วันเสาร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ผู้คนที่หน้าที่ รับรู้ แต่เฉยชา กับ ปตท.สร้างทำโรงงานอันตรายเสี่ยงสร้างหายนะ


นายกอภิสิทธิ์ รับเรื่องนี้ กับมือถึง 2 รอบ ไม่ต้องแปลกใจอะไรเรื่องผู้กำกับ สมเพียร

นายอานันท์ ประธานมูลนิธิโลกสีเขียว องค์กรเอกชนที่สร้างทำโดย ปตท. แล้วจะเชื่อถืออะไร ที่ทำไม คกก. 4 ฝ่าย มามาบตาพุดเมื่อไหร่ ก๊าซรั่ว ทุกครั้ง

แกนนำผู้คน ที่อ้างว่ารักชาติ รักประชาชน กับโฆษณาของ ปตท. ในสื่อ ASTV แลกกับชีวิตชาวบ้านเสี่ยงตาย



ผู้คนจำนวนมาก ที่ได้รับรู้เรื่อง ปตท.สร้างโรงงาน อันตราย ไม่ตอกเสาเข็ม แค่เพียงอ้างว่า ดินแข็งแรงกว่าโรงงานติดกัน 6 เท่า ไม่ได้ใช้เทคนิคพิเศษอันใด มีจำนวนมาก มีบ้างที่ตอบ และเกือบทั้งหมดแกล้งเฉยชาไม่ใส่ใจ) ซึ่งไม่ใช่มีแค่ 3 โรงงานที่เสนอฟ้อง แต่มีนับสิบโรงงาน จึงเป็นผลให้ ทำไมที่ทุกส่วนทุกฝ่ายจึงนิ่งเงียบเฉยกันหมด แต่ทิ้งความเสี่ยงภัยให้ชาวบ้าน และแม้แต่ พนักงานของ ปตท.เอง ซึ่งที่โรงแยกก๊าซใหม่ถูกหยิบมาเป็นประเด็นหลักเพราะอยู่ใกล้ตลาด อยู่ตรงกลางระหว่างชุมชนจำนวนมาก ที่มีคลังก๊าซแอลพีจี จำนวนมหาศาล เทียบเท่ารถก๊าซ 4,200 คันรถ ซึ่งถ้าเกิดเหตุแล้วเอาไม่อยู่ จะสร้างความเสียหายใหญ่หลวง ฤดูฝน และธรรมชาติภัยที่รุนแรงขึ้น เพื่อให้ทันการณ์ ทันเวลา เรื่องนี้จึงยังคงสื่อให้สังคมรับรู้ภัยเสี่ยงอยู่ตลอดเวลา แม้ไม่ได้รับความสนใจจากบุคคลที่ควรทำหน้าที่แก้ไขจำนวนมากที่กำลังจะกล่าวถึง ซึ่งทั้งส่งให้กับมือ ส่งทางไปรษณีย์ อีเมล์ รวมทั้งการเสนอตรงให้ใน โซเซียลเน็ตเวอร์ค

  • นายกอภิสิทธ์ ส่งให้กับมือ 16 มกราคม 2553 และ 20 พฤศจิกายน 2553
  • นายสุทธิ อัชฌาสัย แกนนำเครือข่ายประชาชนภาคตะวันออก 31 มกราคม 2553
  • นายศรีสุวรรณ จรรยา นายกสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน 31 มกราคม 2553
  • น.ส.เพ็ญโฉม แซ่ตั้ง กรรมการ กอสส. ก.ค. 2553
  • อดีตนายก อานันท์ ปันยารชุน ส่งให้กับมือ 2 เมษายน 2553 (ประธาน คณะกรรมการ 4 ฝ่าย แก้ปัญหามาบตาพุด)
  • คณะอนุกรรมการรับฟัง ปัญหามาบตาพุด 26 มีนาคม 2553
  • นาย ประเสริฐ บุญสัมพันธ์ CEO ปตท. เมื่อ 19 ธันวาคม 2552
  • วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย เมื่อ 9 เมษายน 2553
  • ผู้ว่าราชการจังหวัด ระยอง เมื่อ 9 เมษายน 2553
  • นายสาธิต ปิตุเตชะ สส ระยอง เมื่อ 16 เมษายน 2553
  • นายสาย กังเวคิน สว.ระยอง เมื่อ 5 กันยายน 2553
  • ท่านอักขราทร จุฬารัตน ประธานศาลปกครองสูงสุด ส่งให้กับมือ 23 สิงหาคม 2553
  • ศาลปกครองระยอง ให้เร่งรัดไต่สวน ฉุกเฉิน เมื่อ 27 พฤษภาคม 2553 ศาลปกครอง ยกคำร้องขอให้ไต่สวนฉุกเฉิน มองไม่เห็นความเสี่ยง และไม่รับฟ้องเมื่อ 7 กันยายน 2553
  • ประธานกรรมาธิการของวุฒิสภาหลายคณะ รวมทั้ง สว.รสนา โตสิตระกูล ที่บ้านพิษณุโลก เมื่อ 11 กันยายน 2553
  • อุทธรณ์คำสั่งไม่รับฟ้อง เสนอต่อศาลปกครองสูงสุด เมื่อ 24 กันยายน 2553
  • คุณเติมศักดิ์ และอาจารย์ เทพมนตรี และผู้คนหลังเวที พธม. ก.พ. 2554
  • แกนนำ พธม. 4 ท่าน วันที่ไปทวงคดี ปตท. ที่ศาลปกครอง 22 ก.ย. 54
  • ประธาน กอสส. และคณะกรรมการ ในเวทีประชุมประชาพิจารณ์ ต.ค.54
  • สื่อมวลชน และองค์กรเอกชน ส่งให้ทางอีเมล์ ยังคงส่งให้อยู่ในบางสื่อที่ยังไม่เคยส่ง
  • 80 องค์กร แกนนำชุมชน ในมาบตาพุด ส่งทางไปรษณีย์ ทั้ง ซีดี และเอกสาร 1 ก.ค.53
  • ประธานหอการค้า ทั้งไทยและต่างประเทศ
  • รมต. สส. สว. จำนวนมากทั้งฝ่ายค้านและฝ่ายรัฐบาล ทั้งรัฐบาลอภิสิทธิ์ และยิ่งลักษณ์
  • คณาจารย์ทางวิศวกรรมโยธา หลายท่าน
 
อดีตนายก และนายกนอมินี เชื่อแค่ไหนจะพึ่งพาได้ เมื่อความเสี่ยงภัยของชาวบ้าน ก้อมาจากนโยบายที่เร่งรีบร้อนรน ที่มองกันแค่เรื่องเงิน-อำนาจ และการฉ้อฉล

ส่วนของเฟสบุ๊ค โซเซียลเน็ตเวอร์ค ที่ดำเนินการมาตั้งแต่ต้นปี 2553 เวบบล็อกของโอเคเนชั่น (ถูกแบนไป ซึ่งมีผู้คนเข้ามาให้ความสนใจประมาณ 6 หมื่นครั้ง) และในส่วนของเวบบล็อกสปอต รวมกันใน 4 หัวข้อ ประมาณแสนครั้ง  ที่มีผู้คนแวะเวียนเข้ามาเปิดดู ในส่วนของเฟสบุ๊คที่นำเสนอ

  • ศปภ., องค์กรเตือนภัยพิบัติต่างๆ ทั้งกลุ่ม และตัวบุคคลล, นายปราโมทย์ ไม้กลัด, รศ.ดร.เสรี, นาย ศศิน, นาย ปรเมศ, นาย ประชีพ 
  • นายก รมต. อดีตนายก รมต.ทั้งใหม่และเก่า นักการเมือง ทั้ง สส. สว. พรรคการเมือง กมธ. สิทธิมนุษยชน กก.สิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ผู้ตรวจการแผ่นดินรัฐสภา
  • วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย, วุฒิวิศวกร, วิศวกรทั้งด้านโยธา และธรณีวิทยา รวมทั้งคณาจารย์จำนวนมาก
  • สื่อมวลชน กลุ่มมวลชน องค์กรเอกชน กองทัพ และเสนอทั้งในส่วนบุคคล และคณะ หรือกลุ่ม
  • จัดตั้งกลุ่ม ทวงคืน ปตท. และทวงคืนพลังงานไทย ที่มีสมาชิกรวมประมาณ 1 หมื่นคน และสมาชิกหรือเพื่อนของ กลุ่มอีกประมาณ 4 พันคน


ยังไม่มีวี่แววของผู้มีจิตสาธารณะ

ดูเหมือนจะพึ่งพาได้ อะไรทำไม พึ่งไม่ได้สักคน ด่าว่าแต่คนอื่นเลว



ปฏิกิริยา และการตอบรับของผู้คน

ผู้ที่รู้เรื่องครั้งแรก จะรู้สึกตกใจประหลาดใจกับข้อมูล แต่การต่อตามเรื่อง ทำแค่เพียงตอบกลับ และเฉยชา ซึ่งพอสรุปได้ดังนี้

  • นายกอภิสิทธิ์ ตอบว่า จะดูแลให้ ไม่ต้องห่วง และเร่งรัดเรื่องสัญญาณเตือนภัย
  • คกก. 4 ฝ่าย ตอบว่า ไม่มีหน้าที่ และ ปตท.ชี้แจงแล้วว่า ทุกอย่างปลอดภัยดี
  • ท่านอักขราทร ตอบ ให้รอคำวินิจฉัยของ ตุลาการที่รับผิดชอบคดี
  • นายสาย สว.ระยอง อุทาน น่ากลัวนะ แต่เรื่องมันใหญ่มาก ไม่กล้าพูด
  • นายสาธิต สส.ระยอง บอก ไม่เห็นว่า นายกอภิสิทธิ์สนใจอะไร และไม่มีความรู้เรื่องนี้
  • นายสุทธิ อัชฌาสัย บอก คุยกับ ปตท. รู้เรื่องแล้ว
  • นายศรีสุวรรณ จรรยา บอก ไม่มีความรู้เรื่องนี้
  • น.ส. รสนา สว. บอก สว.มีงานมากมาย ไม่มีเวลามาสนใจเรื่องแบบนี้ และอ.ต่อตระกูล เองบอกว่าสร้างทำได้
  • อ.ต่อตระกูล โทรมาคุยบอกว่า เป็นสิทธิ์ของผู้ออกแบบ แต่สร้างทำไม่รู้
  • นายสนธิ ลิ้มทองกุล บอก ไปตายซะ เรื่องมาบตาพุด เอเอสทีวีทำมาเยอะแล้ว
  • อ.พิภพ อ.สมเกียรติ แกนนำ พธม. บอก มันควรมีการตรวจสอบนะ
  • อ.ปราโมทย์ ไม้กลัด บอก ผมไม่รู้ ไม่มีข้อมูล
  • รศ.ดร.เสรี, นายศศิน ไม่ตอบอะไร แต่ครั้งแรกๆ ลบข้อมูลทิ้ง, นายปรเมศ ไม่ตอบอะไร แต่ครั้งแรกๆ ลบข้อมูลทิ้ง และพยายามปิดกั้นข้อมูล
  • รศ.ดร.รังสรรค์ วงษ์บุญ (โยธา) บอก ต้องตรวจสอบ
  • วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย บอก ต้องรอคำสั่งศาล ไม่มีอำนาจ
  • ในเฟสบุ๊ค วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ไม่ตอบ และไม่มีวิศวกรโยธากล้าให้ความเห็น
  • กมธ.สิทธิฯ วุฒิสภา / ผู้ตรวจการแผ่นดินรัฐสภา / กอสส. ต่างไม่ตอบอะไร ปล่อยเรื่องค้างไว้
  • นายก / รมต. สส. สว. นักการเมืองต่างๆ ไม่ตอบเรื่องนี้ ในส่วนของ พรรค ปชป. บล็อกไม่ให้ติดต่อได้อีก
  • นายวันชัย ศรีนวลนัด กก.สิทธิ์ ไม่แสดงความเห็น และลบเรื่องออก
  • สื่อมวลชน / องค์กรเอกชน เกือบทั้งหมด ไม่แสดงความเห็นใดๆ 
  • นสพ.แฉ เพื่อประเทศไทยใสสะอาด บอก อยู่ระหว่างเตรียมข้อมูล

ยังมีต่ออีกมากมาย ....


วันอังคารที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ส่งหนังสือเร่งรัด คำร้องอุทธรณ์คำสั่ง กรณี "ปตท. สร้างโรงงานอันตราย ไม่ตอกเสาเข็ม"


14.00 น วันนี้ 21 กุมภาพันธ์ 2555 ที่สำนักงานศาลปกครอง แจ้งวัฒนะ คุณศรัลย์ ธนากรภักดี ผู้ประสานงานกลุ่มพิทักษ์อากาศสดชื่น มาบตาพุด นำหนังสือเร่งรัดคำร้องอุทธรณ์คำสั่ง กรณี "ปตท. สร้างโรงงานอันตราย ไม่ตอกเสาเข็ม" ไปยื่นที่ศาลปกครองสูงสุด และติดตามความคืบหน้าของการอุทธรณ์คำสั่ง จาก นายนายณัฐพล สุขใต (พคป.) พนักงานเจ้าหน้าที่ของศาลปกครอง ซึ่งให้ความคืบหน้า เหมือนที่เคยแจ้งคือ "อยู่ระหว่างการตรวจร่างคำสั่ง ให้กลับไปคอยที่ระยองจะส่งคำสั่งแจ้งไปทางไปรษณีย์"

กรณีการอุทธรณ์คำสั่ง  ได้ส่งหนังสือชี้แจงเพิ่มเติมไปแล้ว 4 ครั้ง เป็นหนังสือขอเร่งรัดการพิจารณาคดี 2 ครั้ง และไปติดตามด้วยตัวเอง 4 ครั้งที่สำนักงานศาลปกครอง ถนนแจ้งวัฒนะ คือเมื่อ
22 ก.ย. 54 วันเดียวกันกับ มูลนิธิยามเพื่อแผ่นดิน ไปตามทวงคดี การจำหน่ายหุ้นไม่ชอบ
19 ต.ค. 54 นำหนังสือขอเร่งรัดการพิจารณา ไปส่งและ สอบถาม
11 ม.ค. 55 ติดตามทวงถาม ที่ศาล ซึ่งได้คำตอบว่า "อยู่ระหว่างการตรวจร่างคำสั่ง ให้กลับไปคอยที่ระยองจะส่งคำสั่งแจ้งไปทางไปรษณีย์"
21 ก.พ. 55 นำหนังสือขอเร่งรัดการพิจารณา ไปส่งและ สอบถาม ติดตามทวงถาม ที่ศาลปกครอง ซึ่งได้คำตอบว่า "อยู่ระหว่างการตรวจร่างคำสั่ง ให้กลับไปคอยที่ระยองจะส่งคำสั่งแจ้งไปทางไปรษณีย์"

บางส่วนในคำขอเร่งรัด

...มีแต่ประเทศไทยหรืออย่างไร ที่ละเลยความปลอดภัยของประชาชน ตลอดจนขณะนี้ไม่มีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์อันใดยืนยัน และไม่มีองค์กรวิศวกรรมใดเข้าไปตรวจสอบ นอกจากคำชี้แจงของ ปตท. ว่าทุกอย่างแข็งแรงปลอดภัยดี มีการตรวจสอบมาโดยตลอดตั้งแต่เริ่มก่อสร้างนั้นเป็นเพียงหนังสือชี้แจง ขณะที่ผู้ฟ้องมีเอกสารมากมายว่าเป็น
การชี้แจงแจ้งเท็จ แต่ศาลปกครองระยอง ก็เชื่อเอกสารเท็จเหล่านั้น ทั้งที่ความแข็งแรงเป็นเรื่องวิทยาศาสตร์ที่พิสูจน์ได้ ...

... สำเหนียกสำนึกเรื่องความปลอดภัย ควรมาก่อนการหลบเลี่ยงข้อกฏหมายควบคุมการก่อสร้าง ถ้าบ้านนี้เมืองนี้ มีโรงงานอันตรายมากมาย ไม่ต่างกับป้ายโฆษณาเสี่ยง เห็นอย่างไรกัน ซึ่งใครก็อยากเลียนแบบ วิธีง่ายๆ แบบ ปตท. จะให้ประชาชนว่ายวนทุกข์ซ้ำซากอยู่ การมีศาลปกครองคืออะไร ไม่ใช่ลอกเลียนแบบของต่างประเทศมา แล้วไม่รู้ว่าต้องทำอย่างไร ให้ความธรรมถูกต้องไม่ถูกเบี่ยงเบน ภยาคติ ทั้งหลาย ล้วนเป็นอันตรายกับชาวบ้าน หายนะไม่เกิดก็ดีไป ถ้าเกิดล่ะ นานาอารยะ เขาคงประณามว่า "เลวล้มเหลว ในทุกระบบ" เพราะประธานหอการค้าต่างประเทศในไทย รู้เรื่องนี้กันทั้งหมด แม้จะมีแค่ ประธานเจโทร(กรุงเทพ) ที่ตอบเรื่องนี้มาว่า “ห่วงใย และตระหนักถึงการสร้างทำต่างๆ ว่าต้องทำให้แข็งแรงปลอดภัย ทั้งยังหวังอย่างสูงยิ่งว่านายกอภิสิทธิ์ จะดำเนินการเรื่องนี้อย่างเหมาะสม” แต่ที่ผ่านมา นายกอภิสิทธิ์ไม่ได้ดำเนินการอย่างใดเลย และอีกไม่ช้านานก็จะถึงฤดูฝน ฝนตกหนัก พายุลมแรง ดินอ่อนตัว โครงสร้างพิเศษสำคัญสุ่มเสี่ยงต่อการทรุดพัง เพื่อให้ทันการณ์ทันเวลา เพื่อให้มีการตรวจสอบเสริมสร้างความแข็งแรงของโรงงานอันตรายต่างๆ ให้ประชาชนเกิดความมั่นใจว่า จะไม่มีเหตุภัยอันตราย อันมาจากความไม่มั่นคงแข็งแรงของโรงงานอันตรายและคลังก๊าซไวไฟ ของ ปตท. 

วันอังคารที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

'ในหลวง'มีพระบรมราโชวาทแก่ตุลาการ ศาลปกครอง 30 ม.ค.55


'ในหลวง'มีพระบรมราโชวาทแก่ตุลาการ
... ถ้าท่านปฏิบัติอย่างเคร่งครัดตามคำปฏิญาณที่ได้กล่าวนี้ ก็จะเชื่อได้ว่าประเทศชาติจะมีการปกครองที่เข้มแข็งและเมื่อมีการปกครองเข้มแข็งประชาชนก็มีความมั่นใจว่าประเทศชาติจะอยู่ได้ไปได้ ขอให้ท่านทำตามคำปฏิญาณอย่างเคร่งครัด ก็ถือว่าท่านเป็นหลักของประเทศชาติอย่างสำคัญ ถ้าปฏิบัติดีชอบเท่ากับเป็นผู้ที่ได้สร้างประเทศชาติ ถ้าละเลยต่อคำปฏิญาณก็จะเป็นสิ่งที่ร้ายต่อส่วนรวม ...


พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จออก ณ ห้องประชุม สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ชั้น 14 อาคารเฉลิม พระเกียรติ โรงพยาบาลศิริราช พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้นายหัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล ประธานศาลปกครองสูงสุด นำตุลาการศาลปกครองชั้นต้น ตำแหน่งตุลาการศาลปกครองกลาง เข้าเฝ้าฯถวายสัตย์ปฏิญาณก่อนเข้ารับหน้าที่ เมื่อวันที่ 30 มกราคม



















เมื่อเวลา 17.30 น. วันที่ 30 มกราคม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ ออก ณ ห้องประชุมสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ชั้น 14 อาคารเฉลิมพระเกียรติ โรงพยาบาลศิริราช พระราชทานพระบรมราชวโรกาส ให้นายหัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล ประธานศาลปกครองสูงสุด นำคณะตุลาการศาลปกครองชั้นต้น ตำแหน่งตุลาการศาลปกครองกลาง เข้าเฝ้าฯ ถวายสัตย์ปฏิญาณก่อนเข้ารับหน้าที่

ในการนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราโชวาทแก่คณะตุลาการศาลปกครอง ความว่า " สำคัญที่ข้าราชการผู้ใหญ่ได้ปฏิบัติงานเพื่อความมั่นคงของประเทศ หากว่าข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ได้ทำหน้าที่เต็มที่แสดงว่าผู้ใหญ่เข้มแข็งผู้น้อยก็จะต้องทำตาม ผู้น้อยก็จะต้องเกรงความเข้มแข็งของผู้ใหญ่ ถ้าท่านปฏิบัติอย่างเคร่งครัดตามคำปฏิญาณที่ได้กล่าวนี้ ก็จะเชื่อได้ว่าประเทศชาติจะมีการปกครองที่เข้มแข็งและเมื่อมีการปกครองเข้มแข็งประชาชนก็มีความมั่นใจว่าประเทศชาติจะอยู่ได้ไปได้ ขอให้ท่านทำตามคำปฏิญาณอย่างเคร่งครัด ก็ถือว่าท่านเป็นหลักของประเทศชาติอย่างสำคัญ ถ้าปฏิบัติดีชอบเท่ากับเป็นผู้ที่ได้สร้างประเทศชาติ ถ้าละเลยต่อคำปฏิญาณก็จะเป็นสิ่งที่ร้ายต่อส่วนรวม ดังนั้นขอให้ท่านได้ปฏิบัติตามที่ได้กล่าวอย่างเคร่งครัดถือว่าเป็นคำพูด ที่มีความตั้งใจที่มั่นคงที่จะช่วยให้บ้านเมืองอยู่เย็นเป็นสุข ประชาชนมีความมั่นใจว่าประเทศชาติอยู่ได้ ถ้ามีความมั่นใจก็เชื่อว่าทุกคนจะอยู่รวมกันอย่างเป็นปกติสุข "




ประธานศาลปกครองสูงสุดนำคณะตุลาการศาลปกครองชั้นต้น
เข้าเฝ้าฯ ถวายสัตย์ปฏิญาณก่อนเข้ารับหน้าที่ 
        วันที่ 30 มกราคม 2555 เวลา 17.30 น. ดร. หัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล ประธานศาลปกครองสูงสุด นำคณะตุลาการศาลปกครองชั้นต้น เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ถวายสัตย์ปฏิญาณก่อนเข้ารับหน้าที่ตุลาการศาลปกครอง ในโอกาสนี้ นายไกรรัช เงยวิจิตร รองเลขาธิการสำนักงานศาลปกครอง รักษาการในตำแหน่งเลขาธิการสำนักงานศาลปกครอง ร่วมเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทด้วย ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติ โรงพยาบาลศิริราช

วันเสาร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

โซนนิ่งคลังก๊าซเสนอปรับผังเมืองใหม่มาบตาพุด


โซนนิ่งคลังก๊าซเสนอปรับผังเมืองใหม่มาบตาพุด

2009-07-28
คลอดแผนคุมมลพิษมาบตาพุด ลุยทำเวชระเบียนสุขภาพ 31 ชุมชนเฝ้าระวังโรค ด้านเอ็นจีโอ ทำแผนที่ชุมชนเสี่ยงคลังก๊าซ ปล่องมลพิษ
นายสุรินทร์ สินรัตน์   เลขานุการนายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองมาบตาพุด   จ.ระยอง กล่าว ถึงความคืบหน้าการจัดทำแผนปฏิบัติการเพื่อลดและขจัดมลพิษ จ.ระยองว่า  หลังจากนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ลงนามคำสั่งเมื่อวันที่ 30 มิ.ย.ที่ผ่านมา ในการประกาศเขตควบคุมมลพิษครอบคลุมเขตเทศบาล ต.มาบตาพุด ต.เนินพระ ต.มาบข่า   ต.ทับมา อ.เมืองระยอง และ ต.บ้านฉาง อ.บ้านฉาง โดยกำหนดให้จัดทำแผนปฏิบัติการฯ เสร็จภายใน 120 วันนั้น
ในส่วนของเทศบาลมาบตาพุด ได้ตั้งคณะอนุกรรมการ ชุดโดยมีผู้แทนจาก 31 ชุมชนเขตมาบตาพุด จัดทำแผนและมาตรการด้านคุณภาพน้ำ อากาศ ขยะอุตสาหกรรม โดยเฉพาะเพิ่มด้านสังคม สุขภาพ และผังเมืองเข้าไว้ด้วย เนื่องจากมาบตาพุดค่อนข้างมีปัญหาแตกต่างจากพื้นที่อื่นๆที่เคยประกาศเขตควบคุมมลพิษมาแล้ว ขณะนี้คณะอนุกรรมการฯ เตรียมสรุปแผนงานให้ทางเทศบาลภายในปลาย ก.ค.นี้ และเทศบาลมาบตาพุดจะสรุปแผนสุดท้ายเสนอทางจ.ระยอง ในวันที่ 25 ส.ค.นี้  
นายสุรินทร์กล่าวว่า สำหรับแผนงานด้านสุขภาพ ได้แก่ การเฝ้าระวังสุขภาพชาวบ้านตามกลุ่มเสี่ยงต่างๆเช่นอยู่ในทิศทางไหนของลม และใกล้กับแหล่งกำเนิดไหน โดยตั้งเป้าจัดทำระเบียนสุขภาพของชาวบ้านแยกตามโรคต่างๆ อาทิ ภูมิแพ้ ผื่นคัน โรคมะเร็ง ทั้งนี้เพื่อใช้ติดตามประเมินผลในระยะยาว และคงต้องอาศัยทางกระทรวงสาธารณสุข และนักวิชาการด้านโรคต่างๆเข้ามาช่วย ส่วนด้านคุณภาพน้ำ ทั้งส่วนการอุปโภค ภาคเกษตร ประมงนั้นก็เป็นงานเร่งด่วนที่ต้องเห็นผลที่เป็นรูปธรรม โดยเฉพาะน้ำใต้ดินในครัวเรือนที่ปนเปื้อนนสารอินทรีย์ระเหยง่าย จนนำมาใช้ไม่ได้ และยังขาดระบบประปาที่ยังไปไม่ถึง ตามแผนจะเสนอให้ใช้น้ำหอสูง
จ่ายให้กับชุมชนที่เดือดร้อนไปก่อน   
เมื่อเร็วๆนี้ได้หารือกับทางโรงงานอุตสาหกรรม และกรมควบคุมมลพิษ (คพ.) โดย เสนอให้โรงงาน จัดทำบ่อพักน้ำเสียของโรงงานก่อนจะปล่อยลงสู่ลำรางสาธารณะ รวมทั้งจะขอให้ปรับค่าพารามิเตอร์เรื่องงอุณหภูมิ ของน้ำที่จะปล่อยออกมาทิ้ง จากเดิมที่คพ.กำหนดไว้ไม่เกิน 40 องศาฯแต่เทศบาลเห็นว่าเป็นค่าที่สูงเกินไป และเสนอให้ปรับค่าเท่ากับอุณหภูมิน้ำตามธรรมชาติด้วย แต่ขณะนี้ยังไม่ได้ข้อสรุปว่าคพ.และโรงงานจะเห็นด้วยหรือไม่ ” นายสุรินทร์ กล่าว
เมื่อถามว่าในอนาคตจะเรียกร้องค่าชดเชยให้กับชาวบ้านได้หรือไม่ นายสุริทร์ยอมรับว่าอาจจะเป็นเรื่องยากที่จะนำเอาความเจ็บป่วย ไปเคลมกับความรับผิดชอบของโรงงาน ซึ่งอาจจะเชื่อมโยงได้ยาก แต่อย่างน้อยภายใต้แผนปฏิบัติการฯเทศบาลก็อยากเห็นการแก้ปัญหาที่เป็นรูปธรรม   เนื่องจากที่ผ่านมาเทศบาลได้รับการร้องเรียนเข้ามามาก กรณีที่ไม่สามารถใช้บัตรเขียวรักษาฟรี ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งภายใต้งบกองทุนระยองเข้มแข็ง สมัยปี 2550-2551 ที่เปิดให้คนที่มีทะเบียนบ้านในพื้นที่มาบตาพุดนำบัตรเขียวไปเข้ารับรักษาในโรงพยาบาลที่กำหนด แต่ปรากฎว่าชาวบ้านนำไปใช้แล้วทางโรงพยาบาลไม่รับรักษา โดยมีสาเหตุจากกองทุนไม่ได้จ่ายเงินให้กับโรงพยาบาล เพราะเงินในกองทุนหมด ซึ่งยังอยู่ระหว่างการตรวจสอบปัญหากันอยู่
ทำแผนที่ชุมชนเสี่ยงคลังก๊าซ - เสนอย้ายออก
ด้าน น.ส.เพ็ญโฉม แซ่ตั้ง ผู้ประสานงานกลุ่มศึกษาและรณรงค์มลภาวะอุตสาหกรรม กล่าวว่า ขณะนี้ได้ร่วมกับทีมนักวิชาการลงพื้นที่ศึกษาว่ามีชุมชนไหนบ้างที่มีความเสี่ยงกับปัญหามลพิษจากโรงงาน โดยใช้แผนที่ภาพถ่ายทางอากาศครอบคลุมนิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่ระยอง อาทิ นิคมมาบตาพุด นิคมเหมราช นิคมตะวันออก นิคมเอเชีย เพื่อจะทำแผนที่ชุมชนว่าอยู่ใกล้คลังก๊าซในรัศมีเท่าไหร่ มีปล่องกี่ปล่อง   อยู่ติดโรงงานไหนบ้าง   มีความเสี่ยงอย่างไร ทั้งนี้เพื่อเสนอให้ทำโซนนิ่ง และนำไปใช้กำหนดในผังเมืองมาบตาพุดฉบับใหม่ที่จะหมดอายุในปี 2552 โดยเฉพาะชุมชนหนองแฟบ ถือเป็นหนึ่งในชุมชนที่ถูกล้อมกรอบจากโรงงานจนแทบไม่เหลือความเป็นชุมชนดั้งเดิมอยู่แล้วนั้น ในอนาคตอาจหากยังไม่ได้รับการเยียวยาและถูกรุกเป็นเขตสีม่วงไปเกือบหมด อาจต้องพิจารณาย้ายชุมชนออกไปอยู่ที่อื่นๆแทน


คลังก๊าซ อยู่ตรงกลางระหว่างชุมชนจำนวนมาก


ภาพโรงกลั่นสิงคโปร์ระเบิด ก.ย.2554


แฉเงินกองทุนถูกถลุงหมด  
ด้าน นายสมบัติ เนินจรัญ รองประธานชุมชนบ้านหนองแฟบ ต.มาบตาพุด จ.ระยอง    กล่าวว่า   ปัญหามลพิษที่มาบตาพุดส่งผลให้ชาวบ้านป่วยระบบทางเดินหายใจเรื้อรังมานาน   เมื่อปี 2551 ทางนิคมฯได้จัดตั้งกองทุนสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิต โดยทุ่มงบประมาณกว่า 30 ล้าน เพื่อทำบัตรรักษาพยาบาลฟรีแจกให้กับชาวบ้านในเขต มาบตาพุด  โดยมี อดีตประธานชุมชนชาวบ้านหนองแฟบคนเก่า  นำบัตรสีเขียวมาใช้ในการหาเสียง เลือกตั้งคณะกรรมการกองทุนฯ และมาทำบัตรให้ถึงที่บ้าน ชาวบ้านจึงทำไว้ แต่เมื่อเสร็จสิ้นการเลือกตั้ง และชาวบ้านไปใช้สิทธิในโรงพยาบาล แห่งที่กำหนดให้เข้าไปรักษาได้ เช่น โรงพยาบาลสิริกิตต์ ก็พบว่าไม่สามารถใช้สิทธิดังกล่าวได้ โดยได้รับการชี้แจงจากโรงพยาบาลว่าหมดงบที่ตั้งไว้แล้ว  ขณะนี้โรงพยาบาลก็ กำลังฟ้องเรียกค่ารักษาพยาบาลที่ค้างชำระอยู่จากคณะกรรมการชุดนี้ด้วย  
อย่างไรก็ตาม บัตรสีเขียวนั้นมีผู้ได้รับเพียงไม่กี่คนเท่านั้น ส่วนใหญ่จะเป็นคนที่สนิทสนมกับคณะกรรมการชุดนี้  ชาวบ้านจึงไม่ได้สนใจ และหันไปใช้สิทธิบัตรทอง และประกันสังคมแทน แต่ที่ค้างคาใจคืองบ โครงการกว่า 30 ล้านบาทนั้นไม่น่าจะหมดลงภายใน ปี อาจจะหมดเพราะสาเหตุอื่น อย่างเช่นการนำงบประมาณส่วนนั้นไปใช้จ่ายเป็นการส่วนตัว
ที่มา: กรุงเทพธุรกิจ

วันพุธที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

การยอมรับ "โรงงานอันตราย ไม่ตอกเสาเข็ม"




"โรงงานอันตราย ไม่ตอกเสาเข็ม" ก้อย่อมเพิ่มความอันตรายเพิ่มขึ้นอีก เนื่องจากเพิ่มความเสี่ยงที่จะทรุดพังได้ ดินเมื่อเจอน้ำคุณสมบัติอ่อนตัว อีกทั้งโครงสร้างเมื่อมีการสั่น การเคลื่อนตัวของ ของเหลวความดันสูงในระบบท่อ ย่อมมีการสั่นไหวของฐานรากที่กระทำกับดินอีกด้วย และเมื่อข้อกำหนดค่าทรุดตัวต่างกันที่ยอมรับได้ เพียง 0.5 ซม. เท่านั้น แสดงว่าถ้าทรุดมากกว่านี้ จะมีปัญหาการแตกรั่วของข้อต่อต่างๆ ด้วยแล้วนั้น ย่อมเพิ่มความเสี่ยงขึ้นอีก เพราะสร้างทำต่ำกว่ามาตรฐานในขั้นตอนการเลือกใช้ฐานรากตื้น ซึ่งข้อเสียข้อแรกคือ ความเสี่ยงในการทรุดตัว การยอมรับให้เรื่องนี้ ผ่านไปเท่ากับ ยอมรับการให้มีการก่อสร้างโรงงานอันตรายต่ำกว่ามาตรฐาน แบบถูกกฏหมาย ที่อ้างว่า ออกแบบได้ แต่ก่อสร้างได้ตามแบบหรือไม่นั้น ไม่จำเป็นต้องใส่ใจ


"โรงงานอันตรายที่อันตรายนี้ อยู่ข้างตลาด อยู่กลางชุมชน เกิดเหตุหายนะ จะกระทบใหญ่หลวง เพราะมีคลังก๊าซขนาดใหญ่" การปล่อยให้โรงงานดำเนินการ โดยไม่มีการตรวจสอบเสริมสร้างความแข็งแรง ย่อมเท่ากับทิ้งความเสี่ยงภัยใหญ่หลวงให้สาธารณะ สังคมมีกฎหมายมากมาย ที่ใส่ใจผู้คนในสังคม ห้ามเมาแล้วขับ ใส่หมวกกันน๊อค คาดเข็มขัดนิรภัย  ไม่ใช้โทรศัพท์มือถือขณะขับ แต่ในสังคมอื่น มีมาตรการอื่นอีก เช่นที่เมืองโอ๊คแลนด์ ของนิวซีแลนด์ ตำรวจต้องคอยตรวจจับผู้หญิงที่ขับรถและให้นมลูกไปด้วย จับได้ชั่วระหว่างการรณรงค์ ความปลอดภัยของเด็กในรถแค่ 10 วัน 3 รายแล้ว สารวัตรชาแนน เกรย์ ตบอกร้องว่า การทำเช่นนั้น เป็นอันตรายทั้งแม่ทั้งลูกอย่างยิ่ง หากเกิดต้องหยุดรถอย่างกะทันหัน หรือเกิดอุบัติเหตุรุนแรงขึ้น เด็กาจกระเด็นตกจากรถเขายังเปิดเผยด้วยว่า ตำรวจยังรู้สึกตกใจด้วยเมื่อพบกับการปล่อยให้เด็กนั่งอยู่ในกระโปรงท้ายรถ ซึ่งพบมาหลายรายเช่นกัน.การเรียกรถยนต์ที่พบว่า มีปัญหาด้านความปลอดภัย กลับเข้ามาซ่อมบำรุงปีละหลายล้านคันนั้น ก็เป็นตัวอย่าง ของมาตรการความปลอดภัยของสังคมประชาชนด้วย

อิงหลักวิชาหลักการ หลักอิทัปปัจจยตา นั่น ... ที่จะทำให้สังคมไม่เป็น "ตาบอดคลำช้าง"

สึนามิญี่ปุ่น ภาพที่ไม่เคยเห็นก้อได้เห็นแล้ว ดอนเมืองน้ำลามทุ่งยังไล่รื้อได้ แล้ววันนี้ สังคมไทยจะรอดูอะไรอีก

หายนะภัยแผ่นดินไหวสึนามิในญี่ปุ่น ... สร้างกระแสให้ ผู้คนในนานาอารยะประเทศหันมาสนใจ สิ่งก่อสร้างต่างๆ ว่าแข็งแรงดีหรือไม่ ปลอดภัยกับผู้คนประชาชนในประเทศของตนหรือไม่ / แต่แปลกดี ... คนประเทศไทย รัฐบาล ศาลปกครองสูงสุด หน่วยงานรัฐ สส. สว. ฝ่ายค้าน สื่อมวลชน เครือข่ายสิ่งแวดล้อม เครือข่ายสังคมสาธารณะ กลับเฉยชาแกล้งทำไม่รู้ไม่เห็นไม่สนใจที่ ปตท. มาสร้างโรงงานเสี่ยงจำนวนมาก ในมาบตาพุด โดยไม่ตอกเสาเข็มฐานรากทั้งหมด เพียงอ้างว่าทดสอบดินแล้ว ดินแข็งแรงกว่าโรงงานติดกัน
3-7 เท่า จึงไม่จำเป็นต้องตอกเสาเข็ม ให้โครงสร้างขนาดมหึมาจำนวนมาก ทรุดพังเพียงเล็กน้อย ท่อ-ข้อต่อแตก ก๊าซอันตราย ก๊าซไวไฟรั่ว จนอาจเป็นต้นเหตุหายนะภัยใหญ่หลวง โดยเฉพาะโรงแยกก๊าซ ที่ 6 ที่มีคลังก๊าซแอลพีจี ขนาดใหญ่ เทียบเท่ารถก๊าซ 4 พันคัน ... สยองแค่ไหน!!! กับเหตุรถก๊าซ 1 คัน ระเบิดเมื่อ 20 ปีก่อน ในถนนเพชรบุรีตัดใหม่ ฯ ถ้าเกิดเหตุหายนะที่มาบตาพุดแล้ว ควรจะโทษใคร?
 
สำเหนียกสำนึก เรื่องความปลอดภัย ควรมาก่อนการหลบเลี่ยงข้อ กม. การก่อสร้าง ถ้าบ้านนี้เมืองนี้ มีโรงงานอันตรายมากมาย ไม่ต่างกับป้ายโฆษณาเสี่ยง เห็นอย่างไรกัน ใครๆ ก้อยากเลียน แบบ วิธีง่ายๆ แบบ ปตท. จะให้ประชาชน ว่ายวน ทุกข์ซ้ำซากอยู่ การมีศาลปกครอง คืออะไร ไม่ใช่ลอกของนอกมา แล้วไม่รู้ว่าต้องทำอย่างไร ให้ความธรรมถูกต้องไม่เบี่ยงเบน เลิกเถอะครับ ภยาคติ ทั้งหลาย ล้วนอันตรายกับชาวบ้าน หายนะไม่เกิดก้อดีไป ถ้าเกิดล่ะ นานาอารยะ เขาคงถ่มถุย ว่า "เลวล้มเหลว ในทุกระบบ"
 
ท่านสุเมธ เคยนำพระราชดำรัสมาบอกว่า "บ้านเรือนไม่ตอกเสาเข็ม มันก้อล้มพัง" ... แต่ที่มาบตาพุด สร้างโรงแยกก๊าซใหม่ โรงงานสารเคมีอันตราย เกลื่อนเมือง ไม่ตอกเสาเข็มฐานรากทั้งหมด ... บ้านเมืองนี้ ปกติดีมั้ย!!! (หรือท่านไม่รู้เรื่องนี้ ...)

การสร้างทำ ต่ำกว่ามาตรฐาน แม้จะเขียนขึ้นกำหนดขึ้นเอง ผลร้ายใหญ่หลวงไม่เฉพาะกับเจ้าของหรือคนสร้างทำ แต่มันสร้างหายนะใหญ่หลวงกับ สรรพชีวิต และสภาวะแวดล้อม คนไทยไม่ค่อยรู้เรื่องนี้มาก เพราะสื่อมวลชนไทยปิดข่าวนี้กันหมด เสียหายมากแค่ไหน ทำไมรัฐบาลอินโดนีเซีย เรียกค่าเสียหายสูงถึง 35,000 ล้านบ้าน แต่ตรงนั้นกลางทะเลติมอร์ ถ้าเกิดที่ปากอ่าวไทย อะไรจะเกิดขึ้นกับคนไทยบ้าง

คนมาบตาพุด ... คือ พี่น้องคนไทย ที่เสียสละ อยู่ในพื้นที่มลพิษรุนแรง แล้ววันนี้ จะต้องทิ้งให้ เสี่ยงตายกันอีกหรืออย่างไร ... คนนะครับ ไม่ใช่เศษผักเศษปลา ไม่มีชีวิต พวกผม วิศวกรที่สร้างทำกันอยู่ตรงนั้น ย่อมรู้ดีว่า ทำกันไว้ดีแค่ไหนอย่างไร ไม่ต้องให้คนอื่นๆ มาบอกว่ามันแข็งแรงปลอดภัยดี ...




ข้าพเจ้า ใคร่ขอน้อมนำบางส่วน ของพรปีใหม่ปีพุทธศักราช 2555 ที่ในหลวงทรงพระราชทาน ให้แก่ปวงชน มาประกอบในการพิจารณา กับข้อร้องเรียนที่นำเสนอมานี้ 



... ระหว่างปีที่แล้ว เหตุการณ์ต่างๆในบ้านเมืองนับว่าเป็นปรกติดี แต่พอเข้าปลายปี ก็เกิดน้ำท่วมครั้งใหญ่เป็นเหตุให้ประชาชนหลายจังหวัด ต้องประสบอันตรายและความเดือดร้อนลำบาก ความเสียหายครั้งนี้ดูจะร้ายแรงกว่าครั้งไหนๆที่ผ่านมา ข้อนี้ น่าจะเป็นเครื่องเตือนใจอย่างสำคัญ ดังที่ข้าพเจ้าได้กล่าวไว้หลายครั้งแล้วว่า วิถีชีวิตของคนเรานั้นจะต้องมีทุกข์ มีภัย มีอุปสรรค ผ่านเข้ามาเนืองๆ ไม่มีผู้ใดจะอยู่เป็นปรกติสุขอย่างเดียวได้ ทุกคนจึงต้องเตรียมกาย เตรียมใจ และเตรียมการไว้ให้พร้อมเสมอ เพื่อเผชิญและป้องกันแก้ไขความไม่ปรกติเดือดร้อนต่างๆ ด้วยความไม่ประมาท ด้วยเหตุผล ด้วยหลักวิชา และด้วยสามัคคีธรรม

ในปีใหม่นี้ จึงขอให้ประชาชนชาวไทยได้ตั้งตนอยู่ในความไม่ประมาท โดยมีสติรู้ตัวและปัญญารู้คิดกำกับอยู่ตลอดเวลา ผู้ใดมีภาระหน้าที่อันใด ก็เร่งกระทำให้สำเร็จลุล่วงไปให้ทันการณ์ทันเวลา ผลงานทั้งนั้นจะได้ส่งเสริมให้แต่ละคนประสบแต่ความสุขความเจริญ และทำให้ชาติบ้านเมืองดำรงมั่นคง และก้าวหน้าต่อไปด้วยความผาสุกสวัสดี ..."

วันนี้ประเทศไทย จะยอมให้มีโรงงานอันตราย สร้างทำกันด้วยความไม่มั่นคงหรือ ป้ายโฆษณาเสี่ยงมากมายนั้นก็ล้วนได้รับการอนุมัติถูกต้องตามกฏหมาย ยากที่จะไล่รื้อ และการที่ละเลยที่จะให้มีการตรวจสอบเรื่อง ปตท.ออกแบบสร้างทำ โรงงานอันตราย โดยไม่ตอกเสาเข็มฐานราก สร้างทำต่ำกว่า มาตรฐานโรงแยกก๊าซ ที่ ปตท. กำหนดขึ้น ซึ่งพอจะสรุปได้ดังนี้คือ

  1. อ้างถึงข้อกำหนดค่าทรุดตัวต่างกันที่ยอมรับได้ เพียง 0.5-1.5 ซม ถ้าทรุดเกินกว่านี้ จะทำให้เกิดปัญหากับข้อต่อต่างๆแตกรั่ว เกิดแรงบิดมหาศาลในระบบท่อ เกิดการเอียงของแกนเครื่องจักรต่างๆ ซึ่งเป็นมาตรฐานสูงของฐานรากโครงสร้างพิเศษสำคัญ ว่ายอมให้ทรุดตัวน้อยมาก เสมือนยอมให้ทรุดไม่ได้เลย แต่ การดำเนินการออกแบบก่อสร้างโรงงานอันตรายอายุการใช้งาน 30-40 ปี กลับสวนทางกับมาตรฐานที่กำหนดขึ้น โดยมีข้อสังเกตุดังนี้
    • การเลือกใช้ฐานรากตื้น ไม่มีเสาเข็ม ซึ่งมีความเสี่ยงทรุดตัวสูง และยอมรับเรื่องการทรุดตัวได้ อีกทั้งยังก่อสร้างบนพื้นที่ปรับถมดินใหม่ด้วย
    • การทดสอบความแข็งแรงของดินแบบกดน้ำหนัก (Bearing Capacity Test) ซึ่งปกติจะใช้กับความลึกของชั้นดินเดิม ไม่ใช่ดินปรับถมใหม่ และทดสอบเพียง 5 จุด ตก 1 จุด แล้วนำค่ารับน้ำหนักประลัยสูงมากถึง 90 ตัน/ม2 ไปใช้ออกแบบฐานรากโครงสร้างพิเศษสำคัญทั้งโรงงาน การทดสอบทำในขณะที่ดินมีความชื้นต่ำเสมือนว่า นำค่าแข็งแรงสูงสุดของดินไปใช้ ทั้งนี้ถ้าดินมีความชื้นมาก ดินจะอ่อนตัวมาก การทดสอบลักษณะนี้ จึงไม่มีความเหมาะสมอย่างยิ่ง
    • ค่าความสามารถรับน้ำหนักดินสูงมากถึง 30 ตัน/ม2 แม้ว่าจะอ้างว่าใช้ค่าความปลอดภัยเท่ากับ 3 แล้วนั้น สามารถออกแบบสร้างถังเก็บน้ำสูงเท่าตึก 8 ชั้น โดยไม่มีการทรุดเลย (ซึ่งเป็นค่าสูงมากที่ปกติไม่มีใครใช้ ซึ่งดินที่มีลักษณะเป็นหินทราย หรือดินดาน ที่ตอกเสาเข็มไม่ลง ยังใช้กันเพียง 20 ตัน/ม2)
จากการระบุในคำสั่งของศาลปกครองระยองว่า เป็นสิทธิ์ของผู้ออกแบบ ที่จะเลือกใช้ค่ารับน้ำหนักดินในการออกแบบ ทั้งการเลือกชนิดของฐานรากที่เสี่ยงทรุด จึงไม่น่าจะเป็นความเห็นตามหลักวิชาวิศวกรรมโยธา ในด้านการออกแบบเพื่อความปลอดภัยของโรงงานอันตราย ซึ่งผู้อนุมัติแบบ ก็ควรจะให้ข้อท้วงติงตามสำนึกของวิศวกรด้วย

  1. ขบวนการก่อสร้าง ที่ปกปิดข้อมูลความสามารถรับน้ำหนักของดิน ทั้งแบบก่อสร้างและ ข้อกำหนดงานดินรวมทั้งการทดสอบ ไม่มีระบุถึง ค่ารับน้ำหนักสูง 30 ตัน/ม2 เลย การก่อสร้างย่อมสร้างทำไม่ได้ตรงกับการออกแบบ ในส่วนนี้เปรียบได้กับกับการสูบยางรถยนต์ โดยไม่มีเครื่องวัดความดันลม จะรู้อย่างไร ว่าสูบลมเข้าไปแต่ละเส้นแข็งเท่าไหร่ แข็งเท่ากันหรือไม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อไม่มีการทดสอบดินอีกเลย ก่อนวางฐานรากหล่อสำเร็จ หรือหล่อในที่ จากแบบก่อสร้างที่ไม่ระบุ ค่ารับน้ำหนักของดินในแบบ ย่อมไม่สามารถสร้างทำได้ตรงตามการออกแบบ แม้อ้างว่า อนุมัติแบบแล้วถูกต้องตามกฏหมาย

การที่ศาลปกครองระยองมีคำวินิจฉัยว่า ผู้ฟ้องไม่ใช่วิศวกรผู้ออกแบบ ไม่สามารถประเมินเรื่องการทรุดตัวนั้น จึงไม่ได้นำหลักวิชา มาพิจารณา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หัวหน้าองค์คณะตุลาการ จบการศึกษาด้านวิศวกรรมโยธา ย่อมมีความเข้าใจในเรื่องที่กล่าวมาใน ข้อ.1 และ ข้อ2 ได้ดี เพราะเป็นเรื่องง่ายๆ ในการวินิจฉัย

จากที่กล่าวมาถ้ามองในหลักวิชาและหลักเหตุผลแล้ว เป็นปรากฏการณ์ และสถานการณ์ที่เลวร้าย กว่า คำว่า สร้างทำ โรงงานอันตราย โดยไม่ตอกเสาเข็ม เพราะมีการปกปิดข้อมูลสำคัญในการก่อสร้าง ซึ่งยังไม่รวมการชี้แจงแจ้งเท็จว่า มีการตรวจสอบติดตาม มาโดยตลอด ตามคำให้การของ ปตท. นั้น ทั้งที่ไม่ได้ทำ เพราะมีการซ่อมทรุดจำนวนมาก ระหว่างติดตั้งเครื่องจักร และข้อมูลการเก็บระดับ ไม่มีการตรวจสอบกันอีกเลย จนผู้ฟ้องนำเรื่องไปร้องเรียน และจากเหตุผลทั้งหมด ย่อมระบุได้ว่า การวินิจฉัยไม่รับคำฟ้องของศาลปกครองระยองนั้น ใช้หลักวิชา หรือหลักเหตุผล หรือไม่ในการพิจารณา

ตลอดปี 2554 ภาพเหตุการณ์ต่างๆที่ไม่เคยพบเห็นอันเกิดจากภัยธรรมชาติก็ได้ประจักษ์ ความเสียหายมากมายที่ยากต่อการประเมินผลกระทบกับประชาชน และสรรพสิ่งต่างๆ จากเหตุการณ์แผ่นดินไหว-สึนามิ ในญี่ปุ่น และประเทศไทยจากเหตุน้ำลามทุ่งท่วมจนหลายนิคมอุตสาหกรรมล่มจมน้ำเกือบทั้งหมดที่มวลน้ำมหาศาลหลากผ่าน ความแข็งแรงไม่เพียงพอของคันกั้นน้ำ ประตูน้ำ การประเมินผิดพลาด น้ำท่วมดอนเมือง น้ำท่วมจนคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตร บางเขน เสียหายอย่างหนัก เพราะประเมินผิดพลาด ขนหนีน้ำไม่ทัน ความจริงประจักษ์แล้วดังปรากฏ กลับไม่ได้ทำให้ คณะตุลาการศาลปกครองสูงสุด ที่พิจารณาคำฟ้องนี้ เกิดความสนใจใส่ใจได้เลย ด้วยการทอดเวลายาวนานมามากกว่า 3 เดือนจนถึงปัจจุบัน ซึ่งผู้ฟ้องได้ติดตามมาโดยตลอด ทั้งเขียนคำชี้แจงเพิ่มเติมเมื่อมีเรื่องราวที่สืบเนื่องกัน ครั้งล่าสุดได้เขียนคำร้องขอให้ช่วยเร่งรัดการพิจารณาและร้องขอให้ออกหมายเรียก ขอพยานเอกสารข้อมูลทางวิทยาศาสตร์  เมื่อ 10 ตุลาคม 2554 ก่อนน้ำจะท่วมอาคารศาลปกครองไม่กี่วัน ระยะเวลาที่เนิ่นนาน เสมือนการขาดจิตสำนึกตระหนักภัยอันจะเกิดกับประชาชน ทั้งที่ได้ประจักษ์แล้วกับเหตุการณ์ต่างๆ กับการคาดไม่ถึง เอาไม่อยู่

และแม้ศาลปกครองระยองจะมีความเห็นว่า ผู้ฟ้องจินตนาการไปเองถึงเหตุหายนะภัย ที่จะเกิดขึ้นจากคลังก๊าซไวไฟขนาด 4,200 คันรถ ที่อยู่ระหว่างโรงแยกก๊าซใหม่ 2 แห่งนั้น จะเกิดระเบิด ในเมื่อความเสี่ยงอยู่ใกล้ตลาด อยู่กลางชุมชน เหตุร้ายแรงที่สุดอันเกิดขึ้นได้จึงควรต้องถูกประเมิน เป็นกระบวนทัศน์ที่ถูกต้องแล้ว เมื่อเห็นอุบัติภัยจากภาคอุตสาหกรรมที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ที่หลายประเทศยังต้องเพิ่มกฏควบคุมพิเศษขึ้น คงมีแต่ประเทศไทยหรืออย่างไร ที่ละเลยความปลอดภัยของประชาชน ขณะนี้ไม่มีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์อันใด หรือองค์กรวิศวกรรมใดเข้าไปตรวจสอบ นอกจากคำชี้แจงของ ปตท. ว่าทุกอย่างแข็งแรงปลอดภัยดี มีการตรวจสอบมาโดยตลอดตั้งแต่เริ่มก่อสร้าง ซึ่งผู้ฟ้องมีเอกสารมากมายว่าเป็น การชี้แจงแจ้งเท็จ แต่ศาลปกครองระยอง ก็เชื่อเอกสารเท็จเหล่านั้น ทั้งที่ความแข็งแรงเป็นเรื่องวิทยาศาสตร์ที่พิสูจน์ได้ ระยะเวลาที่ผ่านมาเหมือนทิ้งให้ประชาชนเผชิญภัย ที่ไม่รู้ว่าจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่ ท้องฟ้าที่ถูกเผาจนแดงเหนือโรงแยกก๊าซ กับเสียงรถไซเรนดังต่อเนื่องของทุกค่ำคืน คือผลกระทบในจิตใจผู้คน แม้ศาลปกครองระยองว่า ไม่มีผลกระทบ แต่จากกลิ่นก๊าซแอลพีจีรั่วรุนแรง และหมอกควันปกคลุมไปทั่วในยามดึก ตลอดเวลาหลายเดือนที่ผ่านมา นั้นมาจากขบวนการผลิตที่ไม่เสถียรของโรงแยกก๊าซใหม่ ประการหลังนี้ มีผลกระทบประชาชนแล้ว

จากการพิจารณาไม่รับคำฟ้อง โดยไม่อิงหลักวิชาหลักเหตุผล การทอดเวลายาวนาน ละทิ้งประชาชนเผชิญเหตุภัย ควรหรือไม่ที่กล่าวว่าเป็นดุลยพินิจอันอิสระ ของตุลาการศาล หรืออันจะมาจาก ภยาคติ ที่มีต่อองค์กรทุนอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่สุดของประเทศ ดังที่ผู้ฟ้องอ้างถึง ว่าได้ส่งเรื่องนี้ ให้กับหลายส่วนหลายฝ่าย แต่ก็พากันเฉยชาทำไม่รู้ไม่เห็นกันทั้งหมด และในระหว่างที่รอคำสั่ง ผู้ฟ้องได้เข้าไปให้ข้อมูลกับผู้คนผ่านโซเซียลเน็ตเวอร์ค เพราะสื่อมวลชนไม่นำเสนอข่าว ซึ่งก็เหมือนเดิม คนที่เป็นแกนนำผู้คนเรื่องจิตอาสา จิตสาธารณะ ต่างพากันเฉยชากับข้อมูลนี้ด้วย ถึงเวลานี้แล้วจะพึ่งใครได้ ที่แม้แต่ ประธานศาลปกครองสูงสุด ยังขอให้สื่อมวลชนช่วย เรื่องมีกลุ่มคนจ้องจะล้มศาล ฯ

ดังทั้งหมดที่กล่าวมาแล้ว ขอพึ่งอำนาจของความยุติธรรมอันศักดิ์สิทธิ์ โปรดพิจารณา โดยอิงหลักวิชาหลักเหตุผล ดำเนินรอยตามคำพระราชดำรัสของในหลวง เพื่อสร้างความผาสุกให้เกิดกับประชาชนได้อย่างแท้จริง