกๆท่านครับ 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น