วันพุธที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

การยอมรับ "โรงงานอันตราย ไม่ตอกเสาเข็ม"




"โรงงานอันตราย ไม่ตอกเสาเข็ม" ก้อย่อมเพิ่มความอันตรายเพิ่มขึ้นอีก เนื่องจากเพิ่มความเสี่ยงที่จะทรุดพังได้ ดินเมื่อเจอน้ำคุณสมบัติอ่อนตัว อีกทั้งโครงสร้างเมื่อมีการสั่น การเคลื่อนตัวของ ของเหลวความดันสูงในระบบท่อ ย่อมมีการสั่นไหวของฐานรากที่กระทำกับดินอีกด้วย และเมื่อข้อกำหนดค่าทรุดตัวต่างกันที่ยอมรับได้ เพียง 0.5 ซม. เท่านั้น แสดงว่าถ้าทรุดมากกว่านี้ จะมีปัญหาการแตกรั่วของข้อต่อต่างๆ ด้วยแล้วนั้น ย่อมเพิ่มความเสี่ยงขึ้นอีก เพราะสร้างทำต่ำกว่ามาตรฐานในขั้นตอนการเลือกใช้ฐานรากตื้น ซึ่งข้อเสียข้อแรกคือ ความเสี่ยงในการทรุดตัว การยอมรับให้เรื่องนี้ ผ่านไปเท่ากับ ยอมรับการให้มีการก่อสร้างโรงงานอันตรายต่ำกว่ามาตรฐาน แบบถูกกฏหมาย ที่อ้างว่า ออกแบบได้ แต่ก่อสร้างได้ตามแบบหรือไม่นั้น ไม่จำเป็นต้องใส่ใจ


"โรงงานอันตรายที่อันตรายนี้ อยู่ข้างตลาด อยู่กลางชุมชน เกิดเหตุหายนะ จะกระทบใหญ่หลวง เพราะมีคลังก๊าซขนาดใหญ่" การปล่อยให้โรงงานดำเนินการ โดยไม่มีการตรวจสอบเสริมสร้างความแข็งแรง ย่อมเท่ากับทิ้งความเสี่ยงภัยใหญ่หลวงให้สาธารณะ สังคมมีกฎหมายมากมาย ที่ใส่ใจผู้คนในสังคม ห้ามเมาแล้วขับ ใส่หมวกกันน๊อค คาดเข็มขัดนิรภัย  ไม่ใช้โทรศัพท์มือถือขณะขับ แต่ในสังคมอื่น มีมาตรการอื่นอีก เช่นที่เมืองโอ๊คแลนด์ ของนิวซีแลนด์ ตำรวจต้องคอยตรวจจับผู้หญิงที่ขับรถและให้นมลูกไปด้วย จับได้ชั่วระหว่างการรณรงค์ ความปลอดภัยของเด็กในรถแค่ 10 วัน 3 รายแล้ว สารวัตรชาแนน เกรย์ ตบอกร้องว่า การทำเช่นนั้น เป็นอันตรายทั้งแม่ทั้งลูกอย่างยิ่ง หากเกิดต้องหยุดรถอย่างกะทันหัน หรือเกิดอุบัติเหตุรุนแรงขึ้น เด็กาจกระเด็นตกจากรถเขายังเปิดเผยด้วยว่า ตำรวจยังรู้สึกตกใจด้วยเมื่อพบกับการปล่อยให้เด็กนั่งอยู่ในกระโปรงท้ายรถ ซึ่งพบมาหลายรายเช่นกัน.การเรียกรถยนต์ที่พบว่า มีปัญหาด้านความปลอดภัย กลับเข้ามาซ่อมบำรุงปีละหลายล้านคันนั้น ก็เป็นตัวอย่าง ของมาตรการความปลอดภัยของสังคมประชาชนด้วย

อิงหลักวิชาหลักการ หลักอิทัปปัจจยตา นั่น ... ที่จะทำให้สังคมไม่เป็น "ตาบอดคลำช้าง"

สึนามิญี่ปุ่น ภาพที่ไม่เคยเห็นก้อได้เห็นแล้ว ดอนเมืองน้ำลามทุ่งยังไล่รื้อได้ แล้ววันนี้ สังคมไทยจะรอดูอะไรอีก

หายนะภัยแผ่นดินไหวสึนามิในญี่ปุ่น ... สร้างกระแสให้ ผู้คนในนานาอารยะประเทศหันมาสนใจ สิ่งก่อสร้างต่างๆ ว่าแข็งแรงดีหรือไม่ ปลอดภัยกับผู้คนประชาชนในประเทศของตนหรือไม่ / แต่แปลกดี ... คนประเทศไทย รัฐบาล ศาลปกครองสูงสุด หน่วยงานรัฐ สส. สว. ฝ่ายค้าน สื่อมวลชน เครือข่ายสิ่งแวดล้อม เครือข่ายสังคมสาธารณะ กลับเฉยชาแกล้งทำไม่รู้ไม่เห็นไม่สนใจที่ ปตท. มาสร้างโรงงานเสี่ยงจำนวนมาก ในมาบตาพุด โดยไม่ตอกเสาเข็มฐานรากทั้งหมด เพียงอ้างว่าทดสอบดินแล้ว ดินแข็งแรงกว่าโรงงานติดกัน
3-7 เท่า จึงไม่จำเป็นต้องตอกเสาเข็ม ให้โครงสร้างขนาดมหึมาจำนวนมาก ทรุดพังเพียงเล็กน้อย ท่อ-ข้อต่อแตก ก๊าซอันตราย ก๊าซไวไฟรั่ว จนอาจเป็นต้นเหตุหายนะภัยใหญ่หลวง โดยเฉพาะโรงแยกก๊าซ ที่ 6 ที่มีคลังก๊าซแอลพีจี ขนาดใหญ่ เทียบเท่ารถก๊าซ 4 พันคัน ... สยองแค่ไหน!!! กับเหตุรถก๊าซ 1 คัน ระเบิดเมื่อ 20 ปีก่อน ในถนนเพชรบุรีตัดใหม่ ฯ ถ้าเกิดเหตุหายนะที่มาบตาพุดแล้ว ควรจะโทษใคร?
 
สำเหนียกสำนึก เรื่องความปลอดภัย ควรมาก่อนการหลบเลี่ยงข้อ กม. การก่อสร้าง ถ้าบ้านนี้เมืองนี้ มีโรงงานอันตรายมากมาย ไม่ต่างกับป้ายโฆษณาเสี่ยง เห็นอย่างไรกัน ใครๆ ก้อยากเลียน แบบ วิธีง่ายๆ แบบ ปตท. จะให้ประชาชน ว่ายวน ทุกข์ซ้ำซากอยู่ การมีศาลปกครอง คืออะไร ไม่ใช่ลอกของนอกมา แล้วไม่รู้ว่าต้องทำอย่างไร ให้ความธรรมถูกต้องไม่เบี่ยงเบน เลิกเถอะครับ ภยาคติ ทั้งหลาย ล้วนอันตรายกับชาวบ้าน หายนะไม่เกิดก้อดีไป ถ้าเกิดล่ะ นานาอารยะ เขาคงถ่มถุย ว่า "เลวล้มเหลว ในทุกระบบ"
 
ท่านสุเมธ เคยนำพระราชดำรัสมาบอกว่า "บ้านเรือนไม่ตอกเสาเข็ม มันก้อล้มพัง" ... แต่ที่มาบตาพุด สร้างโรงแยกก๊าซใหม่ โรงงานสารเคมีอันตราย เกลื่อนเมือง ไม่ตอกเสาเข็มฐานรากทั้งหมด ... บ้านเมืองนี้ ปกติดีมั้ย!!! (หรือท่านไม่รู้เรื่องนี้ ...)

การสร้างทำ ต่ำกว่ามาตรฐาน แม้จะเขียนขึ้นกำหนดขึ้นเอง ผลร้ายใหญ่หลวงไม่เฉพาะกับเจ้าของหรือคนสร้างทำ แต่มันสร้างหายนะใหญ่หลวงกับ สรรพชีวิต และสภาวะแวดล้อม คนไทยไม่ค่อยรู้เรื่องนี้มาก เพราะสื่อมวลชนไทยปิดข่าวนี้กันหมด เสียหายมากแค่ไหน ทำไมรัฐบาลอินโดนีเซีย เรียกค่าเสียหายสูงถึง 35,000 ล้านบ้าน แต่ตรงนั้นกลางทะเลติมอร์ ถ้าเกิดที่ปากอ่าวไทย อะไรจะเกิดขึ้นกับคนไทยบ้าง

คนมาบตาพุด ... คือ พี่น้องคนไทย ที่เสียสละ อยู่ในพื้นที่มลพิษรุนแรง แล้ววันนี้ จะต้องทิ้งให้ เสี่ยงตายกันอีกหรืออย่างไร ... คนนะครับ ไม่ใช่เศษผักเศษปลา ไม่มีชีวิต พวกผม วิศวกรที่สร้างทำกันอยู่ตรงนั้น ย่อมรู้ดีว่า ทำกันไว้ดีแค่ไหนอย่างไร ไม่ต้องให้คนอื่นๆ มาบอกว่ามันแข็งแรงปลอดภัยดี ...




ข้าพเจ้า ใคร่ขอน้อมนำบางส่วน ของพรปีใหม่ปีพุทธศักราช 2555 ที่ในหลวงทรงพระราชทาน ให้แก่ปวงชน มาประกอบในการพิจารณา กับข้อร้องเรียนที่นำเสนอมานี้ 



... ระหว่างปีที่แล้ว เหตุการณ์ต่างๆในบ้านเมืองนับว่าเป็นปรกติดี แต่พอเข้าปลายปี ก็เกิดน้ำท่วมครั้งใหญ่เป็นเหตุให้ประชาชนหลายจังหวัด ต้องประสบอันตรายและความเดือดร้อนลำบาก ความเสียหายครั้งนี้ดูจะร้ายแรงกว่าครั้งไหนๆที่ผ่านมา ข้อนี้ น่าจะเป็นเครื่องเตือนใจอย่างสำคัญ ดังที่ข้าพเจ้าได้กล่าวไว้หลายครั้งแล้วว่า วิถีชีวิตของคนเรานั้นจะต้องมีทุกข์ มีภัย มีอุปสรรค ผ่านเข้ามาเนืองๆ ไม่มีผู้ใดจะอยู่เป็นปรกติสุขอย่างเดียวได้ ทุกคนจึงต้องเตรียมกาย เตรียมใจ และเตรียมการไว้ให้พร้อมเสมอ เพื่อเผชิญและป้องกันแก้ไขความไม่ปรกติเดือดร้อนต่างๆ ด้วยความไม่ประมาท ด้วยเหตุผล ด้วยหลักวิชา และด้วยสามัคคีธรรม

ในปีใหม่นี้ จึงขอให้ประชาชนชาวไทยได้ตั้งตนอยู่ในความไม่ประมาท โดยมีสติรู้ตัวและปัญญารู้คิดกำกับอยู่ตลอดเวลา ผู้ใดมีภาระหน้าที่อันใด ก็เร่งกระทำให้สำเร็จลุล่วงไปให้ทันการณ์ทันเวลา ผลงานทั้งนั้นจะได้ส่งเสริมให้แต่ละคนประสบแต่ความสุขความเจริญ และทำให้ชาติบ้านเมืองดำรงมั่นคง และก้าวหน้าต่อไปด้วยความผาสุกสวัสดี ..."

วันนี้ประเทศไทย จะยอมให้มีโรงงานอันตราย สร้างทำกันด้วยความไม่มั่นคงหรือ ป้ายโฆษณาเสี่ยงมากมายนั้นก็ล้วนได้รับการอนุมัติถูกต้องตามกฏหมาย ยากที่จะไล่รื้อ และการที่ละเลยที่จะให้มีการตรวจสอบเรื่อง ปตท.ออกแบบสร้างทำ โรงงานอันตราย โดยไม่ตอกเสาเข็มฐานราก สร้างทำต่ำกว่า มาตรฐานโรงแยกก๊าซ ที่ ปตท. กำหนดขึ้น ซึ่งพอจะสรุปได้ดังนี้คือ

  1. อ้างถึงข้อกำหนดค่าทรุดตัวต่างกันที่ยอมรับได้ เพียง 0.5-1.5 ซม ถ้าทรุดเกินกว่านี้ จะทำให้เกิดปัญหากับข้อต่อต่างๆแตกรั่ว เกิดแรงบิดมหาศาลในระบบท่อ เกิดการเอียงของแกนเครื่องจักรต่างๆ ซึ่งเป็นมาตรฐานสูงของฐานรากโครงสร้างพิเศษสำคัญ ว่ายอมให้ทรุดตัวน้อยมาก เสมือนยอมให้ทรุดไม่ได้เลย แต่ การดำเนินการออกแบบก่อสร้างโรงงานอันตรายอายุการใช้งาน 30-40 ปี กลับสวนทางกับมาตรฐานที่กำหนดขึ้น โดยมีข้อสังเกตุดังนี้
    • การเลือกใช้ฐานรากตื้น ไม่มีเสาเข็ม ซึ่งมีความเสี่ยงทรุดตัวสูง และยอมรับเรื่องการทรุดตัวได้ อีกทั้งยังก่อสร้างบนพื้นที่ปรับถมดินใหม่ด้วย
    • การทดสอบความแข็งแรงของดินแบบกดน้ำหนัก (Bearing Capacity Test) ซึ่งปกติจะใช้กับความลึกของชั้นดินเดิม ไม่ใช่ดินปรับถมใหม่ และทดสอบเพียง 5 จุด ตก 1 จุด แล้วนำค่ารับน้ำหนักประลัยสูงมากถึง 90 ตัน/ม2 ไปใช้ออกแบบฐานรากโครงสร้างพิเศษสำคัญทั้งโรงงาน การทดสอบทำในขณะที่ดินมีความชื้นต่ำเสมือนว่า นำค่าแข็งแรงสูงสุดของดินไปใช้ ทั้งนี้ถ้าดินมีความชื้นมาก ดินจะอ่อนตัวมาก การทดสอบลักษณะนี้ จึงไม่มีความเหมาะสมอย่างยิ่ง
    • ค่าความสามารถรับน้ำหนักดินสูงมากถึง 30 ตัน/ม2 แม้ว่าจะอ้างว่าใช้ค่าความปลอดภัยเท่ากับ 3 แล้วนั้น สามารถออกแบบสร้างถังเก็บน้ำสูงเท่าตึก 8 ชั้น โดยไม่มีการทรุดเลย (ซึ่งเป็นค่าสูงมากที่ปกติไม่มีใครใช้ ซึ่งดินที่มีลักษณะเป็นหินทราย หรือดินดาน ที่ตอกเสาเข็มไม่ลง ยังใช้กันเพียง 20 ตัน/ม2)
จากการระบุในคำสั่งของศาลปกครองระยองว่า เป็นสิทธิ์ของผู้ออกแบบ ที่จะเลือกใช้ค่ารับน้ำหนักดินในการออกแบบ ทั้งการเลือกชนิดของฐานรากที่เสี่ยงทรุด จึงไม่น่าจะเป็นความเห็นตามหลักวิชาวิศวกรรมโยธา ในด้านการออกแบบเพื่อความปลอดภัยของโรงงานอันตราย ซึ่งผู้อนุมัติแบบ ก็ควรจะให้ข้อท้วงติงตามสำนึกของวิศวกรด้วย

  1. ขบวนการก่อสร้าง ที่ปกปิดข้อมูลความสามารถรับน้ำหนักของดิน ทั้งแบบก่อสร้างและ ข้อกำหนดงานดินรวมทั้งการทดสอบ ไม่มีระบุถึง ค่ารับน้ำหนักสูง 30 ตัน/ม2 เลย การก่อสร้างย่อมสร้างทำไม่ได้ตรงกับการออกแบบ ในส่วนนี้เปรียบได้กับกับการสูบยางรถยนต์ โดยไม่มีเครื่องวัดความดันลม จะรู้อย่างไร ว่าสูบลมเข้าไปแต่ละเส้นแข็งเท่าไหร่ แข็งเท่ากันหรือไม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อไม่มีการทดสอบดินอีกเลย ก่อนวางฐานรากหล่อสำเร็จ หรือหล่อในที่ จากแบบก่อสร้างที่ไม่ระบุ ค่ารับน้ำหนักของดินในแบบ ย่อมไม่สามารถสร้างทำได้ตรงตามการออกแบบ แม้อ้างว่า อนุมัติแบบแล้วถูกต้องตามกฏหมาย

การที่ศาลปกครองระยองมีคำวินิจฉัยว่า ผู้ฟ้องไม่ใช่วิศวกรผู้ออกแบบ ไม่สามารถประเมินเรื่องการทรุดตัวนั้น จึงไม่ได้นำหลักวิชา มาพิจารณา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หัวหน้าองค์คณะตุลาการ จบการศึกษาด้านวิศวกรรมโยธา ย่อมมีความเข้าใจในเรื่องที่กล่าวมาใน ข้อ.1 และ ข้อ2 ได้ดี เพราะเป็นเรื่องง่ายๆ ในการวินิจฉัย

จากที่กล่าวมาถ้ามองในหลักวิชาและหลักเหตุผลแล้ว เป็นปรากฏการณ์ และสถานการณ์ที่เลวร้าย กว่า คำว่า สร้างทำ โรงงานอันตราย โดยไม่ตอกเสาเข็ม เพราะมีการปกปิดข้อมูลสำคัญในการก่อสร้าง ซึ่งยังไม่รวมการชี้แจงแจ้งเท็จว่า มีการตรวจสอบติดตาม มาโดยตลอด ตามคำให้การของ ปตท. นั้น ทั้งที่ไม่ได้ทำ เพราะมีการซ่อมทรุดจำนวนมาก ระหว่างติดตั้งเครื่องจักร และข้อมูลการเก็บระดับ ไม่มีการตรวจสอบกันอีกเลย จนผู้ฟ้องนำเรื่องไปร้องเรียน และจากเหตุผลทั้งหมด ย่อมระบุได้ว่า การวินิจฉัยไม่รับคำฟ้องของศาลปกครองระยองนั้น ใช้หลักวิชา หรือหลักเหตุผล หรือไม่ในการพิจารณา

ตลอดปี 2554 ภาพเหตุการณ์ต่างๆที่ไม่เคยพบเห็นอันเกิดจากภัยธรรมชาติก็ได้ประจักษ์ ความเสียหายมากมายที่ยากต่อการประเมินผลกระทบกับประชาชน และสรรพสิ่งต่างๆ จากเหตุการณ์แผ่นดินไหว-สึนามิ ในญี่ปุ่น และประเทศไทยจากเหตุน้ำลามทุ่งท่วมจนหลายนิคมอุตสาหกรรมล่มจมน้ำเกือบทั้งหมดที่มวลน้ำมหาศาลหลากผ่าน ความแข็งแรงไม่เพียงพอของคันกั้นน้ำ ประตูน้ำ การประเมินผิดพลาด น้ำท่วมดอนเมือง น้ำท่วมจนคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตร บางเขน เสียหายอย่างหนัก เพราะประเมินผิดพลาด ขนหนีน้ำไม่ทัน ความจริงประจักษ์แล้วดังปรากฏ กลับไม่ได้ทำให้ คณะตุลาการศาลปกครองสูงสุด ที่พิจารณาคำฟ้องนี้ เกิดความสนใจใส่ใจได้เลย ด้วยการทอดเวลายาวนานมามากกว่า 3 เดือนจนถึงปัจจุบัน ซึ่งผู้ฟ้องได้ติดตามมาโดยตลอด ทั้งเขียนคำชี้แจงเพิ่มเติมเมื่อมีเรื่องราวที่สืบเนื่องกัน ครั้งล่าสุดได้เขียนคำร้องขอให้ช่วยเร่งรัดการพิจารณาและร้องขอให้ออกหมายเรียก ขอพยานเอกสารข้อมูลทางวิทยาศาสตร์  เมื่อ 10 ตุลาคม 2554 ก่อนน้ำจะท่วมอาคารศาลปกครองไม่กี่วัน ระยะเวลาที่เนิ่นนาน เสมือนการขาดจิตสำนึกตระหนักภัยอันจะเกิดกับประชาชน ทั้งที่ได้ประจักษ์แล้วกับเหตุการณ์ต่างๆ กับการคาดไม่ถึง เอาไม่อยู่

และแม้ศาลปกครองระยองจะมีความเห็นว่า ผู้ฟ้องจินตนาการไปเองถึงเหตุหายนะภัย ที่จะเกิดขึ้นจากคลังก๊าซไวไฟขนาด 4,200 คันรถ ที่อยู่ระหว่างโรงแยกก๊าซใหม่ 2 แห่งนั้น จะเกิดระเบิด ในเมื่อความเสี่ยงอยู่ใกล้ตลาด อยู่กลางชุมชน เหตุร้ายแรงที่สุดอันเกิดขึ้นได้จึงควรต้องถูกประเมิน เป็นกระบวนทัศน์ที่ถูกต้องแล้ว เมื่อเห็นอุบัติภัยจากภาคอุตสาหกรรมที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ที่หลายประเทศยังต้องเพิ่มกฏควบคุมพิเศษขึ้น คงมีแต่ประเทศไทยหรืออย่างไร ที่ละเลยความปลอดภัยของประชาชน ขณะนี้ไม่มีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์อันใด หรือองค์กรวิศวกรรมใดเข้าไปตรวจสอบ นอกจากคำชี้แจงของ ปตท. ว่าทุกอย่างแข็งแรงปลอดภัยดี มีการตรวจสอบมาโดยตลอดตั้งแต่เริ่มก่อสร้าง ซึ่งผู้ฟ้องมีเอกสารมากมายว่าเป็น การชี้แจงแจ้งเท็จ แต่ศาลปกครองระยอง ก็เชื่อเอกสารเท็จเหล่านั้น ทั้งที่ความแข็งแรงเป็นเรื่องวิทยาศาสตร์ที่พิสูจน์ได้ ระยะเวลาที่ผ่านมาเหมือนทิ้งให้ประชาชนเผชิญภัย ที่ไม่รู้ว่าจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่ ท้องฟ้าที่ถูกเผาจนแดงเหนือโรงแยกก๊าซ กับเสียงรถไซเรนดังต่อเนื่องของทุกค่ำคืน คือผลกระทบในจิตใจผู้คน แม้ศาลปกครองระยองว่า ไม่มีผลกระทบ แต่จากกลิ่นก๊าซแอลพีจีรั่วรุนแรง และหมอกควันปกคลุมไปทั่วในยามดึก ตลอดเวลาหลายเดือนที่ผ่านมา นั้นมาจากขบวนการผลิตที่ไม่เสถียรของโรงแยกก๊าซใหม่ ประการหลังนี้ มีผลกระทบประชาชนแล้ว

จากการพิจารณาไม่รับคำฟ้อง โดยไม่อิงหลักวิชาหลักเหตุผล การทอดเวลายาวนาน ละทิ้งประชาชนเผชิญเหตุภัย ควรหรือไม่ที่กล่าวว่าเป็นดุลยพินิจอันอิสระ ของตุลาการศาล หรืออันจะมาจาก ภยาคติ ที่มีต่อองค์กรทุนอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่สุดของประเทศ ดังที่ผู้ฟ้องอ้างถึง ว่าได้ส่งเรื่องนี้ ให้กับหลายส่วนหลายฝ่าย แต่ก็พากันเฉยชาทำไม่รู้ไม่เห็นกันทั้งหมด และในระหว่างที่รอคำสั่ง ผู้ฟ้องได้เข้าไปให้ข้อมูลกับผู้คนผ่านโซเซียลเน็ตเวอร์ค เพราะสื่อมวลชนไม่นำเสนอข่าว ซึ่งก็เหมือนเดิม คนที่เป็นแกนนำผู้คนเรื่องจิตอาสา จิตสาธารณะ ต่างพากันเฉยชากับข้อมูลนี้ด้วย ถึงเวลานี้แล้วจะพึ่งใครได้ ที่แม้แต่ ประธานศาลปกครองสูงสุด ยังขอให้สื่อมวลชนช่วย เรื่องมีกลุ่มคนจ้องจะล้มศาล ฯ

ดังทั้งหมดที่กล่าวมาแล้ว ขอพึ่งอำนาจของความยุติธรรมอันศักดิ์สิทธิ์ โปรดพิจารณา โดยอิงหลักวิชาหลักเหตุผล ดำเนินรอยตามคำพระราชดำรัสของในหลวง เพื่อสร้างความผาสุกให้เกิดกับประชาชนได้อย่างแท้จริง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น