โน่นนี่นั่น! เรียกร้องหากันจังให้ผู้คนมีจิตสาธารณะ ปตท.สร้างโรงแยกก๊าซใหม่เสี่ยงไม่ตอกเสาเข็ม เพียงอ้างว่า "ดินแข็งแรงกว่าโรงงานติดกัน" หัวหน้าคณะตุลากการ ศาลปกครอง ที่เป็นอาจารย์พิเศษ ผู้เชี่ยวชาญ กม.อหังสาริมทรัพย์ / สว.รสนา ที่ชนะฟ้องคดี ปตท. ดูแล้วจะไม่เข้าใจ - เทคนิคพิเศษหรืออย่างไร ดูกันไม่รู้เรื่องทั้ง สรยุทธ, สุทธิชัย(หยุ่น) และ สนธิ(ลิ้ม) สื่อที่อ้างธรรมอ้างดีนำหน้า หรือเพราะเป็นผลงานของ นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ ก้อไม่รู้ .... ?
วันจันทร์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2554
ผลงานของ นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์
โน่นนี่นั่น! เรียกร้องหากันจังให้ผู้คนมีจิตสาธารณะ ปตท.สร้างโรงแยกก๊าซใหม่เสี่ยงไม่ตอกเสาเข็ม เพียงอ้างว่า "ดินแข็งแรงกว่าโรงงานติดกัน" หัวหน้าคณะตุลากการ ศาลปกครอง ที่เป็นอาจารย์พิเศษ ผู้เชี่ยวชาญ กม.อหังสาริมทรัพย์ / สว.รสนา ที่ชนะฟ้องคดี ปตท. ดูแล้วจะไม่เข้าใจ - เทคนิคพิเศษหรืออย่างไร ดูกันไม่รู้เรื่องทั้ง สรยุทธ, สุทธิชัย(หยุ่น) และ สนธิ(ลิ้ม) สื่อที่อ้างธรรมอ้างดีนำหน้า หรือเพราะเป็นผลงานของ นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ ก้อไม่รู้ .... ?
วันศุกร์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2554
ฐานราก โรงงานติดกันกับ โรงแยกก๊าซ ที่ 6 ปตท. ทำไมต้องใช้เสาเข็มเจาะ
วันพุธที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2554
รมต.พลังงาน มาเป็นประธานเปิด โรงแยกก๊าซ ที่ 6 เสี่ยงสร้างหายนะภัย ประชาชนชาวบ้าน
ที่วันนี้ยังแก้ไขอะไรกันไม่ได้ เพราะความไม่เสถียรในการผลิต แล้วส่งต่อไปให้โรงงานอื่นๆ ผลิตต่อ มันใช้ไม่ได้ มันจึงต้องเผาทิ้ง จนควันดำโขมงทั้งมาบตาพุด ... ความไม่เสถียรของโรงแยกก๊าซ ที่ 6 ที่ส่งก๊าซต่อไปให้ อีก 6-7 โรงงานนั่น เมื่อก๊าซที่ส่งไป มันไม่มีคุณภาพ ของเสียมากมาย จึงออกมาที่ปลายปล่อง ที่ไม่รู้ว่า อะไรอันตรายแค่ไหน ที่บอกว่าไม่อันตราย แต่ก้อเหม็นได้จนสำลักเจ็บอกซ้ำซาก ทุกดึกดื่นค่ำคืน ... นั่น
ใครจะแก้ล่ะ ปัญหานี้ ที่มาจากความไม่เสถียรของการผลิด หรือมาจากความไม่เสถียรของโครงสร้างแน่ที่ทำให้เครื่องจักรกลไก มันทำงานไม่ได้ตามปกติ
(รมต.พลังงาน คนใหม่ ที่มีฝีมือจะแก้ได้มั้ย /// จะปล่อยทิ้งปัญหาหรือไม่)
ถ้าไม่เร่งรีบมักง่าย ตอนก่อสร้างทำให้ฐานมันมั่นคงแข็งแรง ไม่ทรุด แนวแกนเครื่องจักรเอียงทำงานไม่เต็มร้อยเครื่องร้อนจัด การผลิตคงไม่มีปัญหา นี่ไหน การผลิตไม่สมบูรณ์ / ทรุดพังเล็กน้อย ท่อ-ข้อต่อ บิแตก ทำแก๊สรั่วได้อีก แม้ LPG มันไม่มีพิษมาก แต่ถ้ามันเกิดไฟไหม้ ระเบิดนั่น ใครจะรับผิดชอบ ถ้าบังเอิญมาลุกลามจนคุมไม่ได้ แบบอเมริกา แบบจีน แบบเม็กซิโกนั่น ฯ
ประชาชนชาวบ้าน ต้องรับเวรรับกรรม ที่ไม่ได้ก่อกันหรืออย่างไร ///
วันศุกร์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2554
ร้องเรียน ผ่าน FACEBOOK เรื่องโรงแยกก๊าซใหม่ ปตท.เสี่ยง
วันอังคารที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2554
เงินอุดหนุน ก๊าซ แอลพีจี และ ปตท.ส่อเค้าเดี้ยง ถ้าไม่เลี้ยงไข้
วันอังคารที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2554
ก๊าซพิษก๊าซเสีย เอาไปต้มก่อนปล่อยสู่อากาศ ชาวบ้านถูกต้มจนสุก! หรือไม่
เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน คณะกรรมการองค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (กอสส.) แถลงข่าวเรื่องการให้ความคิดเห็นโครงการที่อาจจะก่อให้เกิดผลกระทบรุนแรง ด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ และสุขภาพ ตามเจตนารมณ์ ในมาตรา 67 ของรัฐธรรมนูญ
บริษัท ทีโอซี ไกลคอล จำกัด โครงการจัดทำบัญชีสารอินทรีย์ระเหยง่าย download
นายวีรวัธน์ ธีรประสาธน์ ประธาน กอสส.กล่าวว่า กอสส.เข้ามาทำหน้าที่ครบ 1 ปี ทางคณะกรรมการผู้ชำนาญการ (คชก.) ที่สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) แต่งตั้งให้พิจารณารายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (อีเอชไอเอ) ได้ส่งรายงานฉบับดังกล่าว ซึ่งเป็นโครงการสร้างโรงงานผลิตเอทธิลีนออกไซด์ และเอทธิลีนไกลคอน ส่วนขยายของบริษัท ทีโอซี ไกลคอน จำกัด ในนิคมอุตสาหกรรมเหมราช จ.ระยอง ซึ่งคชก.พิจารณาผ่านแล้ว แต่รัฐธรรมนูญ ตามมาตรา 67 วรรคสอง กำหนดให้ส่ง กอสส.พิจารณาให้ความเห็นชอบประกอบ ก่อนส่งให้การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) เป็นผู้อนุมัติ ถือเป็นรายแรกที่ กอสส.พิจารณา
“ จากการลงพื้นที่พิสูจน์ เปิดรับฟังความคิดเห็นจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง คณะกรรมการมีมติเป็นเอกฉันท์ว่า ไม่เห็นชอบ ที่จะอนุญาตให้โรงงานผลิตเอทธิลีนออกไซด์ และเอทธิลีนไกลคอน ส่วนขยาย ของบริษัท ทีโอซี ไกลคอน จำกัด ดำเนินการได้ ” นายวีรวัธน์ กล่าว
นส.เพ็ญโฉม แซ่ตั้ง รองประธานอนุกรรมการพิจารณาโครงการ กล่าวว่า กอสส.มีเหตุผลถึง 12 ประการ ที่ไม่ให้ความเห็นชอบกับโครงการนี้ คือ 1.เหตุผลด้านวิศวกรรมไม่ครบถ้วน กระบวนการทางวิศวกรรมมีความปลอดภัยไม่เพียงพอ 2.การจัดการมลพิษขาดความชัดเจน 3.การจัดการก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ขาดความชัดเจน 4.ขาดการประเมินความเสี่ยงอันตรายร้ายแรงในโรงงาน 5.ไม่ระบุการประเมินความเสี่ยงและศักยภาพการรองรับการวิจัย 6.ขาดความชัดเจนเรื่องแผนงานความปลอดภัยทั้งโรงงานและในชุมชน 7.ขาดการประเมินผลกระทบของมลพิษทางอากาศที่มีอันตรายร้ายแรงบางชนิด เช่น ฟอร์มัลดิไฮด์ อะซิทัลดีไฮด์ ไวนิลคลอไรด์
8.มีความเสี่ยงต่อสุขภาพและขีดความสามารถที่จำกัดของระบบสาธารณะสุขใน พื้นที่ 9.การมีส่วนร่วมของประชาชนยังไม่ครอบคลุม ไม่ครบถ้วนขาดข้อมูลที่ชัดเจน 10.ไม่มีมาตรการด้านการจัดการผังเมือง พื้นที่กันชนและแนวป้องกันมลพิษ 11.ขาดการประเมินสถานการณ์สิ่งแวดล้อมและสุขภาพที่เป็นภาพรวม รวมทั้งศักยภาพในการรองรับอุตสาหกรรมในพื้นที่มาประเมินร่วมกับผลกระทบของ โครงการ 12.ข้อมูลบางส่วนในอีเอชไอเอมีความคลาดเคลื่อนข้อเท็จจริงบางประการ
นส.ศยามล ไกรยูรวงศ์ กรรมการกอสส. กล่าวว่า อาจจะสงสัยว่า คชก.พิจารณาแล้วผ่าน แต่ทำไมกอสส.จึงท้วงติงหลายข้อ ขอเรียนว่า คชก.พิจารณาจากเอกสารเท่านั้น แต่กอสส.ลงพื้นที่ และและพิจารณาจากหลายแนวทาง และหลายขั้นตอน ทั้งนี้กอสส.มีหน้าที่เพียงให้ความเห็นชอบตามเจตนารมณ์ของกฏหมาย และประกาศให้สาธารณะรับรู้เท่านั้น หน่วยงานผู้พิจารณาอนุมัติอาจจะไม่เห็นชอบตามที่กอสส.พิจารณาก็ได้ หลังจากนี้ กอสส.จะส่งเรื่องนี้ให้กนอ.และให้คณะกรรมการประสานงานการให้ความเห็นอิสระ ที่มีนายอานันท์ ปันยารชุน เป็นประธานรับทราบ
เมื่อถามว่า เป็นโครงการแรกที่กอสส.พิจารณาแต่กลับไม่ผ่านด้วยเหตุผลมากมายเช่นนี้ จะทำให้โครงการอื่นๆ เกิดความขยาดกลัวหรือไม่ นส.ศยามลกล่าวว่า ในแง่การลงทุนหลายแห่งอาจจะวิตกกังวลอยู่บ้าง อย่างไรก็ตามขอเรียนว่า กอสส.ไม่ได้ตั้งป้อมเพื่อคัดค้าน แต่ทำงานแบบตรงไปตรงมา มั่นใจว่า สิ่งที่กล่าวมาทั้งหมด ทางโครงการยินดีและสามารถปรับปรุงแก้ไขอยู่แล้ว
ที่มา มติชน วันที่ 22 มิถุนายน 2554
ประกาศเรื่องการจัดรับฟังความคิดเห็นฯโครงการ บริษัท ที โอ ซี ไกลคอล จำกัด
สผ.ได้แจ้งผลการพิจารณาของคณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมด้านอุตสาหกรรมกลั่นน้ำมัน ปิโตรเลียม ปิโตรเคมี และแยกหรือแปรสภาพก๊าซธรรมชาติ ในการประชุมครั้งที่ 7/2554 เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2554 ซึ่งคณะกรรมการผู้ชำนาญการฯ มีมติให้ความเห็นชอบรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมสำหรับโครงการหรือกิจการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพโครงการโรงงานผลิตเอทธิลีนออกไซด์และเอทธิลีนไกลคอล (ส่วนขยาย) ของบริษัท ทีโอซี ไกลคอล จำกัด (รายละเอียดดังแนบ กดเพื่อโหลดเอกสาร)
- หนังสือแจ้งจาก สผ.
- สรุปสาระสำคัญของมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมและมาตรการติดตามตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อมโครงการฯ
- รายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมฯ ฉบับย่อ
- รายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมฯ ฉบับสมบูรณ์ (1/3)
- รายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมฯ ฉบับสมบูรณ์ (2/3)
- รายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมฯ ฉบับสมบูรณ์ (3/3)
วันพุธที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2554
ชุมชนรอบมาบตาพุดหวั่น รง.เก็บสารเคมีระเบิดหาก พนง.ทิ้งงานหลังค้างจ่ายเงินเดือน
วันเสาร์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2554
อภิสิทธิ์ อ้างแก้ปัญหามาบตาพุดสำเร็จ (แต่ปล่อยให้ผู้คนเสี่ยงตายกันไป )
'อภิสิทธิ์' ขึ้นเวทีปราศรัย สนามกีฬาจังหวัดระยอง กลางดึก ประกาศถ้าเลือกประชาธิปัตย์ ราคาผลไม้จะดีขึ้น ยืนยันไม่ละเลยปัญหาของแพง...
เมื่อเวลา 21.50 น. วันที่ 11 มิ.ย. นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ได้เดินทางไปยังสนามกีฬาจังหวัดระยอง เพื่อขึ้นปราศรัยใหญ่ของพรรคประชาธิปัตย์ ช่วยผู้สมัคร ส.ส.ภาคตะวันออก โดยมีประชาชน ประมาณ 3,000 คน มารอฟังการปราศรัย ทั้งนี้ นายอภิสิทธิ์ ได้ย้ำถึงนโยบายเพื่อประชาชนของพรรคประชาธิปัตย์ อาทิ แนวทางการแก้ปัญหาของพื้นที่โดยเฉพาะปัญหาวิกฤตินิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ที่มีผลกระทบต่อสภาวะแวดล้อมของรัฐบาลที่ผ่านมาที่สามารถหาความสมดุลให้กับภาคอุตสาหกรรมและสิ่งแวดล้อม โดยนายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า “ความปรองดองที่ต้องการอยู่ในทุกวันนี้ ต้องมาดูจากการแก้ปัญหาของมาบตาพุดเป็นตัวอย่าง”
การอ้างว่า แก้ปัญหามาบตาพุดสำเร็จ แต่ปล่อยให้ผู้คนเสี่ยงตายกันไป แบบนี้มั้ย ทำไมบอกว่า "นายกอภิสิทธิ์เลือดเย็น"
วันพฤหัสบดีที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2554
โรงงานสารเคมีอันตราย ถ้าถูกปล่อยทิ้ง ระเบิดเองได้
วันพุธที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2554
เปลือย 13 อรหันต์“มาบตาพุด”อุ้มโรงงาน-แจกมรณะบัตรชุมชน!?
หลังรัฐบาล “มาร์ค-อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” ใช้คณะกรรมการ 4 ฝ่าย ที่มีนายอานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรี คลี่คลายปัญหา 76 โครงการยักษ์ในมาบตาพุด ที่ถูกศาลปกครองสั่งระงับ จนคลี่คลายความร้อนแรงลง พร้อม ๆ กับการนำเอาบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 67 วรรค 2 มาเป็นแนวปฏิบัติ ตามที่มีการระบุไว้ชัดเจนว่า “การดำเนินโครงการหรือกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง ทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ และสุขภาพ จะกระทำมิได้เว้นแต่จะได้ศึกษา และประเมินผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม สุขภาพของประชาชนในชุมชน และจัดให้มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน และผู้มีส่วนได้เสียก่อน รวมทั้งได้ให้องค์การอิสระ ซึ่งประกอบด้วยผู้แทนองค์การเอกชนด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ และผู้แทนสถาบันอุดมศึกษาที่จัดการการศึกษาด้านสิ่งแวดล้อม หรือทรัพยากรธรรมชาติหรือด้านสุขภาพ ให้ความเห็นประกอบก่อนมีการดำเนินการดังกล่าว” และนำมาซึ่งการจรดปากกาลงนามจัดตั้งองค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (ชั่วคราว) ประกอบด้วย ผู้แทนขององค์กรเอกชนด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพและสถาบันอุดมศึกษาที่จัดการศึกษาด้านสิ่งแวดล้อม หรือทรัพยากรธรรมชาติ หรือด้านสุขภาพจำนวน 13 คน ทำหน้าที่ให้ความเห็นประกอบโครงการ หรือกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง ตามมาตรา 67 วรรค 2 แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 โดยมีนายวีรวัธน์ ธีรประสาธน์ ผู้แทนจากมูลนิธิฟื้นฟูชีวิตและธรรมชาติ เป็นประธานกรรมการฯ และคณะรัฐมนตรีได้มีมติให้ค่าตอบแทนคนละ 45,000 บาท พร้อมยังให้มีผู้ช่วยอีก 13 คน ได้ค่าตอบแทนคนละ 20,000 บาท เป็น 13 อรหันต์ทองคำ ที่ได้รับการคาดหวังว่า จะทำหน้าที่เป็น “ผนังเหล็ก กำแพงทองแดง” ให้แก่ชุมชนมาบตาพุด ทำให้พวกเขาอยู่ใต้ปล่องควันโรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ ที่รัฐไทยทุกยุคทุกสมัย ใช้เป็นเครื่องมือปั้นตัวเลข GDP ขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้ | |||||
ทั้งที่โดยข้อเท็จจริง แม้จะมีรายงานว่าผลผลิตมวลรวมต่อหัวของชาวระยอง สูงสุดเป็นอันดับ 1 ของประเทศ แต่รายงาน UNDP พ.ศ.2550 กลับระบุว่า รายได้ของชาวระยองแท้จริงอยู่ในระดับปานกลาง ครอบครัวและชุมชน รวมถึงการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนมีศักยภาพต่ำ ภาษีที่กลับคืนสู่สังคมในจังหวัดระยอง น้อยมาก เพราะโรงงานอุตสาหกรรมส่วนมากที่เปิดทำการอยู่ในพื้นที่ระยอง จดทะเบียนที่กรุงเทพฯ และบางส่วนได้สิทธิประโยชน์ส่งเสริมการลงทุนจากจาก BOI ทำให้ภาษีกลับคืนสู่ระยอง มีไม่ถึง 1% ที่จะนำมาลงทุนในด้านสังคมให้ดีขึ้น ไม่เพียงเท่านั้น ดูเหมือนว่า “องค์การอิสระฯ” ที่ตั้งขึ้นมานั้นกำลังทำให้กับคนมาบตาพุด ต้องหวนกลับไปผจญกับปัญหามลภาวะ ผลกระทบต่อชีวิต และสุขภาพของชุมชน เหมือนกับที่พวกเขาต้องเผชิญมาตลอดหลายสิบปีที่ผ่านมาอีก เพราะเกือบ 1 ปี ที่องค์การอิสระฯแห่งความคาดหวังก่อกำเนิดขึ้น มาถึงวันนี้...13 อรหันต์ทองคำแห่งมาบตาพุด กำลังถูกตั้งคำถามถึงมาตรฐานในการทำงาน มาตรฐานในความเป็นมืออาชีพ ฯลฯ โดยเฉพาะ“โครงการเอทธิลีน ไกลคอน” ซึ่งเป็นโรงงานปิโตรเคมีในพื้นที่มาบตาพุด ที่ได้รับตราประทับรับรองจากองค์การอิสระฯ ผ่านไปยังคณะกรรมการผู้ชำนาญการฯ สำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม (สผ.) กำลังถูกมองด้วยความเคลือบแคลงจากคนมาบตาพุด รวมทั้งคนระยองทั้งจังหวัด ตลอดจนนักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมด้วย ว่า “องค์การอิสระฯ ที่เชื่อว่า จะเป็นอรหันต์ทองคำให้คนมาบตาพุด ให้การรับรองโครงการนี้แบบค้านสายตาสุดขั้ว” ความเป็นจริงแล้วองค์การอิสระฯ ควรจะต้องออกไปหาข้อมูลรายละเอียดโครงการ และสอบถามความคิดเห็นจากประชาชนในพื้นที่ รวมทั้งหาข้อมูลผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทั้งด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพจากทุกภาคส่วน และจัดทำหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนเพียงพอ ในการให้ความเห็นก่อนที่โครงการจะถูกส่งเข้ามา และการมีส่วนร่วมของประชาชนทุกความเห็นนำไปสู่การตัดสินใจอย่างรอบคอบ ที่สำคัญองค์การอิสระฯเกิดขึ้นได้ เพราะเครือข่ายประชาชนภาคตะวันออกและชาวมาบตาพุด ยื่นฟ้องต่อศาลปกครอง ถ้าไม่ทำหน้าที่คุ้มครองปกป้องเพื่อพิทักษ์ไว้ซึ่งสิทธิของชาวมาบตาพุด ก็สมควรลาออกทั้งชุด “ทุกวันนี้ องค์การอิสระฯแห่งนี้ มุ่งแต่จะตั้งอนุกรรมการขึ้นมาพิจารณาโครงการต่าง ๆ แทนตัวเอง และเรียกร้องให้มีการจ่ายค่าตอบแทบให้อนุกรรมการเป็นรายเดือนเหมือนกับตัวเองอีก และที่ผ่านมาพวกเขาก็ไม่เคยลงพื้นที่และสัมผัสกับประชาชนในมาบตาพุดอย่างจริงจังเลย” นายสุทธิ อัชฌาสัย ผู้ประสานงานเครือข่ายประชาชนภาคตะวันออก บอกกับ “ASTVผู้จัดการสุดสัปดาห์” ไม่เพียงเท่านั้น ว่ากันว่า คณะกรรมการองค์การอิสระฯ ยังใช้ช่องทางตั้งผู้ช่วยขึ้นมารับเงินค่าตอบแทนเป็นรายเดือน โดยบางคนแทบไม่เคยมีใครเห็นหน้าค่าตา ไม่เคยย่างกรายเข้ามาทำงานในสำนักงาน ไม่เคยมีประวัติที่ตรวจสอบได้ถึงความรู้ความเชี่ยวชาญด้านสุขภาพ หรือความรู้ที่เกี่ยวข้องกับผลกระทบจากภาคอุตสาหกรรมใด ๆ หรือไม่มีความรู้เรื่อง ขีดความสามารถในการรองเรื่องสิ่งแวดล้อม(Carrying Capacity) ที่สัมพันธ์กับสุขภาพของประชาชนหรือไม่ “ผู้ช่วยคณะกรรมการฯ กลายเป็นคณะผู้ติดตามไปหมด เราจึงอยากให้ สตง.เข้ามาสอบสวนด้วย” นายสุทธิ ย้ำ แต่องค์การอิสระฯดังกล่าว กลับสามารถให้การรับรองโครงการ หรือให้ใบเบิกทางในการก่อตั้งโรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ ที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตคนมาบตาพุด และเป็นใบเบิกทางให้แก่โรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ เข้ามาลงทุนในมาบตาพุด ล่าสุดเครือข่ายประชาชนภาคตะวันออก ได้เริ่มเคลื่อนไหวอีกครั้ง ... คราวนี้พวกเขามุ่งเป้าเรียกร้องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่ง “รื้อ” องค์การอิสระ (ชั่วคราว) แห่งนี้โดยเร็วที่สุด ก่อนที่จะตั้งโต๊ะแจกจ่ายใบประทับรับรองคุณภาพให้อุตสาหกรรมอันตราย ที่สุ่มเสี่ยงจะกลายเป็น “ใบมรณะบัตร” สำหรับชุมชนมาบตาพุดในอนาคต |