วันอาทิตย์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2554

สูบยางรถใหม่ อย่างไร ถ้าไม่มีกำหนด ไม่มีเครื่องมือวัด

รถยนต์หรู มีสมรรถนะสูง มาตรฐานสูง เหล่านี้

การสูบยางรถยนต์ ที่ต้องสูบลมเข้าไปเท่าไหร่ แข็งมากอย่างไร เมื่อไม่มีการกำหนด ไม่มีเครื่องวัดความดันลม จะสูบลมยางแต่ละเส้นอย่างไรให้เหมาะสม

ในการขับรถที่ความเร็วสูง 160-200 กม./ชม.

การทำงานดินที่ปราศจากการบ่งชี้กำหนดค่าความสามารถรับน้ำหนักของดินที่ใช้สูงมากในการออกแบบ ไว้ในแบบก่อสร้างหรือข้อกำหนดต่างๆ ในการทำงานขุดถมบดอัดดิน ไม่มีการรับรู้วิศวกรโยธาทั้งผู้ปฏิบัติงานและผู้ควบคุมงานสนาม

แล้วต้องบดอัดดินแข็งแรงเท่าไหร่

หอ สูง-หอ กลั่น จำนวนมาก จะตั้งอยู่อย่างไร โดยไม่ตอกเสาเข็ม

และจะต้องไม่ทรุดเลย แม้แต่นิ้วเดียว (2.5 ซ.ม.) ตามมาตรฐานที่ ปตท.กำหนด

สูบยางรถใหม่ อย่างไร ถ้าไม่มีกำหนด ไม่มีเครื่องมือวัด

ตามไปอ่านไปดูเอง http://www.facebook.com/album.php?aid=40619&id=100001030503789
"การออกแบบ ฐานราก เพื่อกำหนดขนาด การใช้วัสดุ ว่าจะต้องใช้คอนกรีตชนิดใด มีเหล็กเสริมเท่าใด ชนิดไหน กรณีที่ดินไม่สามารถรับน้ำหนักที่ถ่ายลงมาจากโครงสร้าง จะต้องตอกเสาเข็ม ซึ่งเสาเข็มที่ชนิดใด ใหญ่ ยาว แค่ไหน รับน้ำหนักได้อย่างไร วิศวกรผู้ออกแบบจะเป็นผู้กำหนด ดังนั้นการก่อสร้าง วิศวกรสนามจำเป็นต้องควบคุมให้ วัสดุต่างๆมีความแข็งแรงได้ตรงกับการออกแบบ คอนกรีต เหล็ก เสาเข็ม ต้องมีการเก็บตัวอย่างวัสดุเพื่อการทดสอบซ้ำ ในส่วนของเสาเข็ม ต้องมีการทดสอบหาความสมบูรณ์ของเสาเข็ม ทดสอบการรับน้ำหนักของเสาเข็ม - ดินซึ่งเป็นวัสดุที่มีความเสี่ยงมากที่สุดเพราะไม่มีความเป็นเนื้อเดียวกันหาความแน่นอนไม่ได้ แม้มีการเจาะสำรวจแล้ว เป็นเพียงการสุ่มทดสอบ ดังนั้น ก่อนที่จะวางฐานรากตื้นที่ไม่มีการตอกเสาเข็มจึงจำเป็นที่จะต้องมีการทดสอบหาความสามารถในการรับน้ำหนัก ของดินด้วย ยิ่งใช้ค่ารับน้ำหนักแบกทานสูงมาก ยิ่งมีความจำเป็นต้องมีการทดสอบยืนยัน เพราะเมื่อขุดเกินและถมบดอัดลงไปใหม่ก็ไม่สามารถคงสภาพการรับน้ำหนักเดิมได้ ซึ่งอาจจำเป็นต้องใช้วัสดุพิเศษ เช่นหิน ทราย ลูกรัง ลงไปแทน ดังนี้แล้ว ผู้ออกแบบจะไม่มีโอกาสรู้เลยว่า แบบที่ออกแบบมาดีแล้ว มีความปลอดภัยแล้ว ถ้าวิศวกรสนามไม่สามารถดำเนินการก่อสร้างให้ตรงกับการออกแบบแล้วนั้น ฐานรากจะสามารถรับน้ำหนักได้ตรงตามการออกแบบหรือไม่ "
ค่าความสามารถรับน้ำหนักของดิน เฉลี่ยทั่วไปของดินชนิดต่างๆ
  • ดินอ่อนหรือดินถมไว้แน่นตัวเต็มที่ 2 ตันต่อตารางเมตร
  • ดินปานกลางหรือทรายร่วน 5 ตันต่อตารางเมตร
  • ดินแน่นหรือทรายแน่น 10 ตันต่อตารางเมตร
  • กรวดหรือดินดาน 20 ตันต่อตารางเมตร
  • หินดินดาน 25 ตันต่อตารางเมตร
  • หินปูนหรือหินทราย 30 ตันต่อตารางเมตร (โรงแยกก๊าซใหม่ ของ ปตท. 2 แห่ง ใช้ค่านี้)
  • หินอัคนีที่ยังไม่แปรสภาพ 100 ตันต่อตารางเมตร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น