วันเสาร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

“ภาพลักษณ์” จะต้องจ้างโฆษณาอีกกี่พันล้าน

จากหลายๆ ข้อเห็นความคิด ที่นำเสนอว่า 1. บริหารความเสี่ยง ล้มเหลว 2. บริหารการตัดสินใจ ยอดแย่ 3. บริหารภาพลักษณ์ แบบฉาบฉวย เลยแนะนำให้เปลี่ยน โลโก้ใหม่ มีผู้ให้ความหมายของการสร้างภาพลักษณ์องค์กรไว้ว่า“The image of an organization is the perception of the organization based on what that organization says or does. Behind everything that an organization says and does are its members, so building the image of your organization will depend solely on what members you have.” สรุปง่ายๆว่า ภาพลักษณ์องค์กร หมายถึงภาพที่เกิดขึ้นในจิตใจหรือความรู้สึกนึกคิดของคนที่มีต่อหน่วยงานนั้นๆ ทั้งนี้การรับรู้หรือภาพดังกล่าวเป็นผลมาจากการกระทำของคนในองค์กรนั้นนั่นเอง ไม่ว่าจะเป็นคำพูดหรือการกระทำ ดังนั้นการจะสร้างภาพลักษณ์ขององค์กรให้สำเร็จมากน้อยเพียงไร จึงขึ้นอยู่ว่าองค์กรนั้นๆมีสมาชิกเป็นเช่นไร นั่นก็คือ หากองค์กรใด มีสมาชิกที่เข้มแข็ง มีผลงานเป็นที่ปรากฏเป็นรูปธรรม มีการบริการที่เป็นเลิศ มีคุณธรรมและจริยธรรมเป็นที่น่าเลื่อมใสศรัทธา ภาพขององค์กรที่เกิดขึ้นในจิตใจของประชาชนย่อมเป็นภาพเป็นที่ดี น่าเชื่อถือ มีผลให้การปฏิบัติงานตามพันธกิจขององค์กรบรรลุเป้าหมาย แต่ในทางตรงข้าม หากองค์กรใดสมาชิกส่วนใหญ่ขาดความกระตือรือร้น ไม่ได้รับการพัฒนา ไม่รู้ทิศทางเป้าหมายในการปฏิบัติงาน ย่อมส่งผลให้ผลงานออกมาไม่มีคุณภาพ ทำให้ขาดความน่าเชื่อถือศรัทธาและความร่วมมือจากประชาชน “ภาพลักษณ์” ขององค์กรย่อมตกต่ำกลายเป็น “ภาพลบ ”ในที่สุด แต่.. ภาพลักษณ์สามารถสร้างได้และแก้ไขได้ หากองค์กรใดมีภาพลักษณ์ที่ดีอยู่แล้ว หน้าที่ขององค์กรนั้นคือรักษาภาพลักษณ์ที่ดีดังกล่าวไว้ให้ยืนนานและพัฒนาให้ดียิ่งๆขึ้น เพราะในโลกของการแข่งขันการหยุดอยู่กับที่คือการถอยหลัง แต่สำหรับองค์กรที่ภาพลักษณ์ปานกลางหรือไม่ดี แน่นอนว่าต้องรีบเร่งแก้ไขหรือปรับปรุงภาพลักษณ์ให้ดี เพราะหากยิ่งช้าจะยิ่งแก้ไขยาก มาถึงตอนนี้ ท่านคงอยากรู้แล้วว่า การจะสร้างหรือแก้ไขภาพลักษณ์เราต้องทำอย่างไรบ้าง ? ก่อนจะถึงขั้นตอนนั้น เราคงต้องมาทำความเข้าใจกับลักษณะพิเศษ (Character) หรือจะเรียกว่า สัจธรรมของภาพลักษณ์ ก็ได้เพื่อเป็นเครื่องเตือนใจกันก่อน ข้อแรกคือ ภาพลักษณ์เปลี่ยนแปลงได้ตามสถานการณ์ องค์กรที่ครั้งหนึ่งมีภาพลักษณ์ดียิ่งในสายตามประชาชนอาจจะกลายเป็นองค์กรที่มีภาพลบได้ถ้ามีข่าวลือหรือเหตุการณ์ร้ายเกี่ยวพันถึงเป็นเหตุให้กระแสความนิยมของประชาชนในขณะนั้นเปลี่ยนแปลงไป ข้อที่สอง ภาพลักษณ์ที่เสียไปแล้วแก้ไขยากและตกทอดถึงสมาชิกรุ่นหลังได้ การจะแก้ไขได้เพียงไรขึ้นอยู่กับจังหวะเวลา เทคนิควิธีและความเชื่อถืออันเป็นทุนเดิมขององค์กรนั้นข้อที่สาม ภาพลักษณ์ที่เกิดจากการสร้างภาพไม่ว่าจะเป็นการโฆษณาหรือเทคนิคทางการตลาด จะเกิดและสลายเร็วกว่าภาพลักษณ์ที่เกิดจากการผลงานอันเป็นรูปธรรมภาพลักษณ์เกิดขึ้นได้ 2 ทาง ทางแรก เกิดจากเนื้อแท้ขององค์กรนั้นที่กระทำมาเป็นเวลายาวนานสั่งสมจนฝังแน่นในความรู้สึกนึกคิดของคนจนกลายเป็นภาพลักษณ์ ซึ่งต้องใช้เวลาหลายปีหรือหลายสิบปี และอีกทางหนึ่ง เกิดจากการสร้างเสริมปรุงแต่งโดยใช้เทคนิคการตลาดและการประชาสัมพันธ์เข้าช่วย ซึ่งอาจใช้เวลาสั้นๆแต่ได้ผลเร็ว ทั้งสองทางนี้มีจุดด้อยและจุดเด่นต่างกัน หากสามารถผสมผสานทั้งสองแนวทางเข้าด้วยกัน คือทำดีและประชาสัมพันธ์ตนเองด้วย ก็จะเป็นแนวทางที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้น บัดนี้ เราได้เห็นสัจธรรมของภาพลักษณ์แล้วว่า เปลี่ยนแปลงได้ แก้ไขยากและการสร้างภาพไม่ยั่งยืน ด้วยเหตุนี้ ในการสร้างภาพลักษณ์องค์กรอย่างยั่งยืนจึงต้องกระทำอย่างระมัดระวังและมีการวางแผนล่วงหน้า สิ่งแรกที่ต้องกระทำคือ สำรวจทัศนคติของประชาชนที่มีต่อองค์กรเราก่อนว่าเป็นเช่นไร เป็นการประเมินตนเอง (Self Assessment) นั่นเองเพื่อจะได้แก้ไขได้ถูกทาง องค์กรที่มีหลายภารกิจหลัก อย่างเช่นกรมประชาสัมพันธ์ซึ่งมีภารกิจหลักด้านบริการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และการเป็นที่ปรึกษาด้านการประชาสัมพันธ์ หากสามารถประเมินทัศนคติของประชาชนผู้รับบริการในแต่ละภารกิจได้ ก็จะทำให้สามารถปรับปรุงภาพลักษณ์ได้ตรงจุดยิ่งขึ้น ถ้าจะให้ดียิ่งกว่านั้น การประเมินองค์กรจะต้องประเมินอย่างละเอียดทุกแง่ทุกมุม ทั้งนี้เพราะองค์กรประกอบด้วยหลายองค์ประกอบที่หล่อหลอมเข้าด้วยกัน ผูกพันและเกื้อหนุนกัน หากองค์ประกอบใดบกพร่องอาจจะส่งผลให้องค์ประกอบอื่นเสียหายไปด้วย องค์ประกอบดังกล่าวได้แก่ ผู้นำองค์กร เจ้าหน้าทีผู้ปฏิบัติงาน อาคารสถานที่ ตลอดรวมไปถึงการให้บริการ การเข้าร่วมกิจกรรมสังคมของสมาชิกในองค์กร เครื่องแบบ แม้แต่โลโก้หรือเพลงของหน่วยงาน ทั้งหมดนี้จำเป็นต้องได้รับการประเมินในแต่ละข้อ อันจะนำไปสู่การปรับปรุง แก้ไขหรือสร้างใหม่ต่อไปเพราะการสร้างภาพลักษณ์ต้องดำเนินการทุกแง่มุม จะเลือกดำเนินการเฉพาะส่วนไม่ได้ และนี่เป็นเพียงบันไดขั้นแรกของการสร้างภาพลักษณ์เท่านั้น สายพิณ เชิงเชาว์ จาก http://region3.prd.go.th/ct/northforum/index.php?topic=384.0
ไฟยังโหมกระพือแท่นขุดเจาะน้ำมันปตท.สผ. ในออสเตรเลียไม่หยุด คาดอาจพังถล่มในไม่ช้า
เอเอฟพีเปิดเผยเมื่อวานนี้ว่า เหตุเพลิงไหม้ที่เกิดขึ้นบนแท่นขุดเจาะน้ำมันเวส แอตลาส ที่ตั้งอยู่ห่างจากชายฝั่งของออสเตรเลียไปทางตะวันตกเฉียงเหนือ ยังคงโหมกระพืออย่างหนักและไม่สามารถควบคุมเพลิงไว้ได้ หลังจากที่เจ้าหน้าที่พยายามอุดรอยรั่วน้ำมันด้วยดินโคลน เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา โฮเซ มาร์ติน ผู้อำนวยการบริษัท พีทีทีอีพี ออสตราเลเซีย บริษัทในเครือของปตท.สผ. บริษัทพลังงานรายใหญ่ของประเทศไทย แถลงในวันเดียวกันว่า ทางบริษัทยังไม่ทราบสาเหตุของการเกิดเพลิงไหม้บนแท่นขุดเจาะนี้ ซึ่งเวลานี้บริษัทกำลังมีแผนสูบโคลนขึ้นมาอุดรอยรั่วของบ่อน้ำมันในวันนี้ เพื่อหยุดการรั่วไหลของก๊าซและน้ำมันจากใต้ทะเลไม่ให้ขึ้นมาปะทะกับอากาศเหนือผิวน้ำจนเกิดเพลิงลุกไหม้อีก ทั้งนี้ แผนการอุดรอยรั่วของบ่อน้ำมันดังกล่าวเกิดขึ้นมาแล้วถึง 4 ครั้ง นับตั้งแต่ได้เกิดรอยรั่วมาตั้งแต่เดือนส.ค. ทำให้มีน้ำมันไหลทะลักลงสู่เขตทะเลติมอร์ไปแล้วนับพันบาร์เรล ด้านกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติของออสเตรเลีย เตือนว่าหากแผนการอุดรอยรั่วน้ำมันยังไม่ประสบความสำเร็จ อาจส่งผลกระทบและทำอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต ซึ่งรวมถึงปลาวาฬและโลมา ให้ขยายวงกว้างมากขึ้น ที่มา -
ออสซี่เล็งสอบใหญ่แท่นปตท.รั่ว ไฟลามหนักยังหาทางดับไม่ได้
เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน นายมาร์ติน เฟอร์กูสัน รัฐมนตรีพลังงานและทรัพยากรธรรมชาติออสเตรเลีย แถลงยอมรับว่าความพยายามที่ผ่านมาเพื่อดับไฟที่กำลังลุกไหม้น้ำมันดิบ ที่รั่วไหลออกมาจากแท่นขุดเจาะน้ำมัน "เวสต์ แอทลาส" นอกชายฝั่งทางตะวันตกของประเทศ ซึ่งดำเนินการโดยบริษัท ปตท.สผ.ออสเตรเลีย ในสังกัดบริษัท ปตท.ยังไม่ประสบผลสำเร็จ ส่งผลให้กรณีการรั่วไหลดังกล่าวถูกโจมตีมากขึ้นจากบรรดานักเคลื่อนไหวเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม หลังจากปล่อยให้เกิดการรั่วไหลต่อเนื่องนานถึง 10 สัปดาห์ น้ำมันดิบจำนวน 400 บาร์เรลต่อวันไหลลงสู่ทะเลติมอร์ จนกลายเป็นปัญหาใหญ่ด้านนิเวศวิทยาในบริเวณดังกล่าว ก่อนที่จะเกิดลุกเป็นไฟขึ้นเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายนที่ผ่านมา นายเฟอร์กูสันกล่าวว่า ในวันเดียวกันนี้ทาง ปตท.สผ.ออสเตรเลีย เตรียมทดลองดับไฟอีกครั้งด้วยการใส่โคลนหนักๆ ลงไปในหลุมขุดเจาะ เพื่อลดการรั่วไหลของน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ เท่ากับเป็นการดับไฟไปในตัว หลังจากที่ความพยายามที่ผ่านมาส่งผลเพียงแค่ทำให้เปลวเพลิงที่ลุกไหม้บรรเทาลงเท่านั้นไม่ได้ดับลงแต่อย่างใด พร้อมกันนั้น ก็ยอมรับว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นซึ่งเป็นอุบัติเหตุระหว่างการขุดเจาะครั้งใหญ่ที่สุดในรอบ 25 ปีของออสเตรเลีย ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซธรรมชาติของประเทศอย่างแน่นอน และเท่าที่พูดได้ในเวลานี้ก็คือ เมื่อใดที่หลุมขุดเจาะที่เกิดเหตุสามารถดับไฟได้แล้ว แท่นขุดเจาะอยู่ในสภาพปลอดภัยแล้ว ตนจะสั่งการให้สอบสวนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างเต็มที่และเป็นอิสระเพื่อประเมินว่า เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นได้อย่างไรและมีการดำเนินการเพื่อรับมือกับอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นอย่างไรในช่วง 10 สัปดาห์ที่ผ่านมา
นายอนนต์ ศิริแสงทักษิณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท.สผ. ได้เปิดแถลงข่าวกรณีที่องค์การแหล่งน้ำมันมอนทารา ประเทศออสเตรเลีย ที่ ปตท.สผ.ซื้อกิจการน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ ได้เกิดอุบัติเหตุเพลิงไหม้ ทำให้แท่นขุดเจาะเกิดความเสียหายว่า ขณะนี้ทางปตท.สผ.ได้ให้ผู้เชี่ยวชาญ ได้แก่ บริษัท อเลิร์ท เวลล์ คอนโทรล เคยมีประสบการณ์ในการแก้ไขอุบัติเหตุเพลิงไหม้บ่อน้ำมันที่คูเวตและอิรัก เข้ามาร่วมแก้ไขปัญหา รวมทั้งประสานงานกับรัฐบาลออสเตรเลียอย่างใกล้ชิด คาดว่า ภายใน 1- 2 วันนี้จะสามารถดับไฟ รวมทั้งสอบสวนหาสาเหตุที่เกิดขึ้นได้ นายอนนต์กล่าวว่า เหตุการณ์ดังกล่าว ทาง ปตท.สผ.ประมาณการการค่าเสียหายเบื้องต้นประมาณ 5,174 ล้านบาท ได้มีการบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายในไตรมาสที่ 3 แล้ว ค่าใช้จ่ายดังกล่าวสามารถนำไปเป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวณภาษีได้ ทำให้ส่งผลกระทบต่อผลกำไรสุทธิเพียง 2,198 ล้านบาท แต่ทั้งนี้ ปตท.สผ.ได้ทำประกันภัยคุ้มครองความเสียหายอันเนื่องมาจากความเสียหายดังกล่าว 270 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 9,200 ล้านบาท (34 บาทต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐ) ขณะนี้อยู่ระหว่างการเรียกร้องค่าชดเชยจากบริษัทประกันภัย และสามารถนำไปบันทึกเป็นรายได้ในงวดถัดไป (เอเอฟพี/เอพี/มติชน) ที่มา -
ปตท.สผ.เร่งดับเพลิงไหม้หลุมขุดเจาะที่ออสเตรเลีย กรุงเทพฯ 2 พ.ย. -ฝ่ายประชาสัมพันธ์ บมจ.ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม หรือ ปตท.สผ. ได้ชี้แจงถึงกรณีเหตุ เพลิงไหม้หลุมขุดเจาะของบริษัทในเครือ ที่ประเทศออสเตรเลีย คือบริษัท พีทีทีอีพี ออสตราเลเชีย จำกัด (พีทีทีอีพี เอเอ) ตั้งแต่เมื่อวานนี้ (1 พ.ย.) ว่า ล่าสุดค่ำวันนี้ยังหาทางแก้ปัญหาเพลิงลุกไหม้ให้เร็วที่สุด คาดว่าจะสามารถดับเพลิงได้ภายในวันนี้หรือวันพรุ่งนี้
โดยโครงการดังกล่าว ปตท.สผ. เข้าชื้อกิจการน้ำมันและก๊าซธรรมชาติในต้นปี 2552 มีแหล่งน้ำมัน แหล่งคือ Jabiru + Challis, Montara และ Cash Maple ซึ่งตอนนั้น แหล่งมอนทาราพัฒนามาได้ครึ่งทางแล้ว ปตท.สผ. มารับช่วงต่อ โดยตั้งเป้าการผลิตไว้ปลายปีนี้ อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2552 เข้าไปติดตั้งพัฒนาหลุมผลิตน้ำมัน พบมีน้ำมัน/ก๊าซรั่วออกมา จึงอพยพพนักงาน-คนงานออกมาได้อย่างปลอดภัย จากเหตุการณ์ดังกล่าว บริษัทประมาณการค่าเสียหายรวมเป็นเงินทั้งสิ้น 5,174 ล้านบาท ซึ่งได้บันทึกเป็นค่าใช้จ่ายในไตรมาสที่ 3 แล้ว ค่าใช้จ่ายดังกล่าวสามารถนำไปเป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวณภาษี ทำให้ส่งผลกระทบต่อผลกำไรสุทธิของบริษัทเพียง 2,198 ล้านบาท ซึ่งบริษัทมีประกันภัยคุ้มครองความเสียหายอันเนื่องมาจากเหตุการณ์ครั้งนี้ ขณะนี้อยู่ในระหว่างขั้นตอนการเรียกร้องค่าชดเชยจากผู้รับประกันภัย
นอกจากนี้ บริษัทได้ประสานกับรัฐบาลออสเตรเลียมาโดยตลอดเรื่องการกำจัดคราบน้ำมันและดูแลเรื่องผลกระทบสิ่งแวดล้อม รวมทั้งวางแผนการสกัดการรั่วไหลของน้ำมันและก๊าซฯ ซึ่งด้วยกฎหมายเรื่องสิ่งแวดล้อมที่เข้มงวดของออสเตรเลีย และ ปตท.สผ. เลือกที่จะหยุดการรั่วไหลด้วยการเจาะหลุมใหม่เข้าไปสกัดการรั่วไหลที่ก้นหลุม ใช้ความพยายามอยู่ 5 ครั้ง มาประสบความสำเร็จในครั้งที่ 5 เมื่อเช้าวันอาทิตย์ที่ 1 พฤศจิกายนนี้ การทำงานทั้งหมดนี้อาศัยผู้เชี่ยวชาญเรื่องการแก้ไขปัญหาเฉพาะด้านคือ บริษัท Alert Well Control และประสานงานกับรัฐบาลออสเตรเลียอย่างใกล้ชิด ขณะที่เข้าไปควบคุมการรั่วไหลที่ก้นหลุม เกิดเพลิงไหม้ที่ปากหลุมโดยไม่ทราบสาเหตุ ทั้งนี้ การแก้ไขปัญหาต้องตัดต้นตอของเชื้อเพลิง ซึ่งทางบริษัทได้เข้าถึงชั้นน้ำมันและก๊าซที่รั่วไหลอยู่แล้ว ขณะนี้ได้เตรียมการสกัดกั้นการรั่วไหลด้วยการอัดโคลนกลับเข้าไปอีก คาดว่าจะทราบผลในวันนี้หรือพรุ่งนี้ โดยผลกระทบที่จะได้รับนั้น ทันทีที่สามารถดับไฟได้ บริษัทจะส่งทีมขึ้นไปตรวจสอบความเสียหาย ขณะนี้ได้จัดทำแผนคู่ขนานกันไปว่าจะสามารถกลับมาเริ่มผลิตน้ำมันได้เร็วที่สุดเมื่อไร. ที่มา - ข่าวที่เกี่ยวข้อง - ไฟไหม้แท่นขุดน้ำมัน ปตท. กลางทะเล คนงานหนีตายระทึก - ปตท.สผ. เร่งขจัดคราบน้ำมันในทะเลติมอร์ - ออสเตรเลียเร่งจัดการคราบน้ำมันรั่วไหล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น