วันอาทิตย์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2553

รูปหลักฐาน ... โรงงานต้นเหตุสารคลอรีนรั่วไหล ทรุดพัง

เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 8 มิ.ย. พ.ต.ท.บุญยก ไชยวงศ์ รอง ผกก.สส.สภ.ห้วยโป่ง อ.เมือง จ.ระยอง พร้อมด้วย พ.ต.ท.อาคม บุญแสง สารวัตรเวร และตำรวจกองพิสูจน์หลักฐาน กองกำกับการ สถานีตำรวจภูธรจ.ระยอง นายวีระศักดิ์ เพิ่มแพงพันธ์ ผอ. นิคมอุตสาหกรรมเหมราชตะวันออก มาบตาพุด พร้อมด้วย นาย Mata Pathak ประธานบริษัท อดิตยา เบอร์ร่า เคมิคัลส์ (ประเทศไทย) จำกัด และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เข้าตรวจสอบบริเวณถังเก็บสารโซเดียมไฮโปคลอไรด์ หรือสารคลอรีน ที่เกิดทรุดตัวจนทำให้ถังไฟเบอร์กลาสแตก เป็นเหตุคลอลีนที่มีจำนวนกว่า 80 ตันไหลทะลักออกมา และมีกลิ่นฟุ้งกระจาย ทำให้มีผู้ได้รับผลกระทบเป็นจำนวนมากเมื่อช่วงบ่ายวันที่ 7 มิ.ย. ที่ผ่านมา จากการตรวจสอบ พบว่าที่เกิดเหตุ เป็นบริเวณที่ตั้งถังสารเคมี เป็นถังสีเหลือง ขนาดความจุ 100 ลบ.ม. สูง 10 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 4 เมตร จำนวน 3 ถังตั้งเรียงกัน โดยถังที่เกิดเหตุ มีตัวหนังสือ ข้างถัง T - 1806 C sodiumhypochlorite volume 100 m3 มีสภาพล้มแตก มีน้ำสีเหลืองไหลเจิงนองทั่วพื้น กลิ่นเหมือนไฮเตอร์ ยังคลุ้งกระจาย โดยรอบที่ตั้งถังทั้งหมดมีรั้วกำแพงล้อมรอบ พบฐานที่ตั้งถังที่เกิดเหตุซึ่งเป็นเหล็ก สภาพหักทำให้ถังเอียง ล้ม จนแตกเนื่องจากตัวถังทำด้วย ไฟเบอร์กลาสสภาพเก่า นายฐากูร เกลี้ยงสุวรรณ ผู้จัดการอาวุโส ฝ่ายความปลอดภัย/สิ่งแวดล้อม และฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ เปิดเผยว่า ขณะเกิดเหตุ คนงานกำลังถ่ายสารโซเดียมไฮโปคลอไรด์ จากท่อลงในถังที่เกิดเหตุ ได้ประมาณ 80 ลบ.ม. ซึ่งตามปกติจะต้องบรรจุ 90 ลบ.ม. แต่เกิดเหตุ ฐานทรุดตัวทำให้ถังเอียงและล้มแตก สารเคมีรั่วออกมา ซึ่งหลังจากเกิดเหตุ ได้รีบสกัดการรั่วไหล และการแพร่กระจายโดยฉีดสเปรย์น้ำ และใช้ปูนขาวโรยเพื่อให้กลิ่นเจือจาง ด้านนายวีระศักดิ์ เพิ่มแพงพันธุ์ ผู้อำนวยการนิคมเหมราชตะวันออก ยืนยันถึงการควบคุมสถานการณ์ได้เรียบร้อยแล้ว และได้กำชับเจ้าหน้าที่ โรงงานที่เกิดเหตุ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้รายงานสาเหตุ ผลกระทบ และการเยียวยา ผู้บาดเจ็บ รวมถึงโรงงานโดยรอบ ที่ได้รับความเสียหายทั้งหมด และสั่งระงับขบวนการผลิต(หยุดเครืองจักร) พร้อมหามาตรการป้องกันเพื่อไม่ให้เกิดเหตุซ้ำอีก และยอดผู้ที่ได้รับผลกระทบที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล 8 แห่ง มีจำนวน 299 คน ขณะนี้ยังให้การรักษาต่อ จำนวน 82 คน ทีมหน่วยสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว (SRRT– C) ได้ออกปฏิบัติงานในพื้นที่คาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 3-5 วัน เพื่อค้นหาผู้ป่วยและดูแลสุขภาพผู้ได้รับผลกระทบต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น