วันจันทร์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2553

คนไทย ทอดทิ้ง!!! ให้ คนมาบตาพุดเสี่ยง

นายกอภิสิทธิ์ เลียนแบบ กลุ่มคนใส่เสื้อแดง
จับคนมาบตาพุดเป็นตัวประกัน กับรถก๊าซมากกว่า 4,000คัน

งงเลย ... จั่วหัวเริ่มต้นแบบนี้ ลองตามไปดูกัน

ที่คลังก๊าซ LPG ของ ปตท. อยู่หลังปั้ม ปตท. มาบตาพุด มีถังเก็บก๊าซ ขนาด 6,000 3 - 12ลูก (มันก้อปกตินะ โรงงานไหนๆ ก้อมีคลังน้ำมัน คลังก๊าซไวไฟ คลังวัตถุดิบ) เค้าก้อมี SAFETYคอยใส่ใจดูแล

ขณะนี้ โรงแยกก๊าซใหม่ ของ ปตท. - 2 โรง อยู่ระหว่างการทดสอบระบบ มีคลังก๊าซที่ว่า อยู่ตรงกลางตามรูป (ก้อ คกก.4 ฝ่าย ส่งเรื่องให้รัฐบาลแล้วนี่ว่าไม่ส่งผลกระทบรุนแรง)

แล้วไง ... ถ้าภาพข้างล่าง เปรียบเทียบความแข็งแรง ฐานรากหอสูง - สูง 40 ม. มันก้อพอๆ กับ ตึก 10 ชั้น หรืออาจจะสูงกว่า

ตอนนี้ เป็นฤดูฝน เดี๋ยวนี้ ฝนมันตกแรง ลมแรง ผ้าร้องฟ้าผ่า รุนแรง โรงงานอื่นๆ เค้าตอกเสาเข็มกันมั้ย แต่โรงแยกก๊าซ ไม่ได้ตอก อ้างว่าดินรับน้ำหนักได้ 30 ตัน/ม2 จึงเป็นที่มาว่า ฐานรากทั้งหมดในโรงแยกก๊าซ ไม่จำเป็นต้องตอกเสาเข็ม

ไม่รู้ว่า ... คุณอยู่ในวงกลมนี้ มั้ย ถ้าไม่อยู่ก้อคงไม่ได้รับผลกระทบอะไร เพื่อนคุณล่ะ คนที่คุณรู้จักล่ะ อยู่ในวงกลมนี้มั้ย คุณควรจะบอกให้เค้ารับรู้ป่ะ

ถ้าคุณนึกไม่ออกว่าอะไร คุณจำเรื่องรถก๊าซระเบิดที่ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ เมื่อเดือนกันยายน ปี 2533 ได้มั้ย ครบรอบ 20 ปี พอดีเลย เรื่องราวมันเป็นอย่างไร คงจำกันไม่ได้แล้ว ลองกดตามไปดูคลิปที่นี่

http://www.youtube.com/watch?v=AMivAEIwl6o&feature=player_embedded

อุ๊ยตายว๊ายกรีด!!! ใครรู้เรื่องเหล่านี้บ้างนี่ลองเข้าไปหาคำว่า ภาพหลุด นายกอภิสิทธิ์ ใน google บรรทัดแรก อ่ะ ที่โผล่ขึ้นมา ตามไปดูรายละเอียดกันเอง

โรงแยกก๊าซ ช้า ... จะกระทบระบบเศรษฐกิจ หรือจะปล่อยให้ ตุ๋มๆต่อมๆ หายใจไม่ทั่วท้องที่เผลอเข้าไปอยู่ในวงกลม ตลอด 25-30 ปี กับอายุใช้งานของโรงแยกก๊าซ

วันเสาร์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2553

อ้างไม่กระทบ ผลักดันให้เปิดใช้โรงแยกก๊าซ เสี่ยง!!!

*** ทุกฝ่ายพยายามเปิดใช้โครงการเสี่ยง ทั้งๆที่รู้ว่าเสี่ยงก้อจะดันทุรัง *** การรั่วไหลของก๊าซคลอรีน เพราะดินรับน้ำหนักถังไม่ไหว ทรุดตัว จึงเป็นประเด็นว่า วันนี้โรงแยกก๊าซ ปตท. เสี่ยงอย่างไร http://www.oknation.net/blog/airfresh-society/2010/06/09/entry-1 ไทยโพสต์ หุ้นซึม ปิด 793 จุด ลุ้นสัปดาห์หน้าฟื้น แนะสะสมกลุ่ม ปตท. มั่นใจโรงแยกก๊าซฯ แห่งที่ 6 รอดบัญชีธุรกิจรุนแรง ดัชนีหุ้นไทยวันที่ 25 มิ.ย. ปิดที่ 793.67 จุด เพิ่มขึ้น 0.48 จุด มูลค่าการซื้อขาย 21,051.02 ล้านบาท นักลงทุนสถาบันขาย 1,388.84 ล้านบาท บัญชีบริษัทหลักทรัพย์ขาย 484.73 ล้านบาท ต่างชาติซื้อ 502.12 ล้านบาท รายย่อยซื้อ 1,371.46 ล้านบาท นางสาวมยุรี โชวิกรานต์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.กิมเอ็ง (ประเทศไทย) กล่าวว่า ดัชนีตลาดหุ้นเคลื่อนไหวในกรอบแคบระหว่าง 786-797 จุด ขณะที่มูลค่าการซื้อขายค่อนข้างเบาบาง เนื่องจากเป็นวันสุดท้ายของสัปดาห์ ขณะที่ภาวะการลงทุนของตลาดหุ้นทั่วโลกแกว่งตัวในกรอบแคบเช่นกัน เนื่องจากนักลงทุนยังมีความวิตกกังวลปัญหาหนี้สาธารณะในยุโรป ซึ่งยังเป็นปัจจัยหลักที่ส่งผลกระทบต่อบรรยากาศการลงทุนค่อนข้างซบเซา อย่างไรก็ตาม จะเห็นว่าดัชนีปรับตัวลดลงไม่มากนัก อาจเป็นเพราะในช่วงวันหยุดนี้จะมีการประชุมกลุ่มประเทศ G-20 โดยความสำคัญอยู่ที่แนวทางการแก้ไขปัญหาวิกฤติการคลังของยุโรป ซึ่งมีความคาดหวังว่าทางอียูจะต้องแสดงแนวทางการแก้ไขปัญหาดังกล่าวที่ชัดเจนมากขึ้น เพื่อเรียกความเชื่อมั่นของตลาดให้กลับมา สำหรับกลยุทธ์การลงทุน แนะนำทยอยสะสมหุ้นเมื่อดัชนีอ่อนตัวลง โดยเลือกลงทุนหุ้นรายตัว เช่น ปตท.เคมิคอล (PTTCH) และ ปตท. (PTT) โดยในช่วงสัปดาห์หน้า การประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) จะมีการพิจารณาโครงการลงทุนในมาบตาพุด ซึ่งคาดว่าโครงการโรงแยกก๊าซฯ แห่งที่ 6 ไม่น่าจะเข้าข่ายโครงการหรือกิจการที่ส่งผลกระทบต่อชุมชนรุนแรง. นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการใหญ่ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ตามที่คณะกรรมการ 4 ฝ่าย แก้ปัญหามาบตาพุด ได้สรุปประเภทอุตสาหกรรมที่เข้าข่ายส่งผลกระทบรุนแรงต่อชุมชนตามมาตรา 61 วรรค 2 ของรัฐธรรมนูญ จำนวน 18 ประเภทกิจการนั้น ในส่วนของ ปตท.มีโครงการลงทุนในพื้นที่มาบตาพุด ทั้งหมดรวม 25 โครงการ แต่ยังไม่สามารถดำเนินการได้ 18 โครงการ เนื่องจากถูกศาลสั่งระงับชั่วคราว ซึ่งส่วนตัวมองว่า โครงการส่วนใหญ่ของ ปตท.ไม่น่าจะเข้าข่าย ประเภท 18 กิจการดังกล่าว แต่ทั้งนี้ ต้องดูประกาศที่ชัดเจนจากคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ที่จะสรุปออกมาก่อน จึงจะได้ความชัดเจนในเรื่องดังกล่าว ส่วนกรณีที่ กระทรวงพลังงาน เตรียมตรึงราคาก๊าซ LPG และ NGV ไปถึงสิ้นปีนั้น ในส่วนของ ปตท. พร้อมที่จะดำเนินการตาม หากเป็นนโยบายของรัฐบาล ไบเออร์ฯยังได้ชี้แจงว่ามีการลงทุนในไทยมากว่า 50 ปีแล้ว และมี 11 โครงการ ที่ได้รับส่งเสริมการลงทุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน(บีโอไอ)ตั้งแต่ปี 2558 มูลค่าการลทุนรวมประมาณ 18,000 ล้านบาท ด้านนายฟอน เพสคาเทโร โทเร กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไบเออร์ไทย จำกัด กล่าวว่า โครงการลงทุนในมาบตาพุด 2 โครงการดังกล่าวทำรายงานอีไอเอมากว่า 1 ปีแล้ว ขณะที่รายงาน เอชไอเอก็เสร็จแล้ว บริษัทเห็นว่าทั้ง 2 โครงการไม่เข้าข่ายประเภทกิจการที่กระทบชุมชนรุนแรง โดยบริษัทได้ส่งเรื่องให้สำนักงานอัยการสูงสุด เพื่อให้ยื่นต่อศาลปกครองพิจารณาผ่อนผัน คาดว่าจะดำเนินโครงการดังกล่าวต่อได้ในไตรมาส 3 ปี 2553 ซึ่งบริษัทยังมีความเชื่อมั่นการลงทุนในไทยต่อ เพราะลงทุนมานาน เบื้องต้นมีแผนที่จะขยายการลงทุนการผลิตโพลีคาร์บอเนตเพิ่ม นายประสาน ตันประเสริฐ ประธานคณะกรรมการบริหารการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(บอร์ดกนอ.)กล่าวว่า จากการดูรายละเอียดร่างประเภทกิจการรุนแรง คาดว่าโครงการส่วนใหญ่ที่ลงทุนในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดจะหลุดและไม่เข้าข่ายใน 18 กิจการรุนแรง โดยโครงการที่จะได้รับผลกระทบอาจเหลือน้อยมาก ประมาณ 6-7 โครงการที่ติดอยู่ในบัญชี "ขณะนี้นักลงทุนคลายความกังวลใจในการจัดประเภทกิจการรุนแรงแล้ว รวมทั้งประเด็นการดำเนินการตามรัฐธรรมนูญมาตรา 67 วรรค 2 แต่สิ่งที่เอกชนกังวลกลับเป็นใจความของมาตรา 67 ในตอนท้ายที่เปิดช่องให้ประชาชนในชุมชนหรือผู้มีส่วนได้เสียสามารถกลับมาฟ้องร้องโครงการลงทุนได้ในภายหลัง" นายประสาน กล่าว ถ้ามาลงทุนแล้วทำอะไรเสี่ยงๆ ทิ้งไว้ รอวันทรุดพังระเบิด ก้อไม่ต้องมา มาบตาพุดเสี่ยงมากแล้ว!!!

วันพุธที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2553

คลิปร้อน!!! ภาพหลุด นายกอภิสิทธิ์

ทั้งภาพทั้งวีดิทัศน์ คงจะอธิบายภาพใหญ่ของความเสี่ยงได้ชัดเจน การทำไม่รู้ไม่เห็น ของหลายฝ่าย แค่เมินกับปัญหา แต่พอเกิดปัญหาขึ้นทุกฝ่ายจะบอกเหมือนกันหมด "ผมไม่รู้" แล้วก้อโยนผิดกันไปมา

ภาพหลุด !!! นายก อภิสิทธิ์

- คลิ๊กขวาที่รูปเปิดในหน้าต่างใหม่เพื่อขยายใหญ่ -
รูปนี้ เคยแจ้งให้ นายกอภิสิทธ์ รับรู้ มาตั้งแต่ 16 มกราคม 2553
แจ้งให้ อดีต นายก อานันท์ ปันยารชุน มาตั้งแต่ 2 เมษายน 2553
(ประธาน คณะกรรมการ 4 ฝ่าย แก้ปัญหามาบตาพุด)
แจ้งให้ คณะอนุกรรมการรับฟัง ปัญหามาบตาพุด 26 มีนาคม 2553
แจ้งให้ นาย ประเสริฐ บุญสัมพันธ์ CEO ปตท. เมื่อ 19 ธันวาคม 2552 แจ้งไปยัง วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย เมื่อ 9 เมษายน 2553 แจ้งไปยัง ผู้ว่าราชการจังหวัด ระยอง เมื่อ 9 เมษายน 2553 แจ้ง ไปยัง นายสาธิต ปิตุเตชะ สส ระยอง เมื่อ 16 เมษายน 2553 แจ้งไปยัง ศาลปกครอง ให้เร่งรัดไต่สวน ฉุกเฉิน เมื่อ 27 พฤษภาคม 2553 ศาลปกครอง ยกคำร้องขอให้ไต่สวนฉุกเฉิน มองไม่เห็นความเสี่ยง แล้วภาพนี้ ควรจะแจ้งใครต่อ ...
ทั้งที่จริงๆ แล้ว ควรแจ้ง ชาวมาบตาพุด ไปตั้งนานแล้ว
กลัวแต่ว่า จะนอนผวาทุกครั้งที่มีเสียงรถหวอ เสียงดังตูมตาม
ท่ามกลางฝนตกหนักๆ แบบคืนนี้ 8 มิถุนายน 2553
หรือคนอยู่ที่อื่นๆ ของประเทศนี้ คิดกันอย่างไร!!!!
หรือ สุดแล้วแต่เวรแต่กรรม ... ของคนมาบตาพุด

ในช่วงเวลา 4-5 ปี มีปัญหาการเมืองเรื่องอดีตนายกทักษิณ ภาคอุตสาหกรรมในมาบตาพุด หมกเม็ดก่อสร้างโดยปราศจากความมั่นคงแข็งแรง เพราะโรงงานจะเสร็จช้าไปอีก 6-8 เดือน จึงละเลยที่ไม่ตอกเสาเข็ม หอต้มหอกลั่นหอความดัน สูงมากกว่าตึก 10 ชั้น ทั้งๆที่ควรจะทำให้แข็งแรงเป็นพิเศษ เพราะโรงงานเกิดระเบิดได้ การระเบิดอาจลุกลามไปยังคลังก๊าซคลังสารเคมีที่มีจำนวนมาก ประมาณว่ามีรถก๊าซจอดรวมกันอยู่ 4,500 คัน ถ้ามีรถคันหนึ่งคว่ำ อยู่ใกล้ๆ กัน มันจะน่าสยดสยองขนาดไหน คนในที่อื่นๆ คงไม่รู้สึกเหมือนคนแถวมาบตาพุด เพราะมันอยู่ห่างจากตลาดแค่ 1-2 กิโลเมตร เท่านั้นเอง โรงงานมีปัญหา-กำลังอยู่ระหว่างการทดสอบระบบ ขณะนี้เป็นช่วงของฤดูฝน การที่ฝนตกติดต่อกันหลายวัน จะทำให้ดินชุ่มไปด้วยน้ำและลดการรับแรง รับน้ำหนักต่างๆ ประกอบกับการมีพายุลมแรง อาจจะทำให้เกิดการล้มพังของโครงสร้างที่ไม่ได้ตอกเสาเข็มได้ เช่นดังต้นไม้ใหญ่แม้มีรากหยั่งลึกเสมือนเสาเข็มที่ยึดโยงแล้วนั้น ยังล้มยกทั้งรากทั้งดินขึ้นมาเพราะเจอพายุฝนลมแรง ดังที่ปรากฏให้เห็นอยู่ทั่วไป ซึ่งทำให้เกิดความวิตกกังวลขวัญแขวนในส่วนผู้ที่ได้รับรู้ข้อมูลเรื่องนี้แล้วจำนวนมาก ช่วงมีฝนตกหนักและมีพายุลมแรง - เรื่องราวนี้ ส่งกับมือ นายกรัฐมนตรี เมื่อ 16 ม.ค. 53 ส่งทางอีเมล์ ถึง รมต. 2 ท่าน และท่านเลขา ปณิธาน พักเรื่องม๊อบทักษิณ จบเรื่องรัฐบาลตกแตก รอฝนตกลงมา อีก 1-2 เดือน คงมีเรื่องใหญ่ๆ ให้ตามเยียวยาอีกแน่ๆ ที่มาบตาพุด (รู้ว่าไฟจะไหม้จะมีการเผา รู้ล่วงหน้าเป็นเดือน แล้วทำไม มันจึงวอดวายทั้งกลางกรุงและศาลากลางต่างจังหวัด)
ภาพอธิบายซ้ำ ว่าดินรับน้ำหนักได้ 30 ตัน/ม2 คืออะไร
คลิ๊กขวาที่รูป-เปิดในหน้าต่างใหม่ เพื่อดูรูปขนาดใหญ่
โครงสร้างพิเศษสำคัญทั้งหมดที่เห็น ... ไม่ได้ตอกเสาเข็ม !!! โครงสร้างพิเศษสำคัญทั้งหมดที่เห็น ... ไม่ได้ตอกเสาเข็ม !!! โครงสร้างพิเศษสำคัญทั้งหมดที่เห็น ... ไม่ได้ตอกเสาเข็ม !!!
โครงสร้างพิเศษสำคัญทั้งหมดที่เห็น ... ไม่ได้ตอกเสาเข็ม !!!
โครงสร้างพิเศษสำคัญทั้งหมดที่เห็น ... ไม่ได้ตอกเสาเข็ม !!!
มันเคยทรุดพัง เคยระเบิด แม้ว่าจะลงทุนสูงเพียงใด
เข้าใจครับ ... คนไทย พื้นที่อื่นๆ ต้องการให้คนมาบตาพุด อยู่ในความเสี่ยง เพียงเพื่อการเติบโตของเศรษฐกิจ วันนี้ ทุกส่วนทุกฝ่ายมองปัญหามาบตาพุด คือการระงับโครงการ โรงงานเดินหน้าไม่ได้ ต้องทำให้ถูกต้อง ตาม กม. หรือถ้ายกโรงงานเสี่ยงทั้งหมด ไปอยู่ ใน กทม. ผู้คนกรุงเทพฯ จะคิดเห็นกันอย่างไร
คงต้องตีอกชกหัวรับกันไม่ได้ อย่าเห็นแก่ตัวสิครับ
คนมาบตาพุดก้อคนไทย
หรือคนที่มีความรู้ความคิดของประเทศนี้เห็นแก่ตัวกันไปหมดแล้ว!!!

โรงแยกก๊าซ ปตท. กับความเสี่ยงของคนมาบตาพุด

จำลองเหตุ รถก๊าซระเบิด ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ กรุงเทพฯ ปี 2533 ครบรอบ 20 ปี พอดี!!!

สำหรับ คนอายุ 40 ปีขึ้น คงจำกันได้สำหรับข่าวแก๊สรั่วในอินเดีย เมื่อ 20 กว่าปีก่อน ที่มีคนตายเกือบ 4000 คน เจ็บป่วย หลายหมื่นคน เรียกว่า ชุมชนที่อยู่ใกล้ๆ กับ โรงงาน UNION CARBIDE ทั้งหมด รวมทั้งคนที่อยู่ในโรงงานนั้นด้วย ... ประมาท เลินเล่อ หรือ อุบัติเหตุ จะอะไรก้อตามเถอะ คนที่ทำงานก่อสร้าง ควรจะต้องตระหนักถึงพิษภัยที่จะเกิดขึ้นเมื่อโรงงานสร้างเสร็จแล้ว บางครั้งการทำงานในหน่วยเล็กๆ เป็นคนงานตบดินให้แน่น ถ้าละเลยหน้าที่แล้ว การทรุดก้ออาจจะเกิดขึ้นได้ และถ้าการทรุดนั้น ไปอยู่ในจุดสำคัญ ที่ทำให้เกิดการรั่วไหลของก๊าซอันตรายด้วย ดังนั้น การเป็นวิศวะก่อสร้าง ไม่ใช่จะมุ่งทำงานตามแบบตามสเปค ที่ได้รับมอบหมายเท่านั้น แต่ควรจะต้องยั้งคิดว่า ส่วนงานที่กำลังทำนั้น เหมาะสมถูกต้องตามสิ่งที่ควรจะเป็นหรือไม่

ส่วนใหญ่ งานที่วิศวะก่อสร้างทำในการก่อสร้างโรงงาน - ทำตามแบบ ทำตามข้อกำหนด โดยไม่ละเลย หลีกเลี่ยง แต่จะไม่รู้เลยว่า สื่งที่อยู่ด้านบน ฐานรากที่ทำขึ้น น้ำหนัก กี่มากน้อย เพราะไม่ใช่ผู้ออกแบบ แต่เมื่อทำมันเสร็จแล้ว ปรากฎว่า มีส่วนประกอบต่างๆ มากมาย ที่นำไปไว้บนโครงสร้าง ที่สร้างกันขึ้น มาถึงตอนนี้ ควรจะทำอย่างไร ... ถ้านึกไม่ออก อยากให้ดู วิดีทัศน์ ด้านล่าง ถ้าท่านเป็นคนหนึ่งที่ก่อให้เกิด
เหตุการณ์ แบบนี้ ท่านจะรู้สึกอย่างไร
คงไม่ได้ทำให้กังวลใจ ... ถ้าสิ่งที่ทำมาโดยตลอด ทำอยู่บนความถูกต้องที่ควรจะทำแล้ว

วันอังคารที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2553

เทศบาลเมืองมาบตาพุดมีชุมชนย่อย จำนวน 31 ชุมชน

ประชากร

จากการตรวจสอบข้อมูลจำนวนประชากรและบ้าน จากทะเบียนราษฎรพบว่า เขตเทศบาล เมืองมาบตาพุด มีประชากรทั้งสิ้น 43,892 คน แยกเป็น

- ชาย

22,133

คน

- หญิง

21,759

คน

- จำนวนครัวเรือน

31,531

ครัวเรือน

- มีความหนาแน่นของประชากรประมาณ

261

คน/ตารางกิโลเมตร

ข้อมูลประชากรในเขตเทศบาลเมืองมาบตาพุด

ลำดับที่

ตำบล

จำนวน ครัวเรือน

จำนวนประชากร

ร้อยละของ ครัวเรือนทั้งหมด

ร้อยละของประชากรทั้งหมด

1

มาบตาพุด

14,002

19,289

44.41

43.95

2

ห้วยโป่ง

9,229

13,621

29.27

31.03

3

เนินพระ

5,497

7,814

17.43

17.80

4

ทับมา

1,049

1,209

3.33

2.76

5

มาบข่า

1,754

1,959

5.56

4.46

รวม

31,531

43,892

100

100

หมายเหตุ: ข้อมูล ณ เดือนกุมภาพันธ์ 2551
ที่มา: งานทะเบียนราษฎร สำนักปลัดเทศบาล
ชุมชน เทศบาลเมืองมาบตาพุดมีชุมชนย่อย จำนวน 31 ชุมชน ดังนี้

ชุมชน

จำนวน ครัวเรือน

จำนวน ประชากร

ประชากร

ชุมชน

จำนวน ครัวเรือน

จำนวน ประชากร

ประชากร
ชาย หญิง ชาย หญิง
1.ชุมชนหนองแฟบ 1,297 2,339 1,069 1,270 17.ชุมชนเขาไผ่ 692 826 425 401
2.ชุมชนตลาดห้วยโป่ง 724 1,771 947 824 18.ชุมชนอิสลาม 1,022 1,598 803 795
3.ชุมชนมาบข่า-สำนักอ้ายงอน 935 1,320 699 621 19.ชุมชนบ้านบน 1,452 2,040 1,075 965
4.ชุมชนโขดหิน 2,698 3,655 1,899 1,756 20.ชุมชนบ้านล่าง 1,029 1,758 894 864
5.ชุมชนบ้านพลง 768 825 428 397 21.ชุมชนห้วยโป่งใน 1 815 2,020 996 1,024
6.ชุมชนเกาะกก-หนองแตงเม 801 1,065 598 467 22.ชุมชนห้วยโป่งใน 2 703 1,121 565 556
7.ชุมชนวัดมาบตาพุด 1,776 1,527 732 795 23.ชุมชนห้วยโป่งใน-สะพานน้ำท่วม 761 1,220 686 534
8.ชุมชนคลองน้ำหู 497 766 341 425 24.ชุมชนหนองบัวแดง 435 844 389 455
9.ชุมชนกรอกยายชา 390 672 344 328 25.ชุมชนตลาดมาบตาพุด 1,035 2,431 1,111 1,339
10.ชุมชนมาบชลูด 1,309 2,181 1,101 1,080 26.ชุมชนหนองหวายโสม 1,270 1,989 786 732
11.ชุมชนวัดโสภณ 286 1,146 577 569 27.ชุมชนชากลูกหญ้า 1,994 2,864 1,525 1,320
12.ชุมชนหนองน้ำเย็น 438 606 354 252 28.ชุมชนซอยคีรี 120 710 345 365
13.ชุมชนซอยร่วมพัฒนา 2,001 1,872 979 893 29.ชุมชนมาบข่า-มาบใน 340 1,250 650 600
14.ชุมชนสำนักกะบาก 169 522 232 290 30.ชุมชนเนินพยอม 532 1,042 485 557
15.ชุมชนมาบยา 1,023 1,426 728 698 31.ชุมชนซอยประปา 217 716 313 403
16.ชุมชนตากวน-อ่าวประดู่ 1,548 2,109 1,110 999

รวมทั้งสิ้น 31 ชุมชน

29,077

46,159

23,079

22,609
หมายเหตุ : ข้อมูล ณ เดือนมีนาคม 2551
ที่มา : กองสวัสดิการสังคม เทศบาลเมืองมาบตาพุด

ด้านการเมือง - การบริหาร โครงสร้างและอำนาจหน้าที่

นายกเทศมนตรี มาจากการเลือกตั้งจากประชาชนในเขตเทศบาลโดยตรง อยู่ในตำแหน่งคราวละ 4 ปี ทำหน้าที่บริหารราชการของเทศบาลตามกฎหมาย นายกเทศมนตรีแต่งตั้งรองนายกเทศมนตรี ซึ่งมิใช่สมาชิกสภาเทศบาลเป็นผู้ช่วยเหลือในการบริหารราชการของเทศบาล จำนวน 3 คน

สมาชิกสภาเทศบาล ทำหน้าที่เป็นฝ่ายนิติบัญญัติ ประกอบด้วย สมาชิกสภาเทศบาลที่มาจากการเลือกตั้งจากประชาชนในเขตเทศบาล จำนวน 18 คน อยู่ในตำแหน่งคราวละ 4 ปี

สำหรับข้าราชการประจำของเทศบาลมีปลัดเทศบาลเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุด และรองปลัดเทศบาลเป็นผู้ช่วย โดยแบ่งส่วนการบริหารออกเป็นส่วนการงานต่าง ๆ ดังนี้

1. สำนักปลัดเทศบาล 5. กองวิชาการและแผนงาน
2. สำนักการช่าง 6. กองการศึกษา
3. สำนักการสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม 7. กองช่างสุขาภิบาล
4. สำนักการคลัง 8. กองสวัสดิการสังคม
ข้อมูลอัตรากำลังของพนักงานเทศบาล

หน่วยงาน

จำนวนพนักงานเทศบาลแยกตามระดับ

รวม

ลูกจ้าง

1

2

3

4

5

6

7

8

9

ค.ศ.2

ประจำ

ตามภารกิจ

ทั่วไป

รวม

สำนักปลัดเทศบาล

7

8

6

6

8

6

1

-

2

-

44

17

25

30

72

สำนักการช่าง

1

5

5

3

5

9

5

2

1

-

36

18

36

52

106

สำนักการสาธารณสุขฯ

1

1

4

2

3

8

12

4

-

-

35

21

22

105

148

สำนักการคลัง

1

3

10

4

6

8

1

2

1

-

36

4

1

8

13

กองวิชาการและแผนงาน

-

5

4

7

-

1

1

-

-

-

18

3

4

11

18

กองการศึกษา

-

2

2

3

-

2

3

1

-

1

14

8

15

15

38

กองช่างสุขาภิบาล

-

1

3

2

1

4

-

-

-

-

11

4

13

7

24

กองสวัสดิการสังคม

1

2

3

1

-

2

-

1

-

-

10

1

3

7

11

รวม

11

27

37

28

23

40

23

10

4

1

204

76

119

235

430

หมายเหตุ : ข้อมูล ณ เดือนมีนาคม 2551
ที่มา : สำนักปลัดเทศบาลเมืองมาบตาพุด
ศาสนา ภายในเทศบาลเมืองมาบตาพุดมีวัดในพระพุทธศาสนา จำนวน 11 แห่ง ดังนี้

1. วัดโสภณวนาราม

7. วัดหนองแฟบ

2. วัดตากวน

8. วัดห้วยโป่ง

3. วัดมาบชลูด

9. วัดเขาไผ่

4. วัดชากลูกหญ้า

10. วัดกรอกยายชา

5. วัดโขดหิน

11. วัดมาบตาพุด

6. วัดใหม่ซอยคีรี

ภายในเทศบาลเมืองมาบตาพุดมีมัสยิดของอิสลาม จำนวน 4 แห่ง ได้แก่
1. มัสยิดญามีอุ้ลมุบตาดี 2. มัสยิดอิมาดุดดีน
3. สมาคมอิสลามมูฮัมมาดียะห์ 4. มัสยิดนูรุ้ลฮิดายะห์
ภายในเทศบาลเมืองมาบตาพุดมีศาลเจ้า จำนวน 3 แห่ง ได้แก่
1. ศาลเจ้ามาบตาพุด 3. ศาลเจ้าห้วยโป่ง
2. ศาลเจ้าแม่จันเท

ภายในเทศบาลเมืองมาบตาพุดมีคริสตจักร จำนวน 1 แห่ง ได้แก่ คริสตจักรระยองเมโธรดิสท์

วัฒนธรรม

ประเพณีท้องถิ่นที่สำคัญ

วันขึ้นปีใหม่ เดือนมกราคม
กิจกรรม จัดให้มีการทำบุญตักบาตรข้าวสาร อาหารแห้ง บริเวณสนามโรงเรียน บ้านมาบตาพุด
วันสงกรานต์ เดือนเมษายน
กิจกรรม จัดพิธีรดน้ำอวยพรผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ
แห่เทียนพรรษา เดือนกรกฎาคม
กิจกรรม จัดให้มีการหล่อเทียนพรรษาและเทียนพรรษาเพื่อให้ประชาชนไปทำบุญ และถวายเทียนแก่วัดต่าง ๆ ในเขตเทศบาล
ลอยกระทง เดือนพฤศจิกายน
กิจกรรม จัดให้มีการประกวดกระทงและนางนพมาศ

การศึกษา

เทศบาลเมืองมาบตาพุด มีสถานศึกษาอยู่ในพื้นที่ของเทศบาล ทั้งหมด 16 แห่ง และศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 5 แห่ง ดังนี้

1. โรงเรียนสังกัดเทศบาล จำนวน 1 แห่ง คือ โรงเรียนเทศบาลมาบตาพุด

2. โรงเรียนสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาแห่งชาติ จำนวน 7 แห่ง คือ

2.1 โรงเรียนบ้านมาบตาพุด 2.5 โรงเรียนวัดตากวน
2.2 โรงเรียนวัดห้วยโป่ง 2.6 โรงเรียนวัดชากลูกหญ้า
2.3 โรงเรียนวัดโขดหิน 2.7 โรงเรียนบ้านหนองแฟบ
2.4 โรงเรียนวัดมาบชลูด

3. โรงเรียนสังกัดกรมสามัญศึกษา จำนวน 2 แห่ง คือ

โรงเรียนระยองวิทยาคม นิคมอุตสาหกรรม
โรงเรียนมาบตาพุดพันพิทยาคาร

4. โรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน จำนวน 3 แห่ง คือ

4.1 โรงเรียนมณีวรรรณวิทยา 4.3 โรงเรียนศิริพรระยอง
4.2 โรงเรียนวุฒินันท์

5. วิทยาลัยสังกัดกรมอาชีวศึกษา จำนวน 2 แห่ง คือ

5.1 วิทยาลัยเทคนิคมาบตาพุด
5.2 วิทยาลัยสารพัดช่างระยอง

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

1. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดห้วยโป่ง 2. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดมาบชลูด 3. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กโรงเรียนบ้านหนองแฟบ 4. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลเมืองมาบตาพุดชุมชนมาบข่า 5. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดตากวน

กีฬา / นันทนาการ / พักผ่อน

เทศบาลเมืองมาบตาพุดมีสถานที่ออกกำลังกายและพักผ่อนหย่อนใจ ดังนี้

1. สวนสาธารณะมาบชลูด 2. สวนสาธารณะซอยประปา 2 3. สวนสาธารณะลับแล 4. สวนสาธารณะมาบใน 5. สวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติราชทัณฑ์ (อยู่ในระหว่างดำเนินการก่อสร้าง) 6. หาดสนกระซิบ 7. หาดสุชาดา

สาธารณสุข

ภายในเขตเทศบาลเมืองมาบตาพุด มีสถานบริการด้านสาธารณสุข ดังนี้

โรงพยาบาล

• รัฐบาล 1 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลมาบตาพุด เตียงคนไข้ 30 เตียง • เอกชน 1 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลมงกุฎระยอง เตียงคนไข้ 100 เตียง • คลินิก จำนวน 16 แห่ง • อื่น ๆ (ทันตแพทย์คลินิก) 3 แห่ง

ศูนย์บริการสาธารณสุขของเทศบาลเมืองมาบตาพุด จำนวน 6 แห่ง ได้แก่

• ศูนย์บริการสาธารณสุขเนินพยอม • ศูนย์บริการสาธารณสุขตากวน • ศูนย์บริการสาธารณสุขเกาะกก • ศูนย์บริการสาธารณสุขมาบข่า • ศูนย์บริการสาธารณสุขโขดหิน • สถานีอนามัยมาบตาพุด

ข้อมูลอัตรากำลังเจ้าหน้าที่และจำนวนผู้รับบริการรักษาพยาบาล

ศูนย์บริการ

อัตรากำลังเจ้าหน้าที่

จำนวนผู้รับบริการรักษา

ทันตแพทย์

พยาบาล

จพง.การคลัง/

ลูกจ้างประจำ/

พยาบาล

จพง.การเงิน

พนักงานจ้าง

(ราย)

1.เนินพยอม

2

3

1

11

21,741

2.ตากวน

-

1

1

5

6,111

3.เกาะกก

-

2

-

3

3,015

4.มาบข่า

-

2

-

6

3,681

5.โขดหิน

-

2

-

8

5,487

หมายเหตุ : ข้อมูลปีงบประมาณ 2549 (ตุลาคม 2548 - กันยายน 2549)
ที่มา : ศูนย์บริการสาธารณสุขเทศบาลเมืองมาบตาพุด

สาเหตุการป่วย (กลุ่มโรค) 5 อันดับโรค ของศูนย์บริการสาธารณสุขทั้ง 5 แห่ง มีดังนี้

1. โรคระบบทางเดินหายใจ 2. ระบบไหลเวียนเลือด 3. โรคระบบย่อยอาหาร รวมโรคในช่องปาก 4. โรคระบบกล้ามเนื้อรวมโครงร่างและเนื้อยึดเสริม 5. โรคผิวหนังและเนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง

หมายเหตุ : ข้อมูลปีงบประมาณ 2549 (ตุลาคม 2548 - กันยายน 2549)
ที่มา : ศูนย์บริการสาธารณสุขเทศบาลเมืองมาบตาพุด

การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

เทศบาลเมืองมาบตาพุดจัดให้มีการปฏิบัติหน้าที่ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยต่างๆ ที่เกิดขึ้น เช่น อบรมให้ความรู้ด้านอัคคีภัย แก่โรงงานอุตสาหกรรม อาสาสมัครของชุมชนต่างๆ ในเขตพื้นที่ระงับเหตุอัคคีภัย อุทกภัย รถบรรทุกสารเคมี พลิกคว่ำและอุบัติเหตุบนเส้นทางจราจร เป็นต้น โดยมีสถิติการปฏิบัติหน้าที่ในรอบปีที่ผ่านมา (1 ม.ค.- 31 ธ.ค. 2550) ดังนี้

- อุบัติเหตุรถยนต์ (ช่วยเหลือกู้ภัย)

จำนวน

5

ครั้ง

- เพลิงไหม้หญ้า

จำนวน

209

ครั้ง

- เพลิงไหม้โรงงาน

จำนวน

8

ครั้ง

- เพลิงไหม้อาคาร/บ้านเรือน

จำนวน

7

ครั้ง

- เพลิงไหม้รถยนต์

จำนวน

7

ครั้ง

- บริการน้ำบ้านเรือนประชาชน

จำนวน

694

ครั้ง

- อบรมดับเพลิงเบื้องต้นในเขตเทศบาล

จำนวน

55

ครั้ง

- ร่วมซ้อมแผนอพยพให้กลุ่มโรงงาน

จำนวน

46

ครั้ง

- งมศพคนจมน้ำ

จำนวน

5

ครั้ง

- ดูดน้ำท่วมขัง

จำนวน

27

ครั้ง

- เพลิงไหม้แนวท่อก๊าซ

จำนวน

1

ครั้ง

- เพลิงไหม้หม้อแปลงไฟฟ้า

จำนวน

4

ครั้ง

- เพลิงไหม้ถังแก๊ส

จำนวน

1

ครั้ง

- ตัดต้นไม้ที่กีดขวาง

จำนวน

6

ครั้ง

รวมทั้ง จัดให้มีการฝึกซ้อมทุกสัปดาห์ ตามระเบียบปฏิบัติประจำวัน ทุกวันพุธ และวันศุกร์ เวลา 09.00 – 12.00 น.

การอำนวยการเกี่ยวกับความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

เทศบาลเมืองมาบตาพุด มีสถานีดับเพลิง 2 สถานี มีอุปกรณ์และบุคลากร ดังนี้

จำนวนรถดับเพลิง แยกตามประเภท

- รถดับเพลิงชนิดบันไดเลื่อนอัตโนมัติ จำนวน 1 คัน ความจุน้ำ 1,000 ลิตร เคมีโฟม 1,000 ลิตร ความสูง 30 เมตร - รถยนต์ดับเพลิงชนิดเคมีโฟม จำนวน 4 คัน ความจุน้ำ 6,000 ลิตร เคมีโฟม 6,000 ลิตร ผงเคมีแห้ง 250 กิโลกรัม - รถยนต์ปิคอัพสายตรวจ อปพร. จำนวน 1 คัน - รถยนต์บรรทุกเครื่องหาบหามปิกอัพ จำนวน 2 คัน - รถยนต์ปิคอัพสายตรวจ งานป้องกันฯ จำนวน 1 คัน - รถยนต์ปิกอัพตรวจการณ์เคลื่อนที่เร็ว จำนวน 1 คัน - รถ/อุปกรณ์อื่น ๆ · รถบรรทุกน้ำดับเพลิงอเนกประสงค์ ความจุ 5,000 ลิตร จำนวน 5 คัน · รถบรรทุกน้ำดับเพลิงอเนกประสงค์ ความจุ 10,000 ลิตร จำนวน 2 คัน · รถบรรทุกน้ำดับเพลิงอเนกประสงค์ ความจุ 12,000 ลิตร จำนวน 2 คัน · รถยนต์กู้ภัยขนาดกลางพร้อมอุปกรณ์ จำนวน 1 คัน · เครื่องช่วยหายใจชนิดถังเหล็ก ขนาด 300 บาร์ จำนวน 17 เครื่อง · เครื่องช่วยหายใจชนิดคาร์บอน ขนาด 300 บาร์ จำนวน 16 เครื่อง · ชุดป้องกันความร้อน 2,000 F จำนวน 13 ชุด · ชุดป้องกันความร้อน (NOMAX) 360 F จำนวน 20 ชุด · รถบรรทุกโฟมชนิดลากจูง ขนาดความจุ 2,000 ลิตร จำนวน 2 คัน · ชุดประดาน้ำ จำนวน 2 ชุด · ชุดป้องกันสารเคมี LEVEL A จำนวน 5 ชุด · เครื่องปั๊มลมพร้อมสายลมและอุปกรณ์ครบชุด จำนวน 1 ชุด · เครื่องอัดก๊าซไนโตรเจนสำหรับเครื่องดับเพลิงชนิดผงเคมีแห้ง พร้อมอุปกรณ์ครบชุด จำนวน 1 ชุด · เครื่องอัดอากาศสำหรับเครื่องช่วยหายใจแรงดันสูงแบบประจำที่ จำนวน 1 ชุด · เครื่องค้นหาและวัดความลึกใต้น้ำ (ซาวเดอร์) จำนวน 1 เครื่อง

เครื่องสูบน้ำดับเพลิง ชนิดหาบหาม จำนวน 14 เครื่องแยกเป็น

- ขนาด 13 แรงม้า จำนวน 4 เครื่อง - ขนาด 33 แรงม้า จำนวน 2 เครื่อง - ขนาด 40 แรงม้า จำนวน 4 เครื่อง - ขนาด 55 แรงม้า จำนวน 4 เครื่อง

เจ้าหน้าที่ป้องกันฯ จำนวน 57 คน แยกเป็น

- เจ้าพนักงาน/เจ้าหน้าที่ป้องกันฯ จำนวน 16 คน
- ลูกจ้างประจำ จำนวน 14 คน
- พนักงานจ้างตามภารกิจ จำนวน 17 คน
- พนักงานจ้างทั่วไป จำนวน 10 คน

แหล่งน้ำที่ใช้ในการดับเพลิง จากแหล่งน้ำธรรมชาติ 7 แห่ง ดังนี้

- ข้างทางหลวงสาย 36 ตรงข้ามบริษัท มหากิจรับเบอร์ ประมาณ 8,000 ลบ.ม. ระยะห่างสถานีดับเพลิง 11 ก.ม. - สระไทยรัฐ ประมาณ 36,000 ลบ.ม. ระยะห่างสถานีดับเพลิง 6 ก.ม. - ฝายศาลาบ้านบน ประมาณ 2,500 ลบ.ม. ระยะห่างสถานีดับเพลิง 5 ก.ม. - ฝายหนองหวายโสม ประมาณ 4,000 ลบ.ม. ระยะห่างสถานีดับเพลิง 3 ก.ม. - คลองน้ำหู ประมาณ 9,000 ลบ.ม. ระยะห่างสถานีดับเพลิง 7 ก.ม. - สระน้ำเมืองใหม่มาบตาพุด ประมาณ 5,000 ลบ.ม. ระยะห่างสถานีดับเพลิง 5 ก.ม. - บ่อน้ำธรรมชาติ หน้างานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ประมาณ 12 ลบ.ม.

แผนการฝึกซ้อม มีการแบ่งแผนฉุกเฉินตามระดับความรุนแรงออกเป็น 3 ระดับ คือ

ภาวะฉุกเฉินระดับที่ 1

เป็นภัยขนาดเล็กในโรงงาน หรือตามเส้นทางขนส่ง ซึ่งเจ้าหน้าที่ของโรงงานที่เกิดเหตุหรือโรงงานใกล้เคียงจุดบนเส้นทางที่เกิดเหตุ จากการขนส่งสามารถควบคุมได้

ภาวะฉุกเฉินระดับที่ 2

เกินความสามารถของโรงงานที่เกิดเหตุ จะต้องขอความช่วยเหลือจากหน่วยงานภายนอก เช่น กองอำนวยการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน (กอ.ปพร.) อำเภอ กิ่งอำเภอ เทศบาลท้องที่หรือโรงงานข้างเคียง

ภาวะฉุกเฉินระดับที่ 3

กองอำนวยการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนท้องที่ ไม่สามารถระงับภัยและควบคุมสถานการณ์ได้ จะต้องขอความช่วยเหลือจาก กอ.ปพร. จังหวัดระยอง จังหวัดใกล้เคียง รวมทั้งหน่วยสนับสนุนจากภายนอกระดับอื่นๆ ฯลฯ

ได้ฝึกซ้อมแผนระดับ 1 และ 2 ร่วมกับโรงงานและสถานีประกอบการอยู่เป็นประจำ เฉลี่ย 2 – 3 ครั้ง/เดือน ส่วนการซ้อมแผนระดับ 1 – 3 ได้มีการฝึกซ้อม ดังนี้

ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2544 เวลา 9.00 – 12.00 น. โดยบริษัทปิโตรเคมีแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) (NPC) ซ้อมแผนฯ เหตุการณ์รั่วไหลและเพลิงไหม้บริเวณแนวท่อก๊าซ ถนนทางหลวงหมายเลข 36 ตำบลทับมา

ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2544 ซ้อมแผนเพลิงไหม้ภายในโรงกลั่นน้ำมัน TPI บริษัท อุตสาหกรรม ปิโตรเคมีกัลไทย จำกัด (มหาชน) (TPI)

ครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2544 ซ้อมแผนดับเพลิงถังน้ำมันดิบภายในโรงกลั่นน้ำมัน บริษัทอัลลาย แอนซ์ รีไฟน์นิ่ง จำกัด (ARC) ริมถนนสายตากวน – หาดทรายทอง ต.มาบตาพุด

ครั้งที่ 4 เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2546 ซ้อมแผนเพลิงไหม้ถังน้ำมันในบริษัท ระยอง โอเลฟินส์ จำกัด และเกิดอุบัติเหตุจากรถบรรทุกขนส่งน้ำมัน และสารเคมีบริเวณ ถ.ไอ – 2 ตัดกับ ถ.ไอ – 8 ในเขตนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด (สมมุติสถานการณ์เกิดใกล้เคียงกัน)

ครั้งที่ 5 เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2548 ซ้อมแผนฉุกเฉินกรณีเพลิงไหม้ถังน้ำมันร่วมกับบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) โรงแยกก๊าซ ปตท. มาบตาพุด

ครั้งที่ 6 เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2548 ซ้อมร่วมกับ บริษัทวินิไทย จำกัด (มหาชน)

ครั้งที่ 7 เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2549 ซ้อมแผนเพลิงไหม้ถังน้ำมันในบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) โรงงานก๊าซธรรมชาติระยอง

ครั้งที่ 8 เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2549 ซ้อมแผนการรักษาความปลอดภัย ร่วมกับบริษัท โกลบอล พอร์ต แมนเนจเม้นท์ จำกัด

ครั้งที่ 9 เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2550 ซ้อมแผนฉุกเฉินกรณีเพลิงไหม้ และสารเคมีรั่วไหล ร่วมกับบริษัท IRPC

อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน (อปพร.) เทศบาลเมืองมาบตาพุด อบรมทั้งหมด 6 รุ่น มีสมาชิกที่ผ่านการฝึกอบรม 753 คน

หมายเหตุ : ข้อมูล ณ เดือนมกราคม 2551
ที่มา : งานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

วันอาทิตย์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2553

รูปหลักฐาน ... โรงงานต้นเหตุสารคลอรีนรั่วไหล ทรุดพัง

เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 8 มิ.ย. พ.ต.ท.บุญยก ไชยวงศ์ รอง ผกก.สส.สภ.ห้วยโป่ง อ.เมือง จ.ระยอง พร้อมด้วย พ.ต.ท.อาคม บุญแสง สารวัตรเวร และตำรวจกองพิสูจน์หลักฐาน กองกำกับการ สถานีตำรวจภูธรจ.ระยอง นายวีระศักดิ์ เพิ่มแพงพันธ์ ผอ. นิคมอุตสาหกรรมเหมราชตะวันออก มาบตาพุด พร้อมด้วย นาย Mata Pathak ประธานบริษัท อดิตยา เบอร์ร่า เคมิคัลส์ (ประเทศไทย) จำกัด และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เข้าตรวจสอบบริเวณถังเก็บสารโซเดียมไฮโปคลอไรด์ หรือสารคลอรีน ที่เกิดทรุดตัวจนทำให้ถังไฟเบอร์กลาสแตก เป็นเหตุคลอลีนที่มีจำนวนกว่า 80 ตันไหลทะลักออกมา และมีกลิ่นฟุ้งกระจาย ทำให้มีผู้ได้รับผลกระทบเป็นจำนวนมากเมื่อช่วงบ่ายวันที่ 7 มิ.ย. ที่ผ่านมา จากการตรวจสอบ พบว่าที่เกิดเหตุ เป็นบริเวณที่ตั้งถังสารเคมี เป็นถังสีเหลือง ขนาดความจุ 100 ลบ.ม. สูง 10 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 4 เมตร จำนวน 3 ถังตั้งเรียงกัน โดยถังที่เกิดเหตุ มีตัวหนังสือ ข้างถัง T - 1806 C sodiumhypochlorite volume 100 m3 มีสภาพล้มแตก มีน้ำสีเหลืองไหลเจิงนองทั่วพื้น กลิ่นเหมือนไฮเตอร์ ยังคลุ้งกระจาย โดยรอบที่ตั้งถังทั้งหมดมีรั้วกำแพงล้อมรอบ พบฐานที่ตั้งถังที่เกิดเหตุซึ่งเป็นเหล็ก สภาพหักทำให้ถังเอียง ล้ม จนแตกเนื่องจากตัวถังทำด้วย ไฟเบอร์กลาสสภาพเก่า นายฐากูร เกลี้ยงสุวรรณ ผู้จัดการอาวุโส ฝ่ายความปลอดภัย/สิ่งแวดล้อม และฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ เปิดเผยว่า ขณะเกิดเหตุ คนงานกำลังถ่ายสารโซเดียมไฮโปคลอไรด์ จากท่อลงในถังที่เกิดเหตุ ได้ประมาณ 80 ลบ.ม. ซึ่งตามปกติจะต้องบรรจุ 90 ลบ.ม. แต่เกิดเหตุ ฐานทรุดตัวทำให้ถังเอียงและล้มแตก สารเคมีรั่วออกมา ซึ่งหลังจากเกิดเหตุ ได้รีบสกัดการรั่วไหล และการแพร่กระจายโดยฉีดสเปรย์น้ำ และใช้ปูนขาวโรยเพื่อให้กลิ่นเจือจาง ด้านนายวีระศักดิ์ เพิ่มแพงพันธุ์ ผู้อำนวยการนิคมเหมราชตะวันออก ยืนยันถึงการควบคุมสถานการณ์ได้เรียบร้อยแล้ว และได้กำชับเจ้าหน้าที่ โรงงานที่เกิดเหตุ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้รายงานสาเหตุ ผลกระทบ และการเยียวยา ผู้บาดเจ็บ รวมถึงโรงงานโดยรอบ ที่ได้รับความเสียหายทั้งหมด และสั่งระงับขบวนการผลิต(หยุดเครืองจักร) พร้อมหามาตรการป้องกันเพื่อไม่ให้เกิดเหตุซ้ำอีก และยอดผู้ที่ได้รับผลกระทบที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล 8 แห่ง มีจำนวน 299 คน ขณะนี้ยังให้การรักษาต่อ จำนวน 82 คน ทีมหน่วยสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว (SRRT– C) ได้ออกปฏิบัติงานในพื้นที่คาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 3-5 วัน เพื่อค้นหาผู้ป่วยและดูแลสุขภาพผู้ได้รับผลกระทบต่อไป

วันเสาร์ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2553

12 มิ.ย. 53 แผ่นดินไหว 7.5 ริกเตอร์ - เกิดที่หมู่เกาะ นิโคบาร์ มหาสมุทร อินเดีย

มีการเตือนภัย สึนามิ ระดับสีส้ม นักวิทยาศาสตร์ไทย หน้าแตก ที่ออกมายืนยันว่าจะไม่มีแผ่นดินไหว แต่เกิดจริงๆ แถมใกล้ประเทศไทยมาก กลางดึกวันที่ 12 มิ.ย. 53 ถ้าเกิดสึนามิรุนแรง บาปคงติดตัวไปจนตาย เพราะออกมาสลายคำแจ้งเตือนของ บางฝ่าย พร้อม ดร.สมิท ออกมาย้ำๆ ว่าจะเกิด ประมาณ 4-5 ทุ่ม ก้อเกิดจริงๆ

City map

7.5 ริกเตอร์ อยู่ลึกลงไป 35 กิโลเมตร

5.3 ริกเตอร์ อยู่ลึกลงไป 19 กิโลเมตร

Earthquake Details

Magnitude 7.5
Date-Time
Location 7.748°N, 91.938°E
Depth 35 km (21.7 miles) set by location program
Region NICOBAR ISLANDS, INDIA REGION
Distances 155 km (95 miles) W of Mohean, Nicobar Islands, India 440 km (275 miles) SSW of Port Blair, Andaman Islands, India 1155 km (710 miles) SW of BANGKOK, Thailand 2775 km (1720 miles) SE of NEW DELHI, Delhi, India
Location Uncertainty horizontal +/- 6.4 km (4.0 miles); depth fixed by location program
Parameters NST=110, Nph=110, Dmin=619.7 km, Rmss=1.18 sec, Gp= 58°, M-type=centroid moment magnitude (Mw), Version=8
Source
  • USGS NEIC (WDCS-D)
Event ID us2010xkbv

http://earthquake.usgs.gov/earthquakes/recenteqsww/Quakes/us2010xkbv.html

http://neic.usgs.gov/neis/eq_depot/2010/eq_100612_xkbv/neic_xkbv_w.html

และที่อื่นๆ ที่เกิดขึ้น

MAP 5.3 2010/06/12 22:44:41 7.721 91.982 19.3 NICOBAR ISLANDS, INDIA REGION

MAP 5.4 2010/06/12 22:41:29 -10.910 166.092 102.0 SANTA CRUZ ISLANDS

MAP 7.5 2010/06/12 19:26:50 7.748 91.938 35.0 NICOBAR ISLANDS, INDIA REGION

MAP 5.0 2010/06/12 15:56:54 54.542 -161.469 44.3 ALASKA PENINSULA

MAP 5.3 2010/06/12 15:44:57 28.805 128.621 39.5 RYUKYU ISLANDS, JAPAN

MAP 5.0 2010/06/12 13:36:40 -5.729 102.595 35.0 SOUTHERN SUMATRA, INDONESIA

MAP 5.1 2010/06/12 03:51:56 -28.227 -70.914 34.3 ATACAMA, CHILE

MAP 5.0 2010/06/12 03:50:00 1.034 120.127 43.5 MINAHASA, SULAWESI, INDONESIA

MAP 5.0 2010/06/12 02:21:23 -22.366 172.152 35.0 SOUTHEAST OF THE LOYALTY ISLANDS

Message indian.2010.06.12.201807

Tsunami Information Earthquake Information
Message Time: 12 Jun 2010 20:18 UTC
Message Num: 2
Message Text: click to read
Message Type: Local Tsunami Watch Bulletin
Warning: none
Watch: India
ETAs / Obs: none
Preliminary (PTWC) Official (USGS)
Origin Time: 12 Jun 2010 19:27 UTC 12 Jun 2010 19:26 UTC
Magnitude: 7.5 Mwp (reviewed by PTWC) 7.7
Latitude: 7.8° N 7.7° N
Longitude: 92° E 92° E
Depth: 35 km (21.7 mi)
Location: Nicobar Islands India Region
More Info.: updated earthquake information from the USGS NEIC

http://www.weather.gov/ptwc/ ศูนย์เตือนภัยสึนามิ