ระหว่างปี พ.ศ. 2548-2552 ในพื้นที่มาบตาพุด ซึ่งโครงสร้างพิเศษสำคัญในโครงการต่างๆ ของ ปตท. จำนวนมาก พบว่าละเลยเรื่องความแข็งแรงมั่นคงในส่วนงานฐานราก ทั้งที่ก่อสร้างบนพื้นที่ปรับถมดินใหม่ และหลายโครงการอยู่บริเวณหมู่บ้านหนองแฟบ ชื่อตามลักษณะภูมิศาสตร์ว่าเป็นหนองน้ำ แต่ในการก่อสร้างกลับไม่ตอกเสาเข็มอ้างว่า ถมดินบดอัดดีแล้ว เป็นการสมยอมของภาครัฐ ที่เอื้อต่อภาคอุตสาหกรรม ที่เร่งรัดเร่งรีบ เพื่อแสวงหาผลกำไรทางธุรกิจ และเพื่อประโยชน์ในส่วนของตน จนมีการเลียนแบบ ไปยังโครงการอื่นๆ มากมาย และในเวลาไม่กี่ปี จะมี หลายร้อย หลายพัน โรงงาน ทำแบบเดียวกันกับ ปตท. สร้างโรงงาน โดยปราศจากความแข็งแรงมั่นคง ถมที่เสร็จขุดหล่อฐานรากโดยไม่ต้องตอกเสาเข็ม โดยอ้างว่า ดินถมแข็งแรงมาก อ้างมีการทดสอบดินแล้ว เพราะทำให้โครงการเสร็จเร็วขึ้น 6-8 เดือน จึงเป็นที่มาว่า ทำไมทางกลุ่มฯ จึงขอให้ การนิคมอุตสาหกรรมฯ และ ปตท. จัดตั้งคณะกรรมการตรวจสอบติดตามฯ ขึ้นมา เพราะถ้ามีเหตุสลดจากการทรุดพังของฐานราก ผู้ก่อสร้างฐานรากย่อมหนีจากความรู้สึกผิดบาปไปไม่ได้ – สรรพสิ่งตั้งมั่นคงอยู่ได้หรือล้มลง ด้วยเพราะมีเหตุมีปัจจัย ตามกฎแห่งธรรมชาติ
แม้อ้างว่าได้รับการอนุมัติก่อสร้างถูกต้องตามกฎหมาย แต่ก่อสร้างไม่แข็งแรง-ไม่ตรงกับการออกแบบ ทั้งที่ทุกหน่วยงานภาครัฐรับรู้ แต่คงจะดันทุรังไม่ใส่ใจ โดยมีชีวิตของผู้คนประชาชนจำนวนมากเป็นเดิมพัน – เพราะโรงแยกก๊าซ ปตท. มีคลังก๊าซแอลพีจีขนาด 4,200 คันรถ ทรุดพังไฟไหม้ระเบิดลุกลามควบคุมไม่ได้ อะไรจะเกิดขึ้นกับชีวิตผู้คนประชาชน และประเทศไทย การเร่งรัดจัดหาเครื่องมือ-สัญญาณเตือนภัย แนวกันชน แก้ปัญหาปลายเหตุ ระงับเหตุไม่ได้
ภาวนา ... ไม่ให้มันเกิด ตลอดอายุการใช้งาน 25-30 ปี เกิดเหตุเมื่อไหร่ ท่านหนีความรับผิดชอบไม่ได้อย่างแน่นอน ... เพราะ เจโทร(กรุงเทพ) รับรู้เรื่องนี้ และหวังว่าท่านจะดำเนินการ
... ธรรมชาติหาความแน่นอนไม่ได้ ใยจึงปล่อยความมักง่ายภาคอุตสาหกรรมลอยนวล
เฉยชาไม่ใส่ใจ ... ไม่เกิน 3 ปี โรงงานสร้างไม่แข็งแรงจะเต็มบ้านเต็มเมือง เหมือนป้ายโฆษณา
จากบางส่วนของ คำขออุทธรณ์คำสั่งเสนอต่อศาลปกครองสูงสุด เมื่อ 24 กันยายน 2553 – หวังให้ขบวนการยุติธรรมช่วยชีวิตคนมาบตาพุด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น