ทั้งด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อมทรัพยากรธรรมชาติ และสุขภาพในพื้นที่มาบตาพุด บ้านฉาง จ.ระยอง อย่างต่อเนื่องจำนวน 9 โครงการ ซึ่งเป็นโครงการขนาดใหญ่ของอุตสาหกรรมปิโตรเคมี อุตสาหกรรมเหล็ก อุตสาหกรรมผลิตกระแสไฟฟ้าและถ่านหินและก๊าซ การสร้างท่าเทียบเรือและการทำเหมืองแร่ ที่ทำให้เกิดปัญหากระทบต่อสภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ และสุขภาพของประชาชน
จึงขอให้มีคำพิพากษาให้ สผ. ผู้ถูกฟ้องที่ 1 เพิกถอนรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมหรือ EIA ของโครงการหรือกิจกรรมที่อยู่ในพื้นที่จ.ระยองที่ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการผู้ชำนาญการฯ แล้ว โดยให้นำกลับมาดำเนินการให้ครบถ้วนตามรธน. ปี50 มาตรา 67 วรรคสอง และ พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550 และขอให้ยุติการรับเรื่องหรือรายงาน EIA ของผู้ประกอบการใดๆส่งมาให้พิจารณาไว้เป็นการชั่วคราวจนกว่าผู้ประกอบการทุกรายจะได้ดำเนินการให้ครบถ้วนตามรธน.ฯ แล้ว , ขอให้ผู้ถูกฟ้องทั้ง 9 เพิกถอนใบอนุญาตรวมทั้งระงับการดำเนินกิจกรรมใดๆ ของโครงการหรือกิจกรรมที่เข้าข่ายเป็นโครงการหรือกิจกรรมที่ได้จัดทำรายงาน EIA ที่อยู่ในพื้นที่ จ.ระยอง ซึ่งอาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง ที่ผู้ถูกฟ้องทั้ง 9 ได้เห็นชอบอนุญาตไปแล้ว เพื่อนำกลับมาดำเนินการให้ครบถ้วนตามรธน.ฯ และพ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติฯ และขอให้ผู้ถูกฟ้องทั้ง 9 สั่งผู้ประกอบการหรือเจ้าของโครงการ หรือกิจกรรม กลับไปดำเนินการตามรธน. และพ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติฯ ให้ถูกต้องโดยให้ศึกษาและประเมินผลกระทบด้านสุขภาพหรือ HIA ของประชาชนในชุมชน ที่โครงการหรือกิจกรรมนั้นไปก่อตั้งตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมเห็นชอบ จัดให้มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็น ของประชาชนอย่างทั่วถึงและรอบด้าน ตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกำหนด และให้องค์กรอิสระที่มีผู้แทนองค์การเอกชนด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ สถาบันอุดมศึกษาที่จัดการศึกษาด้านสิ่งแวดล้อมให้ความเห็นประกอบก่อนมีการดำเนินการ
โดยผู้ฟ้องทั้ง 35 คน ขอให้ศาลมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวก่อนคำพิพากษา ให้สั่งผู้ถูกฟ้องทั้ง 9 หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องระงับโครงการไว้ก่อนจนกว่าจะได้ดำเนินการตามรธน.ฯ มาตรา 67 วรรคสอง ให้ครบถ้วน ตามเจตนารมณ์ของ รธน. ฯ.และพ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ ฯ ให้ถูกต้องเสียก่อน
ซึ่งศาลได้ไต่สวนคู่ความทั้ง 2 ฝ่ายแล้วเห็นว่า ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า การที่ผู้ฟ้องอ้างว่าจะได้รับความเดือดร้อนเสียหายจากโครงการหรือกิจกรรมตามคำฟ้องนั้น ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า ผู้ฟ้องได้จัดส่งแผนที่แสดงที่ตั้งที่พักอาศัยของผู้ฟ้องให้ศาลเพียง 23 ราย ซึ่งข้อเท็จจริงตามรายละเอียดของโครงการหรือกิจกรรมหรือแผนที่แสดงที่ตั้ง ตามฟ้องแสดงให้เห็นว่า มี 4 โครงการ ประกอบด้วย โครงการเหมืองแร่ชนิดแร่ทรายแก้ว ตั้งอยู่ ต.ซากพง อ.แกลง จ.ระยอง โครงการโรงงานผลิตเหล็กเส้น ตั้งอยู่ อ.มาบข่า อ.นิคมพัฒนา จ.ระยอง โครงการอ่างเก็บน้ำห้วยโสมง ตั้งอยู่ ต.แก่งดินสอ อ.นาดี จ.ปราจีนบุรี และโครงการด้านโรงไฟฟ้าพลังความร้อน โรงงานไทยเนชั่นแนล พาวเวอร์ ตั้งอยู่ในเขตประกอบการสยามอีสเทิร์นอินดัสเตรียลพาร์ค ต.มาบยางพร อ.ปลวกแดง จ.ระยอง ตั้งอยู่ในพื้นที่จังหวัดอื่น อำเภออื่น ไม่ได้อยู่ใกล้กับที่ตั้งที่พักอาศัยของผู้ฟ้อง 23 ราย ขณะที่บางโครงการใน 4 โครงการดังกล่าวจะต้องได้รับใบอนุญาตประกอบโลหกรรม ตามพ.ร.บ.แร่ พ.ศ.2510 แต่ในปัจจุบันยังไม่ได้มีการยื่นคำขอใบอนุญาตประกอบโลหกรรมต่อเจ้าพนักงานอุตสาหกรรมแร่ในท้องถิ่น
นอกจากนี้ยังพบว่ามี 2 โครงการที่อยู่ระหว่างดำเนินการ โดยยังไม่ได้ประกอบกิจการ คือโครงการท่าเทียบเรือขนถ่ายสินค้าเหลว บริเวณชายหาดหนองแฟบ ต.มาบตาพุด จ.ระยอง ที่เป็นโครงการก่อสร้างท่าเทียบเรือขนาดเกินกว่า 500 ตันกรอสส์ และยังไม่ได้ยื่นขออนุญาตสร้างสิ่งล่วงล้ำลำน้ำต่ออธิบดีกรมเจ้าท่าผู้ถูกฟ้องที่ 7 เนื่องจากสำนักงานนโยบายและแผนธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ยังไม่เห็นชอบรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม โดยแจ้งให้ปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมรายละเอียด และให้นำเสนอเพื่อดำเนินการตามขั้นตอน พ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 และโครงการโรงไฟฟ้าพลังความร้อนของบริษัทเก็คโค-วัน จำกัด ตั้งอยู่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด อ.เมือง จ.ระยอง ปัจจุบันก็อยู่ระหว่างการก่อสร้าง โดยดำเนินการก่อสร้างแล้วร้อยละ 55 ของโครงการทั้งหมด
ขณะที่พบว่ามีโครงการเข้าข่ายมีการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดในโครงการเดิม รวม 3 โครงการ คือโครงการโรงงานผลิต Purified Terephathalic Acid ( PTA ) ตั้งอยู่นิคมอุตสาหกรรมเอเซีย อ.บ้านฉาง จ.ระยอง เป็นโครงการที่ปรับปรุงระบบน้ำปราศจากแน่ธาตุ เพื่อนำน้ำที่ผ่านการใช้งานมาแล้วปรับปรุงคุณภาพให้หมุนเวียนกลับมาใช้ได้ใหม่ , โครงการโรงงานผลิตอีทอกซิเลท ตั้งอยู่นิคมอุตสาหกรรมตะวันออกมาบตาพุด อ.เมือง จ.ระยอง ที่ขอเปลี่ยนแปลงพื้นที่โครงการจากเดิม 10 ไร่ หรือ 16,000 ตารางเมตรเป็น 12 ไร่ 19,200 ตารางเมตร เพื่อให้สอดคล้องกับข้อเท็จจริงในสัญญาเช่าที่ดิน และขอปรับเปลี่ยนสัดส่วนของการใช้วัตถุดิบหลัก หรือการเติมสารเคมีเพื่อให้หยุดปฏิกิริยาไม่ทำให้กำลังการผลิตโดยรวมเพิ่มขึ้น และไม่ได้มีการปล่อยทิ้งอากาศเสียที่เกิดจากการทำปฏิกิริยาของสารเคมีดังกล่าว ออกสู่บรรยากาศ แต่จะนำอากาศเสียทั้งหมดเข้าสู่ระบบกำจัดอากาศเสียที่เป็นระบบปิด และโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนร่วม 640 เมกกะวัตต์ของบริษัท โกลว์ เอสพีพี 3 จำกัด ตั้งอยู่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด อ.เมือง จ.ระยอง ที่ได้ขอเปลี่ยนแปลงหน่วยผลิต CFB 1 ถึง CFB3 จากที่กำหนดให้ใช้ถ่านหินบิทูมินัสแต่เพียงอย่างเดียวเป็นเชื้อเพลิง ก็ให้สามารถใช้เชื้อเพลิงชีวะมวลจากเศษไม้สับท่อน เช่น เศษไม้จากยูคาลิปตัส และไม้ทางเศรษฐกิจอื่นๆได้ด้วย เพื่อเป็นการส่งเสริมให้มีการใช้เชื้อเพลิงทดแทน โดยจะมีการควบคุมระบายอากาศเสียที่ปล่อยทิ้งจากปล่อง มีการติดตั้งจอแสดงผลตรวจวัดคุณภาพอากาศแบบต่อเนื่อง
จากข้อเท็จจริงดังกล่าวยังฟังไม่ได้ว่ามีเหตุเพียงพอที่จะนำวิธีการคุ้มครองมาใช้ได้ และยังฟังไม่ได้ว่าผู้ฟ้องจะได้รับความเสียหายต่อเนื่องจากการกระทำนั้น จึงมีคำสั่งให้ยกคำขอคุ้มครองชั่วคราวของผู้ฟ้องดังกล่าว
วันพุธที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2554
หลักธรรมะอยู่ที่ปากพิพากษา - 9โครงการศาลปค.ยกคำขอคุ้มครองชั่วคราว
ชาวมาบตาพุดเฮ! 9โครงการศาลปค.ยกคำขอคุ้มครองชั่วคราว
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
ชาวบ้านเฮ ... เพราะจะมีโรงงานก่อมลพิษเพิ่ม ... แบบหนังสือพิมพ์ลง จริงๆ อ่ะ!!!!
ศาลปกครองกลาง ถ.แจ้งวัฒนะ - นายภานุพันธ์ ชัยรัต ตุลาการหัวหน้าคณะศาลปกครองกลาง ตุลาการเจ้าของสำนวนคดีหมายเลขดำที่ 422/2553 มีคำสั่งให้ยกคำร้องที่สมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน และนายสุทธิ อัชฌาศัย แกนนำเครือข่ายประชาชนภาคตะวันออก กับพวกรวม 35 คน ซึ่งเป็นชาวบ้านพื้นที่มาบตาพุด จ.ระยอง ขอให้ศาลกำหนดมาตรการคุ้มครองชั่วคราวก่อนการพิพากษา ในคดีที่สมาคม ฯ ยื่นฟ้องสำนักนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) , คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ , อธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ , รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม , คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน , รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน , อธิบดีกรมเจ้าท่า , การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และอธิบดีกรมชลประทาน ผู้ถูกฟ้องที่ 1-9 เรื่องเป็นหน่วยงานทางปกครองเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายและละเลยต่อการทำหน้าที่ ตามที่กฎหมายกำหนด หรือปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าเกินสมควร กรณีที่ผู้ถูกฟ้องทั้ง 9 ร่วมกันออกคำสั่งโดยไม่ถูกต้องตามขั้นตอน ตามที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ปี 2550 กำหนดไว้ในมาตรา 67 วรรคสอง ซึ่งผู้ถูกฟ้องทั้ง 9 ให้ความเห็นชอบและอนุญาตให้ดำเนินโครงการหรือกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น