วันอาทิตย์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2554

สูบยางรถใหม่ อย่างไร ถ้าไม่มีกำหนด ไม่มีเครื่องมือวัด

รถยนต์หรู มีสมรรถนะสูง มาตรฐานสูง เหล่านี้

การสูบยางรถยนต์ ที่ต้องสูบลมเข้าไปเท่าไหร่ แข็งมากอย่างไร เมื่อไม่มีการกำหนด ไม่มีเครื่องวัดความดันลม จะสูบลมยางแต่ละเส้นอย่างไรให้เหมาะสม

ในการขับรถที่ความเร็วสูง 160-200 กม./ชม.

การทำงานดินที่ปราศจากการบ่งชี้กำหนดค่าความสามารถรับน้ำหนักของดินที่ใช้สูงมากในการออกแบบ ไว้ในแบบก่อสร้างหรือข้อกำหนดต่างๆ ในการทำงานขุดถมบดอัดดิน ไม่มีการรับรู้วิศวกรโยธาทั้งผู้ปฏิบัติงานและผู้ควบคุมงานสนาม

แล้วต้องบดอัดดินแข็งแรงเท่าไหร่

หอ สูง-หอ กลั่น จำนวนมาก จะตั้งอยู่อย่างไร โดยไม่ตอกเสาเข็ม

และจะต้องไม่ทรุดเลย แม้แต่นิ้วเดียว (2.5 ซ.ม.) ตามมาตรฐานที่ ปตท.กำหนด

สูบยางรถใหม่ อย่างไร ถ้าไม่มีกำหนด ไม่มีเครื่องมือวัด

ตามไปอ่านไปดูเอง http://www.facebook.com/album.php?aid=40619&id=100001030503789
"การออกแบบ ฐานราก เพื่อกำหนดขนาด การใช้วัสดุ ว่าจะต้องใช้คอนกรีตชนิดใด มีเหล็กเสริมเท่าใด ชนิดไหน กรณีที่ดินไม่สามารถรับน้ำหนักที่ถ่ายลงมาจากโครงสร้าง จะต้องตอกเสาเข็ม ซึ่งเสาเข็มที่ชนิดใด ใหญ่ ยาว แค่ไหน รับน้ำหนักได้อย่างไร วิศวกรผู้ออกแบบจะเป็นผู้กำหนด ดังนั้นการก่อสร้าง วิศวกรสนามจำเป็นต้องควบคุมให้ วัสดุต่างๆมีความแข็งแรงได้ตรงกับการออกแบบ คอนกรีต เหล็ก เสาเข็ม ต้องมีการเก็บตัวอย่างวัสดุเพื่อการทดสอบซ้ำ ในส่วนของเสาเข็ม ต้องมีการทดสอบหาความสมบูรณ์ของเสาเข็ม ทดสอบการรับน้ำหนักของเสาเข็ม - ดินซึ่งเป็นวัสดุที่มีความเสี่ยงมากที่สุดเพราะไม่มีความเป็นเนื้อเดียวกันหาความแน่นอนไม่ได้ แม้มีการเจาะสำรวจแล้ว เป็นเพียงการสุ่มทดสอบ ดังนั้น ก่อนที่จะวางฐานรากตื้นที่ไม่มีการตอกเสาเข็มจึงจำเป็นที่จะต้องมีการทดสอบหาความสามารถในการรับน้ำหนัก ของดินด้วย ยิ่งใช้ค่ารับน้ำหนักแบกทานสูงมาก ยิ่งมีความจำเป็นต้องมีการทดสอบยืนยัน เพราะเมื่อขุดเกินและถมบดอัดลงไปใหม่ก็ไม่สามารถคงสภาพการรับน้ำหนักเดิมได้ ซึ่งอาจจำเป็นต้องใช้วัสดุพิเศษ เช่นหิน ทราย ลูกรัง ลงไปแทน ดังนี้แล้ว ผู้ออกแบบจะไม่มีโอกาสรู้เลยว่า แบบที่ออกแบบมาดีแล้ว มีความปลอดภัยแล้ว ถ้าวิศวกรสนามไม่สามารถดำเนินการก่อสร้างให้ตรงกับการออกแบบแล้วนั้น ฐานรากจะสามารถรับน้ำหนักได้ตรงตามการออกแบบหรือไม่ "
ค่าความสามารถรับน้ำหนักของดิน เฉลี่ยทั่วไปของดินชนิดต่างๆ
  • ดินอ่อนหรือดินถมไว้แน่นตัวเต็มที่ 2 ตันต่อตารางเมตร
  • ดินปานกลางหรือทรายร่วน 5 ตันต่อตารางเมตร
  • ดินแน่นหรือทรายแน่น 10 ตันต่อตารางเมตร
  • กรวดหรือดินดาน 20 ตันต่อตารางเมตร
  • หินดินดาน 25 ตันต่อตารางเมตร
  • หินปูนหรือหินทราย 30 ตันต่อตารางเมตร (โรงแยกก๊าซใหม่ ของ ปตท. 2 แห่ง ใช้ค่านี้)
  • หินอัคนีที่ยังไม่แปรสภาพ 100 ตันต่อตารางเมตร

วันอังคารที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2554

คุยอะไร กับ บรรณาธิการ ASTV เรื่องโรงแยกก๊าซ ปตท. เสี่ยง

ใน Facebook ที่ต้องตามไปดู แม้กลุ่มฯ จะถูกด่าถูกว่าอย่างไร ก้อเฉย ... วาดหวังว่า สื่อน้ำดี 1 เดียว ในประเทศจะสนใจใส่ใจ ชีวิตและความเสี่ยง ของผู้คนประชาชนมาบตาพุด ตามที่ประกาศไว้เสมอว่าจะเอาธรรมนำหน้า ....

http://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=188479017838198&id=100001030503789 ...

ไม่ได้ต้องการ ไปเหยียบตาปลาใคร เพราะความเงียบเฉย ที่ควรจะจินตนาการไปถึงได้นั้นทั้งที่ได้ส่งข้อมูลให้จำนวนมากหลายครั้ง ซึ่งการที่เป็นสื่อ...ย่อมเข้าถึงความเข้าใจได้รวดเร็วกว่าคนปกติ เพราะเหตุก๊าซรั่ว เป็นเรื่องปกติ แต่ถ้าทรุดพังแตกรั่ว ย่อมควบคุมไม่ได้ การระเบิดของก๊าซ ครั้งใหญ่ๆ มาจากท่อแตก และการควบคุมยากอย่างยิ่งยวด ถ้าเป็นโรงงานปกติ ที่มีคลังก๊าซขนาดย่อมไม่น่ากังวล แต่ที่โรงแยกก๊าซ ปตท. มีคลังก๊าซ แอลพีจี มากถึง 4,200 คันรถ แล้วตั้งอยู่ใกล้ตลาดติดชุมชน มีโรงงานสารเคมีอันตรายจำนวนมาก ในมาบตาพุดอยู่ในรัศมีการระเบิดของคลังก๊าซ

ซึ่งไม่ใช่เรื่องจินตนาการ แต่ในเมื่อข้อกำหนดทรุดตัวต่างกัน ในข้อกำหนดก่อสร้าง ที่ยอมรับได้ ยอมให้ทรุดได้ แค่ 1-2 ซม. เท่านั้น ที่จะไม่ทำให้เกิดผลกระทบไปยังข้อต่อเครื่องจักรและระบบท่อก๊าซ ที่ระโยงระยางต่อกัน - การทรุดตัวจะทำให้เกิดแรงบิดมหาศาล ในเส้นท่อ จนเกิดการแตกขาดได้ และมีความเสี่ยงอยู่ทุกจุด ในโรงแยกก๊าซ ในฐานะวิศวกรโยธา ที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้างฐานรากโรงแยกก๊าซที่ 6 และโรงแยกก๊าซ อีเทน (ไม่ตอกเสาเข็มทั้งหมด) ย่อมรู้ดีว่า คุณภาพงานดินนั้น ทำได้ดีไม่ดีอย่างไร ในเมื่อไม่มีการระบุในแบบ ถึงความแข็งแรงของดิน (ซึ่งใช้ค่าสูงมากในการออกแบบนั้น) จะก่อสร้างอย่างไร ให้ตรงกับการออกแบบ ตรงนี้ ไม่ต่างกับการสูบยางรถ ไม่มีตัววัด ไม่มีข้อกำหนดบอก จะสูบมากเท่าไหร่ สูบให้แข็งและแข็งเท่าไหร่ ไม่มีใครรู้ใครบอก สูบและก้อบีบว่าแข็งอย่างไร เหมือนสูบยางจักรยาน!

การรั่วไหลของน้ำมัน ในทะเลติมอร์ เมื่อเดือน สิงหาคม 2552 ของ ปตท.สผ จนกระทั่งเกิดการระเบิดนั้น ผลการสอบของรัฐบาลออสเตรเลีย พบว่า <<< การก่อสร้างต่ำกว่ามาตรฐานทั้งที่ ปตท. เขียนกำหนดขึ้นเอง ซึ่งเป็นข้อกำหนดในโครงการน้ำมันและก๊าซ อีกทั้ง เมื่อรู้ว่าไม่แข็งแรงปลอดภัย ก็ปิดบังข้อมูล จนเกิดเหตุหายนะภัยขึ้น >>>

ด้านล่างต่อไปนี้ เป็นเมล์ที่ อาจารย์ท่านหนึ่งใน คกก.4 ฝ่าย ตอบกลับมา.-

22 สิงหาคม 2553

พี่อ่าน mail ทุกฉบับที่คุณส่งมา แล้วก็ตั้งคำถามว่า ทำไม ปตท จึงไม่เอาบุคคลที่ 3 มาตรวจสอบเช่น สภาวิศวกรแห่งประเทศไทย เพราะถ้า ปตท. ให้ข้อมูลเองว่ารากฐานดี คนก็ยังไม่มั่นใจการตรวจสอบคงไม่ได้ใช้เงินและใช้เวลามากนัก แต่มันทำให้ประชาชนที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยง จะได้นอนได้เต็มอิ่ม ทุกวันนี้ประชาชนไม่รู้เลยว่าเกิดอะไรขึ้นในโรงงานบ้าง แต่ถ้ามีเสียง ดังผิดปกติก็ผวา มองหาลูก เมีย และพ่อ แม่ ที่แก่เฒ่า เพื่อเตรียมหนีออกไปตั้งหลักก่อน เพราะที่เป็นข่าวมาตลอด ก็พบว่าระบบแจ้งเหตุ อุบัติเหตุ ต่าง ๆ ใช้วิธีส่ง SMS ผ่านผู้นำชุมชน พี่เองเคยลืมโทรศัพท์มือถือ และเคยแบตเตอรรี่หมด และเวลาประชุมปิดเสียงและเมื่ออกมา

นอกประชุมก็ลืมเปิดเสียงใหม่ ดังนั้นถ้าใครโทร หรือส่ง SMS มา ก็คงไม่ได้รับจนกว่าจะนึกขึ้นได้อีกทีนึง หรือเมื่อมือถือกลับมาใช้งานได้ตามปกติ

อยากเสนอให้ ปตท. เอาสภาวิศวกรมาตรวจสอบ และให้ประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วมในการ ตรวจสอบ โดยประชาชนสามารถคัดเลือกนักวิชาการที่พวกเขามั่นใจไปร่วมตรวจสอบด้วย ปตท. มี CSR ดีมาก เรื่องทำให้สังคมมั่นใจและสบายใจ ประชาชนนอนได้เต็มอิ่มน่าจะทำนะคะ

คนทั่วไปอาจเข้าใจว่าการก่อสร้างโดยทั่วไปก็มีทรุดตัวบ้างเป็นธรรมดา แต่โรงงานแยกก๊าซ นั้น ก๊าซที่แยกได้ถูกส่งไปตามท่อ ซึ่งท่อต่าง ๆ มีข้อต่อ ดังนั้นถ้าโครงสร้างทรุดตัว 2 ด้านไม่เท่ากัน ท่อที่เชื่อมกันยึดกับโครงสร้างที่ทรุดตัวไม่เท่ากัน อาจทำให้เกิดเหตุขึ้นได้ คือ ข้อต่อฉีกขาดออก และตามมา ด้วยก๊าซที่ปกติควรอยู่ในท่อรั่วออกมา รอยรั่ว รวมกับแรงดันก๊าซ จะทำให้ก๊าซรั่วออกมามาก ถ้าไปทำปฏิกริยากับสิ่งอื่น เช่น ประกายไฟ สารเคมีบางชนิด ไม่รู้ว่าจะเกิดภัยพิบัติที่รุนแรงแค่ไหน เพราะมีตัวอย่างในต่างประเทศ เช่น ญี่ปุ่น จัดเป็นประเทศที่มีมาตรฐานด้านรากฐานที่ดีมาก เพราะเขามีแผ่นดินไหวบ่อย ก็เกิดอุบัติเหตุครั้งใหญ่มาแล้ว

อาจารย์ขอชื่นชมความพยายามของคุณนะคะ มาตรการป้องกันไว้ก่อนเป็นสิ่งที่ทุกโรงงานต้องทำ จึงสงสัยมากว่าทำไม ปตท. ไม่พิสูจน์ต่อสาธารรชนว่า โครงสร้างเขาปลอดภัย ไร้กังวล

ขอบคุณที่ยืนหยัดให้ข้อมูล เพราะถ้าคนที่เกี่ยวข้องทราบแล้วไม่ทำอะไรให้มั่นใจว่าปลอดภัย หากมีอุบัติเหตุเกิดขึ้นด้วยสาเหตุนี้ จะมีคนที่ต้องรับผิดชอบสักกี่คน ที่ละเลยการปฏิบัติหน้าที่ จนเป็นเหตุให้ผู้อื่นเสียหาย ...

ไม่ได้ระบุชื่ออาจารย์ เพราะไม่ต้องการให้ได้รับผลกระทบ / ข้อคิดความเห็นที่ดีนี้ ควรจะคุยใน คกก. 4 ฝ่าย แต่ท่านไม่ได้ทำ ย่อมเข้าใจว่า ท่านคงกลัวผลกระทบ.-

*** คารวะในความเป็นสื่อ และรู้ว่า ทั้งหมดด้านบน รายละเอียดไม่มากแต่น่าจะทำให้เข้าใจได้ และไม่ใช่เรื่องกล่าวหาลอยๆ เรื่องนี้ ส่งให้ทุกภาคส่วนที่จะกระทำได้ไปแล้ว และที่ผ่านมา สื่อมวลชนประเทศนี้ โดยเฉพาะ ASTV ท้วงติงด่าทอรุนแรง ในหลายกรณี เพื่อให้บุคคลระดับผู้นำประเทศนี้ หลายๆท่าน ที่ไม่ทำหน้าที่ ที่ควรจะทำหรือมีพฤติกรรมคดโกง คอรัปชั่น จึงไม่แปลกอะไร ที่จะต้องรับข้อท้วงติงตำหนิ จากประชาชนผู้คนที่ได้รับเหตุเดือดร้อนรำคาญ เป็นทุกข์ ข้อมูลที่ส่งให้เป็นเรื่องที่จะส่งผลกระทบรุนแรงร้ายแรงต่อสาธารณะ แต่กลับละเลยเฉยชา ไม่ได้ทำหน้าที่สื่อมวลชน ที่ประกาศตนว่า กล้าเสนอความจริง โดยใช้ธรรมนำหน้านั้น ฯ ***

ฝนเอยทำไมจึงตก ฝนตกเพราะกบมันร้องฯ เรื่องง่ายๆที่ให้เข้าใจ หลักอิทัปปัจจยตา

อ่านคำชี้แจงของ ปตท. เรื่องเหตุการณ์มอนทารา - ความเท็จหรือความจริง ที่สังคมไทย จะอยู่กันไปแบบนี้หรือ !!!

เพราะการละเลย เฉยชา ของสื่อมวลชนไทย และขบวนการยุติธรรมไทย ที่อ้างแค่ว่า ประเทศนี้เป็นนิติรัฐ เหตุการแบบนี้ จึงเกิดขึ้น กับสาธารณะ

คำชี้แจงเรื่องเหตุการณ์มอนทารา

โดย บริษัท ปตท.สผ. จำกัด (มหาชน)

กรุงเทพธุรกิจ วันพุธที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2553

เรียน คุณสฤณี อาชวานันทกุล sarinee@gmail.com

อ้างถึง บทความ ความจริงและความโปร่งใส กรณี ปตท.สผ. ในออสเตรเลียคอลัมน์ ทัศนะวิจารณ์ หน้า 15 หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ.2553

บริษัท ปตท.สผ. จำกัด (มหาชน) ขอขอบคุณคุณสฤณี ที่ให้ความสนใจติดตามข่าวและข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์น้ำมันรั่วไหลจากหลุมมอนทาราในประเทศออสเตรเลีย และได้ให้ความคิดเห็นเกี่ยวกับการรายงานข้อมูลของบริษัทในเรื่องนี้ในบทความที่อ้างถึงข้างต้น ทั้งนี้บริษัทขออนุญาตให้ข้อเท็จจริงเพิ่มเติม เพื่อความเข้าใจในเรื่องดังกล่าวที่ถูกต้องดังนี้

ข้อเท็จจริงของเหตุการณ์มอนทารา

เหตุการณ์น้ำมันและก๊าซธรรมชาติรั่วไหลที่หลุม H1 บนแท่นผลิตมอนทารานั้น เป็นเพียงการรั่วไหลที่ไม่สามารถควบคุมได้ (Uncontrolled release of hydrocarbons) และไม่ได้มีการ ระเบิดดังที่เสนอกันในข่าวทั่วๆ ไปแต่อย่างใด

การสอบสวนของคณะกรรมการ Commission of Inquiry

อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นที่มอนทาราเป็นเรื่องที่ไม่มีใครต้องการให้เกิดขึ้น และทุกๆ ฝ่ายที่เกี่ยวข้องก็ต้องเรียนรู้จากประสบการณ์ครั้งนี้ และแก้ไขเพื่อไม่ให้ประวัติศาสตร์ซ้ำรอย การตั้ง Montara Commission of Inquiry (CoI) ขึ้นมาก็เพื่อเหตุผลดังกล่าวนี้ นั่นคือเพื่อเรียนรู้ข้อบกพร่องต่างๆ และแนะนำวิธีแก้ไข คณะกรรมการ CoI ได้สอบสวนพยานเป็นจำนวนมากจากทุกๆ บริษัท และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เป็นเวลาถึง 4 สัปดาห์ โดยบรรยากาศในการสอบสวนเป็นไปอย่างเคร่งเครียดตลอดเวลา ซึ่งย่อมเป็นเรื่องปกติที่พยานที่ถูกสอบสวนทุกคนจะมีแนวโน้มที่จะให้ข้อมูลและหลักฐานที่จะไม่บ่งชี้ถึงความผิดของตนหรือหน่วยงานของตน เนื่องจากสาเหตุของอุบัติเหตุประเภทนี้จะมีความซับซ้อนเกินกว่าที่จะเกิดได้จากเหตุใดเหตุหนึ่งเพียงอย่างเดียว คณะกรรมการจึงต้องใช้ ความเห็นจากสิ่งที่ได้ยินได้ฟังและได้เห็นในระหว่างการสอบสวนในการสรุป Findings ต่างๆ ในรายงาน แต่ความสำคัญของรายงานนี้อยู่ตรงที่คณะกรรมการได้เสนอ ข้อแนะนำ” (Recommendations) จำนวนทั้งสิ้น 105 ข้อจากข้อสรุป (Findings) ทั้งหมด 100 ข้อให้รัฐบาลออสเตรเลียเพื่อพิจารณาดำเนินการต่อไป

ปตท.สผ. และ PTTEPAA ไม่ได้รับโอกาสในการทบทวนหรือเสนอความคิดเห็นต่อข้อสรุปรายงานของคณะกรรมการ CoI นี้ก่อนที่รัฐบาลออสเตรเลียจะนำเสนอสู่สาธารณชนแต่อย่างใด

การตอบสนอง (Responses) ของรัฐบาลออสเตรเลียต่อข้อแนะนำของคณะกรรมการ CoI

รัฐบาลออสเตรเลียโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรและพลังงาน (Hon. Martin Ferguson, Minister of Resources and Energy) ได้มีข้อสรุปของการพิจารณาข้อแนะนำ (Responses to Recommendations) ต่างๆ จากรายงานของ CoI และได้นำเสนอให้สาธารณชนในเวลาเดียวกันกับการนำเสนอรายงานของ CoI สู่สาธารณชน ซึ่งในข้อแนะนำที่เกี่ยวข้องกับ PTTEPAA นั้น มีทั้งหมด 5 เรื่อง (Recommendations 101 - 105) โดยสามเรื่องแรก (Recommendations 101 - 103) เกี่ยวข้องกับการขอให้รัฐบาลทบทวนใบอนุญาตของ PTTEPAA โดยให้พิจารณาทั้งในส่วนของข้อบกพร่องต่างๆ ของบริษัท (adverse findings) และในส่วนของการปฏิบัติตามแผนการปรับปรุงแก้ไขที่ทางบริษัทได้นำเสนอให้แก่คณะกรรมการไปก่อนหน้านี้แล้ว (“In carrying out a review of PTTEPAA’s permit an licence, the Minister should have regard to this Report, particularly (i) the adverse findings set out in this Chapter; and (ii) the extent to which PTTEPAA has implemented the Action Plan submitted to the Inquiry; or otherwise addressed the matters canvassed in the Report.”) ข้อแนะนำเรื่องที่ 105 (Recommendation 105) คณะกรรมการได้เสนอให้ตั้งคณะทำงานขึ้นมาตรวจสอบหลุมน้ำมันอื่นๆ ที่ PTTEPAA เป็นผู้ดำเนินการว่ามีความสมบูรณ์ปลอดภัยหรือไม่ ส่วนข้อแนะนำที่ 104 นั้นเกี่ยวกับการให้อำนาจหน่วยงานของรัฐในการบังคับให้บริษัททำการสอบสวนหาสาเหตุของอุบัติเหตุได้

รัฐมนตรี Martin Ferguson ได้กล่าวต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีออสเตรเลียเมื่อวันที่ 24 พ.ย.2553 ในเรื่องเกี่ยวกับข้อแนะนำของ CoI ที่เกี่ยวกับ PTTEPAA ข้างต้นดังต่อไปนี้ (Quoted transcript)

“During the Inquiry concerns regarding the state of the five remaining suspended wells in the Montara field were raised. On my instruction, on 9 April 2010, my Department requested the Northern Territory Department of Resources to seek advice from PTTEP AA on the status and integrity of the other suspended wells and information on what remedial action would be taken if required.

PTTEP AA implemented a work program to ensure the integrity of the remaining wells on the Montara Wellhead Platform. AGR, an international company with the requisite expertise, witnessed the satisfactory barrier testing of the wells at the Montara Wellhead Platform. AGR’s verification report has been further assessed by Geoscience Australia and the Northern Territory Department of Resources. Geoscience Australia advises that all possible work to ensure the integrity of the suspended wells at the Montara platform has been undertaken and completed and that the AGR verification report provides appropriate assurance that the barriers are competent.

The Commissioner has recommended that I undertake a review of PTTEP AA’s licence to operate at the Montara oil field. He has further recommended that, as the mechanism for instigating this review, I issue a ‘show cause’ notice to PTTEP AA, pursuant to the cancellation of titles sections of the Offshore Petroleum and Greenhouse Gas Storage Act 2006.

I have accepted the Commissioner’s recommendation to review PTTEP AA’s licence to operate.

However, PTTEP through its Australian subsidiaries (of which PTTEP AA is one) is the operator of seven exploration permits, five production licences and seven retention leases and has interests in a further five exploration permits where it is not the operator. A show cause notice can only be issued where a breach of the Act has been identified, and then only in relation to the Title relevant to that breach. I believe a review of PTTEP AA’s licence to operate which was restricted to its operations in the Montara field would, in these circumstances, be insufficient.

After careful consideration, I directed my Department to instigate an independent review of the Action Plan that PTTEP, the parent company of PTTEP AA, submitted to the Commission of Inquiry. This Action Plan was developed to comprehensively address the technical and governance issues identified by the Commissioner and has application across their entire Australian operations. The independent review commenced on 6 September 2010.

The independent review process will provide me with advice on whether the Action Plan, once implemented, will ensure that PTTEP’s (and its Australian subsidiaries’) operational and procedural measures meet industry best practice standards.

The outcome of this process will assist me in forming a view as to whether the deficiencies in PTTEP AA’s procedures, as identified by the Commissioner, relate only to the Montara oil field or to its, or PTTEP’s, general performance as an operator.

My Department advises me that the final report of the independent review of PTTEP’s Action Plan is due by the end of the year. Upon completion of the independent review my Department will provide me with advice on PTTEP’s capacity to implement the Action Plan. I will make the report public within seven days of receiving this advice.

The outcome of this independent review of PTTEP’s Action Plan will be a central part of my consideration as to whether to issue a ‘show cause’ notice which might lead to cancellation of PTTEP’s petroleum titles.”

จะเห็นว่ารัฐบาลออสเตรเลียให้ความสำคัญกับความสามารถในการปฏิบัติตามแผนปรับปรุงแก้ไข (Action Plan) ของ PTTEPAA ในการพิจารณาว่าจะทบทวนใบอนุญาตการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมของ PTTEPAA หรือไม่อย่างไร (Recommendations 101-1103) และจะตัดสินใจดำเนินการต่อไปเมื่อได้รับรายงานจากคณะกรรมการที่ทางรัฐมนตรีแต่งตั้งขึ้นมาตรวจสอบในเรื่องนี้โดยเฉพาะ ส่วนเรื่องการตรวจสอบความสมบูรณ์ของหลุมอื่นๆ นั้น (Recommendation 105) รัฐบาลออสเตรเลียมีความพอใจต่อผลที่ทาง PTTEPAA ได้ตรวจสอบร่วมกับหน่วยงานภาครัฐอื่นๆ ว่าหลุมอื่นๆ มีความสมบูรณ์และปลอดภัยตามมาตรฐานสากล

การรายงานของ ปตท.สผ. ต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

เนื่องจากเรื่องสำคัญที่สุดที่ผู้ถือหุ้นและนักลงทุนให้ความสนใจเกี่ยวกับรายงานของคณะกรรมการ CoI คือเรื่องการพิจารณาทบทวนใบอนุญาตของ PTTEPAA ซึ่งจะมีผลต่ออนาคตของ ปตท.สผ. ในออสเตรเลีย ดังนั้น ปตท.สผ. จึงจำเป็นต้องให้ข้อมูลที่ถูกต้องในเรื่องนี้แก่ ตลท. เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องของนักลงทุนในสถานการณ์และข้อเท็จจริงที่กำลังเป็นอยู่ในขณะนั้นเพื่อป้องกันการตื่นตระหนก โดยบริษัทไม่ได้มีความตั้งใจปกปิด ข้อเท็จจริงในทางไม่ดีแต่อย่างใด เนื่องจากข้อสรุปและความเห็นที่เกี่ยวกับข้อบกพร่องของการทำงานของ PTTEP ในรายงานของ CoI นั้นได้ถูกนำเสนอต่อสาธารณชนและนักลงทุนโดยสื่อต่างๆ มาก่อนหน้านี้แล้ว แต่แทบไม่มีการนำเสนอถึงเรื่องการพิจารณาใบอนุญาตโดยรัฐบาลออสเตรเลีย และการดำเนินการแก้ไขปรับปรุงของ PTTEPAA ซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญที่สุดของการพิจารณาแต่อย่างใดเลย ปตท.สผ. เห็นว่าการที่สาธารณชนและนักลงทุนได้รับทราบข้อมูลเพียงด้านเดียวจากสื่อต่างๆ เป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้องและไม่ยุติธรรมกับบริษัทและผู้ถือหุ้น จึงได้นำเสนอข้อมูลที่สำคัญแต่ไม่ได้รับการพูดถึงแก่ตลาดหลักทรัพย์และสื่อต่างๆ เพื่อให้เกิดความสมดุลและเสมอภาคในการได้รับข่าวสารของสาธารณชนในเรื่องนี้

ปตท.สผ.หวังเป็นอย่างยิ่งว่าข้อมูลและข้อเท็จจริงข้างต้นจะเป็นประโยชน์ในติดตามความคืบหน้า หรือการเขียนบทความในเรื่องเหตุการณ์มอนทาราของคุณสฤณีต่อไป หากคุณสฤณีต้องการข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาติดต่อได้ที่

คุณบุษบรรณ จีนเจริญ ( Bussaban@pttep.com ) โทร. 02-537-4607

คุณต้องจิตร พงศ์อรพินท์ ( Tongchit@pttep.com ) โทร. 02-537-458

วันจันทร์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2554

บทความ ของ คุณสฤณี (คนชายขอบ) เขียนเรื่อง ความจริงและความโปร่งใส : กรณี ปตท.สผ. ในออสเตรเลีย

( ชัดเจนถึงความประมาทมักง่าย ไร้ความรับผิดชอบ โดยอ่านจากข้อตำหนิต่างๆ จาก ประเทศที่ได้รับผลกระทบ แม้กรณีนี้ คนไทย ไม่ได้การรับรู้ เพราะสื่อมวลชนไทย ปกปิดข่าวกันหมด)

ความจริงและความโปร่งใส : กรณี ปตท.สผ. ในออสเตรเลีย

รู้ทันตลาดทุน : สฤณี อาชวานันทกุล กรุงเทพธุรกิจ วันจันทร์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ข่าวที่ควรจะเป็นข่าวใหญ่ในตลาดทุนข่าวหนึ่งในเดือนพฤศจิกายน 2553 แต่กลับเงียบมากในเมืองไทย คือ ข่าวที่กระทรวงทรัพยากรและพลังงานของออสเตรเลีย ออกมาเปิดเผยรายงานของคณะกรรมการสอบสวนเหตุการณ์มอนทารา (Montara Commission of Inquiry’s Final Report and Findings) กรณีเกิดเหตุระเบิดที่แท่นขุดเจาะน้ำมันในแหล่งมอนทารา ทางเหนือของประเทศออสเตรเลีย ซึ่งบริษัท พีทีทีอีพี ออสตราเลเซีย (พีทีทีอีพี เอเอ) บริษัทในเครือบริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท.สผ. เป็นผู้รับสัมปทาน

เหตุระเบิดดังกล่าวในวันที่ 21 สิงหาคม 2552 ส่งผลให้น้ำมันรั่วนานกว่า 10 สัปดาห์ ครอบคลุมพื้นที่มากกว่า 200 กิโลเมตร เป็นอุบัติเหตุน้ำมันรั่วที่ร้ายแรงที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ออสเตรเลีย รายงานของคณะกรรมการสอบสวนฯ (ดาวน์โหลดได้จาก www.ret.gov.au/montarainquiryresponse) สรุปว่า "สาเหตุทางตรง" ของเหตุการณ์นี้ คือ 1. การติดตั้งฉนวนซีเมนต์ (cemented shoe) ที่บ่อผิดพลาดในเดือนมีนาคม 2009 (หลังจากที่ ปตท.สผ. เข้าซื้อกิจการแล้ว) ส่งผลให้ฉนวนดังกล่าวด้อยประสิทธิภาพในการป้องกันเหตุระเบิด (Finding 1-3) และ 2. ความล้มเหลวของ พีทีทีอีพี เอเอ และแอตลัส (บริษัทผู้รับจ้างบริหารบ่อน้ำมันนี้) ที่ไม่ได้ตระหนักว่าฉนวนมีปัญหา และไม่ได้ทดสอบฉนวนอย่างที่ควรทำ โดยพีทีทีอีพี เอเอ เป็นฝ่ายผิดมากกว่าแอตลัส เนื่องจากเป็นผู้ควบคุมบ่อโดยตรงตามข้อตกลง ความล้มเหลวเหล่านี้ไม่เป็นไปตามระเบียบปฏิบัติที่ได้รับอนุมัติจากหน่วยงานกำกับดูแล อีกทั้งยังไม่เป็นไปตามมาตรฐานการก่อสร้างบ่อน้ำมันที่พีทีทีอีพี เอเอ เป็นผู้กำหนดเองอีกด้วย (Finding 7-12)

รายงานระบุสาเหตุทางตรงที่มีส่วนก่อให้เกิดเหตุระเบิดอีกหลายข้อ ตำหนิหน่วยงานกำกับดูแลของออสเตรเลีย ซึ่งทำหน้าที่กำกับดูแลโครงการขุดเจาะดังกล่าวว่า หละหลวมในการปฏิบัติหน้าที่จนมีโอกาสน้อยมากที่จะตรวจพบความบกพร่องของบริษัท (Finding 48-50) และระบุว่า พีทีทีอีพี เอเอ มี "ข้อบกพร่องที่สำคัญจำนวนมาก" (Finding 91) ในมาตรการควบคุมบ่อที่ระเบิด ซึ่งสะท้อนความบกพร่องเชิงระบบที่ใหญ่กว่าของบริษัท (Finding 92) บ่อน้ำมันทั้ง 5 บ่อในแหล่งมอนทาราที่บริษัทได้รับสัมปทานล้วนไม่มีกลไกควบคุมที่เหมาะสม และบริษัทไม่เคยแจ้งผู้กำกับดูแลให้ทราบถึงข้อบกพร่องที่ตนล่วงรู้ (Finding 93)

ชัดเจนถึงความประมาทมักง่าย ไร้ความรับผิดชอบ โดยอ่านจากข้อตำหนิต่างๆ จาก ประเทศที่ได้รับผลกระทบ แม้กรณีนี้ คนไทย ไม่ได้การรับรู้ เพราะสื่อมวลชนไทย ปกปิดข่าวกันหมด

นอกจากนี้ การสืบสวนของ พีทีทีอีพี เอเอ เอง ในการหาสาเหตุของเหตุระเบิดก็ "บกพร่องอย่างชัดแจ้ง" (manifestly deficient) (Finding 94) จนถึงระดับที่ "ไร้ความรับผิดชอบและแก้ตัวไม่ได้" (irresponsible and inexcusable) (Finding 95) อีกทั้งยัง "ทำให้ผู้กำกับดูแลเข้าใจผิดอย่างมหันต์" ตลอดระยะเวลา 6 เดือน (Finding 96) และ*** เมื่อบริษัทได้รับข้อมูลที่บ่งชี้ความไม่แข็งแรงของบ่อหลังเกิดเหตุแล้วก็ไม่ได้ส่งข้อมูลนั้นต่อให้กับผู้กำกับดูแล (Finding 97) พฤติกรรมเหล่านี้ชี้ให้เห็นว่าบริษัททำตัวแย่มาก *** ถึงแม้จะไม่มีหลักฐานที่พิสูจน์ว่าบริษัทจงใจส่งข้อมูลเท็จหรือข้อมูลที่ทำให้เข้าใจผิดแก่ผู้กำกับดูแล (Finding 98) ยิ่งไปกว่านั้น คณะกรรมการยังพบหลักฐานว่าบริษัทพร้อมที่จะให้ข้อมูลก็ต่อเมื่อข้อมูลนั้นเป็นประโยชน์ต่อบริษัท และปิดบังข้อมูลด้วยเหตุผลเดียวกัน (Finding 99)

ข้อค้นพบข้อสุดท้ายของคณะกรรมการสรุปอย่างชัดเจนว่า ตลอดระยะเวลาการทำงานของคณะกรรมการพีทีทีอีพี เอเอ "โดยมากมีท่าทีต่อล้อต่อเถียงและชี้นิ้วปรักปรำผู้อื่น บริษัทยอมรับลักษณะและขอบเขตข้อบกพร่องของบริษัทก็ต่อเมื่อบริษัทไม่มีทางเลือกอื่นใดแล้วนอกจากยอมรับ ทั้งในเชิงปฏิบัติและในทางกฎหมาย" (PTTEPAA largely adopted an argumentative and finger-pointing position. It only acknowledged the nature and extent of its deficiencies when, practically and legally, it could not really do otherwise.)

คณะกรรมการเสนอในรายงานฉบับนี้ให้รัฐบาลออสเตรเลียทบทวนใบอนุญาตประกอบการของพีทีทีอีพี เอเอ ทั้งหมดในออสเตรเลีย รวมทั้งเสนอให้รัฐบาลทบทวนการดำเนินงานของสำนักงานกิจการทรัพยากรเขตเหนือ เพื่ออุดช่องโหว่ในการกำกับดูแลซึ่งเป็นสาเหตุทางอ้อมในเหตุการณ์ครั้งนี้

การพิจารณาของรัฐบาลและความคืบหน้าของการทำตามแผนการปรับปรุงแก้ไข (Action Plan) ของบริษัทเป็นประเด็นที่นักลงทุนและทุกฝ่ายต้องติดตามดูกันต่อไป แต่ประเด็นที่ผู้เขียนคิดว่าแย่มาก คือ วิธีที่ ปตท.สผ. รายงานการเปิดเผยรายงานดังกล่าวต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ซึ่งระบุเพียงข้อความสั้นๆ ว่า

"ในวันที่ 24 พฤศจิกายน 2553 กระทรวงทรัพยากรและพลังงาน (Minister for Resources and Energy) ของประเทศออสเตรเลียได้เปิดเผยรายงานของคณะกรรมการแล้ว ซึ่งได้มีความเห็นเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของโครงการพีทีทีอีพี ออสตราเลเซีย ...บริษัทขอชี้แจงว่า ตั้งแต่เกิดเหตุการณ์ ปตท.สผ. ได้มีการหารือและปรึกษาไปยังรัฐบาลออสเตรเลียรวมทั้งหน่วยงานกำกับดูแลที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง โดยได้นำส่งแผนการปรับปรุงแก้ไข (Action Plan) ซึ่งรองรับประเด็นต่างๆ ที่กล่าวถึงในรายงานของคณะกรรมการ และเพื่อให้มั่นใจว่าจะไม่เกิดเหตุการณ์เช่นนี้ขึ้นอีก โดยหัวหน้าคณะสอบสวน (Commissioner) เห็นว่าครอบคลุมและมีความสมบูรณ์ โดยขณะนี้ บริษัทได้เริ่มดำเนินงานตามแผนการปรับปรุงแก้ไขดังกล่าวแล้ว"

การชี้แจงข้างต้นของ ปตท.สผ. ไม่ได้ระบุสาระสำคัญใดๆ ของรายงานเลย สรุปแต่เพียงว่ารายงานนี้ "...มีความเห็นเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของโครงการพีทีทีอีพี ออสตราเลเซีย" ซึ่งไม่มีทางทำให้นักลงทุนรู้ว่าคณะกรรมการมีข้อค้นพบที่สำคัญอะไรบ้าง ส่วนการแถลงข่าวของฝ่ายประชาสัมพันธ์ของบริษัทก็คล้ายคลึงกัน คือ ไม่ได้ชี้แจงข้อค้นพบใดๆ ของคณะกรรมการ อธิบายแต่ประเด็นส่วนน้อยที่คณะกรรมการ ชมเชยบริษัท นั่นคือ การที่ Action Plan ครอบคลุมและสมบูรณ์ และการที่บริษัท "ได้เข้าควบคุมสถานการณ์และแก้ไขปัญหาได้อย่างทันท่วงที ...อพยพพนักงานจำนวน 69 คน ออกจากแท่นเจาะอย่างปลอดภัย"

ผู้เขียนเห็นว่าการรายงานของ ปตท.สผ. ละเมิดประกาศ ตลท. เรื่อง "แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการเปิดเผยสารสนเทศของบริษัทจดทะเบียน" ซึ่งประกาศใช้มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2536 อย่างชัดเจน โดยเฉพาะข้อ 4.1 ซึ่งระบุว่า เนื้อหาของสารสนเทศจะต้องมีลักษณะ "ไม่ลำเอียงและตรงไปตรงมา ดังนั้น ประกาศต้องหลีกเลี่ยง ...การไม่ประกาศข้อเท็จจริงในทางไม่ดีที่มีความสำคัญ หรือการตัดทอนข้อเท็จจริงนั้น" และเข้าข่าย "การเปิดเผยในเชิงส่งเสริมที่ไม่มีเหตุอันสมควร" ตามข้อ 3.5 โดยเฉพาะ "(4) การแถลงข่าวทางหนังสือพิมพ์หรือประกาศอื่นต่อประชาชน ซึ่งมีลักษณะด้านเดียวหรือไม่เสมอภาคกัน"

ในเมื่อ ตลท. ปล่อยให้ ปตท.สผ. รายงานสารสนเทศด้วยวิธีที่ละเมิดแนวทางปฏิบัติของตัวเองอย่างชัดเจน ส่วนสื่อมวลชนไทยก็ปล่อยให้ข่าวที่ควรจะใหญ่เงียบหายไปอย่างรวดเร็ว อย่างมากก็ทำแค่แปลข่าวเอเอฟพี สัมภาษณ์แต่ผู้บริหารบริษัท หรือที่แย่กว่านั้นคือนำแถลงข่าวของบริษัทมาลงทั้งดุ้น ผู้เขียนก็สงสัยว่า ตลาดทุนไทยแท้จริงแล้วโปร่งใสแค่ไหน และบริษัทที่มีท่าที "ต่อล้อต่อเถียง" และปิดบังข้อมูลสำคัญต่อนักลงทุนจะเป็น "พลังที่ยั่งยืน" ได้จริงหรือ

คำชี้แจงเรื่องเหตุการณ์มอนทารา

กรุงเทพธุรกิจ วันพุธที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2553

เรียน คุณสฤณี อาชวานันทกุล sarinee@gmail.com

อ้างถึง บทความ ความจริงและความโปร่งใส กรณี ปตท.สผ. ในออสเตรเลียคอลัมน์ ทัศนะวิจารณ์ หน้า 15 หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ.2553

บริษัท ปตท.สผ. จำกัด (มหาชน) ขอขอบคุณคุณสฤณี ที่ให้ความสนใจติดตามข่าวและข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์น้ำมันรั่วไหลจากหลุมมอนทาราในประเทศออสเตรเลีย และได้ให้ความคิดเห็นเกี่ยวกับการรายงานข้อมูลของบริษัทในเรื่องนี้ในบทความที่อ้างถึงข้างต้น ทั้งนี้บริษัทขออนุญาตให้ข้อเท็จจริงเพิ่มเติม เพื่อความเข้าใจในเรื่องดังกล่าวที่ถูกต้องดังนี้

ข้อเท็จจริงของเหตุการณ์มอนทารา

เหตุการณ์น้ำมันและก๊าซธรรมชาติรั่วไหลที่หลุม H1 บนแท่นผลิตมอนทารานั้น เป็นเพียงการรั่วไหลที่ไม่สามารถควบคุมได้ (Uncontrolled release of hydrocarbons) และไม่ได้มีการ ระเบิดดังที่เสนอกันในข่าวทั่วๆ ไปแต่อย่างใด

การสอบสวนของคณะกรรมการ Commission of Inquiry

อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นที่มอนทาราเป็นเรื่องที่ไม่มีใครต้องการให้เกิดขึ้น และทุกๆ ฝ่ายที่เกี่ยวข้องก็ต้องเรียนรู้จากประสบการณ์ครั้งนี้ และแก้ไขเพื่อไม่ให้ประวัติศาสตร์ซ้ำรอย การตั้ง Montara Commission of Inquiry (CoI) ขึ้นมาก็เพื่อเหตุผลดังกล่าวนี้ นั่นคือเพื่อเรียนรู้ข้อบกพร่องต่างๆ และแนะนำวิธีแก้ไข คณะกรรมการ CoI ได้สอบสวนพยานเป็นจำนวนมากจากทุกๆ บริษัท และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เป็นเวลาถึง 4 สัปดาห์ โดยบรรยากาศในการสอบสวนเป็นไปอย่างเคร่งเครียดตลอดเวลา ซึ่งย่อมเป็นเรื่องปกติที่พยานที่ถูกสอบสวนทุกคนจะมีแนวโน้มที่จะให้ข้อมูลและหลักฐานที่จะไม่บ่งชี้ถึงความผิดของตนหรือหน่วยงานของตน เนื่องจากสาเหตุของอุบัติเหตุประเภทนี้จะมีความซับซ้อนเกินกว่าที่จะเกิดได้จากเหตุใดเหตุหนึ่งเพียงอย่างเดียว คณะกรรมการจึงต้องใช้ ความเห็นจากสิ่งที่ได้ยินได้ฟังและได้เห็นในระหว่างการสอบสวนในการสรุป Findings ต่างๆ ในรายงาน แต่ความสำคัญของรายงานนี้อยู่ตรงที่คณะกรรมการได้เสนอ ข้อแนะนำ” (Recommendations) จำนวนทั้งสิ้น 105 ข้อจากข้อสรุป (Findings) ทั้งหมด 100 ข้อให้รัฐบาลออสเตรเลียเพื่อพิจารณาดำเนินการต่อไป

ปตท.สผ. และ PTTEPAA ไม่ได้รับโอกาสในการทบทวนหรือเสนอความคิดเห็นต่อข้อสรุปรายงานของคณะกรรมการ CoI นี้ก่อนที่รัฐบาลออสเตรเลียจะนำเสนอสู่สาธารณชนแต่อย่างใด

การตอบสนอง (Responses) ของรัฐบาลออสเตรเลียต่อข้อแนะนำของคณะกรรมการ CoI

รัฐบาลออสเตรเลียโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรและพลังงาน (Hon. Martin Ferguson, Minister of Resources and Energy) ได้มีข้อสรุปของการพิจารณาข้อแนะนำ (Responses to Recommendations) ต่างๆ จากรายงานของ CoI และได้นำเสนอให้สาธารณชนในเวลาเดียวกันกับการนำเสนอรายงานของ CoI สู่สาธารณชน ซึ่งในข้อแนะนำที่เกี่ยวข้องกับ PTTEPAA นั้น มีทั้งหมด 5 เรื่อง (Recommendations 101 - 105) โดยสามเรื่องแรก (Recommendations 101 - 103) เกี่ยวข้องกับการขอให้รัฐบาลทบทวนใบอนุญาตของ PTTEPAA โดยให้พิจารณาทั้งในส่วนของข้อบกพร่องต่างๆ ของบริษัท (adverse findings) และในส่วนของการปฏิบัติตามแผนการปรับปรุงแก้ไขที่ทางบริษัทได้นำเสนอให้แก่คณะกรรมการไปก่อนหน้านี้แล้ว (“In carrying out a review of PTTEPAA’s permit an licence, the Minister should have regard to this Report, particularly (i) the adverse findings set out in this Chapter; and (ii) the extent to which PTTEPAA has implemented the Action Plan submitted to the Inquiry; or otherwise addressed the matters canvassed in the Report.”) ข้อแนะนำเรื่องที่ 105 (Recommendation 105) คณะกรรมการได้เสนอให้ตั้งคณะทำงานขึ้นมาตรวจสอบหลุมน้ำมันอื่นๆ ที่ PTTEPAA เป็นผู้ดำเนินการว่ามีความสมบูรณ์ปลอดภัยหรือไม่ ส่วนข้อแนะนำที่ 104 นั้นเกี่ยวกับการให้อำนาจหน่วยงานของรัฐในการบังคับให้บริษัททำการสอบสวนหาสาเหตุของอุบัติเหตุได้

รัฐมนตรี Martin Ferguson ได้กล่าวต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีออสเตรเลียเมื่อวันที่ 24 พ.ย.2553 ในเรื่องเกี่ยวกับข้อแนะนำของ CoI ที่เกี่ยวกับ PTTEPAA ข้างต้นดังต่อไปนี้ (Quoted transcript)

“During the Inquiry concerns regarding the state of the five remaining suspended wells in the Montara field were raised. On my instruction, on 9 April 2010, my Department requested the Northern Territory Department of Resources to seek advice from PTTEP AA on the status and integrity of the other suspended wells and information on what remedial action would be taken if required.

PTTEP AA implemented a work program to ensure the integrity of the remaining wells on the Montara Wellhead Platform. AGR, an international company with the requisite expertise, witnessed the satisfactory barrier testing of the wells at the Montara Wellhead Platform. AGR’s verification report has been further assessed by Geoscience Australia and the Northern Territory Department of Resources. Geoscience Australia advises that all possible work to ensure the integrity of the suspended wells at the Montara platform has been undertaken and completed and that the AGR verification report provides appropriate assurance that the barriers are competent.

The Commissioner has recommended that I undertake a review of PTTEP AA’s licence to operate at the Montara oil field. He has further recommended that, as the mechanism for instigating this review, I issue a ‘show cause’ notice to PTTEP AA, pursuant to the cancellation of titles sections of the Offshore Petroleum and Greenhouse Gas Storage Act 2006.

I have accepted the Commissioner’s recommendation to review PTTEP AA’s licence to operate.

However, PTTEP through its Australian subsidiaries (of which PTTEP AA is one) is the operator of seven exploration permits, five production licences and seven retention leases and has interests in a further five exploration permits where it is not the operator. A show cause notice can only be issued where a breach of the Act has been identified, and then only in relation to the Title relevant to that breach. I believe a review of PTTEP AA’s licence to operate which was restricted to its operations in the Montara field would, in these circumstances, be insufficient.

After careful consideration, I directed my Department to instigate an independent review of the Action Plan that PTTEP, the parent company of PTTEP AA, submitted to the Commission of Inquiry. This Action Plan was developed to comprehensively address the technical and governance issues identified by the Commissioner and has application across their entire Australian operations. The independent review commenced on 6 September 2010.

The independent review process will provide me with advice on whether the Action Plan, once implemented, will ensure that PTTEP’s (and its Australian subsidiaries’) operational and procedural measures meet industry best practice standards.

The outcome of this process will assist me in forming a view as to whether the deficiencies in PTTEP AA’s procedures, as identified by the Commissioner, relate only to the Montara oil field or to its, or PTTEP’s, general performance as an operator.

My Department advises me that the final report of the independent review of PTTEP’s Action Plan is due by the end of the year. Upon completion of the independent review my Department will provide me with advice on PTTEP’s capacity to implement the Action Plan. I will make the report public within seven days of receiving this advice.

The outcome of this independent review of PTTEP’s Action Plan will be a central part of my consideration as to whether to issue a ‘show cause’ notice which might lead to cancellation of PTTEP’s petroleum titles.”

จะเห็นว่ารัฐบาลออสเตรเลียให้ความสำคัญกับความสามารถในการปฏิบัติตามแผนปรับปรุงแก้ไข (Action Plan) ของ PTTEPAA ในการพิจารณาว่าจะทบทวนใบอนุญาตการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมของ PTTEPAA หรือไม่อย่างไร (Recommendations 101-1103) และจะตัดสินใจดำเนินการต่อไปเมื่อได้รับรายงานจากคณะกรรมการที่ทางรัฐมนตรีแต่งตั้งขึ้นมาตรวจสอบในเรื่องนี้โดยเฉพาะ ส่วนเรื่องการตรวจสอบความสมบูรณ์ของหลุมอื่นๆ นั้น (Recommendation 105) รัฐบาลออสเตรเลียมีความพอใจต่อผลที่ทาง PTTEPAA ได้ตรวจสอบร่วมกับหน่วยงานภาครัฐอื่นๆ ว่าหลุมอื่นๆ มีความสมบูรณ์และปลอดภัยตามมาตรฐานสากล

การรายงานของ ปตท.สผ. ต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

เนื่องจากเรื่องสำคัญที่สุดที่ผู้ถือหุ้นและนักลงทุนให้ความสนใจเกี่ยวกับรายงานของคณะกรรมการ CoI คือเรื่องการพิจารณาทบทวนใบอนุญาตของ PTTEPAA ซึ่งจะมีผลต่ออนาคตของ ปตท.สผ. ในออสเตรเลีย ดังนั้น ปตท.สผ. จึงจำเป็นต้องให้ข้อมูลที่ถูกต้องในเรื่องนี้แก่ ตลท. เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องของนักลงทุนในสถานการณ์และข้อเท็จจริงที่กำลังเป็นอยู่ในขณะนั้นเพื่อป้องกันการตื่นตระหนก โดยบริษัทไม่ได้มีความตั้งใจปกปิด ข้อเท็จจริงในทางไม่ดีแต่อย่างใด เนื่องจากข้อสรุปและความเห็นที่เกี่ยวกับข้อบกพร่องของการทำงานของ PTTEP ในรายงานของ CoI นั้นได้ถูกนำเสนอต่อสาธารณชนและนักลงทุนโดยสื่อต่างๆ มาก่อนหน้านี้แล้ว แต่แทบไม่มีการนำเสนอถึงเรื่องการพิจารณาใบอนุญาตโดยรัฐบาลออสเตรเลีย และการดำเนินการแก้ไขปรับปรุงของ PTTEPAA ซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญที่สุดของการพิจารณาแต่อย่างใดเลย ปตท.สผ. เห็นว่าการที่สาธารณชนและนักลงทุนได้รับทราบข้อมูลเพียงด้านเดียวจากสื่อต่างๆ เป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้องและไม่ยุติธรรมกับบริษัทและผู้ถือหุ้น จึงได้นำเสนอข้อมูลที่สำคัญแต่ไม่ได้รับการพูดถึงแก่ตลาดหลักทรัพย์และสื่อต่างๆ เพื่อให้เกิดความสมดุลและเสมอภาคในการได้รับข่าวสารของสาธารณชนในเรื่องนี้

ปตท.สผ.หวังเป็นอย่างยิ่งว่าข้อมูลและข้อเท็จจริงข้างต้นจะเป็นประโยชน์ในติดตามความคืบหน้า หรือการเขียนบทความในเรื่องเหตุการณ์มอนทาราของคุณสฤณีต่อไป หากคุณสฤณีต้องการข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาติดต่อได้ที่

คุณบุษบรรณ จีนเจริญ ( Bussaban@pttep.com ) โทร. 02-537-4607

คุณต้องจิตร พงศ์อรพินท์ ( Tongchit@pttep.com ) โทร. 02-537-458

วันอาทิตย์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2554

วุฒิฯ พิจารณากระทู้ถามด่วนปัญหามาบตาพุด (ที่ไม่ใช่ปัญหาของประชาชน)

การประชุมวุฒิสภาวันแรกของการเปิดประชุมสมัยสามัญ ประจำปี 2554 ขณะนี้เริ่มมีสมาชิกวุฒิสภาเดินทางมาลงชื่อแล้ว โดยมีนายประสงค์ นุรักษ์ ส.ว.สรรหา เดินทางมาลงชื่อเป็นคนแรก ในจำนวน ส.ว.ทั้งสิ้น 150 คน โดยการประชุมวันนี้จะเริ่มขึ้นอย่างเป็นทางการในเวลา 10.00 น.สำหรับระเบียบวาระการประชุมที่น่าสนใจ เช่น รายงานของคณะกรรมาธิการสามัญเพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบประวัติ ความประพฤติ พฤติกรรมทางจริยธรรมของผู้ได้รับการเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่งกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ รวมถึงกระทู้ถามด่วน เรื่องแนวทางการแก้ไขปัญหามาบตาพุดให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ และเรียกความเชื่อมั่นของนักลงทุนคืนกลับมาโดยด่วน เรื่องการปฏิบัติต่อข้าราชการที่ถูกคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช.ตั้งข้อกล่าวหา
กลุ่มฯ ได้เคยนำข้อมูลเรื่องโรงแยกก๊าซ ปตท. เสี่ยง ไปให้ช่วยแก้ปัญหา - โดยนำเสนอให้ ประธานกรรมมาธิการ ชุดต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับปัญหามาบตาพุด จากวันนั้นถึงวันนี้ ยังไม่มีหน้าไหน ออกมานำเสนอให้มีการตรวจสอบ-ติดตาม แต่พอเปิดสภา กลับเรียกร้องให้ภาคอุตสาหกรรมเสี่ยง !!!
... ที่บ้านพิษณุโลก วันที่ 13 กันยายน 53 เวลา 16.30 น. คุณศรัลย์ ธนากรภักดี ผู้ประสานงานกลุ่มพิทักษ์อากาศสดชื่น มาบตาพุด ได้เข้าพบ ประธานกรรมาธิการต่างๆ ของวุฒิสภา เพื่อส่งหนังสือร้องเรียนเรื่องโรงแยกก๊าซใหม่ ปตท. เสี่ยง ก่อหายนะภัย พร้อมชี้แจง และตอบข้อสงสัย ก่อนที่ ประธานคณะกรรมาธิการต่างๆ จะมีการเข้าพบกับ นายอานันท์ ปันยารชุน ประธาน คกก. 4 ฝ่าย เพื่อหารือ-แลกเปลี่ยน ข้อสงสัย กรณีประกาศ 11 ประเภทกิจการรุนแรง ของรัฐบาล ...
จากวันนั้น ถึงวันนี้ เกือบ 5 เดือน ที่เคยหวังว่า วุฒิสมาชิก ผู้ทรงเกียรติ ทั้งหลาย จะดำเนินการอย่างไร แต่เงียบเฉย ละเลย เรื่องที่จะสร้งผลกระทบเดือดร้อน รุนแรง ร้ายแรงกับผู้คนประชาชน คนพวกนี้ สมควรที่จะอยู่ทำหน้าที่ต่อไปหรือไม่ เพราะวันนี้ ออกมาพูดเรื่องผลกระทบกับนักลงทุน !!!
http://maptaphut-news.blogspot.com/2010/09/blog-post_14.html - ตามไปดูว่า ใครได้รับเรื่องราวความเสี่ยงนี้ บ้าง!

วันอังคารที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2554

ปตท. กำไร บนความเสี่ยงตาย ของคนมาบตาพุด - “ประชาภิวัฒน์” หนุนใช้แก๊สครัวเรือน ส่งผล LPG ขยับขึ้น ช่วยเอื้อต่อธุรกิจ PTT

กระทู้ ซ้ำๆ ใน โซเซี่ยลเน็ตเวิร์ค ที่ถามหา ผู้มีจิตสาธารณะ และสังคมแห่งการเรียนรู้
ความเจ็บปวดซ้ำซาก ในประเทศนี้ มาจากความไม่ใส่ที่จะระมัดระวังภัย
แต่พร้อมที่จะดาหน้ากันออกมาก่นด่า ... แค่ความสะใจ เมื่อเกิดเหตุสลดแล้ว !
หลังนายกฯ แถลง “ประชาภิวัฒน์” หนุนใช้แก๊สครัวเรือน ส่งผล LPG ขยับขึ้น ช่วยเอื้อต่อธุรกิจ PTT - นโยบายภาครัฐ ที่ต้องดันทุรังโรงแยกก๊าซ ที่ 6 โรงแยกก๊าซ อีเทน ของ ปตท. เสี่ยงก่อหายนะภัย - เศรษฐกิจชาติ ทำให้ผู้คน ไม่กลัวภัยที่จะเกิดกับคนมาบตาพุด
วันนี้ (10 ม.ค.) บล.กสิกรไทย เปิดเผยในบทวิเคราะห์ ว่า เมื่อวานนี้ (9 ม.ค.) นายกฯแถลงนโยบาย “ประชาภิวัฒน์” โดยระบุจะมีการอุดหนุนการใช้แก๊สของครัวเรือนแต่จะยกเลิกการอุดหนุนในกลุ่มอุตสาหกรรม ส่งผลให้ราคา LPG ปรับสูงขึ้น ซึ่งจะส่งผลดีต่อ PTT ซึ่งจำหน่ายแก๊ส LPG ให้แก่ ลูกค้ากลุ่มอุตสาหกรรมประมาณ 16% ของยอดขายทั้งหมด ทั้งนี้ คาดว่า ผลดังกล่าวจะทำให้กำไรปี 54 ของ บมจ.ปตท.(PTT) เพิ่มขึ้น 2.9% จากประมาณการกำไรสุทธิปี 54 ของ PTT ที่ 85.5 พันล้านบาท และประโยชน์ที่โรงกลั่นได้รับ 1% จึงยังคงคำแนะนำกลุ่ม Energy ที่ Neutral ล่าสุด เมื่อวันที่ 7 ม.ค.ที่ผ่านมา หุ้น PTT ปิดที่ 322 บาท ลดลง 10 บาท (-3.01%) มูลค่าซื้อขาย 1,795.12 ล้านบาท
ปตท. ฟุ้งเชื้อเพลิง "เอ็นจีวี" ได้รับความนิยมสูง คาดรถยนต์ใช้ก๊าซ "เอ็นจีวี" ปีนี้ ยังเพิ่มขึ้นได้ต่อเนื่อง จากราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้น ยันแผนเปิดปั๊มใหม่อีก 50 สถานี เพื่อให้ครบ 500 สถานี อาจต้องพับเก็บ ไปก่อน หากรัฐบาลไม่ยอมให้ปรับขึ้นราคาก๊าซอีก กก.ละ 2 บาท และจ่ายเงินอุดหนุนอีก กก.ละ 2 บาท เพราะมีต้นทุนสูงถึง กก.ละ 14 บาท นายวิชัย พรกีรติวัฒน์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ก๊าซธรรมชาติ บริษัท ปตท. จำกัด(มหาชน) คาดว่าการใช้ก๊าซสำหรับยานยนต์เอ็นจีวี ปีนี้ยังมีความนิยมอย่างต่อเนื่องจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้น ล่าสุดอยู่ระดับ 90 ดอลลาร์สหรัฐฯ คาดว่าปริมาณการใช้ก๊าซเอ็นจีวีจะสูงถึง 6,000-6,100 ตันต่อวัน จากปีที่แล้วสูงถึง 5,700 ตันต่อวัน และมีปริมาณรถยนต์เอ็นจีวีกว่า 220,000 คัน จำนวนนี้เป็นรถบรรทุกขนาดใหญ่และรถบัสรวม 30,000-40,000 คัน ที่เหลือเป็นรถเก๋งและแท็กซี่ จากปัจจุบันรถยนต์ในไทยมีประมาณ 10 ล้านคัน อย่างไรก็ตาม ปตท.มีแผนขยายสถานีบริการอีก 40-50 สถานีบริการในปีนี้ให้ครบ 500 แห่ง แต่หลังจากนั้นหากรัฐบาลไม่อนุมัติปรับโครงสร้างราคาเอ็นจีวี เช่น ปรับขึ้น 2 บาทต่อกิโลกรัม จากปัจจุบัน 8.50 บาทต่อกิโลกรัม และไม่อุดหนุนเงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงอีก 2 บาทต่อกิโลกรัม ทาง ปตท.คงไม่สามารถจะลงทุนขยายเครือข่ายเอ็นจีวีได้ เนื่องจากต้นทุนสูงกว่า 14 บาทต่อกิโลกรัม ทั้งนี้ จากความต้องการเอ็นจีวีสูงขึ้น ล่าสุดผู้ประกอบการไทยได้ร่วมลงทุนกับต่างชาติผลิตโรงงานถังก๊าซเอ็นจีวีในประเทศแล้วทดแทนการนำเข้า โดยวันนี้ (วันที่ 11 มกราคม 2554) บริษัท เมทเธิลเมท ได้เปิดตัวการผลิตถังก๊าซซีเอ็นจี ภายใต้ชื่อ “NEIL” ที่ใช้เส้นใยคาร์บอน ซึ่งเป็นชิ้นส่วนประกอบเครื่องบินหรือชุดกันกระสุนมาพันหุ้มถังอะลูมิเนียม นับเป็นถังซีเอ็นจีรุ่น 3 ที่มีการผลิตเป็นรายแรกในประเทศและในอาเซียน โดยถังรุ่นนี้จะช่วยการรองรับแรงกดดันและน้ำหนัก โดยคาดว่าจะมียอดขาย 500 ล้านบาทในปีนี้