วันพฤหัสบดีที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2553
แผนปรองดอง แม้ว
ผ่าประเด็นร้อน ทักษิณ ชินวัตร ซึ่งนาทีนี้สังคมรับรู้แล้วว่าเป็น “หัวหน้าผู้ก่อการร้าย” ถูกออกหมายจับเพิ่มอีกหลายคดี การโผล่หน้าออกมาดังกล่าวเหมือนกับว่าเป็นการส่งสัญญาณอะไรบางอย่าง เนื่องจากบังเอิญว่าเป็นช่วงที่นายกรัฐมนตรีกำลังเสนอแผนปรองดอง 5 ข้ออยู่พอดี และที่สำคัญและบังเอิญไปกว่านั้นยังเป็นวันที่ ทักษิณ ออกมาเสนอแผนสันติภาพยังตรงกับวันที่ 9 มิถุนายน ซึ่งเป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวขึ้นครองราชย์อีกด้วย ไม่รู้ว่าเป็นเพราะเมาจน “เพี้ยน” หรือว่าผิดหวังจนสติแตกหรือเปล่าไม่รู้ที่จู่ๆ ทักษิณ ชินวัตร ก็โผล่ออกมายื่นข้อเสนอผ่านทางคนรับใช้ส่วนตัวคือ นพดล ปัทมะ เรียกร้องให้รัฐบาลจัดทำแผนสันติภาพโดยมีการเจรจาสงบศึก โดยให้ทุกฝ่ายเข้าร่วมและลงสัตยาบัน ก่อนที่จะไปถึงเรื่องอื่นก็ต้องมาทำความเข้าใจกันก่อนว่า ความหมายที่เกี่ยวกับสันติภาพนั้นย่อมต้องควบคู่ไปกับ “สงคราม” ใช่หรือไม่ รวมไปถึงการเจรจาสงบศึก ก็มักจะใช้ในลักษณะเดียวกัน หรือต้องใช้คนกลางเข้ามาเจรจาไกล่เกลี่ย หากสังเกตให้ดีจะเห็นว่าเป็นการออกมาแสดงความเห็นครั้งแรก นับตั้งแต่ “คนเสื้อแดง” ก่อการจลาจล เผาบ้านเผาเมืองตั้งแต่เดือนเมษายนต่อเนื่องมาจนถึงพฤษภาคมที่ผ่านมาประสบความล้มเหลว ไม่สามารถโค่นล้มรัฐบาล อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ลงได้ แม้จะมีความพยายามต่อเนื่องกันสองปีซ้อนนั่นคือเมื่อเดือนเมษายนปี 2552 และล่าสุดในปี 2553 ดังกล่าว แม้ว่าจะมีการโหมความรุนแรงมากกว่าเดิมหลายเท่า ทุ่มทุนกันไม่อั้นแต่ก็ยังทำกันไม่สำเร็จ บรรดาแกนนำที่ก่อการถูกควบคุมตัว บางคนหนีลงใต้ดินเตรียมก่อการใหม่ กระจัดกระจายกันไปชั่วคราว ขณะที่ ทักษิณ ชินวัตร ซึ่งนาทีนี้สังคมรับรู้แล้วว่าเป็น “หัวหน้าผู้ก่อการร้าย” ถูกออกหมายจับเพิ่มอีกหลายคดี การโผล่หน้าออกมาดังกล่าวเหมือนกับว่าเป็นการส่งสัญญาณอะไรบางอย่าง เนื่องจากบังเอิญว่าเป็นช่วงที่นายกรัฐมนตรีกำลังเสนอแผนปรองดอง 5 ข้ออยู่พอดี และที่สำคัญและบังเอิญไปกว่านั้นยังเป็นวันที่ ทักษิณ ออกมาเสนอแผนสันติภาพยังตรงกับวันที่ 9 มิถุนายน ซึ่งเป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวขึ้นครองราชย์อีกด้วย แม้ว่าถ้อยคำในทวิตเตอร์ของเขาจะระบุในตอนต้นทำนองว่าเร่งรัดให้รัฐบาลถวายพระเกียรติพระเจ้าอยู่หัวอย่างยิ่งใหญ่โดยพยายามเปรียบเทียบกับยุคที่ตัวเองเป็นนายกรัฐมนตรีก็ตาม อย่างไรก็ดีเมื่อปะติดปะต่อกับคำแถลงของ นพดล ปัทมะ ที่ออกมาเสนอแผนสันติภาพ และให้ทุกฝ่ายทำสัญญาสงบศึกนั้น ยังต่อท้ายให้ชวนคิดอีกว่า “หากพูดกับทักษิณดีๆก็จะปรองดองด้วย” มันหมายความว่าอย่างไรกันแน่ เพราะถ้าอีกด้านหนึ่งในแผนปรองดองที่เสนอโดยนายกรัฐมนตรี อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ไม่มีตัวแทนของทักษิณเข้าไปร่วมก็จะ “มีเรื่อง” อย่างนั้นหรือ นอกจากนี้สิ่งที่ต้องพิจารณากันต่อมาก็คือ ในการทวิตเตอร์ส่งสัญญาณครั้งล่าสุดของ หัวหน้าขบวนการโจรก่อการร้ายคนนี้ยังพุ่งเป้าไปที่ผู้นำกองทัพ มีลักษณะจง “เสี้ยม” ให้เกิดความระแวงระหว่างกัน โดยเฉพาะระหว่าง พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผู้บัญชาการทหารบก กับ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา รองผู้บัญชาการทหารบก ขณะเดียวกันในข้อความยังเต็มไปด้วยความเหยียดหยามปรามาส ปลุกระดมให้คนเสื้อแดงและคนทั่วไปเกิดความเกลียดชังระบุว่า พล.อ.อนุพงษ์ ร่วมอยู่ในขบวนการสั่งฆ่าประชาชน แต่ละข้อความที่สื่อออกมาล้วนเต็มไปอารมณ์ที่เร่าร้อน และเจตนาที่เคลือบแฝงทั้งสิ้น การส่งสัญญาณแบบตั้งเงื่อนไขของ ทักษิณ ครั้งล่าสุด หากพิจารณาอย่างทำความเข้าใจ ก็จะทำให้เข้าใจได้ว่าต้องการให้รัฐบาลเจรจากับเขาหรือตัวแทน หรือแม้กระทั่งเข้าไปมีส่วนร่วมกับตัวแทนกลุ่มอื่นๆในลักษณะของการลงนามสันติภาพ เป็นการเจรจาสงบศึกก่อนที่จะมีการเลือกตั้ง ซึ่งหากสังเกตให้ดีรูปการก็ไม่ได้แตกต่างไปจากข้อเสนอครั้งก่อนที่มีการพูดถึงเรื่องสัตยาบัน อะไรทำนองนี้ แต่คำถามก็คือ ถ้ารัฐบาลปฏิเสธไม่ให้ทักษิณ หรือตัวแทนเข้ามามีส่วนร่วม เนื่องจากเห็นว่าเป็นคนละเรื่องกัน ในลักษณะที่ต้องแยกแยะออกมาว่าใครที่ทำผิดกฎหมายก็ต้องว่ากันไปตามกระบวนการ และแผนปรองดองที่กำลังเร่งดำเนินการอยู่ในเวลานี้มีแนวโน้มออกมาในลักษณะของการปฏิรูปประเทศในทุกด้าน โดยจะต้องก้าวข้ามปัญหาส่วนตัวอย่างแน่นอน ถ้าแนวทางออกมาแบบนี้ ทักษิณ จะก่อสงครามต่อใช่หรือไม่ เหมือนกับกรณีที่เคยเกิดขึ้นก่อนหน้า เมื่อครั้งที่มีการแอบเจรจากันระหว่างตัวแทนของ นายกรัฐมนตรีกับแกนนำของคนเสื้อแดง จนมีการแถลงผ่านทางโทรทัศน์ของ นายกรัฐมนตรีเมื่อต้นเดือนพฤษภาคม นั่นคือทั้งสองฝ่ายยอมรับแผนปรองดองแล้วจะมีการเลือกตั้งในวันที่ 14 พฤศจิกายน ขณะที่เงื่อนไขหนึ่งก็คือ แกนนำเสื้อแดงต้องยุติการชุมนุมโดยทันที ซึ่งทุกอย่างกำลังจะลงเอยอยู่แล้ว แต่กลายเป็นว่าต้องล่มกลางคัน สาเหตุมีอยู่เรื่องเดียวคือ “ทักษิณไม่ได้ประโยชน์” เพราะสิ่งที่เขาต้องการคือ เงินที่ถูกศาลสั่งยึดไปด้วยคดีทุจริต และอยากได้อำนาจกลับคืนมาเท่านั้น จนนำมาสู่การชุมนุมก่อจลาจลเผาบ้านเผาเมืองในที่สุด มาคราวนี้เมื่อสิ่งที่เขาต้องการดังกล่าวยังไม่ได้รับการสนองตอบ มันก็ทำให้น่าหวาดเสียวอีกว่า “สันติภาพ” ก็ จะไม่ทางเกิดขึ้น อีกทั้งถ้าสังเกตความเคลื่อนไหวของบรรดาแกนนำรุ่นใหม่ของคนเสื้อแดง โดยเฉพาะระดับ “ฮาร์ดคอร์” ที่มีหมายจับหลายคนยังคงกบดานนิ่ง ยังจับกุมไม่ได้ อีกทั้งเมื่อการชุมนุมที่ผ่านมาก็ได้เห็นการใช้อาวุธสงครามคู่ขนานกันไป และหากความหมายของการเรียกร้องเจรจาสันติภาพไม่ได้รับการตอบสนอง ก็จะเกิด “สงคราม” ใช่หรือไม่ !!
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น