วันอังคารที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ปิดฝาโลง ฝังขบวนการตรวจสอบ ปตท.มักง่าย โดยศาลปกครอง

"ปิดฝาโลง ฝังขบวนการตรวจสอบ โรงแยกก๊าซใหม่สร้างทำไม่ได้มาตรฐาน โดยศาลปกครอง" ที่จะชี้ให้เห็นชัดเจนแล้วว่า "ปตท.องค์กรมักง่าย ฉ้อฉล อยู่เหนือ กม. อยู่เหนือศาล อยู่เหนือการตรวจสอบ""...เว้ยเฮ้ย!!!
๐ 10.30 น. 6 สิงหาคม 56 คำสั่งศาลปกครองสูงสุด แจงซ้ำๆ "ชาวบ้านไม่มีสิทธิ์ กลัวเจ็บกลัวตาย - ชาวบ้านไม่มีสิทธิ์ฟ้อง" (ทิ้งชาวบ้านให้เสี่ยงตาย กับความมักง่าย ของ ปตท. หน่วยงานต่างๆ ก็อ้างว่าไม่มีอำนาจไปตรวจสอบ เพราะศาลปกครองไม่รับฟ้อง)



เคยเห็นกันมั้ยครับ ผู้ที่ไม่ได้รับความยุติธรรม จากศาลปกครอง จะออกมาป่าวร้อง อะไรๆ แบบนี้ ปตท.แจงว่า มีมาตรการตรวจสอบ ร่วมกับเทศบาล เป็นระยะๆ ในห้วงเวลาหนึ่ง เพื่อสร้างความมั่นใจ ว่าจะไม่สร้างปัญหา สุดท้ายไม่ได้ดำเนิน และศาลปกครอง ก็ไม่เคยที่จะทวงถาม นี่หรือขบวนการของศาลปกครอง ที่บอกว่า เป็นระบบไต่สวน สอบสวน ทั้งๆ ที่ไม่มีการดำเนินการเลย หนังสือชี้แจง ไม่ทำให้อะไรๆ แข็งแรงขึ้นได้ครับ ความมั่นคงแข็งแรงเป็นเรื่องวิทยาศาสตร์ ตรวจสอบพิสูจน์ สิครับ ว่า มันไม่มีปัญหา เพราะเกิดเหตุแล้ว ปตท.ไม่พร้อมรับมือฯ





เรื่องเสาเข็ม เป็นความมักง่ายต่ำกว่ามาตรฐาน แต่ การใช้แบบก่อสร้างที่ไม่มีมาตรฐาน งานพื้นฐานรากฐาน โรงแยกก๊าซใหม่ จึงสร้างทำไม่ได้มาตรฐาน ครับ

ปตท.แจง ศาลปกครองว่า มีมาตรการตรวจสอบ ร่วมกับเทศบาล เป็นระยะๆ ในห้วงเวลาหนึ่ง เพื่อสร้างความมั่นใจ ว่าจะไม่สร้างปัญหา สุดท้ายไม่ได้ดำเนิน และศาลปกครอง ก็ไม่เคยที่จะทวงถาม นี่หรือขบวนการของศาลปกครอง ที่บอกว่า เป็นระบบไต่สวน สอบสวน ทั้งๆ ที่ไม่มีการดำเนินการเลย หนังสือชี้แจง ไม่ทำให้อะไรๆ แข็งแรงขึ้นได้ครับ ความมั่นคงแข็งแรงเป็นเรื่องวิทยาศาสตร์ ตรวจสอบพิสูจน์ สิครับ ว่า มันไม่มีปัญหา เพราะเกิดเหตุแล้ว ปตท.ไม่พร้อมรับมือฯ

หน่วยงานรัฐ อนุมัติ แบบที่ไม่มีมาตรฐาน ถือว่าเป็นการปล่อยปละละเลย เพราะโรงแยกก๊าซใหม่มีอันตรายรุนแรง ที่ทำให้คนทั้งตำบลเจ็บตายได้ ย่อมต้องใช้ความถี่ถ้วนในการตรวจสอบก่อนที่จะอนุมัติให้มีการสร้างทำ ดำเนินการ



อดีตผู้ว่าสยุมพร ย้ำด้วยว่าภัยพิบัติจากเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมในพื้นที่จังหวัดระยอง เกิดขึ้นมาแล้วนับครั้งไม่ถ้วน บางเหตุการณ์เกิดขึ้นซ้ำซาก การแก้ไขปัญหาที่ผ่านมาส่วนใหญ่ ก็มักเป็นไปด้วยรูปแบบและวิธีคิดเดิมๆ คือเข้าไประงับเหตุและช่วยเหลือผู้ได้รับความเดือดร้อน

ภัยพิบัติจากคราบน้ำมันรั่วไหลที่เกาะเสม็ดครั้งนี้ น่าจะนำไปสู่แนวคิดใหม่ๆ ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาระยะยาวเสียที มิใช่ดำเนินการแบบวัวหายล้อมคอกเช่นทุกครั้ง

สิ่งหนึ่งที่ควรดำเนินการคือ การกำหนดให้ผู้ที่กระทำให้เกิดเหตุการณ์ขึ้น ต้องจ่ายค่าชดเชยทางสังคม ให้มากพอ มิใช่เฉพาะ การเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบเท่านั้น โดยอาจจัดตั้ง กองทุนภัยพิบัติ ขึ้นในพื้นที่จังหวัดระยอง หากผู้ประกอบการรายใดได้กระทำให้เกิดความเสียหายขึ้นในพื้นที่ นอกจากจะต้องดำเนินการตามกฎหมายและเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบแล้ว จะต้องจ่ายค่าชดเชยมูลค่าจำนวนมากตามสัดส่วนความเสียหายที่กระทบต่อสังคมเข้ากองทุนด้วย

มาตรการดังกล่าวจะช่วยให้ภาคเอกชนเพิ่มความระมัดระวังและมีมาตรการที่มีประสิทธิภาพ เพื่อมิให้เกิดเหตุการณ์ทำนองนี้ขึ้นเพราะจะนำไปสู่ความรับผิดชอบที่มากขึ้นตามไปด้วย.