ประชากร
จากการตรวจสอบข้อมูลจำนวนประชากรและบ้าน จากทะเบียนราษฎรพบว่า เขตเทศบาล เมืองมาบตาพุด มีประชากรทั้งสิ้น 43,892 คน แยกเป็น
- ชาย | 22,133 | คน |
- หญิง | 21,759 | คน |
- จำนวนครัวเรือน | 31,531 | ครัวเรือน |
- มีความหนาแน่นของประชากรประมาณ | 261 | คน/ตารางกิโลเมตร |
ลำดับที่ | ตำบล | จำนวน ครัวเรือน | จำนวนประชากร | ร้อยละของ ครัวเรือนทั้งหมด | ร้อยละของประชากรทั้งหมด |
1 | มาบตาพุด | 14,002 | 19,289 | 44.41 | 43.95 |
2 | ห้วยโป่ง | 9,229 | 13,621 | 29.27 | 31.03 |
3 | เนินพระ | 5,497 | 7,814 | 17.43 | 17.80 |
4 | ทับมา | 1,049 | 1,209 | 3.33 | 2.76 |
5 | มาบข่า | 1,754 | 1,959 | 5.56 | 4.46 |
รวม | 31,531 | 43,892 | 100 | 100 |
หมายเหตุ | : ข้อมูล ณ เดือนกุมภาพันธ์ 2551 |
ที่มา | : งานทะเบียนราษฎร สำนักปลัดเทศบาล |
ชุมชน | จำนวน ครัวเรือน | จำนวน ประชากร | ประชากร | ชุมชน | จำนวน ครัวเรือน | จำนวน ประชากร | ประชากร | ||
ชาย | หญิง | ชาย | หญิง | ||||||
1.ชุมชนหนองแฟบ | 1,297 | 2,339 | 1,069 | 1,270 | 17.ชุมชนเขาไผ่ | 692 | 826 | 425 | 401 |
2.ชุมชนตลาดห้วยโป่ง | 724 | 1,771 | 947 | 824 | 18.ชุมชนอิสลาม | 1,022 | 1,598 | 803 | 795 |
3.ชุมชนมาบข่า-สำนักอ้ายงอน | 935 | 1,320 | 699 | 621 | 19.ชุมชนบ้านบน | 1,452 | 2,040 | 1,075 | 965 |
4.ชุมชนโขดหิน | 2,698 | 3,655 | 1,899 | 1,756 | 20.ชุมชนบ้านล่าง | 1,029 | 1,758 | 894 | 864 |
5.ชุมชนบ้านพลง | 768 | 825 | 428 | 397 | 21.ชุมชนห้วยโป่งใน 1 | 815 | 2,020 | 996 | 1,024 |
6.ชุมชนเกาะกก-หนองแตงเม | 801 | 1,065 | 598 | 467 | 22.ชุมชนห้วยโป่งใน 2 | 703 | 1,121 | 565 | 556 |
7.ชุมชนวัดมาบตาพุด | 1,776 | 1,527 | 732 | 795 | 23.ชุมชนห้วยโป่งใน-สะพานน้ำท่วม | 761 | 1,220 | 686 | 534 |
8.ชุมชนคลองน้ำหู | 497 | 766 | 341 | 425 | 24.ชุมชนหนองบัวแดง | 435 | 844 | 389 | 455 |
9.ชุมชนกรอกยายชา | 390 | 672 | 344 | 328 | 25.ชุมชนตลาดมาบตาพุด | 1,035 | 2,431 | 1,111 | 1,339 |
10.ชุมชนมาบชลูด | 1,309 | 2,181 | 1,101 | 1,080 | 26.ชุมชนหนองหวายโสม | 1,270 | 1,989 | 786 | 732 |
11.ชุมชนวัดโสภณ | 286 | 1,146 | 577 | 569 | 27.ชุมชนชากลูกหญ้า | 1,994 | 2,864 | 1,525 | 1,320 |
12.ชุมชนหนองน้ำเย็น | 438 | 606 | 354 | 252 | 28.ชุมชนซอยคีรี | 120 | 710 | 345 | 365 |
13.ชุมชนซอยร่วมพัฒนา | 2,001 | 1,872 | 979 | 893 | 29.ชุมชนมาบข่า-มาบใน | 340 | 1,250 | 650 | 600 |
14.ชุมชนสำนักกะบาก | 169 | 522 | 232 | 290 | 30.ชุมชนเนินพยอม | 532 | 1,042 | 485 | 557 |
15.ชุมชนมาบยา | 1,023 | 1,426 | 728 | 698 | 31.ชุมชนซอยประปา | 217 | 716 | 313 | 403 |
16.ชุมชนตากวน-อ่าวประดู่ | 1,548 | 2,109 | 1,110 | 999 |
|
| |||
รวมทั้งสิ้น 31 ชุมชน | 29,077 | 46,159 | 23,079 | 22,609 |
หมายเหตุ | : ข้อมูล ณ เดือนมีนาคม 2551 |
ที่มา | : กองสวัสดิการสังคม เทศบาลเมืองมาบตาพุด |
นายกเทศมนตรี มาจากการเลือกตั้งจากประชาชนในเขตเทศบาลโดยตรง อยู่ในตำแหน่งคราวละ 4 ปี ทำหน้าที่บริหารราชการของเทศบาลตามกฎหมาย นายกเทศมนตรีแต่งตั้งรองนายกเทศมนตรี ซึ่งมิใช่สมาชิกสภาเทศบาลเป็นผู้ช่วยเหลือในการบริหารราชการของเทศบาล จำนวน 3 คน
สมาชิกสภาเทศบาล ทำหน้าที่เป็นฝ่ายนิติบัญญัติ ประกอบด้วย สมาชิกสภาเทศบาลที่มาจากการเลือกตั้งจากประชาชนในเขตเทศบาล จำนวน 18 คน อยู่ในตำแหน่งคราวละ 4 ปี
สำหรับข้าราชการประจำของเทศบาลมีปลัดเทศบาลเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุด และรองปลัดเทศบาลเป็นผู้ช่วย โดยแบ่งส่วนการบริหารออกเป็นส่วนการงานต่าง ๆ ดังนี้
1. สำนักปลัดเทศบาล | 5. กองวิชาการและแผนงาน | |
2. สำนักการช่าง | 6. กองการศึกษา | |
3. สำนักการสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม | 7. กองช่างสุขาภิบาล | |
4. สำนักการคลัง | 8. กองสวัสดิการสังคม | |
หน่วยงาน | จำนวนพนักงานเทศบาลแยกตามระดับ | รวม | ลูกจ้าง | ||||||||||||
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | ค.ศ.2 | ประจำ | ตามภารกิจ | ทั่วไป | รวม | ||
สำนักปลัดเทศบาล | 7 | 8 | 6 | 6 | 8 | 6 | 1 | - | 2 | - | 44 | 17 | 25 | 30 | 72 |
สำนักการช่าง | 1 | 5 | 5 | 3 | 5 | 9 | 5 | 2 | 1 | - | 36 | 18 | 36 | 52 | 106 |
สำนักการสาธารณสุขฯ | 1 | 1 | 4 | 2 | 3 | 8 | 12 | 4 | - | - | 35 | 21 | 22 | 105 | 148 |
สำนักการคลัง | 1 | 3 | 10 | 4 | 6 | 8 | 1 | 2 | 1 | - | 36 | 4 | 1 | 8 | 13 |
กองวิชาการและแผนงาน | - | 5 | 4 | 7 | - | 1 | 1 | - | - | - | 18 | 3 | 4 | 11 | 18 |
กองการศึกษา | - | 2 | 2 | 3 | - | 2 | 3 | 1 | - | 1 | 14 | 8 | 15 | 15 | 38 |
กองช่างสุขาภิบาล | - | 1 | 3 | 2 | 1 | 4 | - | - | - | - | 11 | 4 | 13 | 7 | 24 |
กองสวัสดิการสังคม | 1 | 2 | 3 | 1 | - | 2 | - | 1 | - | - | 10 | 1 | 3 | 7 | 11 |
รวม | 11 | 27 | 37 | 28 | 23 | 40 | 23 | 10 | 4 | 1 | 204 | 76 | 119 | 235 | 430 |
หมายเหตุ | : ข้อมูล ณ เดือนมีนาคม 2551 |
ที่มา | : สำนักปลัดเทศบาลเมืองมาบตาพุด |
1. วัดโสภณวนาราม | 7. วัดหนองแฟบ | |
2. วัดตากวน | 8. วัดห้วยโป่ง | |
3. วัดมาบชลูด | 9. วัดเขาไผ่ | |
4. วัดชากลูกหญ้า | 10. วัดกรอกยายชา | |
5. วัดโขดหิน | 11. วัดมาบตาพุด | |
6. วัดใหม่ซอยคีรี |
|
1. มัสยิดญามีอุ้ลมุบตาดี | 2. มัสยิดอิมาดุดดีน | |
3. สมาคมอิสลามมูฮัมมาดียะห์ | 4. มัสยิดนูรุ้ลฮิดายะห์ |
1. ศาลเจ้ามาบตาพุด | 3. ศาลเจ้าห้วยโป่ง | |
2. ศาลเจ้าแม่จันเท |
|
ภายในเทศบาลเมืองมาบตาพุดมีคริสตจักร จำนวน 1 แห่ง ได้แก่ คริสตจักรระยองเมโธรดิสท์
วัฒนธรรม
ประเพณีท้องถิ่นที่สำคัญ
วันขึ้นปีใหม่ | เดือนมกราคม | |
กิจกรรม | จัดให้มีการทำบุญตักบาตรข้าวสาร อาหารแห้ง บริเวณสนามโรงเรียน บ้านมาบตาพุด | |
วันสงกรานต์ | เดือนเมษายน | |
กิจกรรม | จัดพิธีรดน้ำอวยพรผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ | |
แห่เทียนพรรษา | เดือนกรกฎาคม | |
กิจกรรม | จัดให้มีการหล่อเทียนพรรษาและเทียนพรรษาเพื่อให้ประชาชนไปทำบุญ และถวายเทียนแก่วัดต่าง ๆ ในเขตเทศบาล | |
ลอยกระทง | เดือนพฤศจิกายน | |
กิจกรรม | จัดให้มีการประกวดกระทงและนางนพมาศ |
การศึกษา
เทศบาลเมืองมาบตาพุด มีสถานศึกษาอยู่ในพื้นที่ของเทศบาล ทั้งหมด 16 แห่ง และศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 5 แห่ง ดังนี้
1. โรงเรียนสังกัดเทศบาล จำนวน 1 แห่ง คือ โรงเรียนเทศบาลมาบตาพุด
2. โรงเรียนสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาแห่งชาติ จำนวน 7 แห่ง คือ
2.1 โรงเรียนบ้านมาบตาพุด | 2.5 โรงเรียนวัดตากวน | |
2.2 โรงเรียนวัดห้วยโป่ง | 2.6 โรงเรียนวัดชากลูกหญ้า | |
2.3 โรงเรียนวัดโขดหิน | 2.7 โรงเรียนบ้านหนองแฟบ | |
2.4 โรงเรียนวัดมาบชลูด | ||
3. โรงเรียนสังกัดกรมสามัญศึกษา จำนวน 2 แห่ง คือ | ||
โรงเรียนระยองวิทยาคม นิคมอุตสาหกรรม | ||
โรงเรียนมาบตาพุดพันพิทยาคาร | ||
4. โรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน จำนวน 3 แห่ง คือ | ||
4.1 โรงเรียนมณีวรรรณวิทยา | 4.3 โรงเรียนศิริพรระยอง | |
4.2 โรงเรียนวุฒินันท์ |
5. วิทยาลัยสังกัดกรมอาชีวศึกษา จำนวน 2 แห่ง คือ
5.1 วิทยาลัยเทคนิคมาบตาพุด | |
5.2 วิทยาลัยสารพัดช่างระยอง |
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
1. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดห้วยโป่ง 2. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดมาบชลูด 3. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กโรงเรียนบ้านหนองแฟบ 4. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลเมืองมาบตาพุดชุมชนมาบข่า 5. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดตากวน
กีฬา / นันทนาการ / พักผ่อน
เทศบาลเมืองมาบตาพุดมีสถานที่ออกกำลังกายและพักผ่อนหย่อนใจ ดังนี้
1. สวนสาธารณะมาบชลูด 2. สวนสาธารณะซอยประปา 2 3. สวนสาธารณะลับแล 4. สวนสาธารณะมาบใน 5. สวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติราชทัณฑ์ (อยู่ในระหว่างดำเนินการก่อสร้าง) 6. หาดสนกระซิบ 7. หาดสุชาดา
สาธารณสุข
ภายในเขตเทศบาลเมืองมาบตาพุด มีสถานบริการด้านสาธารณสุข ดังนี้
โรงพยาบาล
• รัฐบาล 1 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลมาบตาพุด เตียงคนไข้ 30 เตียง • เอกชน 1 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลมงกุฎระยอง เตียงคนไข้ 100 เตียง • คลินิก จำนวน 16 แห่ง • อื่น ๆ (ทันตแพทย์คลินิก) 3 แห่ง
ศูนย์บริการสาธารณสุขของเทศบาลเมืองมาบตาพุด จำนวน 6 แห่ง ได้แก่
• ศูนย์บริการสาธารณสุขเนินพยอม • ศูนย์บริการสาธารณสุขตากวน • ศูนย์บริการสาธารณสุขเกาะกก • ศูนย์บริการสาธารณสุขมาบข่า • ศูนย์บริการสาธารณสุขโขดหิน • สถานีอนามัยมาบตาพุด
ข้อมูลอัตรากำลังเจ้าหน้าที่และจำนวนผู้รับบริการรักษาพยาบาล
ศูนย์บริการ | อัตรากำลังเจ้าหน้าที่ | จำนวนผู้รับบริการรักษา | |||
ทันตแพทย์ | พยาบาล | จพง.การคลัง/ | ลูกจ้างประจำ/ | พยาบาล | |
|
| จพง.การเงิน | พนักงานจ้าง | (ราย) | |
1.เนินพยอม | 2 | 3 | 1 | 11 | 21,741 |
2.ตากวน | - | 1 | 1 | 5 | 6,111 |
3.เกาะกก | - | 2 | - | 3 | 3,015 |
4.มาบข่า | - | 2 | - | 6 | 3,681 |
5.โขดหิน | - | 2 | - | 8 | 5,487 |
หมายเหตุ | : ข้อมูลปีงบประมาณ 2549 (ตุลาคม 2548 - กันยายน 2549) |
ที่มา | : ศูนย์บริการสาธารณสุขเทศบาลเมืองมาบตาพุด |
สาเหตุการป่วย (กลุ่มโรค) 5 อันดับโรค ของศูนย์บริการสาธารณสุขทั้ง 5 แห่ง มีดังนี้
1. โรคระบบทางเดินหายใจ 2. ระบบไหลเวียนเลือด 3. โรคระบบย่อยอาหาร รวมโรคในช่องปาก 4. โรคระบบกล้ามเนื้อรวมโครงร่างและเนื้อยึดเสริม 5. โรคผิวหนังและเนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง |
หมายเหตุ | : ข้อมูลปีงบประมาณ 2549 (ตุลาคม 2548 - กันยายน 2549) |
ที่มา | : ศูนย์บริการสาธารณสุขเทศบาลเมืองมาบตาพุด |
การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
เทศบาลเมืองมาบตาพุดจัดให้มีการปฏิบัติหน้าที่ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยต่างๆ ที่เกิดขึ้น เช่น อบรมให้ความรู้ด้านอัคคีภัย แก่โรงงานอุตสาหกรรม อาสาสมัครของชุมชนต่างๆ ในเขตพื้นที่ระงับเหตุอัคคีภัย อุทกภัย รถบรรทุกสารเคมี พลิกคว่ำและอุบัติเหตุบนเส้นทางจราจร เป็นต้น โดยมีสถิติการปฏิบัติหน้าที่ในรอบปีที่ผ่านมา (1 ม.ค.- 31 ธ.ค. 2550) ดังนี้
- อุบัติเหตุรถยนต์ (ช่วยเหลือกู้ภัย) | จำนวน | 5 | ครั้ง | ||
- เพลิงไหม้หญ้า | จำนวน | 209 | ครั้ง | ||
- เพลิงไหม้โรงงาน | จำนวน | 8 | ครั้ง | ||
- เพลิงไหม้อาคาร/บ้านเรือน | จำนวน | 7 | ครั้ง | ||
- เพลิงไหม้รถยนต์ | จำนวน | 7 | ครั้ง | ||
- บริการน้ำบ้านเรือนประชาชน | จำนวน | 694 | ครั้ง | ||
- อบรมดับเพลิงเบื้องต้นในเขตเทศบาล | จำนวน | 55 | ครั้ง | ||
- ร่วมซ้อมแผนอพยพให้กลุ่มโรงงาน | จำนวน | 46 | ครั้ง | ||
- งมศพคนจมน้ำ | จำนวน | 5 | ครั้ง | ||
- ดูดน้ำท่วมขัง | จำนวน | 27 | ครั้ง | ||
- เพลิงไหม้แนวท่อก๊าซ | จำนวน | 1 | ครั้ง | ||
- เพลิงไหม้หม้อแปลงไฟฟ้า | จำนวน | 4 | ครั้ง | ||
- เพลิงไหม้ถังแก๊ส | จำนวน | 1 | ครั้ง | ||
- ตัดต้นไม้ที่กีดขวาง | จำนวน | 6 | ครั้ง |
รวมทั้ง จัดให้มีการฝึกซ้อมทุกสัปดาห์ ตามระเบียบปฏิบัติประจำวัน ทุกวันพุธ และวันศุกร์ เวลา 09.00 – 12.00 น.
เทศบาลเมืองมาบตาพุด มีสถานีดับเพลิง 2 สถานี มีอุปกรณ์และบุคลากร ดังนี้
จำนวนรถดับเพลิง แยกตามประเภท
- รถดับเพลิงชนิดบันไดเลื่อนอัตโนมัติ จำนวน 1 คัน ความจุน้ำ 1,000 ลิตร เคมีโฟม 1,000 ลิตร ความสูง 30 เมตร - รถยนต์ดับเพลิงชนิดเคมีโฟม จำนวน 4 คัน ความจุน้ำ 6,000 ลิตร เคมีโฟม 6,000 ลิตร ผงเคมีแห้ง 250 กิโลกรัม - รถยนต์ปิคอัพสายตรวจ อปพร. จำนวน 1 คัน - รถยนต์บรรทุกเครื่องหาบหามปิกอัพ จำนวน 2 คัน - รถยนต์ปิคอัพสายตรวจ งานป้องกันฯ จำนวน 1 คัน - รถยนต์ปิกอัพตรวจการณ์เคลื่อนที่เร็ว จำนวน 1 คัน - รถ/อุปกรณ์อื่น ๆ · รถบรรทุกน้ำดับเพลิงอเนกประสงค์ ความจุ 5,000 ลิตร จำนวน 5 คัน · รถบรรทุกน้ำดับเพลิงอเนกประสงค์ ความจุ 10,000 ลิตร จำนวน 2 คัน · รถบรรทุกน้ำดับเพลิงอเนกประสงค์ ความจุ 12,000 ลิตร จำนวน 2 คัน · รถยนต์กู้ภัยขนาดกลางพร้อมอุปกรณ์ จำนวน 1 คัน · เครื่องช่วยหายใจชนิดถังเหล็ก ขนาด 300 บาร์ จำนวน 17 เครื่อง · เครื่องช่วยหายใจชนิดคาร์บอน ขนาด 300 บาร์ จำนวน 16 เครื่อง · ชุดป้องกันความร้อน 2,000 F จำนวน 13 ชุด · ชุดป้องกันความร้อน (NOMAX) 360 F จำนวน 20 ชุด · รถบรรทุกโฟมชนิดลากจูง ขนาดความจุ 2,000 ลิตร จำนวน 2 คัน · ชุดประดาน้ำ จำนวน 2 ชุด · ชุดป้องกันสารเคมี LEVEL A จำนวน 5 ชุด · เครื่องปั๊มลมพร้อมสายลมและอุปกรณ์ครบชุด จำนวน 1 ชุด · เครื่องอัดก๊าซไนโตรเจนสำหรับเครื่องดับเพลิงชนิดผงเคมีแห้ง พร้อมอุปกรณ์ครบชุด จำนวน 1 ชุด · เครื่องอัดอากาศสำหรับเครื่องช่วยหายใจแรงดันสูงแบบประจำที่ จำนวน 1 ชุด · เครื่องค้นหาและวัดความลึกใต้น้ำ (ซาวเดอร์) จำนวน 1 เครื่อง
เครื่องสูบน้ำดับเพลิง ชนิดหาบหาม จำนวน 14 เครื่องแยกเป็น
- ขนาด 13 แรงม้า จำนวน 4 เครื่อง - ขนาด 33 แรงม้า จำนวน 2 เครื่อง - ขนาด 40 แรงม้า จำนวน 4 เครื่อง - ขนาด 55 แรงม้า จำนวน 4 เครื่อง
เจ้าหน้าที่ป้องกันฯ จำนวน 57 คน แยกเป็น
- เจ้าพนักงาน/เจ้าหน้าที่ป้องกันฯ | จำนวน 16 คน | |
- ลูกจ้างประจำ | จำนวน 14 คน | |
- พนักงานจ้างตามภารกิจ | จำนวน 17 คน | |
- พนักงานจ้างทั่วไป | จำนวน 10 คน | |
แหล่งน้ำที่ใช้ในการดับเพลิง จากแหล่งน้ำธรรมชาติ 7 แห่ง ดังนี้
- ข้างทางหลวงสาย 36 ตรงข้ามบริษัท มหากิจรับเบอร์ ประมาณ 8,000 ลบ.ม. ระยะห่างสถานีดับเพลิง 11 ก.ม. - สระไทยรัฐ ประมาณ 36,000 ลบ.ม. ระยะห่างสถานีดับเพลิง 6 ก.ม. - ฝายศาลาบ้านบน ประมาณ 2,500 ลบ.ม. ระยะห่างสถานีดับเพลิง 5 ก.ม. - ฝายหนองหวายโสม ประมาณ 4,000 ลบ.ม. ระยะห่างสถานีดับเพลิง 3 ก.ม. - คลองน้ำหู ประมาณ 9,000 ลบ.ม. ระยะห่างสถานีดับเพลิง 7 ก.ม. - สระน้ำเมืองใหม่มาบตาพุด ประมาณ 5,000 ลบ.ม. ระยะห่างสถานีดับเพลิง 5 ก.ม. - บ่อน้ำธรรมชาติ หน้างานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ประมาณ 12 ลบ.ม.
แผนการฝึกซ้อม มีการแบ่งแผนฉุกเฉินตามระดับความรุนแรงออกเป็น 3 ระดับ คือ
เป็นภัยขนาดเล็กในโรงงาน หรือตามเส้นทางขนส่ง ซึ่งเจ้าหน้าที่ของโรงงานที่เกิดเหตุหรือโรงงานใกล้เคียงจุดบนเส้นทางที่เกิดเหตุ จากการขนส่งสามารถควบคุมได้
ภาวะฉุกเฉินระดับที่ 2
เกินความสามารถของโรงงานที่เกิดเหตุ จะต้องขอความช่วยเหลือจากหน่วยงานภายนอก เช่น กองอำนวยการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน (กอ.ปพร.) อำเภอ กิ่งอำเภอ เทศบาลท้องที่หรือโรงงานข้างเคียง
ภาวะฉุกเฉินระดับที่ 3
กองอำนวยการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนท้องที่ ไม่สามารถระงับภัยและควบคุมสถานการณ์ได้ จะต้องขอความช่วยเหลือจาก กอ.ปพร. จังหวัดระยอง จังหวัดใกล้เคียง รวมทั้งหน่วยสนับสนุนจากภายนอกระดับอื่นๆ ฯลฯ
ได้ฝึกซ้อมแผนระดับ 1 และ 2 ร่วมกับโรงงานและสถานีประกอบการอยู่เป็นประจำ เฉลี่ย 2 – 3 ครั้ง/เดือน ส่วนการซ้อมแผนระดับ 1 – 3 ได้มีการฝึกซ้อม ดังนี้
ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2544 เวลา 9.00 – 12.00 น. โดยบริษัทปิโตรเคมีแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) (NPC) ซ้อมแผนฯ เหตุการณ์รั่วไหลและเพลิงไหม้บริเวณแนวท่อก๊าซ ถนนทางหลวงหมายเลข 36 ตำบลทับมา
ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2544 ซ้อมแผนเพลิงไหม้ภายในโรงกลั่นน้ำมัน TPI บริษัท อุตสาหกรรม ปิโตรเคมีกัลไทย จำกัด (มหาชน) (TPI)
ครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2544 ซ้อมแผนดับเพลิงถังน้ำมันดิบภายในโรงกลั่นน้ำมัน บริษัทอัลลาย แอนซ์ รีไฟน์นิ่ง จำกัด (ARC) ริมถนนสายตากวน – หาดทรายทอง ต.มาบตาพุด
ครั้งที่ 4 เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2546 ซ้อมแผนเพลิงไหม้ถังน้ำมันในบริษัท ระยอง โอเลฟินส์ จำกัด และเกิดอุบัติเหตุจากรถบรรทุกขนส่งน้ำมัน และสารเคมีบริเวณ ถ.ไอ – 2 ตัดกับ ถ.ไอ – 8 ในเขตนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด (สมมุติสถานการณ์เกิดใกล้เคียงกัน)
ครั้งที่ 5 เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2548 ซ้อมแผนฉุกเฉินกรณีเพลิงไหม้ถังน้ำมันร่วมกับบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) โรงแยกก๊าซ ปตท. มาบตาพุด
ครั้งที่ 6 เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2548 ซ้อมร่วมกับ บริษัทวินิไทย จำกัด (มหาชน)
ครั้งที่ 7 เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2549 ซ้อมแผนเพลิงไหม้ถังน้ำมันในบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) โรงงานก๊าซธรรมชาติระยอง
ครั้งที่ 8 เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2549 ซ้อมแผนการรักษาความปลอดภัย ร่วมกับบริษัท โกลบอล พอร์ต แมนเนจเม้นท์ จำกัด
ครั้งที่ 9 เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2550 ซ้อมแผนฉุกเฉินกรณีเพลิงไหม้ และสารเคมีรั่วไหล ร่วมกับบริษัท IRPC
อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน (อปพร.) เทศบาลเมืองมาบตาพุด อบรมทั้งหมด 6 รุ่น มีสมาชิกที่ผ่านการฝึกอบรม 753 คน
หมายเหตุ | : ข้อมูล ณ เดือนมกราคม 2551 |
ที่มา | : งานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น