อดีตกรรมการ 4 ฝ่าย ผนึกเอกชน จี้รัฐทยอยคลอดบัญชีกิจการรุนแรง หลังบอร์ดสิ่งแวดล้อมสั่งให้ศึกษาเพิ่มอีก 2 เดือน หวั่นไร้จุดสิ้นสุดฉุดลงทุนใหม่สะดุดไม่รู้ทิศทาง ชี้ลุ้นมา 8 เดือน ก็สาหัสมากพอแล้วนายวิฑูรย์ สิมะโชคดี ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า สัปดาห์ที่ผ่านมาได้นำคณะผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรมลงพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จ.ระยอง เพื่อพบปะผู้ประกอบการและประชาชนชุมชนอิสลามในจังหวัดระยอง และติดตามสถานการณ์สิ่งแวดล้อมในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรม และนอกนิคมอุตสาหกรรมด้วยตัวเอง โดยนโยบายของกระทรวงอุตสาหกรรมต้องการให้ชุมชนเข้ามามีบทบาทในการมีส่วนร่วมบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อประสิทธิภาพสูงสุดนายเดชรัตน์ สุขกำเนิด อดีตกรรมการในคณะกรรมการ 4 ฝ่ายเพื่อแก้ไขปัญหามาบตาพุด ที่มีนายอานันท์ ปันยารชุน เป็นประธาน เปิดเผยถึงกรณีที่คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานเห็นชอบให้มีการศึกษาร่างประเภทกิจการที่มีผลกระทบต่อชุมชนรุนแรง ทั้งด้านสิ่งแวดล้อม คุณภาพชีวิต และสุขภาพเพิ่มเติม โดยจะใช้เวลา 2 เดือน ว่า คณะ กรรมการ 4 ฝ่ายได้เสนอประเภทบัญชีกิจการรุนแรงไปแล้ว 18 กิจการ ผ่านความเห็นชอบจากทุกฝ่ายแล้ว หากมีการศึกษาใหม่ไปเรื่อยๆจะไม่มีจุดสิ้นสุด ดังนั้น ประเภทกิจการที่ชัดเจนแล้วก็ควรจะประกาศออกมาเพื่อสร้างความเชื่อมั่นต่อการลงทุนไทย"เราได้ทำหน้าที่มา 8 เดือนและยุติบทบาทไปแล้ว โดยได้ให้ความเห็นประเภทกิจการไว้หมดอย่างละเอียด ซึ่งก็ต้องยอมรับว่าไม่สามารถจะเห็นตรงกันได้ 100% แต่ได้จัดขนาดและสถานที่ตั้งโรงงานและเทคโนโลยีเป็นมาตรฐานที่ยอมรับที่สุดมากำหนด ซึ่งเรื่องนี้ท่านอานันท์ก็ได้ย้ำกับนายกฯว่า ข้อเสนอแนะเห็นต่างได้แต่จะเป็นข้อเสียหายถ้าหากไม่มีข้อยุติ" นายเดชรัตน์กล่าวนายพรชัย รุจิประภา ปลัดกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า ทาง ปตท.ได้หารือกับกระทรวงพลังงานถึงข้อกังวลเกี่ยวกับความชัดเจนในการประกาศประเภทกิจการรุนแรงที่ล่าสุดอาจจะต้องใช้เวลาศึกษาเพิ่มเติมอีก 2 เดือน ซึ่งยอมรับว่ากระทรวงพลังงานคงจะต้องรอการประกาศดังกล่าวในฐานะที่ต้องปฏิบัติตามนายชายน้อย เผื่อนโกสุม ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. อะโรเมติกส์และการกลั่น จำกัด (มหาชน) หรือ PTTAR กล่าวว่า วานนี้ (12 ก.ค.) ได้หารือกับปลัดกระทรวงพลังงานถึงร่างประเภทกิจการรุนแรงที่ยังไม่สามารถประกาศออกมา ซึ่งหากเป็นไปได้ต้องการให้มีการประกาศประเภทกิจการที่มีข้อสรุปออกมาก่อน เพราะหากต้องรอการศึกษาอีก 2 เดือนไม่มั่นใจว่าจะได้ข้อยุติหรือไม่
"เอกชนเห็นว่าข้อสรุปจาก 4 ฝ่ายที่ทำมาถึง 8 เดือนน่าจะได้ข้อยุติ แต่เมื่อศึกษาเพิ่มเติมแล้วจะได้ข้อยุติหรือไม่แล้วจะเปลี่ยนแปลงรายละเอียดมากน้อยแค่ไหนนั่นคือข้อกังวล ทำให้การลงทุนใหม่ทำอะไรไม่ได้ รัฐเองก็ไม่กล้าอนุมัติ หากประกาศรายชื่อกิจการรุนแรงเขาก็จะได้เดินหน้าโครงการได้" นายชายน้อยกล่าว
นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า ระยะเวลาศึกษา 2 เดือนนั้นเห็นว่าค่อนข้างช้าเกินไปหากเห็นต่างในบางกิจการก็สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้โดยควรจะทยอยประกาศเพื่อความชัดเจน และระหว่างนี้เพื่อให้เร็วขึ้นอาจให้คณะอนุกรรมการวินิจฉัยข้อร้องเรียนกิจการตีความควบคู่กันไป ซึ่งจะใช้เวลาไม่เกิน 30 วันผู้สื่อข่าวรายงานว่า เอกชนต้องการเห็นความชัดเจนการประกาศประเภทกิจการรุนแรงเพื่อเป็นกรอบในการวินิจฉัยว่ากิจการใดรุนแรงหรือไม่ หากไม่มีคณะอนุกรรมการวินิจฉัยข้อร้องเรียนกิจการจะยึดเกณฑ์ใดมาพิจารณา ซึ่งอาจนำไปสู่การฟ้องร้องตามมาได้อีก การศึกษาเพิ่มเติม 2 เดือนส่งผลให้ปัญหามาบตาพุดกลับไปสู่จุดแห่งความคลุมเครืออีกครั้ง ซึ่งรัฐควรจะให้เหตุผลว่าศึกษาเพิ่มเติมเพราะสาเหตุใด.
นายชัยวุฒิ บรรณวัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ ได้นำคณะผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรมลงพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง พบปะผู้ประกอบการ และประชาชนชุมชนอิสลามในจังหวัดระยอง และติดตามสถานการณ์สิ่งแวดล้อมในพื้นที่นิคมฯ และนอกนิคมฯ ด้วยตัวเอง เพื่อรับฟังความคิดเห็นจากทั้งสองฝ่าย เพื่อนำมากำหนดเป็นนโยบายที่ต้องการยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชนและสิ่งแวดล้อมให้เกิดอุตสาหกรรมที่ยั่งยืน โดยชุมชนได้เสนอให้มีผู้แทนของชุมชนได้เข้าร่วมเป็นคณะกรรมการในทุกด้าน ทั้งสิ่งแวดล้อม สุขอนามัย การศึกษา เศรษฐกิจและสังคม เพื่อยกระดับมาตรฐานคุณภาพชีวิตโดยภาคประชาชนมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง เพื่อให้แนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจจังหวัดระยองเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ซึ่งชุมชนยังเสนอให้หน่วยงานภาครัฐสานต่อการดำเนินงานของกองทุนมูลนิธิชุมชน เทศบาลเมืองมาบตาพุดและเทศบาลตำบลบ้านฉางที่เกิดขึ้น จากความร่วมมือของผู้ประกอบการ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการใช้เป็นเงินทุนส่วนกลางเพื่อดูแลคุณภาพชีวิตของชุมชนจังหวัดระยองให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น โดยในเรื่องดังกล่าว คาดว่าจะต้องนำมาสู่การพิจารณาและหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยเร็ว เพื่อการใช้เงินกองทุนฯ ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดต่อชุมชน สำหรับการเดินทางไปตรวจดูพื้นที่แนวกันชนสีเขียว ( Bu ffer Zone) บริเวณนิคมฯ อาร์ไอแอล และบ่อขยะในพื้นที่เทศบาลเมืองมาบตาพุด นับเป็นจุดที่สำคัญที่จะต้องควบคุมดูแลสิ่งแวดล้อม ให้มีมาตรฐานความปลอดภัย โดยนโยบายของกระทรวงอุตสาหกรรมจะให้ความสำคัญกับแนวทางการบริหารจัดการกาก อุตสาหกรรมที่จะต้องปรับปรุงระเบียบและแนวทางดำเนินการใหม่ทั่วประเทศ ให้มีความสมดุลกันระหว่างปริมาณขยะ และความสามารถของพื้นที่ในการรองรับจำนวนโรงงานเพื่อควบคุมมลพิษปริมาณกากขยะอุตสาหกรรม
พระราม 6 - นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ในวันที่ 13 ก.ค. จะเชิญบริษัทที่คาดว่าจะติดปัญหามาตรา 67 วรรค 2 ในมาบตาพุดและน่าจะอยู่ในบัญชีรายชื่อกิจการที่อาจส่งผลกระทบรุนแรงประมาณ 10 กว่าบริษัทขนาดใหญ่มาหารือในประเด็นการประกาศบัญชีกิจการรุนแรง หลังจากคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติสั่งทบทวนใหม่เพราะเป็นไปได้ทั้งประกาศและไม่ประกาศรายชื่อกิจการรุนแรง เนื่องจากหลายฝ่ายคิดว่าหากประกาศรายชื่อกิจการแล้วจะช่วยคัดกรองกิจการที่ถูกสั่งระงับชั่วคราวในมาบตาพุดและสร้างความชัดเจนให้ผู้ประกอบการได้ แต่การประกาศจะมีผลต่อโครงการทั่วประเทศที่ได้รับการอนุญาตหลังรัฐธรรมนูญปี 2550 ซึ่งอาจ ส่งผลให้โครงการจำนวนมากต้องเข้าระบบตาม มาตรา 67 วรรค 2 จึงต้องพิจารณาอย่างรอบ คอบเพื่อป้องกันปัญหาในระยะยาว
นายเดชรัตน์ สุขกำเนิด อดีตกรรมการ 4 ฝ่ายเพื่อแก้ไขปัญหามาบตาพุด กล่าวว่า การที่นา ยกรัฐมนตรีให้กลับไปศึกษาประกาศรายชื่อกิจ การรุนแรงใหม่โดยใช้เวลา 2 เดือน ทั้งที่คณะกรรม การ 4 ฝ่ายเปิดรับฟังความคิดเห็นจากทุกฝ่ายแล้ว อาจไม่มีที่สิ้นสุด ดังนั้น ประเภทกิจการที่ชัดเจนแล้ว ควรประกาศเพื่อสร้างความเชื่อมั่นต่อการลงทุน
นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า 2 เดือนช้าเกินไป แต่ควรทยอยประกาศและอาจให้คณะอนุกรรมการวินิจฉัยข้อร้องเรียนกิจการตีความควบคู่กันซึ่งใช้เวลาไม่เกิน 30 วัน.
เอาเถอะครับ ... ทุกฝ่ายเร่งรัดกันหมด ยิ่งเร่งก้อยิ่งทำให้รู้ว่า ทุกฝ่ายเห็นคนมาบตาพุด เป็นมดเป็นปลวก กันหมด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น