วันศุกร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ปตท. - เสี่ยง ทรุด พัง แต่ก้อยัง เดินหน้าอุทรณ์

กลุ่มPTTเดินหน้ายื่นอุทธรณ์ต่อศาลปกครองสูงสุดPDFPrintE-mail
FRIDAY, 05 FEBRUARY 2010 15:09

นายปรัชญา ภิญญาวัธน์ ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจปิโตรเลียมขั้นปลาย บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กล่าวว่าในวันนี้ (16 ตุลาคม 2552) กลุ่ม ปตท. ได้ยื่นอุทธรณ์ต่อศาลปกครองสูงสุดแล้ว เพื่อให้มีโอกาสนำเรียนข้อมูลที่เป็นจริงและถูกต้องต่อศาลโดยตรง เพื่อให้มั่นใจว่าชุมชนและอุตสาหกรรมสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข โดยนอกจากกลุ่ม ปตท. จะดำเนินงานตามมาตรฐานสากลที่เข้มงวด และปฏิบัติตามข้อกำหนดกฎหมายของภาครัฐอย่างเคร่งครัดแล้ว ยังให้ความสำคัญกับการส่งเสริมสุขภาพและสิ่งแวดล้อม การมีส่วนร่วมกับประชาชนในพื้นที่จังหวัดระยองอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ จากการตรวจสุขภาพประจำปีของพนักงานจำนวน 3,000 คน จาก 11 บริษัทของกลุ่ม ปตท. ในพื้นที่ระยอง ตลอดกว่า 10 ปีที่ผ่านมา ไม่พบว่าพนักงานมีความผิดปกติใดๆ โดยเฉพาะ โรคมะเร็ง อันเกิดจากการปฏิบัติงานภายในโรงงาน

นอกจากนั้น สุขอนามัยของประชาชนในพื้นที่มาบตาพุดไม่ได้มีปัญหารุนแรงแต่อย่างใด จากข้อมูลรายงานของสถาบันมะเร็งแห่งชาติ (พ.ศ. 2551) ซึ่งพบว่าจำนวนประชากรในจังหวัดระยองที่ป่วยเป็นโรคมะเร็งเท่ากับ 0.5% ของจำนวนประชากรทั้งประเทศ หรืออยู่ในลำดับที่ 21 ของจำนวนผู้ป่วยโรคมะเร็งในหลายๆ จังหวัดทั่วประเทศ

นายปรัชญากล่าวเพิ่มเติมว่า โครงการลงทุนของกลุ่ม ปตท. ทั้ง 25 โครงการเป็นโครงการที่ได้รับความเห็นชอบรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) เรียบร้อยแล้ว และไม่ได้ก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง อีกทั้งยังมีการวางแผนและลงทุนเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งนอกจากจะไม่ทำให้มลพิษในพื้นที่สูงขึ้น ยังกลับจะช่วยลดปัญหาสิ่งแวดล้อมด้วย เช่น โครงการผลิตและปรับปรุงน้ำมันเชื้อเพลิงตามมาตรฐานยูโร 4 (EURO IV) ที่ช่วยลดสารอินทรีย์ระเหย (VOCs) ที่เกิดจากไอเสียรถยนต์ โครงการปรับปรุงคุณภาพน้ำทิ้งเพื่อหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่ของโรงแยกก๊าซธรรมชาติ และ โครงการท่อส่งก๊าซธรรมชาติไปยังกลุ่มโรงงานปิ โตรเคมี ซึ่งเป็นการขนส่งในระบบปิดและไม่มีกระบวนการผลิตที่ต้องปลดปล่อยสารใดๆ ออกสู่ภายนอก

นอกจากนี้โครงการของกลุ่ม ปตท.16 โครงการ เป็นโครงการที่ไม่มีการระบายก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) หรือก๊าซออกไซด์ของไนโตรเจน (NOx) อีก 5 โครงการมีการจัดการและควบคุมมลพิษทางอากาศตามมาตรฐานการปรับลดและสำรองสัดส่วนค่าระบายมลพิษตามที่รัฐกำหนด (มาตรการ 80:20) และอีก 4 โครงการใช้อัตราการระบายมลพิษต่อพื้นที่ตามกรอบการระบายมลพิษต่อพื้นที่ที่ นิคมอุตสาหกรรมกำหนด รวมทั้ง บางโครงการยังเป็นโครงการสร้างระบบสาธารณูปโภคเพื่อใช้ในโรงงาน อาทิ เข่น โครงการติดตั้งอุปกรณ์เพื่อนำไอน้ำที่ผลิตได้เองจากโครงการมาเป็นแหล่งพลังงานในการผลิตไฟฟ้า ซึ่งหากโครงการต่างๆ ดังกล่าวถูกระงับ นอกจากจะทำให้สูญเสียโอกาสในการปรับปรุงคุณภาพสิ่งแวดล้อมแล้ว ยังไม่ส่งเสริมให้เกิดการใช้ทรัพยากรน้ำของท้องถิ่นอย่างคุ้มค่าอีก ด้วย

ทั้งนี้ ภาครัฐกำลังเร่งดำเนินการ เพื่อผลักดันให้เกิดความชัดเจนและมีการออกระเบียบกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องอย่างเร็วที่สุด โดยกลุ่ม ปตท. ยินดีให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่ โดยคำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมของประเทศเป็นสำคัญ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น