วันอังคารที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2554

คุยอะไร กับ บรรณาธิการ ASTV เรื่องโรงแยกก๊าซ ปตท. เสี่ยง

ใน Facebook ที่ต้องตามไปดู แม้กลุ่มฯ จะถูกด่าถูกว่าอย่างไร ก้อเฉย ... วาดหวังว่า สื่อน้ำดี 1 เดียว ในประเทศจะสนใจใส่ใจ ชีวิตและความเสี่ยง ของผู้คนประชาชนมาบตาพุด ตามที่ประกาศไว้เสมอว่าจะเอาธรรมนำหน้า ....

http://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=188479017838198&id=100001030503789 ...

ไม่ได้ต้องการ ไปเหยียบตาปลาใคร เพราะความเงียบเฉย ที่ควรจะจินตนาการไปถึงได้นั้นทั้งที่ได้ส่งข้อมูลให้จำนวนมากหลายครั้ง ซึ่งการที่เป็นสื่อ...ย่อมเข้าถึงความเข้าใจได้รวดเร็วกว่าคนปกติ เพราะเหตุก๊าซรั่ว เป็นเรื่องปกติ แต่ถ้าทรุดพังแตกรั่ว ย่อมควบคุมไม่ได้ การระเบิดของก๊าซ ครั้งใหญ่ๆ มาจากท่อแตก และการควบคุมยากอย่างยิ่งยวด ถ้าเป็นโรงงานปกติ ที่มีคลังก๊าซขนาดย่อมไม่น่ากังวล แต่ที่โรงแยกก๊าซ ปตท. มีคลังก๊าซ แอลพีจี มากถึง 4,200 คันรถ แล้วตั้งอยู่ใกล้ตลาดติดชุมชน มีโรงงานสารเคมีอันตรายจำนวนมาก ในมาบตาพุดอยู่ในรัศมีการระเบิดของคลังก๊าซ

ซึ่งไม่ใช่เรื่องจินตนาการ แต่ในเมื่อข้อกำหนดทรุดตัวต่างกัน ในข้อกำหนดก่อสร้าง ที่ยอมรับได้ ยอมให้ทรุดได้ แค่ 1-2 ซม. เท่านั้น ที่จะไม่ทำให้เกิดผลกระทบไปยังข้อต่อเครื่องจักรและระบบท่อก๊าซ ที่ระโยงระยางต่อกัน - การทรุดตัวจะทำให้เกิดแรงบิดมหาศาล ในเส้นท่อ จนเกิดการแตกขาดได้ และมีความเสี่ยงอยู่ทุกจุด ในโรงแยกก๊าซ ในฐานะวิศวกรโยธา ที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้างฐานรากโรงแยกก๊าซที่ 6 และโรงแยกก๊าซ อีเทน (ไม่ตอกเสาเข็มทั้งหมด) ย่อมรู้ดีว่า คุณภาพงานดินนั้น ทำได้ดีไม่ดีอย่างไร ในเมื่อไม่มีการระบุในแบบ ถึงความแข็งแรงของดิน (ซึ่งใช้ค่าสูงมากในการออกแบบนั้น) จะก่อสร้างอย่างไร ให้ตรงกับการออกแบบ ตรงนี้ ไม่ต่างกับการสูบยางรถ ไม่มีตัววัด ไม่มีข้อกำหนดบอก จะสูบมากเท่าไหร่ สูบให้แข็งและแข็งเท่าไหร่ ไม่มีใครรู้ใครบอก สูบและก้อบีบว่าแข็งอย่างไร เหมือนสูบยางจักรยาน!

การรั่วไหลของน้ำมัน ในทะเลติมอร์ เมื่อเดือน สิงหาคม 2552 ของ ปตท.สผ จนกระทั่งเกิดการระเบิดนั้น ผลการสอบของรัฐบาลออสเตรเลีย พบว่า <<< การก่อสร้างต่ำกว่ามาตรฐานทั้งที่ ปตท. เขียนกำหนดขึ้นเอง ซึ่งเป็นข้อกำหนดในโครงการน้ำมันและก๊าซ อีกทั้ง เมื่อรู้ว่าไม่แข็งแรงปลอดภัย ก็ปิดบังข้อมูล จนเกิดเหตุหายนะภัยขึ้น >>>

ด้านล่างต่อไปนี้ เป็นเมล์ที่ อาจารย์ท่านหนึ่งใน คกก.4 ฝ่าย ตอบกลับมา.-

22 สิงหาคม 2553

พี่อ่าน mail ทุกฉบับที่คุณส่งมา แล้วก็ตั้งคำถามว่า ทำไม ปตท จึงไม่เอาบุคคลที่ 3 มาตรวจสอบเช่น สภาวิศวกรแห่งประเทศไทย เพราะถ้า ปตท. ให้ข้อมูลเองว่ารากฐานดี คนก็ยังไม่มั่นใจการตรวจสอบคงไม่ได้ใช้เงินและใช้เวลามากนัก แต่มันทำให้ประชาชนที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยง จะได้นอนได้เต็มอิ่ม ทุกวันนี้ประชาชนไม่รู้เลยว่าเกิดอะไรขึ้นในโรงงานบ้าง แต่ถ้ามีเสียง ดังผิดปกติก็ผวา มองหาลูก เมีย และพ่อ แม่ ที่แก่เฒ่า เพื่อเตรียมหนีออกไปตั้งหลักก่อน เพราะที่เป็นข่าวมาตลอด ก็พบว่าระบบแจ้งเหตุ อุบัติเหตุ ต่าง ๆ ใช้วิธีส่ง SMS ผ่านผู้นำชุมชน พี่เองเคยลืมโทรศัพท์มือถือ และเคยแบตเตอรรี่หมด และเวลาประชุมปิดเสียงและเมื่ออกมา

นอกประชุมก็ลืมเปิดเสียงใหม่ ดังนั้นถ้าใครโทร หรือส่ง SMS มา ก็คงไม่ได้รับจนกว่าจะนึกขึ้นได้อีกทีนึง หรือเมื่อมือถือกลับมาใช้งานได้ตามปกติ

อยากเสนอให้ ปตท. เอาสภาวิศวกรมาตรวจสอบ และให้ประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วมในการ ตรวจสอบ โดยประชาชนสามารถคัดเลือกนักวิชาการที่พวกเขามั่นใจไปร่วมตรวจสอบด้วย ปตท. มี CSR ดีมาก เรื่องทำให้สังคมมั่นใจและสบายใจ ประชาชนนอนได้เต็มอิ่มน่าจะทำนะคะ

คนทั่วไปอาจเข้าใจว่าการก่อสร้างโดยทั่วไปก็มีทรุดตัวบ้างเป็นธรรมดา แต่โรงงานแยกก๊าซ นั้น ก๊าซที่แยกได้ถูกส่งไปตามท่อ ซึ่งท่อต่าง ๆ มีข้อต่อ ดังนั้นถ้าโครงสร้างทรุดตัว 2 ด้านไม่เท่ากัน ท่อที่เชื่อมกันยึดกับโครงสร้างที่ทรุดตัวไม่เท่ากัน อาจทำให้เกิดเหตุขึ้นได้ คือ ข้อต่อฉีกขาดออก และตามมา ด้วยก๊าซที่ปกติควรอยู่ในท่อรั่วออกมา รอยรั่ว รวมกับแรงดันก๊าซ จะทำให้ก๊าซรั่วออกมามาก ถ้าไปทำปฏิกริยากับสิ่งอื่น เช่น ประกายไฟ สารเคมีบางชนิด ไม่รู้ว่าจะเกิดภัยพิบัติที่รุนแรงแค่ไหน เพราะมีตัวอย่างในต่างประเทศ เช่น ญี่ปุ่น จัดเป็นประเทศที่มีมาตรฐานด้านรากฐานที่ดีมาก เพราะเขามีแผ่นดินไหวบ่อย ก็เกิดอุบัติเหตุครั้งใหญ่มาแล้ว

อาจารย์ขอชื่นชมความพยายามของคุณนะคะ มาตรการป้องกันไว้ก่อนเป็นสิ่งที่ทุกโรงงานต้องทำ จึงสงสัยมากว่าทำไม ปตท. ไม่พิสูจน์ต่อสาธารรชนว่า โครงสร้างเขาปลอดภัย ไร้กังวล

ขอบคุณที่ยืนหยัดให้ข้อมูล เพราะถ้าคนที่เกี่ยวข้องทราบแล้วไม่ทำอะไรให้มั่นใจว่าปลอดภัย หากมีอุบัติเหตุเกิดขึ้นด้วยสาเหตุนี้ จะมีคนที่ต้องรับผิดชอบสักกี่คน ที่ละเลยการปฏิบัติหน้าที่ จนเป็นเหตุให้ผู้อื่นเสียหาย ...

ไม่ได้ระบุชื่ออาจารย์ เพราะไม่ต้องการให้ได้รับผลกระทบ / ข้อคิดความเห็นที่ดีนี้ ควรจะคุยใน คกก. 4 ฝ่าย แต่ท่านไม่ได้ทำ ย่อมเข้าใจว่า ท่านคงกลัวผลกระทบ.-

*** คารวะในความเป็นสื่อ และรู้ว่า ทั้งหมดด้านบน รายละเอียดไม่มากแต่น่าจะทำให้เข้าใจได้ และไม่ใช่เรื่องกล่าวหาลอยๆ เรื่องนี้ ส่งให้ทุกภาคส่วนที่จะกระทำได้ไปแล้ว และที่ผ่านมา สื่อมวลชนประเทศนี้ โดยเฉพาะ ASTV ท้วงติงด่าทอรุนแรง ในหลายกรณี เพื่อให้บุคคลระดับผู้นำประเทศนี้ หลายๆท่าน ที่ไม่ทำหน้าที่ ที่ควรจะทำหรือมีพฤติกรรมคดโกง คอรัปชั่น จึงไม่แปลกอะไร ที่จะต้องรับข้อท้วงติงตำหนิ จากประชาชนผู้คนที่ได้รับเหตุเดือดร้อนรำคาญ เป็นทุกข์ ข้อมูลที่ส่งให้เป็นเรื่องที่จะส่งผลกระทบรุนแรงร้ายแรงต่อสาธารณะ แต่กลับละเลยเฉยชา ไม่ได้ทำหน้าที่สื่อมวลชน ที่ประกาศตนว่า กล้าเสนอความจริง โดยใช้ธรรมนำหน้านั้น ฯ ***

ฝนเอยทำไมจึงตก ฝนตกเพราะกบมันร้องฯ เรื่องง่ายๆที่ให้เข้าใจ หลักอิทัปปัจจยตา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น