วันพุธที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2553
ติดป้าย โรงแยกก๊าซ ปตท. เสี่ยง หน้าศูนย์ราชการระยอง
วันศุกร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2553
มาบตาพุด เดือด ม๊อบต้านม๊อบไม่เอาโรงงาน 30 ก.ย. 53
“ศรีสุวรรณ” ร้อง ก.อุตสาหกรรม เร่งอนุญาตโครงการรุนแรงมาบตาพุด เผยปิโตรฯ เข้าข่าย 19 โครงการ
วันที่ 21 ก.ย. นายศรีสุวรรณ จรรยา นายกสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน ได้ทำจดหมายเปิดผนึกถึง รมว.อุตสาหกรรม ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม และผู้ว่าการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เรื่องการละเมิดอำนาจศาล โดยการอนุญาตโครงการที่เข้าข่ายต้องปฏิบัติตามมาตรา 67 วรรคสอง ก่อนดำเนินการ ข้อความระบุว่า ตามที่ศาลปกครองกลางได้มีคำพิพากษา เมื่อวันที่ 2 ก.ย.2553 ให้ผู้ถูกฟ้องคดี ซึ่งหมายถึง รมว.อุตสาหกรรม และพวก ดำเนินการเพิกถอนใบอนุญาตโครงการ หรือกิจรรมที่เข้าข่ายเป็นโครงการรุนแรง ตามประกาศของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) ฉบับลงวันที่ 31 ส.ค.2553 นั้น แม้การประกาศดังกล่าว จะดำเนินการโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งจะต้องมีการฟ้องร้องเพิกถอนกันต่อไปนั้น แต่เนื่องจากคำพิพากษาของศาลปกครองกลางมีผลผูกพันจนกว่าจะมีคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุดออกมา ตามที่ผู้ฟ้องคดีจักยื่นอุทธรณ์ต่อไปตามกรอบระยะเวลาที่กำหนดตาม พ.ร.บ.จัดตั้ง และวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.2542 นั้น
เร่งอนุญาตโครงการรุนแรงมาบตาพุด
นายศรีสุวรรณ กล่าวว่า ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา สมาคมฯ พบว่า มีความพยายามให้ข่าวที่บิดเบือนจากข้อเท็จจริง เพื่อหวังผลให้มีการเร่งอนุมัติ หรืออนุญาตโครงการต่าง ๆ ที่ศาลปกครองกลาง และศาลปกครองสูงสุดได้มีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวอยู่อย่างเร่งรีบ จนอาจลืมบริบทของการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อน และทุกข์เข็ญของชาวบ้านมาบตาพุด และบ้านฉาง ที่ยังไม่ได้รับการดูแลแก้ไขปัญหา หรือเยียวยาอย่างเหมาะสมเพียงพอเลย จากการตรวจสอบข้อมูลโครงการทั้ง 76 โครงการ พื้นที่มาบตาพุด-บ้านฉาง และใกล้เคียงตามฟ้องนั้น พบว่า มีไม่ต่ำกว่า 19 โครงการ ที่เข้าข่ายเป็นโครงการรุนแรงตามประกาศของ ทส. โดยเฉพาะโครงการเกี่ยวกับอุตสาหกรรมปิโตรเคมีขั้นต้น และขั้นกลาง ที่มีวัตถุดิบ และกระบวนการผลิตที่มี หรือก่อให้เกิดสารก่อมะเร็งในกลุ่มต่าง ๆ ตามประกาศดังกล่าว โดยมีหลักฐานยืนยันปรากฏชัดเจนในรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม และหรือสุขภาพที่ผู้ประกอบการโรงงานต่าง ๆ เหล่านั้น ได้ดำเนินการ หรือจ้างบริษัทที่ปรึกษา หรือสถาบันการศึกษาจัดทำ “ดังนั้น การที่ รมว.อุตสาหกรรม และพวก เร่งรีบการอนุมัติ หรืออนุญาตโครงการ หรือกิจกรรมดังกล่าวไป โดยละเมิดคำพิพากษาของศาลปกครองกลาง จึงถือได้ว่ามีเจตนาที่จะละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 โดยชัดแจ้ง หรือโดยปริยาย สมาคมฯ และชาวบ้านในฐานะผู้มีส่วนได้เสียไม่อาจนิ่งเฉยต่อการกระทำดังกล่าวได้ต่อไป จึงขอให้ทบทวน หรือยุติการดำเนินการใด ๆ ที่นำไปสู่การละเมิดคำพิพากษาดังกล่าวเสีย หากทุกคนที่เกี่ยวข้องเพิกเฉยต่อจดหมายฉบับนี้ สมาคมฯ และชาวบ้านที่เกี่ยวข้อง จำเป็นต้องพึ่งอำนาจศาลในการแสวงหาข้อยุติ เพื่อความยุติธรรมต่อไป” นายศรีสุวรรณ ระบุ.
อุทธรณ์คำสั่ง - กรณี ศาลปกครองไม่รับฟ้องคดี ... โรงแยกก๊าซใหม่ ปตท. เสี่ยง ไม่ตอกเสาเข็มทั้งหมด
เมื่อวานนี้ 24 กันยายน 10.50 น. ที่ศาลปกครองระยอง คุณศรัลย์ ธนากรภักดี ผู้ประสานกลุ่มพิทักษ์อากาศสดชื่น มาบตาพุด ได้นำคำขออุทธรณ์คำสั่ง ไปร้องต่อศาล กรณีไม่รับฟ้องคดีโรงแยกก๊าซใหม่ ปตท. เสี่ยง ไม่ตอกเสาเข็มทั้งหมด โดยให้ความเห็นว่า บ้านเมืองนี้ เป็นนิติรัฐ ที่ควรจะแก้ไขปัญหาสาธารณะต่างๆ ด้วยวิธีทางกฎหมาย ทางศาล กรณีสร้างโรงงานไม่แข็งแรง ซึ่งอีกไม่นานประเทศนี้ จะมีโรงงานเสี่ยงหลายร้อยหลายพันโรง ไม่ตอกเสาเข็มฐานราก ลอกเลียนตาม ปตท. จนอีกหน่อยจะไม่ต่างกับป้ายโฆษณาขนาดใหญ่ แม้อนุมัติถูกต้องตาม กม. แต่ไม่แข็งแรง รอทรุดพังทับผู้คนและบ้านเรือนใกล้เคียง ซึ่งขณะนี้มีมากมาย แต่ไม่ค่อยเข้มข้นที่จะตรวจสอบ เสริมสร้างให้แข็งแรง
บางส่วนของ การอุทธรณ์ คดี การอนุมัติและการดำเนินการก่อสร้าง 3 โครงการขนาดใหญ่ ของ ปตท. ที่มีความเสี่ยงสูงจะก่อหายนะภัย ในพื้นที่มาบตาพุด ระยอง ซึ่งการก่อสร้างไม่แข็งแรงมั่นคง โดยไม่ตอกเสาเข็มฐานรากทั้งโรงงาน แม้สร้างบนพื้นที่ปรับถมใหม่ ซึ่งการทรุดพังของโครงสร้างต่างๆ จะทำให้เกิดการรั่วไหลของก๊าซไวไฟหรือสารเคมีอันตราย เพราะมีคลังก๊าซแอลพีจีจำนวนมหาศาล ถ้าควบคุมไม่ได้เกิดไฟไหม้ระเบิดลุกลามไปยังโรงงานอื่นๆ จำนวนมาก จะมีผลกระทบร้ายแรงกับชีวิตประชาชน ชุมชน และสภาวะแวดล้อม ได้นำเสนอฟ้องมายังศาลปกครอง ระยอง และไม่รับคำฟ้อง จึงได้ขออุทธรณ์คำสั่งอีกครั้งหนึ่ง เพื่อประโยชน์แห่งสาธารณะ และหยุดยั้งต้นเหตุแห่งหายนะภัยที่จะคร่าชีวิตผู้คนประชาชนผู้บริสุทธิ์ มอดไหม้อาคารบ้านเรือนที่พักอาศัย ธุรกิจทรัพย์สิน ตลาดร้านโรง ชุมชน โรงเรียน วัด และสาธารณะสมบัติอื่นๆ แม้อ้างว่าได้รับการอนุมัติก่อสร้างถูกต้องตามกฎหมาย แต่ก่อสร้างไม่แข็งแรง-ไม่ตรงกับการออกแบบ ทั้งที่ทุกหน่วยงานภาครัฐรับรู้ แต่คงจะดันทุรังไม่ใส่ใจ โดยมีชีวิตของผู้คนประชาชนจำนวนมากเป็นเดิมพัน
ระหว่างปี พ.ศ. 2548-2552 ในพื้นที่มาบตาพุด ซึ่งโครงสร้างพิเศษสำคัญในโครงการต่างๆ ของ ปตท. จำนวนมาก พบว่าละเลยเรื่องความแข็งแรงมั่นคงในส่วนงานฐานราก ทั้งที่ก่อสร้างบนพื้นที่ปรับถมดินใหม่ และหลายโครงการอยู่บริเวณหมู่บ้านหนองแฟบ ชื่อตามลักษณะภูมิศาสตร์ว่าเป็นหนองน้ำ แต่ในการก่อสร้างกลับไม่ตอกเสาเข็มอ้างว่า ถมดินบดอัดดีแล้ว เป็นการสมยอมของภาครัฐ ที่เอื้อต่อภาคอุตสาหกรรม ที่เร่งรัดเร่งรีบ เพื่อแสวงหาผลกำไรทางธุรกิจ และเพื่อประโยชน์ในส่วนของตน จนมีการเลียนแบบ ไปยังโครงการอื่นๆ มากมาย และในเวลาไม่กี่ปี จะมี หลายร้อย หลายพัน โรงงาน ทำแบบเดียวกันกับ ปตท. สร้างโรงงาน โดยปราศจากความแข็งแรงมั่นคง ถมที่เสร็จขุดหล่อฐานรากโดยไม่ต้องตอกเสาเข็ม โดยอ้างว่า ดินถมแข็งแรงมาก อ้างมีการทดสอบดินแล้ว เพราะทำให้โครงการเสร็จเร็วขึ้น 6-8 เดือน จึงเป็นที่มาว่า ทำไมทางกลุ่มฯ จึงขอให้ การนิคมอุตสาหกรรมฯ และ ปตท. จัดตั้งคณะกรรมการตรวจสอบติดตามฯ ขึ้นมา เพราะถ้ามีเหตุสลดจากการทรุดพังของฐานราก ผู้ก่อสร้างฐานรากย่อมหนีจากความรู้สึกผิดบาปไปไม่ได้ การเสนอตัวเป็นหนึ่งในคณะตวจสอบ-ติดตามร่วมฯ 3 ฝ่ายนั้น เพราะหมดความมั่นใจในภาครัฐที่รับผิดชอบ และกำหนดไว้เพียง 3 ปี ในระยะแรกและระยะกลางของการตรวจสอบ-ติดตามฯ แต่กระนั้น โรงงาน กับการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ยังต้องร่วมตรวจสอบกันต่อไป อีก 10 ปี หรือตลอดอายุการใช้งาน
เจ้าหน้าที่ข้าราชการพนักงานมีหน้าที่ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2550 มาตรา 74 เมื่อได้รับรู้ถึงเหตุภัยความเสี่ยงจากโรงงาน ที่แม้ได้รับการอนุมัติก่อสร้างอย่างถูกต้อง แต่ก่อสร้างไม่แข็งแรงนั้น โรงงานเสี่ยงก่อภัยอยู่ใกล้ตลาดอยู่ติดชุมชนที่มีผู้คนประชาชนจำนวนมาก จะได้รับผลกระทบร้ายแรงรุนแรงกว้างขวางแล้ว แต่ยังไม่ตระหนักถึงเหตุภัย กลับใช้เวลาไปเพื่อการเสาะแสวงหาหลักฐานเอกสารต่างๆ ข้อกฎหมายต่างๆ เพื่อให้หลุดพ้นจากความรับผิดชอบเท่านั้น - ซึ่งประหนึ่ง เรือเดินสมุทร แม้ออกแบบก่อสร้างทำถูกต้องตามกฎหมายแล้ว แต่เมื่อมีผู้ทักท้วงทั้งเป็นช่างที่ทำกระดูกเรือ แจ้งบอกแบบมีหลักฐานชัดเจนว่าไม่ปลอดภัยแข็งแรงพอ ใยยังคงปล่อยให้ประชาชนผู้บริสุทธิ์ต้องลอยลำออกไปเพื่อเผชิญภัยตามยถากรรม
การคาดการณ์การทรุดพังของฐานรากนั้น มาจากการก่อสร้างฐานรากที่ไม่มีความแข็งแรงเพียงพอ ซึ่งถือว่าเป็นการคาดการณ์ตามปกติวิสัยของวิศวกรโยธาพึงกระทำได้ ตามความรู้ที่มีในวิชาชีพวิศวกรก่อสร้าง ดังนั้นการคาดการณ์เหตุก๊าซรั่วระเบิด ที่มีเหตุจากการทรุดพังของฐานรากต่างๆ ที่ไม่แข็งแรง จึงเป็นการคาดการณ์ ที่มีความเกี่ยวเนื่องกัน
วันอังคารที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2553
นำเรื่องโรงแยกก๊าซใหม่ ไม่ตอกเสาเข็ม - เสี่ยงทรุดพังระเบิดลุกลาม เข้าร้องเรียน ประธานกรรมาธิการต่างๆ ของ วุฒิสภา ที่บ้านพิษณุโลก
วันศุกร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2553
เตือน! หายนะภัย จากภาคอุตสาหกรรม มักง่าย ซ้ำๆ กับภาคประชาชน
ด้วยความเคารพ ในความเป็นประชาชน และชิงชังสาปส่ง กับความไม่มี หิริโอตตัปปะ ของภาครัฐ –
วันนี้ ผมขอคุยตรงนี้ ขอเสริมเรื่องที่ลุงน้อย ยังไม่ได้พูด ! คงใช้เวลาประมาณ 7-10 นาที อดทนฟังก่อนนะครับ กับปัญหาเร่งด่วน ของคนมาบตาพุด บางคนคงเคยฟังแล้วและบางคนยังไม่เคยฟัง ขอซ้ำอีกทีแบบมีเหตุมีผล ผิดหรือครับ! ที่ ช่างซ่อมรถ จะบอกว่าลืมใส่ผ้าเบรกใหม่ ให้รถทัวร์ ที่กำลังขับขึ้นภูเขา หรือคิดกันว่า บอกแล้วจะสร้างความหวาดกลัวให้ผู้คน –เพราะเจ้าของรถทัวร์-คนผลิตรถขาย เรียงหน้ากัน ออกมาบอกแล้วว่า มันปลอดภัยดี ถึงตรงนี้ คุณเชื่อใคร? เพราะบังเอิญ ช่างซ่อมรถ ก้ออยู่บนรถทัวร์เสี่ยงคันนั้นด้วย แต่ช่าง 2-3 คน กำลังโดดรถ ไปหางานใหม่ จะย้ายไปอยู่แถวๆ ปลวกแดง คงเพราะผมทำอะไรไม่สำเร็จ ช้าเกินไป ... เพราะรู้มากกลัวมาก! หางานใหม่ ลาออกตาม อีกเป็นสิบ แต่วันนี้ ภาคประชาชน ที่บอกว่า ห่วงใยชีวิต-สุขภาพ คนมาบตาพุด ห่วงสภาวะแวดล้อม มาบตาพุด ขอให้ใจเย็นๆ รอ เจ้าของรถทัวร์ บริษัทรถทัวร์ คนขายรถทัวร์ ผู้ชำนาญการต่างๆ ออกมาชี้แจงก่อน ทั้งที่ชี้แจงมา 2-3 รอบแล้ว แต่คราวนี้ จะเอาทีวีมาถ่าย มาช่วยกันยืนยัน ว่า รถมันปลอดภัยดี ทั้งๆที่ช่างซ่อมรถย้ำแล้วย้ำอีกว่า ไม่ได้ใส่ผ้าเบรกใหม่ให้ แถมตอนนี้ ยังโดดรถหนีตายอีก! เพราะบอกแล้ว ไม่มีใครฟัง หยุดยั้งไม่ได้ ...
และอีกนั่นแหระ รถทัวร์คันนี้ มันจอดรอเช็คสภาพ มาอยู่ตั้งนาน ... แต่ไม่มีใคร คนไหนใส่ใจสนใจ ทั้งที่ร้องบอกแล้ว ตะโกนบอกแล้วซ้ำๆ ย้ำถึงเหตุที่จะเิกิด แต่ไม่คิดจะตรวจสอบ-แก้ไขกัน
ถึงเวลานี้ รถติดเครื่องรอ กำลังจะออก แต่ ... ผู้คน/สังคม เฉยกันหมด ... กำลังรอ ให้รถวิ่งขึ้นเขา เบรคแตก-ตกเขา-ตายยกคัน! กันก่อน ประหลาดดี! เลือดเย็น...จนน่าใจหาย น่าอนาถ น่าประหลาดใจ
ญี่ปุ่น เกาหลี ฝรั่ง ชาวต่างชาติ และผู้คนจำนวนมาก รีบตะเกียกตะกายขึ้น กลัวไปไม่ทัน ภาครัฐ/เจ้าของรถ บอกนี่ไง ความเชื่อมั่น! กำลัง...ดันทุรังกันไปตายเอาดาบหน้า – บนเครื่องบินโดนเขียนขู่ว่า มีระเบิด ยังต้องรีบลงจอด แล้วตรวจสอบ – เมื่อมีข้อมูลที่ไม่ปลอดภัย เสี่ยงเป็นเสี่ยงตาย
แต่เรื่องโรงแยกก๊าซ ใหม่ ของ ปตท. โรงแยกก๊าซที่ 6 ที่วันนี้ น่าจะเป็นหนึ่ง ใน 18 ประเภทกิจกรรมหรือโครงการ เสนอโดย คกก.4 ฝ่าย ที่จะส่งผลกระทบรุนแรง เพราะการทรุดพังจากการไม่ตอกเสาเข็มทั้งหมด อาจเกดระเบิดลุกลามร้ายแรง แต่ก้อไม่อยู่ในนั้น ทั้งๆที่หลายภาคส่วนรับรู้เรื่องนี้มากันนานมากแล้ว คงเพราะเป็น ปตท. แล้วการพูดประเด็นนี้ มันเรื่องใหญ่มาก ที่บอกว่า มันกระทบเศรษฐกิจ กระทบหลายภาคส่วนจำนวนมาก ที่ยังต้องเกื้อกูล! อยู่กับ ปตท. คงเป็นแบบนั้น
วันนี้ ... กลุ่มวิศวกรที่ก่อสร้างฐานราก โรงแยกก๊าซใหม่ ปตท. ออกมาบอกว่า มันจะทรุดจะพัง วิศวกรกลุ่มนี้ ถามว่ามีมวลชนมั้ย คงไม่มีหรอกครับ มีหลายคนบอก ก้อกำลังรอ ปตท. ชี้แจง ก้อในเมื่อคนที่สร้าง คนที่ทำ บอกว่าที่ทำไว้ มันเสี่ยงมาก เพราะรู้ว่าที่ทำ ทำกันไว้แบบไหน ถึงวันนี้ เราจะรอถามใคร ถามเจ้าของโรงงาน ที่มักง่าย รอถาม คนที่ต้องรับผิดชอบตรวจสอบแต่เฉยชา เช่นวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย แล้วจะรอถามใคร เข้าใจนะครับว่า เป็นโครงการ หัวหอก ที่จะส่งผลกระทบมาก
ถึงวันนี้ภาคประชาชน เกรงว่า ความล่าช้าของโรงงานเสี่ยงหายนะ จะมีผลกระทบ กระทบอะไรครับ คนมาบตาพุด นอนอยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัย แต่ภาคประชาชน บอกหยุดก่อนรอก่อน เพราะที่พูดกระทบ ปตท. ที่สนับสนุนโครงการด้านสิ่งแวดล้อมต่างๆจำนวนมาก เอื้อค่าโฆษณาให้สื่อมวลชนทั้งหมดของประเทศนี้ ถ้ามีปัญหา ที่จะหยุดโครงการนี้ โรงแยกก๊าซ ปตท. จะเสียหายมาก ถามวันนี้ เราทำอะไรอยู่ ห่วงอะไร ห่วงโรงงานมันจะเดินหน้าไม่ได้ หรือห่วงอะไร มีบางคนบอกว่า ถ้าพูดแบบนี้ ก้อต้องตรวจสอบทั้งหมดใหม่ เรื่องความไม่แข็งแรง ก้อมันแบบนั้นจริงๆ ที่รั่ว 2 ครั้ง ตอน คกก.4ฝ่ายมา มาบตาพุด มันเรื่องความแข็งแรง ถังคลอรีนทรุดพัง มีผู้ป่วยหลายร้อย วันนี้ ทำไม ต้องกลัวว่า โรงงานจะต้องถูกตรวจสอบ ถูกไม่ไว้วางใจ
ผมมาตรงนี้ ผิดที่มั้ย จริงๆวันนี้ วางแผนกันไว้ว่า จะไป ยูเอ็น ไปสถานทูตต่างๆ ทำไมรู้มั้ยครับ เพราะ ปตท.ใหญ่มาก แล้วกลุ่มวิศวกรแบบผม ไม่มีมวลชน ไปกดดัน แม้ทุกภาคส่วนรับรู้กันหมดแล้ว คกก.4 ฝ่ายรู้เรื่องนี้ มานานกว่า 5 เดือน รวมทั้งกรรมมาธิการต่างๆ ทั้ง สส. สว. ขนาดเจโทร ยังตอบมาว่า เรื่องนี้ รัฐบาลอภิสิทธิ์ ต้องจัดการให้เหมาะสม รัฐบาลไทยหมกเม็ด ถามว่า คนชาติอื่นๆ เค้าจะเชื่อถือหรือ และตรงนี้ ภาคประชาชน รับรู้เรื่องแล้ว เฉยชาเย็นชาอีก เพราะเป็น ปตท. หรืออย่างไร ... ผมหยุดแค่นี้ พูดไปมากเรื่องมากความ ขัดใจ ผู้คนจำนวนมาก เพราะผมรู้ ถึงความอึดอัดของหลายฝ่าย เพราะเรื่องนี้ กระทบตรงหัวใจ ของ ปตท. – ผมถามว่า...ถึงเวลานี้ เรากล้าหยุด ปตท.มั้ย ทุนอุตสาหกรรมอภิมหาใหญ่ ที่มีอิทธิพล ต่อทุกวงการ ถามอีกทีครับ ว่า กล้าหยุดมั้ย (เสียงเบาจัง) ผมเชื่อแบบนั้นว่า กล้า แต่ถึงอย่างไร ผมเชื่อว่า เขามีอิทธิพลมากครับ แต่...ถึงวันนี้ ปตท.ต้องหยุด-เพื่อตรวจสอบ ซ่อมสร้าง จนไม่มีความเสี่ยง เห็นด้วยมั้ยครับ!
มาบตาพุด ที่นายกบอกต้องให้เร่งรัดจัดหา เรื่องเครื่องมือเตือนภัย ปลายเหตุมั้ยครับ ตรงนี้ รู้ว่ามีภัย แทนที่ ควรกำจัดภัยซะก่อน เสียเวลาอีกสักนิด – ช้าไปอีกสักหน่อย ที่จะทำให้อะไรๆ มันแข็งแรง –
อิทัปปัจจยตา – เมื่อประมาณ 10 วันก่อน มีอุบัติเหตุไฟไหม้ในโรงแยกก๊าซที่ 6 และเมื่อ 2-3 วันที่ผ่านมา มีการซ้อมแผนอพยพ แต่ทำกันเฉพาะคนในโรงงาน แล้วชาวบ้าน ล่ะครับ รู้เรื่องนี้มั้ย เพราะปิดเงียบกันหมด – ไหนครับสัญญาณเตือนภัย! คุม ... อยู่หรือครับ ในเมื่อกลางทะเล ยังปล่อยให้ระเบิด ทั้งๆที่ ปตท. รู้ ล่วงหน้า มานานกว่า 2 เดือนครึ่ง
ชีวิตคนมาบตาพุด ไม่ใช่เงินเบี้ย ในบ่อน ที่รัฐบาลจะยอมเท หมดทั้งตำบล เพื่อความสถาพรด้านเศรษฐกิจ ได้เสียตรงนี้ ชีวิตคนนะครับ ไม่ใช่ผักไม่ใช่หญ้า และถึงวันนี้ ต้องถามรัฐบาลว่าการกินผักกินหญ้าบาปมั้ย เพราะผักหญ้าก้อมีชีวิต ถาม ... เพื่อตรวจสอบความเป็นมนุษย์ ทำไมเลือดเย็น! มองเห็นคนมาบตาพุดไม่ต่างกับเบี้ยกับหอยบนโต๊ะพนัน
และผมก้อไม่รู้ว่า ภาคประชาชนตรงนี้ สนใจเฉพาะเรื่อง สุขภาพ-สิ่งแวดล้อม ที่กฎหมายกำหนดกรอบไว้ เท่านั้นหรือไม่ หรือแบบบางคนให้ความเห็นว่า ควรต้องไปหาที่อยู่ใหม่อื่นอยู่ แบบโรงงานชอบพูด แบบประชาชนคนรักโรงงาน ชอบพูดชอบบอก ว่าถ้าตรงนี้ไม่ดี มันอันตราย มันเสี่ยง ก้อย้ายไปอยู่ที่อื่นซะ
วันพุธที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2553
รัฐประกาศ 11 โครงการรุนแรงโดยมิชอบด้วยกฎหมาย โดย ...ศรีสุวรรณ จรรยา
| |
วันอังคารที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2553
ปาหี่ 11+7 ประเภทกิจกรรมหรือโครงการ ที่ส่งผลกระทบรุนแรง
ปาหี่ 11+7 ประเภทกิจกรรมหรือโครงการ ที่ส่งผลกระทบรุนแรง
ความจริงแล้ว เรื่องต่างๆ ที่เป็นข้อกฎหมาย แม้ถึงมีจริงๆ ก้อไม่สามารถควบคุมได้ เพราะประเทศไทย ไม่ได้เป็นนิติรัฐ วันนี้ ... เรามีภาคอุตสาหกรรม ยำยีสภาวะแวดล้อม แล้วมีผู้อ้างว่าสนใจเรื่องสิ่
18 ประเภทกิจกรรมหรือโครงการ ภาคอุตสาหกรรมรม ที่ส่งผลกระทบรุนแรงที่ออกมาจาก คกก. 4 ฝ่าย ที่เอื้อสุดโต่งกับภาคอุ
สั้นๆ ง่ายๆ ถึงตอนนี้ ถ้าได้ครบ 18 โครงการเสี่ยง จบเลยครับ ฝ่ายผู้ใส่ใจสนใจสิ่งแวดล้
มาบตาพุด ที่ซึ่งคนในพื้นที่ อยากให้มีก๊าซรั่ว จะได้แห่ไปรับค่ารักษา จนมีผู้บาดเจ็บเกินจริง ว่าตกลง 700 หรือ 300 คน ที่เจ็บป่วยจากก๊าซคลอรีนรั่ว เห็นมีแต่ชาวบ้านที่ได้รั
วันที่ 5 ธันวา 52 คกก. 4 ฝ่าย มา มาบตาพุด ก๊าซรั่วรับแล้วไล่ส่ง ปิดวิก 6มิถุนายน 53 พอวันที่ 7 มิถุนายน ถังเก็บคลอรีน ล้มพัง ไล่ส่ง จนมีผู้บาดเจ็บหลายร้อยคน อาการโดยสรุป คือน้ำยาลบหมึก หกราดบนโต๊ะ งงเลยตรงนี้ อะไรหว่าน้ำยาลบหมึก สมัยที่ยังใช้ปากกาหมึกซึมนั่
วันที่ 26 มีนาคม ผมไปร่วมประชุมรับฟังประชาพิ
1. การทดสอบระบบ ที่ไม่มีมาตรการที่รัดกุม
2. การก่อสร้างที่ไม่แข็งแรง เช่นการไม่ตอกเสาเข็
อธิบายไม่ทันจบ โดนไล่ให้เลิกพูด ให้ไปแจ้งความที่อื่น อันที่จริงก่อนพูดผมก้อถามแล้
วันที่ 2 เมษายน ผมไปอีก เพื่อจะไปบอกว่า การก่อสร้างที่ไม่แข็งแรง เช่นการไม่ตอกเสาเข็
ทุกสรรพสิ่ง เกิด ตั้งอยู่ ทรุดลง ย่อมมีเหตุมีปัจจัย ตามกฎทางพุทธ เรื่อง อิทัปปัจจยตา หรือกฎสูงสุดของธรรมชาติ หรือกฎสูงสุดของความไม่แน่
ไม่สรุป - เพราะคิดว่าน่าจะสรุปได้เอง
ปาหี่
คำแปล [n.] acrobatics
ตัวอย่างประโยค ปาหี่ คือการแสดงพลกรรมเพื่ออวดสรรพคุณของกอเอี๊ยะ ขี้ผึ้งวิเศษบำบัดฟกช้ำ
หมายเหตุ การแสดงกลหรือกายกรรมของนักแสดงเร่ร่อน
ครม.อนุมัติ11กิจการ กรมชลฯเจอแจ็กพอต เข้าข่าย"ม.67วรรค2"
ครม.อนุมัติ 11 กิจการรุนแรง "สุวิทย์" ลงนามประกาศกระทรวงทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รอประกาศในราชกิจจานุเบกษามีผลบังคับใช้วันถัดไป สผ.ระบุมี 10-12 โครงการโดนหางเลข เปิดรายชื่อ 2 โครงการแรกที่เจอแจ็กพอต "อ่างเก็บน้ำคลองหลวง-ห้วยโสมง" ต้องกลับมาทำ HIA ด้าน กฟผ.เผยไม่กระทบ เหตุโรงไฟฟ้าความร้อนร่วมที่กำลังก่อสร้างกำลังผลิตไม่ถึง 3,000 MV
ผู้สื่อข่าว "ประชาชาติธุรกิจ" รายงานว่า ในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 31 สิงหาคมที่ผ่านมา ที่ประชุมได้เห็นชอบร่างประกาศกระทรวง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่องกำหนดประเภท ขนาด และวิธีปฏิบัติสำหรับโครงการหรือกิจการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง ทั้งทางด้านคุณภาพ สิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพ ที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอจำนวน 11 กิจการ โดยทั้ง 11 กิจการจะต้องดำเนินการมาตรา 67(2) รัฐธรรมนูญ 2550 ด้วยการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) รายงานผลกระทบสุขภาพ (HIA) การรับฟังความเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และให้องค์การอิสระให้ความเห็น
ทั้งนี้ 11 กิจกรรมโครงการส่งผลกระทบรุนแรง ที่ ครม.เห็นชอบ ประกอบด้วย
- กิจการถมทะลหรือทะเล สาบนอกเขตชายฝั่งเดิม ตั้งแต่ 300 ไร่ขึ้นไป ยกเว้นการฟื้นฟูสภาพชายหาด
- เหมือง ต่าง ๆ ได้แก่ เหมืองใต้ดิน-เหมืองแร่ตะกั่ว/ สังกะสี/ทองคำทุกขนาด, เหมืองถ่านหินขนาด 2.4 ล้านตัน/ปี และเหมืองแร่ในทะเลทุกขนาด
- นิคมอุตสาหกรรม ได้แก่ นิคมอุตสาหกรรมที่ตั้งขึ้นใหม่ หรือขยายเพื่อรองรับโรงงานปิโตรเคมี หรือโรงงานถลุงแร่เหล็กมากกว่า 1 โรง ทุกขนาด
- โรงงานปิโตรเคมีขั้นต้น ทุกขนาด หรือการขยายกำลังการผลิตตั้งแต่ 35% ขึ้นไป โรงงานปิโตรเคมีขั้นกลางขนาดกำลังการผลิต 100 ตัน/วัน หรือขยายกำลังการผลิต 35% ขึ้นไป ในส่วนที่ใช้สารเคมีเป็นสารก่อมะเร็งในกลุ่ม 1 และขนาดกำลังผลิต 700 ตัน/วัน หรือขยายกำลังการผลิตรวมแล้วมากกว่า 700 ตัน/วันขึ้นไป ในส่วนที่ใช้สารเคมีเป็นสารก่อมะเร็งกลุ่ม 2A
- โรงงานถลุงแร่หรือหลอมโลหะ โดยโรงถลุงแร่เหล็กขนาด 5,000 ตัน/วันขึ้นไป, โรงถลุงแร่เหล็กที่มีการผลิตถ่านโค้กทุกขนาด, โรงถลุงแร่ทองแดง ทองคำ หรือสังกะสี กำลังการผลิต 1,000 ตัน/วันขึ้นไป, โรงถลุงแร่ตะกั่วทุกขนาด, โรงหลอมโรงโลหะ (ยกเว้นเหล็กและอะลูมิเนียม) ขนาด 50 ตัน/วัน และโรงหลอมตะกั่ว ขนาด 10 ตัน/วันขึ้นไป
- กิจการผลิตหรือกำจัดหรือปรับแต่งสารกัมมันตรังสี เดิมทุกขนาด
- โรงงานฝังกลบหรือเผาของเสียอันตรายทุกขนาด
- โครงการระบบขนส่งทางอากาศ ที่การก่อสร้างหรือขยายทางวิ่งตั้งแต่ 3,000 เมตรขึ้นไป
- ท่าเทียบเรือที่มีความยาวหน้าท่าตั้งแต่ 300 เมตรขึ้นไป หรือพื้นที่ตั้งแต่ 10,000 ตารางเมตรขึ้นไป หรือมีการขุดลอกร่องน้ำตั้งแต่ 100,000 ตารางเมตรขึ้นไป หรือมีการขนถ่ายวัตถุอันตรายที่เป็นสารก่อมะเร็งกลุ่ม 1 ตั้งแต่ 25,000 ตัน/เดือนขึ้นไป ยกเว้นท่าเทียบเรือโดยสาร หรือท่าเทียบเรือสินค้าเพื่อการอุปโภคและบริโภค หรือท่าเทียบเรือสำราญ
- เขื่อนเก็บกักน้ำหรืออ่างเก็บน้ำตั้งแต่ 100 ลบ.ม.ขึ้นไป หรือมีพื้นที่กักเก็บน้ำตั้งแต่ 15 ตารางกิโลเมตร ขึ้นไป และ
- โรงไฟฟ้าที่ใช้ถ่านหิน ขนาดกำลังการผลิต 100 เมกะวัตต์ขึ้นไป, โรงไฟฟ้าชีวมวล 150 เมกะวัตต์ขึ้นไป, ความร้อนร่วม 3,000 เมกะวัตต์ขึ้นไป และโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ทุกขนาด
ด้านนางสาว
จากการตรวจข้อมูลเบื้องต้นสำหรับโครงการที่ผ่านความเห็นชอบรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) หลังจากรัฐธรรมนูญ 2550 มีผลบังคับใช้ และเข้าข่าย 11 กิจการข้างต้นมีอยู่ประมาณ 10-12 โครงการ ครอบคลุมทั้งโครงการด้านอุตสาหกรรม, โรงไฟฟ้า และเขื่อน/อ่างเก็บน้ำ ที่ชัดเจนว่าเข้าข่ายมี 2 โครงการคือ อ่างเก็บน้ำคลองหลวง จ.ชลบุรี ได้รับความเห็นชอบ EIA เมื่อเดือนพฤษภาคม 2551 และโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยโสมง อ.ปลวกแดง จ.ระยอง ได้รับความเห็นชอบ EIA เมื่อเดือนกันยายน 2552 ซึ่งต้องให้โครงการ ดังกล่าวกลับมาดำเนินตามเงื่อนไข มาตรา 67(2) ให้ครบ สำหรับ 76 โครงการในมาบตาพุดที่ศาลปกครองกลางมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวจะหลุดจาก 11 กิจการรุนแรงหรือไม่ ก็ต้องรอการพิจารณาพิพากษาคดีหลักของศาลปกครองกลางวันที่ 2 กันยายนนี้อีกครั้งหนึ่ง
"ตอนนี้ที่หารือกับกรมชลประทานเบื้องต้น กรมชลประทานแจ้งว่า ได้ศึกษาและจัดเตรียมงบประมาณสำหรับดำเนินการจัดทำ HIA แล้ว ก็คงจะไม่มีปัญหา ส่วนโครงการอุตสาหกรรม หรือโรงไฟฟ้า ต้องประสานไปยังหน่วยงานอนุญาตให้กลับมาดำเนินการตามเงื่อนไขมาตรา 67(2) ด้วย" นางสาว สุชญากล่าว
ด้านนาย