วันอังคารที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2554

ปตท. กำไร บนความเสี่ยงตาย ของคนมาบตาพุด - “ประชาภิวัฒน์” หนุนใช้แก๊สครัวเรือน ส่งผล LPG ขยับขึ้น ช่วยเอื้อต่อธุรกิจ PTT

กระทู้ ซ้ำๆ ใน โซเซี่ยลเน็ตเวิร์ค ที่ถามหา ผู้มีจิตสาธารณะ และสังคมแห่งการเรียนรู้
ความเจ็บปวดซ้ำซาก ในประเทศนี้ มาจากความไม่ใส่ที่จะระมัดระวังภัย
แต่พร้อมที่จะดาหน้ากันออกมาก่นด่า ... แค่ความสะใจ เมื่อเกิดเหตุสลดแล้ว !
หลังนายกฯ แถลง “ประชาภิวัฒน์” หนุนใช้แก๊สครัวเรือน ส่งผล LPG ขยับขึ้น ช่วยเอื้อต่อธุรกิจ PTT - นโยบายภาครัฐ ที่ต้องดันทุรังโรงแยกก๊าซ ที่ 6 โรงแยกก๊าซ อีเทน ของ ปตท. เสี่ยงก่อหายนะภัย - เศรษฐกิจชาติ ทำให้ผู้คน ไม่กลัวภัยที่จะเกิดกับคนมาบตาพุด
วันนี้ (10 ม.ค.) บล.กสิกรไทย เปิดเผยในบทวิเคราะห์ ว่า เมื่อวานนี้ (9 ม.ค.) นายกฯแถลงนโยบาย “ประชาภิวัฒน์” โดยระบุจะมีการอุดหนุนการใช้แก๊สของครัวเรือนแต่จะยกเลิกการอุดหนุนในกลุ่มอุตสาหกรรม ส่งผลให้ราคา LPG ปรับสูงขึ้น ซึ่งจะส่งผลดีต่อ PTT ซึ่งจำหน่ายแก๊ส LPG ให้แก่ ลูกค้ากลุ่มอุตสาหกรรมประมาณ 16% ของยอดขายทั้งหมด ทั้งนี้ คาดว่า ผลดังกล่าวจะทำให้กำไรปี 54 ของ บมจ.ปตท.(PTT) เพิ่มขึ้น 2.9% จากประมาณการกำไรสุทธิปี 54 ของ PTT ที่ 85.5 พันล้านบาท และประโยชน์ที่โรงกลั่นได้รับ 1% จึงยังคงคำแนะนำกลุ่ม Energy ที่ Neutral ล่าสุด เมื่อวันที่ 7 ม.ค.ที่ผ่านมา หุ้น PTT ปิดที่ 322 บาท ลดลง 10 บาท (-3.01%) มูลค่าซื้อขาย 1,795.12 ล้านบาท
ปตท. ฟุ้งเชื้อเพลิง "เอ็นจีวี" ได้รับความนิยมสูง คาดรถยนต์ใช้ก๊าซ "เอ็นจีวี" ปีนี้ ยังเพิ่มขึ้นได้ต่อเนื่อง จากราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้น ยันแผนเปิดปั๊มใหม่อีก 50 สถานี เพื่อให้ครบ 500 สถานี อาจต้องพับเก็บ ไปก่อน หากรัฐบาลไม่ยอมให้ปรับขึ้นราคาก๊าซอีก กก.ละ 2 บาท และจ่ายเงินอุดหนุนอีก กก.ละ 2 บาท เพราะมีต้นทุนสูงถึง กก.ละ 14 บาท นายวิชัย พรกีรติวัฒน์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ก๊าซธรรมชาติ บริษัท ปตท. จำกัด(มหาชน) คาดว่าการใช้ก๊าซสำหรับยานยนต์เอ็นจีวี ปีนี้ยังมีความนิยมอย่างต่อเนื่องจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้น ล่าสุดอยู่ระดับ 90 ดอลลาร์สหรัฐฯ คาดว่าปริมาณการใช้ก๊าซเอ็นจีวีจะสูงถึง 6,000-6,100 ตันต่อวัน จากปีที่แล้วสูงถึง 5,700 ตันต่อวัน และมีปริมาณรถยนต์เอ็นจีวีกว่า 220,000 คัน จำนวนนี้เป็นรถบรรทุกขนาดใหญ่และรถบัสรวม 30,000-40,000 คัน ที่เหลือเป็นรถเก๋งและแท็กซี่ จากปัจจุบันรถยนต์ในไทยมีประมาณ 10 ล้านคัน อย่างไรก็ตาม ปตท.มีแผนขยายสถานีบริการอีก 40-50 สถานีบริการในปีนี้ให้ครบ 500 แห่ง แต่หลังจากนั้นหากรัฐบาลไม่อนุมัติปรับโครงสร้างราคาเอ็นจีวี เช่น ปรับขึ้น 2 บาทต่อกิโลกรัม จากปัจจุบัน 8.50 บาทต่อกิโลกรัม และไม่อุดหนุนเงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงอีก 2 บาทต่อกิโลกรัม ทาง ปตท.คงไม่สามารถจะลงทุนขยายเครือข่ายเอ็นจีวีได้ เนื่องจากต้นทุนสูงกว่า 14 บาทต่อกิโลกรัม ทั้งนี้ จากความต้องการเอ็นจีวีสูงขึ้น ล่าสุดผู้ประกอบการไทยได้ร่วมลงทุนกับต่างชาติผลิตโรงงานถังก๊าซเอ็นจีวีในประเทศแล้วทดแทนการนำเข้า โดยวันนี้ (วันที่ 11 มกราคม 2554) บริษัท เมทเธิลเมท ได้เปิดตัวการผลิตถังก๊าซซีเอ็นจี ภายใต้ชื่อ “NEIL” ที่ใช้เส้นใยคาร์บอน ซึ่งเป็นชิ้นส่วนประกอบเครื่องบินหรือชุดกันกระสุนมาพันหุ้มถังอะลูมิเนียม นับเป็นถังซีเอ็นจีรุ่น 3 ที่มีการผลิตเป็นรายแรกในประเทศและในอาเซียน โดยถังรุ่นนี้จะช่วยการรองรับแรงกดดันและน้ำหนัก โดยคาดว่าจะมียอดขาย 500 ล้านบาทในปีนี้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น