วันเสาร์ที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ขบวนการศาลปกครองไทย ละเมิดสิทธิความเป็นมนุษย์ คนมาบตาพุด



สิทธิพื้นฐานความเป็นมนุษย์ คือ การกลัวเจ็บกลัวตาย

การมีศาลปกครอง ซึ่งเสมือนหนึ่ง การถวายฏีกาต่อองค์พระมหากษัตริย์ และเป็นที่พึ่งของประชาชนโดยตรงตาม รธน. ปี 2540 และ ปี2550 แต่การดำเนินการ กลับทิ้งภัยความหวาดกลัว หวั่นวิตกให้กับประชาชนชาวบ้าน - การวินิจฉัยไต่สวนที่ล่าช้า และได้ใช้หลักวิชาหลักเหตุผลหรือข้อกฏหมายอะไร ที่บอกว่า "โรงงานสารเคมี-วัตถุไวไฟอันตราย ไม่จำเป็นต้องสร้างให้มั่นคงแข็งแรงเหมาะสมและไว้วางใจได้ ซึ่งสวนทางกลับข้อ กม. พรบ.ต่างๆ" การอ้างเพียงมีวิศวกรลงนามกำกับแล้ว เป็นประเด็นหลัก ที่จะทิ้งภัยเสี่ยงให้สาธารณะนั้นสมควรแค่ไหน เพราะการสร้างทำก็ใช้ค่าพื้นฐานในการออกแบบ แตกต่างกับโรงงานทั่วไป และใกล้คียงมากถึง 6 เท่านั้น การอ้างอิงเพียงการรับผิดชอบของวิศวกรที่ลงนามในแบบ จึงเป็นการวินิจฉัยที่ไม่ได้อิงหลักวิชาหลักเหตุผล ของตุลาการศาลปกครองระยอง และทั้งนี้การติดตามคำสั่งอุทรณ์ ที่มีมาโดยตลอด ซึ่งมีหนังสือ คำฟ้อง คำชี้แจงเพิ่มเติม รวมทั้งหนังสือขอให้เร่งรัดการพิจารณา เพราะมีประเด็นสืบเนื่องถึง 3 ครั้ง รวมหนังสือที่ส่ง มากถึง 10 ฉบับ

เหตุการณ์ต่างกรรมต่างวาระ เหตุที่ไม่ควรเกิด และไม่มีใครคาดคิดว่าจะเกิด นำเสนอให้ศาลปกครองแล้วทั้งหมด ซึ่งมีความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกันด้วยทั้งหมด

  1. ก๊าซคลอรีนรั่ว ที่มาจากถังคลอรีนล้มพัง เพราะฐานทรุด เมื่อ 7 มิ.ย.53 เกิดขึ้นหลังจากศาลไม่รับไต่สวนฉุกเฉินเพียง 2 วัน
  2. น้ำท่วมโรงแยกก๊าซ เมื่อ 12 ก.ค.53 ไม่กี่ชั่วโมง ก่อนที่ ปตท. จะชี้แจ้งชาวบ้านว่า โรงแยกก๊าซใหม่ ที่ไม่ตอกเสาเข็มฐานรากทั้งหมด แข็งแรงปลอดภัยดี
  3. เหตุแท่นเจาะ ปตท.สผ. รั่ว-ไฟไหม้-ระเบิด กลางทะเลติมอร์ เมื่อ ส.ค.52  ซึ่งมีสาเหตุมาจากการสร้างทำต่ำกว่ามาตรฐาน และชี้แจงแจ้งเท็จ
  4. เหตุโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ญี่ปุ่นระเบิด ที่มาจากการละเลยการตรวจสอบและชี้แจงแจ้งเท็จ สืบเนื่องเหตุสึนามิญี่ปุ่น 11 มี.ค.54
  5. เหตุหลายนิคมอุตสาหกรรมล่มจมน้ำจำนวนมาก ทั้งที่หลายฝ่ายคิดว่า เอาอยู่ รวมถึง กรณีน้ำท่วมสนามบินดอนเมือง (ที่ถูกเลือกตั้งเป็น ศปภ.) และน้ำท่วม คณะวิศวเกษตรบางเขน เสียหายหนัก เพราะขนของหนีน้ำไม่ทัน ทั้งๆที่มีเวลา
  6. เหตุโรงงาน BST ระเบิด เมื่อเกิดเหตุแล้วระงับไม่ได้ถ้าไม่มีฝนช่วย การจัดการสถานการณ์ฉุกเฉินภาคประชาชน=0 ชาวบ้านอพยพหนีตายเพราะดูข่าวในทีวี

จากทั้งหมดที่กล่าวมาเพียงย่นย่อนั้น การติดตามคำสั่ง ซึ่งได้รับทราบว่าอยู่ระหว่างตรวจอักษรนั้น ผ่านมานานกว่า 150 วัน หรือ 5 เดือน และนี่หรือคือ ระบบยุติธรรมที่มีอยู่ ที่อ้างว่าเป็นที่พึ่งโดยตรงของประชาชน ตามรัฐธรรมนูญ และมีหน้าที่ดูแลทุกข์สุขประชาชน ต่างพระเนตรพระกรรณ์ขององค์พระมหากษัตริย์ ดุลยพินิจอันอิสระแบบไหน ที่ทิ้งให้ประชาชน พสกนิกรของ ในหลวง อยู่เสี่ยงภัยเสี่ยงตาย และจะทันการณ์ทันเวลาหรือไม่ กับฤดูฝนที่จะมาถึง ฝนตกหนักขึ้น พายุรุนแรงขึ้น มากกว่าที่เคยเกิด เหตุภัยธรรมชาติที่ผ่านมาเป็นเช่นนี้ ใยทิ้งให้ประชาชน เสี่ยงภัยเสี่ยงหายนะกับ โรงแยกก๊าซใหม่ ที่ 6 และโรงแยกก๊าซอีเทน ของ ปตท. กับคลังก๊าซแอลพีจี ปริมาณมากกว่า 4 พันคันรถ แค่ทรุดพังเล็กน้อย ท่อ-ข้อต่อ บิดแตก ก๊าซรั่วไฟไหม้ ถ้าระเบิดและเอาไม่อยู่ อะไรจะเกิดขึ้น เพราะอยู่ติดตลาดอยู่ตรงกลางระหว่างชุมชน และมีโรงงานอันตราย รายล้อมอยู่จำนวนมาก ทั้งโรงไฟฟ้า-โรงกลั่น ที่จะเกิดเหตุลุกลามต่อเนื่องอีก ... วันนี้ที่จะเรียกร้องซ้ำผ่านสื่อออนไลน์ถึง คณะตุลาการศาลปกครองสูงสุด กับสำเหนียกสำนึกสาธารณะ และตระหนักถึงภัยใหญ่หลวงที่จะเกิดกับประเทศชาติด้วย ฯ

เรียนมาด้วยความเคารพ ด้วยความห่วงใยประเทศไทย และคนไทย ... 9 มิ.ย.55

วันอังคารที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ผอ.กนอ.มาบตาพุด ยันจะตรวจสอบ โรงงานเสี่ยง ของ ปตท. ที่ไม่ตอกเสาเข็มฐานราก



16.30 วันนี้ 5 มิ.ย. 55 - ผ่านเหตุการณ์โรงงาน BST ระเบิด ครบ 1 เดือน ผู้ประสานงาน กลุ่มพิทักษ์อากาศสดชื่น มาบตาพุด เข้าประชุมร่วม 2 ฝ่าย กับ นายประทีป เอ่งฉ้วน ผอ.การนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด (กนอ.) เืพื่อติดตามข้อร้องเรียนที่เสนอ ซึ่งก่อนหน้านี้ ได้เข้าพบกับ ผู้ว่าการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย มาแล้วเมื่อ 2 สัปดาห์ก่อน ทั้งนี้ นายประทีป ได้ขอรายละเอียดเพิ่มเติม และได้แสดงเจตน์จำนงว่า ทาง กนอ.มาบตาพุด จะตรวจสอบ โรงงานต่างๆ ของ ปตท. ที่สร้างไม่แข็งแรงไม่เหมาะสม และไม่น่าไว้วางใจ ที่ไม่ตอกเสาเข็มฐานรากของโรงงาน เพราะเป็นโรงงานวัตถุอันตราย ทั้งที่ควรต้องสร้างทำให้แข็งแรงมั่นคงเป็นพิเศษ ที่จะต้องไม่เสี่ยงทรุด เพราะเกิดเหตุขึ้นทั้งก๊าซรั่ว-ระเบิด จะสร้างความเสียหายมาก ทั้งนี้ คุณศรัลย์ ได้เสนอให้เร่งรัดให้มีขบวนการตรวจสอบ-ซ่อมสร้าง ที่จะให้ทันการณ์-ทันเวลา กับฝนจะมา พายุจะเข้า ซึ่งคุณประทีป รับปากจะเร่งรัดดำเนินการ และจะตอบจดหมายส่งให้เป็นทางการอีกครั้ง

ทั้งนี้กรณี โรงแยกก๊าซที่ 6 และโรงแยกก๊าซอีเทน อยู่นอกเหนือเขตรับผิดชอบ ของ กนอ. ซึ่งให้ความเห็นว่า นายกเทศมนตรี มาบตาพุดมีอำนาจเต็มที่จะสั่งให้มีการตรวจสอบ-ซ่อมสร้างได้ เพราะมีอำนาจทางกฏหมายระบุไว้อย่างชัดเจน ทั้งนี้จะประสานหลายส่วนที่เกี่ยวข้องอีกครั้งเพราะ ถ้าเกิดเหตุร้ายขึ้น นิคมมาบตาพุดย่อมเสียหายด้วยทั้งหมด ทั้งจะเสียหายกับประเทศชาติ ด้วยเพราะมาบตาพุด เป็นพื้นที่อุตสาหกรรมพลังงาน ซึ่งถ้าเกิดเหตุโรงไฟฟ้า โรงกลั่น โรงแยกก๊าซ อยู่ตรงนี้ทั้งหมด แต่ในส่วน พื้นที่ความรับผิดชอบของ กนอ. เบื้องต้นจะเร่งตรวจสอบโรงงาน ปตท. ที่ไม่ตอกเสาเข็ม ที่อยู่ในเขตความรับผิดชอบก่อน ฯ