2 ตัวอย่าง มหันตภัยด้านล่างนี้ เป็นข้ออ้างอิงให้เห็นประจักษ์ว่า เมื่อเกิดเหตุขึ้นแล้ว ยากที่จะควบคุม จนสร้างความเสียหายใหญ่ ในกรณีโรงแยกก๊าซใหม่ ปตท. เองที่ชี้แจงต่อสาธารณะด้วยการชี้แจงแจ้งเท็จ ทั้งยังนำให้อัยการมานำเสนอศาล ว่าได้ตรวจสอบทั้งหมดแล้วอย่างต่อเนื่อง และมีขบวนการตรวจสอบอย่างดีหลังจากการก่อสร้างนั้น แท้ที่จริงไม่มี รวมทั้งกรณีที่อ้างว่าได้ตรวจสอบกับทางกลุ่มพิทักษ์อากาศสดชื่นแล้ว ไม่พบความผิดปกติแต่อย่างใด และกรณีที่ทางกลุ่มฯ เสนอให้มีการตรวจสอบ 10 ปีหรือตลอดอายุการใช้งานนั้น ไม่เป็นความจริง เพราะทางกลุ่ม เสนอให้ตั้ง คณะกรรมการที่มาจาก 3 ส่วนงาน คือ 1. ปตท. 2. การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และ 3. กรรมการส่วนที่กลุ่มฯ นำเสนอ ซึ่งเป็นวิศวกรโยธาที่ร่วมในการก่อสร้างฐานรากโรงแยกก๊าซใหม่ ทั้ง 2 แห่ง ทั้งกำหนดกรอบการตรวจสอบร่วม 3 ฝ่าย แค่ระยะต้นและระยะกลางเท่านั้น คือ 3 ปี แต่ในระยะต่อไป ปตท. กับ การนิคมอุตสาหกรรม ต้องร่วมกันตรวจสอบต่อ ตามกรอบการตรวจสอบ-ซ่อมสร้างที่ร่วมทำกันไว้ ระยะเวลา 10 ปี หรือตลอกอายุการใช้งาน การที่อ้างว่าทางกลุ่มฯ หาผลประโยชน์ โดยเสนอค่าตอบแทนคณะกรรมการเป็นอัตราเงินเดือน เทียบเท่าทั่วไปกับพนักงาน ปตท. นั้น เพราะวิศวกรโยธาที่จะนำมาร่วมตรวจสอบ ยังคงทำงานอยู่กับ บริษัทอิตาเลี่ยนไทย และโรงงานที่ระบุ ขอให้ตรวจสอบ-เสริมสร้างความแข็งแรง มี 3 โครงการซึ่งมีฐานรากจำนวนหลายพัน ซึ่งในส่วนบุคลากรเพิ่มเติม ขึ้นอยู่กับปริมาณงานที่ต้องตรวจสอบด้วย ซึ่งกรอบคณะกรรมการ ทำเพื่อเป็นตุ๊กตา เพื่อให้ทั้ง 3 ฝ่ายได้ร่วมการพิจารณาจะปรับหรือขยับอย่างไร แต่ทาง คณะกรรมการตรวจสอบที่ ส่วนธุรกิจก๊าซ ของ ปตท. ตั้งขึ้นไม่มาร่วมประชุม ตามการร้องขอ และจะดันทุรังเดินหน้า ทดสอบระบบโรงแยกก๊าซอีเทนต่อไป ขบวนการตรวจสอบจึงไม่มีการดำเนินการฯ และสุดท้ายนำมาเสนอฟ้องศาลปกครอง
....
คำชี้แจงแจ้งเท็จ-ปกปิดข้อมูล การสร้างมหันตภัยใหญ่หลวงของภาคอุตสาหกรรม ไม่ใช่เพิ่งเกิด และเกิดบ่อยๆ เช่นกรณี ปตท.สผ. ก้อเป็นแบบนั้น - ชัดเจนถึงความประมาทมักง่าย ไร้ความรับผิดชอบ โดยอ่านจากข้อตำหนิต่างๆ จาก ประเทศที่ได้รับผลกระทบ แม้กรณีนี้ คนไทย ไม่ได้การรับรู้ เพราะสื่อมวลชนไทย ปกปิดข่าวกันหมด …
กระทรวงทรัพยากรและพลังงานของออสเตรเลีย ออกมาเปิดเผยรายงานของคณะกรรมการสอบสวนเหตุการณ์มอนทารา (Montara Commission of Inquiry’s Final Report and Findings) กรณีเกิดเหตุระเบิดที่แท่นขุดเจาะน้ำมันในแหล่งมอนทารา ทางเหนือของประเทศออสเตรเลีย ซึ่งบริษัท พีทีทีอีพี ออสตราเลเซีย (พีทีทีอีพี เอเอ) บริษัทในเครือบริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท.สผ. เป็นผู้รับสัมปทาน
สรุปว่า "สาเหตุทางตรง" ของเหตุการณ์นี้ คือ “ความไม่แข็งแรง และต่ำกว่ามาตรฐานที่ ปตท. กำหนดขึ้นเองอีกด้วย”
1. การติดตั้งฉนวนซีเมนต์ ที่บ่อผิดพลาดในเดือนมีนาคม 2009 (หลังจากที่ ปตท.สผ. เข้าซื้อกิจการแล้ว) ส่งผลให้ฉนวนดังกล่าวด้อยประสิทธิภาพในการป้องกันเหตุระเบิด
2. ความล้มเหลวของ พีทีทีอีพี เอเอ และแอตลัส (บริษัทผู้รับจ้างบริหารบ่อน้ำมันนี้) ที่ไม่ได้ตระหนักว่าฉนวนมีปัญหา และไม่ได้ทดสอบฉนวนอย่างที่ควรทำ โดยพีทีทีอีพี เอเอ เป็นฝ่ายผิดมากกว่าแอตลัส เนื่องจากเป็นผู้ควบคุมบ่อโดยตรงตามข้อตกลง ความล้มเหลวเหล่านี้ไม่เป็นไปตามระเบียบปฏิบัติที่ได้รับอนุมัติจากหน่วยงานกำกับดูแล อีกทั้งยังไม่เป็นไปตามมาตรฐานการก่อสร้างบ่อน้ำมันที่พีทีทีอีพี เอเอ เป็นผู้กำหนดเองอีกด้วย
การสืบสวนของ พีทีทีอีพี เอเอ เอง ในการหาสาเหตุของเหตุระเบิดก็ "บกพร่องอย่างชัดแจ้ง" จนถึงระดับที่ "ไร้ความรับผิดชอบและให้อภัยไม่ได้" อีกทั้งยัง "ทำให้ผู้กำกับดูแลเข้าใจผิดอย่างมหันต์" ตลอดระยะเวลา 6 เดือน และเมื่อบริษัทได้รับข้อมูลที่บ่งชี้ความไม่แข็งแรงของบ่อหลังเกิดเหตุแล้วก็ไม่ได้ส่งข้อมูลนั้นต่อให้กับผู้กำกับดูแล พฤติกรรมเหล่านี้ชี้ให้เห็นว่าบริษัททำตัวแย่มาก ถึงแม้จะไม่มีหลักฐานที่พิสูจน์ว่าบริษัทจงใจส่งข้อมูลเท็จหรือข้อมูลที่ทำให้เข้าใจผิดแก่ผู้กำกับดูแล ยิ่งไปกว่านั้น คณะกรรมการยังพบหลักฐานว่าบริษัทพร้อมที่จะให้ข้อมูลก็ต่อเมื่อข้อมูลนั้นเป็นประโยชน์ต่อบริษัท และปิดบังข้อมูลด้วยเหตุผลเดียวกัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น