วันพุธที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ความเห็นแบบไม่ใช้ความรู้ - ของ นายกไทย เรื่องมาบตาพุด

เห็นแบบไม่ใช้ความรู้
หรือมีความรู้แล้วไม่ออกความเห็น
ถูก-ผิด มีคำอธิบาย
ผู้คน ... เลยเข้าใจ อะไร ผิดเพี้ยน แบบ นายก ชอบทำ อยู่ตลอด เหมือนหลักปักเลน เอาแน่ อะไม่ได้
การเป็นผู้นำ จะตัดสินใจอะไร ต้องชัดเจน ไม่ได้ต้องการให้เป็นดำหรือขาว แต่ทุกวันนี้ ชอบทำเป็น สีช้ำเลือดช้ำหนอง
เอาแบบเรื่อง มาบตาพุด พูดเปลี่ยนไปเปลี่ยนมา หาอะไร ชัดเจน ไม่ได้ โรงงานที่ เขาให้ความร่วมมือ หยุดระงับ เพื่อทำให้ถูกต้อง เขาจะคิดอย่างไร ถ้ามีกรณี ละเว้น บางโรง ที่บอกส่งผลกระทบ กะกระเป๋า รัฐบาล

วันอังคารที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2552

จิตสาธารณะ กับ วิศวะก่อสร้าง

สำหรับ คนอายุ 40 ปีขึ้น คงจำกันได้สำหรับข่าวแก๊สรั่วในอินเดีย เมื่อ 20 กว่าปีก่อน ที่มีคนตายเกือบ 4000 คน เจ็บป่วย หลายหมื่นคน เรียกว่า ชุมชนที่อยู่ใกล้ๆ กับ โรงงาน UNION CARBIDE ทั้งหมด รวมทั้งคนที่อยู่ในโรงงานนั้นด้วย ... ประมาท เลินเล่อ หรือ อุบัติเหตุ จะอะไรก้อตามเถอะ คนที่ทำงานก่อสร้าง ควรจะต้องตระหนักถึงพิษภัยที่จะเกิดขึ้นเมื่อโรงงานสร้างเสร็จแล้ว บางครั้งการทำงานในหน่วยเล็กๆ เป็นคนงานตบดินให้แน่น ถ้าละเลยหน้าที่แล้ว การทรุดก้ออาจจะเกิดขึ้นได้ และถ้าการทรุดนั้น ไปอยู่ในจุดสำคัญ ที่ทำให้เกิดการรั่วไหลของก๊าซอันตรายด้วย ดังนั้น การเป็นวิศวะก่อสร้าง ไม่ใช่จะมุ่งทำงานตามแบบตามสเปค ที่ได้รับมอบหมายเท่านั้น แต่ควรจะต้องยั้งคิดว่า ส่วนงานที่กำลังทำนั้น เหมาะสมถูกต้องตามสิ่งที่ควรจะเป็นหรือไม่
ส่วนใหญ่ งานที่วิศวะก่อสร้างทำในการก่อสร้างโรงงาน - ทำตามแบบ ทำตามข้อกำหนด โดยไม่ละเลย หลีกเลี่ยง แต่จะไม่รู้เลยว่า สื่งที่อยู่ด้านบน ฐานรากที่ทำขึ้น น้ำหนัก กี่มากน้อย เพราะไม่ใช่ผู้ออกแบบ แต่เมื่อทำมันเสร็จแล้ว ปรากฎว่า มีส่วนประกอบต่างๆ มากมาย ที่นำไปไว้บนโครงสร้าง ที่สร้างกันขึ้น มาถึงตอนนี้ ควรจะทำอย่างไร ... ถ้านึกไม่ออก อยากให้ดู วิดีทัศน์ ด้านล่าง ถ้าท่านเป็นคนหนึ่งที่ก่อให้เกิดเหตุการณ์ แบบนี้ ท่านจะรู้สึกอย่างไร
คงไม่ได้ทำให้กังวลใจ ... ถ้าสิ่งที่ทำมาโดยตลอด ทำอยู่บนความถูกต้องที่ควรจะทำแล้ว

วันเสาร์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ข่าวซ้ำซาก - ที่จะเป็นข่าวได้ทุกวัน เพราะรั่วได้ทุกวัน แบบที่เคยแบบที่เป็น

บันทึกด้านบนเป็น Case ที่มีการรั่วไหลและระเบิด ของโรงงานเคมี ในต่างประเทศ และครั้งร้ายแรงที่สุด ที่Bhopal มีคนตายเกือบ 4 พันคน ของ Union Carbine หรือ Dow Chemical และวันนี้มาที่มาบตาพุด แต่รอว่าวันไหนจะถูกบันทึก
ระบบปิดตา ไม่ว่าไม่มีปัญหามลพิษ เหมือนน้ำเสียที่ปล่อยลงใต้ผิวน้ำทะเล ของโรงไฟฟ้าถ่านหิน BLCP แค่มองไม่เห็นจากเรือ แต่มองเห็นจากทางอากาศ
คนทั้งประเทศคงตะลึง กับข่าวรายวัน กับการรั่วของก๊าซ ที่มาบตาพุด แต่คนที่มาบตาพุดชาชินแล้ว ที่เป็นข่าวมากช่วงนี้ เพราะมีคนใส่ใจมาก โดยปกติถ้าไปยืนอยู่ใกล้ๆโรงงานสัก 4-5 นาที ก้อแทบจะเป็นลมสลบ หลายๆโรง ปล่อยกระปิดกระปอยออกมา มันก้อรวมกันอยู่ในอากาศตรงนี้ ที่มาบตาพุด
มีหลายคนถามว่าคนมาบตาพุด ได้อะไรจากโรงงาน จะได้ก้อตอนก่อสร้างโรงงานเท่านั้น มีคนทำงานก่อสร้างสัก 2-3 พันคน ประมาณ 1 ปีครึ่ง หลังจากสร้างเสร็จแล้ว จะเหลือคนทำงานประมาณ 150-250 คน หรืออาจจะต่ำกว่าร้อย ที่ออกมากินข้าวออกมาซื้อของ ถ้าโรงงานใหม่ ไม่เข้ามาก่อสร้างล่ะ ... ผู้บริหารของโรงงาน ส่วนใหญ่ก้อจะพักแถวสัตหีบ ในระยอง ในบ้านฉาง หรือไกลกว่านั้น แทบจะหาอาหารรสชาดดี ในตลาดมาบตาพุดไม่ได้ ในเวลาเย็น กับข้าว-ผัก-ผลไม้-ขนม จัดเตรียมไว้ขายกับคนที่ใช้แรงทำงาน เกือบทั้งหมด
มีหลายคนถามว่า พ่อค้า-แม่ค้า ในมาบตาพุด ได้อะไรจากโรงไฟฟ้า ขนาด 1400 MW ด้วยเงินลงทุน 4 หมื่นล้าน หลายคนคิดย้อนกลับ ไป เมื่อปี 2547-2549 แล้วก้อจะตอบอะไรไม่ได้ ว่าได้อะไร เพื่อแลกกลับการอยู่ของโรงไฟฟ้าถ่านหินขนาดใหญ่ ไปอีก 30 ปี ไม่รู้ว่าวันไหนอะไรจะพัง อะไรจะรั่ว วันไหนก้อวันนั้น ไม่ต่างกับ ระเบิดที่รอเวลา หลายคนบอกใช้ถ่านหินชั้นดี ไม่มีมลพิษ แต่คงที่บอกแบบนั้น นั่งจิ้มแป้น ที่กรุงเทพฯ ก้อแบบนั้น
NEW DELHI: On the eve of the 25th anniversary of the Bhopal Gas Disaster, theMadhya Pradesh high court at Jabalpur dealt another blow to the
victims in their quest for justice. The victims of the world's biggest ever industrial disaster have received only about one-fifth of the compensation promised to them under the 1989 agreement. ( Watch Video ) Stung by the injustice of this paltry compensation, the victims had approached the apex court, which had approved the 1989 agreement. It was only in 2004 that the Supreme Court admitted a plea by gas victims seeking to reopen the compensation issue. Three years later, in 2007, the court rejected it, asking the victims to approach the state government. An application was then filed before welfare commissioner R S Garg who rejected it in January this year. The harried and desperate victims knocked on the doors of the MP high court to quash this order. But the HC turned it down on November 30. ``It's back to square one. We will go back to the Supreme Court again,'' says N D Jayaprakash of the Bhopal Gas Peedith Sangharsh Sahyog Samiti, which is one of the victims' organisations spearheading the struggle. The gas leak from Union Carbide's pesticide plant in Bhopal in 1984 killed an estimated 20,000 people and left over 5.69 lakh people with a range of injuries and disabilities. In 1989, the Supreme Court approved a settlement between the central government and Carbide under which the company agreed to pay $470 million (Rs 713 crore in the exchange rate of the day) as compensation and the government agreed to drop all civil and criminal proceedings against it. The government declared that this compensation amount was to be distributed amongst 1,05,000 injured and kin of 3000 dead. It soon became clear that this figure of casualties was a gross under-estimate, arrived at without any survey. Yet the government went ahead and distributed the same amount among five times the number originally stated. Of the Rs 713 crore paid by Carbide, Rs 113 crore was paid to people who had suffered property or livestock damage. The remaining Rs 600 crore was distributed among nearly six lakh victims or family members of those who died. On an average, each victim has received Rs 12,410. In contrast, in the high profile Uphaar tragedy of 1997, in which after a sustained legal battle for over six years, the kin of those who died got Rs 15-18 lakh and the injured got Rs 1 lakh each. Victims were also paid 9% interest for 6 years elapsed in the court case. In the Bhopal case, no interest was paid. Criminal cases against Union Carbide officials too are still pending after they were reopened in 1991. A non-bailable warrant against Warren Anderson, chairman of Union Carbide was issued in 1992 by a Bhopal court but remains unserved. Anderson was arrested three days after the disaster and bailed out immediately, after which he fled the country never to return. Dow Chemical Company, which bought Union Carbide in 2001 has refused to take any responsibility for pending matters and when a Bhopal court asked them to appear in court in 2005, they obtained a stay from the high court.

วันพุธที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2552

มาบตาพุด ... ถังขยะอุตสาหกรรมแห่งชาติ

ใบปลิวเก่าๆ เมื่อ ปี 2545
มนุษย์ไม่ได้สร้างโลกแต่มนุษย์กำลังทำลายล้างโลก แล้วเสแสร้งทำตัวเป็นธรรมชาติ แทนดาวหาง แทนอุกาบาต ที่ไม่มีหูมีตามีสมองคิด นักพัฒนาอุตสาหกรรม พูดแก้ต่างว่า “สภาวะของโลกย่อมเปลี่ยนไป เพราะความต้องการของมนุษย์“ นี้ก้อแสดงว่าความเจริญแห่งมวลมนุษย์ กำลังทำลายบ้านดาวดวงสุดท้ายที่น่าอยู่ที่สุดในมหาจักรวาลนี้ มนุษย์ไม่มีความจำเป็นต้องเสาะแสวงหาโลกใหม่ โดยอ้างว่าทรัพย์กรไม่พอ เพราะปัจจุบันยังเกิดปัญหาสินค้าเกษตรตกต่ำทั่วโลก แสดงว่ามนุษย์ผลิตอาหารได้เกินความต้องการจริงอย่างนั้นหรือ มนุษย์ใช้ทุกอย่างอย่างสิ้นเปลือง คิดค้นวัสดุต่างๆ จากสารต่างๆที่มีปัญหาแก่สภาวะแวดล้อม แล้วโดยการผลิต-ใช้- ทิ้ง-ผลิต-ใช้-ทิ้ง-สิ่งที่ปลดปล่อยออกมาจากขบวนการผลิต ปนเปื้อนไปในดิน-น้ำแล้วก้ออากาศที่อยู่รอบๆตัวเรา อีกหน่อยก้อจะเอาซากเถ้าเหล่านี้ ไปสร้างบ้าน (เพราะมีการนำเถ้าถ่านหินมาผลิตเป็นวัสดุก่อสร้างได้…. ฦ ) ทางกลุ่มมิได้ตั้งตนเป็นปรปักษ์กับความเจริญของชาติ แต่เป็นปรปักษ์กับการทำลายสภาวะแวดล้อม รักษาไว้ซึ่งสภาวะแวดล้อมที่ดี เพื่อความเป็นอยู่ของพวกเรา ลูก-หลานของเรา และเพื่อลูกของหลานเรา รวมทั้งมวลสรรพชีวิตต่างๆ ที่ร่วมกันอยู่ในโลกใบนี้ ถึงเวลาหรือยังที่ภาครัฐต้องตัดสินใจ…ประกาศให้จังหวัดระยองเป็นเขตมลพิษเสรี โรงงานขนาดใหญ่-น้อยเกือบ 1,500 โรง โรงไฟฟ้าถ่านหินขนาดกลาง 4-5 แห่ง กำลังจะมีโรงไฟฟ้าใหญ่ขนาด 1,500 เม็กกะวัตต์ อีกหนึ่งแห่ง พร้อมกับการสร้างอุตสาหกรรมต่อเนื่องขึ้นอีกมากมาย โดยลดต้นทุนค่าขนส่งสารตั้งต้นที่ผลิตโดยโรงงานที่มาบตาพุด 30 ปีข้างหน้าแถบภาคตะวันออกของประเทศ ก้อจะมีมลพิษมากที่สุดในเอเซีย หรือของโลก การที่จะตั้งโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ที่มาบตาพุด ก้อไม่ใช่ว่าจะเป็นเรื่องใหญ่อะไร เพราะคงไม่มีใครประท้วง สภาวะแวดล้อมไม่ได้เปลี่ยนไปเพราะก้ออยู่ก้อเป็นตามภาวะแวดล้อมที่ไม่ดีมานานจนชาชินแล้ว (โรงเรียนก้อย้ายไปไกลแล้ว) ไม่ได้ทำลายวิถีชีวิตชาวบ้านมีก้อแต่จะทำให้ชาวบ้านค้าได้ขายดีขึ้น มีการก่อสร้าง คนมีงานทำ นายทุนที่จะมาสร้างโรงงานก้อจะได้เลิกวิตกเรื่องพลังงาน… แต่สิ่งต่างๆที่ดูเหมือนจะสวนทางก้อคือ การพัฒนาการท่องเที่ยว กับการอยู่-การกิน-ทะเล-ท้องฟ้า-ธรรมชาติ-ผลไม้-อาหารทะเล-พักตากอากาศ ทั้งๆที่ทุกวันนี้มีมลพิษปนเปื้อนไปทั่ว ไม่เฉพาะเหตุที่เกิดแก่อากาศ น้ำดิบในขบวนการผลิตประปาปนเปื้อสารเคมี มีปัญหาการปล่อยน้ำเสียลงอ่างเก็บน้ำที่ประชาชนต้องใช้ดื่ม-กิน คนที่ระยองไม่เฉพาะต้องเสี่ยงจากอากาศเสีย แต่ยังต้องเผชิญสารปนเปื้อน มาทางอาหารจากทะเล จากน้ำดื่ม-น้ำใช้ รวมทั้งปนเปื้อนจากสารแช่ผลไม้อีก ทุกแห่งในประเทศไทย กลัวจะเกิดแบบมาบตาพุด (เพราะทุกคนรู้ว่าวันหนึ่งจะต้องทนยืนตาปริบๆพูดไม่ได้ เพราะยังต้องหากินขายของให้โรงงาน หากิน-หาประโยชน์ทั้งทางตรงทางอ้อมอย่างเลี่ยงไม่ได้ อะไรจะเกิดก้อต้องเกิด แบบนั้น…ฦ) เอาเถอะใครคิดอย่างไร ก้อช่างเถิด จะสร้างก้อสร้าง…ไม่มีใครห้ามพระเดชพระคุณท่านได้ คงไม่มีชาวมาบตาพุด-ระยองคนไหนไม่เสียสละเพื่อความมั่นคงสถาพรทางพลังงานของชาติ แต่อยากให้ฉุกคิดถึงขยะนอกถังที่มันปนเปื้อนมาในดิน-อากาศ-น้ำ แล้วก้ออาหารจากทะเล รวมไปถึงพืชผัก ผลไม้ ที่คนมาเที่ยวระยองต้องมารับกลับไป ชาวมาบตาพุด-ระยอง ทนได้ แล้วทราบมานานแล้วนะว่าที่นี่…เป็น ถังขยะอุตสาหกรรมแห่งชาติ

วันจันทร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ความรู้เรื่องสารเคมีอันตราย :

ความรู้เรื่องสารเคมีอันตราย จาก หน่วยข้อสนเทศวัตถุอันตรายและความปลอดภัย ศูนย์ความเป็นเลิศแห่งชาติด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม และของเสียอันตราย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย CHEMICAL INFORMATION MANAGEMENT UNIT(CIMU) Environmental and Hazardous Waste ManagementChulalongkorn University (EHWM) สถิติที่ไม่มีการ UPDATE มาตั้งแต่ปี 2549 - อะไรเกิดขึ้นของความใส่ใจ http://www.chemtrack.org/Stat.asp?TID=2 เอกสารเกี่ยวกับสารเคมี บัญชีรายชื่อวัตถุอันตราย รวมทุกหน่วยงาน บัญชี ก บัญชี ข ดูแลโดย กรมโรงงานอุตสาหกรรม บัญชี ก ชนิดที่ 1 ชนิดที่ 2 ชนิดที่ 3 ชนิดที่ 4 บัญชี ข ดูแลโดย กรมวิชาการเกษตร บัญชี ก ชนิดที่ 2 ชนิดที่ 3 ชนิดที่ 4 บัญชี ข ดูแลโดย สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา บัญชี ก ชนิดที่ 1 ชนิดที่ 2 ชนิดที่ 3 ชนิดที่ 4 บัญชี ข ดูแลโดย กรมประมง บัญชี ก ชนิดที่ 1 ชนิดที่ 2 ชนิดที่ 3 ชนิดที่ 4 ดูแลโดย กรมปศุสัตว์ บัญชี ก ชนิดที่ 1 ชนิดที่ 3 บัญชี ข ดูแลโดย สำนักงานพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ บัญชี ก ชนิดที่ 3 ดูแลโดย กรมธุรกิจพลังงาน บัญชี ก ชนิดที่ 3 บัญชี ข รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการพัฒนาระบบการตรวจสอบความเคลื่อนไหววัตถุอันตราย ตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย เนื้อหารายงาน ภาคผนวก 1 ภาคผนวก 2 สถานการณ์ระบบข้อมูลสารเคมีและของเสียอันตรายของประเทศไทย พ.ศ. 2545 – 2548 คำนำ สารบัญ ส่วนที่ 1 ส่วนที่ 2 ส่วนที่ 3 เล่มเต็ม Risk Assessment เพื่อการจัดการสารเคมีของประเทศ การกำจัดผลิตภัณฑ์ปนสารปรอทด้วยการเผาอันตรายกว่าที่คิด วิเคราะห์ความเคลื่อนไหวและทิศทางการจัดการสารเคมีในระดับสากลและในประเทศไทย รายงานสถิติการนำเข้าเคมีภัณฑ์อันตราย ประจำปี พ.ศ. 2546 รายงานสถิติการนำเข้าเคมีภัณฑ์อันตราย ประจำปี พ.ศ. 2547 รายงานสถิติการนำเข้าเคมีภัณฑ์อันตราย ประจำปี พ.ศ. 2548 รายงานสถิติการนำเข้าเคมีภัณฑ์อันตราย ประจำปี พ.ศ. 2549 เอกสารเกี่ยวกับของเสียอันตราย รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการนำร่องแนวทางการจัดเก็บข้อมูลวัสดุที่ไม่ใช้แล้วที่เป็นของเสียอันตราย จากโรงงานอุตสาหกรรม จังหวัดสมุทรปราการ เนื้อหารายงาน ภาคผนวก 1 ภาคผนวก 2 ภาคผนวก 3 สถานการณ์ระบบข้อมูลสารเคมีและของเสียอันตรายของประเทศไทย พ.ศ. 2545 – 2548 คำนำ สารบัญ ส่วนที่ 1 ส่วนที่ 2 ส่วนที่ 3 เล่มเต็ม ความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับหลักการขยายความรับผิดชอบของผู้ผลิต แนวคิดการจัดการของเสียอุตสาหกรรมในต่างประเทศ กับทิศทางการพัฒนาการบริหารจัดการในประเทศไทย เอกสารเกี่ยวกับ REACH สาระและข้อคิดเห็นต่อสมุดปกขาวร่างระเบียบของสหภาพยุโรปว่าด้วยสารเคมี และข้อเสนอการเตรียมความพร้อมเกี่ยวกับผลกระทบที่อาจเกิดกับอุตสาหกรรมไทย รายงานสถานการณ์ปัจจุบันของระบียบว่าด้วยสารเคมีของสหภาพยุโรป (REACH Update) เอกสารการเตรียมตัวเพื่อรับการประกาศใช้ระเบียบว่าด้วยสารเคมีของสหภาพยุโรป เอกสารเกี่ยวกับนาโนเทคโนโลยีและความปลอดภัย รายงานฉบับสมบูรณ์ การสำรวจข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับงานวิจัยและนักวิจัยด้านนาโนเทคโนโลยีในประเทศไทย

ทราบว่าเป็นสารอันตรายได้อย่างไร?

เราสามารถทราบว่าสารเคมีที่พบเป็นสารอันตรายหรือไม่ และก่อให้เกิดอันตรายได้อย่างไร? โดยการสังเกตฉลากหรือเครื่องหมาย ซึ่งเป็นเครื่องหมายสากล ที่ติดบนภาชนะบรรจุ ถังเหล็ก แท็งก์ หรือป้ายที่ติดบนรถยนต์หรือรถบรรทุก ดังนี้

วัตถุระเบิด: ระเบิดได้เมื่อถูกกระแทกเสียดสี หรือความร้อน เช่น ทีเอ็นที ดินปืน พลุไฟ ดอกไม้ไฟ

ก๊าซไวไฟ : ติดไฟง่ายเมื่อถูกประกายไฟ เช่น ก๊าซหุงต้ม ก๊าซไฮโดรเจน ก๊าซมีเทน ก๊าซอะเซทีลีน
ก๊าซไม่ไวไฟ, ไม่เป็นพิษ : อาจเกิดระเบิดได้ เมื่อถูกกระแทกอย่างแรก หรือได้รับความร้อนสูงจากภายนอก เช่น ก๊าซออกซิเจน ก๊าซไนโตรเจนเหลว ก๊าซคาร์บอกไดออกไซด์ ก๊าซพิษ : อาจตายไปเมื่อสูดดม เช่น ก๊าซคลอรีน ก๊าซแอมโมเนีย ก๊าซไฮโดรเจนคลอไรด์
ของเหลวไวไฟ : ติดไฟง่ายเมื่อถูกประกายไฟ เช่น น้ำมันเชื้อเพลิง ทินเนอร์ อะซิโตน ไซลิน ของแข็งไวไฟ : ลุกติดไฟง่าย เมื่อถูกเสียดสี หรือความร้อนสูงภายใน 45 นาที เช่น ผงกำมะถัน ฟอสฟอรัสแดง ไม้ขีดไฟ
วัตถุที่ถูกน้ำแล้วให้ก๊าซไวไฟ : เช่น แคลเซียมคาร์ไบด์ โซเดียม วัตถุที่เกิดการลุกไหม้ได้เอง : ลุกติดไฟได้เมื่อสัมผัสกับอากาศภายใน 5 นาที เช่น ฟอสฟอรัสขาว ฟอสฟอรัสเหลือง โซเดียมซัลไฟต์
วัตถุออกซิไดส์ : ไม่ติดไฟแต่ช่วยให้สารอื่นเกิดการลุกไหม้ได้ดีขึ้น เช่น ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ โปแตสเซียมคลอเรต แอมโมเนียม ไนเตรท ออร์แกนิคเปอร์ออกไซด์ : อาจเกิดระเบิดได้เมื่อถูกความร้อนไวต่อการกระทบและเสียดสีทำปฏิกริยารุนแรงกับสารอื่น ๆ เช่น อะซิโตนเปอร์ออกไซด์
วัตถุติดเชื้อ : ;วัตถุที่มีเชื้อโรคปนเปื้อนและทำให้เกิดโรคได้ เช่น ของเสียอันตรายจากโรงพยาบาล เข็มฉีดยาที่ใช้แล้ว เชื้อโรคต่างๆ วัตถุมีพิษ : อาจทำให้เสียชีวิตหรือบาดเจ็บอย่างรุนแรงจากการกิน การสูดดม หรือจาการสัมผัสทางผิวหนัง เช่น อาร์ซีนิค ไซนาไนด์ ปรอท สารฆ่าแมลง สารปรอทศัตรูพืช โหละหนักเป็นพิษ
วัตถุกัมมันตรังสี : วัตถุที่สามารถให้รังสีที่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต เช่น โคบอลต์ เรเดียม วัตถุกัดกร่อน : สามารถกัดกร่อนผิวหนังและเป็นอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจ เช่น กรดเกลือ กรดกำมะถัน โซเดียม โฮดรอกไซด์ แคลเซียมไฮโปคลอไรต์
วัตถุอื่นๆ ที่เป็นอันตราย : เช่น ของเสีย อันตราย แอสเบสทอสขาว เบนซัลดีไฮด์ของเสียปนเปื้อน ไดออกซิน

ก๊าซรั่ว ซ้ำซาก กลิ่นไม่ทันจาง จากแหลมฉบัง รั่วโชว์ กก.4 ฝ่าย มาดูปัญหามาบตาพุด

ก๊าซรั่ว! มาบตาพุด เจ็บกว่า 20 ราย - ตร.เตรียมเอาผิด บ.เอกชน

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 6 ธันวาคม 2552 14:58 น.

ระยอง - เกิดก๊าซรั่วจากเรือขนส่งสินค้า บริเวณท่าเรือมาบตาพุด จ.ระยอง ตั้งแต่บ่ายวันที่ 5 ธ.ค. ล่าสุดวันนี้ชาวบ้านที่อาศัยอยู่บริเวณใกล้เคียงได้รับผลกระทบมีอาการหายใจไม่ออก แน่นหน้าอก แสบตา ตาพร่า จนท.จึงนำส่งรพ.เพิ่มอีก 5 ราย บริษัทเอกชนปิดปากเงียบ ยันไม่มีผู้บาดเจ็บ ด้าน ตร.เตรียมรวบรวมหลักฐานดำเนินคดีตาม กม. ผู้สื่อข่าวรายงานความคืบหน้ากรณีเกิดก๊าซรั่วจากเรือขนส่งสินค้า นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด บริเวณท่าเรือมาบตาพุด จ.ระยอง เมื่อช่วงบ่ายวานนี้ (5 ธ.ค.) ล่าสุดเมื่อช่วงเที่ยงวันนี้ ชาวบ้านที่อาศัยอยู่บริเวณใกล้เคียง ได้รับผลกระทบหายใจไม่ออก แน่นหน้าอก มีอาการแสบตา ตาพร่า เจ้าหน้าที่จึงนำส่งโรงพยาบาลอีก 5 ราย เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อช่วงเวลา 15.00 วานนี้ โดยเรือลำเกิดเหตุได้เคลื่อนเข้าจอดเทียบท่าเพื่อขนถ่ายสินค้า แต่ขณะเคลื่อนเข้าใกล้ เกิดเหตุก๊าซหุงต้มในเรือรั่วออกมา ส่งผลให้ชาวบ้านที่อาศัยบริเวณตะกั่วอ่าวประดู่ และคนงานที่ทำงานอยู่ในขณะนั้นได้สูดดมก๊าซดังกล่าวในระยะใกล้ได้รับบาดเจ็บ จำนวน 18 ราย ทั้งนี้ จากการสอบถาม พ.ต.ท. เวียง วงศ์เพียร รองผู้กำกับการ สภ.มาบตาพุด เปิดเผยว่า หลังเกิดเหตุเจ้าหน้าที่พยายามสอบถามไปยังเจ้าของบริษัทและเรือลำเกิดเหตุ ถึงยอดผู้บาดเจ็บ แต่บริษัทกลับให้การกับเจ้าหน้าที่ว่าไม่มีผู้บาดเจ็บ จนกระทั่งโรงพยาบาลกรุงเทพ-ระยอง แจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจว่ามีผู้บาดเจ็บจากเหตุดังกล่าว ซึ่งขณะนี้ได้รวบรวมหลักฐานเพื่อดำเนินการตามกฎหมายแล้ว ล่าสุด นายสยุมพร ลิ่มไทย ผู้ว่าราชการ จ.ระยอง เปิดเผยถึงความคืบหน้า ว่า จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น มีประชาชนและคนงานที่ทำงานอยู่ในขณะนั้น สูดดมก๊าซดังกล่าวในระยะใกล้ชิด จึงได้รับบาดเจ็บด้วยอาการหายใจไม่ออก แน่นหน้าอก แสบตา และตาพร่า ถูกส่งตัวเข้ารับการรักษายังโรงพยาบาลกรุงเทพฯ-ระยอง ตั้งแต่ช่วงเกิดเหตุ รวม 20 ราย ล่าสุดวันนี้ แพทย์อนุญาตให้ผู้ป่วยกลับบ้านแล้ว 15 ราย ส่วนอีก 5 ราย ส่วนใหญ่เป็นเด็ก และผู้สูงอายุ แพทย์ให้นอนพักรักษาตัวที่โรงพยาบาล เพื่อรอดูอาการอีกระยะ อย่างไรก็ตาม ได้สั่งการให้สาธารณสุขจังหวัด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ลงพื้นที่ตรวจติดตามอาการผู้ป่วยทั้ง 15 ราย อีกประมาณ 1 สัปดาห์ ผู้ว่าราชการ จ.ระยอง กล่าวอีกว่า เจ้าหน้าที่สำนักงานการนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ได้เข้าไปตรวจวัดระดับก๊าซในอากาศ บริเวณที่เกิดเหตุแล้ว โดยไม่พบมีกลิ่นก๊าซตกค้าง ส่วนสาเหตุการเกิดก๊าซรั่วไหลครั้งนี้ สำนักงานท่าเรือจะต้องเข้าไปตรวจสอบว่า กรณีปัญหาเซฟตี้วาล์วรั่วนั้น เกิดจากความบกพร่องของคนงาน หรือจากสาเหตุใด

ไฟลุกไหม้ถังเก็บสารเคมี 10 ใบโรงงานกำจัดกากอุตสาหกรรม “เจนโก้‏” โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 7 ธันวาคม 2552 10:24 น. ระยอง - ไฟไหม้ถัง 200 ลิตร เก็บเศษกาวปนกับสารตัวทำละลายเกิดปฏิกิริยาเกิดไฟลุกไหม้หมดรวม 10 ถัง เมื่อเวลา 20.30 น.คืนที่ผ่านมา (6 ธ.ค.) พ.ต.ท.พงษ์ศักดิ์ คดีธรรม สารวัตรเวร สภ.ห้วยโป่ง จ.ระยอง รับแจ้งมีเหตุเพลิงไหม้ภายในบริษัท บริหารและพัฒนาเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม จำกัด (มหาชน) หรือเจนโก้ เลขที่ 5 ต.ห้วยโป่ง อ.เมืองระยอง เป็นโรงงานกำจัดกากอุตสาหกรรม พร้อมแจ้งรถดับเพลิงเทศบาลเมืองมาบตาพุดมาที่เกิดเหตุจำนวน 3 คันมาสกัดเพลิงไม่ให้ลุกลาม ใช้เวลาเพียง 10 กว่านาทีก็สามารถดับเพลิงได้ หลังเกิดเหตุ นายพีระวัฒน์ รุ่งเรืองศรี ผอ.สำนักงานการนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด พร้อมด้วยนายวีระศักดิ์ เพิ่มแพงพันธ์ ผอ.นิคมอุตสาหกรรมเหมราชตะวันออกเดินทางมาดูที่เกิดเหตุ นายสมบัติ ปิยะสัจบูรณ์ ผจก.โรงงานเจนโก้ พาสื่อมวลชนเข้าไปดูจุดเกิดเหตุ พบถังขนาด 200 ลิตร จำนวน 10 ใบ บรรจุขยะเศษกาวและสารตัวทำละลายปนกันอยู่ โดยไม่ทราบสาเหตุได้เกิดเพลิงลุกไหม้ ไฟลุกไหม้ขยะกาวและสารตัวทำละลายทั้ง 10 ใบจนหมด เจ้าหน้าที่ได้ใส่น้ำเต็มถังไว้ โดยไม่มีใครได้รับบาดเจ็บแต่อย่างใด นายสมบัติกล่าวว่า ทางโรงงานหยุดรับบำบัดขยะกากอุตสาหกรรมตั้งแต่วันที่ 30 พฤศจิกายนที่ผ่านมา คาดว่าขยะที่รอการบำบัดในโรงงานจะกำจัดหมดเรียบร้อยไม่เกินวันที่ 20 ธันวาคมนี้ แล้วโรงงานก็ปิดดำเนินการ สาเหตุน่าจะเกิดจากเศษกาวทำปฏิกิริยากับสารตัวทำละลาย จึงเกิดเพลิงลุกไหม้ กลิ่นเหม็น-ขยะกองโตฟ้อง “อานันท์” คาตาขณะลงมาบตาพุด โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 6 ธันวาคม 2552 16:24 น. คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้น ระยอง - “อานันท์" ลงพื้นที่มาบตาพุด พบขยะและกลิ่นเหม็นของสารเคมีด้วยตัวเอง พร้อมติงหน่วยงานรัฐ ไม่ดูแลเท่าที่ควร ชี้ด้านผู้ประกอบการและนักลงทุนขาดจิตสำนึก ทำให้ปัญหาเกิดขึ้น ส่วนประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนฝากคณะ 4 ฝ่ายแก้ไขให้เกิดเป็นรูปธรรม วันนี้ (6 ธ.ค.) นายอานันท์ ปันยารชุน ประธานคณะกรรมการ 4 ฝ่าย และคณะกรรมการฯประกอบด้วย นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ รองนายกรัฐมนตรี นายประสาร มฤคพิทักษ์ ส.ว.สรรหา กรุงเทพมหานคร นายสุทธิ อัชฌาศัย ผู้ประสานงานเครือข่ายประชาชนภาคตะวันออก ที่ร่วมเป็นคณะกรรมการภาคประชาชน เดินทางไปรับฟังปัญหาในพื้นที่ โรงเรียนบ้านหนองแฟบ เทศบาลเมืองมาบตาพุด โดยมีนายสยุมพร ลิ่มไทย ผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง, นายวิรัต รัตนวิจิตร นายอำเภอเมืองระยอง, นายสมพงษ์ โสภณ นายกเทศมนตรีเมืองมาบตาพุด พร้อมด้วยตัวแทนชุมชนและชาวบ้านกว่า 200 คน ที่จะนำเสนอปัญหาความเดือดร้อนที่ได้รับผลกระทบจากโรงงานนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด มาชี้แจงให้คณะกรรมการได้รับทราบถึงปัญหา ก่อนที่จะมีการพูดคุยและรับฟังปัญหาจากตัวแทนชุมชนหนองแฟบและพื้นที่ใกล้เคียงนั้น นายอานันท์ได้กล่าวว่า สำหรับคณะกรรมการ 4 ฝ่ายที่ลงพื้นที่ในครั้งนี้เพื่อลงมาดูสภาพพื้นที่และปัญหาที่แท้จริง และความรู้สึกนึกคิดของประชาชนมาบตาพุดและพื้นที่ใกล้เคียงที่ได้รับผลกระทบจากมลภาวะจากโรงงานอุตสาหกรรม และผู้ที่ได้รับประโยชน์จากโรงงานอุตสาหกรรม ดังนั้นการมีโรงงานอุตสาหกรรมเกิดขึ้น มีทั้งผู้ที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย จึงต้องมารับฟังความเห็นของทั้งสองฝ่าย อย่างไรก็ตาม ทางคณะกรรมการไม่ได้เป็นผู้ตัดสินและชี้ขาดในปัญหาต่างๆ เพียงแต่นำข้อมูลต่างๆ มาไตร่ตรอง หลังจากนั้นจะนำข้อมูลเสนอรัฐบาล “คณะกรรมการชุดนี้ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการยุติธรรม แต่ทางคณะมีหน้าที่ดำเนินการ เพื่อจะไปวิเคราะห์และแนะนำรัฐบาลว่าควรจะมีการปฏิบัติการอย่างไร เพื่อให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญมาตรา 67 วรรคสอง ขั้นตอนการดำเนินการ การสร้างกลไก เรื่ององค์กรอิสระรับฟังความเห็น หรือขบวนการในการจัดทำศึกษาและประเมินผลกระทบที่ร้ายแรงของอุตสาหกรรม” นายอานันท์กล่าว นายอานันท์กล่าวต่อไปว่า การลงพื้นที่ในครั้งนี้ 2 สิ่งที่ตนสังเกตุและการสัมผัสได้ ไม่ใช่เพียงแต่รับฟังอย่างเดียว เช่น เมื่อคืนวันที่ 5 ธันวาคม เวลาประมาณ 23.30 น.ที่โรงแรมภูริมาศ ซึ่งเป็นโรงแรมที่คณะกรรมการพักค้างคืน ตนได้เดินออกมานอกโรงแรม ได้กลิ่นเหม็นไข่เน่า มาเป็นระยะ ๆ แต่ไม่ทราบว่ามาจากที่ไหน และจากโรงงานใด นอกจากนั้นในช่วงเช้านี้ (6 ธ.ค.) ที่จะเดินทางมารับฟังปัญหาจากตัวแทนชุมชนที่โรงเรียนบ้านหนองแฟบ ได้พบเห็นมะพร้าวยอดไม่สวยงาม, ใบแห้งเหี่ยว และยังได้กลิ่นเหม็นอีกเช่นกัน แต่ไม่ใช่กลิ่นไข่เน่า เหมือนเมื่อคืนที่โรงแรม แต่อาจจะเป็นกลิ่นเหม็นของมูลไก่หรือมันสำปะหลังก็ได้ ซึ่งเรื่องนี้ เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบควรที่จะต้องเข้าไปตรวจสอบติดตามว่าเกิดจากอะไร “ผมเป็นห่วงมาก คือ ระบบราชการ เช่น การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ได้ดูแลสิ่งเหล่านี้มากน้อยแค่ไหน โดยควรจะต้องเข้าไปตรวจสอบแล้วว่ากลิ่นต่างๆนั้นมาจากไหน หรือโรงงานใด ซึ่งควรจะต้องเข้าไปจัดการทันที โดยไม่ต้องรอรัฐบาลสั่งการลงมานอกจากนั้นที่บริเวณชายหาดน้ำริน อ.บ้านฉาง คณะของคณะกรรมการฯเดินออกกำลังกายบริเวณชายหาด ได้พบกองขยะกองใหญ่มาก ดังนั้นจึงมองว่า เรื่องมลภาวะไม่ได้เกิดจากโรงงานอุตสาหกรรมอย่างเดียว หน่วยงานในพื้นที่ เช่น เทศบาล ต้องเข้ามาดูแลด้วย ซึ่งปัญหาต่างๆเป็นปัญหาของสังคมที่ควรจะต้องได้รับการแก้ไข” ตัวแทนชุมชนมาบตาพุด เสนอปัญหา คณะกรรมการฯ นายธนะรัช พรหมมานนท์ ประธานชุมชนเนินพะยอม กล่าวว่า ปัญหามลพิษเป็นเรื่องละเลยของรัฐบาลและทุกรัฐบาลที่ผ่านมา ในความเป็นจริงปัญหาน่าจะคลี่คลายได้แต่เพราะมีการเปลี่ยนรัฐบาลบ่อย จึงไม่มีการสานต่อ ที่ผ่านมาคนมาบตาพุดไม่มีน้ำประปาใช้ทั้งที่เป็นเมืองอุตสาหกรรมมีความเจริญเติบโตรวดเร็วมาก แต่ประชาชนอยู่กันด้วยความลำบาก นอกจากนี้ ไฟฟ้าก็ตกบ่อยครั้ง หรือเพราะว่าระยองไม่มี ส.ส.เป็นรัฐมนตรี พวกเรา อยากเห็นการพัฒนาอุตสาหกรรมควบคู่ไปพร้อมๆ กันกับการดูแลประชาชน เพราะคนมาบตาพุดเสียสละกันมามากพอแล้ว ด้าน นางนิตยา แสงศิริ ประธานชุมชนห้วยโป่งใน-สะพานน้ำท่วม กล่าวว่า ต้องการให้มีการจัดตั้งกองทุนสิ่งแวดล้อม มีการดูแลเรื่องสวัสดิการของชาวบ้านที่ดีกว่านี้ เพราะที่ผ่านมามีกองทุนเป็นตัวเงินลงมาในพื้นที่ก็มีปัญหาแตกแยกเกิดขึ้น ดังนั้นจะทำอย่างไรให้เงินกองทุนโดยเฉพาะด้านสวัสดิการตกถึงมือชาวบ้านโดยตรง ซึ่งเป็นความหวังของชาวบ้าน ไม่ใช่มองแต่เรื่องของผลประโยชน์ ด้านธุรกิจการอย่างเดียว นอกจากนั้น โรงงานอุตสาหกรรมที่อยู่นอกนิคมฯ ที่ไม่ได้อยู่ในความรับผิดชอบของการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ล่าสุดรั้วโรงงานอยู่ติดกับบ้านเรือนของประชาชน ซึ่งขาดหน่วยงานที่รับผิดชอบอย่างจริงจัง โดยเฉพาะอุตสาหกรรมจังหวัดเป็นผู้ดูแลก็มีงานมาก เมื่อแจ้งปัญหาที่เกิดขึ้นให้ทราบ แต่กว่าจะมาดูแลก็ไม่ทันต่อเหตุการณ์แล้ว ดังนั้น ควรจะต้องมีมาตรการในการดูแลส่วนนี้ด้วย โดยชาวบ้านไม่ได้คัดค้านไม่ให้มีโรงงานอุตสาหกรรมเกิดขึ้น แต่เมื่อเกิดขึ้นแล้วควรดูแลให้ดีด้วย ด้าน นายรัชชยุทธ วงศ์ภุชชงค์ ประธานชุมชนซอยร่วมพัฒนา กล่าวว่าเมื่อเย็นวันที่ 5 ธันวาคม ที่ผ่านมาได้เกิดเหตุการณ์แก๊สรั่วบริเวณ มาบตาพุดแท็งก์ มีชาวประมงอ่าวประดู่ได้รับผลกระทบกลิ่นเหม็นต้องหามส่งโรงพยาบาล ล่าสุดอาการยังไม่ดีขึ้น ส่วนชุมชนซอยร่วมพัฒนา อยู่ใกล้โรงกลั่นน้ำมัน sprc มีเพียงถนนกั้นเท่านั้น ซึ่งพวกเรามองว่าแนวกันชนในกลุ่มโรงงานอุตสาหกรรม น้อยเกินไป ฝากให้ช่วยดำเนินการเรื่องแนวกันชนให้มากขึ้น นอกจากนั้น ในการพัฒนากรณีผังเมือง มีการแก้ไขสีผังเมืองมาโดยตลอด เช่น จากสีเขียวและเหลือง ก็มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงเป็นสีม่วง ปัญหาจึงส่งผลกระทบต่อชุมชน เพราะโรงงานเข้ามาก่อสร้างในเขตชุมชน นายน้อย ใจตั้ง ชาวบ้านผู้ได้รับผลกระทบฯ กล่าวว่า ปัญหาคนในพื้นที่มาบตาพุด ได้รับความเดือดร้อนมาโดยตลอด โดยมีการเวนคืนที่ดินอย่างต่อเนื่อง เช่น พื้นที่วัด ,พื้นที่ป่าช้า ก็ถูกเวนคืน ซึ่งไม่ทราบว่าจะไปอยู่ที่ไหนกันแล้ว ดังนั้นขอให้หน่วยงานหรือคณะของท่าน เข้ามาแก้ไขอย่างจริงจัง โดยไม่ใช่แต่เพียงจะมุ่งสร้างแต่โรงงานอุตสาหกรรม โดยไม่ดูปัญหาหรือผลกระทบที่จะเกิดขึ้นเลย เช่น โรงพยาบาลและแพทย์ในการดูแลผู้ป่วย มีน้อยมากไม่เพียงพอกับความต้องการของประชาชนในพื้นที่ เนื่องจากประชาชนในพื้นที่มีเพียงไม่กี่หมื่นคน แต่ประชากรแฝง มีสูงถึง 2-3 เท่า จึงมีการดูแลผู้ป่วยได้ไม่ทั่วถึง ด้าน นายเจริญ เดชคุ้ม กล่าวว่า การลงทุนในพื้นที่มาบตาพุดนั้น สร้างความเจริญและเศรษฐกิจดี แต่ได้เฉพาะคนมีธุรกิจหรือมีเงินเท่านั้น โดยคนในพื้นที่ไม่ได้ประโยชน์ในการเข้ามาลงทุนซักเท่าไร นอกจากนั้น คนที่เข้ามาทำงานหรือเข้ามาลงทุนก็เป็นคนจากทีอื่นและเอื้อประโยชน์ให้กับคนที่อื่นแทบทั้งสิ้น ดังนั้นโครงการที่จะมาลงใหม่ก็ควรจะไปลงทุนที่จังหวัดอื่นแทน และอย่างมาลงทุนที่มาบตาพุดหรือจังหวัดระยองอีกเลย เพราะปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นชาวระยองได้รับผลกระทบอย่างเต็มที่ เช่น ชายหาดที่สวยงามหายไป, ต้นทุนด้านสิ่งแวดล้อมหายไป จึงไม่ควรให้มีการก่อสร้างอีกต่อไป นางณัฐธยา ศิริสุข ชุมชนบ้านฉาง กล่าวว่า ประชาชนในอำเภอบ้านฉาง ก็ได้รับผลกระทบจากโรงงานอุตสาหกรรม เช่น จากนิคมฯเอเชีย และโรงงานฯ อินโดราม่า ซึ่งได้รับกลิ่นเหม็นมาโดยตลอดและส่งผลกระทบ ทำให้ประชาชนและเด็กเจ็บป่วย แต่ที่ผ่านมาทางโรงงานก็มีการแก้ไข แต่ก็ไม่เป็นไปตาม EIA. เพราะการทำ EIA.ในเบื้องต้นก็ไม่โปร่งใสเท่าที่ควร ปัญหาต่างๆ จึงไม่สามารถแก้ไขให้หมดไปได้ นอกจากนี้ พื้นที่บริเวณบ้านฉางก็มีการเปลี่ยนสีของผังเมือง จากพื้นที่สีเขียวก็เป็นสีม่วง ประมาณ 400 ไร่ ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวอยู่ติดกับบ้านเรือนของประชาชน และในอนาคตจะมีโรงงานเกิดขึ้นอย่างแน่นอน และเมื่อโรงงานดังกล่าวเกิดขึ้นชาวบ้านคงจะได้รับผลกระทบอย่างแน่นอน เพราะรั้วโรงงานจะอยู่ติดกับรั้วชาวบ้านเลย นายวิรัตน์ มีทรัพย์สุข ตัวแทนชาวบ้านจากแม่น้ำคู้ อำเภอปลวกแดง กล่าวว่า ชาวบ้านอำเภอปลวงแดง หวั่นปัญหาจะเกิดขึ้นในอนาคต เพราะบริเวณดังกล่าว มีอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ เช่น อ่างเก็บน้ำหนองปลาไหล ,อ่างเก็บน้ำดอกกราย หากมีโรงงานอุตสาหกรรมเกิดขึ้นและอยู่เหนืออ่างเก็บน้ำ ปัญหาก็ต้องเกิดขึ้นอย่างแน่นอน ดังนั้น จึงฝากคณะกรรมการ 4 ฝ่าย ดูแลผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตด้วยหากมีโรงงานเกิดขึ้น เพราะไม่ใช่เกิดผลกระทบเพียงจังหวัดระยองเท่านั้น จังหวัดชลบุรี และจังหวัดใกล้เคียงก็ต้องได้รับผลกระทบ เนื่องจากใช้น้ำจากอ่างเก็บน้ำดังกล่าวด้วย หลังที่รับฟังความคิดเห็นจากตัวแทนชาวบ้านจากหลายหลายพื้นที่ นายอานันท์ได้กล่าวสรุปว่า ข้อเท็จจริงต่างๆ นั้น เป็นประโยชน์ต่อคณะกรรมการฯเป็นอย่างมาก โดยตัวแทนชาวบ้านได้ออกมาแสดงอย่างเปิดเผยและมองเห็นภาพต่างๆที่ได้รับฟัง แต่ปัญหาต่างๆ นั้นไม่ได้อยู่ในอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการฯที่จะเข้าไปดูแล แต่อย่างไรก็ตามในคณะนี้ มีฝ่ายรัฐบาลคือ นายกอร์ปศักดิ์ สภาวะสุ รองนายกรัฐมนตรี มีฝ่ายประชาชน, ฝ่ายนักวิชาการอิสระ โดยหลังจากนี้ทางคณะกรรมการก็จะมาพูดคุยกัน เพื่อหาจุดยืนร่วมกัน เพื่อเป็นบทสรุปร่วมกัน เสนอรัฐบาลต่อไป ก๊าซรั่วรับคณะกรรมการ 4 ฝ่ายบาดเจ็บเพียบ หลังจากนั้นในช่วงเวลา 10.00 น. ทางคณะ 4 ฝ่าย ได้เดินทางไปยังการนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด เพื่อไปรับฟังการบรรยายสรุป โดยมี ดร.วีระพงษ์ ไชยเพิ่ม รองผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เป็นผู้กล่าวรายงาน โดยใช้เวลาประมาณ 30 นาที หลังจากนั้น ทางคณะกรรมการและหน่วยงานที่รับผิดชอบได้ซักถาม แผนงานต่างๆที่การนิคมฯ โดยเฉพาะกรณีที่มีสารรั่วไหล ที่ท่าเทียบเรือมาบตาพุด เมื่อวานนี้ (5 ธ.ค.) มีการวางแผนงานในเรื่องนี้อย่างไร ดร.วีระพงษ์ ชี้แจงว่า สารที่รั่วไหล คือ ก๊าซบิวเทนวัน (ก๊าซหุงต้ม) เนื่องจากเรือที่มารับสินค้าบริเวณเซฟตี้วาล์ว ชำรุด ทำให้ก๊าซรั่วและฟุ้งกระจายเป็นพื้นที่กว้าง ทำให้ประชาชนบริเวณอ่าวประดู่ได้รับผลกระทบและนำตัวส่งโรงพยาบาล จำนวน 17 ราย และสามารถกลับบ้านได้ 12 ราย มีเพียง 5 คน ที่ต้องนอนรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาล ซึ่งทางการนิคมฯและบริษัทฯได้เข้าไปดูแลและช่วยเหลือแล้ว นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ กล่าวถึงปัญหาก๊าซรั่วไหล ทางการนิคมฯ ไม่แจ้งหรือประกาศให้ประชาชนหรือหน่วยงานใดได้รับทราบเรื่องเลย โดยเฉพาะแพทย์ไม่ทราบเรื่องเลย เพราะหากทราบเรื่องอาจจะเข้าไปช่วยเหลือได้ เพราะเรื่องเกิดขึ้นประมาณ 13.00 น. แต่หน่วยงานต่างๆหรือรัฐบาล ทราบเรื่องเกือบ 1 ทุ่ม หากเป็นสารเคมีที่รุนแรงกว่านี้จะทำอย่างไร ซึ่งเรื่องนี้ต้องมีการปรับปรุงแก้ไข ด้าน นายอานันท์กล่าวเสริมว่า ปัญหาดังกล่าว ตนเป็นห่วงมาก เพราะหากเกิดขึ้นแล้วและยังปฏิบัติตามขั้นตอนต่างๆที่ล่าช้าและไม่ทันท่วงที แล้วประชาชนจะไว้ใจการนิคมฯได้อย่างไร ดังนั้น หน่วยงานจะต้องแก้ภาพลักษณ์เหล่านี้ เพื่อให้ประชาชนได้ไว้วางใจ หากจะมีโรงงานเกิดขึ้น หากเป็นเช่นนี้แล้วประชาชนจะไว้วางใจได้อย่างไรหากมีการลงทุนเพิ่มขึ้นมากกว่านี้ ซึ่งปัญหาต่างๆ ตนเป็นห่วงศักยภาพในการรองรับไม่มีการวางแผนในการรองรับแต่อย่างไรเลย หลังได้ฟังหน่วยงานที่รับผิดชอบชี้แจง ด้าน นายสุทธิ อัชฌาศัย หนึ่งในคณะกรรมการภาคประชาชน กล่าวว่า ที่ผ่านมาการดำเนินการของการนิคมแห่งประเทศไทยนั้น มีบทบาทหน้าที่ยังไม่ถูกต้องเท่าที่ควร เพราะมี 2 บทบาทในองค์กรเดียวกัน คือ 1.เชิญนักลงทุนมาลงทุน และ 2.เป็นผู้ควบคุมโรงงานด้วย เพราะ 2 บทบาทนี้ไม่สามารถทำได้เลย นอกจากนั้นมีการเรียกร้องข้อมูลต่างๆ จากการนิคมฯ เช่น ปัญหาเกิดกลิ่นเหม็นหรือมลพิษจากโรงงานอุตสาหกรรมรั่วไหลออกมา โดยไม่สามารถทราบได้เลยว่ามาจากโรงงานไหน ปัญหาดังกล่าวทำให้ประชาชนไม่ไว้วางใจ เพราะเรียกร้องมานานให้นำข้อมูลดังกล่าวมาเผยแพร่ให้ประชาชนหรือองค์กรต่างๆ ได้รับทราบ เพื่อร่วมกันวางแนวทารงในการแก้ไข แต่ก็ไม่ได้รับความร่วมมือเลย

รายชื่อ 65โครงการ มาบตาพุด ที่ศาลสั่งระงับและให้ไปทำให้ถูกต้อง

วันพฤหัสบดีที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2552 10:52 จากไทยโพสต์ รายชื่อจากเดลินิวส์ ศาลปกครองสูงสุด ให้อีก 11 โครงการให้ดำเนินการต่อ ด้านสมาคมลดภาวะโลกร้อนน้อมรับคำสั่งศาล, รอ 181โครงการหากเพิกเฉยจะฟ้องต้นปี 53 ศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งให้แก้ไขคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวให้ระงับโครงการลงทุน 76 โครงการในมาบตาพุดไว้ก่อน โดยให้ 11โครงการที่ไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ และคุณภาพชีวิตของประชาชนสามารถเดินหน้าได้ ได้แก่ โครงการประเภท การคมนาคม, พลังงานสะอาด และโครงการที่ปรับปรุงคุณภาพสิ่งแวดล้อมหรือลดมลภาวะ เป็นต้น โครงการที่สามารถเดินหน้าได้ 11 โครงการในบัญชีรายชื่อ 76 โครงการ ได้แก่ โครงการอุตสาหกรรม หมายเลข 16, 22, 37, 41, 45, 50, 54 และ โครงการคมนาคม หมายเลข 2, 3, 4, 6 ส่วนโครงการที่เหลือ โดยเฉพาะโครงการประเภทปิโตรเคมี, ท่อส่งฯ, เหล็ก, โรงไฟฟ้า และกำจัดของเสีย ให้ระงับไว้ก่อนตามคำสั่งเดิม เพราะเชื่อว่าจะเป็นโครงการที่ส่งผลกระทบรุนแรง อย่างไรก็ตาม หากในอนาคตโครงการที่เหลือมีการดำเนินการภายใต้ มาตรา 67 วรรค 2 ตามรัฐธรรมนูญปี 50 แล้ว ก็สามารถยื่นขอออกจากคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวได้ในภายหลัง ด้าน นายศรีสุวรรณ จรรยา นายกสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน น้อมรับคำสั่งศาลปกครองสูงสุดในวันนี้ เนื่องจากเห็นว่าทั้ง 11 โครงการลงทุนในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดที่ศาลอนุญาตให้ดำเนินการต่อนั้นไม่ได้ส่งผลกระทบด้านมลพิษ แต่โครงการอื่นๆ ที่เหลืออีก 65 โครงการ ก็ไม่ได้เป็นการปิดกั้นการลงทุน หากดำเนินตามขั้นตอนครบถ้วนตามที่รัฐธรรมนูญมาตรา 67 วรรค 2 กำหนดไว้ ก็สามารถจะยื่นขอออกจากมาตรการคุ้มครองชั่วคราวได้ในภายหลัง "ยอมรับ เป็นไปตามคาดว่าศาลจะคุ้มครองในเรื่องของสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชน ไม่เฉพาะแต่โครงการในมาบตาพุดเท่านั้น แต่ยังครอบคลุมไปยังพื้นที่ทั่วประเทศด้วย"นายศรีสุวรรณ ระบุ ส่วนการตรวจสอบโครงการลงทุนอีก 181 โครงการทั่วประเทศนั้น ทางสมาคมฯ ได้ทำหนังสือแจ้งให้เจ้าของโครงการไปดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายแล้ว ซึ่งจะรอเวลาประมาณ 1 เดือนเพื่อสรุปผล หากโครงการใดเพิกเฉยที่จะปฏิบัติตามกฎหมาย สมาคมฯ จะดำเนินการตามแนวทางของศาลปกครองที่ได้ให้ไว้ในวันนี้ต่อไป "หลังปีใหม่จะพิจารณา หากโครงการใดยังเพิกเฉยก็จะดำเนินการตามแนวทางที่ศาลปกครองให้ได้" นายศรีสุวรรณ กล่าว นายศรีสุวรรณ ยังออกมาเรียกร้องให้คณะกรรมการกฤษฎีกาชุดที่ 1 และชุดที่ 5 ออกมาแสดงความรับผิดชอบ หลังจากได้วินิจฉัยว่าโครงการลงทุนในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดทั้ง 76 โครงการสามารถดำเนินการต่อไปได้ เนื่องจากยังไม่มีกฎหมายลูกออกมา ซึ่งการวินิจฉัยของกฤษฎีกาดังกล่าว ถือว่าขัดต่อคำสั่งของศาลปกครองสูงสุดในวันนี้ เพราะแม้ยังไม่มีกฎหมายกำหนดในรายละเอียดเรื่องนั้นๆ ก็ตาม แต่ตามเจตนารมย์ของกฎหมายจะต้องคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนในเรื่องของสุขภาพ และสิ่งแวดล้อม ด้านนายสุทธิ อัชฌาศัย ผู้ประสานงานเครือข่ายประชาชนภาคตะวันออก ระบุว่า ยอมรับได้และพอใจกับคำตัดสินของศาลปกครองสูงสุดในวันนี้ และคำตัดสินดังกล่าวก็เป็นไปตามที่ทางเครือข่ายฯ ได้คาดการณ์ไว้แล้ว ซึ่งศาลปกครองสูงสุดได้ดำเนินการไปตามรัฐธรรมนูญเพื่อไม่ให้ประชาชนและชุมชนในมาบตาพุดต้องได้รับความเดือดร้อน อีกทั้ง 11 โครงการลงทุนที่ศาลเห็นควรให้ดำเนินการต่อไปได้นั้น มีการประเมินแล้วว่าเป็นโครงการที่ช่วยลดมลพิษให้แก่ชุมชนได้ นายสุทธิ กล่าวว่า การตัดสินของศาลปกครองสูงสุดถือว่าเป็นการตัดสินที่ดีที่สุดแล้ว และต้องการให้เป็นแบบอย่างในการปฏิบัติแก่ภาครัฐต่อไปในอนาคตสำหรับการพิจารณาอนุมัติโครงการลงทุนในนิคมอุตสาหกรรมต่างๆ ที่จำเป็นต้องคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม ตลอดจนให้ความสำคัญกับสุขภาพอนามัยของประชาชนในชุมชนด้วย
หน้ามืด ! 65 โครงการ ติดหล่ม มาตรา 67 Thu, 12/03/2009 - 10:10 by info ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ 2 ธ.ค. 52 - บริษัทยักษ์มึนตึบ ศาลปกครองสูงสุด สั่งเบรก ประชาชาชาติธุรกิจออนไลน์ ตรวจสอบ รายชื่อ 65 โครงการหรือกิจกรรมที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงทั้งทางด้าน คุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพในพื้นที่มาบตาพุด บ้านฉาง และจังหวัดระยองที่ไม่ปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 มาตรา 67 วรรคสอง และพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550 ซึ่งศาลปกครองสูงสุด สั่งยืนตามศาลปกครองชั้นต้น ว่าให้ระงับโครงการต่อไป เมื่อวันที่ 2 ธันวาคมที่ผ่านมาโครงการทั้ง 65 โครงการ มี 3 กลุ่ม มีรายชื่อ ดังนี้ @ ประเภทอุตสาหกรรม1. โครงการส่วนขยายโรงงานผลิตเม็ดพลาสติกชนิดความหนาแน่นสูง (BPEX) ตั้งที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด อ.เมือง จ.ระยอง เจ้าของโครงการ บริษัท บางกอกโพลีเอททีลีน จำกัด (มหาชน)2. โครงการขยายส่วนผลิตเหล็กเส็นปรับสภาพผิว ตั้งที่ส่วนอุตสาหกรรมเอสเอสที อ.บ้านค่าย จ.ระยอง เจ้าของโครงการ บริษัท จี สตีล จำกัด (มหาชน)3. โครงการโรงงานผลิตสารเอทานอลเอมีน ที่ตั้ง นนิคมอุตสาหกรรมเหมราชตะวันออก (มาบตาพุด) จ.ระยอง เจ้าของโครงการ บริษัท ไทยเอทานอล เอมิน จำกัด4. โครงการโรงงานผลิตอี่พอกซี่เรซิน (ส่วนขยาย) ตั้งที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด อ.เมือง จ.ระยอง เจ้าของโครงการ บริษัท อดิตยา เบอร์ล่า เคมีคัลส์ (ประเทศไทย) จำกัด5. โครงการโรงงานเหล้กโครงสร้างรูปพรรณและเข็มพืดเหล็กกล้ารีดร้อน ตั้งที่นิคมอุตสาหกรรมเหมราชตะวันออก (มาบตาพุด) อ.เมือง จ.ระยอง เจ้าของโครงการ บริษัท เหล็กสยามยามาโตะ จำกัด6. โครงการโรงงานผลิตแผ่นเหล็กเคลือบผิส่วนขยายตั้งที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด อ.เมือง จ.ระยอง เจ้าของโครงการ บริษัท สยามแผ่นเหล็กวิลาส จำกัด7. โครงการโรงแยกก๊าซธรรมชาติ หน่วยที่ 6 ตั้งที่ ต.มาบตาพุด อ.เมือง จ.ระยอง เจ้าของโครงการ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)8. โครงการขยายโรงงานผลิตเหล็กแผ่นไร้สนิมรีดเย็น ระยะที่ 3 ตั้งที่ส่วนอุตสาหกรรมระยอง จ.ระยอง เจ้าของโครงการ บริษัท ไทยน๊อกซ์ สแตนเลส จำกัด (มหาชน)9. โครงการขยายการผลิตเหล็กลวดสลักเกลียวและเหล็กเส้นกลม ตั้งที่กิ่ง อ.นิคมพัฒนา จ.ระยอง เจ้าของโครงการ บริษัท ไทยคูน เวิลด์ไวด์กรุ๊ป (ประเทศไทย จำกัด (มหาชน)10. โครงการโรงงานผลิตเอทธิลีนออกไซด์ และเอทธิลีนไกลดอล (ส่วนขยาย) ตั้งที่นิคมอุตสาหกรรมเหมราชตะวันออก (มาบตาพุด) จ.ระยอง เจ้าของโครงการ บริษัท ทีโอซี ไกลคอล จำกัด11. โครงการโรงงานผลิตสารอะคริไลไนไตรล์และสารเบทิลเมตะตริเลต ตั้งที่นิคมอุตสาหกรรมเหมราชตะวันออก (มาบตาพุด) อ.เมือง จ.ระยอง เจ้าของโครงการ บริษัท พีทีที อาซาฮี เคมิคอล จำกัด12. โครงการโรงงานผลิตบิสฟีนอลเอ ตั้งที่นิคมอุตสาหกรรมเหมราชตะวันออก (มาบตาพุด) อ.เมือง จ.ระยอง เจ้าของโครงการ บริษัท พีทีที ฟีนอล จำกัด13. โครงการขยายกำลังการผลิตโทลิคาร์บอเนตของโรงงานที่ 2 ตั้งที่ นิคมอุตสาหกรรมผาแดง ต.มาบตาพุด อ.เมือง จ.ระยอง14. โครงการผลิตเมธิลเเมตาคลีเลต โรงงานที่ 2 ตั้งที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด อ.เมือง จ.ระยอง เจ้าของโครงการ บริษัท ไทย เอ็มเอ็มเอ จำกัด15. โครงการขยายกำลังการผลิต โพลีเอททิลีน ตั้งที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด อ.เมือง จ.ระยอง เจ้าของโครงการ บริษัท สยามโพลีเอททิลีน จำกัด16. โครงการขยายกำลังการผลิตผงพลาสติกโพลีไวนิลคลอไรด์ สายการผลิตที่ 8 และสายการผลิตที่ 9 ตั้งที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จ.ระยอง เจ้าของโครงการ บริษัท ไทยพลาสติกและเคมีภัณฑ์ จำกัด17. โครงการขยายกำลังการผลิตไวนิลคลอไรด์ไบโนเมอร์ของโรงงานที่ 1 และโรงงานที่ 2 ตั้งที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด อ.เมือง จ.ระยอง เจ้าของโครงการ บริษัท ไทยพลาสติกและเคมีภัณฑ์ จำกัด18. โครงการโรงงานผลิตสารโพรพิลีนออกไซด์และสารโพรพิลีนไกลคอล ตั้งที่นิคมอุตสาหกรรมเอเชีย อ.บ้านฉาง จ.ระยอง เจ้าของโครงการ บริษัท เอ็มพีที เอชทีพีไอ แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด19. โครงการขยายกำลังการผลิตโพลิเอทิลีน 50,000 ตัน/ปี ตั้งที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด อ.เมือง จ.ระยอง เจ้าของโครงการ บริษัท ปตท.เคมีคอล จำกัด (มหาชน)20.โครงการนิคมอุตสาหกรรมเหมราชตะวันออก (มาบตาพุด) ส่วนขยายตั้งที่ ต.มาบตาพุด อ.เมืองระยอง เจ้าของโครงการ การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยร่วมกับบริษัทอิสเทิร์น อินดัสเตรียลเอสเตท จำกัด21.โครงการโรงงานผลิตสารฟีนอล ตั้งที่นิคมอุตสาหกรรมเหมราชตะวันออก (มาบตาพุด) อ.เมือง จ.ระยอง เจ้าของโครงการ บริษัท พีทีที ฟีนอล จำกัด22.โครงการหน่วยผลิตอิพิคอ ลโรไฮดีรนำร่อง (BCH Pilot Plant) ตั้งที่นิคมอุตสาหกรรมเหมราชตะวันออก (มาบตาพุด) อ.เมือง จ.ระยอง เจ้าของโครงการ บริษัท อดิตยา เบอร์ล่า เคมีคัลส์ (ประเทศไทย) จำกัด (คลออัลคาลี ดิวิชั่น)23.โครงการโรงงาน ผลิตสารอะคริไลไนไตรล์ และสารเมทิลเมตะคริเลต ตั้งที่นิคมอุตสาหกรรมเหมราชตะวันออก (มาบตาพุด) อ.เมือง จ.ระยอง เจ้าของโครงการ บริษัท พีทีที อาซาฮี เคมิคอล จำกัด24. โครงการโรงงานผลิตโพลิเอททิลีน ตั้งที่นิคมอุตสาหกรรมเอเชีย อ.บ้านฉาง จ.ระยอง เจ้าของโครงการ บริษัท สยามโพลิเอททิลีน จำกัด25. โครงการขยายกำลังการผลิตบิสฟีนอลเอ 280,000 ตันต่อปี ตั้งที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด อ.เมือง จ.ระยอง เจ้าของโครงการ บริษัท ไบเออร์ไทย จำกัด26. โครงการนิคมอุตสาหกรรมเหมราช อีสเทิร์นซีบอร์ด (ส่วนขยาย) ตั้งที่ ต.ตาสิทธิ์ อ.ปลวกแดง จ.ระยอง เจ้าของโครงการ การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ร่วมกับบริษัทเหมราช อีสเทิร์นซีบอร์ด อินดัสเตรียลเอสเตท จำกัด27. โครงการส่วนขยายโรงงานคลอร์อัลคาไลและปรับปรุงการผลิตโรงงานของไวมิล ตั้งที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด อ.เมือง จ.ระยอง เจ้าของโครงการ บริษัท วีนิไทย จำกัด (มหาชน)28. โครงการขยายกำลังการผลิตโพลิเอทีลีน (การติดตั้งหน่วยผลิต Compound Production Unit) ตั้งที่ นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด อ.เมือง จ.ระยอง เจ้าของโครงการ บริษัท ปตท.เคมิคอล จำกัด (มหาชน)29. โครงการโรงงานผลิตบีสฟีนอลเอ ตั้งที่นิคมอุตสาหกรรมเหมราชตะวันออก (มาบตาพุด) อ.เมือง จ.ระยอง เจ้าของโครงการ บริษัท พีทีที ฟีนอล จำกัด30. โครงการโรงงานผลิตเหล็ก ถลุงหลอมเหลว และโรงงานผลิตเหล็กแท่ง ตั้งที่ ต.แม่น้ำคู้ อ.ปลวกแดง จ.ระยอง เจ้าของโครงการ บริษัท AISCO RESOURCES PIE จำกัด31. โครงการโรงงานผลิต NBR LATEX ตั้งที่ ต.ห้วยโป่ง อ.เมือง จ.ระยอง เจ้าของโครงการ บริษัท กรุงเทพ ซินอิติกส์ จำกัด32. โครงการเพิ่มกำลังการผลิตไนล่อน ตั้งที่เขตประกอบการอุตสาหกรรมไออาร์พีซี ต.ตะพง อ.เมือง จ.ระยอง เจ้าของโครงการ บริษัท อูเบะ ไนล่อน (ประเทศไทย) จำกัด33. โครงการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดวิธีการจัดการ PTA และ CTA ของโครงการผลิต พีทีเอ สายการผลิตที่ 3 (กำลังการผลิตรวมภายหลังการขยายกำลังการผลิตเท่ากับ 1,460,000) ที่ตั้งนิคมอุตสาหกรรมเหมราชตะวันออก (มาบตาพุด) อ.เมือง จ.ระยอง เจ้าของโครงการ บริษัท สยามมิตซุย พีทีเอ จำกัด34. โครงการโรงงานผลิตเหล็กเส้น (ส่วนขยาย) ตั้งที่ ต.นิคมพัฒนา อ.นิคมพัฒนา จ.ระยอง เจ้าของโครงการ บริษัท ซี อาร์ พี สตีล จำกัด35. โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตโรงงาน อะโรเมติกส์ หน่วยที่ 1 ระยะที่ 3 ตั้งอยู่ที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด อ.เมือง จ.ระยอง เจ้าของโครงการ บริษัท ปตท.อะโรเมติกส์และการกลั่น จำกัด (มหาชน)36. การเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการติดตั้ง DME Removal Unit และ Hybrocarbon Scrubber ตั้งอยู่ที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด อ.เมือง จ.ระยอง เจ้าของโครงการ บริษัท กรุงเทพ ซินธิติกส์ จำกัด Bangkok Syntheties Co.,Ltd.37. โครงการขยายกำลังการผลิตฟอร์มัลดิไฮด์และยูเรียฟอร์มัลดีไฮด์ ตั้งอยู่ที่นิคมอุตสาหกรรมเหมราชตะวันออก (มาบตาพุด) อ.เมือง จ.ระยอง เจ้าของโครงการ บริษัท วนชัย เคมีคอล อินดัสทรี่ส์ จำกัด38. โครงการโรงงานผลิตสารโพรพิลีนออกไซด์และสารโพรพิลีนไกลคอล ตั้งอยู่ที่นิคมอุตสาหกรรมเอเชีย อ.บ้านฉาง จ.ระยอง เจ้าของโครงการ บริษัท เอ็มทีพี เอชพีทีโอ แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด39.โครงการโรงงานผลิตโพลิเอ ททิลีน ตั้งอยู่ที่นิคมอุตสาหกรรมเอเชีย อ.บ้านฉาง จ.ระยอง เจ้าของโครงการ บริษัท สยามเลเทกซ์สังเคราะห์ จำกัด40. โครงการโรงงานผลิตเม็ดพลาสติก โพลิเอททิลีน ชน้ดความหนาแน่นสูง โดยการเพิ่มเติมหน่วยเตรียมดะตะลีสต์และหน่วยผลิต Pipe Compound ตั้งอยู่ที่นิคมอุตสาหกรรมเหมราชตะวันออก (มาบตาพุด) อ.เมือง จ.ระยอง เจ้าของโครงการ บริษัท ไทยโพลิเอททิลีน จำกัด41. โครงการปรับปรุงโรงผลิตสารโอเลฟินส์สาขา ถนนไอ-สี่ (ก่อสร้างเตาแคร๊กกิ้งสำรอง) ตั้งอยู่ที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด อ.เมือง จ.ระยอง เจ้าของโครงการ บริษัท ปตท.เคมิคอล จำกัด (มหาชน)42. โครงการโรงงานผลิตสารอะคริโลไนไตรล์และสารเมทิลเมตะคริเลต ตั้งอยู่ที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด อ.เมือง จ.ระยอง เจ้าของโครงการ บริษัท พีทีที เคมิคอล จำกัด43. โครงการโรงงานผลิตสารอะคริโลไนไตรล์และสารเมทิลเมตะคริเลต ตั้งอยู่ที่นิคมอุตสาหกรรมเหมราชตะวันออก (มาบตาพุด) อ.เมือง จ.ระยอง เจ้าของโครงการ บริษัท พีทีที อาซาฮี เคมิคอล จำกัด44.โครงการส่วนขยาย โรงงานผลิตเม็ดพลาสติกชนิดความหนาแน่นสูง (BPEX) (จากการติดตั้งหน่วยผลิต Compound Production Unit สายการผลิตที่ 2 ชั่วคราวในพื้นที่ บริษัท บางกอกโพลิเอททีลีน จำกัด (มหาชน) ตั้งอยู่ที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด อ.เมือง จ.ระยอง เจ้าของโครงการ บริษัท บางกอกโพลิเอททีลีน จำกัด (มหาชน)45. โครงการเพิ่มกำลังการผลิตโรงงานผลิต Polyethylene Terephthalate (PET) ตั้งอยู่ที่นิคมอุตสาหกรรมเหมราชตะวันออก (มาบตาพุด) อ.เมือง จ.ระยอง เจ้าของโครงการ บริษัท ไทย เพ็ท เรซิน จำกัด46.โครงการขยายกำลังการ ผลิตโพลีคาร์บอเนต 275,000 ตันต่อปี ตั้งอยู่ที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด อ.เมือง จ.ระยอง เจ้าของโครงการ บริษัท ไบเออร์ไทย จำกดั47. โครงการปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตโรงงาน โอเลฟินส์ ตั้งอยู่ที่นิคมอุตสาหกรรม อาร์ ไอ แอล อ.เมือง จ.ระยอง เจ้าของโครงการ บริษัท เอสซีจี เคมิคอลล์ จำกัด48.โครงการผลิตเม็ดพลาสติกโพลีเอททีลีน โดยเพิ่มประเภทผลิตภัณฑ์ โพลีโพร ไพลีนและนำสารอินทรีย์ระเหยง่ายกลับมาใช้ใหม่ ที่โรงงาน HDPE#1 ตั้งอยู่ที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด อ.เมือง จ.ระยอง เจ้าของโครงการ บริษัท ไทยโพลีเอททีลีน จำกัด49.โครงการนิคมอุตสาหกรรม อาร์ ไอ แอล (ส่วนขยาย) ตั้งอยู่ที่เทศบาลเมืองมาบตาพุด อ.เมือง จ.ระยอง เจ้าของโครงการ การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ร่วมกับ บริษัท อาร์ ไอ แอล 1996 จำกัด50. โครงการเปลี่ยนแปลงขนาดพื้นที่โครงการผลิตเหล็กแผ่นรีดเย็น เหล็กแผ่นเคลือบโลหะ และเหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี ตั้งอยู่ที่นิคมอุตสาหกรรมเหมราชตะวันออก ต.มาบตาพุด อ.เมือง จ.ระยอง บริษัท บลูสโคป สตีล (ประเทศไทย) จำกัด51.โครงการเพิ่มกำลังการผลิตโรง งานผลิตยางสังเคราะห์ ตั้งอยู่ที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด อ.เมือง จ.ระยอง เจ้าของโครงการ บริษัท บี เอส ที อิลาโคเมอร์ส จำกัด52. โครงการโรงงานผลิตก๊าซไฮโดรเจน ตั้งอยู่ที่นิคมอุตสาหกรรมเอเชีย อ.บ้านฉาง จ.ระยอง เจ้าของโครงการ บริษัท เอ็มทีพี เอชพี เจวี (ประเทศไทย) จำกัด53. โครงการขยายกำลังการผลิตพลาสติก โพลีไวนิลคลอไรด์ สายการผลิตที่ 5, 6 และ 8 ตั้งอยู่ที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด อ.เมือง จ.ระยอง เจ้าของโครงการ บริษัท ไทยพลาสติกและเคมีภัณฑ์ จำกัด (มหาชน)54.โครงการเขตอุตสาหกรรม ไอพีพี ตั้งอยู่ที่ตำบลมะขามคู่ กิ่ง อ.นิคมพัฒนา จ.ระยอง เจ้าของโครงการ บริษัท ไอ.พี.พี.(ไทยแลนด์) จำกัด55. โครงการโรงงานผลิตเหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี ตั้งอยู่ที่นิคมอุตสาหกรรมเหมราช อีสเทิร์นซีบอร์ด อ.ปลวกแดง จ.ระยอง56. โครงการโรงงานผลิตเหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี ตั้งอยู่ที่นิคมอุตสาหกรรมเหมราช อีสเทิร์นซีบอร์ด อ.ปลวกแดง จ.ระยอง เจ้าของโครงการ บริษัท เจเอฟอี สตีล กัลวาไนซิ่ง (ประเทศไทย) จำกัด57. โครงการสวนอุตสาหกรรมปลวกแดง ตั้งอยู่ที่ตำบลมาบยางพร อ.ปลวกแดง จ.ระยอง เจ้าของโครงการ บริษัท สวนอุตสาหกรรมปลวกแดง จำกัด58.โครงการ ศูนย์บริการกำจัดของเสียอุตสาหกรรม ตั้งอยู่ที่ ต.มาบยางพร อ.ปลวกแดง จ.ระยอง เจ้าของโครงการ บริษัท สยามเอ็มไวรอนเมนทอลเทคโนโลยี จำกัด @ ประเภทคมนาคม59.โครงการ ขยายท่าเทียบเรือขนถ่ายสารปิโตรเคมีและคลับเก็บวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ ตั้งที่ นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จ.ระยอง เจ้าของโครงการ บริษัท มาบตาพุด แทงค์ เทอร์มินัล จำกัด60. โครงการขยายท่าเทียบเรือขนถ่ายสารปิโตรเคมี (ท่าเทียบเรือหมายเลข 4) และคลับเก็บวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ ตั้งอยู่ที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด อ.เมือง จ.ระยอง เจ้าของโครงการ บริษัท มาบตาพุด แทงค์ เทอร์มินัล จำกัด @ ประเภทพลังงาน61.โครงการ โรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม ตั้งที่ นิคมอุตสาหกรรมอีสเทิร์นซีบอร์ด (ระยอง) อ.ปลวกแดง จ.ระยอง เจ้าของโครงการ บริษัท โกลว์ เหมราช พลังงาน จำกัด62. โครงการท่อส่งก๊าซธรรมชาติไปยังบริษัท พีทีที ยูทิลิตี้ จำกัด บริษัท อะโรเมติกส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) และบริษัท มาบตาพุด โอเลฟินส์ จำกัด เจ้าของโครงการ บริษัท อะโรเมติกส์ (ประเทศไทย) จำกัด63. โครงการโรงไฟฟ้าเพื่ออุตสาหกรรม ตั้งที่ นิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ (ระยอง) อ.ปลวกแดง จ.ระยอง เจ้าของโครงการ บริษัท อมตะ สตรีม ซัพพลาย จำกัด64.โครงการ ท่อส่งสารปิโตรเคมี ตั้งที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด อ.เมือง จ.ระยอง เจ้าของโครงการ บริษัท สไตรีน โอโนเมอร์ จำกัด บริษัท สยามโพลิเอททิลีน จำกัด และบริษัท ระยองโอลิฟินส์ จำกัด65. โครงการศูนย์สาธารณูปการกลางแห่งที่ 2 ตั้งที่ ตงมาบตาพุด อ.เมือง จ.ระยอง เจ้าของโครงการ บริษัท พีพีที ยูทิลิตี้ จำกัด

วันศุกร์ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2552

HIA Procedure and Details

สารเคมีไม่ใช่เชื้อโรคที่จะมียาฆ่าหรือต้าน ที่ทำได้คือการแก้หรือบรรเทา เช่นเจอกรดก้อเอาด่างไปใส่ เจอด่างก้อเอากรดไปใส่ เพื่อให้เกิดความป็นกลางหรือทำให้เจือจางลง ดังนั้น อุตสาหกรรมที่ส่งผลกระทบกับสุขภาพ จึงต้องให้ความสนใจเรื่องการทำ HIA ประกอบกับงานด้าน EIA ไม่ใช่เป็นความต้องการของรัฐธรรมนูญ แต่เป็นเรื่องของทั่วโลกเขาก้อให้ความใส่ใจ โดยเฉพาะสหภาพยุโรป การที่นักลงทุนไม่เข้าใจ จึงเป็นประเด็นที่บอกว่า ถ้าคิดจะมาลงทุน ก้อจำเป็นที่ต้องเข้าใจข้อกำหนดต่างๆ ด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ เมื่อก่อนประเทศไทยก้อไม่มีการทำ EIA แต่ต่อมาภายหลังที่ประเทศพัฒนาแล้วให้ความใส่ใจปัญหาสิ่งแวดล้อมข้อกำหนดต่างๆ จึงเกิดขึ้น ในเมื่อเราเป็นประเทศที่เอาตามอย่าง เพราะฉะนั้น จึงไม่ต้องห่วงว่า เขาจะไม่เข้าใจ การเปลี่ยนฐานการลงทุน เพื่อไปในประเทศที่มีกฎเกณฑ์ต่ำ สุดท้าย ก้อจะหนีไม่พ้นการที่ไปสร้างปัญหาให้กับพื้นที่อื่นอยู่ดี การทำให้ถูกต้อง เป็นเรื่องที่ถูกต้อง เสียเวลาเสียเงิน ทำให้ถูกต้อง เพื่ออนาคตของโครงการต่างๆ ที่จะมีตามมาด้วย ค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมที่ทุกคนที่เกี่ยวข้องต้องให้ความใส่ใจ กับการทำงานที่มีความต้องการปฏิบัติตามข้อกำหนดของ EIA-HIA-SAFETY-QA/QC งานในภูมิภาคอื่นข้อกำหนดต่างๆ เอาแค่ความปลอดภัยในการทำงาน กับงานคุณภาพ ดูเหมือนว่าจะเพิ่มต้นทุนและความยุ่งยากในการทำงานไม่ใช่น้อย แต่คราวนี้เพิ่มขึ้นมาอีก 2 ส่วน ดังนั้น จำเป็นจะต้องมาดูว่า จะต้องมีค่าใช้จ่ายอะไรเพิ่มขึ้นมาบ้าง ถ้าไม่มีการเตรียมค่าใช้จ่ายส่วนนี้ไว้ สุดท้ายก้อทำโดยการหลีกเลี่ยง กฎหมายควรกำหนดว่าทุกโครงการต้องมีการเตรียมค่าใช้จ่ายส่วนนี้ให้ชัดเจน เพราะถ้าไม่มีก็จะเป็นการเปิดช่องให้มีการหลีกเลี่ยงในที่สุด
Introduction Health impact assessment (HIA) is a tool for facilitating the intersectoral action that has been advocated by policies such as health for all and Agenda 21 for years. HIA is defined as “a combination of procedures, methods and tools by which a policy, programme or project may be judged as to its potential effects on the health of a population, and the distribution of those effects within the population.”1 HIA goes beyond providing information – it aims to influence decisions and the people who make them. HIA’s participatory approach brings together people from a range of sectors, and from the community to consider how a proposed policy, programme or project may positively or negatively impact on health. As such, it is an important tool for raising awareness of the wide range of economic, social and environmental influences that determines health. Some milestones in HIA 1981 Establishment of PEEM (Panel of Experts in Environmental Management for vector control) by WHO, FAO and UNEP.1 1984 Start of the HIA component as part of annual EIA training at the Centre for Environmental Impact Assessment and Management in Aberdeen (partly sponsored by WHO Europe). Annual sessions continued up to the beginning of the 1990s.2 1986 WHO meeting on the Health and Safety component of environmental impact assessment (22). 1988 Analysis of the methodological and substantive issues affecting human health considerations by the Monitoring and Assessment Research Centre, London (23). 1989 First edition of the Guidelines for forecasting the vector-borne disease implications of water resources development by PEEM (24). 1991 Survey on HIA/EIA practice in Canada (25). 1992 Handbook for practitioners on environmental and health impact assessment of development projects (26). 1992 Asian Development Bank guidelines for the health impact assessment of development projects (27). 1993 Quebec Framework for HIA/EIA, including a section on social impact assessment (28). 1994 Australian national framework for environment and health impact assessment (29). 1994 Publication of the German Framework on HIA/EIA (30). 1997 Update on HIA in the Environmental Assessment Sourcebook of the World Bank (12). 1998 Publication on health and environmental impact assessment by the British Medical Association (31). 1998 HIA Section at the International Association for Impact Assessment. 1999 Gothenburg Consensus Paper on HIA (32). 2000 The Canadian handbook on health impact assessment – a work in progress (33). 2000 Memorandum of Understanding between the International Association for Impact Assessment and the World Health Organization.
The HIA process has the potential to: • Increase awareness about the health effects of plans for transport, the built environment housing, social services, education, etc. • Establish a shared understanding of health (in the context of sustainable development) among a wide range of stakeholders. • Create a sense of responsibility for health among sector representatives, while providing a clear process for taking action to improve health. • Identify interventions to minimize negative and maximize positive health outcomes, based on intersectoral action. • Place health at the heart of policy-making. • Provide a systematic approach for integrating the principle of equity into decision making. • Provide a better understanding of local needs for public services and the way they are used, enabling sectors to better target resources. • Highlight opportunities to coordinate actions across sectors.
Guiding Principles for HIA Adapted from: Quigley R, den Broeder L, Furu P, Bond A, Cave B, Bos R. Health Impact Assessment International Best Practice Principles. Fargo, USA: International Association of Impact Assessment, 2006. Democracy – emphasizing the right of people to participate in the formulation and decisions of proposals that affect their life, both directly and through elected decision makers. In adhering to this value, the HIA method should involve and engage the public, and inform and influence decision makers. A distinction should be made between those who take risks voluntarily and those who are exposed to risks involuntarily (World Health Organization, 2001). Equity – emphasizing the desire to reduce inequity that results from avoidable differences in the health determinants and/or health status within and between different population groups. In adhering to this value, HIA should consider the distribution of health impacts across populations, paying specific attention to vulnerable groups and recommend ways to improve the proposed development for affected groups. Sustainable development – emphasizing that development meets the needs of the present generation without compromising the ability of future generations to meet their own needs. In adhering to this value, the HIA method should judge short- and long-term impacts of a proposal and provide those judgments within a time frame to inform decision makers. Good health is the basis of resilience in the human communities that support development. Ethical use of evidence – emphasizing that transparent and rigorous processes are used to synthesize and interpret the evidence, that the best available evidence from different disciplines and methodologies is utilized, that all evidence is valued, and that recommendations are developed impartially. In adhering to this value, the HIA method should use evidence to judge impacts and inform recommendations; it should not set out to support or refute any proposal, and it should be rigorous and transparent. Comprehensive approach to health – emphasizing that physical, mental and social well-being is determined by a broad range of factors from all sectors of society (known as the wider determinants of health). In adhering to this value, the HIA method should be guided by the wider determinants of health.