วันอังคารที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553
ไฟไหม้ฟ้า - ภาพที่คนในที่อื่นๆ นอกพื้นที่ มาบตาพุด ไม่เคยสัมผ้ส
เพื่อนชุมชน - ความจริงใจแค่เปลือก แล้ว...หลอกลวง
กรุงเทพฯ--9 ก.ย.--ปตท.
ดร.วีระพงษ์ ไชยเพิ่ม รองผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เป็นประธานเปิด “ศูนย์เพื่อนชุมชน” ต.มาบตาพุด อ.เมือง จ.ระยอง โดยมีที่ปรึกษากิติมศักดิ์ กลุ่มเพื่อนชุมชน ได้แก่ ประเสริฐ บุญสัมพันธ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กานต์ ตระกูลฮุน กรรมการผู้จัดการใหญ่ เอสซีจี ชนินท์ ว่องกุศลกิจ ประธานกรรมการ บริษัท บีแอลซีพี เพาเวอร์ จำกัด ดร. มอลลี่ เพยฟาง ชาง กรรมการผู้จัดการ บริษัท ดาว เคมิคอล ประเทศไทย จำกัด และบริษัทร่วมทุนระหว่างเอสซีจี กับบริษัท ดาว เคมิคอล มร. เอซ่า เฮสคาเน่น ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มบริษัทโกลว์ วีรศักดิ์ โฆสิตไพศาล ประธานกลุ่มเพื่อนชุมชน และกรรมการผู้จัดการใหญ่ ปตท เคมิคอล และ ชลณัฐ ญาณารณพ รองประธานกลุ่มเพื่อนชุมชน และกรรมการผู้จัดการใหญ่ เอสซีจี เคมิคอลส์ ร่วมในพิธีเปิด
ศูนย์เพื่อนชุมชน ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ชุมชนหนองแฟบ ต.มาบตาพุด จัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นศูนย์กลางข้อมูลข่าวสารของกลุ่มอุตสาหกรรมและชุมชนฯ โดยมี นายอนุลักษณ์ ถนอมสิทธิกุล ซึ่งเป็นชาวบ้านฉาง รับตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์ พร้อมด้วยทีมผู้เชี่ยวชาญด้านสิ่งแวดล้อมความปลอดภัย และพนักงานประจำคอยอำนวยความสะดวกแก่ชุมชน โดยเปิดทำการวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 8.00 — 17.00 น. และสามารถติดต่อทางหมายเลขโทรศัพท์ 038-685-666
กลุ่ม “เพื่อนชุมชน” เป็นความร่วมมือของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมครั้งแรกในประเทศไทย เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมสู่อุตสาหกรรมสะอาด เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ด้วยความจริงใจ จริงจัง มุ่งมั่นแก้ปัญหาร่วมกัน ด้วยการถ่ายทอดความรู้ แบ่งปันประสบการณ์ และตรวจสอบดูแลกันเอง โดยความมุ่งหวังให้อุตสาหกรรมและชุมชนสามารถอยู่ร่วมกันและเติบโตไปด้วยกันอย่างยั่งยืน ในระยะเริ่มต้น มีผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเข้าร่วมกลุ่มแล้วทั้งสิ้น 5 บริษัท ได้แก่ ปตท. เอสซีจี บีแอลซีพี โกลว์ ดาว เคมิคอล และจะขยายความร่วมมือไปยังโรงงานอื่นๆ รวมถึง ในระยะต่อไปจะเชิญชวนภาครัฐ และภาคประชาสังคม เข้ามามีส่วนร่วมอย่างโปร่งใส เพื่อให้ระยองเป็นบ้านที่น่าอยู่ของชุมชน
วันศุกร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553
ยื่นหนังสือร้องเรียน เรื่องโรงแยกก๊าซใหม่ ปตท. เสี่ยงก่อหายนะภัย กับ นายกอภิสิทธิ์ อีกครั้ง 20 พ.ย. 53
ระหว่างปี พ.ศ. 2548-2552 ในพื้นที่มาบตาพุด ซึ่งโครงสร้างพิเศษสำคัญในโครงการต่างๆ ของ ปตท. จำนวนมาก พบว่า “ละเลยเรื่องความแข็งแรงมั่นคงในส่วนงานฐานราก” ทั้งที่ก่อสร้างบนพื้นที่ปรับถมดินใหม่ และหลายโครงการอยู่บริเวณหมู่บ้านหนองแฟบ ชื่อตามลักษณะภูมิศาสตร์ว่าเป็นหนองน้ำ แต่ในการก่อสร้างกลับไม่ตอกเสาเข็ม อ้างว่า ถมดินบดอัดแน่นดีแล้ว ทดสอบดินแล้ว เป็นการสมยอมของภาครัฐ ที่เอื้อต่อภาคอุตสาหกรรม ที่เร่งรัดเร่งรีบ เพื่อแสวงหาผลกำไรทางธุรกิจ และเพื่อประโยชน์ในส่วนของตน จนมีการเลียนแบบ ไปยังโครงการอื่นๆ มากมาย และในเวลาไม่กี่ปี จะมี หลายร้อย หลายพัน โรงงาน ทำแบบเดียวกันกับ ปตท. สร้างโรงงาน โดยปราศจากความแข็งแรงมั่นคง ถมที่เสร็จขุดหล่อฐานรากโดยไม่ต้องตอกเสาเข็ม โดยอ้างว่า ดินถมแข็งแรงมาก อ้างมีการทดสอบดินแล้ว เพราะทำให้โครงการเสร็จเร็วขึ้น 6-8 เดือน แต่กลับทิ้งความเสี่ยงให้ผู้คนประชาชน พนักงานในโรงงาน โรงงานอื่นๆ สภาวะแวดล้อม ไปจนตลอดอายุการใช้งานโรงงาน 25-30 ปี – สรรพสิ่งตั้งมั่นคงอยู่ได้หรือล้มลง ด้วยเพราะมีเหตุมีปัจจัย ตามกฎสูงสุดของธรรมชาติ หรือ อิทัปปัจจยตา
แม้อ้างว่าได้รับการอนุมัติก่อสร้างถูกต้องตามกฎหมาย แต่ก่อสร้างไม่แข็งแรง-ไม่ตรงกับการออกแบบ ทั้งที่ทุกหน่วยงานภาครัฐรับรู้ แต่คงจะดันทุรังไม่ใส่ใจ โดยมีชีวิตของผู้คนประชาชนจำนวนมากเป็นเดิมพัน – เพราะโรงแยกก๊าซ ปตท. มีคลังก๊าซแอลพีจีขนาด 4,200 คันรถ ทรุดพังไฟไหม้ระเบิดลุกลามควบคุมไม่ได้ อะไรจะเกิดขึ้นกับชีวิตผู้คนประชาชน และประเทศไทย
การเร่งรัดจัดหาเครื่องมือ-สัญญาณเตือนภัย-แนวกันชน แก้ปัญหาปลายเหตุ ระงับเหตุไม่ได้
ภาวนา ... ไม่ให้มีเหตุภัย ถ้าเกิดเหตุสลดเมื่อไหร่ ท่านย่อมหนีความรับผิดชอบไม่ได้ อย่างแน่นอน ... และเจโทร(กรุงเทพ) ซึ่งรับรู้เรื่องนี้ ยังหวังอย่างสูงว่าท่านจะดำเนินการอย่างเหมาะสม แต่ ... ไม่ทำอะไร ไม่มีการตรวจสอบ-ติดตามแต่อย่างใด (นอกจาก ปตท. ชี้แจงว่า แข็งแรงดี?)
ธรรมชาติหาความแน่นอนอะไรไม่ได้ ใยจึงปล่อยความมักง่ายภาคอุตสาหกรรม ทิ้งความเสี่ยง ให้ผู้คนประชาชน-ประเทศชาติ ที่ฝากไว้กับความแข็งอ่อนของดินที่ทั้งเปียกทั้งแห้งสลับกัน
“วันนี้ ... ท่านยังสามารถสั่งให้มีขบวนการตรวจสอบ-ติดตาม-เสริมความแข็งแรงได้ ...
... เพราะรอจนเกิดเหตุสลดแล้ว เรียกชีวิตผู้คนประชาชนคืนกลับมาไม่ได้”
จากบางส่วนของ คำขออุทธรณ์คำสั่ง - เสนอต่อศาลปกครองสูงสุด เมื่อ 24 กันยายน 2553 – หวังให้ขบวนการยุติธรรมช่วยชีวิตคนมาบตาพุด
กลุ่มพิทักษ์อากาศสดชื่น มาบตาพุด ระยอง – 20 พฤศจิกายน 53
วันอังคารที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553
กรมธุรกิจพลังงาน - ให้ข่าว กดดันศาลปกครอง เรื่องจะดันทุรัง โรงแยกก๊าซที่ 6 มักง่ายประมาท ไม่ตอกเสาเข็ม
เมื่อวันที่ 15 พ.ย. นายพีระพล สาครินทร์ อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน (ธพ.) เปิดเผยว่า ค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นในระยะ 2 - 3 เดือนที่ผ่านมาประมาณ 9% จะช่วยทำให้ตลอดปีนี้ประเทศไทยจะมีการนำเข้าเชื้อเพลิงทุกประเภทมีมูลค่า การนำเข้าลดลง10% โดยธพ.ประเมินว่า ตลอดปีนี้ประเทศไทยจะมีการนำเข้าพลังงานคิดเป็นมูลค่ารวม เหลือเพียง 900,000 ล้านบาท หรือลดลง 100,000 ล้านบาทจากปกติในแต่ละปีประเทศไทยจะต้องนำเข้าพลังงานคิดเป็นมูลค่า1 ล้านล้านบาท โดยในจำนวนนี้แยกเป็นการนำเข้าน้ำมันเพียงประเภทเดียวคิดเป็นมูลค่าปีละ ประมาณ 800,000 ล้านบาท
อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน กล่าวต่อว่า ธพ.กำลังศึกษาและหาข้อสรุปว่าหลังเดือนก.พ.2554 หากรัฐบาลยกเลิกนโยบาตรึงราคาจำหน่ายก๊าซหุงต้มหรือปล่อยให้มีการลอยตัวราคาภาคขนส่ง ภาคอุตสาหกรรม แต่ให้ตรึงราคาภาครัวเรือน ภาครัฐควรจะมีมาตรการใดมาช่วยเหลือประชาชนผู้ใช้ก๊าซหุงต้มโดยล่าสุดได้ตั้ง สมมุติฐานว่าหากให้ตรึงราคาภาคครัวเรือนต่อไป ก็อาจจัดทำเป็นคูปองสำหรับแจกจ่ายให้ประชาชนผู้ใช้ก๊าซหุงต้มโดยใช้ฐาน ข้อมูลทะเบียนราษฏรเป็นเกณฑ์ในการ คำนวณสัดส่วนการใช้ก๊าซหุงต้มเป็นรายครัว เรือนโดยใช้จำนวนรายชื่อราษฏรในทะเบียนราษฏรเป็นหน่วยวัดค่าเฉลี่ยว่า ครอบครัวใดควรได้รับการจัดสรรคูปองส่วนลดในการซื้อก๊าซหุงต้มจำนวนเท่าใดต่อ เดือนเป็นต้น
โรงแยกก๊าซที่ 6 และโรงแยกก๊ําซ อีเทน ไม่ตอกเสาเข็ม
ไม่มีหน่วยงานรัฐ ตรวจสอบ - ติดตาม แต่จะดันทุรังเปิดใช้
แค่ทรุดเพียงเล็กน้อย แนวท่ออาจแตกระเบิด มีคลังก๊าซขนาด 4200 คันรถ
ถ้าระเบิดลุกลามควบคุมไม่ได้ - นึกภาพต่อกันเอง ว่าอะไรจะเกิดขึ้น!!!
เสาไฟแสงสว่างกลางถนนเหล่านี้ ต่ำกว่าหอต้มหอกลั่น ของโรงแยกก๊าซมาก
ตอกเสาเข็ม 8-10 ม. ลบคำพูดคนหลายคนที่อ้างว่า ดินที่มาบตาพุดตอกเสาเข็มไม่ลง
“หากโรงแยกก๊าซธรรมชาติหน่วยที่6ของบริษัทปตท. จำกัด(มหาชน)สามารถเปิดเดินเครื่องการผลิตได้ในเร็วๆนี้ก็จะช่วยลดการนำเข้า ก๊าซหุงต้มได้จำนวนหนึ่งรวมทั้งหากโครงการติดตั้งเอ็นจีวีในรถแท็กซี่ของ กระทรวงพลังงานระยะแรก 30,000 คันแล้วเสร็จลง ก็จะทำให้ประเทศไทยลดการใช้ก๊าซหุงต้มในรถแท็กซี่ได้อีกเดือนละ 30,000 ตัน ซึงจะทำให้การนำเข้าก๊าซหุงต้มจากต่างประเทศลดลงจำนวนมาก ส่วนปัญหาการลักลอบขนถ่ายไปจำหน่ายตามาแนวชายแดนผ่านกองทัพมดขณะนี้ได้ลดลง เพราะการตรวจสอบที่เข้มงวดของกรมศุลกากรและเจ้าหน้าที่ตำรวจในแต่ละจุดผ่าน แดน แต่ยอมรับว่ายังมีการขนถ่ายผ่านประชาชนที่ข้ามไปมาระหว่างกันของประเทศ เพื่อนบ้านซึ่งมีปริมาณไม่สูงมากนัก” นายพีระพล กล่าว
อธิบดีกรม ธุรกิจพลังงาน กล่าวด้วยว่า สำหรับสถานการณ์ความต้องการใช้น้ำมันในเดือนก.ย.ที่ผ่านมาพบว่า มีการปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนส.ค. โดยการใช้น้ำมันเบนซินรวมอยู่ที่ 20.3 ล้านลิตร/วัน เพิ่มขึ้น 2% ดีเซลอยู่ที่ 47.4 ล้านลิตร/วัน เพิ่มขึ้น 3% การใช้ก๊าซหุงต้ม อยู่ที่ 16,100 ตัน/วัน หรือ 482,000 ตัน/เดือน เพิ่มขึ้น 3% และการใช้ เอ็นจีวี อยู่ที่ 5,300 ตัน/วัน เพิ่มขึ้น 5% โดยคาดว่า ในเดือนต.ค. จะมีการใช้น้ำมันดีเซลเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากอยู่ในช่วงฤดูกาลเก็บเกี่ยวพืชผลทางการเกษตรที่มีการใช้เพิ่มสูง ขึ้นในช่วงไตรมาสที่ 4 ของทุกปี
“ขณะที่การนำเข้าน้ำมันในภาพรวมใน ไตรมาส ที่3 มีปริมาณรวม 12,419 ล้านลิตร ปรับลดลงจากไตรมาส 2 ซึ่งมีการนำเข้ารวม 13,165 ล้านลิตร หรือ 5.7% มีมูลค่านำเข้ารวม 188,121 ล้านบาท ลดลงจากไตรมาส 2 ซึ่งมีมูลค่า 212,487 ล้านบาทหรือ 11.5% ในจำนวนนี้ เป็นการนำเข้า ก๊าซหุงต้ม 363,000 ตัน คิดเป็นมูลค่า 7,600 ล้านบาท เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2 มีปริมาณการนำเข้า 432,000 ตัน คิดเป็นมูลค่า 10,500 ล้านบาท ลดลง 16% และ 27% ตามลำดับ ในขณะที่การส่งออกน้ำมันสำเร็จรูป มีปริมาณ 3,700 ล้านลิตร มูลค่า 59,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 2 อยู่ 24% และ15% ตามลำดับ”นายพีระพล กล่าว
ที่มา : http://www.thairath.co.th/content/eco/127197
วันจันทร์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553
เตรียมยื่นหนังสือ เรื่องโรงแยกก๊าซ ปตท. เสี่ยง ให้ นายกอภิสิทธิ์ ซ้ำอีก - 20 พ.ย. 53 ที่มาบตาพุด
ระหว่างปี พ.ศ. 2548-2552 ในพื้นที่มาบตาพุด ซึ่งโครงสร้างพิเศษสำคัญในโครงการต่างๆ ของ ปตท. จำนวนมาก พบว่าละเลยเรื่องความแข็งแรงมั่นคงในส่วนงานฐานราก ทั้งที่ก่อสร้างบนพื้นที่ปรับถมดินใหม่ และหลายโครงการอยู่บริเวณหมู่บ้านหนองแฟบ ชื่อตามลักษณะภูมิศาสตร์ว่าเป็นหนองน้ำ แต่ในการก่อสร้างกลับไม่ตอกเสาเข็มอ้างว่า ถมดินบดอัดดีแล้ว เป็นการสมยอมของภาครัฐ ที่เอื้อต่อภาคอุตสาหกรรม ที่เร่งรัดเร่งรีบ เพื่อแสวงหาผลกำไรทางธุรกิจ และเพื่อประโยชน์ในส่วนของตน จนมีการเลียนแบบ ไปยังโครงการอื่นๆ มากมาย และในเวลาไม่กี่ปี จะมี หลายร้อย หลายพัน โรงงาน ทำแบบเดียวกันกับ ปตท. สร้างโรงงาน โดยปราศจากความแข็งแรงมั่นคง ถมที่เสร็จขุดหล่อฐานรากโดยไม่ต้องตอกเสาเข็ม โดยอ้างว่า ดินถมแข็งแรงมาก อ้างมีการทดสอบดินแล้ว เพราะทำให้โครงการเสร็จเร็วขึ้น 6-8 เดือน จึงเป็นที่มาว่า ทำไมทางกลุ่มฯ จึงขอให้ การนิคมอุตสาหกรรมฯ และ ปตท. จัดตั้งคณะกรรมการตรวจสอบติดตามฯ ขึ้นมา เพราะถ้ามีเหตุสลดจากการทรุดพังของฐานราก ผู้ก่อสร้างฐานรากย่อมหนีจากความรู้สึกผิดบาปไปไม่ได้ – สรรพสิ่งตั้งมั่นคงอยู่ได้หรือล้มลง ด้วยเพราะมีเหตุมีปัจจัย ตามกฎแห่งธรรมชาติ
แม้อ้างว่าได้รับการอนุมัติก่อสร้างถูกต้องตามกฎหมาย แต่ก่อสร้างไม่แข็งแรง-ไม่ตรงกับการออกแบบ ทั้งที่ทุกหน่วยงานภาครัฐรับรู้ แต่คงจะดันทุรังไม่ใส่ใจ โดยมีชีวิตของผู้คนประชาชนจำนวนมากเป็นเดิมพัน – เพราะโรงแยกก๊าซ ปตท. มีคลังก๊าซแอลพีจีขนาด 4,200 คันรถ ทรุดพังไฟไหม้ระเบิดลุกลามควบคุมไม่ได้ อะไรจะเกิดขึ้นกับชีวิตผู้คนประชาชน และประเทศไทย การเร่งรัดจัดหาเครื่องมือ-สัญญาณเตือนภัย แนวกันชน แก้ปัญหาปลายเหตุ ระงับเหตุไม่ได้
ภาวนา ... ไม่ให้มันเกิด ตลอดอายุการใช้งาน 25-30 ปี เกิดเหตุเมื่อไหร่ ท่านหนีความรับผิดชอบไม่ได้อย่างแน่นอน ... เพราะ เจโทร(กรุงเทพ) รับรู้เรื่องนี้ และหวังว่าท่านจะดำเนินการ
... ธรรมชาติหาความแน่นอนไม่ได้ ใยจึงปล่อยความมักง่ายภาคอุตสาหกรรมลอยนวล
เฉยชาไม่ใส่ใจ ... ไม่เกิน 3 ปี โรงงานสร้างไม่แข็งแรงจะเต็มบ้านเต็มเมือง เหมือนป้ายโฆษณา
จากบางส่วนของ คำขออุทธรณ์คำสั่งเสนอต่อศาลปกครองสูงสุด เมื่อ 24 กันยายน 2553 – หวังให้ขบวนการยุติธรรมช่วยชีวิตคนมาบตาพุด
วันพุธที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553
ตามไปดู ปตท. ที่อ้างว่า เป็นรัฐวิสาหกิจ เวลาจะให้ดำเนินการ ตรวจสอบความเสี่ยง
|
|