วันอาทิตย์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

สารพัดกรรมการมาบตาพุด

สารพัดกรรมการมาบตาพุด 5 เดือนบนความหวังที่นักลงทุนรอคอย วันที่ 01 มีนาคม พ.ศ. 2553 ปีที่ 33 ฉบับที่ 4188 ประชาชาติธุรกิจ การที่ศาลปกครองกลางมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวให้ระงับการดำเนินการ 76 โครงการในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดและบริเวณใกล้เคียง ผลกระทบในปัจจุบัน ไม่เพียงแต่โครงการลงทุนขนาดใหญ่จะไม่สามารถลงทุนต่อไปได้แล้ว ยังส่งผลถึงความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างประเทศที่จะลงทุนในประเทศไทยในอนาคตด้วย นับจากวันที่ 29 กันยายน 2552 ที่ศาลปกครองกลางมีคำสั่งระงับโครงการกระทั่งถึงปัจจุบันนับเป็นเวลาเกือบ 5 เดือนแล้วที่ความพยายามแก้ไขปัญหาของรัฐบาล ภายใต้การนำของ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ไม่ประสบผลสำเร็จ มีเพียงแต่คำปราศรัยสร้างความเชื่อมั่นในเชิงจิตวิทยาไปวัน ๆ พร้อม ๆ กับการตั้งคณะกรรมการขึ้นมามากมายในขณะที่ปัญหาก็ยังคงวนกลับมาที่เก่า สารพัดอนุกรรมการ คณะกรรมการชุดแรกที่เริ่มต้นเข้ามาดูแลปัญหามาบตาพุด ได้แก่ คณะกรรมการร่วม 4 ฝ่าย แก้ไขปัญหามาบตาพุด ที่คณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจมีมติแต่งตั้งในวันที่ 11 พฤศจิกายน 2552 โดยมอบหมายให้ นายอานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน มีตัวแทนจาก 4 ภาคส่วนหลักที่เกี่ยวข้องกับปัญหา คือ ภาคราชการ, ภาคเอกชน, ผู้ทรงคุณวุฒิ และภาคประชาชน หน้าที่หลักของคณะกรรมการ 4 ฝ่าย ได้แก่ การแก้ไขปัญหา "เฉพาะหน้า" กำหนดกรอบการดำเนินการต่าง ๆ ให้โครงการในมาบตาพุดที่ศาลปกครองมีคำสั่งระงับดำเนินการ ให้เดินหน้าต่อได้ตามกรอบกฎหมาย พร้อม ๆ กับกำหนดแนวทางต่าง ๆ ให้เป็นไปตามเงื่อนไขของมาตรา 67(2) รัฐธรรมนูญ 2550 เพื่อเป็นกรอบสำหรับโครงการลงทุนทั่วประเทศ โดยข้อสรุปของคณะกรรมการ 4 ฝ่ายจะนำเสนอให้รัฐบาลพิจารณาเห็นชอบออกเป็นระเบียบ-กฎหมายให้มีผลบังคับใช้ต่อไป
ปรากฏคณะกรรมการ 4 ฝ่ายได้ใช้วิธีการทำงานด้วยการจัดตั้งคณะอนุกรรมการมาร่วมหารือ หาข้อสรุปในประเด็นต่าง ๆ เพื่อนำเสนอต่อคณะกรรมการ 4 ฝ่าย เบ็ดเสร็จแล้ว มีคณะอนุกรรมการภายใต้ คณะกรรมการ 4 ฝ่ายถึง 4 ชุดด้วยกัน ได้แก่ 1) คณะอนุกรรมการสำหรับกระบวนการจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) และรายงานผลกระทบสุขภาพ (HIA) มอบหมายให้นายแพทย์ชูชัย ศุภวงศ์ เป็นประธาน 2) คณะอนุกรรมการศึกษาและเติมเต็มทางเทคนิคเพื่อลดและขจัดมลพิษ ในมาบตาพุดและพื้นที่ใกล้เคียง มีนายสุทิน อยู่สุข เป็นประธาน 3) คณะอนุกรรมการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน เพื่อปรับปรุงรายการโครงการหรือกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง ทั้งทางด้านสิ่งแวดล้อม-ทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพ ให้ นายธงชัย พรรณสวัสดิ์ เป็นประธาน และ 4) คณะอนุกรรมการจัดการผังเมืองในพื้นที่มาบตาพุด มอบหมายให้นายโกศล ใจรังษี รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธาน กก.องค์การอิสระ แปลงร่างจาก กก. 4 ฝ่าย หลังจากการทำงานของคณะกรรมการ 4 ฝ่ายผ่านพ้นไปได้ 2 เดือน ก็ได้ข้อสรุปกระบวนการจัดทำ EIA/HIA สำหรับกิจการรุนแรง กับกรอบของการจัดตั้ง "องค์การอิสระ" เพื่อให้ความเห็นโครงการ ผลสรุปที่ได้ถูกนำเสนอต่อรัฐบาลในวันที่ 19 มกราคม 2553 คณะรัฐมนตรีจึงได้มีมติแต่งตั้ง คณะกรรมการประสานงานองค์การอิสระ ขึ้นมา โดยมอบหมายให้ นายอานันท์เป็นประธานอีกเช่นเคย คณะกรรมการชุดนี้จะทำหน้าที่ประสานผู้แทนองค์กรเอกชนด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ, ผู้แทนจากสถาบันอุดมศึกษา รวมทั้งจัดตั้ง "องค์การอิสระระดับชาติ" ซึ่งจะใช้เวลาไม่เกิน 60 วัน โดยองค์ประกอบตัวแทนของคณะกรรมการชุดนี้จะมาจากชุดของคณะกรรมการ 4 ฝ่ายแทบทั้งหมด โดยการทำงานของคณะกรรมการประสานงานองค์การอิสระ ได้มีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการตรวจสอบคุณสมบัติของ ผู้สมัครจากองค์กรเอกชนหรือสถาบัน อุดมศึกษา ว่าเหมาะสมที่จะมาเป็นตัวแทนการจัดตั้งองค์การอิสระหรือไม่ ทั้งนี้บทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการประสานงานองค์การอิสระจะสิ้นสภาพ เมื่อ พ.ร.บ.องค์การอิสระมีผลบังคับใช้ กระทรวงอุตฯร่วมแจม ประธาน กก.ประสานช่วยเหลือเอกชน นอกเหนือจากคณะกรรมการที่มีหน้าที่กำหนดกรอบการดำเนินการโครงการให้เป็นตามกฎหมายแล้ว ทางด้านเศรษฐกิจการลงทุน คณะรัฐมนตรียังมีมติเมื่อวันที่ 26 มกราคม 2553 ตั้งคณะกรรมการประสานให้คำปรึกษาภาคเอกชนในการดำเนินการตามมาตรา 67(2) มอบหมายให้นายสรยุทธ เพ็ชรตระกูล ผู้ช่วยรัฐมนตรี ว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมเป็นประธาน เพื่อทำหน้าที่รวบรวมข้อมูลเพื่อหาทางแก้ไขให้กับโครงการที่ถูกศาลปกครองระงับ รวมทั้งหาทางช่วยเหลือโครงการที่มีปัญหากับสถาบันการเงินไทยและต่างชาติ ผลงานล่าสุดของคณะกรรมการชุดนี้ได้รวบรวมข้อมูลจากภาคเอกชนให้อัยการสูงสุดเป็นผู้ยื่นคำร้องต่อศาลปกครองกลาง ในการขอผ่อนผันเฉพาะการก่อสร้างและหรือทดสอบเครื่องจักรไม่รวมถึงการประกอบกิจการให้แก่ 10 บริษัทจำนวน 12 โครงการ นอกเหนือจากนั้นคณะกรรมการประสานให้คำปรึกษาภาคเอกชน ยังได้กำหนดแนวทางสำหรับ 64 โครงการที่ถูกศาลระงับการดำเนินการไปก่อนหน้านี้ให้มีโอกาสเดินหน้าโครงการต่อได้อีก 3 กรณี ได้แก่ กรณีที่ 1 ผู้ประกอบการต้องขอหนังสือยืนยันจากสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) ว่า เป็นโครงการหรือกิจการที่ไม่ต้องจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA)ตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ลงวันที่ 16 มิถุนายน 2552 เช่นโครงการที่มีการซื้อพื้นที่เพิ่ม ไม่จำเป็นต้องทำ EIA ใหม่ เนื่องจาก EIA ฉบับเดิมที่ผ่านการเห็นชอบก่อนรัฐธรรมนูญ 2550 จะมีผลบังคับใช้นั้นได้ครอบคลุมการก่อสร้างและผลิตของโครงการอยู่แล้ว กรณีที่ 2 ผู้ประกอบการต้องขอหนังสือยันยืนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นโครงการหรือกิจกรรมที่ได้รับใบอนุญาตก่อนวันที่ 24 สิงหาคม 2550 ก่อนรัฐธรรมนูญปัจจุบันจะมีผลบังคับใช้ และกรณีที่ 3 ต้องยื่นขอผ่อนผันต่อศาลโดยใช้เหตุผลเทียบเคียงกับ 11 โครงการที่ศาลปกครองสูงสุดวางกรอบไว้ เป็นโครงการ หรือกิจกรรมที่ไม่น่าก่อให้เกิดผลกระทบรุนแรง กรณีนี้มีเข้าข่ายอยู่ 9 โครงการ ซึ่งอยู่ในระหว่างรวบรวมข้อมูลเพื่อสรุปและมอบหมายให้อัยการสูงสุดเป็นตัวแทนยื่นต่อศาลปกครองพิจารณาต่อไป ทั้งหมดนี้จะเห็นว่า เวลา 5 เดือนในการแก้ปัญหามาบตาพุด ล้วนหมดไปกับการ ตั้งคณะกรรมการ 3 ชุด คณะอนุกรรมการ 5 ชุด เพื่อสรุปแนวทางการแก้ไขปัญหาให้กับภาคเอกชน มีการใช้บุคลากรเป็นจำนวนมาก แต่ผลที่ได้รับภาคเอกชนกลับขาดความเชื่อมั่นในการดำเนินการของรัฐบาล แม้กระทั่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเองก็ยังดำเนินการไปคนละทิศคนละทาง ส่งผลให้การแก้ไขปัญหามาบตาพุด ไม่ปรากฏผลสำเร็จเป็นรูปธรรมแต่อย่างใด

วันศุกร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ยังไม่จบง่าย ... นักโทษชาย ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี

ผลจากการพิพากษา ... แค่เรื่องการยึดทรัพย์ 46,000 ล้าน ที่บอกชัดว่าฉ้อฉล

คดีอื่นๆ ที่คงค้าง คดีหนีภาษี ที่ยังถูกอายัดไว้ !!! ของลูกชายลูกสาว

และคำอาฆาตมาดร้าย ด้วยการยกกลอน ดาบนั้นคืนสนอง และเรียกร้องประชาธิปไตยแบบโกงแล้วต้องได้เงินอีก

ครานี้ เห็นรัฐบาลขี้ฉ้อ จะรอดยาก เพราะมีเงินมาจ้างม๊อบใหญ่ อีก 3 หมื่นล้าน ครานี้ล่ะ คอยรับมือกันนะ ... เด็กแก้เชือกว่าว ถ้าแก้มันยากนัก ก้อตัดปมต่อปลาย มันจะได้จบๆ ไปทีละปม เสียเวลาชาติ...มานานมากแล้ว

วันพฤหัสบดีที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ศาลนัดลงพื้นที่ดู12โครงการมาบตาพุด

ศาลปกครองนัดลงพื้นที่ตรวจสอบ12โครงการมาบตาพุด 22 ก.พ. ก่อนพิจารณาอนุญาตสร้างต่อหรือไม่

ก้อเห็นก่อสร้าง... กันอยู่ จะมาดูแบบนั้น มั้ย!!!

วันนี้(18 ก.พ.) องค์คณะตุลาการศาลปกครองกลาง ที่มีนายภานุพันธ์ ชัยรัต ตุลาการหัวหน้าศาลปกครองกลาง ในฐานะตุลาการเจ้าของสำนวน ได้ไต่สวนนัดแรก กรณีที่อัยการสูงสุด ยืนอุทธรณ์คำสั่งศาลปกครองสูงสุด โดยขอให้ 12 โครงการมาบตาพุด ที่ศาลมีคำสั่งระงับการดำเนินการไว้ก่อนจนกว่าจะมีคำพิพาษานั้น สามารถก่อสร้างโครงการให้แล้วเสร็จได้ ภายหลังจากการไต่สวนโดยใช้เวลานานกว่า 3 ชั่วโมง นายศรีสุวรรณ จรรยา นายกสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน เปิดเผยว่า ในการไต่สวนตัวแทน 12 โครงการได้ชี้แจงต่อศาลว่า ต้องการขออนุญาตก่อสร้างโครงการให้แล้วเสร็จก่อน โดยอ้างเรื่องผลกระทบทางเศรษฐกิจ และเมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จก็พร้อมจะปฎิบัติตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 67 วรรค 2 พร้อมกับระบุว่า ในอนาคตหากศาลมีคำพิพากษาออกมาเป็นอย่างไรก็พร้อมจะน้อมรับ โดยจะไม่เรียกค่าเสียหายจากรัฐ นายศรีสุวรรณ กล่าวอีกว่า แต่ในส่วนของสมาคมได้โต้แย้งว่า หากปล่อยให้ 12 โครงการมีการก่อสร้างก็ไม่ได้มีหลักประกันการดูแลสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชน เพราะตลอดเวลาที่ผ่านมาก็เกิดเหตุขึ้นหลายครั้ง ไม่ว่าจะเป็นการรั่วของแก๊ส โดยไม่มีหน่วยงานของรัฐเข้ามารับผิดชอบ ดังนั้นถ้าศาลอนุญาตให้ 12 โครงการเดินหน้าก่อสร้าง ก็อาจเกิดเหตุซ้ำรอยได้ ทั้งนี้ศาลเห็นว่า เพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงที่ถูกต้อง ทางคณะตุลาการ จึวจะลงพื้นที่ตรวจสอบข้อเท็จจริงในวันที่ 22 ก.พ. นี้.

“มาร์ค” ลั่น GT-200 ความเสี่ยงสูง ห่วงชีวิต ประชาชน แล้วคนมาบตาพุด ล่ะ! ไม่ใช่คนรึไง

นักการเมือง - พรรคการเมือง ทำ-พูด แค่เอาตัวรอด !!! กรณี ... คนมาบตาพุด เสี่ยงตาย เงียบกันหมด เร่งรัดให้เดินหน้ากันได้ทุกวัน อ้างว่า กระทบเศรษฐกิจ จะมีปัญหาด้านพลังงาน ญี่ปุ่นจะถอนการลงทุน ทั้งภาครัฐ ทั้งสื่อมวลชน ประสานเสียงกัน จนผู้คนในบ้านนี้เมืองนี้ มองว่า การหยุดรอมาบตาพุด ... เป็นปัญหาชาติ
ภาครัฐ รู้ข้อมูลความเสี่ยง ตั้งแต่ 16 มกราคม 53 ปตท. รู้ข้อมูลความเสี่ยง 18 ธันวาคม 53 สื่อมวลชน -ภาคประชาสังคม รับรู้ ... 6 กุมภาพันธ์ 53 แต่ กำลังจะปล่อยให้คนมาบตาพุด เหมือนนกเหมือนปลาเหมือนสัตว์น้ำกลางทะเล ที่พอเกิดอะไรขึ้น ออกมาบอกว่า "ควบคุมไม่ได้" ปล่อยให้มันมอดใหม้ และดูเหมือนว่า ไม่มีใครในประเทศนี้ สนใจ ... ที่จะรู้อะไร เพราะข่าวถูกปิดเงียบหมด.-
นายกฯ อภิสิทธิ์ เห็นต่างกองทัพ ชี้จีที 200 ไม่ควรใช้ ระบุชัดมีความเสี่ยงสูง ไม่คุ้มกับชีวิตประชาชน ระบุสั่งกลาโหม-ก.วิทย์เร่งทำความเข้าใจผู้ใช้และผู้เกี่ยวข้อง ขู่เล็งเรียกค่าเสียหายบริษัทตัวปัญหา แต่ระบุขอตรวจสอบอีกครั้งมีใครบ้าง สวนบริษัทผู้ผลิตหากมั่นใจของดีจริง ให้ยืนยันให้ชัดเจน เชื่อต้องมีการผ่าพิสูจน์แน่ เผยรอหน่วยงานที่เกี่ยวข้องส่งข้อมูลก่อนทำหนังสือถึงอังกฤษ
คลิกที่นี่ เพื่อฟัง นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ให้สัมภาษณ์ วันนี้ (18 ก.พ.) เมื่อเวลา 15.50 น. ที่รัฐสภา นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีกล่าวถึงกรณีปัญหาเครื่องตรวจมวลสารรุ่นจีที 200 ว่า เรื่องทั้งหมดยังไม่จบตนเข้าใจว่า สิ่งที่เขาสะท้อนให้เห็นคือประสบการณ์ของผู้ใช้ และผู้ใช้ในพื้นที่ก็ยืนยันในความมั่นใจของตัวเอง แต่ในเชิงนโยบายก็ได้ยืนยันว่าเมื่อมีการทดสอบและทดลองในเชิงวิทยาศาสตร์ในการพิสูจน์แล้วก็ต้องเชื่อผลทางวิทยาศาสตร์ และน่าจะสอดคล้องกับข้อมูลที่ปรากฏมาเป็นระยะๆ ในต่างประเทศ และตรงนี้เป็นเหตุผลหนึ่งที่ต้องให้กระทรวงวิทย์ไปทำความเข้าใจกับคนที่ใช้ในพื้นที่ เพื่อที่จะช่วยกันดูและอธิบายว่าที่มีความเชื่อว่าที่ใช้กันได้ ปัจจัยที่เกี่ยวข้องคืออะไร และเมื่อทำความเข้าใจตรงนี้แล้ว คงจะทำให้การดำเนินการต่อไปสับสนน้อยลง เมื่อถามว่าหากเจ้าหน้าที่ยังจะใช้งานต่อไปจะไม่เป็นการหักหน้ากันของเจ้าหน้าที่หรือ นายกฯ กล่าวว่า ไม่ ไม่มีการไปดำเนินการ เพราะในเรื่องตัวบุคคลแนวจะชัดเจน เพราะตอนนี้ถ้าไปใช้ ผู้ปฏิบัติจะทราบจากผู้บังคับบัญชาว่าเมื่อผลของการทดสอบออกมาและไปใช้แล้วเกิดปัญหากับตัวบุคคล ความปลอดภัยผู้ใช้จะมีความเสี่ยงอย่างสูง เพราะจะมีความรับผิดชอบที่สูงขึ้น ว่ามีรายงานในเรื่องอุปกรณ์ที่ใช้ไม่ได้ “ผมคิดว่าเรื่องนี้ผู้บังคับบัญชาได้ทำความเข้าใจกับเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติ เราก็เข้าใจความรู้สึกของเจ้าหน้าที่ผู้ปฎิบัติ โดยเฉพาะในพื้นที่ 3 จังหวัดภาคใต้ที่เขาคิดว่าเครื่องนี้เป็นอุปกรณ์สร้างความมั่นใจให้กับเขา แต่ขณะนี้มันยังไม่มีอะไรที่ไปทดแทนได้ ก็ย่อมเป็นปัญหาสำหรับเขาในขณะนี้และหากจะเอามาใช้ก็จะมีความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นกับทุกฝ่าย” นายกฯ กล่าว เมื่อถามว่ามีการเสนอให้นำไปทดลองในพื้นที่จริง นายกฯ ถามกลับมาว่า ใครจะออกแบบทดลอง และคำว่าทดลองในพื้นที่จริงแปลว่าอะไร “ผมยกตัวอย่างว่า ที่เขาบอกว่ามีมอเตอร์ไซค์ 3 คัน ชี้ไปแล้วเจอ 1 คัน เขาก็นับว่าอันนี้เจอ คิดเป็นสัดส่วนเป็น 100 เปอร์เซ็นต์ คำถามก็คือว่า ผมไม่ทราบว่าเขาตรวจอีก 2 คันหรือเปล่า ถ้าทั้ง 3 คันมีอยู่เขาชี้ไปทางไหนมันก็เจอ แต่เขาไม่ได้ดูว่าอีก 2 คันมันมีหรือไม่ เพราะฉะนั้น นักวิทยาศาสตร์เขาก็อธิบายว่าในพื้นที่ซึ่งมีสารหรือวัสดุที่ต้องการจะหาเยอะ การที่มีเครื่องที่อาจจะไม่ได้ใช้งานจริงจะพบในสัดส่วนที่สูง นี่เป็นตัวอย่างในสิ่งที่ต้องไปทำความเข้าใจกันเพราะถ้าเขาบอกว่ามี 3 คันชี้ไปแล้ว 2 คันก็ไม่มี เป็นอย่างนี้ตลอดเวลา อันนี้ก็ต้องมาทบทวน แต่ประเด็นที่ไปทดลองในพื้นที่ก็ต้องถามว่า มันควบคุมปัจจัยที่จะทดสอบได้หรือไม่ การที่เจอหรือไม่เจอในพื้นที่จริงจะเอาอะไรมาเป็นเกณฑ์ในการที่จะพิสูจน์ว่ามันใช้ได้ดีกว่า การสุ่มหรือไม่” นายกฯ กล่าว เมื่อถามว่า มั่นใจหรือไม่ว่าในระดับปฏิบัติจะปฎิบัติตามนโยบายที่รัฐวางไว้ นายกฯ กล่าวว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ได้บอกกับผู้บัญชาการไปแล้ว และในช่วงเช้าก็ได้บอกกับรมว.กลาโหมไปแล้วครั้งหนึ่ง เพราะฉะนั้น ทางกองทัพก็จะต้องเร่งไปทำความเข้าใจ และกระทรวงวิทย์ก็เช่นกันต้องเร่งทำความเข้าใจ และในเรื่องการแกะเครื่องพิสูจน์ นั้นในต่างประเทศเองก็มีการแกะแล้ว ผู้ที่ใช้งานก็ไม่สามารถตอบได้ว่าที่คิดว่าใช้ได้ ใช้ได้เพราะอะไร “แต่มันก็ธรรมดา สำหรับคนที่พอมีเครื่องมือ ที่บอกว่าใช้เทคโนโลยี เราก็ใช้กันเยอะ และเราก็ไม่รู้ว่ามันใช้งานด้วยวิธีการอะไร เพราะฉะนั้นเหตุผลนี้เป็นเหตุผลตอนที่เราออกแบบ ทดลองในกระทรวงวิทยาศาสตร์ ก็เอากันว่าไม่ต้องมาเถียงกันว่าใช้งานได้เพราะอะไร เอาว่าใช้งานได้หรือไม่ บริษัทนี้ก็เพิ่งไปค้นพบว่าเคยผลิตอุปกรณ์คล้ายๆอย่างนี้ ก็ไปตรวจสอบที่สหรัฐฯผลออกมาแบบนี้” นายกฯ กล่าว เมื่อถามว่าแต่เจ้าหน้าที่ในภาคใต้บอกว่า ยังจะใช้ GT200 ต่อไปนั้น นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า ก็จะมีความเสี่ยง ประการแรกคือถ้าไปตรวจสอบว่ามีวัตถุระเบิดหรือไม่ และหากไม่พบ อาจจะไปสร้างความเข้าใจผิดว่าจุดนั้นมันปลอดภัย ตนไม่อยากให้มันเกิดเหตุ เพราะก่อนหน้านี้มีเหตุที่เกิดขึ้นแต่เราไม่ทราบข้อเท็จจริงว่าเป็นอย่างไร มีการพูดกันได้ว่าเครื่องนี้ไม่ 100 เปอร์เซ็นต์ แต่วันนี้เมื่อพิสูจน์แล้วพบว่าไม่ใช่เช่นนั้น แล้วยังมีการไปทำแล้วเกิดเหตุขึ้นมา ความรับผิดชอบจะตกอยู่กับเจ้าหน้าที่และความเสียหายก็จะเกิด และหากไปใช้กับตัวบุคคลก็จะเกิดการโต้แย้ง และรวมถึงเรื่องการละเมิดสิทธิ ดังนั้น สิ่งที่มอบไปกับ รมว.กลาโหมนั้น คือเรื่องให้เร่งคิดถึงการปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานโดเยไม่ใช้เครื่องมือ เมื่อถามว่า ทำไมสัญญาที่ทำไว้กับทางบริษัทจึงไม่สามารถผ่าเครื่องพิสูจน์ได้ นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า นักวิทยาศาสตร์ที่อื่นมีการเปิดเครื่องออกมา และตัวคำอธิบายในทางวิทยาศาสตร์ว่า เทคโนโลยีหรือกลไกตัวไหนที่ทำให้ค้นพบ วัสดุนั้นมันไม่มีคำตอบ และถ้าจะทดสอบก็สามารถทำได้ เพราะตนก็จะดำเนินการให้มีการเรียกร้องค่าเสียหายจากทางบริษัทฯอย่างแน่นอน ว่าไม่เป็นไปตามสเปกที่ระบุไว้ ส่วนที่มีการอ้างสัญญาว่าถ้ามีการแกะเครื่องออกมาทางบริษัทฯจะไม่รับผิดชอบนั้น เราก็ไม่ต้องให้บริษัทฯ มารับผิดชอบเครื่องที่เปิดพิสูจน์ เรามีตั้งหลายร้อยเครื่อง แต่ในต่างประเทศเขาก็เปิดเครื่องกันออกมาแล้ว แต่ข้อถกเถียงก็ไม่จบในเรื่องการใช้ได้และใช้ไม่ได้ เพราะความรู้เรื่องนี้มันจะไม่ชัดเจน บริษัทก็อ้างได้ว่าไม่สามารถเปิดเผยได้ว่าใช้ได้เพราะอะไร เพราะฉะนั้น หลักการทดสอบที่เป็นอยู่และต่างประเทศก็ใช้ก็เป็นหลักการเดียว กับที่กระทรวงวิทยาศาสตร์ได้ดำเนินการไปว่าการมีหรือไม่มีเครื่องมือมีความ แตกต่างและมีนัยยะสำคัญทางสถิติหรือไม่ ซึ่งผลการทดสอบคำตอบคือไม่มี เมื่อถามว่า รมว.กลาโหมบอกกับนายกฯ หรือไม่ว่าจะใช้วิธีการหรือรูปแบบใดหลังไม่มีการใช้เครื่องจีที 200 นายกฯ กล่าวว่า เขาจะต้องไปดำเนินการ วันนี้ต้องยอมรับว่าเจ้าหน้าที่คุ้นกับการมีเครื่องจีที 200 มานานพอสมควร และยังมีความเชื่อมั่นว่าใช้ได้ เมื่อถามว่าเว็ปไซต์ของบริษัทผู้ผลิตเครื่องจีที 200 เขียนบทความว่าการทดสอบของ ประเทศไทยไม่น่าเชื่อถือ นายกฯ กล่าวว่า เขาอ้างด้วยว่ามีการทดสอบที่อื่นก็ไม่ทราบว่ามีที่ไหนอ้างอิง เวลานี้ความจริงแล้วบริษัทที่เป็นตัวแทนจำหน่ายจะต้องทำหน้าที่ ถ้าเขายังยืนยันว่าถูกต้อง เมื่อถามว่าค่าเสียหายที่ควรจะชดเชยมีจำนวนเท่าไหร่ นายกฯ กล่าวว่า ยังได้หารือรายละเอียดลึกไปถึงจุดนั้น ต้องมารวบรวมข้อมูลก่อน ส่วนจะเรียกค่าเสียหายจากส่วนไหนบ้างทั้งตัวบริษัทผู้ผลิต หรือตัวแทนจำหน่ายนั้นคงต้องมาดูในข้อกฎหมายก่อน ทั้งนี้ นายอภิสิทธิ์ยังกล่าวถึงการจัดซื้อเครื่องจีที 200 ว่า มีการดำเนินการมาหลายปีต่อเนื่อง และหลักของการจัดซื้อก็มีการระบุความต้องการเฉพาะในพื้นที่ก็จะดำเนินการจัด ซื้อด้วยวิธีพิเศษตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี เมื่อถามว่าถ้าส่อการทุจริตจะดำเนินการอย่างไร นายกฯ กล่าวว่า ต้องมีการรายงานผลสรุปมาก่อน เพราะเราจะไม่ทราบจนกว่าจะเห็นที่มาทีไป จึงจะพิจารณาได้ ส่วนองค์กรอิสระคือสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) นั้นเขาก็สามารถดำเนินการได้อยู่แล้ว เมื่อถามว่า ในการทำหนังสือถึงสถานทูตอังกฤษเวลานี้ไปถึงไหนแล้ว นายกฯ กล่าวว่า ยังไม่ได้ทำ เพราะตนต้องดูในรายละเอียดทั้งหมดก่อนว่าการติดต่อต้องผ่านใคร เอกสารที่บริษัทฯมานำเสนอนั้นเป็นอย่างไร อีกทั้งมีอะไรบ้างที่อังกฤษต้องช่วยเรา เพราะเป็นบริษัทในประเทศของเขาที่ส่งออกมาขายให้เรา วันนี้ต้องรอรายงานจากทั้งฝ่ายกองทัพ, ป.ป.ส. ,กรมศุลกากร และหน่วยงานที่ซื้อ เมื่อถามว่าอังกฤษควรจะช่วยเหลือไทยอย่างไรบ้าง นายกฯ กล่าวว่า ขณะนี้อังกฤษก็มีการดำเนินคดีกับบริษัทฯ อยู่ ก็อาจเชื่อมโยงกันได้ว่าถ้ามีการเรียกร้องค่าเสียหายอาจจะต้องเอาข้อมูลมาแบ่งปันกัน เช่นเดียวกับประเทศอื่นๆ ที่ได้รับความเสียหายเช่นเราก็คงมีการดำเนินการโดยดูข้อกฎหมาย

วันพุธที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

หรือ - สื่อมวลชนไทย .... เลือกอยู่ข้าง ... ฝ่ายเลว !!! – ต้องอ่านให้จบครับ

สื่อมวลชนไทย .... เลือกข้าง! อยู่ฝ่ายเลวต้องอ่านให้จบครับ

เข้าใจครับ ว่า สื่อหลายสื่อ ขณะนี้ มีความต้องการค่าโฆษณา เงินสนับสนุน จนขณะนี้ เกือบทุกสื่อ มองว่า การหยุดที่ทำให้ถูกต้อง ของ มาบตาพุด เป็น ปัญหาของชาติ ทั้งๆเป็นเรื่องที่ โรงงาน ภาคอุตสาหกรรม จะต้องทำให้สอดรับกับ กม.รัฐธรรมนูญ เพื่อขยับมาตรฐานชีวิตคนไทย ให้อยู่เทียบเท่านานาอารยะประเทศ ที่สนใจกันเรื่องสุขภาพ แบบยุโรป อเมริกา ญี่ปุ่น ล้วนมี มาตรการทางด้านผลกระทบสุขภาพด้วยกันทั้งนั้น ประเทศไทย แค่เอาตามอย่าง ... เป็นความสนใจที...ภาครัฐควรมีต่อประชาชน ก้อเท่านั้น

หลายสื่อ หรือ เกือบทั้งหมด เลือกอยู่ฝั่งโรงงาน-ภาคอุตสาหกรรม เชียร์ให้ผ่านๆไป ทั้งที่อะไรๆ ยังไม่ถูกต้อง เสร็จสิ้น ห่วงเรื่อง เศรษฐกิจ หรือ ห่วงค่าโฆษณา ที่ PTT-SCG จับมือกันจ่ายแค่นั้นมั้ย คิดกันอย่างไร ถ้าวันหนึ่ง ประชาชน ต้องไปร้องเรียนผ่าน CNN, BBC หรือสำนักข่าวต่างๆ ของต่างชาติ เกี่ยวกับเรื่องปัญหาสิ่งแวดล้อม .... ที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ( ก้อขนาด ASTV ที่บอกจะยึดคืน ปตท. ยังเปลี่ยนไป เชื่อได้ แค่ไหน การที่บอกว่า การเมืองใหม่ !!! )

รางวัล ลูกโลกสีเขียว ของ ปตท., สื่อลวงโลกกับการพัฒนาพลังงานทางเลือก, ความมั่นคงทางพลังงาน อะไรนั่นทำด้วย จริงใจ หรือ จิงโจ้

และถ้ามี กลุ่มวิศวกรโยธา กลุ่มหนึ่ง ออกมาบอกว่า ทางด่วน ในกรุงเทพฯ ที่เพิ่งสร้างเสร็จ ไม่มีความแข็งแรง อาจทรุดพัง เพราะปัญหาในการก่อสร้าง ซึ่งพบว่า ไม่มีความแข็งแรง ทุกสื่อ ... จะหุบปากเงียบสนิท เพื่อให้ทางด่วนนั้นมีการเปิด ... แบบนั้นมั้ย เพราะเหตุที่ .... ทางด่วน ซื้อโฆษณาแบบไม่อั้น!!! *** คำถามเปรียบเปรย ครับตรงนี้ *** และถ้า วิศวกรโยธา กลุ่มนั้น ร่วมอยู่ในขบวนการก่อสร้าง ซึ่งไม่ใช่เป็นพ่อค้าขายลูกชิ้น อยู่แถวนั้น การที่ออกมาบอกมาเตือน จึงไม่มีนัยสำคัญ ให้สนใจเลยหรืออย่างไร เสนอกันไป ได้นานๆ กับข่าว นาธานโกงเงินคนแก่ ไม่รู้จักจบจักสิ้น

ถ้าทุกสื่อ เงียบสนิท ... ก้อแสดงว่า สื่อเลือกอยู่ฝ่ายเลว ... มั้ย !!! จึงไม่ให้มีขบวนการตรวจสอบ เมื่อเป็นสื่อ รู้ข่าวความเสี่ยงมาก แต่หุบปากกันหมด เพราะค่าโฆษณาปิดปากแบบนั้น หรือว่า ถ้าทางด่วน เปิดใช้ไม่ได้ รัฐบาลจะพัง เศรษฐกิจชาติจะเสียหาย เดินต่อกันไปไม่ได้ รอจนผู้คน-ประชาชนเสียหาย บาดเจ็บล้มตาย จึงขยับกันออกมา นับศพแข่งกันเสนอข่าว - ไม่คิดที่จะป้องกันเหตุที่จะเกิด แต่ชอบให้เกิดเหตุ นับศพเพื่อการเสนอข่าว-ขายข่าว เอาเรทติ้งกันไปวันวัน

From: airfresh society

Date: 2010/2/6 ส่งเมล์นี้ ไปเกือบทุกสำนักข่าว เมื่่อ 6 กุมภาพันธ์ 2553

ไม่มีใครสนใจ - ความเสี่ยงตายของคนมาบตาพุด - ก้อมันไม่ใช่ โรงงานปลากระป๋อง !!! นิ

Subject: คิดอย่างไร? ถ้าโรงงานขนาดใหญ่ ในมาบตาพุด ไม่ตอกเสาเข็ม ฐานราก ทั้งๆที่ก่อสร้างบนพื้นที่ปรับ-ถมใหม่ (ส่งถึง...ทุกสำนักข่าว) - หรือว่าแถวนี้มีแต่โรงงานผลิตอาหารกระป๋อง !!!

To: adisakj@bangkokpost.co.th, admin@rakbankerd.com, airfresh society , airfresh.society@gmail.com, aof@saisawankhayanying.com, assadesh@windowslive.com, changethailand@thaipbs.or.th, chuwat@prachatai.com, citizen@thaipbs.or.th, dk@nationgroup.com, dolrutaic@bangkokpost.co.th, eastern_network@hotmail.com, editor@dailynews.co.th, editor@nationgroup.com, editor@prachatai.com, editor@thairath.co.th, editoronline@thannews.th.com, huii_354@hotmail.com, info@medias.co.th, info@thaitv3.com, innnews1@yahoo.com, jiranan@prachatai.com, khon.maptaphut@gmail.com, Krittawan_@hotmail.com, ktwebeditor@nationgroup.com, Lekkungs@hotmail.com, mic@matichon.co.th, morningnews@thaipbs.or.th, mutita@prachatai.com, naewna@naewna.com, naewna@yahoo.com, news@ch7.com, ning@saisawankhayanying.com, paireerak@yahoo.com, pattnapong@bangkokpost.co.th, people@thaipbs.or.th, perdpom@thaipbs.or.th, pinpaka@prachatai.com, pongpan@prachatai.com, publicforum@thaipbs.or.th, rachada@infoquest.co.th, sarayut@prachatai.com, sasithorn@infoquest.co.th, thongnoi@prachatai.com, tpct@inet.co.th, tvthai@thaipbs.or.th, webeditors@nationgroup.com, webmaster@banmuang.co.th, webmaster@dailynews.co.th, webmaster@mirror.or.th, webmaster@paidoo.net, webmaster@prd.go.th, webmaster@ryt9.com, webmaster@siamturakij.com, webmaster@sorayut.net, webmaster@thaipost.net, webmaster@thairath.co.th, webmaster@tnews.co.th, "wm@manager.co.th"

วันเสาร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

“ภาพลักษณ์” จะต้องจ้างโฆษณาอีกกี่พันล้าน

จากหลายๆ ข้อเห็นความคิด ที่นำเสนอว่า 1. บริหารความเสี่ยง ล้มเหลว 2. บริหารการตัดสินใจ ยอดแย่ 3. บริหารภาพลักษณ์ แบบฉาบฉวย เลยแนะนำให้เปลี่ยน โลโก้ใหม่ มีผู้ให้ความหมายของการสร้างภาพลักษณ์องค์กรไว้ว่า“The image of an organization is the perception of the organization based on what that organization says or does. Behind everything that an organization says and does are its members, so building the image of your organization will depend solely on what members you have.” สรุปง่ายๆว่า ภาพลักษณ์องค์กร หมายถึงภาพที่เกิดขึ้นในจิตใจหรือความรู้สึกนึกคิดของคนที่มีต่อหน่วยงานนั้นๆ ทั้งนี้การรับรู้หรือภาพดังกล่าวเป็นผลมาจากการกระทำของคนในองค์กรนั้นนั่นเอง ไม่ว่าจะเป็นคำพูดหรือการกระทำ ดังนั้นการจะสร้างภาพลักษณ์ขององค์กรให้สำเร็จมากน้อยเพียงไร จึงขึ้นอยู่ว่าองค์กรนั้นๆมีสมาชิกเป็นเช่นไร นั่นก็คือ หากองค์กรใด มีสมาชิกที่เข้มแข็ง มีผลงานเป็นที่ปรากฏเป็นรูปธรรม มีการบริการที่เป็นเลิศ มีคุณธรรมและจริยธรรมเป็นที่น่าเลื่อมใสศรัทธา ภาพขององค์กรที่เกิดขึ้นในจิตใจของประชาชนย่อมเป็นภาพเป็นที่ดี น่าเชื่อถือ มีผลให้การปฏิบัติงานตามพันธกิจขององค์กรบรรลุเป้าหมาย แต่ในทางตรงข้าม หากองค์กรใดสมาชิกส่วนใหญ่ขาดความกระตือรือร้น ไม่ได้รับการพัฒนา ไม่รู้ทิศทางเป้าหมายในการปฏิบัติงาน ย่อมส่งผลให้ผลงานออกมาไม่มีคุณภาพ ทำให้ขาดความน่าเชื่อถือศรัทธาและความร่วมมือจากประชาชน “ภาพลักษณ์” ขององค์กรย่อมตกต่ำกลายเป็น “ภาพลบ ”ในที่สุด แต่.. ภาพลักษณ์สามารถสร้างได้และแก้ไขได้ หากองค์กรใดมีภาพลักษณ์ที่ดีอยู่แล้ว หน้าที่ขององค์กรนั้นคือรักษาภาพลักษณ์ที่ดีดังกล่าวไว้ให้ยืนนานและพัฒนาให้ดียิ่งๆขึ้น เพราะในโลกของการแข่งขันการหยุดอยู่กับที่คือการถอยหลัง แต่สำหรับองค์กรที่ภาพลักษณ์ปานกลางหรือไม่ดี แน่นอนว่าต้องรีบเร่งแก้ไขหรือปรับปรุงภาพลักษณ์ให้ดี เพราะหากยิ่งช้าจะยิ่งแก้ไขยาก มาถึงตอนนี้ ท่านคงอยากรู้แล้วว่า การจะสร้างหรือแก้ไขภาพลักษณ์เราต้องทำอย่างไรบ้าง ? ก่อนจะถึงขั้นตอนนั้น เราคงต้องมาทำความเข้าใจกับลักษณะพิเศษ (Character) หรือจะเรียกว่า สัจธรรมของภาพลักษณ์ ก็ได้เพื่อเป็นเครื่องเตือนใจกันก่อน ข้อแรกคือ ภาพลักษณ์เปลี่ยนแปลงได้ตามสถานการณ์ องค์กรที่ครั้งหนึ่งมีภาพลักษณ์ดียิ่งในสายตามประชาชนอาจจะกลายเป็นองค์กรที่มีภาพลบได้ถ้ามีข่าวลือหรือเหตุการณ์ร้ายเกี่ยวพันถึงเป็นเหตุให้กระแสความนิยมของประชาชนในขณะนั้นเปลี่ยนแปลงไป ข้อที่สอง ภาพลักษณ์ที่เสียไปแล้วแก้ไขยากและตกทอดถึงสมาชิกรุ่นหลังได้ การจะแก้ไขได้เพียงไรขึ้นอยู่กับจังหวะเวลา เทคนิควิธีและความเชื่อถืออันเป็นทุนเดิมขององค์กรนั้นข้อที่สาม ภาพลักษณ์ที่เกิดจากการสร้างภาพไม่ว่าจะเป็นการโฆษณาหรือเทคนิคทางการตลาด จะเกิดและสลายเร็วกว่าภาพลักษณ์ที่เกิดจากการผลงานอันเป็นรูปธรรมภาพลักษณ์เกิดขึ้นได้ 2 ทาง ทางแรก เกิดจากเนื้อแท้ขององค์กรนั้นที่กระทำมาเป็นเวลายาวนานสั่งสมจนฝังแน่นในความรู้สึกนึกคิดของคนจนกลายเป็นภาพลักษณ์ ซึ่งต้องใช้เวลาหลายปีหรือหลายสิบปี และอีกทางหนึ่ง เกิดจากการสร้างเสริมปรุงแต่งโดยใช้เทคนิคการตลาดและการประชาสัมพันธ์เข้าช่วย ซึ่งอาจใช้เวลาสั้นๆแต่ได้ผลเร็ว ทั้งสองทางนี้มีจุดด้อยและจุดเด่นต่างกัน หากสามารถผสมผสานทั้งสองแนวทางเข้าด้วยกัน คือทำดีและประชาสัมพันธ์ตนเองด้วย ก็จะเป็นแนวทางที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้น บัดนี้ เราได้เห็นสัจธรรมของภาพลักษณ์แล้วว่า เปลี่ยนแปลงได้ แก้ไขยากและการสร้างภาพไม่ยั่งยืน ด้วยเหตุนี้ ในการสร้างภาพลักษณ์องค์กรอย่างยั่งยืนจึงต้องกระทำอย่างระมัดระวังและมีการวางแผนล่วงหน้า สิ่งแรกที่ต้องกระทำคือ สำรวจทัศนคติของประชาชนที่มีต่อองค์กรเราก่อนว่าเป็นเช่นไร เป็นการประเมินตนเอง (Self Assessment) นั่นเองเพื่อจะได้แก้ไขได้ถูกทาง องค์กรที่มีหลายภารกิจหลัก อย่างเช่นกรมประชาสัมพันธ์ซึ่งมีภารกิจหลักด้านบริการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และการเป็นที่ปรึกษาด้านการประชาสัมพันธ์ หากสามารถประเมินทัศนคติของประชาชนผู้รับบริการในแต่ละภารกิจได้ ก็จะทำให้สามารถปรับปรุงภาพลักษณ์ได้ตรงจุดยิ่งขึ้น ถ้าจะให้ดียิ่งกว่านั้น การประเมินองค์กรจะต้องประเมินอย่างละเอียดทุกแง่ทุกมุม ทั้งนี้เพราะองค์กรประกอบด้วยหลายองค์ประกอบที่หล่อหลอมเข้าด้วยกัน ผูกพันและเกื้อหนุนกัน หากองค์ประกอบใดบกพร่องอาจจะส่งผลให้องค์ประกอบอื่นเสียหายไปด้วย องค์ประกอบดังกล่าวได้แก่ ผู้นำองค์กร เจ้าหน้าทีผู้ปฏิบัติงาน อาคารสถานที่ ตลอดรวมไปถึงการให้บริการ การเข้าร่วมกิจกรรมสังคมของสมาชิกในองค์กร เครื่องแบบ แม้แต่โลโก้หรือเพลงของหน่วยงาน ทั้งหมดนี้จำเป็นต้องได้รับการประเมินในแต่ละข้อ อันจะนำไปสู่การปรับปรุง แก้ไขหรือสร้างใหม่ต่อไปเพราะการสร้างภาพลักษณ์ต้องดำเนินการทุกแง่มุม จะเลือกดำเนินการเฉพาะส่วนไม่ได้ และนี่เป็นเพียงบันไดขั้นแรกของการสร้างภาพลักษณ์เท่านั้น สายพิณ เชิงเชาว์ จาก http://region3.prd.go.th/ct/northforum/index.php?topic=384.0
ไฟยังโหมกระพือแท่นขุดเจาะน้ำมันปตท.สผ. ในออสเตรเลียไม่หยุด คาดอาจพังถล่มในไม่ช้า
เอเอฟพีเปิดเผยเมื่อวานนี้ว่า เหตุเพลิงไหม้ที่เกิดขึ้นบนแท่นขุดเจาะน้ำมันเวส แอตลาส ที่ตั้งอยู่ห่างจากชายฝั่งของออสเตรเลียไปทางตะวันตกเฉียงเหนือ ยังคงโหมกระพืออย่างหนักและไม่สามารถควบคุมเพลิงไว้ได้ หลังจากที่เจ้าหน้าที่พยายามอุดรอยรั่วน้ำมันด้วยดินโคลน เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา โฮเซ มาร์ติน ผู้อำนวยการบริษัท พีทีทีอีพี ออสตราเลเซีย บริษัทในเครือของปตท.สผ. บริษัทพลังงานรายใหญ่ของประเทศไทย แถลงในวันเดียวกันว่า ทางบริษัทยังไม่ทราบสาเหตุของการเกิดเพลิงไหม้บนแท่นขุดเจาะนี้ ซึ่งเวลานี้บริษัทกำลังมีแผนสูบโคลนขึ้นมาอุดรอยรั่วของบ่อน้ำมันในวันนี้ เพื่อหยุดการรั่วไหลของก๊าซและน้ำมันจากใต้ทะเลไม่ให้ขึ้นมาปะทะกับอากาศเหนือผิวน้ำจนเกิดเพลิงลุกไหม้อีก ทั้งนี้ แผนการอุดรอยรั่วของบ่อน้ำมันดังกล่าวเกิดขึ้นมาแล้วถึง 4 ครั้ง นับตั้งแต่ได้เกิดรอยรั่วมาตั้งแต่เดือนส.ค. ทำให้มีน้ำมันไหลทะลักลงสู่เขตทะเลติมอร์ไปแล้วนับพันบาร์เรล ด้านกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติของออสเตรเลีย เตือนว่าหากแผนการอุดรอยรั่วน้ำมันยังไม่ประสบความสำเร็จ อาจส่งผลกระทบและทำอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต ซึ่งรวมถึงปลาวาฬและโลมา ให้ขยายวงกว้างมากขึ้น ที่มา -
ออสซี่เล็งสอบใหญ่แท่นปตท.รั่ว ไฟลามหนักยังหาทางดับไม่ได้
เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน นายมาร์ติน เฟอร์กูสัน รัฐมนตรีพลังงานและทรัพยากรธรรมชาติออสเตรเลีย แถลงยอมรับว่าความพยายามที่ผ่านมาเพื่อดับไฟที่กำลังลุกไหม้น้ำมันดิบ ที่รั่วไหลออกมาจากแท่นขุดเจาะน้ำมัน "เวสต์ แอทลาส" นอกชายฝั่งทางตะวันตกของประเทศ ซึ่งดำเนินการโดยบริษัท ปตท.สผ.ออสเตรเลีย ในสังกัดบริษัท ปตท.ยังไม่ประสบผลสำเร็จ ส่งผลให้กรณีการรั่วไหลดังกล่าวถูกโจมตีมากขึ้นจากบรรดานักเคลื่อนไหวเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม หลังจากปล่อยให้เกิดการรั่วไหลต่อเนื่องนานถึง 10 สัปดาห์ น้ำมันดิบจำนวน 400 บาร์เรลต่อวันไหลลงสู่ทะเลติมอร์ จนกลายเป็นปัญหาใหญ่ด้านนิเวศวิทยาในบริเวณดังกล่าว ก่อนที่จะเกิดลุกเป็นไฟขึ้นเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายนที่ผ่านมา นายเฟอร์กูสันกล่าวว่า ในวันเดียวกันนี้ทาง ปตท.สผ.ออสเตรเลีย เตรียมทดลองดับไฟอีกครั้งด้วยการใส่โคลนหนักๆ ลงไปในหลุมขุดเจาะ เพื่อลดการรั่วไหลของน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ เท่ากับเป็นการดับไฟไปในตัว หลังจากที่ความพยายามที่ผ่านมาส่งผลเพียงแค่ทำให้เปลวเพลิงที่ลุกไหม้บรรเทาลงเท่านั้นไม่ได้ดับลงแต่อย่างใด พร้อมกันนั้น ก็ยอมรับว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นซึ่งเป็นอุบัติเหตุระหว่างการขุดเจาะครั้งใหญ่ที่สุดในรอบ 25 ปีของออสเตรเลีย ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซธรรมชาติของประเทศอย่างแน่นอน และเท่าที่พูดได้ในเวลานี้ก็คือ เมื่อใดที่หลุมขุดเจาะที่เกิดเหตุสามารถดับไฟได้แล้ว แท่นขุดเจาะอยู่ในสภาพปลอดภัยแล้ว ตนจะสั่งการให้สอบสวนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างเต็มที่และเป็นอิสระเพื่อประเมินว่า เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นได้อย่างไรและมีการดำเนินการเพื่อรับมือกับอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นอย่างไรในช่วง 10 สัปดาห์ที่ผ่านมา
นายอนนต์ ศิริแสงทักษิณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท.สผ. ได้เปิดแถลงข่าวกรณีที่องค์การแหล่งน้ำมันมอนทารา ประเทศออสเตรเลีย ที่ ปตท.สผ.ซื้อกิจการน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ ได้เกิดอุบัติเหตุเพลิงไหม้ ทำให้แท่นขุดเจาะเกิดความเสียหายว่า ขณะนี้ทางปตท.สผ.ได้ให้ผู้เชี่ยวชาญ ได้แก่ บริษัท อเลิร์ท เวลล์ คอนโทรล เคยมีประสบการณ์ในการแก้ไขอุบัติเหตุเพลิงไหม้บ่อน้ำมันที่คูเวตและอิรัก เข้ามาร่วมแก้ไขปัญหา รวมทั้งประสานงานกับรัฐบาลออสเตรเลียอย่างใกล้ชิด คาดว่า ภายใน 1- 2 วันนี้จะสามารถดับไฟ รวมทั้งสอบสวนหาสาเหตุที่เกิดขึ้นได้ นายอนนต์กล่าวว่า เหตุการณ์ดังกล่าว ทาง ปตท.สผ.ประมาณการการค่าเสียหายเบื้องต้นประมาณ 5,174 ล้านบาท ได้มีการบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายในไตรมาสที่ 3 แล้ว ค่าใช้จ่ายดังกล่าวสามารถนำไปเป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวณภาษีได้ ทำให้ส่งผลกระทบต่อผลกำไรสุทธิเพียง 2,198 ล้านบาท แต่ทั้งนี้ ปตท.สผ.ได้ทำประกันภัยคุ้มครองความเสียหายอันเนื่องมาจากความเสียหายดังกล่าว 270 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 9,200 ล้านบาท (34 บาทต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐ) ขณะนี้อยู่ระหว่างการเรียกร้องค่าชดเชยจากบริษัทประกันภัย และสามารถนำไปบันทึกเป็นรายได้ในงวดถัดไป (เอเอฟพี/เอพี/มติชน) ที่มา -
ปตท.สผ.เร่งดับเพลิงไหม้หลุมขุดเจาะที่ออสเตรเลีย กรุงเทพฯ 2 พ.ย. -ฝ่ายประชาสัมพันธ์ บมจ.ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม หรือ ปตท.สผ. ได้ชี้แจงถึงกรณีเหตุ เพลิงไหม้หลุมขุดเจาะของบริษัทในเครือ ที่ประเทศออสเตรเลีย คือบริษัท พีทีทีอีพี ออสตราเลเชีย จำกัด (พีทีทีอีพี เอเอ) ตั้งแต่เมื่อวานนี้ (1 พ.ย.) ว่า ล่าสุดค่ำวันนี้ยังหาทางแก้ปัญหาเพลิงลุกไหม้ให้เร็วที่สุด คาดว่าจะสามารถดับเพลิงได้ภายในวันนี้หรือวันพรุ่งนี้
โดยโครงการดังกล่าว ปตท.สผ. เข้าชื้อกิจการน้ำมันและก๊าซธรรมชาติในต้นปี 2552 มีแหล่งน้ำมัน แหล่งคือ Jabiru + Challis, Montara และ Cash Maple ซึ่งตอนนั้น แหล่งมอนทาราพัฒนามาได้ครึ่งทางแล้ว ปตท.สผ. มารับช่วงต่อ โดยตั้งเป้าการผลิตไว้ปลายปีนี้ อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2552 เข้าไปติดตั้งพัฒนาหลุมผลิตน้ำมัน พบมีน้ำมัน/ก๊าซรั่วออกมา จึงอพยพพนักงาน-คนงานออกมาได้อย่างปลอดภัย จากเหตุการณ์ดังกล่าว บริษัทประมาณการค่าเสียหายรวมเป็นเงินทั้งสิ้น 5,174 ล้านบาท ซึ่งได้บันทึกเป็นค่าใช้จ่ายในไตรมาสที่ 3 แล้ว ค่าใช้จ่ายดังกล่าวสามารถนำไปเป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวณภาษี ทำให้ส่งผลกระทบต่อผลกำไรสุทธิของบริษัทเพียง 2,198 ล้านบาท ซึ่งบริษัทมีประกันภัยคุ้มครองความเสียหายอันเนื่องมาจากเหตุการณ์ครั้งนี้ ขณะนี้อยู่ในระหว่างขั้นตอนการเรียกร้องค่าชดเชยจากผู้รับประกันภัย
นอกจากนี้ บริษัทได้ประสานกับรัฐบาลออสเตรเลียมาโดยตลอดเรื่องการกำจัดคราบน้ำมันและดูแลเรื่องผลกระทบสิ่งแวดล้อม รวมทั้งวางแผนการสกัดการรั่วไหลของน้ำมันและก๊าซฯ ซึ่งด้วยกฎหมายเรื่องสิ่งแวดล้อมที่เข้มงวดของออสเตรเลีย และ ปตท.สผ. เลือกที่จะหยุดการรั่วไหลด้วยการเจาะหลุมใหม่เข้าไปสกัดการรั่วไหลที่ก้นหลุม ใช้ความพยายามอยู่ 5 ครั้ง มาประสบความสำเร็จในครั้งที่ 5 เมื่อเช้าวันอาทิตย์ที่ 1 พฤศจิกายนนี้ การทำงานทั้งหมดนี้อาศัยผู้เชี่ยวชาญเรื่องการแก้ไขปัญหาเฉพาะด้านคือ บริษัท Alert Well Control และประสานงานกับรัฐบาลออสเตรเลียอย่างใกล้ชิด ขณะที่เข้าไปควบคุมการรั่วไหลที่ก้นหลุม เกิดเพลิงไหม้ที่ปากหลุมโดยไม่ทราบสาเหตุ ทั้งนี้ การแก้ไขปัญหาต้องตัดต้นตอของเชื้อเพลิง ซึ่งทางบริษัทได้เข้าถึงชั้นน้ำมันและก๊าซที่รั่วไหลอยู่แล้ว ขณะนี้ได้เตรียมการสกัดกั้นการรั่วไหลด้วยการอัดโคลนกลับเข้าไปอีก คาดว่าจะทราบผลในวันนี้หรือพรุ่งนี้ โดยผลกระทบที่จะได้รับนั้น ทันทีที่สามารถดับไฟได้ บริษัทจะส่งทีมขึ้นไปตรวจสอบความเสียหาย ขณะนี้ได้จัดทำแผนคู่ขนานกันไปว่าจะสามารถกลับมาเริ่มผลิตน้ำมันได้เร็วที่สุดเมื่อไร. ที่มา - ข่าวที่เกี่ยวข้อง - ไฟไหม้แท่นขุดน้ำมัน ปตท. กลางทะเล คนงานหนีตายระทึก - ปตท.สผ. เร่งขจัดคราบน้ำมันในทะเลติมอร์ - ออสเตรเลียเร่งจัดการคราบน้ำมันรั่วไหล

วันศุกร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ปตท. - เสี่ยง ทรุด พัง แต่ก้อยัง เดินหน้าอุทรณ์

กลุ่มPTTเดินหน้ายื่นอุทธรณ์ต่อศาลปกครองสูงสุดPDFPrintE-mail
FRIDAY, 05 FEBRUARY 2010 15:09

นายปรัชญา ภิญญาวัธน์ ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจปิโตรเลียมขั้นปลาย บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กล่าวว่าในวันนี้ (16 ตุลาคม 2552) กลุ่ม ปตท. ได้ยื่นอุทธรณ์ต่อศาลปกครองสูงสุดแล้ว เพื่อให้มีโอกาสนำเรียนข้อมูลที่เป็นจริงและถูกต้องต่อศาลโดยตรง เพื่อให้มั่นใจว่าชุมชนและอุตสาหกรรมสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข โดยนอกจากกลุ่ม ปตท. จะดำเนินงานตามมาตรฐานสากลที่เข้มงวด และปฏิบัติตามข้อกำหนดกฎหมายของภาครัฐอย่างเคร่งครัดแล้ว ยังให้ความสำคัญกับการส่งเสริมสุขภาพและสิ่งแวดล้อม การมีส่วนร่วมกับประชาชนในพื้นที่จังหวัดระยองอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ จากการตรวจสุขภาพประจำปีของพนักงานจำนวน 3,000 คน จาก 11 บริษัทของกลุ่ม ปตท. ในพื้นที่ระยอง ตลอดกว่า 10 ปีที่ผ่านมา ไม่พบว่าพนักงานมีความผิดปกติใดๆ โดยเฉพาะ โรคมะเร็ง อันเกิดจากการปฏิบัติงานภายในโรงงาน

นอกจากนั้น สุขอนามัยของประชาชนในพื้นที่มาบตาพุดไม่ได้มีปัญหารุนแรงแต่อย่างใด จากข้อมูลรายงานของสถาบันมะเร็งแห่งชาติ (พ.ศ. 2551) ซึ่งพบว่าจำนวนประชากรในจังหวัดระยองที่ป่วยเป็นโรคมะเร็งเท่ากับ 0.5% ของจำนวนประชากรทั้งประเทศ หรืออยู่ในลำดับที่ 21 ของจำนวนผู้ป่วยโรคมะเร็งในหลายๆ จังหวัดทั่วประเทศ

นายปรัชญากล่าวเพิ่มเติมว่า โครงการลงทุนของกลุ่ม ปตท. ทั้ง 25 โครงการเป็นโครงการที่ได้รับความเห็นชอบรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) เรียบร้อยแล้ว และไม่ได้ก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง อีกทั้งยังมีการวางแผนและลงทุนเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งนอกจากจะไม่ทำให้มลพิษในพื้นที่สูงขึ้น ยังกลับจะช่วยลดปัญหาสิ่งแวดล้อมด้วย เช่น โครงการผลิตและปรับปรุงน้ำมันเชื้อเพลิงตามมาตรฐานยูโร 4 (EURO IV) ที่ช่วยลดสารอินทรีย์ระเหย (VOCs) ที่เกิดจากไอเสียรถยนต์ โครงการปรับปรุงคุณภาพน้ำทิ้งเพื่อหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่ของโรงแยกก๊าซธรรมชาติ และ โครงการท่อส่งก๊าซธรรมชาติไปยังกลุ่มโรงงานปิ โตรเคมี ซึ่งเป็นการขนส่งในระบบปิดและไม่มีกระบวนการผลิตที่ต้องปลดปล่อยสารใดๆ ออกสู่ภายนอก

นอกจากนี้โครงการของกลุ่ม ปตท.16 โครงการ เป็นโครงการที่ไม่มีการระบายก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) หรือก๊าซออกไซด์ของไนโตรเจน (NOx) อีก 5 โครงการมีการจัดการและควบคุมมลพิษทางอากาศตามมาตรฐานการปรับลดและสำรองสัดส่วนค่าระบายมลพิษตามที่รัฐกำหนด (มาตรการ 80:20) และอีก 4 โครงการใช้อัตราการระบายมลพิษต่อพื้นที่ตามกรอบการระบายมลพิษต่อพื้นที่ที่ นิคมอุตสาหกรรมกำหนด รวมทั้ง บางโครงการยังเป็นโครงการสร้างระบบสาธารณูปโภคเพื่อใช้ในโรงงาน อาทิ เข่น โครงการติดตั้งอุปกรณ์เพื่อนำไอน้ำที่ผลิตได้เองจากโครงการมาเป็นแหล่งพลังงานในการผลิตไฟฟ้า ซึ่งหากโครงการต่างๆ ดังกล่าวถูกระงับ นอกจากจะทำให้สูญเสียโอกาสในการปรับปรุงคุณภาพสิ่งแวดล้อมแล้ว ยังไม่ส่งเสริมให้เกิดการใช้ทรัพยากรน้ำของท้องถิ่นอย่างคุ้มค่าอีก ด้วย

ทั้งนี้ ภาครัฐกำลังเร่งดำเนินการ เพื่อผลักดันให้เกิดความชัดเจนและมีการออกระเบียบกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องอย่างเร็วที่สุด โดยกลุ่ม ปตท. ยินดีให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่ โดยคำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมของประเทศเป็นสำคัญ

วันพฤหัสบดีที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

งานฐานราก-งานโครงสร้าง โรงงานต่างๆ

คิดอย่างไร ? ถ้าโรงงานขนาดใหญ่ ในมาบตาพุด ไม่ตอกเสาเข็ม ฐานราก ทั้งๆที่ก่อสร้างบนพื้นที่ปรับ-ถมใหม่
  • แปลกใจมั้ย !!! ทำไมจึงมีการระงับโครงการยาวนาน ทั้งๆ ที่หลายฝ่าย ออกมากดดัน ว่าจะกระทบ...ปากท้องประชาชน และรายได้ของชาติ รวมถึงการลงทุนต่างๆ
  • คิดอย่างไร !? กับความมั่นคงแข็งแรง ของโครงสร้างรับท่อขนาดใหญ่ สูงมากกว่า 15 เมตร หอ-กลั่น สูงมากกว่า 20 เมตร สูงประมาณ ตึก 6-8 ชั้น โดยไม่ตอกเสาเข็มฐานราก และทั้งหมดที่เห็นในรูป พบแล้ว 3 โครงการ ทั้งถูกระงับ และอยู่ระหว่างทดสอบระบบ โครงการอื่นๆ อยู่ระหว่างติดตามข้อมูล
  • ใช้ ค่าความสามารถรับน้ำหนักของดิน 90 ตันต่อตารางเมตร เป็นข้อมูลฐานในการออกแบบ ทุกฐานรากจึงไม่จำเป็นต้องมีเสาเข็มทุกโครงการอนุมัติแบบ ถูกต้องตาม กม.
  • เวลาก่อสร้างเร่งรัดมาก สร้างเสร็จ 1ปีครึง ถึง 2 ปี ประกาศออกมาแต่ละที่ หลายหมื่นหลายพันล้าน งานถมดิน งานคอนกรีตฐานราก โครงสร้างคอนกรีต ทำเสร็จในเวลา 6-7 เดือน
  • ถ้าโรงงานแถวมาบตาพุด ผลิตอาหารกระป๋อง น้ำผลไม้ คงไม่มีปัญหาอะไร แต่ ....
  • หรือดันทุรังกันต่อไป ... พอเกิดเหตุแล้วโทษกันไปมา ว่าน่าจะรอให้ขบวนการเสร็จสิ้น
  • หรือว่า ... มีลางบอกเหตุ อะไร ... จึงทำให้ยังคงให้มีการตรวจสอบกันอยู่ หรือเพื่อรอ...ส่วนนี้เพิ่มเติมเข้าไป ในขบวนการศาลปกครอง ให้ตรวจสอบซ้ำอีกเรื่อง หรือไม่
  • ถึงตอนนี้ แต่ละส่วนแต่ละฝ่าย คิดกันแบบไหน เข้าใจหรือยัง ว่าที่ยังรอ รออะไร!?

รับรู้ร่วมกัน และมีอิสระที่จะคิด ... ว่าควรจะทำอะไร ระหว่างการรอ ระหว่างการทำเอกสาร HIA / EIA ต่างๆ

รูปด้านล่าง คือ โรงงานที่กล่าวถึง
การทรุดของงานจำนวนมาก ระหว่างงานติดตั้งท่อและเครื่องจักร
การติดตั้งฐานรากตื้นหล่อสำเร็จ เพื่อเร่งรัดงาน
Shallow Foundation for Pipe Rack Structure / Tower & Equipment Foundations
สำหรับโรงงานนี้ - หอสูง 3 ต้น ที่เห็นมีการตอกเสาเข็ม
โครงสร้างส่วนใหญ่ไม่มีการตอกเสาเข็ม แต่โรงงานข้างเคียงตอกเสาเข็มจำนวนมาก
รู้สึกโชคร้ายที่ได้ระลึกรู้...จึงได้ติดตามข้อมูลเข้าไป จนมีความแจ่มชัด
... แต่ถ้าไม่ได้บอกไม่เตือน รอจนมีปัญหา บาปคงจะติดตามตัวไปตลอด
คนมีบ้านที่มาบตาพุด - ระลึกรู้เมื่อ 5 ธันวาคม 2552