วันจันทร์ที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

เรื่องที่คนไทยต้องรับรู้ว่า ‘คนมาบตาพุดเสี่ยงภัยหายนะ’


เอกสารประกอบงานสัมนา “พลังงานไทย-กัมพูชา”  เมื่อ ๑๔ มีนาคม ๒๕๕๕ ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
โหลด - www.boonchoo.org/pttrisk/2012-PTTRISK-PRESENTATION.pdf 

เรื่องที่คนไทยต้องรับรู้ว่า คนมาบตาพุดเสี่ยงภัยหายนะ

ฝันร้ายของประชาชนบางพื้นที่ จากวิกฤตน้ำลามทุ่งไล่รื้อผ่านไปแล้ว แม้คนมาบตาพุด จะไม่เผชิญภัยแบบนั้น แต่ก้อถูก รมด้วยมลพิษ แถมยังนอนผวา จิตตระหนกหวั่นไหว ... วันนี้ เราคุยกันถึงราคาพลังงาน ที่ส่งผลกระทบกับประชาชน ที่ต้องอยู่แพงกินแพงใช้แพง คนไทยทุกข์เดือดร้อนเพราะ พลังงานแพง ผมจึงใคร่ขอสลับมาพูดเรื่องภาคอุตสาหกรรมพลังงาน ผู้ประกอบกรรมขนาดใหญ่ ที่เรียกว่า “ผู้ประกอบกรรมขนาดใหญ่” ก้อเพราะนอกจากคนมาบตาพุดเสี่ยงมลพิษแล้ว ชาวบ้านยังนอนผวา กับเหตุภัยที่ไม่รู้จะเกิดขึ้นวันไหนเวลาใด แล้วจะเอาอยู่หรือไม่ ในช่วงเวลา 6-7 ปี ที่ผ่านมาประเทศวุ่นวายอยู่กับ ปัญหาการเมือง ปตท.สร้างโรงงานจำนวนมาก 30 กว่าโครงการที่ถูกระงับ และมากกว่า 10 โครงการมั้ย ที่ไม่ตอกเสาเข็มฐานรากทั้งหมด กับข่าวคราวเรื่องแผ่นดินไหวที่สร้างความสะเทือนใจอยู่บ่อยๆ ขณะนี้รู้แน่ชัดมีหลักฐานเอกสารชัดเจน 3 โครงการ ซึ่งอันตรายเสี่ยงสร้างหายนะคือโรงแยกก๊าซใหม่ 2 แห่ง คือโรงแยกก๊าซ ที่ 6 กับโรงแยกก๊าซอีเทน ที่ตรงกลางมีคลังก๊าซแอลพีจี เยอะตั้ง 4,200 คันรถ อยู่ห่างตลาดมาบตาพุดเพียงกิโลเดียว ไฟไหม้ระเบิด!ถ้าเอาไม่อยู่จะเกิดเหตุสยองแค่ไหน ซึ่งรัศมีทำลายล้าง 3 กม. ครอบคลุม 4 นิคมอุตสาหกรรมในมาบตาพุด ซึ่งเป็นโรงงานสารเคมีอันตรายและสารไวไฟจำนวนมาก เป็นโรงงานปิโตรเคมีโรงกลั่นน้ำมันโรงไฟฟ้า ถ้าระเบิดลุกลามเป็นโดมิโน่ ประเทศไทยจะอยู่กันแบบไหนรู้สึกกันอย่างไร แบบนี้หรือที่เรียกว่า ความมั่นคงทางพลังงานของชาติ โดยการเร่งรีบสร้างกันโดยไม่ตอกเสาเข็มฐานรากทั้งหมดของโรงงานที่มีสารอันตราย มักง่ายประมาท ละเลยความปลอดภัย วันนี้ทุกส่วนทุกฝ่ายบังคงปล่อยให้ “คนมาบตาพุดเผชิญภัยกันตามยถากรรม

สำนึกสาธารณะมั้ย ที่ ฮอนด้า โตโยต้า เรียกรถกลับคืนมาซ่อมส่วนผิดปกติ ปีละหลายล้านคัน ประเทศไทยเอง ก้อมี กม.เมาไม่ขับ บังคับใส่หมวกกันน๊อค คาดเข็มขัดนิรภัย แต่สำนึกสาธารณะแบบไทยๆ มักรอให้ มรณะกันก่อน ... ย้อนมาดูเหตุน้ำลามทุ่ง ทำไม คณะวิศว เกษตรบางเขน เสียหายหนักเพราะขนของหนีน้ำไม่ทัน ทั้งที่น้ำท่วมดอนเมืองแล้วก้อยังมีเวลาเก็บอยู่ตั้งหลายวัน ก้อเพราะ คาดไม่ถึง หรือประเมินว่ามันจะไม่ท่วม นี่ล่ะครับ เหตุผลเดียวกัน นิคมอุตสาหกรรมจำนวนมาก จึงล่มจมน้ำหมด วิศวกรเมืองไทย เป็นกันแบบนี้  วันนี้ไว้ใจกันได้แค่ไหน กับที่สร้างที่ทำกันไว้ คำทำนายแผ่นดินไหว เขื่อนแตก ก้อกระพือข่าวกัน หากินกับข่าว  แต่กับโรงงานที่สร้างไม่แข็งแรงเสี่ยงสร้างมหันตภัยเงียบกันหมด ทั้งที่เป็นเรื่องวิทยาศาสตร์ เรื่อง ธรรมชาติ อิทัปปัจจยตา สรรพสิ่งตั้งมั่นคงอยู่ ล้มพัง สูญสลาย ล้วนมีเหตุปัจจัยง่ายๆ ก้อเพลงเด็กๆ ฝนตกเพราะกบมันร้อง อะไรอะไร เป็นเหตุเป็นปัจจัยเป็นผลต่อกัน การสร้างสิ่งไม่มั่นคงแข็งแรง ลมแรงๆ มันก้อทำให้ล้มพังได้ เรื่องวิทยาศาสตร์ ที่เด็กๆ ระดับ ป. 4 ก้อรู้เข้าใจกันหมด ว่าทำไม ตึกรามบ้านเรือน  ต้องตอกเสาเข็มฐานราก แต่ผู้ใหญ่กลับแกล้งเฉยชา ทำไม่รู้ไม่เห็นกันหมด ตรงโรงแยกก๊าซ ไม่ต้องขนาดล้มพังหรอก แค่ทรุดต่างกันท่อที่ต่อกันอยู่ เกิดแรงบิดมหาศาล ท่อแตกก๊าซไวไฟรั่ว แถมระเบิดได้เอง เพราะตรงรอยรั่ว มันจะเป็นเยือกแข็งปิดรู ก๊าซเหลวกลายเป็นไอขยายตัว 250 เท่า มันจะมีความดันเยอะมาก  จนระเบิด วาล์วหรือระบบ ที่อ้างว่ามีกันนั้น มันพร้อมแค่ไหน ระบบดับเพลิงก้อด้วย เพราะมันเสี่ยงไปทุกที่ ทุกตารางนิ้ว

มีคนบอกว่า ปตท.เค้าลงทุนมหาศาล ไม่ปล่อยให้ไฟไหม้ระเบิดหรอก “แท่นเจาะน้ำมันรั่วระเบิด กลางทะเลติมอร์” เมื่อ สองปีก่อน นั่นก้อของ ปตท. รัฐบาลอินโดเรียกค่าเสียหาย 3.5 หมื่นล้านบาท ผลตรวจสอบจากรัฐบาลออสเตรเลีย ออกมาว่า ปตท.ก่อสร้างต่ำกว่ามาตรฐานที่ ปตท. เขียนขึ้นเอง จงใจปกปิดชี้แจงแจ้งเท็จ บริษัททำตัวแย่มาก ล้มเหลวทั้งระบบที่มาบตาพุด มันไม่ใช่กลางทะเล คนอยู่กันนับแสน มีโรงงานสำคัญลงทุนสูงตั้งอยู่กันมากมาย ที่สำคัญเป็นพื้นที่เศรษฐกิจด้านพลังงานของชาติ

มีคนบอกต่อไปอีก งานฐานรากสมัยใหม่เขาไม่ตอกเสาเข็มก้อได้มั้ง ตึก 30 ชั้น ในจีน เขายังสร้างกัน 15 วันเสร็จ ใช่ครับ ประเทศอื่นเค้าพัฒนาเทคโนโลยี่ ให้สร้างเสร็จในเร็ววัน แต่ประเทศไทย เลือกใช้วิธีไม่ตอกเสาเข็ม เพื่อให้งานเสร็จเร็วขึ้น 8-10 เดือน เทคนิคแบบไหนที่ ปตท. ใช้ ... ก้อแบบสร้างบ้านจัดสรรห่วยๆ หลอกขายประชาชน ล้วนทำกันถูก กม. ก่อสร้างอาคารของประเทศไทย ที่ทรุดพังแล้วบอกว่าคนซื้อผู้บริโภค ตาเซ่อไม่ดูให้ดี เป็นกันแบบนี้ไงประเทศไทย เจริญพร

ทำกันแบบนี้ครับ .... ปรับถมดิน แล้วบดอัด เสร็จแล้วเอา เครื่องกดดินมากดทดสอบ (โดยปกติใช้กับดินเดิมที่ไม่ช่ปรับถมใหม่) ได้ค่าความสามารถรับน้ำหนักของดินที่แข็งแรงมากกว่าดินในโรงงานติดกันถึง 6 เท่า จึงไม่จำเป็นต้องตอกเสาเข็มฐานราก ไม่ใช่เป็นเทคนิคพิเศษอะไร ขณะที่ก่อสร้าง แบบก่อสร้างหรือสเปค ก้อไม่มี กำหนด-ระบุ ค่ารับน้ำหนักดินสูงมากที่ใช้ในการออกแบบ แล้วจะสร้างจะทำให้ตรงตามการออกแบบได้ไง ว่าดินรับน้ำหนักโครงสร้างได้ คอนกรีต เหล็ก เสาเข็ม สร้างทำเสร็จแล้ว ยังต้องเก็บตัวอย่างไปทดสอบซ้ำ....เช่นการสูบยางรถยนต์ ถ้าไม่รู้ว่าต้องสูบเท่าไหร่ 29, 30 หรือ 35 เครื่องวัดลมยางก้อไม่มี แล้วยางแต่ละเส้นจะสูบให้แข็งเท่าไหร่ แข็งเท่ากันได้อย่างไร มาตรฐานสากลแบบไหน แค่มีฝรั่งมาเป็นวิศวกรที่ปรึกษา มีบริษัทเกาหลีมารับเหมาก่อสร้างให้ แค่นี้หรือไม่ ที่บอกว่าสร้างกันโดยมาตรฐานสากล  ค่ารับน้ำหนักดิน ที่ใช้สูงถึง 90 ตันต่อตารางเมตร สร้างถังเก็บน้ำคอนกรีตได้สูงเท่าโรงแรมดุสิตธานี โดยที่ไม่ต้องตอกเสาเข็มแล้วจะทรุดลงมา 1นิ้ว ออกแบบที่เรียกว่า Ultimate Design Concepts ดังนั้นการสร้างถังเก็บน้ำสูงเท่าตึก 8 ชั้นโดยไม่ตอกเสาเข็มย่อมไม่ทรุดพังแม้แต่เซ็นต์เดียว ตลอดอายุการใช้งาน 30 ปี อันนี้เป็นเรื่องวิศวกรรมการออกแบบ จะสร้างทำแบบไหน คนที่ก่อสร้างแบบพวกผมไม่เคยรู้ว่าออกแบบกันมาแบบนี้ เพราะข้อมูลของดินแข็งมากนี้ไม่เคยเห็น ในช่วงเวลาการก่อสร้างโรงแยกก๊าซใหม่  2 แห่ง

อุย ... ถ้าบอกว่ามันเรื่องใหญ่จัง แล้วเรื่องนี้ ส่งให้ใครไปบ้าง !!!
คนแรกที่จะเอ่ยถึง เพราะรับเรื่องนี้ กับมือ 3 รอบ ก็คือคนที่ให้ คำขัวญวันเด็กว่า รอบคอบ รู้คิด มีจิตสาธารณะ สุดท้ายปล่อยทิ้งให้เสี่ยงตายหมด ทั้งคนมาบตาพุด ทั้งคนชายแดน จ่าเพียรเสียชีวิตก่อนเกษียณ ก้อเพราะความไม่สนใจแบบนี้ มีคนบอกว่า อภิสิทธิ์ รับหนังสือร้องเรียนมาก้อโยนลงถังขยะหมด ไม่ได้ส่งให้ใครต่อตาม ถ้าวางหนังสือร้องเรียนที่รับมากับมือ คงสูงเท่าตึกสามชั้นที่ไม่ได้รับการใส่ใจดูแล เรื่องแบบนี้ที่รัฐบาลอภิสิทธิ์ทิ้งไว้ แล้วบอกว่า “แก้ปัญหามาบตาพุดเบ็ดเสร็จแล้ว” คนต่อมา ที่ส่งกะมือ คือ อดีตนายก อานันท์ ประธาน คคก. 4 ฝ่าย แต่ตอบหนังสือมาว่า เรื่องนี้ไม่ใช่หน้าที่ คกก.4 ฝ่าย อีกท่าน คือ ท่านอักขราทร ประธานศาลปกครองสูงสุดขณะนั้น ตอบมาว่า เป็นสิทธิของคณะตุลาการที่รับผิดชอบคดี เพราะเรื่องนี้ ฟ้องศาลปกครองระยอง แต่ศาลปกครองระยองไม่รับฟ้อง ให้เหตุผลว่า ปตท.ชี้แจงแล้วว่าแข็งแรงดี คนฟ้องคนสร้างรู้ได้ไงว่าจะทรุดพัง เพราะไม่ใช่ผู้ออกแบบ ความจริงแล้ว คนสร้างครับ ที่รู้ว่าอะไรที่สร้างนั้นมันแข็งแรงแค่ไหนอย่างไร คนออกแบบก้อแค่วาดแค่คำนวณ เวลาสร้างทำไม่ได้ตามมาตรวจมาดู ทั้งที่ทำกันช่วงหน้าฝน  นี่ไงครับ ตรรกะของตุลาการ และเรื่องนี้ได้นำไปยื่นให้ สว.รสนา พร้อมเอกสารหลักฐานจำนวนมาก รับรู้เรื่องกันพร้อมๆกับประธานกรรมาธิการคณะต่างๆ ของ สว. มากกว่า 6 คณะ บ้านพิษณุโลก มี สว. อยู่ประมาณเกือบ 15 คน...คุณรสนา เพิ่งตอบว่า อ.ต่อตระกูล บอกว่า “ออกแบบสร้างทำได้” ตรงนี้ไงสนใจกันแค่ไหนจริงใจกันแค่ไหนกับชีวิตประชาชนชาวบ้าน พอเอาเรื่องนี้ตั้งกระทู้ในสื่ออนไลน์ ไม่มีวิศวกรไหนกล้าให้คำตอบ ต่อตาม ยิ่งรู้ว่าเป็นของ ปตท.ด้วย เลี่ยงกันหมด แม้แต่ อ.ปราโมทย์ ไม้กลัด ที่ตอบว่า “ไม่มีรายละเอียด ทั้งๆที่ส่งให้ดูมากมาย
ในเวทีประชาพิจารณ์ ที่ระยอง จัดโดย องค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อม ชั่วคราว (กอสส.) รู้เรื่องกัน ทำท่าตกใจ สุดท้ายก้อแค่ ตั๊กแกกินตับ สื่อมวลชนประเทศนี้ ส่งให้หมดทุกเล่มทุกช่อง วิทยุโทรทัศน์ เคยไปตามทวง กับคุณสนธิ ลิ้มทองกุล วันที่ไปทวงคดี ปตท. กับศาลปกครอง เมื่อ 22 กันยายน 2554 ตรงนี้แรงครับ โดนไล่ไปตายเถอะ คนมาบตาพุด เรื่องมาบตาพุด ASTV ทำมาเยอะแล้ว คำตอบแบบนี้ จากสื่ออ้างธรรมอ้างดีนำหน้า กล้าเสนอความจริง สื่อที่อยู่ได้ด้วยเงินบริจาคของประชาชน แล้ววันนี้จะไปพึ่งสื่อไหนกัน สื่อประชาชนใน Social Network ที่ใช้ชื่อต่อว่า รักในหลวง ... ถ้ารักในหลวง ก้อต้องห่วงใย ชีวิตชาวบ้าน พี่น้องเพื่อนร่วมชาติ ไม่ใช่รักในหลวง กันแค่ปาก แล้วก้อไม่ได้หวังหรอกครับสื่อมวลชนประเทศไทย ห่วงค่าโฆษณากันหมด องค์กรเอกชนเอ็นจีโอ ต่างๆ วันนี้ ก้อรับเงินสนับสนุนโครงการ จาก ปตท. ด้วยกันทั้งหมด

ตัวแทนประชาชน ซึ่งเป็น บ่วงแหที่แก้ไม่หลุด อยู่ใน คกก.4 ฝ่าย ก้อไม่มีความเห็น พอถามก้อตอบว่า ปตท. ชี้แจงแล้วว่าแข็งแรงดี คุยกันรู้เรื่องแล้ว โรงงานไม่แข็งแรงใช้วิธีคุยกันหรือครับ บ้างก้อว่าไม่ตอกเสาเข็ม เป็นเรื่องเทคนิคเข้าใจยาก แต่ไปออกทีวีกะสรยุทธช่อง 3 เรื่องไม่เอากระเช้าขึ้นภูกะดึง ไปอธิบายเรื่องฐานรากเรื่องเสาเข็ม ตอกลึกตอกตื้นแบบไหน ก่อสร้างอย่างไร ราวกับวิศวกรใหญ่ออกมาพูด นี่แหระครับความจริงใจไม่เป็นไรไม่ว่ากัน ที่จะเป็นกันแบบไหน ผมไม่ได้ไล่รื้อ

เฮ้อ! คณะวิศวะ เกษตรยังล่มจมน้ำ ... หลังจากน้ำท่วมดอนเมือง แล้วตั้งหลายวัน ได้มีการสอบถามไปยัง วิศวกรรมสถาน กับข้อร้องเรียนนี้ หลังเหตุสึนามิในญี่ปุ่น ตอบมาว่า ต้องรอศาลปกครองสั่ง เพราะไม่มีอำนาจ คงรอให้ทรุดพังสร้างเหตุเจ็บตายก่อนหรืออย่างไร ถ้าศาลปกครอง ยังไม่สั่ง  แถมมีอาจารย์ ด้านวิศวมาบอกอีกว่า “ออกแบบสร้างทำได้ แต่ทรุดไม่ทรุดไม่รู้” อ้าว!

ประธานศาลปกครอง คนปัจจุบัน เคยพูดว่า ตุลาการศาลต้องใช้ความกล้าหาญ เพื่อไม่ให้เบี่ยงเบนความเป็นธรรม คงต้องใช้ความกล้าหาญมากเลย กับองค์กรใหญ่ แบบ ปตท. ที่ทุกโครงการอ้างว่า ทำเพื่อในหลวง รวมทั้งที่สร้างทำอะไรกันมักง่ายละเลยความปลอดภัย แบบนี้ด้วยหรือไม่ ต้องแยกให้ออกนะครับว่า ความยุติธรรมคืออะไร ช้ามาปีกว่าปล่อยให้ชาวบ้านเสี่ยงตาย แบบนี้ เรียกว่า ยุติธรรมได้หรือไม่ เป็นเรื่องที่ต้องถามไปยังศาลปกครองอีกครั้ง กับคำร้องที่ส่งให้ต่างกรรมต่างวาระ 9 ครั้ง

ในส่วนของ นายกปู จริงๆแล้วเป็นรุ่นน้องมหาลัยเชียงใหม่ ผมแก่กว่าประมาณ 4ปี นายกชอบสื่อสารผ่านเฟสบุ๊ค เรื่องนี้เองก้อถูกร้องเรียนผ่านเฟสบุ๊คด้วย ตั้งแต่ตั้ง ครม. กันใหม่ๆ  และยังส่งอย่างต่อเนื่อง ของคุณพิชัย รมต.พลังงาน คุณธีระชัย รมต.การคลัง ส่งให้หลายครั้ง รวมทั้งอดีตนายก อดีต รมต. สส. และ สว.  รวมทั้งคนอื่นๆที่น่าจะเกี่ยวข้อง ก้อเงียบกันหมด

คนที่อยู่ในพื้นที่โรงงานของภาคอุตสาหกรรมพลังงานและอยู่เสี่ยงภัยเสี่ยงตายกัน มีใครคิดจะตรวจสอบแก้ไขหรือไม่ หรือจะปล่อยทิ้งกันไว้แบบนี้ แล้วคิดว่า จะเอาอยู่ ถ้าเอาไม่อยู่ละ จะต้องทำแผนฟื้นฟูประเทศแบบไหน ถ้าโรงงานของคนที่อาสา เป็นหัวหอกนิวไทยแลนด์ นั่นเป็นต้นเหตุ ให้ระเบิดลุกลามจนย่อยยับ ทั้งประชาชน ทั้งโรงงาน หายนะเพราะไฟบรรลัยกัลป์ผลาญหมด เคยคิดมั้ยครับ ถ้าไม่เคยคิดฝากไปคิด คิดเร็วๆ  เพราะเมื่อ ปตท. ประกาศว่าเป็นเพื่อนชุมชน ยังทำกันแบบนี้ ถ้าเอาเงินค่าจ้างโฆษณาปีละหลายพันล้าน กับเวลาที่ผ่านมา คิดทำอะไร ตรวจสอบซ่อมสร้างซะ ป่านนี้มันคงแข็งแรงปลอดภัยแล้ว

นานาอารยะขณะนี้ ใส่ใจเรื่องความปลอดภัยมากขึ้น เพราะธรรมชาติภัยเอาแน่นอนอะไรไม่ได้ รัฐสภาอเมริกัน เพิ่มมาตรการทางกฏหมายควบคุมอุตสากรรมพลังงานให้เข้มข้นขึ้น จีนระงับโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงเพื่อทบทวนเรื่องความปลอดภัย คนไทยใน กทม. คานโฮปเวลถล่ม ไฟไหม้โรงแรม  ป้ายโฆษณาล้ม ก้อตื่นกลัวตรวจสอบกันที แล้วก้อเงียบหายไป ป้ายเสี่ยงที่ไล่รื้อกันมาเป็นสิบปี วันนี้ยังรื้อไม่หมด นี่แหระประเทศไทยที่เรารู้จัก อนาคตก็จะมีโรงงานมากมายไม่ต่างกับป้ายโฆษณาเสี่ยง.-

ระวังเรื่องที่คาดไม่ถึงนะครับ !!!
ฝากนะครับ     ด้วยความเคารพ ทุกๆท่านครับ 

วันศุกร์ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

หาข้อสรุป กับ ผู้ว่า กนอ. กรณี ปตท.สร้างโรงงาน วัตถุอันตราย ไม่แข็งแรงมั่นคง ไม่ตอกเสาเข็มฐานรากทั้งหมด


16.30 - ศุกร์ 18 พ.ค. 2555 ผู้ประสานงานกลุ่มพิทักษ์อากาศสดชื่น มาบตาพุด ขอเข้าพบ  นายวีรพงศ์ ไชยเพิ่ม ผู้ว่าการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.)- เพื่อติดตามหนังสือร้องเรียนที่ส่งมาทางไปรษณีย์ และขอให้เร่งรัด ดำเนินการ เพราะขณะนี้ มีฝนตกหนักพายุลมแรง ติดต่อกันหลายวัน สร้างความวิตกหวาดกลัว ของประชาชนชาวบ้าน ที่มาบตาพุด จากภัยเสี่ยงของ โรงแยกก๊าซ ที่ 6 และโรงแยกก๊าซอีเทน ที่มีคลังก๊าซแอลพีจี มากกว่า 4 พันคันรถ ซึ่ง นายวีรพงศ์ รับปากจะนำเรื่องนี้ บรรจุลงในรายงาน ประเมินความเสี่ยง ของโรงงานต่างๆ ในมาบตาพุด เพื่อทำรายงานเสนอนายก รมต. เพื่อให้มีขบวนการแก้ไขตรวจสอบด้วย แต่จะทำได้รวดเร็วทันการณ์ทันเวลาหรือไม่ ขึ้นอยู่กับหลายภาคส่วนซึ่งไม่ใช่แค่ กนอ. และอีกทั้ง โรงแยกก๊าซใหม่ 2 แห่ง ที่มีความเสี่ยงสูง ไม่ได้อยู่ในเขตรับผิดชอบของ กนอ. แต่อยู่ในเขตเทศบาล (ซึ่งน่าจะเป็นข้อมูลเชิงประจักษ์ แล้วว่า โรงงานเสี่ยงนี้อยู่ในเขตชุมชน ในเขตเทศบาล ซึ่งมีประชาชนชาวบ้านจำนวนมาก)
* ข้อมูล โรงงาน BST ที่ระเบิดเหตุมาจาก "ซีลแตกก๊าซรั่ว" มันก้อระเบิดเองได้ ที่บอกอยู่บ่อยๆ ว่า "ถ้าฐานทรุดมันจะทำให้ก๊าซรั่วไฟไหม้ระเบิดลุกลาม" ซึ่งเหตุ และการคาดการณ์ มีผลสืบเนื่องอ้างอิง ที่ไม่จำเป็นต้องหาตัวอย่างเชิงประจักษ์ อะไรใหม่อีก *





คลิ๊กขวาที่รูป เปิดในหน้าต่างใหม่ แล้วกดที่รูปเพื่อขยาย




ผู้ประสานงานกลุ่มฯ ส่งหนังสือซ้ำอีก เพื่อเร่งรัดเรื่องให้ทันหน้าฝน ที่ฝนตกหนักขึ้น พายุลมแรงขึ้น ที่ไม่รู้ว่า "จะทันการณ์ ทันเวลา" หรือไม่ กับโรงแยกก๊าซใหม่ ปตท.ไม่ตอกเสาเข็ม เสี่ยงสร้างหายนะ! ถ้าแก้ไขไม่ได้ หยุดยั้งไม่ทัน หายนะเกิด ที่พยายามทำมา ตลอด 2 ปี สูญเปล่า ชาวบ้านต้องเจ็บตาย เพราะไม่สนใจตัวเองกัน ... ความพยายามจึงยังไม่หยุด ที่จะส่งซ้ำ ถึงหน่วยงานต่างๆ อีกครั้ง ที่อ้างว่า ยังไม่เคยได้รับ ... ชาวบ้าน ถูก ผู้นำชุมชน ทิ้งให้ตาย เพราะรู้เรื่องนี้กันหมด แต่ไม่เคยบอกเคยเตือนชาวบ้าน ตลอดเวลาที่ผ่านมา ทำไม่รู้ไม่เห็นกันหมดอะไรทำไม

(ดูสิว่า ปตท.จะตามไป ปิดปาก จนเงียบสนิทอีกหรือไม่ ค่าปิดปาก เรื่องนี้ จ่ายไปแล้วเท่าไหร่ ส่งไปให้ใครจึงเงียบกันหมด แม้กระทั่ง อดีตนายก อภิสิทธิ์ "รอบคอบ รู้คิด มีจิตสาธารณะ")
โถ! ก้อขนาด เครือข่ายประชาชน ภาคตะวันออก ที่อ้างว่าสนใจ คนมาบตาพุด ยังเฉยชา อะเหวยๆ ไหนว่า ห่วงประชาชนชาวบ้าน ทำไมทำกันแบบนี้ ... คุยอะไรกันรู้เรื่อง เรื่องที่มันไม่มั่นคงแข็งแรง มันต้องตรวจสอบซ่อมสร้าง ไม่ใช่แค่...คุยกัน

* ส่งคำร้อง ขอเร่งรัดคดี ครั้งที่ 3 ศาลปกครองสูงสุด ก้อใช่นะ ต่างพระเนตรพระกรรณ์ ที่วันนี้ ทำหน้าที่กันหรือไม่ ถ้ารอ ตุลาการศาล ชาวบ้านคงจะต้องตายสังเวย กี่พันกี่หมื่นศพ ...
* ประธาน คณะกรรมการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ (นายก ปู)
* ประธานคณะกรรมาธิการ ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม วุฒิสภา
* ประธานคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชน สิทธิเสรีภาพและการคุ้มครองผู้บริโภค วุฒิสภา
* ประธานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
* ผู้ว่าการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ขอเข้าพบแล้ว ให้รอเรื่องที่จะดำเนินการ)
* ผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง (ขอเข้าพบแล้ว ผู้ว่า อ้างว่าไม่มีอำนาจ)
* นายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองมาบตาพุด (ขอเข้าพบแล้ว นายก อ้างว่าไม่มีอำนาจ)






วันจันทร์ที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

สาธารณะกรรม - ปัญหามาบตาพุด ที่ไม่เคยแก้ถูกจุด โดย นายสยุมพร ลิ่มไทย อดีต.ผวจ.ระยอง



อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง นายสยุมพร ลิ่มไทย ได้นำเสนอปัญหาของอันตรายจากมาบตาพุดไปแล้ว
"การบังคับใช้กฎหมายมีลักษณะของการเข้าไปกำกับ ดูแลและบังคับป้องกันมากกว่าการเข้าไปแก้ไขปัญหาภายหลังเกิดเหตุการณ์ขึ้นแล้วเช่นทุกครั้ง"

คราวนี้จึงเป็นแนวทางการแก้ไขปัญหา โดยระบุว่าจะต้องดำเนิน การแบบครบวงจรทั้งระบบในระยะสั้นและระยะยาว คือมาตรการระยะสั้น สิ่งที่ควรดำเนินการตามความจำเป็นเร่งด่วนคือ การเพิ่มขีดความสามารถในการป้องกันและบรรเทาผลกระทบในระดับท้องถิ่น ดังนี้

1.การจัดตั้งศูนย์ข้อมูลและแจ้งเตือนภัยภาคประชาชน โดยใช้สถานที่ภายในสำนักงานเทศบาลเมืองมาบตาพุด เนื่องจากประชาชนและผู้นำชุมชนต่างๆ สามารถเดินทางเข้า-ออก ได้อย่างสะดวกเชื่อมโยงระบบข้อมูลของโรงงานต่างๆ จากศูนย์ของสำนักงานนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดและนิคมอื่นๆ ไปที่ศูนย์ภาคประชาชน สามารถทำให้รับข้อมูลอย่างเท่าเทียมกัน ปรับปรุงระบบแจ้งเตือนภัยให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งด้านหอกระจายข่าว สัญญาณเตือนภัย วิทยุชุมชน จัดหาอุปกรณ์ที่จำเป็นในการอพยพประชาชน การนำส่งผู้บาดเจ็บไปโรงพยาบาล การระงับเหตุการณ์เบื้องต้น และการเฝ้าระวังพื้นที่จุดเสี่ยงต่างๆ

2.การเพิ่มสมรรถนะของโรงพยาบาลมาบตาพุดและศูนย์อาชีวเวชศาสตร์ ที่มีอยู่แล้วในปัจจุบัน ให้สามารถตรวจรักษาและเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบได้มากขึ้น รวมถึงการตรวจสุขภาพประชาชนในเขตควบคุมมลพิษ ด้วยการเพิ่มอุปกรณ์ทางการแพทย์ให้ทันสมัย จัดอัตรากำลังแพทย์ พยาบาล และเจ้าหน้าที่ให้เต็มตามกรอบอัตรา เพราะทุกครั้งที่เกิดอุบัติภัยจากสารเคมี ผู้บาดเจ็บหรือผู้ได้รับผลกระทบจะถูกนำส่งไปตามโรงพยาบาลต่างๆ ทั้งของรัฐและเอกชน ซึ่งโดยปกติจะรับผู้ป่วยทั่วไป มิใช่โรงพยาบาลเฉพาะทางด้านอาชีวเวชศาสตร์โดยตรง ดังนั้น ควรปรับปรุงและพัฒนาให้โรงพยาบาลมาบตาพุด และศูนย์อาชีวเวชศาสตร์ เป็นศูนย์ที่สามารถตรวจ รักษาประชาชนในเขตควบคุมมลพิษได้ ทั้งในภาวะฉุกเฉินและภาวะปกติ

3.การจัดทำแนวป้องกันระหว่างโรงงานอุตสาหกรรมกับประชาชนที่มีพื้นที่ติดกัน หรืออยู่บริเวณใกล้เคียงกัน โดยใช้พื้นที่ของโรงงานปลูกต้นไม้ใหญ่ลักษณะเรือนสามยอด หรือจัดทำกำแพงป้องกัน เพื่อสร้างความมั่นใจแก่ประชาชนและชุมชน รวมถึงลดผลกระทบจากสารเคมีหากเกิดเหตุการณ์ขึ้น การจัดทำแนวป้องกันดังกล่าวจะต้องกำหนดไว้ในระเบียบ ข้อบังคับให้ทุกโรงงานที่มีแนวเขตติดต่อหรือใกล้เคียงกับชุมชน บ้านเรือนราษฎร โรงเรียน ต้องดำเนินการจัดให้มีขึ้นภายในระยะเวลาที่กำหนด โดยอาจกำหนดเป็นเงื่อนไขในมาตรการป้องกันผลกระทบสิ่งแวดล้อม

4.การเพิ่มอำนาจของท้องถิ่นในการบังคับใช้กฎหมาย จากข้อเท็จจริงในปัจจุบัน อำนาจการบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับโรงงานอุตสาหกรรมส่วนใหญ่อยู่ที่หน่วยงานในระดับกระทรวงและกรมในส่วนกลาง ไม่ว่าจะเป็นการพิจารณาสั่งปิดโรงงานชั่วคราว การตรวจค้น การตรวจสอบ การสั่งให้ปรับปรุงแก้ไข ควรมอบอำนาจดังกล่าวให้อยู่ที่ระดับจังหวัดเพื่อสามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพและบูรณาการกับการบังคับใช้กฎหมายอื่นของส่วนราชการที่เกี่ยวข้องในพื้นที่และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะทำให้การบังคับใช้กฎหมายมีลักษณะของการเข้าไปกำกับ ดูแลและบังคับป้องกันมากกว่าการเข้าไปแก้ไขปัญหาภายหลังเกิดเหตุการณ์ขึ้นแล้วเช่นทุกครั้ง

สำหรับมาตรการระยะยาวขอเวลาในการนำเสนออีกช่วงหนึ่งในโอกาสต่อไปไม่นานนัก.

“ซี.12”

ไทยรัฐออนไลน์
โดย ซี.12
15 พฤษภาคม 2555, 05:00 น.

"จะทันการณ์ ทันเวลา" หรือไม่ กับโรงแยกก๊าซใหม่ ปตท.ไม่ตอกเสาเข็ม



ผู้ประสานงานกลุ่มฯ ส่งหนังสือซ้ำอีก เพื่อเร่งรัดเรื่องให้ทันหน้าฝน ที่ฝนตกหนักขึ้น พายุลมแรงขึ้น ที่ไม่รู้ว่า "จะทันการณ์ ทันเวลา" หรือไม่ กับโรงแยกก๊าซใหม่ ปตท.ไม่ตอกเสาเข็ม เสี่ยงสร้างหายนะ! ถ้าแก้ไขไม่ได้ หยุดยั้งไม่ทัน หายนะเกิด ที่พยายามทำมา ตลอด 2 ปี สูญเปล่า ชาวบ้านต้องเจ็บตาย เพราะไม่สนใจตัวเองกัน ... ความพยายามจึงยังไม่หยุด ที่จะส่งซ้ำ ถึงหน่วยงานต่างๆ อีกครั้ง ที่อ้างว่า ยังไม่เคยได้รับ ... ชาวบ้าน ถูก ผู้นำชุมชน ทิ้งให้ตาย เพราะรู้เรื่องนี้กันหมด แต่ไม่เคยบอกเคยเตือนชาวบ้าน ตลอดเวลาที่ผ่านมา ทำไม่รู้ไม่เห็นกันหมดอะไรทำไม

(ดูสิว่า ปตท.จะตามไป ปิดปาก จนเงียบสนิทอีกหรือไม่ ค่าปิดปาก เรื่องนี้ จ่ายไปแล้วเท่าไหร่ ส่งไปให้ใครจึงเงียบกันหมด แม้กระทั่ง อดีตนายก อภิสิทธิ์ "รอบคอบ รู้คิด มีจิตสาธารณะ")
โถ! ก้อขนาด เครือข่ายประชาชน ภาคตะวันออก ที่อ้างว่าสนใจ คนมาบตาพุด ยังเฉยชา อะเหวยๆ ไหนว่า ห่วงประชาชนชาวบ้าน ทำไมทำกันแบบนี้ ... คุยอะไรกันรู้เรื่อง เรื่องที่มันไม่มั่นคงแข็งแรง มันต้องตรวจสอบซ่อมสร้าง ไม่ใช่แค่...คุยกัน

* ส่งคำร้อง ขอเร่งรัดคดี ครั้งที่ 3 ศาลปกครองสูงสุด – ก้อใช่นะ ต่างพระเนตรพระกรรณ์ ที่วันนี้ ทำหน้าที่กันหรือไม่ ถ้ารอ ตุลาการศาล ชาวบ้านคงจะต้องตายสังเวย กี่พันกี่หมื่นศพ ...
* ประธาน คณะกรรมการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ (นายก ปู)
* ประธานคณะกรรมาธิการ ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม วุฒิสภา
* ประธานคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชน สิทธิเสรีภาพและการคุ้มครองผู้บริโภค วุฒิสภา
* ประธานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
* ผู้ว่าการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
* ผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง

วันเสาร์ที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

บ่วงแหที่แก้ไม่หลุด ของ คนที่อ้างว่าเป็น "ตัวแทนชาวบ้าน"



สำเหนียกสำนึกสาธารณะ แบบไหน ปล่อยทิ้งให้ชาวบ้านเสี่ยงตาย เสี่ยงภัยหายนะ ! ผมเหนื่อยนะ ทำงาน แล้วเจอคนที่มีต้นทุนสังคมสูง แต่ เลวเชิงประจักษ์ ได้แบบนี้ ...น่าท้อใจครับ ... ยากส์เหลือเกิน ที่จะสู้อะไรกับทุนสามานย์ มันไล่ซื้อคนดีไปหมด บางที อาจจะต้อง "ทวงคืน คนดีของสังคม" กันก่อนกระมัง !!

สำเหนียกสำนึกสาธารณะ แบบไหน ปล่อยทิ้งให้ชาวบ้านเสี่ยงตาย เสี่ยงภัยหายนะ ! ผมเหนื่อยนะ ทำงาน แล้วเจอคนที่มีต้นทุนสังคมสูง แต่ เลวเชิงประจักษ์ ได้แบบนี้ ...น่าท้อใจครับ ... ยากส์เหลือเกิน ที่จะสู้อะไรกับทุนสามานย์ มันไล่ซื้อคนดีไปหมด บางที อาจจะต้อง "ทวงคืน คนดีของสังคม" กันก่อนกระมัง !!
ไม่รู้ว่าจริงใจแค่ไหน ทำไมเงียบกับเรื่องนี้ได้ ... ที่ต้องตอบชาวบ้าน ปล่อยให้เขาเสี่ยงตายกัน ... https://www.facebook.com/photo.php?fbid=399022716808742&set=a.122795581098125.10334.100001030503789&type=1&theater
"คนแกล้งดี - บ่วงแหที่แก้ไม่หลุด เพราะ ตัวแทนประชาชน"



ล่าสุด ในการประชุม คกก. 4 ฝ่าย - ตามที่ เลขาฯ แจ้งให้ทราบว่า ... มีข้อร้องเรียน เรื่องโรงงานเสี่ยง ของ ปตท. ไม่ตอกเสาเข็ม อาจทรุดพัง ระเบิดลุกลาม - กลับไม่มีตัวแทนภาคประชาชน ออกความเห็นเรื่องนี้ แต่อย่างไร ในเมื่อไม่มีตัวแทนภาคประชาชน ใครคนไหนสนใจ / ปตท. ชี้แจง ว่าทุกอย่างแข็งแรงดี ดินแข็งมากจึงไม่จำเป็นต้องตอกเสาเข็ม (ทั้งๆที่ เป็น บริเวณน้ำท่วมขังถ้าฝนตกหนัก) ทุกอย่างจบตรงนั้น ไม่จำเป็นต้องทบทวนอีก ... บ่วงแห ที่ประชาชนคนมาบตาพุด แกะไม่ออก ทั้งๆที่ 4 คนนี้ ไม่ใช่คนรับผลกระทบใด ถ้าเกิดเหตุร้ายขึ้น - http://adaylost.blogspot.com/2011/01/blog-post.html
ทั้งสื่อมวลชน ทั้ง NGO เป็นเหมือนกัน แค่รับเงินสนับสนุนโครงการ ก้อยังปล่อยทิ้ง ชาวบ้านให้เสี่ยงตายได้ วันนี้ ที่มันไม่มีความพร้อมในการระงับเหตุ - รับมือสถานการณ์ฉุกเฉิน เป็น 0 - แต่ทำไม เขียนออกมาได้ แบบนี้ น่าขยะแขยง - https://www.facebook.com/photo.php?fbid=398908743486806&set=a.122795581098125.10334.100001030503789&type=1&theater
ก้อที่บอกครับ มันยากเหลือเกิน ที่จะทำอะไร ... เมื่อคนอ้างเป็น ตัวแทนชาวบ้าน ห่วงใยชาวบ้าน ทำแบบนี้ แล้วปัญหาอะไรจะแก้ได้ - ทั้งสื่อมวลชน ทั้ง NGO เป็นเหมือนกัน แค่รับเงินสนับสนุนโครงการ ก้อยังปล่อยทิ้ง ชาวบ้านให้เสี่ยงตายได้ วันนี้ ที่มันไม่มีความพร้อมในการระงับเหตุ - รับมือสถานการณ์ฉุกเฉิน เป็น 0 - แต่ทำไม เขียนออกมาได้ แบบนี้ น่าขยะแขยง -

NGO สวนทาง กับ ที่ชาวบ้านประสพ ลองอ่านดูเองเถิด ...ทำไมต้องโกหก
ด้านนางสาวเพ็ญโฉม แซ่ตั้ง ผู้อำนวยการมูลนิธิบูรณะนิเวศ ได้ให้ความเห็นต่อกรณีนี้ว่า การที่สามารถควบคุมเหตุเพลิงได้ภายในที่ค่อนข้างรวดเร็ว รวมทั้งตัดสินใจประกาศอพยพ 18 ชุมชน เพื่อป้องกันผลกระทบหากเหตุลุกลามเป็นวงกว้างในครั้งนี้ ถือได้ว่า การจัดการกับอุบัติภัยสารเคมีของประเทศไทยมีพัฒนาขึ้น

อย่างไรก็ตาม ยังมีส่วนจำเป็นต้องปรับปรุงอีกมาก ซึ่งส่วนที่สำคัญคือการแจ้งเตือนประชาชนในพื้นที่ ซึ่งเหตุครั้งนี้ยังพบปัญหาในทางปฏิบัติอยู่หลายส่วน เช่น ชาวบ้านไม่ได้ยินเสียงตามสายเพราะฝนตกหนัก ระบบ sms ไม่แจ้งเตือนเพราะเจ้าหน้าที่เพิ่งรับทราบข่าวหลังเหตุสงบแล้ว จุดรวมพลในการอพยพไม่ชัดเจน หรือแม้จะมีการประกาศผ่านทางสื่อโทรทัศน์แต่ประชาชนในพื้นที่ที่ไม่ได้ดูก็ไม่ได้รับข้อมูลเป็นต้น
(ที่ต้องนำเรื่องนี้ มาบอกเพราะสุดท้ายแล้ว จะมีพวกที่นำเอกสารชิ้นที่ เพ็ญโฉมเขียน ไปยื่นเป็นหลักฐานในศาลในอนาคต กรณีมีเรื่องฟ้องร้องต่างๆ และขบวนการที่จะให้ปรับปรุงความพร้อม เครืองมืออุปกรณ์ดับเพลิง และมาตรการต่างๆ ย่อมเกิดไม่ได้ด้วย)
·        ใครอยากรู้ ว่าใครไหนบ้าง ถามผม แบบไหนอย่างไร
(คนพวกนี้ ล้วนปกปิด เรื่องโรงแยกก๊าซใหม่ ปตท. ไม่ตอกเสาเข็มทั้งนั้น) - นี่แหระครับ คนแกล้งดีเชิงประจักษ์ ไม่ปิดบัง ปิดไมค์ไม่ให้พูด ...
นางสาวเพ็ญโฉม แซ่ตั้ง เป็นอนุกรรมาธิการเสริมสร้างธรรมาภิบาล
แต่วันนี้ บอกว่า กรณีระงับเหตุและบริหารสถานการณ์ฉุกเฉินมาบตาพุด เป็นการจัดการกับอุบัติภัยสารเคมีของประเทศไทยมีพัฒนาขึ้น
ทั้งที่ความจริงคือ ระงับเหตุไม่ได้ถ้าไม่มีฝนช่วย เอาไม่อยู่จะลุกลามไป ไบเออร์ และแผนรับสถานการณ์ฉุกเฉินนั้น เป็น 0 ที่ถือว่า "ล้มเหลวโดยสิ้นเชิง" ความเห็นที่จะทิ้งความเสี่ยงภัยให้ชาวบ้านจากความไม่พร้อม ... ซึ่งเรื่องนี้ ชาวบ้านมาบตาพุด กำลังเรียกร้อง ให้มีมาตรการที่สามารถรับมือเหตุภัยได้
ทำไม ! ทำกันแบบนี้ ลองไปดู ว่ามีใครบ้าง
คณะอนุกรรมาธิการเสริมสร้างธรรมาภิบาล
๑. นางสาวรสนา โตสิตระกูล เป็นประธานคณะอนุกรรมาธิการ
๒. นางพรพันธุ์ บุณยรัตพันธุ์ เป็นรองประธานคณะอนุกรรมาธิการคนที่หนึ่ง
๓. นายพิเชต สุนทรพิพิธ เป็นรองประธานคณะอนุกรรมาธิการคนที่สอง
๔. นางมาลีรัตน์ แก้วก่า เป็นโฆษกคณะอนุกรรมาธิการ
๕. นางกิมอัง พงษ์นารายณ์ เป็นอนุกรรมาธิการ
๖. นางสาวเพ็ญโฉม แซ่ตั้ง เป็นอนุกรรมาธิการ
๗. นายวิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ เป็นอนุกรรมาธิการ
๘. นางสาวสายรุ้ง ทองปลอน เป็นอนุกรรมาธิการ
๙. หม่อมหลวงกรกสิวัฒน์ เกษมศรี เป็นเลขานุการคณะอนุกรรมาธิการ
๑๐. นางสาวกนกกาญจน์ อนุแก่นทราย เป็นเลขานุการคณะอนุกรรมาธิการ


·        ผู้ประสานงานกลุ่มพิทักษ์อากาศสดชื่น มาบตาพุด ได้เข้าพบ ประธานกรรมาธิการต่างๆ ของวุฒิสภา เพื่อส่งหนังสือร้องเรียนเรื่องโรงแยกก๊าซใหม่ ปตท. เสี่ยง ก่อหายนะภัย พร้อมชี้แจง และตอบข้อสงสัย ก่อนที่ ประธานคณะกรรมาธิการต่างๆ จะมีการเข้าพบกับ นายอานันท์ ปันยารชุน ประธาน คกก. 4 ฝ่าย เพื่อหารือ-แลกเปลี่ยน ข้อสงสัย กรณีประกาศ 11 ประเภทกิจการรุนแรง ของรัฐบาล ... http://maptaphut-news.blogspot.com/2010/09/blog-post_14.html





วันพฤหัสบดีที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

อดีตคนงานแฉภัยสารพิษทำหัวหน้าฆ่าตัว เครือข่ายผู้ป่วยฯจี้รัฐเร่งแก้ความปลอดภัย


อดีตคนงานแฉภัยสารพิษทำหัวหน้าฆ่าตัว เครือข่ายผู้ป่วยฯจี้รัฐเร่งแก้ความปลอดภัย ศรีสุวรรณยื่นศาลถอน'อีไอเอ-ใบอนุญาต'

โดย ชุลีพร บุตรโคตร ศูนย์ข่าว TCIJ
  อดีตคนงานโรงงานบีเอสที เผยเหตุสลดชีวิตคนงานที่ถูกสารเคมีจนทนทรมานไม่ไหว ผูกคอตายหนีความทรมาน หลังรับสารพิษมากว่า 2 ปี จนร่างกายเป็นแผลพุพองไปทั่ว ด้านเครือข่ายผู้ป่วยฯ จี้รัฐบาล-ผู้ประกอบการหามาตรการเร่งด่วน แก้ปัญหาความปลอดภัยของแรงงาน ทั้งในระยะสั้น-ระยะยาว ขณะที่สมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน เตรียมร้องศาลปกครองสูงสุดสั่งสผ. เพิกถอนใบอนุญาตและอีไอเอบีเอสทีและอดิตยาฯ ที่สร้างผลกระทบให้กับคนงานและสิ่งแวดล้อม
 

จากเหตุการณ์เหตุระเบิดขึ้นในโรงงานบีเอสที ในเครือบริษัท กรุงเทพซินธิติกส์ จำกัด ในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จ.ระยอง ตามมาด้วยเหตุการณ์สารเคมีรั่วไหลของโรงงานของบริษัท อดิตยาเบอร์ล่า จำกัด ในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด เช่นเดียวกัน เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์นี้ 12 ราย และบาดเจ็บอีกจำนวนมาก จนกลายเป็นประเด็นที่ยังถูกกล่าวถึงอย่างต่อเนื่อง และหลังจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นดังกล่าว ได้เกิดความเคลื่อนไหวขึ้นตามมาโดยเฉพาะในภาคแรงงาน กับประเด็นเรื่องความปลอดภัยในที่ทำงานซึ่งมีการออกมาแสดงความคิดเห็น และเรียกร้องให้ผู้ประกอบการ รัฐบาล รวมไปถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหันมาให้ความสนใจในการดูแลสวัสดิภาพ ความปลอดภัย และสุขภาพของผู้ปฏิบัติงานมากกว่านี้ หลังจากที่พบว่าในระยะที่ผ่านมาเกิดอุบัติเหตุภายในสถานปฏิบัติงานที่ส่งผลกระทบต่อทั้งตัวพนักงานและชุมชนที่อยู่รอบข้างมากขึ้น
อดีตคนงานบีเอสทีแฉภัยในโรงงานบีเอสที

นายสมหมาย ประไว นักสื่อสารแรงงาน จากเครือข่ายสมาฉันท์แรงงานไทย ให้สัมภาษณ์ศูนย์ข่าว TCIJ ว่า หลังเกิดเหตุระเบิดและไฟลุกไหม้ที่โรงงานดังกล่าวแล้ว ได้พยายามสืบค้นข้อมูลจากเพื่อนพนักงานโรงงานอุตสาหกรรมในพื้นที่ด้วยกัน ซึ่งได้รับทราบจากอดีตพนักงานบริษัท กรุงเทพ ซินธิติกส์ ในนิคมอุตสาหกรรมมาบพุด จ.ระยอง ซึ่งเป็นโรงงานที่เกิดเหตุ เล่าว่า ในช่วงที่เขาทำงานในโรงงานแห่งนี้ ช่วงการทำงานจะแบ่งออกเป็น 3 plan แต่ละ plan มีพนักงานประมาณ 100  คน การทำงานมีเพียง 2 กะ กะละ 12 ชั่วโมง ทำ 2 วัน หยุด 2 วัน ทำ 3 วันหยุด 3 วัน รับเงินเป็นเงินเดือน ตกเดือนละประมาณ 8,000 บาท
ตัวของผู้ให้ข้อมูลระบุว่า เคยทำงานในตำแหน่ง Fild Operator คือ พนักงานระดับปฏิบัติการ ทำหน้าที่เก็บตัวอย่างของสารเคมีที่ผสมแล้ว เพื่อนำไปส่งให้กับพนักงานประจำห้องแล็บ ตรวจสอบกระบวนการผสมหรือการทำปฏิกิริยาของสารเคมีว่า ได้ผลกี่เปอร์เซ็นแล้ว รวมทั้งทำหน้าที่ปิด-เปิดวาล์วท่อสารเคมี ที่มีท่อจำนวนมาก อาจจะมีสูงถึงหลักพันวาล์ว ซึ่งในการทำงานพนักงานจะต้องทำตามขั้นตอน และคู่มือการทำงานอย่างเคร่งครัด เพราะหากเกิดความผิดพลาด จะทำให้เกิดเหตุร้ายแรงขึ้นอย่างแน่นอน เนื่องจากในกระบวนการผลิตหากถังที่บรรจุสารเคมีเต็มแล้ว ยังมีการเปิดวาล์วเพิ่มจำนวนสารเคมีเข้าไปอีก แรงดันจะดันจนถังบรรจุรับไม่ไหวและจะเกิดระเบิดขึ้นทันที
นายสมหมายกล่าวต่อว่า จากการพูดคุยกับอดีตพนักงานคนดังกล่าว ยังได้ข้อมูลอีกว่า สำหรับสารเคมีที่ใช้ในโรงงานแห่งนี้ บางชนิดต้องควบคุมอุณหภูมิให้อยู่ไม่เกินลบ 14 องศาเซลเซียส หากเกิดการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิจนสูงขึ้นกว่านั้น อาจติดไฟและระเบิดขึ้นได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่เสี่ยงต่อการเกิดอันตรายเป็นอย่างมาก ส่วนสาเหตุที่เขาต้องลาออกจากโรงงาน เพราะรู้สึกว่าสภาพแวดล้อมในการทำงานไม่ดี และมีอาการแพ้สารเคมี  โดยเฉพาะจุดที่ทำอยู่นั้นมีสารสไตรีนบิวทาไดอีน ซึ่งเป็นสารที่นำมาเป็นส่วนผสมหนึ่งในกระบวนการผลิตยางสังเคราะห์ ซึ่งพนักงานส่วนใหญ่จะรับรู้ถึงอันตรายของสารตัวนี้ เพราะแค่ไอของสารมาสัมผัสถูกผิวหนังอาจจะทำให้ผิวหนังไหม้ได้ และในช่วงแรกที่เริ่มเข้าไปทำงาน เขาระบุว่า แค่ได้กลิ่นและสูดดมเข้าไปก็เกิดอาการแสบจมูก แสบคอ ตลอดเวลาที่ทำอยู่ 2 ปี รับรู้ได้ว่าร่างกายมีความอ่อนแอลงอย่างเห็นได้ชัด ถึงแม้บริษัทจะมีอุปกรณ์ความปลอดภัยส่วนบุคคลให้ ขณะปฏิบัติงานก็ตาม แต่ก็มีบางจังหวะที่เผลอเรอบ้าง
รันทดคนงานผูกคอตายหนีทรมานจากสารเคมี

“เรื่องของผลกระทบที่พนักงานในโรงงานได้รับจากสารเคมีต่างๆ ในโรงงานแห่งนี้ มีให้พบเห็นอยู่อย่างต่อเนื่อง มีอยู่กรณีหนึ่งที่สร้างความสะเทือนใจให้กับพนักงานของโรงงานแห่งนี้เป็นอย่างมาก คือ กรณีของหัวหน้างานคนหนึ่งอายุประมาณ 40 ปี ซึ่งเป็นที่ทราบกันว่า ทำงานกับบริษัทมา 8 ปี เป็นผู้ที่ทุ่มเทให้กับงานมาก เวลางานติดขัดหรือมีปัญหาหัวหน้างานคนนี้จะรีบไปแก้ไขทันที จนบางครั้งไม่ได้ใส่ใจที่จะสวมอุปกรณ์ป้องกันภัยจากสารเคมีต่างๆ เขาทำเป็นประจำ จนในที่สุดการที่รับสารเคมีสะสมเรื่อยๆ ทำให้เขาเกิดอาการไม่สบายจนต้องไปหาหมอ ซึ่งหมอได้ให้ยาเพื่อขับสารพิษที่ตกค้างอยู่ภายในร่างกาย ผลก็คือร่างกายรวมทั้งผิวหนังของเขามีผื่นตุ่มคัน แต่เขาก็ยังคงทานยาและมาทำงานตามปกติ โดยบริษัทเองก็ให้การช่วยเหลือดูแลค่าใช้จ่ายทั้งหมด แต่สุดท้ายเขาทนอยู่ได้ประมาณ 2 ปี จึงตัดสินใจลาโลกด้วยการผูกคอตายในห้องพักของตัวเองเพื่อหนีโรคร้ายที่เกิดขึ้น ซึ่งเป็นเรื่องที่พนักงานส่วนใหญ่สะเทือนใจอย่างมาก” นายสมหมายกล่าว

เครือข่ายผู้ป่วยฯชี้ชีวิตคนงานเสี่ยงภัยทุกวินาที


ส่วนความคืบหน้าในการดำเนินการกับเหตุการณ์สารเคมีระเบิดดังกล่าว วันเดียวกัน นางสมบุญ สีคำดอกแค สภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยจากการทำงานและสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย ออกแถลงการณ์ เรียกร้องผลักดันนโยบายสุขภาพความปลอดภัยให้เป็นจริง โดยระบุถึงกรณีเหตุการณ์ระเบิดของโรงงานบริษัท กรุงเทพ ซินธิติกส์ ในนิคมอุตสาหกรรมมาบพุด จ.ระยอง ว่า เป็นความบกพร่องประมาทเลินเล่อ ของสถานประกอบการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จนเป็นเหตุให้สะเทือนขวัญ เหตุการณ์ระเบิดโรงงานครั้งนี้ นับเป็นข่าวสร้างความเสียหายอีกครั้งหนึ่ง ต่อภาพลักษณ์ของสังคมและประเทศชาติ ที่อาจทำให้ถูกมองว่า มีแต่นโยบายที่มุ่งเน้นแต่การพัฒนาอุตสาหกรรม จนละเลยขาดระบบการป้องกันตรวจสอบ
นางสมบุญกล่าวว่า จากเหตุการณ์โศกนาฏกรรมโรงงานตุ๊กตาเคเดอร์ไฟไหม้ เมื่อวันที่ 10 พ.ค.2536 ผ่านมาจะครบรอบ 19 ปี สถานการณ์เรื่องสุขภาพความปลอดภัยในการทำงาน ชีวิตคนงานก็ยังต้องตกอยู่ในสภาวะวิกฤต เสี่ยงภัยอยู่ทุกวินาที ทั้งภัยเครื่องจักรอันตราย และจากสารเคมีที่ร้ายแรง รวมไปถึงปัญหาในการเข้าไม่ถึงถึงสิทธิขั้นพื้นฐานตามกฎหมาย สภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยฯ จึงมีความเห็นและขอเสนอข้อเรียกร้องต่อรัฐบาล ในการดำเนินการแก้ไขปัญหาเร่งด่วน ต่อกรณีนี้ดังนี้
1.ให้คนงานที่บาดเจ็บและเสียชีวิตในครั้งนี้ได้เข้าถึงสิทธิการดูรักษาอย่างดีและได้เข้าถึงสิทธิตามกฎหมายกองทุนเงินทดแทน 2.ให้นายจ้างจ่ายเงินชดเชยเพื่อแสดงความรับผิดชอบนอกเหนือกฎหมาย 3.ให้ตรวจสอบสถานประกอบการณ์ที่มีอันตรายโดยเร่งด่วนและยุติการผลิตจนกว่าจะปรับปรุงแก้ไขให้ปลอดภัย
เสนอรัฐชัดเจนนโยบายความปลอดภัยระยะยาว

นอกจากประเด็นการเยียวยาวในระยะสั้นแบบเร่งด่วนแล้ว ในแถลงการณ์ฉบับดังกล่าวยังได้เสนอต่อภาครัฐในการดำเนินการระยะยาว คือ 1.รัฐต้องมีนโยบายแผนงานแห่งชาติพัฒนาระบบงานอาชีวเวชศาสตร์เพื่อให้มีการผลิตบุคลกรทางการแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญในสาขาอาชีวเวชศาสตร์และสิ่งแวดล้อมที่มีคุณภาพ และปริมาณเพียงพอในระยะยาว การจัดตั้งคลินิกโรคจากการทำงาน ที่ต้องคำนึงถึงมาตรฐาน การจัดบริการที่สามารถทำให้ลูกจ้าง นายจ้างเข้าถึงได้ง่าย
2.ต้องมีนโยบายชัดเจนที่จะพัฒนาส่งเสริมป้องกันการประสบอันตราย หรือเจ็บป่วยจากการทำงาน เพื่อลดการสูญเสียในอนาคตของลูกจ้าง นายจ้างลดรายจ่ายการส่งเงินสมทบเข้ากองทุนเงินทดแทน 3.ต้องให้มีนโยบายส่งเสริมเรื่องตรวจสุขภาพลูกจ้าง ที่สอดคล้องกับปัจจัยเสี่ยงในการทำงาน ตามกฎกระทรวงอย่างต่อเนื่อง โดยลูกจ้างมีสิทธิเลือกแพทย์สถานพยาบาล เพื่อสร้างหลักประกันความมั่นใจของลูกจ้าง 4.รัฐบาลลงสัตยาบันต่ออนุสัญญาขององค์การแรงงานระหว่างประเทศที่จำเป็นต่อบริการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน ดังนี้ ฉบับที่ 155 ว่าด้วย ความปลอดภัยในการทำงานและอาชีวอนามัย ค.ศ.1981 (พ.ศ.2524) ฉบับที่ 161 ว่าด้วยการบริการอาชีวอนามัย ค.ศ.1985 (พ.ศ.2528) และฉบับที่ 187 ว่าด้วยกรอบงานส่งเสริมความปลอดภัยในการทำงานและอาชีวอนามัย ค.ศ.2006 (พ.ศ.2549)


ชี้ต้องให้ทุกหน่วยมีส่วนร่วมอย่างจริงจัง


5.ร่วมกับเครือข่ายแรงงาน สภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยงานจากการฯ องค์กรนายจ้าง องค์กรลูกจ้าง และภาคีเครือข่ายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) สถาบันการศึกษาที่ผลิต/อบรมบุคลากรด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา สำนักงานคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ กระทวงอุตสาหกรรม และกระทรวงอื่นๆ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกระดับ ร่วมกันพัฒนารูปแบบการทำงาน ด้านอาชีวอนามัยฯ  เพื่อนำไปสู่ “วัฒนธรรมความปลอดภัย” ในการทำงาน
6.การบังคับใช้กฎหมาย พ.ร.บ.ความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานอย่างจริงจัง
7.เร่งจัดตั้งสถาบันส่งเสริมความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานที่เป็นองค์กรมหาชน มีส่วนร่วม และ บูรณาการ มาทำงานด้านการคุ้มครองสุขภาพและความปลอดภัยในการทำงาน ให้กับแรงงานไทย โดยเน้นมีศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์และ โครงสร้างกรรมการต้องมาจากการสรรหา
8.การงดใช้แร่ใยหิน ชดเชยผู้ป่วย และ 9.จัดตั้งกองทุนผู้ประสบภัยจากการทำงานและมลพิษ ทั้งนี้ สภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยฯ ในสมัชชาคนจน เป็นองค์กรที่รวบรวมสมาชิกที่มีทั้งคนงานและชุมชนที่ประสบปัญหาสุขภาพเจ็บป่วยและประสบอันตรายจากการทำงานและมลพิษสิ่งแวดล้อม รวมกลุ่มมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2536 ดำเนินการร่วมเรียกร้องสิทธิ และ ผลักดันนโยบายอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน กับรัฐบาลในนามสมัชชาคนจนมาอย่างต่อเนื่อง โดยมีการทำงานร่วมกับเครือข่ายผู้นำด้านสุขภาพในพื้นที่อุตสาหกรรมต่างๆ ที่ทำงานขับเคลื่อนร่วมกัน ทั้งยังเข้าร่วมเครือข่ายคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทยด้วย

ฟ้องศาลปกครองถอนอีไอเอ-ใบอนุญาตบีเอสที-อดิตยาฯ

นอกจากประเด็นเรื่องของความปลอดภัยในการทำงาน ที่ภาคแรงงานออกมาเรียกร้อง เพื่อให้ผู้ประกอบการ และภาครัฐเข้มงวด และให้ความสำคัญในการบังคับใช้กฎหมายมากขึ้นแล้ว ในประเด็นของการดูแลเรื่องมาตรการความปลอดภัยในด้านสิ่งแวดล้อม และชุมชน ก็เป็นอีกประเด็นหนึ่ง ที่มีการเคลื่อนไหวด้วยเช่นกัน โดยนายศรีสุวรรณ จรรยา นายกสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน เปิดเผยว่า ตามที่ศาลปกครองสูงสุดเคยมีคำสั่งลงวันที่ 2 ธ.ค.2552 ในคดีที่สมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน และชาวบ้านมาบตาพุดรวม 43 รายได้ยื่นฟ้องหน่วยงานรัฐ รวม 8 หน่วยงาน เพื่อขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตโรงงานต่างๆ จำนวน 76 โรงงานในพื้นที่มาบตาพุดและใกล้เคียง และให้ปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 67 วรรคสองนั้น
แต่เนื่องจากเมื่อวันที่ 5-6 พ.ค.2555 ที่ผ่านมา ได้เกิดเหตุระเบิดขึ้นในโรงงานบริษัท กรุงเทพซินธิติกส์ จำกัด และโรงงานของบริษัทอดิตยา เบอร์ล่า จำกัด ตามลำดับ ทำให้มีผู้ล้มตายและบาดเจ็บเป็นจำนวนมากนั้น เนื่องจากทั้งสองโรงงานดังกล่าว เป็นโรงงานใน 76 โรงงานที่สมาคมฯและชาวบ้านได้ฟ้องร้องและปัจจุบันอยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของศาลปกครองสูงสุด
ดังนั้นในวันที่ 10 พ.ค. เวลา 10.00 น. สมาคมฯจะไปยื่นคำร้องต่อศาลปกครองสูงสุด เพื่อขอให้ศาลปกครองสูงสุด พิจารณาเพื่อมีคำสั่งใหม่ สั่งให้กระทรวงอุตสาหกรรม (ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 4) และการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) (ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 8) เพิกถอนใบอนุญาตการประกอบกิจการของทั้ง 2 โรงงานต่อไป ขณะเดียวกันจะขอให้ศาลสั่งให้เลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2) เพิกถอนรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม หรือรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (E/HIA) ของทั้งสองโรงงานต่อไปด้วย
วันที่เขียนบทความ 09/05/2555